1 / 32

เรื่อง “ระเบียบเงินบำรุง” จัดทำโดย นายดนัย สุวรรณา นิติกรชำนาญการพิเศษ

เอกสารประกอบการสัมมนา ตามโครงการอบรมเสริมประสบการณ์บุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในการปฏิบัติงานด้านการเงิน การคลังและพัสดุ ”. เรื่อง “ระเบียบเงินบำรุง” จัดทำโดย นายดนัย สุวรรณา นิติกรชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานปรับปรุงและพัฒนากฎหมาย

Download Presentation

เรื่อง “ระเบียบเงินบำรุง” จัดทำโดย นายดนัย สุวรรณา นิติกรชำนาญการพิเศษ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เอกสารประกอบการสัมมนา ตามโครงการอบรมเสริมประสบการณ์บุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)ในการปฏิบัติงานด้านการเงิน การคลังและพัสดุ” เรื่อง “ระเบียบเงินบำรุง” จัดทำโดย นายดนัย สุวรรณา นิติกรชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานปรับปรุงและพัฒนากฎหมาย กลุ่มกฎหมาย สำนักบริหารกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

  2. พรบ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 24 วรรค 4 และวรรค 5 “รัฐมนตรีจะอนุญาตให้ส่วนราชการที่ได้รับเงินในกรณีต่อไปนี้ นำเงินนั้นไปใช้จ่ายโดยไม่ต้องนำส่งคลังก็ได้ คือ (๑) เงินที่ได้รับในลักษณะค่าชดใช้ความเสียหายหรือสิ้นเปลืองแห่งทรัพย์สิน และจำเป็นต้องจ่ายเพื่อบูรณะทรัพย์สินหรือจัดให้ได้ทรัพย์สินคืนมา (๒) เงินรายรับของส่วนราชการที่เป็นสถานพยาบาล สถานศึกษาหรือสถานอื่นใดที่อำนวยบริการอันเป็นสาธารณประโยชน์หรือประชาสงเคราะห์

  3. (๓) เงินที่ได้รับในลักษณะผลพลอยได้จากการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ (๔) เงินที่ได้รับจากการจำหน่ายหุ้นในนิติบุคคลเพื่อนำไปซื้อ หุ้นในนิติบุคคลอื่น “ วรรค 5 “การจ่ายเงินตาม (๒) และ (๓) ต้องเป็นไปตามระเบียบที่ได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรี และผู้อำนวยการ ส่วนการจำหน่ายหุ้นและการซื้อหุ้นตาม (๔) ต้องเป็นไปตามระเบียบของกระทรวงการคลังที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี “

  4. ระเบียบเงินบำรุง • ระเบียบเงินบำรุงฉบับแรก คือ ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินบำรุงของสถานบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2518 ออกตามพรบ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 24 วรรค 4 (2) • ระเบียบเงินบำรุงฉบับต่อมา มีการปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติมเป็นฉบับที่ 2 พ.ศ. 2520 และฉบับที่ 3 พ.ศ.2523 ตามลำดับ • และได้มีการออกระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินบำรุงของสถานบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2527 โดยยกเลิกระเบียบ เงินบำรุงทั้ง 3 ฉบับดังกล่าวข้างต้น

  5. ปัจจุบัน ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินบำรุงของสถานบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2536 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินบำรุงของสถานบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2544 • ยกเลิก ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินบำรุงของสถานบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2527 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535 ทั้งหมด

  6. หน่วยบริการ หมายความว่า (๑) โรงพยาบาล สถานีอนามัย หรือที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นแต่ปฏิบัติงานในลักษณะเดียวกัน (๒) หน่วยงานอื่นใดในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขซึ่งดำเนินการ เพื่อการสาธารณสุขที่เป็นสถานอำนวยบริการอันเป็นสาธารณประโยชน์ (ข้อ 5)

  7. “การสาธารณสุข” ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพ การฟื้นฟูสมรรถภาพ การรักษาพยาบาล การควบคุมป้องกันและกำจัดโรค การศึกษาวิจัยค้นคว้า การชันสูตร และการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข ตลอดจนการจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว (ข้อ 5)

  8. ข้อ ๙  เงินบำรุงที่หน่วยบริการได้รับ จะนำไปก่อหนี้ผูกพันหรือจ่ายได้เพื่อการปฏิบัติราชการของหน่วยบริการ เงินบำรุงที่หน่วยบริการได้รับสำหรับการดำเนินการสร้างหลักประกันสุขภาพให้นำไปใช้จ่ายเพื่อดำเนินการเสริมสร้างระบบบริการและคุ้มครองสุขภาพของประชาชนให้มีสุขภาพดีถ้วนหน้า

