390 likes | 1.29k Views
เรื่อง ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมในสมัยรัตนโกสินทร์. จัดทำโดย 1. นางสาวจริยา นามวิชิต เลขที่ 16 2. นางสาวจริยา เลียมา เลขที่ 17 3. นางสาวเจนจิรา คงแหลม เลขที่ 18 4. นางสาวธัญชนก พิมพ์บึง เลขที่ 20 5. นางสาวพุทธชาต น้อยเขียว เลขที่ 35 ม. 5/1 เสนอ อ . อรวรรณ กองพิลา
E N D
เรื่อง ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมในสมัยรัตนโกสินทร์ จัดทำโดย 1. นางสาวจริยา นามวิชิต เลขที่ 16 2. นางสาวจริยา เลียมา เลขที่ 17 3. นางสาวเจนจิรา คงแหลม เลขที่ 18 4. นางสาวธัญชนก พิมพ์บึง เลขที่ 20 5. นางสาวพุทธชาต น้อยเขียว เลขที่ 35 ม. 5/1 เสนอ อ. อรวรรณ กองพิลา โรงเรียน ฝางวิทยายน
สภาพสังคมไทย สภาพสังคมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นส่วนใหญ่มีลักษณะโครงสร้างไม่แตกต่างจากสมัยอยุธยาและธนบุรี องค์ประกอบของสังคมไทยประกอบด้วยสถาบันต่างๆ ได้แก่ สถาบันพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง ข้าราชการ ไพร่ และทาส บรมวงศานุวงษ์ ขุนนาง ทาส ไพร่
1. พระมหากษัตริย์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีลักษณะเป็นทั้งเทวราชาและธรรมราชา พระมหากษัตริย์ในฐานะองค์สมมติเทพ พระมหากษัตริย์ทรงดำรงฐานะเป็นสมมติเทพตามติของศาสนาพราหมณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นสมมติเทพ เช่น การสร้างที่ประทับ พระที่นั่งพระราชวัง การประกอบพิธีต่างๆ การใช้คำราชาศัพท์ เป็นต้น พระมหากษัตริย์ในฐานะธรรมราชา ตามคติธรรมราชานั้นถือว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรม 10 ประการ และจักรวรรดิวัตร 12 ประการ อย่างไรก็ตาม โดยขัตติยราชประเพณีแล้วพระมหากษัตริย์ทรงดำรงฐานะประดุจดังสมมติเทพ โดยคติความเชื่อ แต่ในทางปฏิบัติ พระองค์ทรงเป็นธรรมราชา ทำให้ฐานะของพระมหากษัตริย์ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นมีลักษณะของความเป็นผู้นำทางการเมืองที่เหมือนคนธรรมดามากขึ้น แต่พระองค์ก็ยังทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดเป็นเจ้าชีวิตของปวงชน เป็นพระเจ้าแผ่นดิน เป็นจอมทัพ เป็นต้น และพระบรมราชโองการของพระองค์ ผู้ใดจะฝ่าฝืนไม่ได้ ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนต้องถูกลงโทษอย่างหนัก
2. พระบรมวงศานุวงศ์ สกุลยศและอิสริยยศของพระบรมวงศานุวงศ์ บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหลายส่วนใหญ่ก็อยู่ในฐานะอันสูงส่ง ทั้งนี้เพราะเป็นพระญาติวงศ์ของพระมหากษัตริย์ ตำแหน่งของพระบรมวงศานุวงศ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สกุลยศกับอิสริยศ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สกุลยศมีอยู่ 3 ตำแหน่ง คือ เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และหม่อมเจ้า ส่วนอิสริยยศ คือ พระยศที่พระมหากษัตริย์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้น อิสริยยศที่สำคัญที่สุดและสูงที่สุด ได้แก่ พระมหาอุปราช นอกจากนี้การได้รับตำแห่งทรงกรมก็คือเป็นอิสริยยศด้วยเหมือนกัน ได้แก่ กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จการถือศักดินาของพระบรมวงศานุวงศ์ แตกต่างกันไปตามลำดับ ถ้าเป็นเจ้าฟ้าจะมีศักดินาสูงสุด หม่อมราชวงศ์จะมีศักดินาต่ำสุด แต่ถ้าทรงกรมก็มีศักดินาสูงกว่าเจ้านายในระดับเดียวกัน แต่มิได้ทรงกรม เช่น เจ้าฟ้าที่เป็นพระเชษฐาหรือพระอนุชาของพระมหากษัตริย์ถ้าไม่ได้ทรงกรมจะถือศักดินา 20,000 ไร่ ถ้าทรงกรมจะถือศักดินาถึง 50,000 ไร่ตามลำดับสิทธิตามกฏหมายของพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งมีสิทธิอยู่ 2 ประการ คือ จะพิจารณาคดีของพระบรมวงศานุวงศ์ในศาลใดๆ ไม่ได้นอกจากศาลของกรมวัง และ จะนำพระบรมวงศานุวงศ์ไปขายเป็นทาสไม่ได้ เพราะเจ้าหน้าที่จะไม่ยอมให้กระทำสัญญาซื้อขายเช่นนั้นได้อย่างถูกต้องตามกฏหมาย
