1 / 34

ณดา จันทร์สม สำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 9 ธันวาคม 2549

การลงทุนขนาดใหญ่ของไทย บทเรียนจากวิกฤติและแนวทางจัดการสำหรับอนาคต. ณดา จันทร์สม สำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 9 ธันวาคม 2549. การสัมมนาวิชาการประจำปี 2549 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย “ สู่หนึ่งทศวรรษหลังวิกฤตเศรษฐกิจ : ได้เรียนรู้และปรับปรุงอะไรบ้าง ?”

creda
Download Presentation

ณดา จันทร์สม สำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 9 ธันวาคม 2549

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การลงทุนขนาดใหญ่ของไทย บทเรียนจากวิกฤติและแนวทางจัดการสำหรับอนาคต ณดา จันทร์สม สำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 9 ธันวาคม 2549 การสัมมนาวิชาการประจำปี 2549 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย “สู่หนึ่งทศวรรษหลังวิกฤตเศรษฐกิจ: ได้เรียนรู้และปรับปรุงอะไรบ้าง?” (Toward a Decade After the Economic Crisis: Lessons and Reforms) 9-10 ธันวาคม 2549 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน จังหวัดชลบุรี

  2. สัดส่วนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานแยกตามรายสาขาตามแผนพัฒนาฯสัดส่วนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานแยกตามรายสาขาตามแผนพัฒนาฯ ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

  3. Need for better Infrastructure Overall Performance • An overall improvement from the 31st rank among 60 countries in 2002 to 27th rank in 2005 but back to 32nd in 2006. • The ranking in infrastructure category improved from 50th in 2004 to 48th rank in 2006, relatively considered weakness. • basic infrastructure ranks 38th; • technology infrastructure ranks 48th; • science infrastructure ranks 53th; • Health, environment and education ranks 48th. Obviously, the ranking in infrastructure competitiveness category of Thailand is relatively low among 60 countries Thailand’s competitive ranking

  4. อันดับความสามารถในการแข่งขันของไทยกับกลุ่มประเทศอาเซียน โดย IMD หมายเหตุ IMD ไม่ได้จัดความสามารถของประเทศเวียดนาม ที่มา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2549: หน้า 7)

  5. Investment Costs of Mega Projects for 2005-2009 Source: “Updating on Thailand Mega Projects,” NESDB (2006)

  6. Example of Mega Projects Source: “Updating on Thailand Mega Projects,” NESDB (2006)

  7. แผนการระดมทุนสำหรับโครงการขนาดใหญ่2548-2552แผนการระดมทุนสำหรับโครงการขนาดใหญ่2548-2552 หน่วยงาน : ล้านบาท ที่มา กระทรวงการคลัง หมายเหตุ :ข้อมูล ณ วันที่ 7 มิถุนายน 2548

  8. ผลกระทบของการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ต่อเศรษฐกิจมหภาคผลกระทบของการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ต่อเศรษฐกิจมหภาค • การลงทุนโครงการขนาดใหญ่จะส่งผลกระทบต่อการ การขยายตัวทางเศรษฐกิจ การลงทุนภาคเอกชน ดุลบัญชีเดินสะพัด ระดับราคา อัตราดอกเบี้ยทั้งระยะสั้นและระยะยาว และส่งผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ • ทางเลือกในการระดมทุนที่เน้นการกู้ยืมจะส่งผลต่อสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP สูงกว่าระดับร้อยละ 50 • โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการลงทุน ได้แก่ ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหดตัว

  9. ทางเลือกในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางเลือกในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน • การจัดบริการโดยรัฐ : • ความจำเป็น • ปัญหาและข้อจำกัด • บทบาทของเอกชนในการมีส่วนร่วมในการลงทุน (public-private partnership: PPPs)

