210 likes | 318 Views
S.N.P. NEWS. ข่าวสารฉบับที่ 137. S.N.P. GROUP OF COMPANIES. CLICK HERE. Free. 1. MD SAYS. www.snp.co.th Tel.0-2333-1199 ( 12 Line ). 2. Global News. Privilege Society. 3. Supply & Demand. 4. 1. ทัศนา นานาท่าเรือ. 5. 6. All about Logistics. NEW PROMOTION. 7. SNP Knowledge.
E N D
S.N.P. NEWS ข่าวสารฉบับที่ 137 S.N.P. GROUP OF COMPANIES CLICK HERE Free
1 MD SAYS www.snp.co.thTel.0-2333-1199 ( 12 Line ) 2 Global News Privilege Society 3 Supply & Demand 4 1 ทัศนา นานาท่าเรือ 5 6 All about Logistics NEW PROMOTION 7 SNP Knowledge 8 SNP Joke Logistics Specialist and International Freight Forwarder
MD SAYS ฮ่องกง - จีน ภาพยนตร์ 3 มิติในปัจจุบัน เริ่มเป็นที่นิยมของผู้ชมมากขึ้น จนเป็นแรงจูงใจให้ผู้สร้าง ภาพยนตร์ในระบบ 3 มิติ มากขึ้นเป็นเงาตามตัว ผมพบข่าวการสร้างภาพยนตร์แนวปลุกใจเสือป่าในระบบ 3 มิติ หรือหนัง RateX ตามที่เราเรียกกัน ในชื่อเรื่องว่า “เซ็กซ์ แอนด์ เซน : เอ็กซ์ตรีม เอ็กสตาซี่” โดยผู้กำกับชาวฮ่องกง นายคริสโตเฟอร์ ซุน ที่ใช้งบการสร้างถึง 3.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 102 ล้านบาท โดยระดมนางเอกหนัง RateX ระดับแนวหน้าหลายนาง ทั้งจากญี่ปุ่น ฮ่องกง ไต้หวัน และไทย และกำลังเร่งงานแข่งกับเวลาเพื่อให้ทันฉายราวกลางปี พ.ศ. 2554 หนัง 3 มิติ เรื่องนี้ ทำเอาคอหนังที่ชอบแนวนี้ เฝ้ารอคอยกันไม่ว่าจะเป็นเอเชีย ยุโรป และอเมริกา แต่อีกด้านหนึ่งกลับมีข่าวว่า มีหลายประเทศที่เตรียมแบนภาพยนตร์ดังกล่าว ซึ่งประเทศที่ส่งสัญญาณการแบนจนถูกกล่าวขวัญมากที่สุดคือประเทศจีน ทั้ง ๆ ที่ฮ่องกงในปัจจุบันก็คือส่วนหนึ่งของจีน หากจีนไม่พอใจทำไมไม่เข้าแทรกแซงการสร้างตั้งแต่แรก ข่าวนี้ ทำให้ผมนึกถึงศุลกากรของไทยระดับผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ท่านให้ความเห็นต่อผมเป็นการส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่องการยกเว้นภาษีนำเข้าของประเทศไทยและจีนตามข้อตกลงการค้าเสรี FTA แต่กลับเป็นเรื่องที่สร้างความวุ่นวายมากมายในปัจจุบัน เป็นข้อตกลงให้ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกของไทยและจีนควรได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับสินค้าจำนวนมาก แต่พอการซื้อ การขาย หรือการขนส่งมีฮ่องกงเข้ามาเกี่ยวข้อง สิทธิประโยชน์ทางภาษีกลับถูกยกเลิกหรือถูกกระทบจนเกิดความวุ่นวายทันที ศุลกากรท่านนี้ได้ให้ความคิดเห็นต่อผมว่า เป็นเพราะประเทศจีนและฮ่องกง แม้จะนับเป็นหนึ่งประเทศก็ตาม แต่ในทางเศรษฐกิจแล้ว เขาแยกกัน ผมเคยได้ยินสื่อมวลชนกล่าวในเรื่องนี้ว่า 1 ประเทศ 2 ระบบ ทำให้การซื้อ การขาย และการขนส่งสินค้าที่ผ่านฮ่องกง กลายเป็นการผ่าน 2 ระบบเศรษฐกิจไปทันที จนกระทบต่อสิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าว อ่านต่อหน้า 2
ผมเคยนำเรื่องนี้ เสนอต่อเจ้าหน้าที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเพื่อให้รัฐบาลไทยเข้าเจรจากับรัฐบาลจีนในเรื่องนี้ ในประเด็นที่ว่า การยกเว้นภาษีตามหลักการค้าเสรี FTA เป็นการยึดหลักถิ่นกำเนิดของสินค้าเป็นสำคัญ ดังนั้นการซื้อ การขาย และการขนส่ง แม้จะผ่านฮ่องกงหรือประเทศอื่นใดก็ตาม ก็ไม่สามารถทำให้ถิ่นกำเนิดของสินค้านั้นเปลี่ยนแปลงไป แต่จนแล้วจนรอด ผมเฝ้าติดตามความคืบหน้าของการเจรจาจนบัดนี้ ผมก็ไม่แน่ใจว่าจะมีผลความคืบหน้าไปเพียงใด แต่เท่าที่ผมยังเห็นอยู่คือ ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกหลายรายยังคงประสบปัญหาในเรื่องการผ่านฮ่องกงอยู่ดี พอข่าวหนัง RateXของฮ่องกงเรื่องนี้ จะถูกรัฐบาลจีนแบนดังเป็นข่าวขึ้น ทำให้ผมเข้าใจคำอธิบายเกี่ยวกับ 1 ประเทศ 2 ระบบของประเทศจีนและฮ่องกงมากขึ้น ผมจึงคิดว่า ผมน่าจะทำหนังสือถึงสำนักนายกรัฐมนตรีของไทย เสนอแนวทางการเจรจากับรัฐบาลจีน เพื่อให้สำนักนายกฯ เร่งรัดให้กรมเจราการค้าระหว่างประเทศ ดำเนินการในทางใดทางหนึ่ง เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้ประกอบการของไทย ในความเห็นของผมนั้น ไม่ว่าการเมืองของจีนจะยึดถือ 1 ประเทศ 2 ระบบอย่างไร คงไม่มีประเทศใดเข้าไปก้าวก่ายได้ แต่ในเรื่องของเมืองกำเนิดสินค้าที่มีหลักฐานชัดเจนว่าผลิตในประเทศจีนหรือไทยที่เป็นไปตามข้อตกลงการค้าเสรี FTA ไม่ว่าสินค้านั้นจะซื้อ จะขาย หรือจะขนส่งผ่านฮ่องกงอย่างไร ผมว่า สิทธิประโยชน์ทางภาษีไม่น่าจะถูกกระทบตามระบบการเมืองไปด้วย ผมกำลังคิดว่า คนสร้างหนังโป๊ของฮ่องกงอาจกำลังต่อสู้ดิ้นรนกับรัฐบาลจีนอยู่ และหากรัฐบาลไทยจะใช้โอกาสนี้ เร่งเจรจาล้ำหน้าไปก่อนก็ไม่น่าจะเสียหายอะไร เมื่อผมส่งหนังสือเรียนสำนักนายกรัฐมนตรีไปแล้ว ไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไร ผมจะนำความคืบหน้ามาเล่าให้ฟังในโอกาสต่อไปครับ สิทธิชัย ชวรางกูร กลับสู่หน้าหลัก