3. ขุนนาง คือ บุคคลที่รับราชการแผ่นดิน มีศักดินา ยศ ราชทินนาม และตำแหน่ง เป็นเครื่องชี้บอกถึงอำนาจและเกียรติยศ ขุนนางเปรียบเหมือนข้าราชการของแผ่นดิน แต่ข้าราชการแผ่นดินบางคนจะไม่ได้มีฐานะเป็นขุนนางก็ได้ เพราะการเป็นขุนนางต้องขึ้นอยู่กับศักดินาของตนด้วย ผู้มีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไปถึงได้เป็นขุนนาง ยกเว้นพวกมหาดเล็กเพราะถือว่าพวกนี้เป็นขุนนางอยู่แล้วการลำดับยศของขุนนาง ยศของขุนนางมี 7 ลำดับ จากสูงสุดไปต่ำสุดดังนี้ สมเด็จเจ้าพระยา เจ้าพระยา พระ หลวง ขุน หมื่น และ พัน ศักดินาของสมเด็จเจ้าพระยาอยู่ในระดับ 30,000 ไร่ นับว่าสูงสุดในบรรดาขุนนางทั้งหลาย ส่วนพันถือศักดินา 100-400 ไร่ หมื่นถือศักดินา 200-800 ไร่ ขุนถือศักดินา 200-1,000 ไร่ สำหรับขุนนางที่มียศเป็นหลวงขึ้นไป มีศักดินาไม่ต่ำกว่า 800 ไร่ขึ้นไป แสดงว่าผู้เป็นพัน หมื่น ขุนอาจมีสิทธิไม่ได้เป็นขุนนางก็ได้ ถ้าศักดินาของตนเองไม่ถึง 400 ไร่ และอาจมีสิทธิเป็นขุนนางได้ถ้ามีศักดินาถึง 400 ไร่ขึ้นไปสิทธิตามกฏหมายของพวกขุนนาง เช่น ได้รับการยกเว้นจากการเกณฑ์แรงงานไปใช้ โดยการยกเว้นนี้ต่อเนื่องไปถึงบุตรของขุนนางด้วย แต่ถ้าผู้ใดเป็นข้าราชการมีศักดินาไม่ถึง 400 ไร่ก็จะได้รับเอกสารยกเว้นการเกณฑ์แรงงานเป็นรายบุคคล แต่เอกสารนี้มิได้คลุมไปถึงลูกของข้าราชการเหล่านั้น สำหรับผู้ที่มีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไป จะได้รับสิทธิเข้าเฝ้าในการเสด็จออกขุนนาง และได้รับอนุญาตให้ผู้อื่นขึ้นศาลแทนตนได้ เป็นต้น
4. ไพร่ ฐานันดรไพร่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีสภาพไม่แตกต่างจากสมัยอยุธยา ไพร่ถูกมูลนายเอาชื่อเข้าบัญชีไว้ เพื่อเกณฑ์แรงงานไปใช้ในราชการต่างๆ ด้วยเหตุนี้ไพร่จึงต้องสังกัดอยู่กับเจ้าขุนมูลนายที่ตนสมัครอยู่ด้วยและถ้าเจ้าขุนมูลนายของตนสังกัดอยู่กรมกองใด ไพร่ผู้นั้นก็ต้องสังกัดในกรมกองนั้นตามเจ้านายด้วยไพร่อาจแบ่งประเภทตามสังกัดได้เป็น 2 ประเภท คือ ไพร่หลวงและไพร่สม ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้ไพร่หลวง หมายถึง ไพร่ที่พระราชทานแก่กรมกองต่างๆ เป็นไพร่ของพระมหากษัตริย์โดยตรง หน้าที่ของไพร่หลวงจึงแตกต่างกันไปตามหน้าที่ที่ระบุไว้ของแต่ละกรมกอง ดังนั้นไพร่หลวง จึงอยู่ในกรม 2 ประเภท คือไพร่หลวงที่ต้องมารับราชการตามที่ทางราชการกำหนดไว้ หากมาไม่ได้ต้องให้ผู้อื่นมาแทนหรือส่งเงินแทนการรับราชการ ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้โปรดเกล้าฯให้ไพร่หลวงเปลี่ยนเป็นอยู่เวรรับราชการปีละ 4 เดือน คือ เข้าเวร 1 เดือน ออกเวร 2 เดือน ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 2 ทรงลดเวลารับราชการของไพร่หลวงลงอีกจาก 4 เดือน เป็น 3 เดือนต่อปี คือเข้าเวร 1 เดือน ออกเวร 3 เดือนไพร่หลวงที่ต้องเสียเงิน แต่ไม่ต้องมารับราชการ ซึ่งเรียกว่า ไพร่หลวงส่วยไพร่สม หมายถึง ไพร่ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้แก่เจ้านายและขุนนางที่มีตำแหน่งทำราชการเพื่อเป็นผลประโยชน์ เนื่องจากในสมัยก่อนนั้นยังไม่มีเงินเดือน
ทาส หมายถึง บุคคลที่มิได้มีกรรมสิทธิ์ในแรงงานและชีวิตของตนเอง แต่กลับตกเป็นของนายจนกว่าจะได้รับการไถ่ตัวพ้นจากความเป็นทาส นายมีสิทธิ์ในการซื้อขายทาสได้ ลงโทษทุบตีทาสได้ แต่จะให้ถึงตายไม่ได้ ทาสมีศักดินาเพียง 5 ไร่เท่านั้นการแบ่งประเภทของทาส ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ทาสคงมีอยู่ 7 ประเภทเช่นเดียวกับสมัยอยุธยา ได้แก่ ทาสไถ่มาด้วยทรัพย์,ลูกทาสที่เกิดในเรือนเบี้ย,ทาสที่ได้มาข้างฝ่ายบิดามารดา,ทาสมีผู้ให้,ทาสอันได้ช่วยกังวลธุระทุกข์ด้วยคนต้องโทษทัณฑ์,ทาสที่เลี้ยงเอาไว้ในเวลาข้าวยากหมากแพง,และทาสเชลย ทาสเหล่านี้อาจไม่ยอมขอทานเพราะถือว่าเป็นเรื่องน่าอับอาย จึงยอมขายตัวลงเป็นทาสการหลุดพ้นจากความเป็นทาส ทาสมีโอกาสได้รับการปลดปล่อยให้หลุดพ้นจากความเป็นทาส ในกรณีต่อไปนี้ถ้านายเงินอนุญาตให้ทาสบวชเป็นพระภิกษุหรือสามเณรหรือนางชี ก็ถือว่าหลุดพ้นจากความเป็นทาส แม้ภายหลังจะลาสิกขาบทแล้ว ก็จะเอาคืนมาเป็นทาสของตนไม่ได้
ศิลปวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ศิลปวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น นับว่าเป็นการสืบสานวัฒนธรรมไทยเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองขึ้นใหม่ นอกจากนี้ก็มีการปรับปรุงเพิ่มเติมสิ่งใหม่ๆ ให้วัฒนธรรมไทยในยุคนี้ด้วย นับได้ว่าเป็นการธำรงรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมไทยที่มีมาแต่อยุธยาให้กลับเจริญรุ่งเรือง หลังจากประสบกับวิกฤตการณ์สงครามสู้รบระหว่างไทยกับพม่ามาแล้ว สภาพทางสังคมของไทยตั้งแต่อดีต ได้ผูกพันกับพระพุทธศาสนามาโดยตลอด ความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมจึงมีส่วนสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความเจริญรุ่งเรืองทางศาสนาด้วย ศิลปกรรมและวรรณกรรมต่างๆ ที่บรรจงสร้างด้วยความประณีตก็เกิดจากแรงศรัทธาทางศาสนาทั้งสิ้น
