200 likes | 357 Views
S.N.P. NEWS. ข่าวสารฉบับที่ 147. S.N.P. GROUP OF COMPANIES. CLICK HERE. Free. www.snp.co.th Tel.0-2333-1199 ( 12 Line ). 1. CEO Articles. 2. Global News. Supply & Demand. 3. เที่ยวรอบโลก. 4. All about Logistics. 5. SNP Philosophy. 6. NEW PROMOTION.
E N D
S.N.P. NEWS ข่าวสารฉบับที่ 147 S.N.P. GROUP OF COMPANIES CLICK HERE Free
www.snp.co.thTel.0-2333-1199 ( 12 Line ) 1 CEO Articles 2 Global News Supply & Demand 3 เที่ยวรอบโลก 4 All about Logistics 5 SNP Philosophy 6 NEW PROMOTION Logistics Specialist and International Freight Forwarder
CEO Articles การพัฒนาคน ทุกครั้งที่ผมได้ข่าวการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เช่นข่าวการพัฒนาศักยภาพท่าเรือแหลมฉบังในปี พ.ศ. 2554 ให้มีความทันสมัยมากขึ้น หรือข่าวการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง เนื้อที่ 600 ไร่ งบลงทุน 2,570 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะเปิดได้ภายในปีงบประมาณ 2554 ผมมักมองว่า รัฐบาลเดินมาถูกทางเพียงครึ่งเดียว เหตุผลที่ผมมักคิดแบบนี้ก็เนื่องมาจากผมเห็นว่า การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ นอกจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแล้ว รัฐบาลยังคงต้องพัฒนาบุคลากรทางด้านโลจิสติกส์ของไทยด้วย บุคลากรทางด้านโลจิสติกส์ของไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ยังไม่มีความรู้ทางด้านการบริหารการจัดการระบบโลจิสติกส์เพียงพอ บุคลากรเหล่านี้ส่วนใหญ่ปฏิบัติงานได้ตามคำสั่งหรือตามความชำนาญที่ได้รับการสอนสั่งแบบรุ่นต่อรุ่น งานที่ปฏิบัติจึงออกมาในรูปแบบของการปฏิบัติงานจริง ๆ และส่วนใหญ่ก็เป็นการปฏิบัติตามคำสั่งหรือตามแผนงานของผู้บริหารต่างชาติแทบทั้งสิ้น มีบุคลากรของไทยเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่สามารถเรียนรู้และเข้าใจระบบบริหารและการจัดการโลจิสติกส์ที่ถูกต้องและครบวงจร บุคลากรทางด้านนี้ส่วนใหญ่จึงยังสู้ต่างชาติไม่ได้ เมื่อบุคลากรยังสู้ไม่ได้ เครื่องไม้เครื่องมือและโครงสร้างพื้นฐานมากมายที่รัฐบาลสร้างขึ้นมา ใครจะได้รับผลประโยชน์ไปเล่าครับ หากไม่ใช่กลุ่มคนที่มีระบบการบริหารการจัดการที่ดีกว่า ดังนั้น ผมจึงมักคิดเสมอว่า ไม่ว่ารัฐบาลจะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไปมากขนาดไหน และไม่ว่าโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้จะติดตั้งอยู่แห่งหนตำบลใดของประเทศไทย สุดท้ายแล้ว สัดส่วนของผลประโยชน์ที่มากกว่าก็ย่อมตกไปอยู่ในมือของโลจิสติกส์ต่างชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อ่านต่อหน้า 2