Global News หุ้นมะกันปิดลบเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาการน่าเป็นห่วง ราคาน้ำมันเมื่อวันจันทร์(23) ร่วงลงเป็นวันที่ 4 ติดต่อกัน แตะระดับต่ำสุดในรอบ 6 สัปดาห์ หลังยังคงมีความกังวลต่อการเติบโตที่อ่อนแอของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อาจกระทบต่ออุปสงค์ทางพลังงาน และปัจจัยนี้ก็ฉุดให้วอลล์สตรีท ปิดลบเช่นกัน สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูตของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนตุลาคม ลดลง 72 เซนต์ ปิดที่ 73.10 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 64 เซนต์ ปิดที่ 73.62 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล นางอัมริตา เชน นักวิเคราะห์จากบาร์เคลย์ส แคปิตอลระบุว่า ราคาน้ำมันยังคงอยู่ภายใต้แรงกดดันจากภาวะถดถอยทางงเศรษฐกิจและอุปสงค์ทางพลังงานของจีนที่หดตัวลงในเดือนกรกฎาคม ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯ เมื่อวันจันทร์(23) ก็ปิดลบเช่นกัน หลังนักลงทุนให้น้ำหนักต่อความกังวลด้านการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เหนือข่าวควบรวมกิจการของบริษัทต่างๆ ทั้งนี้ดัชนีทั้ง 3 ตัว เปิดตลาดทำท่าสดใส เมื่อขยับขึ้นไปอยู่ในแดนบวกตามหลังข่าวควบรวมและซื้อกิจการ ทว่าก็ไม่สามารถต้านทานปัจจัยอันห่อเหี่ยวได้และปรับลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งวันหลัง ความเคลื่อนไหวในแดนลบของวอลล์สตรีท เกิดจากความกังวลต่อข้อมูลต่างๆที่รัฐบาลสหรัฐฯ จะเปิดเผยออกมาในสัปดาห์นี้ ได้รับคาดหมายว่าจะมีแนวโน้มออกมาบ่งชี้ถึงภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ ทั้งยอดจำหน่ายบ้าน ตัวเลขคนว่างงานและจีดีพี อ่านต่อหน้า 2
พาณิชย์เตือนผู้ส่งออก ระวังโดนตุ๋น แนะพิจารณาให้ดี นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งจากผู้ประกอบการไทยให้ช่วยตรวจสอบความน่าเชื่อถือของบริษัทผู้ซื้อที่ประเทศแคเมอรูน เพราะไม่มั่นใจว่าจะมีตัวตนอยู่จริง และจะถูกหลอกลวงหรือไม่ ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าเอกสารที่บริษัทดังกล่าวใช้อ้างถึงนั้นเป็นเอกสารปลอมทั้งหมด จึงขอเตือนผู้ประกอบการอย่าหลงเชื่อ เพราะจะได้รับความเสียหาย รวมถึงตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆ อย่างละเอียดรอบคอบ หากไม่มั่นใจสอบถามได้ที่กรมฯ จะช่วยตรวจสอบให้ ทั้งนี้ บริษัทดังกล่าวได้หลอกลวงผู้ประกอบการว่า ได้รับสัญญาการจ้างจากองค์กรการค้าของแอฟริกาหลายองค์กร และประสงค์ให้ผู้ประกอบการไทยผลิตสินค้าให้ แต่ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการประมูล โดยใช้เอกสารที่ปลอมแปลงให้หลงเชื่อ และให้โอนเงินเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าลงทะเบียนสัญญา ค่าแสดงสถานะตามระเบียบ และค่าใบอนุญาตประกอบการ นางศรีรัตน์ระบุว่ากรณีนี้ถือเป็นการฉ้อโกง แต่การฟ้องร้องทำได้ยาก และมีค่าใช้จ่ายสูง จึงขอให้ผู้ส่งออกไทยระมัดระวัง หากพบผู้ที่มาติดต่อขอซื้อสินค้าให้ศึกษาประวัติบริษัทคู่ค้าให้ชัดเจน อย่ารีบร้อนส่งสินค้า หรือโอนเงินค่าใช้จ่ายให้ก่อนเป็นอันขาด ไม่เช่นนั้นอาจเสียหายได้ ไทยรัฐออนไลน์ อ่านต่อหน้า 3