1. การทำนุบำรุงทางด้านพระพุทธศาสนา ในสมัยรัชกาลที่ 1 (พ.ศ.2325-2352) พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้ทำการสังคายนาพระไตรปิฏกที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ใน พ.ศ.2331 โดยใช้เวลาประชุมกันประมาณ 5 เดือน ในสมัยรัชกาลที่ 2 (พ.ศ.2352-2367) พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้จัดงานพระราชกุศลอย่างใหญ่โตในวันวิสาขบูชา เหมือนดังที่เคยทำกันในสมัยอยุธยา คือ ทำบุญกันทั่วไปเป็นเวลา 3 วัน สัตว์ที่เคยถูกฆ่าเป็นอาหารนั้นโปรดให้ปล่อยให้หมดภายใน 3 วัน มิให้มีการฆ่าสัตว์โดยเด็ดขาด ในสมัยรัชกาลที่ 3 (พ.ศ.2367-2394) พระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างมาก พระองค์ทรงทำนุบำรุงคณะสงฆ์ ตลอดจนทรงสร้างและปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปและวัดวาอารามมากมาย ในสมัยนี้ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ได้มีโอกาสเผยแผ่ในประเทศไทยโดยพวกมิชชันนารี ทำให้คนไทยบางส่วนหันไปนับถือศาสนาคริสต์ ขณะเดียวกันในวงการพระพุทธศาสนาของไทยก็มีการเคลื่อนไหวที่จะปฏิรูปข้อวัตรปฏิบัติของคณะสงฆ์ไทยให้สอดคล้องกับคำสอนในพระไตรปิฏก โดยเจ้าฟ้ามงกุฏ ซึ่งทรงผนวชมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 และได้เสด็จมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร (พ.ศ.2370-2394) ทรงเป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในการปฏิรูปครั้งนั้น จนกระทั่งได้ทรงตั้งนิกายใหม่ เรียกว่า "ธรรมยุติกนิกาย"
2. การทำนุบำรุงศิลปกรรม การทำนุบำรุงด้านศิลปกรรมในสมัยรัชกาลที่ 1ในบรรดาศิลปกรรมของไทยซึ่งรัชกาลที่ 1 ทรงให้ความสนพระทัยมากนั้น ได้แก่ บรรดาตึกรามต่างๆ ที่สร้างขึ้น ล้วนมีการตกแต่งลวดลายอย่างงดงามทั้งภายในและภายนอก ทั้งโดยปูนและโดยไม้แกะสลัก ตึกที่ทรงให้จัดสร้างขึ้นส่วนมากเป็นวัด เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นต้น นอกจากนี้ก็มีพระที่นั่งต่างๆ เช่น พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย, พระที่นั่งไพศาลทักษิณ, พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน, พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เป็นต้น รัชกาลที่ 1 ทรงสนพระทัยทางด้านวรรณคดี ดังนั้นในสมัยนี้จึงมีบทวรรณคดีที่สำคัญหลายเรื่อง เช่น รามเกียรติ์ นอกจากนี้ก็มีการแปลวรรณกรรมต่างชาติมาเป็นภาษาไทย เช่น หนังสือสามก๊ก ,ราชาธิราช เป็นต้น
สภาพสังคมและศิลปวัฒนธรรมในสมัยรัชกาลที่ 4 1. การปรับปรุงด้านสังคมในสมัยรัชกาลที่ 4เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นช่วงที่ไทยเริ่มปรับตัวทางด้านสังคมและวัฒนธรรมให้เข้ากับขนบธรรมเนียมตะวันตกเท่าที่สามารถจะกระทำได้ ภายหลังจากที่ไทยได้ทำสัญญาทางพระราชไมตรีและการค้ากับชาติตะวันตกอย่างกว้างขวาง นับตั้งแต่ พ.ศ.2398 เป็นต้นมา รัชกาลที่ 4 ก็ทรงดำเนินการปรับปรุงทางด้านสังคมควบคู่ไปด้วย ดังนี้อนุญาตให้ไพร่เสียเงินแทนการถูกเกณฑ์แรงงาน เพื่อให้บรรดาไพร่ที่มีอยู่ใช้แรงงานของตนไปทำงานส่วนตัวได้ออกประกาศห้ามบิดามารดาหรือสามีขายบุตรภรรยาไปเป็นทาสโดยที่เจ้าตัวไม่สมัครใจ เพราะรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าไม่เป็นการยุติธรรมสำหรับเด็กและสตรี ถ้าจะต้องถูกบังคับในเรื่องดังกล่าวให้สตรีที่บรรลุนิติภาวะแล้วมีสิทธิเลือกสามีได้ โดยบิดามารดาจะบังคับมิได้อนุญาตให้บรรดาเจ้าจอมกราบถวายบังคมลาไปอยู่ที่อื่น หรือไปแต่งงานใหม่ได้โปรดเกล้าฯ ให้สตรีในคณะผู้สอนศาสนาคริสต์เข้าไปสอนภาษาอังกฤษให้แก่สตรีในราชสำนักเป็นเวลาประมาณ 3 ปี
