1 / 64

พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547

พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547. โสภณ นุ่มทอง  08 1932 2037, 08 5238 2127. พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 หมวด 1 คณะกรรมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษา หมวด 2 บททั่วไป

Download Presentation

พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547

  2. โสภณ นุ่มทอง08 1932 2037, 08 5238 2127

  3. พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 หมวด 1 คณะกรรมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษา หมวด 2 บททั่วไป หมวด 3 การกำหนดตำแหน่ง วิทยฐานะ และการให้ได้รับเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่ง หมวด 4 การบรรจุและการแต่งตั้ง หมวด 5 การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ หมวด 6 วินัยและการรักษาวินัย หมวด 7 การดำเนินการทางวินัย หมวด 8 การออกจากราชการ หมวด 9 การอุทธรณ์และการร้องทุกข์

  4. “ข้าราชการครู” หมายความว่า ผู้ที่ประกอบวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียน การสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาของรัฐ

  5. “บุคลากรทางการศึกษา” หมายความว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ การบริหารการศึกษา และปฏิบัติงานอื่นในหน่วยงานการศึกษา

  6. “หน่วยงานการศึกษา” หมายความว่า (1) สถานศึกษา (2) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (3) สำนักงานการศึกษานอกโรงเรียน (4) แหล่งการเรียนรู้ตามประกาศของสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา (5) หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ

  7. หมวด 1 คณะกรรมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มาตรา 7 - มาตรา 28

  8. ก.ค.ศ. ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน กรรมการผู้แทน 7 คน โดยตำแหน่ง 7 คน

  9. กรรมการโดยตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ปลัดกระทรวง เลขาธิการฯ ขั้นพื้นฐาน เลขาธิการฯ อาชีวศึกษา เลขาธิการฯ อุดมศึกษา เลขาธิการคุรุสภา เลขาธิการ ก.พ.

  10. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ทางด้านการศึกษา บริหารงานบุคคล กฎหมาย บริหารจัดการภาครัฐ บริหารองค์กร การศึกษาพิเศษ บริหารธุรกิจ/เศรษฐกิจ

  11. กรรมการผู้แทน ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครู (4 คน) บุคลากรทางการศึกษาอื่น

  12. มาตรา 10 กรรมการผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้บริหารสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นในหน่วยงานการศึกษา ตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และไม่เคยถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพมาก่อน (2) มีประสบการณ์ด้านการบริหารในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้บริหารสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นในหน่วยงานการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี (3) เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในเรื่องความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม และไม่เคยมีประวัติเสื่อมเสียทางจริยธรรม จรรยาบรรณ และการประกอบอาชีพ

  13. มาตรา 11 กรรมการผู้แทนข้าราชการครู ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และไม่เคยถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพมาก่อน (2) มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนในวิทยฐานะ ไม่ต่ำกว่าครูชำนาญการหรือเทียบเท่า หรือมีประสบการณ์การสอนเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าปี (3) เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในเรื่องความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม และไม่เคยมีประวัติเสื่อมเสียทางจริยธรรม จรรยาบรรณ และการประกอบอาชีพ

  14. มาตรา 12 กรรมการผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่นต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) มีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี (2) มีประสบการณ์ด้านสนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ การบริหารการศึกษา และปฏิบัติงานอื่นในหน่วยงานการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบห้าปี (3) เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในเรื่องความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม และไม่เคยมีประวัติเสื่อมเสียทางจริยธรรม จรรยาบรรณ และการประกอบอาชีพ

  15. มาตรา 19 ให้ ก.ค.ศ. มีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบาย (2) กำหนดนโยบาย วางแผน และกำหนดเกณฑ์อัตรากำลังของข้าราชการครู (3) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีในกรณีที่ค่าครองชีพเปลี่ยนแปลงไปมาก หรือการจัดสวัสดิการหรือประโยชน์เกื้อกูล สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (4) ออกกฎ ก.ค.ศ. ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ วิธีการ (5) พิจารณาวินิจฉัยตีความปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการบังคับพระราชบัญญัตินี้ (6) พัฒนาหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานการบริหารงานบุคคล

  16. (7) กำหนดวิธีการและเงื่อนไขการจ้างเพื่อบรรจุและแต่งตั้ง (8) ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนา การเสริมสร้างขวัญกำลังใจ และการยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (9) ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์เกื้อกูลอื่น (10) พิจารณาตั้ง อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา และคณะอนุกรรมการอื่นเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ ก.ค.ศ.มอบหมาย (11) ส่งเสริม สนับสนุน ประสานงาน ให้คำปรึกษา แนะนำและชี้แจง (12) กำหนดมาตรฐาน พิจารณา และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้