เอกชนไทยแห่นำเข้าสินค้าจังหวะบาทแข็งได้ของถูก ส่งผลขาดดุล 3.6 หมื่นล้าน นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ แถลงตัวเลขส่งออกเดือนกรกฎาคมว่า มีมูลค่าถึง 15,565 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 20.6 %จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อคิดในรูปเงินบาทมีมูลค่า 500,095 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.2 % โดยมีปัจจัยมาจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า ทั้งกลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร รวมถึงสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญๆ กลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรที่ส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่ อาหารทะเลแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป ส่วนสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า ,อัญมณี และ อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามในกลุ่มสินค้าเกษตร มีสินค้าหลัก 2-3 ตัวที่ส่งออกลดลง ได้แก่ ข้าวที่ลดลงทั้งปริมาณและมูลค่า เนื่องจากปัญหาการแข่งขันด้านราคากับเวียดนาม รวมถึงการแข็งค่าของเงินบาท และสินค้าผัก ผลไม้ ที่ส่งออกลดลงเนื่องจากผลผลิตภายในประเทศน้อย ขณะที่การนำเข้าในเดือนกรกฏาคม ก็พุ่งขึ้นสูงด้วยมูลค่าถึง 16,505 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 36.1%จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นการนำเข้าสูงสุดในรอบ 23 เดือน เนื่องจากมีการนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้น 29.2% สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง เพิ่มขึ้น 77.1% และสินค้าจำพวกวัตถุดิบ สินค้ากึ่งสำเร็จรูป เพิ่มขึ้น 53.9% ซึ่งผลจากากรนำเข้าที่พุ่งสูงขึ้นมากนี้ ทำให้ไทยขาดุลการค้าในเดือนกรกฎาคม 940 ล้านเหรียญสหรัฐฯหรือ 36,304 ล้านบาท การนำเข้าที่เพิ่มขึ้น เกิดจากภาคเอกชนมีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจประเทศมากขึ้น จึงนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้น เพื่อตุนวัตถุดิบไว้รองรับการผลิตและส่งออก อีกทั้งเงินบาทแข็งค่าขึ้น ทำให้ผู้ส่งออกนำเข้ามากขึ้น อย่างไรก็ตามเอกชนก็ยังกังวลปัญหาค่าเงินบาท ห่วงว่า จะแข็งค่าถึง 30 บาทต่อดอลล่าสหรัฐฯ จึงต้องการให้ธนาคารแห่งประเทศไทย เข้ามาควบดูแลค่าบาทให้มีเสถียรภาพ และไม่ผันผวนจนส่งผลกระทบต่อการส่งออก แต่แม้เงินบาทแข็งค่าขึ้น การส่งออกทั้งปีก็เชื่อว่า จะโตได้ตามเป้าที่วางไว้ 20% สำหรับการส่งออกในช่วง 7 เดือนแรก (มกราคม-กรกฎาคม) มีมูลค่ารวม 108,631 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 34.1% ขณะที่มีการนำเข้ารวมมูลค่า 103,193 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 48.9% นสพ.แนวหน้า อ่านต่อหน้า 4
อดีตผู้นำโลก แนะไทยพึ่งส่งออกคู่หนุนเอกชนลงทุน นายวิลเฮล์ม ก็อก อดีตนายกรัฐมนตรีเนเธอร์แลนด์ และประธานชมรมอดีตกลุ่มผู้นำโลก (Club de Madrid) เข้าพบ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในโอกาสเข้าร่วมการประชุม Roundtable on ‘The Political Dimensions of the World Economic Crisis; an Asian Perspective’ ของ Club de Madrid ที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 17-19 ส.ค. 2553 โดยนายก็อก กล่าวชื่นชมพัฒนาการเศรษฐกิจไทย และหวังให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อให้การพัฒนาเป็นไปอย่างยั่งยืน นายก็อก ยังได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนายกฯเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคและของโลก ซึ่งเป็นบทเรียนและประสบการณ์ ที่นำมาเป็นแนวทางการแก้ปัญหาในช่วงที่เศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะเปราะบาง นายก็อก ระบุว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในสหรัฐ ยุโรป และ ญี่ปุ่น เป็นไปได้ช้ากว่าเอเชีย ขณะที่เอเชียพึ่งพาการส่งออกในการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจเพียงด้านเดียวอาจไม่เพียงพอ แต่จำเป็นต้องกระตุ้นการบริโภคจากภาคเอกชนควบคู่กันไปด้วย ด้านนายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า แม้ไทยจะมียุทธศาสตร์การออกจากวิกฤติ แต่ไทยยังคงนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อแก้ปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งทำให้ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยมีการฟื้นตัวอย่างเข้มแข็ง แต่ก็กังวลเกี่ยวกับการเจรจารอบโดฮา ที่ยังไม่บรรลุผล จึงเห็นว่าน่าจะมีการหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นหารือในการประชุมกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 20 ประเทศ (จี20) ที่เกาหลีใต้จะเป็นเจ้าภาพ จัดการประชุมในช่วงเดือนพ.