2. การปรับปรุงทางด้านวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 4 (ยุคปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย)ภายหลังจากที่ไทยได้ทำสนธิสัญญาเบาริง กับอังกฤษในปี 2398 แล้ว การติดต่อกับต่างประเทศ โดยเฉพาะกับชาติตะวันตกได้ดำเนินไปอย่างกว้างขวาง ส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมไทยเป็นอย่างมาก บางครั้งก็ทำให้วัฒนธรรมไทยเปลี่ยนแปลงตามแบบตะวันตก แต่บางครั้งก็มีการส่งเสริมให้วัฒนธรรมไทยแต่ดั้งเดิมดำรงอยู่ต่อไปการส่งเสริมด้านศิลปะ ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว ก็ทรงเปิดความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกอย่างกว้างขวาง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่องานทางด้านศิลปวัฒนธรรมของไทยอยู่บ้าง แต่ในขณะเดียวกัน การทำนุบำรุงและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของไทยก็เพิ่มพูนมากขึ้นไปด้วยรัชกาลที่ 4 ทรงซื้อและโปรดเกล้าฯ ให้ทำการต่อเรือกลไฟตามแบบตะวันตกหลายลำ เพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการค้าขาย ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เรือจักรสำหรับเป็นเรือพระที่นั่งแต่ในขณะเดียวกันก็ทรงรับเรือพายพระที่นั่งอันงดงามมาจากรัชกาลก่อนๆ นอกจากนี้ ยังโปรดเกล้าฯ ให้ต่อเรือขึ้นอีกลำหนึ่ง โดยพระราชทานนามว่า "อนันตนาคราช" ที่หัวเรือทำเป็นพญานาคเจ็ดเศียร ซึ่งยังคงรักษาเป็นมรดกตกทอดมาจนถึงทุกวันนี้
3. การเปลี่ยนแปลงด้านประเพณีวัฒนธรรมที่สำคัญ มีดังนี้ด้านขนบธรรมเนียมประเพณีรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ชาวต่างประเทศเข้าเฝ้าพระองค์ได้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกซึ่งไม่เคยปรากฏมาในรัชกาลก่อนๆ กับทั้งยังทรงออกประกาศให้ทราบทั่วกันว่าในการเข้าเฝ้านั้น ชาวต่างประเทศสามารถแสดงความเคารพบต่อพระองค์ได้ตามธรรมเนียมประเพณีนิยมของเขา เช่น ให้ชาวตะวันตกยืนตรงถวายคำนับได้ โดยไม่ต้องถูกบังคับให้หมอบกราบเหมือนดังที่พวกฑูตฝรั่งต้องปฏิบัติตอนเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อนๆ นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลี้ยงแก่ชาวต่างประเทศ พร้อมทั้งแจกของที่ระลึกอีกด้วย สำหรับคนไทยนั้นยังคงโปรดเกล้าฯ ให้หมอบกราบตอนเข้าเฝ้าต่อไปตามประเพณีนิยมเดิมของไทย แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลง คือ ทรงออกประกาศให้ข้าราชการสวมเสื้อในเวลามาเข้าเฝ้าทุกคน ทั้งนี้เพื่อมิให้ชาวต่างประเทศดูถูกข้าราชการไทยที่ไม่สวมเสื้อว่าเป็นคนป่าเถื่อนดังแต่ก่อน
สภาพสังคมและศิลปวัฒนธรรมในสมัยรัชกาลที่ 5การปฏิรูปทางด้านสังคมในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงปฏิรูปสังคมให้ทันสมัยตามแบบตะวันตกอย่างกว้างขวาง ได้ทรงปฏิรูปสังคมให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก ซึ่งถือว่าเป็นการเจริญรอยตามพระบรมราโชวาทของรัชกาลที่ 4 ที่ได้ทรงริเริ่มเอาไว้การปฏิรูปสังคมที่สำคัญในสมัยรัชกาลที่ 5 คือ การเลิกทาส การเลิกระบบไพร่ และการปฏิรูปการศึกษา
1. การเลิกทาสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงเตรียมแผนการในการเลิกทาสอย่างมีขั้นตอน ดังนี้ใน พ.ศ.2417 ได้มีการประกาศให้ผู้มีทาสทำการสำรวจจำนวนทาสในครอบครองของตน ซึ่งจะเข้ามาอยู่ในข่ายของเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติที่จะออกมาในระยะไล่เลี่ยกันนั้น เป็นการวางข้อกำหนดเพื่อการตระเตรียมการโดยให้ประชาชนได้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวกในทางปฏิบัติตามแผนการขั้นต่อไปภายหลังการประกาศแผนการที่จะเตรียมการเลิกทาสใน พ.ศ.2417 และได้มีการสำรวจจดทะเบียนทาสที่เกิดตั้งแต่ปีมะโรง พ.ศ.2411 อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นต้นมาแล้ว ก็ได้มีการประกาศใช้ "พระราชบัญญัติกระเษียรลูกทาสลูกไท"ตามพระราชบัญญัตินี้ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติที่สำคัญคือ ทาสคนใดถูกขายตัวเป็นทาส ถ้าเกิดใน พ.ศ.2411 และปีต่อๆ มาจนถึงอายุ 21 ปี ให้พ้นค่าตัวเป็นไทได้ ไม่ว่าทาสนั้นจะอยู่กับมูลนายเดิม หรือย้ายโอนไปอยู่กับเจ้าขุนมูลนายใหม่ก็ตาม ส่วนทาสที่เกิดก่อน พ.ศ.2411 ก็ยังต้องเป็นทาสต่อไปตามกฏหมายเดิม แต่ถึงแม้ว่าบุคคลที่เกิดตั้งแต่ พ.ศ.2411 เป็นต้นมา จะได้รับการปลดปล่อยตามเงื่อนไขเวลาที่กล่าวแล้วนั้น ต่อเมื่อถึง พ.ศ.2431 เป็นต้นไปก็ตาม ก็สามารถได้รับการไถ่ถอนให้พ้นจากความเป็นทาสได้ในราคาพิเศษที่ถูกกว่าทาสซึ่งเกิดก่อน พ.ศ.2411
