240 likes | 500 Views
สต็อกทุนของประเทศไทย Capital Stock of Thailand ฉบับ พ.ศ. 2545. ส่วนงานบัญชีทุนและงบดุลแห่งชาติ สำนักบัญชีประชาชาติ พฤษภาคม 2547. Outline of Presentation. ส่วนที่ 1 การจัดทำบัญชีสต็อกทุนของประเทศไทย ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์ปัจจัยทุน Incremental Capital Output Ratio :ICOR
E N D
สต็อกทุนของประเทศไทย Capital Stock of Thailand ฉบับ พ.ศ. 2545 ส่วนงานบัญชีทุนและงบดุลแห่งชาติ สำนักบัญชีประชาชาติ พฤษภาคม 2547
Outline of Presentation ส่วนที่ 1 การจัดทำบัญชีสต็อกทุนของประเทศไทย ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์ปัจจัยทุน • Incremental Capital Output Ratio :ICOR • Capital Productivity : CP • Total Factor Productivity :TFP National Accounts Office National Balance Sheet Section
ส่วนที่ 1 การจัดทำบัญชีสต็อกทุนของประเทศไทย • คำนิยาม (Definition) • วิธีการ (Methodology) • ผลการวิเคราะห์ (Results) National Accounts Office National Balance Sheet Section
คำนิยาม ทุน (Capital) หมายถึงทรัพย์สินที่ถูกใช้เป็นปัจจัยการผลิตสำหรับผลิตสินค้าและบริการประกอบด้วยทรัพย์สินถาวร (Fixed Asset) และทรัพย์สินทางการเงิน (Financial Asset) แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะส่วนที่เป็นทรัพย์สินถาวรเท่านั้น โดยทรัพย์สินถาวรดังกล่าวจะต้องเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาในระบบเศรษฐกิจมีตัวตนมีความคงทนถาวรมีอายุใช้งานเกิน 1 ปีและสามารถสร้างขึ้นใหม่ทดแทนได้ National Accounts Office National Balance Sheet Section
คำนิยาม (ต่อ) สต็อกทุน (Gross Capital Stock: GCS) หมายถึงผลรวมของทุนที่อยู่ในรูปของทรัพย์สินถาวร (Fixed Asset) ที่ถูกสะสมมาเรื่อยๆตามอายุการใช้งานของทรัพย์สินประเภทนั้นๆโดยทั่วไปนิยมวัดสต็อกทุนที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจณช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งคือณวันสิ้นปี สต็อกทุนสุทธิ (Net Capital Stock: NCS) หมายถึงมูลค่าของสต็อกทุนหลังจากหักค่าเสื่อมราคาสะสม National Accounts Office National Balance Sheet Section
วิธีการ (Methodology) แนวคิดพื้นฐาน ประมวลผลโดยวิธีการสะสมทุนนิรันดร์ (Perpetual Inventory Method: PIM) คือ หามูลค่าของทรัพย์สินถาวรที่มีอยู่ทั้งหมดณปีใดปีหนึ่งโดยมูลค่าดังกล่าวครอบคลุมทุนส่วนที่ได้ลงทุนในอดีตตั้งแต่ปีเริ่มแรกของการใช้งานรวมกับที่จัดหาเพิ่มเติมในปีต่อมาหักด้วยส่วนปลดระวางออกไปจากขบวนการผลิตจนถึงปีสุดท้ายที่ต้องการวัดสต็อกทุนมูลค่ารวมของทรัพย์สินถาวรตามราคาปีที่ต้องการหาที่ยังไม่ได้หักค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินถาวรเรียกว่าสต็อกทุน (Gross Capital Stock) National Accounts Office National Balance Sheet Section
ผลการวิเคราะห์ (Results) ภาพรวมสต็อกทุนและสต็อกทุนสุทธิ ปี 2545 มูลค่า ณ ราคาทุนทดแทน - สต็อกทุนเบื้องต้น 25.4 ล้านล้านบาท ขยายตัว ร้อยละ 2.3 - สต็อกทุนสุทธิ 18.2ล้านล้านบาทขยายตัว ร้อยละ 1.4 • มูลค่า ณ ราคาคงที่ปี 2531 • - สต็อกทุนเบื้องต้น 12.9 ล้านล้านบาท ขยายตัว • ร้อยละ 2.2 • - สต็อกทุนสุทธิ 9.4 ล้านล้านบาท ขยายตัว • ร้อยละ 1.5 National Accounts Office National Balance Sheet Section
โครงสร้างสต็อกทุนสุทธิ ปี 2545 1. สต็อกทุนสุทธิภาคเอกชน (Private Sector)มีสัดส่วนร้อยละ 70.2ของสต็อกทุนรวม • สิ่งก่อสร้างร้อยละ 51.4 • เครื่องจักรและอุปกรณ์ ร้อยละ 48.6 2. สต็อกทุนสุทธิภาครัฐ (Public Sector)มีสัดส่วนร้อยละ 29.8ของสต็อกทุนรวม • สิ่งก่อสร้างร้อยละ 83.5 • เครื่องจักรและอุปกรณ์ ร้อยละ 16.5 National Accounts Office National Balance Sheet Section
สต็อกทุนสุทธิรายสาขาการผลิตสต็อกทุนสุทธิรายสาขาการผลิต สาขาที่มีมูลค่าสูงใน 5 อันดับแรกในปี 2545 • สาขาที่อยู่อาศัย 2.1 ล้านล้านบาท • สาขาคมนาคมขนส่งและสื่อสาร 1.8 ล้านล้านบาท 3. สาขาอุตสาหกรรม 1.5 ล้านล้านบาท 4. สาขาบริการ 1.0 ล้านล้านบาท • สาขาไฟฟ้าประปา 0.7 ล้านล้านบาท National Accounts Office National Balance Sheet Section