ผมเคยเสนอผู้บริหารหน่วยงานรัฐบางแห่งที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศให้พัฒนาบุคลากรควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แต่ดูเหมือนว่า เสียงของผมเป็นเพียงเสียงเล็ก ๆ ที่ไม่ได้รับความสนใจ จนทำให้ผมอดคิดไม่ได้ว่า ความคิดของผมอาจจะผิดที่ผิดทางก็ได้ ทั้งนี้เพราะผมเห็นหน่วยงานของรัฐได้มีการจัดอบรมสัมมนากันหลายครั้ง ด้วยงบประมาณที่รัฐจัดหาให้ มีการเชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และเชิญผู้ประกอบการโลจิสติกส์เข้าร่วมรับฟัง ผมเองก็เคยเข้ารับฟัง แต่สุดท้าย สิ่งที่นำมาอบรมก็เป็นเพียงแสดงให้เห็นถึงแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและรูปแบบการทำงานที่แตกกระจาย ไม่มีการร้อยเรียงให้เป็นหลักสูตร ไม่มีการนำระบบบริหารการจัดการโลจิสติกส์ให้สินค้าเคลื่อนย้ายแบบครบวงจรมาทำความเข้าใจกัน จนในที่สุด การเคลื่อนย้ายสินค้าเกือบทุกครั้งต้องเกิดจากการบริหารการจัดการมาจากต่างประเทศก่อนเรื่อยมา ทุกครั้งที่ผมได้ข่าวการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ผมจึงอดคิดไม่ได้ว่า รัฐบาลอาจมาถูกทางแล้ว แต่ผมอาจไม่เข้าใจเองก็ได้ แต่ที่ผมยังไม่เข้าใจคือ ก็ในเมื่อรัฐบาลมาถูกทาง แล้วทำไมผมจึงมักได้ยินได้ฟังตัวแทนภาครัฐออกมาให้ข่าวอย่างสม่ำเสมอว่า หากผู้ประกอบการโลจิสติกส์ของไทยไม่ปรับตัว อาจต้องปิดตัวเองลงในยุคการเปิดเสรีที่กำลังเดินหน้าไปอย่างไม่หยุดหย่อนโดยที่ด้านหนึ่งรัฐบาลก็พัฒนาโครงการพื้นฐานอย่างไม่หยุดไม่หย่อนแต่อีกด้านหนึ่งการพัฒนาบุคลากรไม่ได้ทำให้เท่าเทียมกัน สิทธิชัย ชวรางกูร กลับสู่หน้าหลัก
Global News ภาคใต้อัมพาตส่งออกชะงัก สูญรายได้กุ้ง-ปาล์ม-ยาง ค้าไทย-มาเลย์วูบ2พันล้าน นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล กรรมการรองเลขาธิการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ภาวะน้ำท่วมภาคใต้ จะส่งผลกระทบต่อการขนส่งสินค้าและการส่งออกอย่างแน่นอน โดยเฉพาะสินค้าที่ต้องอาศัยท่าเรือสงขลาซึ่งกำลังประสบปัญหาน้ำท่วม และการคมนาคมขนส่งมีปัญหา ทำให้ต้องหันมาใช้การขนส่งที่แหลมฉบังและคลองเตยแทน ย่อมทำให้ต้นทุนการส่งออกเพิ่มขึ้น และอาจทำให้การส่งมอบไม่ทันเวลาที่กำหนด ซึ่งขณะนี้เป็นช่วงการส่งมอบสินค้าสำหรับช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยสินค้าที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบอย่างหนัก เช่น กุ้ง เพราะฟาร์มกุ้งได้รับความเสียหาย ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ซึ่งภาคใต้เป็นแหล่งผลิตหลักและมีการส่งออกเป็นสัดส่วนถึง 70-80% ของผลผลิตทั้งหมด และเป็นไปได้ที่จะมีผลต่อตัวเลขการส่งออกปีนี้ที่ประเมินไว้ เพราะคำสั่งซื้อมีอยู่ แต่ติดปัญหาการขนส่ง นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า เท่าที่ได้รับรายงานสถานการณ์อุทกภัยในภาคใต้ อาจมีผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป และมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยางพารา โดยเฉพาะในส่วนของโรงบ่มยาง แต่ยังเร็วไปที่จะประเมินตัวเลขความเสียหายในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นมองว่าปัญหาน้ำท่วมในทุกภาคของประเทศ น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจประมาณ 50,000 ล้านบาท ซึ่ง ส.อ.ท.จะมีการหารือกันภาย ในสัปดาห์นี้ เพื่อหามาตรการช่วยเหลือประชาชน และผู้ประกอบการ อ่านต่อหน้า 2
นางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ประเมินความเสียหายต่อภาคเกษตรจากเหตุการณ์น้ำท่วมภาคใต้ ว่ามีมูลค่าเสียหายรวม 1.2 หมื่นล้านบาท โดยพื้นที่เกษตรเสียหาย 6 จังหวัด รวม 4 ล้านไร่ เนื่องจากพืชเกษตรในภาคใต้เป็นพืชที่มีราคา ทั้งปาล์มและยางพารา ส่งผลให้ปัญหาน้ำท่วมโดยรวมทั่วประเทศทำให้พื้นที่เกษตรเสียหายแล้ว 8 ล้านไร่ รวมมูลค่าความเสียหายทั้งหมด 2.4 หมื่นล้านบาท อ่านต่อหน้า 3 มติชนออนไลน์
น้ำตาลถูก หวั่นต่างชาติสบช่องแห่ตั้ง - ขยาย โรงงานอาหารในไทย นายพงษ์เทพ จารุอำพรพรรณ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการบริหารอ้อยและน้ำตาลทราย (กบ.) ว่า กบ.เป็นห่วงการใช้ปริมาณน้ำตาลในประเทศ หรือ โควตา ก. ในปี 2554 เป็นอย่างมาก แม้ว่า กบ.จะเห็นชอบให้มีการกำหนด โควตา ก.ไว้ที่ 25 ล้านกระสอบ ในปีการผลิต 2553/54 ซึ่งเป็นปริมาณสูงสุด ในประวัติศาสตร์ก็ตาม เนื่องจากเกรงว่าอาจมีบริษัทผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มข้ามชาติ หันมาตั้งฐานการผลิตในไทย หรือให้เพิ่มกำลังการผลิตในสาขาในประเทศมากขึ้น แล้วลดกำลังการผลิตในสาขาประเทศอื่น ๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิตของบริษัท เพราะว่าปัจจุบัน ราคาน้ำตาลในประเทศเพื่อนบ้านสูงกว่าไทยเฉลี่ย 10-15 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ราคาน้ำตาลทรายดิบในตลาดโลกส่งมอบล่วงหน้าเดือน มี.ค.2554 อยู่ที่ 29 เซนต์ต่อปอนด์ และอาจมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอีก หากประเทศบราซิลผู้ผลิตรายใหญ่สุดของโลกและออสเตรเลีย ไม่สามารถผลิตอ้อยได้ตามเป้าจากปัญหาภัยธรรมชาติ โดยทุนข้ามชาติประเภทเครื่องดื่มและอาหารต่างพิจารณาประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำเป็นฐานผลิตที่สำคัญ ซึ่งประเทศไทยราคาเฉลี่ยที่ 25-26 บาทต่อ กก. จะต่ำมากหากเทียบกับประเทศเวียดนามที่ราคาน้ำตาล กก.ละ 41 บาท ปริมาณโควตา ก.25 ล้านกระสอบถือว่าเป็นจำนวนที่สูงมาก และผู้บริโภครายย่อยคงบริโภคไม่หมดอย่างแน่นอนในปีหน้า แต่ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้น้ำตาลในปีหน้าดึงตัวคือ การตั้งโรงงานเครื่องดื่มและอาหารของคนไทย และต่างประเทศในไทยจำนวนมาก รวมถึงการลักลอบจำหน่ายประเทศเพื่อนบ้าน และผู้ผลิตอาหารเพื่อส่งออกเดิมใช้โควตา ค. (ส่งออก) หันมาใช้โควตา ก.แทน ไทยรัฐออนไลน์ อ่านต่อหน้า 4