2.การยกเลิกระบบไพร่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระบรมราโชวาทในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปเช่นเดียวกับการเลิกทาส ทั้งนี้เพื่อมิให้เป็นการกระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ที่บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางข้าราชการอาจได้รับจากระบบไพร่ การประวิงเวลาพอสมควรจะช่วยให้พระบรมราโชวาทในการเลิกระบบไพร่ของพระองค์ประสบความสำเร็จอย่างงดงามการเลิกระบบไพร่นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำเนินการอย่างมีขั้นตอนดังนี้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ใน พ.ศ.2413 โดยทรงเลือกจากบรรดาพระราชวงศ์และบุตรหลานขุนนางที่ได้ถวายตัวทั้งผู้ใหญ่และเด็กเป็นจำนวนกว่าพันคนเข้ามาเป็นทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ใน พ.ศ.2423 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกรมทหารหน้า โดยการรับสมัครบรรดาไพร่ที่นายของตนตาย ให้เข้ามารับราชการเป็น "ทหารสมัคร" จำนวนมาก โดยทรงพระราชทานเงินให้คนละ 4 บาท พร้อมผ้า 1 สำรับเป็นสินน้ำใจให้แก่ทหารสมัครทุกคน ต่อมาได้มีการแจกเครื่องแบบสักหลาดสีดำ 1 ชุด เงินเดือนๆ ละ 10 บาท รวมทั้งเลี้ยงอาหารวันละ 2 มื้อด้วย
การปฏิรูปการศึกษาสาเหตุของการปฏิรูปการศึกษา การที่รัชกาลที่ 5 มีดังนี้การคุกคามของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกการได้รับอิทธิพลทางด้านสติปัญญา และความคิดตามแบบตะวันตกจากชาวยุโรปและอเมริกัน ที่มาเมืองไทยเพื่อทำการค้าและการเผยแผ่ศาสนาการเสด็จประพาสต่างประเทศของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้งในเอเซียและยุโรป ทำให้พระองค์ได้รับแนวความคิดในการจัดการศึกษาแบบใหม่เพื่อนำมาใช้ในประเทศไทยทรงมีพระราชดำริที่จะใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือให้ผู้ที่พ้นจากการเป็นทาสนำไปใช้ในการยังชีพความจำเป็นที่ต้องอาศัยบุคคลที่ได้รับการศึกษาตามแบบแผนใหม่เข้ารับราชการเพื่อพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นการดำเนินงานปฏิรูปการศึกษาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนาคนไทยให้มีความรู้วิทยาการแบบตะวันตก โดยเฉพาะในยามที่ประเทศไทยกำลังปฏิรูปประเทศให้ทันสมัย คนไทยที่มีความรู้ความสามารถในวิชาการสมัยใหม่จึงเป็นที่ต้องการของทางราชการ รัชกาลที่ 5 ได้ทรงเริ่มปฏิรูปการศึกษา โดยเริ่มจากในพระบรมมหาราชวังก่อน ทรงจัดตั้ง "โรงเรียนหลวง" ใน พ.ศ.2414 มีสถานที่เล่าเรียนจัดไว้เฉพาะ มีฆราวาสเป็นครูและทำการสอนตามเวลาที่กำหนด วิชาที่สอนมีทั้งภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ และวิชาอื่นๆ ที่ไม่เคยสอนในโรงเรียนแผนโบราณมาก่อน
สังคมและวัฒนธรรมไทยในสมัยรัชกาลที่ 6 การปฏิรูปด้านสังคมและการศึกษา รัชกาลที่ 6ทรงมีพระบรมราโชบายให้ผู้ปกครองส่งเด็กหญิงและเด็กชายที่มีอายุย่างเข้า 8 ปี เข้าเรียนในโรงเรียน นอกจากนี้ยังแบ่งโรงเรียนออกเป็น 2 ประเภท คือ การศึกษาขั้นต้น (มูลศึกษา) เป็นหน้าที่ของราษฏรทุกคนทั้งหญิงและชายจะต้องเรียนรู้ ดังนั้นควรมีสถานที่เรียนทุกตำบลเพื่อให้เพียงพอแก่จำนวนเด็ก การศึกษาขั้นสูงขั้นไป ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษาจัดให้ทวยราษฏร์ได้เลือกเรียนตามกำลังทรัพย์และสติปัญญา ซึ่งจะมีโรงเรียนตั้งไว้ในที่ชุมนุมชนเป็นแห่งๆ ตามความต้องการของท้องถิ่น การประดิษฐ์ธงชาติใหม่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงธงชาติใหม่ให้เหมาะสม 2 ครั้ง ครั้งแรก ในปี 2459 ครั้งที่ 2 ในปี 2460 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่กองทหารอาสาไทยกำลังจะเดินทางไปร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในยุโรป เพื่อให้กองทัพไทยมีธงประจำชาติอย่างสมศักดิ์ศรี พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐ์ธงขึ้นใหม่มี 3 สี ตามแบบที่อารยประเทศส่วนใหญ่นิยมใช้อยู่ในขณะนั้น และพระราชทานนามธงชาติสามสีห้าริ้วนี้ว่า ธงไตรรงค์ ซึ่งเป็นธงสำหรับชาติไทยมาจนทุกวันนี้
สภาพสังคมไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ถึงปัจจุบัน 1. สถาบันพระมหากษัตริย์ ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์จะทรงดำรงฐานะเป็นองค์ประมุขของรัฐ แต่ก็ไม่ทรงสามารถใช้พระราชอำนาจสิทธิ์ขาดดังเช่นการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชได้อีกต่อไป เพราะพระองค์ทรงบริหารราชการแผ่นดินภายใต้รัฐธรรมนูญที่ผู้แทนของปวงขนชาวไทยเป็นผู้ร่างเอาไว้ และพระองค์ทรงใช้อำนาจบริหารโดยผ่านทางคณะรัฐมนตรี อำนาจนิติบัญญัติโดยผ่านทางสภาผู้แทนราษฎร และอำนาจตุลาการโดยผ่านทางผู้พิพากษา 2 พระบรมวงศานุวงศ์ บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งปวงถูกห้ามยุ่งเกี่ยวทางการเมือง ในช่วงเวลาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ๆ ชั่วระยะหนึ่ง เมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองกลับคืนสู่สภาพปกติแล้วจึงได้รับอนุญาตให้มีสิทธิเกี่ยวข้องทางการเมืองได้ เอกสิทธิ์ใดๆ ที่เคยได้รับในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชได้ยกเลิกโดยสิ้นเชิง และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์จะต้องปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกฏหมายเข่นเดียวกับประชาชนคนธรรมดาโดยทั่วไป 3. ขุนนางข้าราชการ ยังคงมีบทบาทในการปกครองบ้านเมือง เพียงแต่ขุนนางข้าราชการรุ่นใหม่ที่ได้รับการศึกษาตามแบบตะวันตก และให้การสนับสนุนคณะราษฏรในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะราษฎรผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ก็ยังคงมีฐานะเป็นข้าราชการประจำเป็นส่วนใหญ่ 4. ราษฎรทั่วไป ราษฎรทั่วไปต่างมีสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค ตามกฏหมายภายในบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และมีสิทธิเข้ารับราชการแผ่นดินตามความต้องการและความเหมาะสมกับความรู้ที่ตนมีอยู่
วัฒนธรรมไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ถึงปัจจุบัน 1. นโยบายวัฒนธรรมสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งแรก (พ.ศ.2481-2487) ประเทศไทยได้เกิดการสู้รบกับฝรั่งเศสในปัญหาดินแดนอินโดจีน ซึ่งไทยถูกบีบบังคับให้ยกให้ฝรั่งเศสไปในสมัยรัชกาลที่ 5 และไทยถูกบีบบังคับให้ยกให้ฝรั่งเศสไปในสมัยรัชกาลที่ 5 และไทยได้ขอคืนแต่ฝรั่งเศสเพิกเฉย จอมพล ป.จึงได้ใช้นโยบายชาตินิยมเร่งเร้าให้คนไทยเกิดความรักชาติอย่างรุนแรง โดยถือหลัก "เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย“ 2. การฟื้นฟูพระราชประเพณีในสมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นนายกรัฐมนตรี (พ.ศ.2501-2506)ในสมัยนี้ได้มีนโยบายแน่วแน่ในการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ในฐานะที่เป็นสถาบันหลักของสังคมไทยมาช้านาน จึงได้มีการฟื้นฟูพระราชประเพณีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์มาช้านาน จึงได้มีการฟื้นฟูพระราชประเพณีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ 3. การฟื้นฟูวัฒนธรรมเมื่อครั้งกรุงรัตนโกสินทร์มีอายุครบ 200 ปีในวันที่ 6 เมษายน 2525 รัฐบาลได้จัดให้มีการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี ทำให้ทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น วางโครงการบูรณะวัดพระพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวัง ให้มีสภาพดีเหมือนของเดิมทั้งหมด ศิลปกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านศิลปกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ที่ปรากฏอยู่ในบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวัง ได้รับการบูรณะอย่างทั่วถึง
สังคมและวัฒนธรรมไทยก่อนสมัยรัตนโกสินทร์สังคมและวัฒนธรรมไทยก่อนสมัยรัตนโกสินทร์ แต่เดิมรู้จักกันทั่วไปในนาม "ประเทศสยาม" หรือ "เมืองสยาม" มาเปลี่ยนเป็น "ปรเทศไทย" ในพ.