  10. ลักษณะของโครงสร้างพื้นฐานลักษณะของโครงสร้างพื้นฐาน • เป็นสินค้าทุน เป็นการให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป เช่น การสร้างระบบคมนาคมขนส่ง ถนน สะพาน ทางด่วน ฯลฯ หรือ ระบบสาธารณูปการต่าง ๆ เช่น ประปา ท่อส่งน้ำ เป็นต้น • ผลตอบแทนของโครงการโครงสร้างพื้นฐานมักจะใช้ระยะเวลาคืนทุนนาน ให้ผลตอบแทนต่อหน่วยน้อย • อายุของโครงสร้างพื้นฐานจะยาวนานมากกว่า 10 ปี ถือเป็นถาวรวัตถุ ที่จะต้องมีการดูแลรักษา มีต้นทุนค่าดำเนินงานและดูแลรักษาสูง • โครงสร้างพื้นฐานมักจะมีความคงตัวอยู่กับที่ ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่นนั้นเป็นระยะเวลานาน • การให้บริการโครงสร้างพื้นฐานมักจะสะท้อนความล้มเหลวของกลไกตลาด (market failure) เช่น การเป็นผู้ผลิตรายเดียว การผลิตโดยไม่มุ่งเน้นผลกำไร หรือแม้ว่าจะปล่อยให้กลไกตลาดทำงานก็จำเป็นต้องมีการควบคุมหรือแทรกแซงจากภาครัฐด้วย • การให้บริการโครงสร้างพื้นฐานมักจะให้ความเสมอภาคในการบริการ โดยไม่เลือกผู้รับบริการ

  11. ทำไมต้องส่งเสริมให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทำไมต้องส่งเสริมให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน • ช่วยเร่งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และปลดปล่อยรัฐบาลจากการบริหารการคลังที่หนักหน่วง • ลดต้นทุนของการให้บริการสาธารณะจากการจัดการที่มีประสิทธิภาพและปรับปรุงการดำเนินงานผ่านรูปแบบสัญญาที่เน้นผลผลิตเป็นหลัก (output-based contracts) และสร้างแรงจูงใจ • เป็นการโอนย้ายทุน ความชำนาญในการบริหารจัดการ และนวัตกรรมทางเทคโนโลยีใหม่ไปยังประเทศหรือภูมิภาคที่มีความต้องการ กระตุ้นการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐานของภาคเอกชนภายในประเทศ และตลาดทุน • โอนย้ายความเสี่ยงไปยังนักลงทุนและนักดำเนินงานภาคเอกชน ที่ซึ่งมีความคิดกันว่าจะสามารถจัดการในเรื่องดังกล่าวได้ดีกว่าภาครัฐ และ • ช่วยสนับสนุนนโยบายทางสังคมและเศรษฐกิจ รวมถึงการบรรเทาปัญหาความยากจนในประเทศ

  12. การมีส่วนร่วมของเอกชนในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานการมีส่วนร่วมของเอกชนในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ที่มา Bellier, Michel and Yue Maggie Zhou (2003, หน้า 2)

  13. ความเสี่ยงและผลตอบแทนของภาคเอกชนสำหรับรูปแบบการมีส่วนร่วมต่างๆความเสี่ยงและผลตอบแทนของภาคเอกชนสำหรับรูปแบบการมีส่วนร่วมต่างๆ สัญญาการให้บริการ สัญญาการบริหาร สัญญาจ้างบริหาร สัญญาเช่า สัญญาเช่า Greenfield สัญญาสัมปทาน สัญญาสัมปทาน สัญญา ร่วมทุน โอน/ขายทรัพย์สิน เอกชนดำเนินการภายใต้การกำกับดูและของรัฐ เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมน้อย - ความเสี่ยงน้อย - ผลตอบแทนน้อย เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมาก - ความเสี่ยงมาก - ผลตอบแทนมาก ที่มา: ดัดแปลงจาก World Bank (2001), Toolkit: A guide for hiring and managing advisors for private participation in infrastructure

  14. หลักการกำหนดรูปแบบการมีส่วนร่วมของเอกชน (1) โครงสร้างตลาดของบริการ (2) ความพร้อมของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ (3) นโยบายการกำหนดราคา และ (4) ความพร้อมในการกำกับดูแลของรัฐ