  9. การจ่ายเงินบำรุงในกรณีดังต่อไปนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนดคือ (1)การจ่ายเงินบำรุงเพื่อการปฏิบัติราชการของ หน่วยบริการอื่น (2) การจ่ายเงินบำรุงในลักษณะเงินค่าตอบแทนหรือเงินตอบแทนพิเศษแก่บุคคลที่ให้บริการ หรือสนับสนุนบริการในงานด้านต่างๆ ดังนี้

  10. ด้านการรักษาพยาบาล ด้านการสาธารณสุขที่เป็นบริการอันเป็นสาธารณประโยชน์ ด้านการชันสูตรพลิกศพ งานด้านอื่นที่กฎหมายหรือกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ

  11. (3) การจ่ายเงินบำรุงเพื่อเป็นค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่หน่วยบริการอื่น ทั้งภาครัฐ และเอกชน กรณีส่งต่ออุบัติเหตุ เจ็บป่วยฉุกเฉิน หรือจำเป็นต้องได้รับการรักษาต่อเนื่องตามคำสั่งของแพทย์ผู้รักษา (4) การจ่ายเงินบำรุงเพื่อเป็นค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราวหรือลูกจ้างรายคาบ (๕) การจ่ายเงินบำรุงเป็นค่าซ่อมแซม ต่อเติม หรือปรับปรุงบ้านพักหรือ อาคารที่พัก (๖) การจ่ายเงินบำรุงเพื่อซื้อครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง และยานพาหนะ

  12. ข้อ 10  รายจ่ายต่อไปนี้ ห้ามจ่ายจากเงินบำรุง • รายจ่ายในลักษณะบำเหน็จ บำนาญ • ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศ • รายจ่ายเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้าง ที่มีวงเงินแต่ละรายการ • เกินกว่า 30 ล้านบาท • ในกรณีมีความจำเป็นต้องจ่ายตามรายการใน (3) • ให้ขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ

  13. ข้อ 11 อำนาจในการอนุมัติการก่อหนี้ผูกพันให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ การก่อหนี้รายการค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง ที่เกินกว่า 1 ปีให้ขอความเห็นชอบจากสำนักงบประมาณก่อน และหากเป็นรายการที่ก่อหนี้ผูกพันเกินกว่า 1 ปี และมีวงเงิน เกินกว่า 100 ล้านบาท ให้ขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี อำนาจในการอนุมัติการจ่ายเงินบำรุง ให้เป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการเจ้าสังกัด หรือผู้ที่หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าสังกัดมอบหมาย

  14. ข้อ 12 ระบบบัญชีเงินบำรุงของหน่วยบริการ ให้ปฏิบัติตามระบบบัญชีของส่วนราชการโดยให้จัดทำทะเบียนคุมเงินบำรุงที่ได้รับสำหรับดำเนินการสร้างหลักประกันสุขภาพแยกต่างหากจากเงินบำรุงประเภทอื่น เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากกระทรวงการคลังให้ปฏิบัติเป็นอย่างอื่นและเมื่อปิดบัญชีประจำปีแล้ว ให้ส่งงบการเงินไปให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบรับรองภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีปีงบประมาณ ข้อ 16 ให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกข้อบังคับ หรือคำสั่งในทางปฏิบัติ แต่ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้

  15. ออกตามความในข้อ 9 วรรคสามและข้อ 16แห่งระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยเงินบำรุงของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2536 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินบำรุงของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544 ปลัดกระทรวงจึงออกข้อบังคับนี้ไว้ ข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2544

  16. เงินค่าตอบแทน หมายความว่า เงินที่หน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพ เสริมสร้างแรงจูงใจและตอบแทนในการปฏิบัติงานในเวลาราชการ และหรือนอกเวลาราชการในหน่วยบริการ นอกหน่วยบริการ หรือต่างหน่วยบริการ เจ้าหน้าที่ หมายความว่า ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างรายคาบ พนักงานของรัฐในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข หรือบุคคลอื่นที่ได้รับคำสั่งหรือได้รับมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษรให้ปฏิบัติงาน ในหน่วยบริการ หรือนอกหน่วยบริการ หรือต่างหน่วยบริการ เพื่อให้บริการสนับสนุนด้านบริการ หรือร่วมบริการ(ข้อ 4)