ย.นี้ นายก็อก ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับบทบาทของจี20 ว่าที่ผ่านมาจี20 มีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจโลก และจี20 ก็มีจุดประสงค์ให้หลายประเทศ ได้เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น แต่การเพิ่มการมีส่วนร่วมของประเทศต่างๆ ก็ต้องอยู่ในขอบเขตที่สมดุลและสามารถบริหารจัดการได้ อีกทั้งจะต้องมีความเป็นสถาบัน เพื่อให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นายเกียรติ สิทธีอมร ประธานผู้แทนการค้าไทย กล่าวว่า นายกฯ และประธานอดีตกลุ่มผู้นำโลก ได้หยิบยกประเด็นที่สำคัญๆ ของโลกหารือหลายประเด็น เช่น การปรับบทบาทการทำงานขององค์กรระหว่างประเทศ เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ธนาคารโลก ที่ต้องมีแผนปฏิรูปและมีเป้าหมายที่ชัดเจน พร้อมทั้งต้องมีการปรับบทบาทของกลุ่มประเทศ จี20 ควรเปิดโอกาสให้ประเทศอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นในเวทีดังกล่าวอย่างเป็นทางการ และทั้งสองฝ่าย ยังมีความเห็นตรงกันว่าในเวที จี20 ควรมีการหยิบยกประเด็นการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบโดฮามาหารือซึ่งจะเป็นประโยชน์กับประเทศที่ส่งออกสินค้าเกษตรที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา กลับสู่หน้าหลัก
Privilege Society ตอน คุณระเบียบ... อุปสรรคของการค้าเสรี ในบทที่ 7 ของหนังสือเสือนอนพิงฉบับรวมเล่มของ คุณสิทธิชัย CEO ของ SNP Group พูดถึงคนที่มักปฏิบัติหน้าที่โดยยึดกฏระเบียบมากจนเกินไปไว้อย่างน่าฟังทีเดียวครับว่า หลายครั้งผู้ปฏิบัติงานไม่ว่าภาครัฐหรือเอกชน มักนำเอากฏ ระเบียบ มาใช้ เพื่อผลักเอาความรับผิดชอบออกไปจากตน จนคุณสิทธิชัยต้องเปรียบว่า หากคุณระเบียบเป็นมนุษย์ ที่มีลมหายใจ คุณระเบียบ ก็คงเป็นบุคคลที่น่าสงสารที่สุดในโลกไปเลยก็ได้ หลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ส่งออกรายหนึ่งติดต่อมายังบริษัทฯ เพื่อจะขอใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin : C/O) สำหรับ ผ้าขนหนูและเสื้อคลุมอาบน้ำ ที่ส่งออกไปยังผู้ซื้อต่างประเทศเรียบร้อยแล้ว อย่างที่หลายท่านคงทราบดีอยู่แล้วนะครับว่า การขอ C/O นั้น ไม่ใช่สินค้าอะไร ของใครก็ได้นะครับ สินค้าที่จะทำการขอ C/O จาก กรมการค้าต่างประเทศ (DFT)ได้ จำต้อง ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติทางด้านแหล่งกำเนิด เพื่อพิสูจน์ให้ได้ตาม กฏแหล่งกำเนิด เสียก่อนว่า สินค้าดังกล่าวเป็น Thailand Origin จริงๆ การพิสูจน์แหล่งกำเนิดนั้นมีจุดประสงค์หลักอยู่ข้อเดียวครับ ก็คือ การพิสูจน์ให้ได้ว่าสินค้านั้นผลิตในไทยในสัดส่วนที่มากพอหรือไม่เท่านั้น ซึ่งในมุมมองของผมนั้น มีส่วนที่สำคัญยิ่งอยู่ 2 ส่วนเท่านั้นเองครับ ส่วนที่หนึ่งก็คือ กฏแหล่งกำเนิด หรือในเวอร์ชั่น England ว่า Rule of Origin หรือ RoO นั่นเอง ซึ่งเจ้า RoO นี้ FTA แต่ละกรอบจะไม่เหมือนกันและขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้านั้นๆด้วย แต่โดยทั่วไปแล้ว ผู้ส่งออกจะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า สินค้าดังกล่าวมี Value Added ภายในประเทศไทย ซึ่งคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 40% ของราคา FOB ในส่วนนี้ผมเรียนตรงๆครับ ผู้ส่งออกไม่ค่อยประสบปัญหาสักเท่าไหร่ เพราะสามารถนำเอาค่าใช้จ่ายที่เป็น ต้นทุนทางอ้อมทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแรง ค่าเสื่อมเครื่องจักร ฯลฯ หรือที่เราเรียกภาษาชาว บ้านกันว่า “ค่าโสหุ้ย” มารวมในส่วน Value Added ได้อย่างไม่ยากเย็นอะไร อ่านต่อหน้า 2