  17. (13) กำกับ ดูแล ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการบริหารงานบุคคล ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (14) รายงานและเสนอแนะต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัดในกรณีที่ปรากฏว่าส่วนราชการ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา คณะอนุกรรมการหรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติตาม (15) พิจารณารับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิอื่น (16) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในเรื่องการปฏิบัติการต่าง ๆ (17) พิจารณาจัดระบบทะเบียนประวัติและแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับวัน เดือน ปีเกิดและควบคุมการเกษียณอายุราชการ (18) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้

  18. มาตรา 20 ให้มีสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกโดยย่อว่า “สำนักงาน ก.ค.ศ.” มีอำนาจและหน้าที่ (1) เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานในหน้าที่ของ ก.ค.ศ. (2) วิเคราะห์และวิจัยเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (3) ศึกษา วิเคราะห์เกี่ยวกับมาตรฐาน หลักเกณฑ์และวิธีการ (4) พัฒนาระบบข้อมูล และจัดทำแผนกำลังคน (5) ศึกษา วิเคราะห์ เสนอแนะนโยบาย ประสานงาน (6) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และบริหารเงินทุน ตลอดจนสวัสดิการ (7) กำกับ ติดตาม และตรวจสอบการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ (8) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลเสนอ ก.ค.ศ. (9) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไวัในพระราชบัญญัตินี้

  19. มาตรา 21 ให้มีคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษา เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา” ประกอบด้วย (1) ประธานอนุกรรมการซึ่งอนุกรรมการเลือกกันเอง จำนวนหนึ่งคน (2) อนุกรรมการโดยตำแหน่งจำนวนสามคน ได้แก่ ผู้แทน ก.ค.ศ. ผู้แทนคุรุสภา และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ

  20. (3) อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสามคน ซึ่งคัดเลือกจากบุคคลในเขตพื้นที่การศึกษาที่มีความรู้ ความสามารถหรือมีประสบการณ์ด้านการบริหารงานบุคคล หรือด้านอื่นที่เป็นประโยชน์แก่การบริหารงานบุคคลในเขตพื้นที่การศึกษา (4) อนุกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา จำนวนสามคน ประกอบด้วย ผู้แทน ผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้บริหารหน่วยงานการศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นในเขตพื้นที่การศึกษาตามที่ ก.ค.ศ. กำหนดจำนวนหนึ่งคน ผู้แทนข้าราชการครู จำนวนหนึ่งคน และ ผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่น จำนวนหนึ่งคน

  21. อ.ก.ค. เขตพื้นที่การศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน กรรมการผู้แทน 3 คน โดยตำแหน่ง 3 คน

  22. อนุกรรมการโดยตำแหน่ง ผู้แทน ก.ค.ศ. ผู้แทนคุรุสภา ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา

  23. อนุกรรมการผู้แทนข้าราชการครูอนุกรรมการผู้แทนข้าราชการครู ผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษา ผู้แทนข้าราชการครู ผู้แทนบุคลากรทางการศึกษา

  24. มาตรา 23ให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา มีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) พิจารณากำหนดนโยบายการบริหารงานบุคคลในเขตพื้นที่การศึกษารวมทั้งการกำหนดจำนวนและอัตราตำแหน่งและเกลี่ยอัตรากำลังให้สอดคล้องกับนโยบาย การบริหารงานบุคคล ระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กำหนด (2) พิจารณาให้ความเห็นชอบการบรรจุและแต่งตั้ง (3) ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการพิจารณาความดีความชอบของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา

  25. (4) พิจารณาเกี่ยวกับเรื่องการดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (5) ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนา การเสริมสร้างขวัญกำลังใจ การปกป้องคุ้มครอง ระบบคุณธรรม การจัดสวัสดิการ และการยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา (6) กำกับ ดูแล ติดตามและประเมินผลการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา (7) จัดทำและพัฒนาฐานข้อมูลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา

  26. (8) จัดทำรายงานประจำปีที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาเพื่อ เสนอ ก.ค.ศ. (9) พิจารณาให้ความเห็นชอบเรื่องการบริหารงานบุคคลในเขตพื้นที่ การศึกษาที่ไม่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของผู้บริหารของหน่วยงานการศึกษา (10) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายอื่นหรือตามที่ ก.ค.ศ.มอบหมาย

  27. มาตรา 24 ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้บริหารราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา และมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) รับผิดชอบในการปฏิบัติงานราชการที่เป็นอำนาจและหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามอบหมาย (2) เสนอแนะการบรรจุและแต่งตั้ง และการบริหารงานบุคคลในเรื่องอื่นที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา (3) พิจารณาเสนอความดีความชอบของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ในหน่วยงานการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (4) จัดทำแผนและส่งเสริมการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา

  28. (5) จัดทำทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา (6) จัดทำมาตรฐานคุณภาพงาน กำหนดภาระงานขั้นต่ำ และเกณฑ์การประเมินผลงานสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (7) ประเมินคุณภาพการบริหารงานบุคคลและจัดทำรายงานการบริหารงานบุคคลเสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเสนอ ก.ค.ศ. ต่อไป (8) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้กฎหมายอื่น หรือตามที่ ก.ค.ศ. มอบหมาย

  29. มาตรา 26ให้คณะกรรมการสถานศึกษา มีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ดังต่อไปนี้ (1) กำกับ ดูแลการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการตามที่ ก.ค.ศ. และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา กำหนด (2) เสนอความต้องการจำนวนและอัตราตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาเพื่อเสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา พิจารณา (3) ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาต่อผู้บริหารสถานศึกษา (4) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายอื่น หรือตามที่ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามอบหมาย ให้นำความในมาตรา 16 มาใช้บังคับแก่คณะกรรมการสถานศึกษาโดยอนุโลม

  30. มาตรา 27 ให้ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาและมีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) ควบคุม ดูแลให้การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาสอดคล้องกับนโยบาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการตามที่ ก.ค.ศ. และอ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ การศึกษา กำหนด (2) พิจารณาเสนอความดีความชอบของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในสถานศึกษา (3) ส่งเสริม สนับสนุนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (4) จัดทำมาตรฐาน ภาระงานสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา (5) ประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการ ศึกษาเพื่อเสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา (6) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายอื่นหรือตามที่ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาหรือคณะกรรมการสถานศึกษามอบหมาย

  31. หมวด 2 บททั่วไป มาตราที่ 29 - 37

  32. มาตรา 29 การดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยยึดถือระบบคุณธรรม ความเสมอภาค ระหว่างบุคคล และหลักการได้รับการปฏิบัติและการคุ้มครองสิทธิอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน

  33. การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันในเรื่องอื่น ๆ จะกระทำมิได้

  34. การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี (Good Governance) 1. เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน 2. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภาระกิจของรัฐ 3. มีประสิทธิภาพและความคุ้มค่า 4. ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติที่เกินความจำเป็น 5. มีการปรับปรุงภาระกิจของส่วนราชการให้ทัน ต่อสถานการณ์ 6. ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับ การตอบสนองตามความต้องการ 7. มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ

  35. ระบบคุณธรรม 1. หลักความรู้ความสามารถ 2. หลักความเสมอภาค หลักความมั่นคง หลักความเป็นกลางทางการเมือง

  36. มาตรา 31 อัตราเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

  37. มาตรา 33 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอาจได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตามระเบียบที่ ก.ค.ศ.กำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี

  38. หมวด 3 การกำหนดตำแหน่งวิทยฐานะ และการให้ได้รับเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่ง มาตรา 38 - มาตรา 44

  39. มาตรา 38 ตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มี 3 ประเภทดังนี้ ก. ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้สอนในหน่วยงานการศึกษา ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้ (1) ครูผู้ช่วย (2) ครู (3) อาจารย์ (4) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (5) รองศาสตราจารย์ (6) ศาสตราจารย์

  40. ข. ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้ (1) รองผู้อำนวยการสถานศึกษา (2) ผู้อำนวยการสถานศึกษา (3) รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (4) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (5) รองอธิการบดี (6) อธิการบดี (7) ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด

  41. ค. ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น มีดังต่อไปนี้ (1) ศึกษานิเทศก์ (2) ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด หรือตำแหน่งของข้าราชการที่ ก.ค.ศ. นำมาใช้กำหนดให้เป็นตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตาม พระราชบัญญัตินี้

  42. มาตรา 39 ให้ตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาดังต่อไปนี้เป็นตำแหน่งที่มีวิทยฐานะ ได้แก่ ก. ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะดังต่อไปนี้ (1) ครูชำนาญการ (2) ครูชำนาญการพิเศษ (3) ครูเชี่ยวชาญ (4) ครูเชี่ยวชาญพิเศษ

  43. ข. ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา มีวิทยฐานะดังต่อไปนี้ (1) รองผู้อำนวยการชำนาญการ (2) รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ (3) รองผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ (4) ผู้อำนวยการชำนาญการ (5) ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ (6) ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ (7) ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญพิเศษ

  44. ค. ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะดังต่อไปนี้ (1) รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา ชำนาญการพิเศษ (2) รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา เชี่ยวชาญ (3) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เชี่ยวชาญ (5) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เชี่ยวชาญพิเศษ

  45. ง. ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ มีวิทยฐานะดังนี้ (1) ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ (2) ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ (3) ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ (4) ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญพิเศษ

  46. มาตรา 44 ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ใดจะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด วิทยฐานะใด จะได้รับเงินเดือนอย่างใด ตามมาตรา 31 ให้เป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด โดยให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำหรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ ให้เป็นไปตาหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ค.ศ.

More Related