สต็อกทุนสุทธิรายสาขาการผลิตสต็อกทุนสุทธิรายสาขาการผลิต National Accounts Office National Balance Sheet Section
อัตราขยายตัวสต็อกทุนสุทธิในปี 2545 สาขาที่มีอัตราขยายตัวสูงที่สุด • สาขาคมนาคมขนส่งและสื่อสาร ขยายตัว ร้อยละ 3.6 สาขาที่มีอัตราขยายตัวต่ำที่สุด • สาขาค้าส่งค้าปลีก ขยายตัวลดลงร้อยละ 0.5 ภาพรวม • ขยายตัวร้อยละ 1.5 National Accounts Office National Balance Sheet Section
ช่วงก่อนวิกฤต ช่วงวิกฤต ช่วงหลังวิกฤต อัตราขยายตัวของสต็อกทุนสุทธิ National Balance Sheet Section
ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์ปัจจัยทุน • Incremental Capital Output Ratio :ICOR • Capital Productivity:CP • Total Factor Productivity:TFP National Accounts Office National Balance Sheet Section
ICOR • ภาพรวม ICOR ในปี 2545มีค่า 0.9 เทียบกับ 1.7 ในปี 2544 แสดงให้เห็นว่าในปี 2545 ศักยภาพการลงทุนในระบบเศรษฐกิจมีศักยภาพดีกว่าการลงทุนในปี 2544 • จำแนกรายสาขาในปี 2545สาขาที่มีค่า ICOR มากกว่า 1 คือสาขาไฟฟ้าประปาสาขาคมนาคมขนส่งและสื่อสาร(เป็นสาขาที่มีปัจจัยทุนสูงเนื่องจากเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ให้บริการแก่สาธารณะดังนั้นจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนมากและเป็นโครงการระยะยาวกว่าจะคืนทุน รวมทั้งเป็นส่วนที่ไม่ก่อให้เกิดผลผลิตต่อส่วนรวมมากนัก)สาขาที่อยู่อาศัยและสาขาเกษตรกรรม National Accounts Office National Balance Sheet Section
เปรียบเทียบ ICOR และ GDP Growth National Balance Sheet Section
Capital Productivity • ภาพรวม (Capital productivity) ในปี 2545มีค่าเท่ากับ 0.34 เทียบกับ 0.33 ในปี 2544 มีแนวโน้มดีขึ้นเล็กน้อยภายหลังจากที่ผลิตภาพทุนมีแนวโน้มลดลงโดยตลอดตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมาและต่ำที่สุดในปี 2541 • ผลิตภาพทุนรายสาขาในปี 2545สาขาที่มีแนวโน้มการปรับตัวดีขึ้นจากปี 2544 คือสาขาเหมืองแร่และย่อยหินสาขาอุตสาหกรรมสาขาก่อสร้างสาขาคมนาคมขนส่งและสื่อสารสาขาค้าส่งค้าปลีกสาขาธนาคารประกันภัยและอสังหาริมทรัพย์สาขาบริหารราชการแผ่นดินและสาขาบริการ National Accounts Office National Balance Sheet Section
กรณีปรับอัตราการใช้กำลังการผลิตกรณีปรับอัตราการใช้กำลังการผลิต Capital Utilization National Accounts Office National Balance Sheet Section
Total Factor Productivity • ภาพรวมในช่วงปี 2525 –2545 ค่า TFP เฉลี่ย 0.28ต่อปี • พิจารณาตามแผนพัฒนาฯฉบับที่ 5 – ปีแรกฉบับที่ 9 มีอัตราขยายตัวเฉลี่ยเพียงร้อยละ 0.28 ต่อปีโดยช่วงแผนพัฒนาฯฉบับที่ 6 ค่า TFP ของประเทศดีที่สุด TFP มีค่าขยายตัวร้อยละ 2.38 ต่อปี ในขณะที่ช่วงแผนพัฒนาฯฉบับที่ 8 เป็นช่วงที่ค่า TFP ของประเทศต่ำที่สุดคือมีอัตราโดยเฉลี่ยลดลงร้อยละ 1.77 ต่อปีอย่างไรก็ตามในช่วงปีแรกของแผนพัฒนาฯฉบับที่ 9 คือปี 2545 ค่า TFP ปรับตัวดีขึ้นโดยมีอัตราขยายตัวร้อยละ 3.38 ต่อปี National Accounts Office National Balance Sheet Section
TFP ปี 2525-2545 National Balance Sheet Section
ภาพรวม Total Factor Productivity % ปีแรกแผนฯ 9 แผนฯ 6 0.28% เฉลี่ยปี 2525-2545 แผนฯ 8 แผนฯ 5 แผนฯ 7 National Balance Sheet Section
TFP สาขาเกษตรกรรม % แผนฯ 6 -0.50% เฉลี่ยปี 2525-2545 แผนฯ 8 แผนฯ 5 ปีแรกแผนฯ 9 แผนฯ 7 National Balance Sheet Section
TFP สาขานอกภาคเกษตรกรรม % ปีแรกแผนฯ 9 แผนฯ 6 -0.14% แผนฯ 7 เฉลี่ยปี 2525-2545 แผนฯ 5 แผนฯ 8 National Balance Sheet Section
TFP สาขาอุตสาหกรรม % ปีแรกแผนฯ 9 0.62% แผนฯ 6 เฉลี่ยปี 2525-2545 แผนฯ 7 แผนฯ 8 แผนฯ 5 National Balance Sheet Section
TFP สาขาบริการและอื่นๆ % ปีแรกแผนฯ 9 แผนฯ 6 -1.00% แผนฯ 7 เฉลี่ยปี 2525-2545 แผนฯ 5 แผนฯ 8 National Balance Sheet Section