ส่วนที่สอง จะเป็นเรื่องราวของเอกสารที่จะมาสนับสนุนว่า ตัวผู้ประกอบการเองสามารถผลิตสินค้าดังกล่าวได้เองจริงๆหรือไม่ ซึ่งโดยทั่วไป DFT มักจะยึดเอา “ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน” หรือ รง. 4 ที่ออกโดย กรมโรงงาน เป็นเอกสารสำคัญ เนื่องจากใน ใบ รง.4 นั้น จะมีการระบุประเภทกิจการของโรงงานไว้อย่างชัดเจนว่าท่านสามารถผลิตสินค้าอะไรได้บ้าง ตรงนี้แหล่ะครับ มันส์อย่าบอกใคร สาบานให้ไม้จิ้มฟันจิ้มเหงือกตายเลยนะครับ ในชีวิตนี้ผมเห็นผู้ประกอบการหลายราย ที่สามารถผลิตสินค้าระดับพรีเมี่ยม ส่งออกไปขาย ทำรายได้กลับเข้าประเทศอย่างมากมายมหาศาล แต่ไม่มีโรงงานอย่างเป็นทางการ ที่ผ่านการอนุมัติจากกรมโรงงาน DFT ท่านก็ผ่อนปรนให้พอสมควรนะครับ โดยอนุญาตให้ผู้ส่งออกที่ไม่มี รง. 4 ใช้เอกสาร ภ.พ. 01 + แบบแสดงการจ่ายเงินสมทบประกันสังคมให้กับพนักงานในองค์กร มาใช้แทน รง.4 ได้ เนื่องจากมีการระบุไว้เช่นกันว่าท่านผลิตสินค้าอะไร แต่ปัญหาของท่านผู้ส่งออกรายนี้ไม่ได้อยู่ตรง ไม่มีใบ รง.4 นะครับ เพราะท่านผู้ประกอบการท่านนี้มี รง.4 ที่ระบุไว้ชัดเจนเลยครับว่า เป็นโรงงานผลิตผ้าขนหนู ทำให้การขอ C/O สำหรับผ้าขนหนูทำได้อย่างไม่มีอุปสรรคใดๆ ปัญหาอยู่ที่ “เสื้อคลุมอาบน้ำ” ครับ เพราะใน รง.4 ของท่านผู้ส่งออกท่านนี้ ไม่ได้ระบุไว้ว่า ผลิต “เสื้อคลุมอาบน้ำ” ได้ แต่ประทานโทษเถอะครับ ท่านจินตนาการตามผมนะครับ เสื้อคลุมอาบน้ำกับผ้าขนหนู มันเหมือนหรือแตกต่างกันขนาดไหน คิดออกแล้วใช่ไหมครับ ผ้าที่ใช้ทำเสื้อคลุมอาบน้ำ ส่วนใหญ่ก็ใช้ไอ้ผ้าชนิดเดียวกันกับ “ผ้าขนหนู” นั่นแหล่ะคร้าบ ผมไม่ต้องมีความรู้ด้าน Textile เลย ก็ยังพอเดาได้ว่า หากโรงงานหนึ่ง มีเครื่องจักร สามารถทอ ผ้าขนหนู ได้ หากเพิ่มจักรเย็บผ้าดีๆ กับแรงงานมีฝีมืออีกสักจำนวนหนึ่ง ก็คงนำเอา ผ้าขนหนู มาทำเป็นเสื้อคลุมอาบน้ำได้ไม่ยาก อ่านต่อหน้า 3
ทันทีที่บริษัทฯ ยื่นเอกสารพิสูจน์แหล่งกำเนิดของ เสื้อคลุมอาบน้ำเข้าไป เจ้าหน้าที่ตรวจสอบทั้งส่วน RoO และเอกสารต่างๆ จนครบถ้วนแล้ว ตอบทันทีครับว่า “ไม่สามารถขอ C/O ได้ครับ เนื่องจากใน รง.4 ไม่ได้ระบุสินค้าชนิดนี้ไว้” ทางเราก็คาดการไว้อยู่แล้วว่าต้องเจอแบบนี้ ก็เลยนำเอารูปเครื่องจักร และรูประหว่างการแปรสภาพจาก ผ้าขนหนู ไปเป็น เสื้อคลุมอาบน้ำ พร้อมข้อมูลเอกสารที่แสดงให้เห็นข้อเท็จจริงอย่างชัดเจนว่า ผู้ส่งออกท่านนี้ผลิตเสื้อคลุมอาบน้ำเองจริงๆ ไม่ได้นำเข้ามาจากไหน วันนั้นเจ้าหน้าที่มากกว่า 2 คน ในระดับที่แตกต่างกันออกไปยืนยันกับพวกเราว่า “ไม่ได้ครับ/ค่ะ มันผิดระเบียบ” สรุปแล้วระเบียบการขอ C/O สำหรับประเทศไทยก็คือ “แม้สินค้าจะผลิตในไทยจริงๆ แต่ไม่มีเอกสารหรือเอกสารไม่สมบูรณ์ ก็จะขอ C/O ไม่ได้ อย่างงั้นหรือครับ?” ผมก็หลงคิดไปเองตั้งนานว่า หากสินค้าผลิตในไทย ก็น่าจะได้ Thai Origin แบบไม่ยาก ไม่ว่าจะใช้วิธีไหน เพราะประเทศเรประกาศกันโครมๆๆ ครับว่า สนับสนุนการส่งออก คุณระเบียบ! สั้นๆนะครับ The Wea...kest Link คุณคือ จุดอ่อนของ FTA ครับ โดย...... Mr. Privilege กลับสู่หน้าหลัก
Supply & Demand Fine Food Australia 2010 สวัสดีค่ะท่านผู้ประกอบการทุกท่าน เมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้ให้ข้อมูลคร่าวๆเกี่ยวกับประเทศอินโดนีเซียไปแล้ว สัปดาห์นี้เรามาดูตลาดอาหารทางฝั่งออสเตรเลียกันบ้างค่ะ ออสเตรเลียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทย เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 – 2552 พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีร้อยละ 7.82 12.99 36.26 และ 4.24 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน อาหารสำเร็จรูปที่ออสเตรเลียนำเข้าจากไทยเป็นจำนวนมากที่สุดคือกุ้งแช่แข็ง ซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกับที่ทั้งสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นนิยมนำเข้าจากประเทศไทยเช่นกัน การส่งกุ้งและผลิตภัณฑ์ไปยังประเทศเหล่านี้ต้องมาจากพื้นที่เลี้ยงปลอดโรค ต้องเป็นกุ้งที่เอาหัว/เปลือกออก สินค้าประเภทสร้างมูลค่าเพิ่มต้องผ่านกระบวนการแปรรูปที่อุณหภูมิสูง ส่วนกุ้งต้มในโรงงานต้องอยู่ภายใต้การควบคุม ในขณะที่กุ้งต้มที่ปากบ่อต้องมีใบรับรองจากหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับของประเทศที่นำเข้าเท่านั้น กรมส่งเสริมการส่งออกเล็งเห็นถึงความสำคัญของตลาดอาหารออสเตรเลีย และการเพิ่มสินค้าในตลาดให้หลากหลายมากขึ้น จึงได้มีการจัดหาผู้ประกอบการผลิตอาหารไทยไปเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่ประเทศออสเตรเลีย