ศ.2482 เมื่อรัฐบาลในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีนโยบายส่งเสริมลัทธิชาตินิยม ซึ่งเน้นเรื่องของเชื้อชาติเป็นสำคัญ สิ่งที่ทำให้อาณาจักรในดินแดนไทยพัฒนาขึ้นเป็นประเทศไทย ซึ่งมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติและมีวัฒนธรรมที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของตนเองนั้น มีที่มาจากสภาพแวดล้อมในทางภูมิศาสตร์ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของประชาชนในดินแดนนี้เป็นสำคัญ แต่ทว่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของดินแดนแถบนี้ตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงศตวรรษที่ 20 เป็นเรื่องราวที่ยากต่อการศึกษาค้นคว้าและตีความให้ได้ข้อยุติที่แน่นอน ประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมไทย จะได้เห็นได้อย่างชัดเจนในตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 18 เมื่อรัฐสุโขทัยเกิดขึ้นขณะนั้นในดินแดนประเทศไทยยังมีรัฐอื่นๆ เกิดขึ้นอีกหลายรัฐ ได้แก่ รัฐอโยธยา รัฐสุวรรณภูมิ รัฐนครศรีธรรมราช รัฐหริภุญชัย รัฐล้านนา และรัฐล้านช้าง โดยที่มิได้มีรัฐใดเป็นศูนย์กลางการปกครองของดินแดนไทยทั้งหมดอย่างชัดเจน อย่างไรก็ดีรัฐสุโขทัยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช นับว่าเป็นรัฐที่มีความเจริญรุ่งเรือง และมีความสำคัญในฐานะเป็น “ผู้นำ” ของรัฐไทยทั้งหมดในพุทธศตวรรษ
เมืองหลวงใหม่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์บริเวณ เมืองหลวงใหม่เดิมเรียกว่า บางกอกหรือปัจจุบันคือกรุงเทพมหานครเป็นราชธานีใหม่ของไทย สร้างขึ้นโดยเลียนแบบอยุธยา กำหนดพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วนคือ บริเวณพระบรมมหาราชวังประกอบด้วย วังหลวง วังหน้า วัดในพระบรมมหาราชวัง(วัดพระศรีรัตนศาสดาราม)และรวมทั้งทุ่งพระสุเมรุท้องสนามหลวง บริเวณที่อยู่อาศัยภายในกำแพงเมือง อาณาเขตกำแพงเมือง ประตูเมือง และป้อมปราการสร้างขึ้นตามแนวคลองรอบกรุง ได้แก่ คลองบางลำภู และคลองโอ่งอ่าง บริเวณที่อยู่อาศัยภายนอกกำแพงเมือง เป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีบ้านเรือนราษฏรตั้งอยู่ด้านนอกของคลองรอบกรุง มีคลองขุดในรัชกาลที่ 1คือ คลองมหานาค การปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นในสมัยรัชกาลที่ 1-3 พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ การจัดระเบียบการปกครองยังคงยึดถือตามแบบอย่างสมัยอยุธยาตอนปลาย
การสละราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษ เพื่อรักษาพระเนตรได้ทรงมีพระราชบันทึกถึงรัฐบาล ทรงขอร้องให้รัฐบาลปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและให้สิทธิเสรีภาพแก่ราษฏรอย่างแท้จริง ไม่ปราบปรามและลงโทษผู้คัดค้านด้วยสุจริตใจ เมื่อรัฐบาลไม่สามารถปฏิบัติตามคำขอของพระองค์ได้ พระองค์จึงทรงประกาศสละราชสมบัติเมื่อ วันที่ 2 มีนาคม 2477 ทรงอ้างเหตุผลแห่งการสละราชสมบัติว่า เป็นเพราะพระองค์ไม่สามารถช่วยเหลือและคุ้มครองประชาชนให้ได้รับสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญได้ เพราะหลังจากนั้นรัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระโอรสในสมบัติสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อมา ความขัดแย้งในคณะราษฏร รัฐบาลพระยาพหลฯบริหารประเทศในลักษณะที่ไม่ค่อยราบรื่น เนื่องจากถูกสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรโจมตีในเรื่องความไม่สุจริต และเกิดความขัดแย้งในคณะรัฐมนตรี ในที่สุดพระยาพหลฯ ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี บุคคลที่เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อมาคือ พันเอกหลวงพิบูลสงคราม เมื่อเดือน ธันวาคม 2481รัฐบาลของหลวงพิบูลสงครามมีศัตรูทางการเมืองอยู่มาก จึงดำเนินนโยบายสร้างความมั่นคงของรัฐบาลโดยการกวาดล้างจับกุมกลุ่มที่ต่อต้าน ซึ่งมีทั้งนายทหารที่เคยร่วมก่อการยึดอำนาจ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 รวมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์บางท่าน รัฐบาลถึงกับประกาศพระราชบัญญัติศาลพิเศษเพื่อตัดสินลงโทษผู้ที่ต่อต้านรัฐบาลอย่างรุนแรง บางคนถึงกับถูกประหารชีวิต บางคนก็ถูกจำคุก