ทีดีอาร์ไอ เตือนผู้ประกอบการเร่งใช้สิทธิ์ FTA และปรับตัวให้ทันเกมการค้าโลก ดร.เชษฐา อินทรวิทักษ์ นักวิจัยโครงการการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) เปิดเผยว่า จากการศึกษาโดยใช้แบบจำลองทางเศรษฐมิติ โดยใช้ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศของไทยย้อนหลังไป 19 ปี พบว่า ในภาพรวม FTA ทุกฉบับที่ไทยลงนามไปนั้นส่งผลต่อเพิ่มมูลค่าการส่งออกและนำเข้าของไทยอย่างมีนัยสำคัญ แต่การใช้สิทธิประโยชน์จาก FTA ต่าง ๆ ของไทย ยังอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ โดยในปี 2552 ผู้ประกอบการภาคส่งออกของไทยมีอัตราการใช้สิทธิฯ 52% ซึ่งทำให้ไทยสามารถประหยัดภาษีได้ราว 7.2 หมื่นล้านบาท ในขณะที่หากมีการใช้สิทธิ์เต็มที่ 100% ภาคส่งออกไทยจะสามารถประหยัดภาษีได้ถึง 1.3 แสนล้านบาท ด้านผู้ประกอบการภาคนำเข้ามีอัตราการใช้สิทธิฯเพียง 37% ซึ่งสามารถประหยัดภาษีได้ 3.3 หมื่นล้านบาท โดยหากมีการเก็บเกี่ยวประโยชน์อย่างเต็มที่ ผู้นำเข้าสามารถประหยัดภาษีได้ถึง 5.3 หมื่นล้านบาท สาเหตุของการใช้สิทธิประโยชน์น้อยส่วนหนึ่งเกิดจากแต้มต่อทางภาษีภายใต้ FTA ที่ยังไม่จูงใจพอเมื่อเทียบกับต้นทุนในการปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆ ภายใต้ FTA แต่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสิทธิประโยชน์ภายใต้ FTA ตลอดจนกระบวนการและขั้นตอนในการขอใช้สิทธิประโยชน์ โดยหากเราสามารถขจัดอุปสรรคเหล่านี้ได้ ภาษีที่ภาคส่งออกและนำเข้าของไทยจะสามารถประหยัดได้จะเพิ่มขึ้นอีก 2-3 เท่าจากที่เป็นอยู่ จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่ผู้ประกอบการไทยยังไม่สามารถเข้าถึงและเกี่ยวเก็บเกี่ยวประโยชน์จาก FTA ได้อย่างแท้จริง หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจึงควรเข้ามาดูแลในเรื่องนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การให้ข้อมูล คำปรึกษา รวมทั้งจัดทำคู่มือการใช้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบการในประเด็นต่าง ๆ เช่น อัตราภาษีและกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ความตกลงต่าง ๆ แยกตามรายประเทศ เพื่อให้ผู้ประกอบการมีข้อมูลสำหรับการตัดสินใจว่าจะเลือกใช้ อ่านต่อหน้า 5
ประโยชน์จาก FTA ฉบับใด การเผยแพร่ตารางการลดภาษีและกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าของทั้งไทยและประเทศภาคีตามรหัสพิกัดศุลกากร HS 2007 และ HS 2012 การเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการขอใช้สิทธิประโยชน์ผ่านช่องทางปกติและทางอินเทอร์เน็ต การใช้ระบบการขอให้หน่วยงานศุลกากรพิจารณาล่วงหน้า (advanced ruling) สำหรับการตรวจสอบพิกัดอัตราศุลกากร อัตราศุลกากร และกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า เพื่อลดปัญหาการตีความพิกัดศุลกากรไม่ตรงกันระหว่างผู้ประกอบการกับหน่วยงานศุลกากร นอกจากนี้ สิ่งที่ผู้ประกอบการควรตระหนักนอกเหนือจากเรื่องของการลดภาษีภายใต้ FTA คือ ในปัจจุบัน มีการนำบริบทแวดล้อมของกระบวนการผลิตมาเป็นเงื่อนไขกีดกันทางการค้า เช่น การให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อม กฎแหล่งกำเนิด มาตรฐานการผลิต มาตรฐานสุขอนามัย ฯลฯ ซึ่งเป็นเกมเจรจาทางการค้าที่เราเผชิญอยู่ในปัจจุบันและจะมีความสำคัญมากขึ้นในอนาคตอันใกล้ ประเด็นเหล่านี้เป็นประเด็นสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องเรียนรู้และปรับตัวให้ทัน ขณะนี้คณะผู้วิจัยกำลังทำการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ในเรื่องของการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมสำคัญของไทยใน 12 สาขา ภายหลังจากที่ FTA ต่าง ๆ ของไทยมีผลบังคับใช้ เพื่อให้เห็นถึงการปรับตัวของภาคการผลิตไทย ซึ่งจะทำให้เราทราบว่าอุตสาหกรรมใดได้หรือเสียประโยชน์จาก FTA ฉบับต่าง ๆ แตกต่างกันอย่างไร ผลของการศึกษานี้ จะทำให้หน่วยงานภาครัฐสามารถมีข้อมูลล่วงหน้าที่เป็นประโยชน์ในการกำหนดนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรม วางแผนรับมือเกมการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนการการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ. ทีมสื่อสารสาธารณะ-ทีดีอาร์ไอ กลับสู่หน้าหลัก
Supply & Demand ผลไม้ไทยในเยอรมนี สวัสดีค่ะท่านผู้ประกอบการ ลมหนาวมาแล้วนะคะในสัปดาห์นี้ยังไงก็ดูแลสุขภาพกันด้วยนะคะ สำหรับสัปดาห์นี้เรามาดูตลาดผลไม้ไทยในต่างประเทศกันค่ะ เป็นที่รู้กันว่าผลไม้ไทยเป็นที่ต้องการในตลาดต่างประเทศอย่างมากเนื่องจากมีรสชาดที่หอมหวานใครได้ทานก็ติดใจ ชาวเยอรมันก็เป็นอีกหนึ่งชนชาติที่หลงไหลในผลไม้ไทยค่ะ ลักษณะสำคัญของตลาดสินค้าผลไม้สดของเยอรมนี คือเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูงและผู้บริโภคจะเน้นราคาเป็นอันดับแรก สำหรับสินค้าไทยจัดเป็นสินค้า Exotic Fruits มีราคาค่อนข้างแพงเนื่องจากมีต้นทุนสูง มักมีจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า/ซุปเปอร์มาเก็ต ตั้งแต่ระดับกลาง-บน และยังไม่มีจัดจำหน่ายในซุปเปอร์มาเก็ตแบบ discounter ซึ่งเป็นห้างค้าปลีกที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงที่สุดในตลาด เนื่องจากไทยยังไม่สามารถผลิตสินค้าในปริมาณมากตามคำสั่งในระดับคุณภาพที่แน่นอนได้ อย่างไรก็ตาม กล่าวได้ว่าเยอรมันเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงสำหรับสินค้าผลไม้ไทยเนื่องจากเป็นตลาดใหญ่ ผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูง ชาวเยอรมันจำนวนมากเคยเดินทางไปท่องเที่ยวประเทศไทยทำให้รู้จักผลไม้ไทยหลายชนิด ตลาดเยอรมันจึงยังเปิดกว้างสำหรับผลไม้ไทย เชื่อมั่นว่าหากเกษตรกรและผู้ส่งออกไทยสามารถควบคุมคุณภาพและระบบการจัดการ/การผลิต/การขนส่ง/การควบคุมโรค/การใช้ยาฆ่าแมลงให้ได้มาตรฐาน สินค้าผลไม้ไทยจะสามารถเจาะตลาดเยอรมันได้มากกว่านี้แน่นอน หากผู้ประกอบการท่านใดสนใจและเชื่อมั่นว่าสามารถหาสินค้าผลไม้ไทยพร้อมที่จะส่งออก ไปยังเยอรมนีได้ รีบใช้โอกาสนี้ในการส่งออกเลยนะ หรือจะติดต่อมาทาง SNP เพื่อขอคำปรึกษาก็ได้ค่ะ กลับสู่หน้าหลัก เพนกวิ้นตัวกลม