  15. การมีส่วนร่วมของเอกชนในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของไทยการมีส่วนร่วมของเอกชนในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของไทย • การจัดการแบบเหมาเสร็จ (Turnkey Contracts) • สัญญาสัมปทาน (concession agreeements) • Build, Transfer, Operate (BTO-- ตัวอย่างโครงการที่ทำสัญญาแบบนี้ ได้แก่ ทางพิเศษศรีรัช (โครงการระบบทางด่วนขั้นที่2) โครงการทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด โครงการทางยกระดับดอนเมือง (ดอนเมืองโทล์ลเวย์) สัญญารถร่วมบขส. สัมปทานโทรศัพท์ประจำที่ TA และ TT&T สัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ AIS และ DTAC เป็นต้น • Build, Operate, Transfer (BOT)--ตัวอย่างโครงการที่ทำสัญญาแบบนี้ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส การประกอบกิจการท่าเรือแหลมฉบัง 3 แห่ง โครงการประปาปทุมธานี-รังสิต เป็นต้น • Build, Own, Operate (BOO)--โครงการผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (Small Power Producer, SPP) โครงการผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (Independent Power Producer, IPP) เป็นต้น • สัญญาจ้างบริการ (contract out of service)—การทำความสะอาด การบริการที่จอดรถ การเก็บค่าผ่านทาง ฯลฯ • สัญญาเช่า (Lease Contract)--สัญญาการประกอบกิจการท่าเทียบเรือที่ท่าเรือแหลมฉบัง 5 แห่ง ซึ่งให้บริการเฉพาะตู้สินค้าและอื่นๆ เป็นต้น

  16. ตัวอย่างรูปแบบการมีส่วนร่วมของเอกชนในการพัฒนาการขนส่งมวลชนระบบรางตัวอย่างรูปแบบการมีส่วนร่วมของเอกชนในการพัฒนาการขนส่งมวลชนระบบราง • รูปแบบการพัฒนาระบบผ่านระบบออกแบบ-ก่อสร้าง-จัดหาเงิน-ดำเนินการ (Design-Build-Finance-Operate: DBFOs) หรือเรียกว่า การจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จแบบสมบูรณ์ (super turnkey procurement) • การให้สัมปทาน (Concessioning) บริการเดินรถไฟหรือรถใต้ดิน • การขายหุ้นให้เอกชนของกิจการรัฐวิสาหกิจ • PPPs สำหรับการดูแลและยกระดับบริการ

  17. โครงการตัวอย่างการใช้ DB • the Docklands Light Railway to Lewisham, and Croydon Tramlink, London, UK • Union Pearson Air Rail Link in Toronto • Richmond Airport Vancouver Project (the Canada Line) • STAR LRT (two phases) and PUTRA LRT, KL, Malaysia • MRT, Manila, The Philippines

  18. ข้อสังเกต • คุณลักษณะที่เหมือนกันประการหนึ่ง คือ ดำเนินการภายใต้ปริมาณการเดินทางที่น้อยกว่าการประมาณการค่อนข้างมาก (ประมาณ 1 ใน 3) • โครงการประสบปัญหาทางการเงิน และส่งผลให้สุดท้ายรัฐต้องเข้าไปมีบทบาทในการแก้ปัญหา

  19. เงื่อนไขสำหรับสัญญาสัมปทานเงื่อนไขสำหรับสัญญาสัมปทาน • กระบวนการประมูลที่มีการแข่งขัน (‘best value’ not simply ‘low cost’) • ให้น้ำหนักกับแผนการลงทุนของเอกชนที่จะลดภาระการอุดหนุนโดยรัฐ • เงื่อนไขในการปรับค่าบริการ หรือค่าสัมปทาน • ต้องมีหลักเกณฑ์ในการวัดผลการดำเนินงานและผูกพันกับค่าบริการ และค่าสัมปทาน • มีการกำกับดูแลโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง และมีกรอบการในการกำกับดูแลที่ผูกพันการดำเนินงานอย่างชัดเจนและเป็นธรรมทั้งกับผู้รับสัมปทาน และผู้รับบริการ