สงครามกับฝรั่งเศส ฝรั่งเศสได้ยึดดินแดนไทยไปมากมายโดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 อีกทั้งยังข่มเหงเอารัดเอาเปรียบคนไทยต่างๆ นานา ชาวไทยส่วนใหญ่ยังมีความเจ็บช้ำใจในเรื่องนี้อย่างไม่ลืม รัฐบาลหลวงพิบูลสงครามจึงพยายามโฆษณาตอกย้ำในสิ่งที่ฝรั่งเศสทำไว้อยู่ตลอดเวลา ใน พ.ศ.2483 สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดขึ้นในยุโรป รัฐบาลไทยได้ประกาศนโยบายเป็นกลาง กองทัพเยอรมันรักเข้าโจมตีฝรั่งเศสอย่างรวดเร็ว ฝรั่งเศสพ่ายแพ้อย่างย่อยยับ และประกาศยอมแพ้ต่อเยอรมันในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2483 รัฐบาลฝรั่งเศสที่จัดตั้งขึ้นใหม่ภายหลังจากการแพ้สงคราม หวั่นเกรงว่าไทยอาจใช้กำลังเข้ายึดดินแดนบางส่วนของอินโดจีน จึงขอเจรจากับไทยเพื่อทำสัญญาไม่รุกรานกัน รัฐบาลไทยยินดีเจรจา แต่ขอให้ฝรั่งเศสคืนดินแดนบางส่วนของประเทศลาวในปัจจุบัน ซึ่งฝรั่งเศสยึดไปจากไทยกลับคืนให้ไทยเสียก่อน ฝรั่งเศสไม่ยอมตกลง ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเริ่มเสื่อมทุกที ฝ่ายไทยกล่าวหาฝรั่งเศสว่าส่งเครื่องบินและกำลังทหารล่วงล้ำเขตแดนไทยและยั่วยุให้ไทยทำสงคราม ในขณะเดียวกันประชาชนไทย นิสิต นักศึกษาในกรุงเทพได้เดินขบวนเรียกร้องให้รัฐบาลส่งทหารไปยึดดินแดนไทยกลับคืนมาจากฝรั่งเศส ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2484 เป็นต้นมา รัฐบาลไทยได้ประกาศสถานการณ์สงครามกับอินโดจีนของฝรั่งเศส และส่งกำลังทหารไทยรุกเข้าสู่อินโดจีน ยึดเมืองหลวงพระบาง จำปาศักดิ์ และอื่นๆ อีกหลายแห่ง
การแย่งชิงอำนาจระหว่างนักการเมือง และระหว่างทหารบกกับทหารเรือ การเมืองไทยเริ่มประสบความยุ่งยากอันเนื่องมาจากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัญหาเศรษฐกิจของชาติเสื่อมโทรมมาอย่างต่อเนื่อง เกิดภาวะเงินเฟ้อ สินค้าราคาแพง เครื่องอุปโภคบริโภคขาดแคลนอย่างรุนแรง โจรผู้ร้ายชุกชุม รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ นอกจากนั้นรัฐบาลยังถูกตำหนิติเตียนในเรื่องพฤติกรรมฉ้อราษฏร์บังหลวง พรรคฝ่ายค้าน คือ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ถือโอกาสเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลอย่างรุนแรง ในที่สุดฝ่ายพลเรือนซึ่งมีพลโทผิน ชุณหะวัน เป็นหัวหน้า จึงได้ก่อการรัฐประหารเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2490 คณะรัฐประหารได้มอบอำนาจให้นายควง อภัยวงศ์ เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล รัฐบาลนายควงได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ในเดือน มกราคม 2491 ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้งด้วยเสียงข้างมาก นายควง อภัยวงศ์จึงเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลอีกครั้งหนึ่ง แต่อยู่ในตำแหน่งได้ไม่นาน กลุ่มรัฐประหารชุดเดิมได้บังคับให้นายควง ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อเดือน เมษายน 2491 จากนั้นจอมพลแปลก พิบูลสงครามก็ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สรุปได้ว่า การเมืองไทยภายใต้การบริหารงานของนักการเมืองหลังสงครามโลกประสบกับปัญหามากมาย โดยเฉพาะปัญหาความขัดแย้งในหมู่นักการเมือง ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาการฉ้อราษฏรบังหลวง เมื่อไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ ฝ่ายทหารก็ฉวยโอกาสโดยอ้างความล้มเหลวเข้ายึดอำนาจ และในที่สุดนับจากนั้นมาการเมืองไทยก็ตกอยู่ใต้อำนาจของทหาร
คำถาม 1.องค์ประกอบของสังคมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ประกอบด้วยสถาบันใดบ้าง 2. พระมหากษัตริย์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีลักษณะอย่างไร 3.ทาส หมายถึง อะไร 4. ไพร่หลวงและไพร่สม มีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร 5. การทำนุบำรุงทางด้านพระพุทธศาสนาในสมัยรัชกาลที่ 1มีการบำรุงในด้านใดบ้าง 6.สภาพสังคมและศิลปวัฒนธรรมในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นอย่างไร 7. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงเตรียมแผนการในการเลิกทาสมีขั้นตอนอย่างไร 8.สังคมและวัฒนธรรมไทยก่อนสมัยรัตนโกสินทร์มีลักษณะอย่างไร 9. สาเหตุของการปฏิรูปการศึกษา ในรัชกาลที่ 5 คืออะไร 10. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยกเลิกระบบไพร่ ทรงใช้พระบรมราโชวาทในลักษณะใด
อ้างอิง http://www.kullawat.net/jot2/index.html http://th.wikipedia.org/wiki/ http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2808 http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1494 http://www.krusiripat.ob.tc/so5.htm http://www.rayongwit.ac.th/library/hist/pa/Period%204.htm http://www.thaigoodview.com/node/45779
จบการนำเสนอ ขอบคุณคะ