เที่ยวรอบโลกกับ..Peter Chan กัมพูชา สวัสดีครับท่านผู้อ่าน เปิดคอลัมน์ใหม่กับ “เที่ยวรอบโลก กับ Peter Chan” ผมก็จะพาไปดูชีวิตความเป็นอยู่ของชาวต่างชาติ เศรษฐกิจ นิสัย และดูว่าเค้าชอบอะไร ไม่ชอบอะไร และหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับท่านผู้ประกอบการบ้างไม่มากก็น้อย สัปดาห์นี้จะพาท่านผู้อ่านไปประเทศกัมพูชา กัมพูชามีอะไรน่าสนใจบ้างไปดูกันกัมพูชา หรือ เขมร เพื่อนบ้านเรา แต่พวกเค้าไม่ชอบให้เราเรียกเค้าว่า “เขมร” เค้าให้เรียกเค้าว่า “ชาวกัมพูชา” ไม่รู้ทำไมเหมือนกัน คนที่อยู่ที่ประเทศกัมพูชาเค้าเล่ามา กัมพูชาเป็นประเทศที่ไม่ผลิตอะไรเลย ซื้ออย่างเดียว ศักยภาพของกัมพูชา -นิยมสินค้าไทยเป็นพิเศษ เรียกว่าสินค้าที่ส่งไปจากไทยเป็นที่ต้องการอย่างมากในกัมพูชา เพราะบ้านเค้าไม่ผลิต -เป็นฐานในการผลิตสินค้าเกษตร -เป็นแหล่งทรัพยากรแร่ธาตุ -เป็นแหล่งพลังงานทดแทน -แรงงาน ค่าแรงถูก ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตถูกลงด้วย -สิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากนานาประเทศ เนื่องจากประเทศกัมพูชาเป็นประเทศที่ด้อยพัฒนา ข้าวที่ส่งออกจากกัมพูชาเข้ายุโรปไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งสิทธิ์นี้สหภาพยุโรปได้ให้กับประเทศกัมพูชาเพื่อเป็นการ ช่วยเหลือในการส่งออกข้าวแข่งกับประเทศเพื่อนบ้าน อ่านต่อหน้า 2
การส่งเสริมการลงทุน - ประเทศกัมพูชายกเว้นภาษีนำเข้าวัสดุก่อสร้างและเครื่องมือ - นำเข้าผู้เชี่ยวชาญต่างชาติ ประเทศกัมพูชายังขาดผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ อีกมาก - ยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบผลิตเพื่อส่งออก - โอนเงินเสรี การลงทุนใดบ้างที่น่าสนใจ - การท่องเที่ยว และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว - อุตสาหกรรมการเกษตร - ผลิตสินค้าอุปโภค บริโภค - บริการ - การค้า ข้อดีข้อเสียของการลงทุนในประเทศกัมพูชา แน่นอนว่าการลงทุนจะต้องมีความเสี่ยง หากเรารู้ว่า ประเทศกัมพูชามีจุดดีอย่างไร และมองเห็นจุดด้อย ก็จะทำให้การลงทุนมีประสิทธิภาพ และระมัดระวังในการลงทุนมากยิ่งขึ้น มาดูกันว่ากัมพูชามีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง อ่านต่อหน้า 3
ข้อดี - แรงงานมากและพร้อมเรียนรู้ - ที่ดินนอกเขตเมืองมีมาก รอการพัฒนา - ยังไม่มีอุตสาหกรรมหลัก และการแข่งขันมีน้อย - ทรัพยากรท่องเที่ยวมีศักยภาพ - ข้อจำกัดในการนำเข้าน้อย ข้อเสีย - ค่าที่ดิน และค่าสาธารณูปโภคมีราคาแพง - กฎหมายและกฎระเบียบขาดความชัดเจน - ไม่มีหน่วยงานชี้ขาดการบังคับใช้กฎหมาย - มีปัญหาความอ่อนแอของระบบศาลยุติธรรม - ความไม่โปร่งใสของขั้นตอนและระบบราชการ - การละเมิดสินค้าปลอมแปลง ปัญหาหลัก ๆ ก็คือเรื่องระบบราชการ ดังนั้นเอกสารที่ส่งไปต้องแม่นยำครบถ้วน เพราะถ้าหากไม่ครบถ้วนจะต้องจ่ายเงินใต้โต๊ะในราคาที่สูงเลยทีเดียว ถ้ามีบริษัทพันธมิตรที่ทำธุรกิจอยู่ในประเทศกัมพูชาอยู่ก่อนแล้วก็จะดีมาก ๆ แต่ยังไม่มี ผมขอแนะนำบริษัท INTRA MAKONG CO., LTD. คุณอรนุช ผการัตน์ – รัทเทน กรรมการผู้จัดการ ผู้ที่มาเป็นวิทยากรการสัมมนาและให้ความรู้เกี่ยวกับการค้าการลงทุนที่ประเทศกัมพูชา คุณอรนุช ยินดีตอบทุกเรื่อง เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในประเทศไทย บริษัท อินทราแม่โขง ได้ทำธุรกิจหลายอย่างอยู่ในประเทศกัมพูชาตั้งแต่ปี พ.ศ.2527 ติดต่อได้ตามนี้ครับ E-mail : manager@intra-mekong.com Tel : 081-8392452 กลับสู่หน้าหลัก