  20. การขายหุ้นของกิจการให้เอกชน • รูปแบบนี้มีการทำในหลายสาขา ประเทศไทยที่ดำเนินการไปแล้วได้แก่ สาขาพลังงาน (PTT) และสื่อสาร (MCOT) แต่ยังมีปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการ ประเด็นปัญหาอยู่ที่กระบวนการไม่ใช่หลักการ • รูปแบบนี้ถูกนำมาใช้ระบบขนส่งมวลชนระบบรางใน 2 กรณีศึกษา คือ MRT ของสิงคโปร์ และฮ่องกง

  21. ประเด็นตัดสินใจหลักในการขายหุ้นของกิจการรัฐวิสาหกิจให้เอกชนประเด็นตัดสินใจหลักในการขายหุ้นของกิจการรัฐวิสาหกิจให้เอกชน • โอนย้ายการควบคุมกิจการอย่างไร ซึ่งเกี่ยวข้องกับการกำหนดสัดส่วนของการลงทุนเริ่มต้นของเอกชน รวมถึงการวางข้อกำหนดสำหรับควบคุมกิจการภายหลังการขายหุ้น เทคนิคที่เป็นที่นิยมโดยทั่วไป คือ รัฐจะยังคงถือหุ้นในสัดส่วนที่ยังคงอำนาจในการควบคุมกิจการอยู่ เรียกว่าเพื่อให้สามารถยับยั้งการกระทำบางอย่างได้ (เช่น การเข้าครอบงำกิจการของต่างชาติ) • กำหนดราคาในการเสนอขายอย่างไร เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจถึงวิธีการในการกำหนดราคาเสนอขายหลักทรัพย์ ซึ่งจะเป็นวิธีเสนอราคาจากนักลงทุนเฉพาะเจาะจง (tender) หรือการกำหนดราคาคงที่ แต่ทั้งนี้ต้องเป็นราคาที่สอดคล้องกับมูลค่าและโอกาสทางธุรกิจของกิจการด้วย และ • จัดสรรหุ้นในสัดส่วนอย่างไร เกี่ยวข้องกับสัดส่วนการกระจายหุ้นให้นักลงทุนเฉพาะกลุ่มภายในประเทศ นักลงทุนสถาบัน นักลงทุนทั่วไป หรือกระจายไปยังนักลงทุนต่างชาติ

  22. กองทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Development Fund) • วัตถุประสงค์เพื่อให้การจัดหาแหล่งเงินของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเป็นไปอย่างเป็นระบบ และสร้างแรงจูงใจทางการเงินให้แก่โครงการเพิ่มมากขึ้น • แหล่งที่มาของเงินทุนสำหรับกองทุนจะมาจาก • เงินทุนเริ่มต้นจากรัฐบาล • เงินลงทุนจากนักลงทุนกลุ่มต่าง ๆ ผ่านการระดมทุนด้วยการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน (securitization) • แหล่งรายได้ที่สำคัญต้องมาจากประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมของโครงการที่ควรจะต้องจัดเก็บเพื่อเป็นประโยชน์ของกองทุนอย่างเต็มที่

  23. Private Investors Government Equity Multilateral Agencies Fund Management Corporation Infrastructure Development Fund Credit Rating Agencies Supervising Committee Project A Project B Project C Project D โครงสร้างกองทุนเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ที่มา Kumar, Gray, Hoskote, Klaudy, and Ruster (1997 : 35)