โดยปีนี้เป็นปีที่ 7 แล้ว สำหรับปีนี้งาน FINE FOOD AUSTRALIA 2010 จะถูกจัดขึ้นในช่วงวันที่ 13-16 กันยายน 2553 ที่ Melbourne Exhibition & Convention Centre งานนี้เป็นงานแสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องที่ใหญ่ที่สุดในประเทศออสเตรเลีย จัดขึ้นเพื่อเจรจาธุรกิจการค้าเท่านั้น ไม่จำหน่ายปลีก และมีนักธุรกิจไทยเข้าร่วมงานจำนวน 34 บริษัท มีผู้เข้าร่วมงานแสดงสินค้ารวม 1,101 ราย จาก 27 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี เกาหลี นิวซีแลนด์ ไต้หวัน และศรีลังกา เป็นต้น โดยมีพื้นที่จัดงานรวม 30,000 ตรม. ซึ่งมีผู้เข้าชมงาน 25,453 ราย งานนี้เป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้ประกอบการด้านอาหารที่จะเข้าไปเยี่ยมชมตลาดอาหารใน ออสเตรเลียและประเทศต่างๆที่สมัครเข้าร่วมงาน หากท่านผู้ประกอบการท่านใดสนใจเข้าร่วมชมงานแบบ เร่งด่วน สามารถติดต่อทาง SNP เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมได้สำหรับงานนี้ค่ะ เพนกวิ้นตัวกลม กลับสู่หน้าหลัก
ทัศนา นานาท่าเรือ ท่าเรือ Southampton สวัสดีครับ ผ่านไปอีก 1 อาทิตย์ กับหน้าฝนที่ก้าวเข้ามา หลังจากที่ตกอย่างต่อเนื่องทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จนพวกเราคงจะรู้สึกชุ่มฉ่ำกันเต็มที่ และก็หวังว่าปีนี้ประเทศไทยจะมีหน้าหนาวที่ยาวนานซักปีนึง เมื่อผ่านพ้นหน้าฝนนี้ ขณะที่นั่งเขียน S.N.P News บวกกับสภาพอากาศอึมครึม ณ ขณะนี้มันทำให้ผมนึกไปถึงจะมีประเทศไหนมั้ยหนอที่อากาศอึมครึมแบบนี้ได้ตลอดเวลา ปรากฎว่ามีครับ นั่นคือประเทศอังกฤษ นั่นเอง ดังนั้น สภาพอากาศวันนี้จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ผม พาท่านผู้ประกอบการไปเยี่ยมชม Port of Southampton กันครับ ซึ่งถ้าท่านผู้ประกอบการทำมาค้าขายกับทางประเทศอังกฤษ ก็คงจะรู้จักท่าเรือนี้เป็นอย่างดีแน่นอน ในบรรดาท่าเรือทั่วโลกหนึ่งในท่าเรือที่มีชื่อเสียงที่สุดคงไม่พ้นท่าเรือ Southampton ประเทศอังกฤษ สิ่งที่สร้างชื่อเสียงให้กับท่าเรือนี้คือการที่เรือโดยสารยักษ์ใหญ่นาม Titanic เดินทางเที่ยวแรกและเที่ยวเดียวออกจากท่าเรือนี้ในวันที่ 10 เมษายน 1912 เพื่อเดินทางสู่เมือง New York ที่สหรัฐอเมริกา ก่อนจะวิ่งชนก้อนน้ำแข็งกลางมหาสมุทรและจมลงในอีก 4 วันถัดมา อ่านต่อหน้า 2
ปัจจุบันท่าเรือ Southampton เป็นหนึ่งในท่าเรือน้ำลึกหลักและสำคัญมากของประเทศอังกฤษและทวีปปยุโรป เนื่องจากเป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญในการกระจายสินค้าไปทั่วประเทศอังกฤษจาก motorway สายสำคัญๆที่ทำให้การกระจายสินค้าไปสู่ภูมิภาคต่างๆเป็นไปอย่างง่ายดายนอกจากนี้ระดับน้ำลึกที่ท่าเรือและกระแสน้ำที่เชี่ยวกว่าสวท่าเรือธรรมดาเป็นสองเท่าทำให้ท่าเรือ Southampton สามารถรองรับเรือขนาดใหญ่ที่สุดในโลกได้ ไม่ว่าจะเป็นเรือ cruise, container, tankers, bulk หรือแม้กระทั่งเรือรบของทางการทหารก็ตาม ด้วยเหตุนี้จึงแทบไม่ต้องบรรยายให้มากเลยว่าท่าเรือ Southampton จะมีความเพียบพร้อมด้วยเครื่องไม้เครื่องมือขนาดไหน ซึ่งทุกปีสินค้ากว่า 42 ล้านตันจะต้องนำเข้าส่งออกจากท่าเรือนี้ ซึ่งคิดเป็น 7 % ทีเดียว ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นก็เน้นหนักไปในทางอุตสหกรรมรถยนต์ เหล็ก อาหารสด ผัก ผลไม้ และนี่คือเรื่องราวเล็กๆน้อยๆ ที่นำมาเล่าสู่กันฟังครับสำหรับ Port of Southampton ช่วงนี้ฝนตกหนัก ขอให้รักษาสุขภาพกันให้มากด้วยนะครับ โย่ง ยิงยาว กลับสู่หน้าหลัก
All about Logistics ยุทธศาสตร์ด่านหน้า...พาจีนสู่ผู้นำโลก(ภาค4) ก้าวมาถึงภาคต่อที่ 4 กันแล้ว ท่านผู้อ่านคงแอบนึกในใจว่า ผู้เขียนจะเขียนไปจนถึงภาคที่เท่าไหร่ ผู้เขียนจึงขอสารภาพตรงนี้เลยว่า ผู้เขียนก็ไม่แน่ใจเหมือนกันค่ะ (ฮา...) ตราบใดที่ยังมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่าน ผู้เขียนก็ยังจะ คงดั้นด้นหาสาระต่างๆ มานำเสนอแก่ผู้ประกอบการต่อๆไปอย่างไม่มีวันสิ้นสุด 3 ตอนที่ผ่านมาผู้เขียนพยายามนำเสนอด้านดีๆของยุทธศาสตร์ด่านหน้า และการที่ไทยจะจับมือพัฒนาธุรกิจร่วมกันกับจีน แต่อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องธรรมดาของทุกสิ่งในโลกนี้ว่า หากมีด้านดี