All About Logistics "เมื่ออาเซียนจะรวมเป็นหนึ่ง หนึ่ง หนึ่ง....." เมื่อวันก่อนผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมสัมนารับฟังความคิดเห็นเรื่อง พิธีสารฉบับที่ 2 (protocol2) ว่าด้วยเรื่อง การกำหนดที่ทำการพรมแดน (Designation of Frontier Posts) และ พิธีสารฉบับที่ 7 (protocol7) ว่าด้วยเรื่องภายใต้กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน (ASEAN Framewoek Agreement on Facilitation of Goods in Transit) (ชื่อจะยาวไปไหนกันเนอะ) ณ อาคาร 120 ปี กรมศุลกากร นั่งฟังไป จินตนาการตามไป ก็ให้รู้สึกตื่นเต้นเสียไมได้ เพราะหากทำได้จริงอย่างที่ท่านๆวิทยากรบรรยายไว้เเล้วนั้น อาเซียนคงจะพัฒนาพรวดๆ จนเราๆท่านๆอาจจะตามไม่ทันกันเลยทีเดียว ถ้าท่านผู้อ่านยังไม่ทราบว่า protocol ที่ว่านั่นคืออะไร วันนี้ผู้เขียนมีข้อมูลมาชี้แจงให้ฟัง ดังต่อไปนี้ ประเด็นมันเริ่มตรงที่ว่า เนื่องจากประเทศในกลุ่มสมาชิก มีความเห็นร่วมกันว่าจะทำให้กลุ่มประเทศอาเซียนรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน (เหมือน EU) ในด้านการคมนาคม ท่องเที่ยว ขนส่ง และ ระบบศุลกากรโดยจะปรับปรุง และพัฒนาระบบต่างๆให้สำเร็จภายใน ปี 2015 ภายใต้โครงการ ASEAN Economic Community (AEC) 2015 ดังนั้น ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 6 ที่ฮานอย ประเทศเวียดนาม นั้นโดยที่กรอบความตกลงฯ ดังกล่าว ประเทศภาคีอาเซียน จะต้องร่วมกันจัดทำพิธีสาร (Protocol) 9 ฉบับ เพื่อแนบท้ายความตกลงฯ ซึ่งกรมศุลกากรได้รับมอบหมายให้จัดทำพิธีสารที่เกี่ยวข้องจำนวน 2 ฉบับคือพิธีสารฉบับที่ 2 (protocol2) ว่าด้วยเรื่อง การกำหนดที่ทำการพรมแดน (Designation of Frontier Posts) และ พิธีสารฉบับที่ 7 (protocol7) ว่าด้วยเรื่องภายใต้กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน (ASEAN Framewoek Agreement on Facilitation of Goods in Transit) นั่นเอง อ่านต่อหน้า 2
ทั้งนี้ สาระสำคัญของพิธีสารฉบับที่ 2 ได้แก่ 1. กำหนดที่ทำการพรมแดน ตามรายละเอียดในบัญชีแนบท้ายพิธีสารนี้สำหรับการขนส่งสินค้าผ่านแดนการแก้ไขใด ๆ กระทำได้โดยความเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์ของภาคีคู่สัญญาทั้งหมด 2. บทบัญญัติในพิธีสารฉบับนี้ มิให้มีการตั้งข้อสงวนใด ๆ 3. พิธีสารจะมีผลบังคับใช้ภายหลังการให้สัตยาบันของภาคีคู่สัญญา สาระสำคัญของพิธีสารฉบับที่ 7 ได้แก่ 1. ประเทศภาคีคู่สัญญาจะอนุญาตให้ขนส่งสินค้าผ่านแดนของตนได้ เว้นแต่สินค้าต้องห้าม ต้องกำกัด ซึ่งได้กำหนดไว้ในบัญชีแนบท้ายพิธีสารนี้ 2. ไม่มีการเก็บภาษีใด ๆ สำหรับสินค้าที่ขนส่งผ่านแดน 3. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขตลอดจนพิธีการศุลกากรเพื่อการผ่านแดนจะต้องกำหนดไว้อย่างชัดแจ้งในกฎหมายแห่งรัฐ และ/หรือประกาศที่ออกโดยศุลกากร 4. ศุลกากรแต่ละประเทศสามารถดำเนินการใด ๆ ได้เท่าที่จำเป็น เพื่อให้สามารถควบคุมการขนส่งผ่านแดนให้เป็นไปอย่างเหมาะสม และการตรวจของจะกระทำได้เท่าที่มีเหตุอันควรเท่านั้น Sathinun อ่านต่อหน้า 3