  24. การจัดตั้ง Mass Transit Development Fund (1) • นิยามผลประโยชน์ของโครงการให้ครอบคลุมผลประโยชน์ทั้งทางตรง (ค่าบริการ) และทางอ้อม (การลดมลพิษ การเพิ่มขึ้นของมูลค่าทรัพย์สิน ฯลฯ) เพื่อสร้างผลตอบแทนที่จูงใจให้ตราสารที่ระดมทุนผ่านการทำ securitization • รูปแบบการจัดเก็บประโยชน์ทางอ้อมจากการลดปัญหาจราจร คือ การจัดเก็บรายได้จากผู้ใช้รถเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ที่มีการจราจรหนาแน่น ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของการเก็บภาษีน้ำมันในอัตราที่สูงขึ้น การขึ้นค่าจดทะเบียนและภาษีรถยนต์ประจำปี การกำหนดเขตพื้นที่ในการจอดและเก็บค่าบริการในอัตราสูง เหล่านี้จะเป็นแหล่งเงินสำหรับนำมาใช้ในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนระบบราง นอกจากนั้น

  25. การจัดตั้ง Mass Transit Development Fund (2) • จัดเก็บผลประโยชน์จากการที่มูลค่าที่ดินปรับตัวสูงขึ้นจากการมีระบบขนส่งมวลชนระบบราง เป็นแหล่งรายได้สำหรับการพัฒนาโครงการ • เครื่องมือในการเก็บผลประโยชน์อย่างภาษีสำหรับผู้ใช้รถ จะเป็นเครื่องมือในการจำกัดการใช้รถยนต์และผลักดันให้ผู้เดินทางเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางจากการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลให้มาใช้รถสาธารณะมากขึ้น ซึ่งในทางหนึ่งจะเป็นการเพิ่มปริมาณการเดินทาง (ridership) ของระบบ และเพิ่มความน่าสนใจทางการเงินของโครงการได้อีกทางหนึ่งด้วย

  26. National Government Budget system Ministry of Finance Internatinal aid agencies Taxes and non-taxes General Account Ministers of public agencies MTDF SRT Other special revenues Special Account MRTA Bank loan and bond issued at market Money and capital market Securitization and redemption BTSC Local Government Taxes and non-taxes General Account Special Account Other Public Transport Projects Mass Transit Development Fund Source: Executive Summary of the IMAC Study, page 24

  27. การพัฒนาตลาดการเงินภายในประเทศเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการพัฒนาตลาดการเงินภายในประเทศเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน • ยกระดับการออมในประเทศ : สร้างระบบการออมผูกพันระยะยาว (contractual saving) หรือการออมภาคบังคับ • อัตราการออมของไทยอยู่ที่ระดับ ร้อยละ 30.5 ต่อ GDP ในปี 2546 ลดลงจาก ร้อยละ 35.2 ในปี 2534) จะอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศมาเลเซีย และประเทศสิงคโปร์ ในขณะที่อัตราการออมของภาคครัวเรือนมีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจน (ร้อยละ 3.8 ในปี 2546 ลดลงจากร้อยละ 14.4 ในปี 2532) • กลไกที่จะผลักให้เงินออมเหล่านั้นมีส่วนในการพัฒนาตลาดทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเข้าถึงตราสารเพื่อการระดมทุนสำหรับโครงสร้างพื้นฐาน โดยรัฐวางกรอบในการบริหารความเสี่ยงของการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งในเรื่องการกำหนดราคา และการประกันผลตอบแทนได้อย่างชัดเจน รวมถึง ลดข้อจำกัดทางด้านภาษีและกฎหมายที่มีอยู่ในการทำ securitization และอื่นๆ

  28. การพัฒนาตลาดการเงินภายในประเทศเพื่อรองรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานการพัฒนาตลาดการเงินภายในประเทศเพื่อรองรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน • ส่งเสริมการออมระยะยาวแบบผูกพัน • พัฒนาตลาดตราสารหนี้ • สร้างกลไกให้นักลงทุนสถาบันเข้ามามีส่วนร่วมในการระดมทุนของกิจการที่พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้น • สร้างกลไกให้กิจการที่จัดบริการโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มทุนผ่านตลาดทุนภายในประเทศมากขึ้น • เพิ่มบทบาทของสถาบันการเงินในการเป็นแหล่งระดมทุนสำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้น