ก็ย่อมจะต้องมีด้านเสียควบคู่กันไป ดาบมีสองคมฉันใด การทำธุรกิจย่อมมีทั้งผลได้ผลเสียฉันนั้น ดังนั้นการที่จีนเร่งเปิดธุรกิจด้านโลจิสติกส์กับไทยนั้น ย่อมเป็นที่รู้กันว่า จะต้องมีผลเสีย หรืออุปสรรคบางอย่างตามมา เรามาว่ากันด้วยเรื่องของอุปสรรคในการทำธุรกิจกับชาวจีนกันก่อน ที่มาเป็นอันดับหนึ่งคงไม่แคล้วเรื่องภาษา และวัฒนธรรมการทำงาน ครั้นไอ้เราจะไปช้งเช้งๆๆกับเค้าก็จนใจ แต่ครั้นจะให้เค้าสปีค อิงลิช ให้รู้เรื่องก็แสนจะยาก กว่าจะเจรจาธุรกิจจบกันไปสักเรื่องก็เล่นเอาเหงื่อตกไปตามๆกัน แต่เรื่องภาษาที่ว่าเป็นปัญหาใหญ่ๆ พอมาเจอเรื่องความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่รัฐของจีนยังมีอันต้องพ่ายเเพ้ไปแบบราบคาบ ถ้าเปรียบรัฐบาลกลางของจีนเสมือนหน้าบ้านที่ได้รับการพัฒนาจนมีทัศนียภาพที่สวยงามเเล้วนั้น รัฐบาลท้องถิ่นในแต่ละเมืองของจีนกลับมีสภาพแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง อ่านต่อหน้า 2
เคยเจอมั้ยที่ เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรในบางเมืองปฏิเสธที่จะออกForm E ให้ เนื่องด้วยไม่รู้พิกัด เคยมั้ย ที่โดนปฏิเสธการstamp Form E เพียงแค่เจ้าหน้าที่ไม่เคยทำ สารพัดปัญหาแปลกๆใหม่ๆมีเข้ามาไม่เว้นแต่ละวันทำให้หัวใจเราได้มีแรงสูบฉีดมากบ้างน้อยบ้างตามลักษณะปัญหาที่เจอ อันนี้เป็นปัญหาระดับท้องถิ่น แต่ปัญหาของนโยบายในระดับชาติก็คือความเหลื่อมล้ำกันทางข้อตกลงหรือสนธิสัญญาต่างๆที่ไทย หรืออาเวียนตกลงทำร่วมกับจีน อาทิเช่น ข้อตกลงเร่งลดภาษีไทยจีน ที่ครอบคลุมสินค้าเพียง 2 กลุ่ม แต่Asean - จีน ที่ครอบคลุมสินค้าทั้งหมดกว่า 5000ชนิดรายการ เป็นต้น ปัจจุบัน จีนได้เร่งทำสนธิสัญญากับประเทศต่างๆมากขึ้น ซึ่งจีนได้มีการทำข้อตกลงการค้ากว่า 10 ฉบับ ล่าสุดก็จะเป็น อินเดีย ออสเตรีย คอสตาริก้า และไต้หวัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าจีนได้ขยายคู่ค้าไปทั่วทุกมุมโลก ด้วยการขยายฐานนี่เอง ย่อมจะส่งผลกระทบต่อตลาดนำเข้า-ส่งออกของไทยในอนาคตไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน เราคงต้องมาตามดูกันว่า รัฐบาล หรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะมีมาตรการอะไรเพื่อมาป้องกันความเสี่ยงในจุดนี้ให้กับผู้ประกอบการไทยในเร็ววัน Sathinun กลับสู่หน้าหลัก
SNP Knowledge การขอมีบัตรประจำตัวผู้ส่งออก – นำเข้าสินค้า บัตรประจำตัวผู้ส่งออก– นำเข้าสินค้าเป็นบัตรประจำตัวที่กรมการค้าต่างประเทศออกให้กับผู้ประกอบการที่ส่งออกและนำเข้าสินค้าในนามของนิติบุคคล ได้แก่ บริษัท และ หจก. เป็นต้น เพื่อให้กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคลดังกล่าว เป็นผู้ถือและใช้ในการติดต่อราชการกับกรมการค้าต่างประเทศ โดยเมื่อผู้ประกอบการส่งออกและนำเข้าสินค้ามาติดต่อราชการกับกรมการค้าต่างประเทศไม่ต้องนำเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับนิติบุคคลและกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลมาแสดงทุกๆ ครั้งที่มาติดต่อ เพียงแต่นำบัตรประจำตัวผู้ส่งออก-นำเข้าสินค้าที่กรมการค้าต่างประเทศออกให้มาแสดง ซึ่งกรมการค้าต่างประเทศจะตรวจสอบข้อมูลโดยใช้บัตรประจำตัวฯ ดังกล่าวเชื่อมโยงข้อมูลที่ได้มีการบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับนิติบุคคลและผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล รวมทั้งข้อมูลของผู้รับมอบอำนาจให้กระทำแทนนิติบุคคล ตามที่ผู้ประกอบการส่งออกและนำเข้าสินค้าได้แจ้งไว้แล้วต่อกรมการค้าต่างประเทศในการขอทำบัตรประจำตัวฯ ดังกล่าว ในกรณีที่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล ประสงค์จะมอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทนในการถือและใช้บัตรประจำตัวฯ ดังกล่าวติดต่อราชการกับกรมการค้าต่างประเทศ สามารถกระทำได้โดยการมอบอำนาจเป็นหนังสือตามแบบที่กรมการค้าต่างประเทศกำหนด โดยมีเงื่อนไขในการมอบอำนาจดังนี้ นิติบุคคล 1 ราย จะสามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทนกรรมการผู้มีอำนาจของนิติบุคคลได้ไม่เกินจำนวน 2 ราย สำหรับการมอบอำนาจที่เกี่ยวกับสินค้าสิ่งทอ และจำนวน 3 ราย สำหรับการมอบอำนาจที่เกี่ยวกับสินค้าทั่วไปผู้รับมอบอำนาจให้กระทำการแทนกรรมการผู้มีอำนาจของนิติบุคคลรายหนึ่ง จะสามารถรับมอบอำนาจให้กระทำการแทนนิติบุคคลได้ไม่เกินจำนวน 5ราย อ่านต่อหน้า 2