  17. ข้อ 5 การจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่ได้รับคำสั่ง หรือได้รับมอบหมายให้บริการ หรือสนับสนุนบริการในงานด้านต่างๆในงาน ด้านต่างๆในหน่วยบริการ หรือนอกหน่วยบริการ หรือต่างหน่วยบริการ ให้พิจารณาตามความเหมาะสมกับความจำเป็น และไม่เป็นภาระต่อสถานะเงินบำรุงของหน่วยบริการ และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้

  18. ข้อ 6 การได้รับเงินค่าตอบแทนตามข้อบังคับนี้ ไม่กระทบ กระเทือนสิทธิของเจ้าหน้าที่ที่จะได้เงินอื่นใดที่พึงจ่ายในทำนองเดียวกันตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือหลักเกณฑ์อื่น ข้อ 7 ให้เจ้าหน้าที่มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทน ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบังคับนี้ ข้อ 8 ในกรณีที่ต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ใน ข้อ 7 ให้คณะกรรมการตามข้อ 9 ประกาศกำหนดการจ่ายค่าตอบแทนได้ โดยพิจารณาตามความจำเป็นของหน่วยบริการและต้องไม่เป็นภาระต่อสถานะเงินบำรุงของหน่วยบริการ ดังนี้

  19. กรณีที่ต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นไม่เกินหนึ่งเท่าของอัตราที่กำหนดไว้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายเงินค่าตอบแทนที่แนบท้ายข้อบังคับนี้ ให้คณะกรรมการตามข้อ 9 ประกาศกำหนดแล้วเสนอปลัดกระทรวงสาธารณสุขทราบ • กรณีที่ต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นเกินหนึ่งเท่าแต่ไม่เกิน 2 เท่า หรือปรับลดลงไม่เกินร้อยละ 25 จากอัตราที่กำหนดไว้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายเงินค่าตอบแทนที่แนบท้ายข้อบังคับนี้ ให้คณะกรรมการตามข้อ 9 ประกาศกำหนดแล้วโดย เสนอขอความเห็นชอบจากผู้ตรวจราชการกระทรวงแต่ละเขตก่อน แล้วเสนอปลัดกระทรวงสาธารณสุขทราบ • ในกรณีที่ปรับเพิ่มมากกว่า 2 เท่า หรือลดลงมากกว่าร้อยละ 25 จากอัตราที่กำหนดไว้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายเงินค่าตอบแทนที่แนบท้ายข้อบังคับนี้ ให้คณะกรรมการตามข้อ 9 ประกาศกำหนด โดยเสนอขอความเห็นชอบจากปลัดกระทรวงสาธารณสุขก่อน • ในกรณีที่ต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนให้เจ้าหน้าที่บางประเภทเป็นการเฉพาะนอกเหนือที่ กำหนดไว้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายเงินค่าตอบแทนที่แนบท้าย ข้อบังคับนี้ ให้คณะกรรมการตามข้อ 9 ประกาศกำหนดประเภทและอัตราการจ่ายเงินค่าตอบแทนได้ โดยเสนอขอความเห็นชอบจากปลัดกระทรวงสาธารณสุขก่อน

  20. ข้อ 9 ให้มีคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทน ประกอบด้วย.... • (1) ในราชการบริหารส่วนกลาง... • (2) ในราชการบริหารส่วนกลางที่สำนักงานตั้งอยู่ใน • ส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วนภูมิภาค... • ข้อ 12 ให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้รักษาการตามข้อบังคับนี้ และให้อำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อบังคับนี้

  21. ข้อ 1 ค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ 1.4 อัตราค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในลักษณะเป็นเวรหรือเป็นผลัด จำแนก ดังนี้ (3) นักวิทยาศาสตร์ พยาบาลวิชาชีพ คนละ 600 บาท นักวิชาการสาธารณสุข (4) พยาบาลเทคนิค เจ้าพนักงานสาธารณสุข คนละ 480 บาท เจ้าพนักงานเทคนิค (5) เจ้าหน้าที่พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข คนละ 360 บาท เจ้าหน้าที่เทคนิค หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2544 (ฉบับที่ 1)...(ฉบับที่ 7)