  29. การพัฒนาตลาดการเงินภายในประเทศเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (2) • ตลาดตราสารหนี้ เสาหลักหนึ่งของการระดมทุน สามารถเป็นช่องทางในการระดมทุนจากนักลงทุนสถาบัน และนักลงทุนรายย่อยเข้ามามีบทบาทในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานได้ (ผ่านการทำ securitization ที่ต้องเร่งลดข้อจำกัดในด้านกฎหมายและภาษี) • พัฒนาตลาดตราสารหนี้ให้รองรับการลงทุนขนาดใหญ่ โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานที่มีความต้องการเงินทุนระยะยาว • ตลาดตราสารหนี้พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงตลาด และสภาพคล่อง รวมถึงความหลากหลายของตราสาร • ขาด long-term benchmark (25-30 ปี)

  30. Management Issues for Infrastructure development • People Participation • Project’s Feasibility Study: • Economic Cost/Benefit Analysis • Environment Impact Assessment (EIA), • Social Impact Assessment (SIA) • Strength Public Private Partnership (PPP) in Public Infrastructure projects • Demand Side Management • Mass Transit Development Fund • Mobilized Domestic Financial Market

  31. บทสรุป (1) • ไทยยังมีความต้องการโครงสร้างพื้นฐานอยู่มาก มีประเด็นสำคัญที่ต้องคำนึงถึงไม่ว่าเรื่องปริมาณการลงทุน การกระจายการลงทุน และประสิทธิภาพในการการใช้และการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน • การลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐตามที่ระบุไว้ในแผน จะมีผลกระทบทางเศรษฐกิจในระดับหนึ่ง แต่ไม่รุนแรง แต่รัฐควรให้ความระมัดระวังกับผลกระทบต่อดุลบัญชีเดินสะพัด อัตราเงินเฟ้อ และยังมีปัจจัยเสี่ยงอย่างราคาน้ำมันและสภาพเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าเป็นตัวแปรที่สำคัญ • แผนการจัดหาเงินของโครงการขนาดใหญ่ที่เน้นทั้งการใช้งบประมาณ และการกู้ยืม จะส่งผลต่อหนี้สาธารณะต่อ GDP ถึงแม้จะไม่รุนแรงนัก แต่ควรพิจารณาทางเลือกการลงทุนอื่น เพื่อลดภาระทางการคลังของรัฐ

  32. บทสรุป (2) • การมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในรูปแบบต่าง ๆ เป็นทางเลือกในการลดข้อจำกัดทางด้านคลังของรัฐ และยังเป็นการกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจของเอกชน โดยเฉพาะในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งคาดหวังถึงประสิทธิภาพที่ดีกว่าการจัดบริการโดยรัฐ • การจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน ควรเป็นทางเลือกที่ต้องพิจารณาอย่างจริงจังถึงรูปแบบ และแหล่งรายได้ของกองทุน ไม่ว่าจะเป็นการทำ Securitization การหาประโยชน์จากมูลค่าทรัพย์สิน และการจัดเก็บภาษีจากผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการโดยตรง (earmarked tax)

  33. บทสรุป (3) • ควรมีกลไกพัฒนาตลาดเงินเพื่อรองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในระยะยาว เนื่องจากเป็นโครงการที่มีระยะเวลาคืนทุนนาน จำเป็นต้องมีเงินทุนระยะยาวรองรับ ดังนั้น ต้องส่งเสริมให้เกิดรูปแบบการออมแบบผูกพันระยะยาว (Contractual Saving) และพัฒนาตลาดทางการเงิน • หลักการการลงทุนควรเน้นความโปร่งใส และการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นสิ่งจำเป็น • การพิจารณาการลงทุนควรพิจารณาจากเป้าหมายโครงการมากกว่าการกำหนดด้วยวิธีการ • รัฐควรลดบทบาทในการกู้ยืม และค้ำประกันเงินกู้ แต่มุ่งเน้นให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุนมากขึ้น โดยรัฐอำนวยความสะดวก และสร้างบรรยากาศการลงทุนที่เอื้ออำนวย

  34. Thank you

More Related