บัตรประจำตัวผู้ส่งออก – นำเข้าสินค้า แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ • 1.บัตรประจำตัวผู้ส่งออก-นำเข้าสินค้าสิ่งทอ • เป็นบัตรประจำตัวฯ ที่ออกให้กับผู้ประกอบการส่งออกและนำเข้าสินค้าสิ่งทอในนามของนิติบุคคล ได้แก่ บริษัท และ หจก. เป็นต้น เพื่อให้กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลดังกล่าว เป็นผู้ถือ และใช้ในการติดต่อราชการกับกรมการค้าต่างประเทศเกี่ยวกับสินค้าสิ่งทอ ได้แก่ การยื่นคำขอและรับใบสั่งซื้อแบบพิมพ์สิ่งทอ การซื้อและรับแบบพิมพ์คำร้องและใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการส่งออก-นำเข้าสินค้าสิ่งทอแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ • 1.1 บัตรพิเศษ (บัตรสีทอง) ซึ่งสามารถใช้ในการตรวจสอบสถานะโควตาสินค้าสิ่งทอได้ในระบบ On-Line • 1.2 บัตรธรรมดา (บัตรสีเงิน) • โดยนิติบุคคล 1 ราย สามารถขอมีบัตรประจำตัวชนิดพิเศษ (บัตรสีทอง) ได้จำนวน 1 บัตร และบัตรธรรมดา (บัตรสีเงิน) ได้จำนวน 2 บัตร • 2.บัตรประจำตัวผู้ส่งออก – นำเข้าสินค้าทั่วไป • เป็นบัตรประจำตัวฯ ที่ออกให้กับผู้ประกอบการส่งออกและนำเข้าสินค้าทั่วไปในนามของนิติบุคคล (ได้แก่ บริษัท และ หจก. เป็นต้น)เพื่อให้กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลดังกล่าว เป็นผู้ถือและใช้ในการติดต่อราชการกับกรมการค้าต่างประเทศเกี่ยวกับสินค้าอื่น ๆ นอกเหนือจากสินค้าสิ่งทอ ได้แก่การซื้อและรับรองฯ การยื่นคำร้องขอใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองฯ การรับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองฯ เป็นต้น บัตรประจำตัวผู้ส่งออก - นำเข้าสินค้าทั่วไปมีเพียงชนิดเดียวคือบัตรธรรมดา (บัตรสีเงิน) โดยนิติบุคคล 1 ราย สามารถขอมีบัตรประจำตัวฯ ดังกล่าวได้ไม่เกินจำนวน 3 บัตร • กรมการค้าต่างประเทศ กลับสู่หน้าหลัก
SNP JOKE ความแตกต่างของนรก – สวรรค์ อ่านจบแล้วแน่ใจว่าคงทำให้ผู้อ่านยิ้มได้อย่างแน่นอน ลองไปอ่านกันดูแล้วน่าจะได้ข้อคิดไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงกันได้บ้าง เรื่องมีอยู่ว่า มีชาวเดนมาร์กคนหนึ่งนอนหลับอยู่ที่บ้านในเวลากลางคืน มีนางฟ้าลงมาหาเขา ชวนให้ไปเที่ยวสวรรค์กับนรก เขาก็ตกลงไปด้วย นางฟ้าพาไปที่ที่หนึ่งแล้วบอกว่า “ถึงนรกแล้ว” ที่นั่นเป็นห้องใหญ่ๆ มีโต๊ะยาวๆ บนโต๊ะมีอาหารที่ประณีต อร่อย มีคุณค่าทุกประเภท มีคนนั่งอยู่หลายคน นางฟ้าก็บอกว่า “นี่สัตว์นรก” คนเหล่านั้นนั่งมองอาหารที่น่ากินที่สุดในโลกแต่ตัวเขาผอมเหลืองน่าสงสาร นางฟ้าบอกว่าที่นี่อนุญาตให้กินอาหารดีๆ ได้ แต่มีเงื่อนไขว่าห้ามใช้มือหยิบ ต้องใช้ช้อนที่ยาว 1 เมตร ตักอาการกินเท่านั้น เวลาจะใช้ช้อนตักอาหารเข้าปากตัวเองคนที่นรกก็ตักไม่ถึงสักที อาหารที่อร่อยหกลงบนพื้นเกือบหมด เขาเลยมีความวุ่นวายเดือดร้อนมาก พยายามตักอาหารเท่าไรก็ไม่ถึงปาก จึงผอมโซเพราะอดอาหารทั้งที่อยู่ใกล้ชิดอาหารที่อร่อยมีคุณค่าทางโภชนาการ แต่ไม่สามารถเอาเข้ามาถึงปากของตนเองได้ อ่านต่อหน้า 2
นางฟ้าพาไปอีกห้องหนึ่งแล้วบอกว่า“ถึงสวรรค์แล้ว”ห้องที่ 2 นี้มีลักษณะเช่นเดียวกับห้องแรกทุกประการ มีโต๊ะอาหารยาวๆ อาหารประณีตหลายๆ อย่างเหมือนกันกับห้องนรก มีเก้าอี้รอบ มีคนนั่งอยู่หลายคน นางฟ้าบอกว่า “นี่เทวดาบนสวรรค์” แต่แปลกที่คนบนสวรรค์นั้นยิ้มแย้มแจ่มใสอ้วนท้วนสมบูรณ์สบาย ดูว่าเขากินอาหารอย่างไร ทั้งๆ ที่เขาก็ต้องใช้ช้อนยาว 1 เมตรเหมือนกับที่นรก “เอ...ทำไมมันไม่เหมือนที่นรก? ทำไมคนที่นี่สนุกสนานแจ่มใสร่าเริงแข็งแรง”พอดูดีๆ อ้อ! เห็นวิธีของชาวสวรรค์คนอีกข้างก็ตักอาหารมาใส่ปากของคนตรงข้าม คนอีกข้างก็ตักอาหารมาใส่ปากของคนข้างนี้ ก็เลยได้กินกันทุกคน อยู่อย่างสุขสบาย สรุปว่า ที่นรกนั้น...คนคิดแต่จะได้อย่างเดียว คิดแต่เรื่องความสุขของตัวเอง คิดแต่ว่าเราจะได้อาหาร ได้สิ่งที่เราชอบ โดยไม่คิดถึงคนอื่น แต่ที่สวรรค์นั้น...มีการช่วยเหลือกัน มีความรักสามัคคีกัน คำนึงถึงความสุขของคนอื่นด้วย จึงก็ได้รับความสุขทั่วถึงกันทุกคน หน้าถัดไป
กลับสู่หน้าหลัก Logistics Specialist and International Freight Forwarder