5. บทบัญญัติในพิธีสารฉบับนี้ มิให้มีการตั้งข้อสงวนใด ๆ การแก้ไขจะกระทำได้โดยความเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์ของภาคีคู่สัญญาทั้งหมด เว้นแต่บัญชีสินค้าต้องห้าม ต้องกำกัด แนบท้ายพิธีสารฉบับนี้ 6. พิธีสารจะมีผลบังคับใช้ภายหลังการให้สัตยาบันของภาคีคู่สัญญา โดยส่วนดีของพิธีสารนี้ จะทำให้ ASEAN ใช้ระบบในการเดินพิธีการศุลกากรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เช่น ใบขนสินค้าขาออกของประเทศไทย ก็สามารถเป็นใบขนสินค้าของประเทศมาเลเซียได้เช่นกัน นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งในโครงการที่กลุมประเทศอาเซียน ริเริ่มที่จะพัฒนาร่วมกัน ฉบับหน้า ผู้เขียนจะนำเรื่องการปรับปรุงระบบพิกัดศุลกากรฮาร์โมไนซ์อาเซียน(ASEAN Harmonized Tariff Nomenclature : AHTN) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรวมกลุ่มกันของกลุ่มประเทศอาเซียน มาเล่าให้ฟังต่อค่ะ Sathinun กลับสู่หน้าหลัก
SNP Philosophy ง่าย กับ ยาก ง่ายที่จะ...ตั้งกฎเกณฑ์ยากที่จะ...ทำตามกฎนั้น ง่ายที่จะ...ฝันทุกค่ำคืนยากที่จะ...สู้เพื่อฝันนั้นง่ายที่จะ...อวดความสำเร็จยากที่จะ...ยอมรับความพ่ายแพ้อย่างมีศักดิ์ศรีง่ายที่จะ...ชื่นชมความงามของดวงจันทร์ยากที่จะ...เห็นอีกด้านของมันที่ไม่สวยงามนักง่ายที่จะ...สะดุดหกล้มยากที่จะ...ลุกขึ้นมาใหม่ ง่ายที่จะ...ตัดสินความผิดพลาดของคนอื่นยากที่จะ...สำนึกถึงความผิดของตนเอง ง่ายที่จะ...พูดโดยไม่คิดยากที่จะ...ไม่พูด ง่ายที่จะ...ทำร้ายคนที่รักเรายากที่จะ...เยียวยาบาดแผลที่เราทำไว้กับเขาง่ายที่จะ...อภัยให้คนอื่นยากที่จะ...ขอให้คนอื่นอภัยให้ อ่านต่อหน้า 2
ง่ายที่จะ...มีความสุขในทุกวันยากที่จะ...เห็นคุณค่าที่แท้จริงของความสุขนั้นง่ายที่จะ...สัญญากับใคร ๆยากที่จะ...ทำตามสัญญานั้นง่ายที่จะ...บอกว่ารักยากที่จะ...แสดงความรักนั้นง่ายที่จะ...วิจารณ์คนอื่นยากที่จะ...ปรับปรุงตนเองง่ายที่จะ...ทำผิดยากที่จะ...เรียนรู้จากความผิดนั้นง่ายที่จะ...ทุกข์ทรมานเพราะสูญเสียความรักยากที่จะ...รักษารักนั้นเพื่อที่จะไม่ต้องสูญเสียมันไป SNP อ่านต่อหน้า 3
ง่ายที่จะ...คิดที่จะปรับปรุงยากที่จะ...เลิกคิด แล้วทำให้มันเกิดขึ้นจริงซะทีง่ายที่จะ...คิดกับคนอื่นในแง่ร้ายยากที่จะ...ให้โอกาส และคิดว่าเขาอาจจะไม่เป็น เช่นที่เราคิดง่ายที่จะ...รับยากที่จะ...ให้ง่ายที่จะ...รักษาความเป็นเพื่อนด้วยคำพูดยากที่จะ...ทำตามความหมายของคำว่าเพื่อน SNP อ่านต่อหน้า 4
กลับสู่หน้าหลัก Logistics Specialist and International Freight Forwarder