  22. (6) เจ้าหน้าที่อื่น เช่น เจ้าหน้าที่เวชระเบียน เจ้าหน้าที่การเงิน เป็นต้น ให้ได้รับค่าตอบแทนตามตำแหน่งที่ครองอยู่ในปัจจุบัน โดยให้เบิกตาม วุฒิการศึกษาที่เริ่มต้นของสายงานในตำแหน่งที่เบิกค่าตอบแทน ดังนี้ 6.1 สายงานที่เริ่มต้นในระดับวุฒิ ปวช. คนละ 360 บาท หรือเทียบเท่า 6.2 สายงานที่เริ่มต้นในระดับวุฒิ ปวส. คนละ 480 บาท หรือเทียบเท่า 6.3 สายงานที่เริ่มต้นในระดับวุฒิปริญญาตรี คนละ 600 บาท หรือเทียบเท่า (7) ลูกจ้างตำแหน่งอื่นๆ นอกเหนือข้อ 1.3 และ 1.4 (ในหลักเกณฑ์ ฉบับที่ 1) ให้ได้รับคนละ 300 บาท

  23. ข้อ 6 ค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายสำหรับ แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกรและพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัย... - การจ่ายค่าตอบแทนเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านการสาธารณสุข (พ.ต.ส.) - ตามหนังสือกระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ.0201.042.1/ ว.505 ลงวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ 2551 - ตามหนังสือกระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ.0201.041 / ว.10 ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

  24. กรณี พ.ต.ส. เจ้าหน้าที่ที่จะมีสิทธิได้รับ ก็เป็นไปตามหนังสือกระทรวงสาธารณสุข 2 ฉบับดังกล่าว ที่จ่ายจากเงินบำรุง โดยใช้วิธีเทียบเคียง จากระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านการสาธารณสุข พ.ศ. 2548 ซึ่งถูกยกเลิกโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552 ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดขั้นตอนการที่จะต้องขอความเห็นชอบจากปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตามข้อบังคับฯ ข้อ8(4) (นอกเหนือหลักเกณฑ์)

  25. ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2544 และหลักเกณฑ์ฉบับที่ 1 และหลักเกณฑ์ฉบับที่ 6 ข้อ 9 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนและ สถานีอนามัย มีเจตนารมณ์เพื่อการจ่ายเงินค่าตอบแทนในการสร้างแรงจูงใจ ให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน และ ในสถานีอนามัยทุกแห่ง เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนเจ้าหน้าที่ ปฏิบัติงาน ในหน่วยบริการดังกล่าวโดยให้อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ ดังนี้

  26. 9.1 ให้แบ่งกลุ่มเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย ดังนี้ (1) แบ่งตามระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ปฏิบัติงานปีที่ 1 – ปีที่ 3 กลุ่มที่ 2 ปฏิบัติงานปีที่ 4 ขึ้นไป (2) แบ่งตามวุฒิการศึกษาตามระดับตำแหน่งของสายงานที่ปฏิบัติงาน คือ กลุ่มที่ 1 สายงานในระดับวุฒิการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป กลุ่มที่ 2 สายงานในระดับต่ำกว่าปริญญาตรี...

  27. คำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ 2692 / 2553 เรื่อง มอบอำนาจในการอนุมัติจ่ายเงินบำรุง ลงวันที่ 22 ต.ค. 2553 • คำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ 1875/2553 เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ ลงวันที่ 2 ก.ค. 2553 (กรณีหัวหน้าสถานีอนามัย หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าสถานีอนามัย เฉพาะสถานีอนามัยที่ได้รับการยกระดับเป็น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ปฏิบัติหน้าทีเป็น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

  28. ปัจจัยต่างๆที่มีผลกระทบต่อบทบาท ภารกิจ และการดำเนินงานของรพ.สต. • กรณีการจัดทำป้ายชื่อ รพ.สต. • กรณีใบเสร็จรับเงินของ รพ.สต. (เปลี่ยนชื่อหน่วยบริการใน ใบเสร็จรับเงิน) • กรณีการปรับโครงสร้าง รพ.สต.

  29. กรณีมีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อ รพ.สต. • พระราชบัญญัติระบบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และที่ได้แก้ไขเพิ่มเติม • พระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 • พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ.2550 • กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2545 • กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2552

  30. การมอบอำนาจการปฏิบัติราชการแทนการมอบอำนาจการปฏิบัติราชการแทน • การรักษาในตำแหน่ง • การรักษาราชการแทน • การดำเนินการของรพ.สต. ระยะเริ่มต้น • สภาพปัญหาต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน • ปัญหาการปฏิบัติตามกฎหมาย • การเป็นเจ้าหน้าที่ของหัวหน้าสถานีอนามัยตามกฎหมาย

  31. โดยสรุป ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขอยู่ในระหว่างดำเนินการ ปรับรูปแบบสถานีอนามัยเป็น โรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล บนพื้นฐานของ 1) รูปแบบ 2) วิธีการ 3) ประเภท 4) หลักการ 5) กฎหมาย

  32. ขอขอบคุณ 32

More Related