1 / 23

เรื่อง เรขาคณิตและวงกลม

เรื่อง เรขาคณิตและวงกลม. ด.ญ.ศริญญา มาสวัสดิ์ เลขที่ 36 ด.ญ.พรพนา รัดรอดกิจ เลขที่ 37 ด.ญ.ณัฐกานต์ นาการ์ เลขที่ 18. คำนำ.

Download Presentation

เรื่อง เรขาคณิตและวงกลม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เรื่อง เรขาคณิตและวงกลม ด.ญ.ศริญญา มาสวัสดิ์ เลขที่ 36 ด.ญ.พรพนา รัดรอดกิจ เลขที่ 37 ด.ญ.ณัฐกานต์ นาการ์ เลขที่ 18

  2. คำนำ รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา คณิตศาสตร์เพิ่มเติม ค.33210 จัดทำขึ้นในเรื่อง เรขาคณิตและวงกลม โดยรายงานเล่มนี้รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับเรขาคณิตและวงกลมตั้งแต่ ม.1-ม.3 โดยหวังว่ารายงานเล่มนี้คงจะมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการเรียนการสอนเพื่อเสริมความรู้เพิ่มเติม

  3. สารบัญ เรื่อง 1.เส้นตรงและมุม 2.ความเท่ากันทุกประการ 3.เส้นขนาน 4.ทฤษฏีบทปีทาโกรัส 5.ทฤษฏีทางเรขาคณิต 6.วงกลม 7.การสร้างรูปเรขาคณิต บรรณานุกรม

  4. เส้นตรงและมุม 1. จุดและเส้นตรง จุด,เส้น,ระนาบ เป็นคำที่เราไม่ให้คำนิยามแต่เป็นข้อตกลงว่าจุดและเส้นต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ • 1.จุดบอกตำแหน่ง ไม่มีความกว้างและยาว • 2.เส้นตรงไม่มีความกว้าง • 3.มีเส้นตรงเพียงเส้นเดียวเท่านั้นที่ลากผ่านจุดที่กำหนดให้ • 4.ในบรรดาเส้นทั้งหลายที่ต่อจุดสองจุดที่กำหนดให้เส้นที่สั้นที่สุดคือส่วนของเส้นตรง • 5.เส้นตรงสองเส้นจะตัดกันที่จุด ๆ เดียวเท่านั้น สัญลักษณ์ตัดไปนี้ใช้แทนจุดและเส้นตรง • A. A B • จุด A เขียนว่า A เส้นตรง A B เขียนว่า A B หรือ A B

  5. เส้นตรงและมุม 2.รังสี นิยาม รังสี คือ ส่วนหนึ่งของเส้นตรงซึ่งมีจุดเริ่มต้นแต่ไม่มี จุดปราย สัญลักษณ์ต่อไปนี้ใช้แทนรังสี A B รังสี AB เขียนว่า A B A เป็นจุดเริ่มต้นของ A B 3.ส่วนของเส้นตรง นิยาม ส่วนของเส้นตรง คือ ส่วนหนึ่งของเส้นตรงซึ่งอยู่ระหว่างจุดสองจุด จุดทั้งสองนี้เรียกว่า จุดปลายของส่วนของเส้นตรง สัญลักษณ์ต่อไปนี้แทนด้วยส่วนของเส้นตรง A B ส่วนของเส้นตรง AB เขียนว่า AB A และ B เป็นจุดปลายของ AB

  6. ความเท่ากันทุกประการ 1.ความเท่ากันทุกประการ นิยาม 1 รูปสองรูปเท่ากันทุกประการ เมื่อรูปหนึ่งทับอีกรูปหนึ่งได้สนิทพอดี นิยาม 2 ส่วนของเส้นตรงสองเส้นจะเท่ากันทุกประการ เมื่อส่วนของเส้นตรง สองเส้นนั้นเท่ากัน นิยาม 3 มุมสองมุมจะเท่ากันทุกประการ เมื่อมุมทั้งสองนั้นมีขนาดเท่ากัน 2.ความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม 1.สามเหลี่ยมมีความสัมพันธ์แบบด้าน-มุม-ด้าน (ด.ม.ด.) ทฤษฏี สามเหลี่ยมสองรูปมีด้านเท่ากันสองคู่ และมุมในระหว่างด้านคู่ที่เท่ากันแล้วสามเหลี่ยมสองรูปจะเท่ากันทุกประการ

  7. ความเท่ากันทุกประการ 2.สามเหลี่ยมที่มีความสัมพันธ์แบบมุม-ด้าน-มุม (ม.ด.ม.) ทฤษฏี สามเหลี่ยมสองรูปใดๆ มีมุมเท่ากันสองคู่ และด้านซึ่งเป็นแขนร่วมของมุมทั้งสองที่เท่ากัน เท่ากันแล้วรูปสามเหลี่ยมสองรูปจะเท่ากันทุกประการ 3.สามเหลี่ยมที่มีความสัมพันธ์แบบด้าน-ด้าน-ด้าน (ด.ด.ด.) ทฤษฏี สามเหลี่ยมสองรูปใดๆ มีด้านเท่ากันสามคู่แล้วรูปสามเหลี่ยมสองรูปนั้นจะเท่ากันทุกประการ

  8. เส้นขนาน 1.เส้นขนานและมุมภายใน นิยาม เส้นตรงสองเส้นขนานกันเมื่อเส้นตรงทั้งสองนี้อยู่บนระนาบเดียวกันและไม่ตัดกัน ทฤษฏี ถ้าเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง ทำให้มุมภายในบนข้างเดียวกันของเส้นตัดรวมกันเท่ากับ 180 องสา เส้นตรงคู่นี้จะขนานกัน 2.เส้นขนานและมุมแย้ง 1.การเกิดมุมแย้งยังเท่ากัน ถ้าเส้นตรงสองเส้นขนานกันและมีส้นตัดมุมแย้งจะเท่ากัน 2.การเกิดเส้นขนาน ถ้ามุมแย้งเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่งเท่ากันเส้นตรงคู่นั้นจะขนานกัน

  9. ทฤษฎีบทปีทาโกรัส ทฤษฏีบทของปีทาโกรัสกล่าวว่า “พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสบนด้านตรงข้ามมุมฉากของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก เท่ากับผลบวกของพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสบนด้านประกอบมุมฉาก” ทฤษฏีบททาโกรัส สามารถพิสูจน์ได้มากมายหลายวิธีในที่นี้ จะพิสูจน์โดยวิธีของเจมส์ เอการ์ฟิลด์ ซึ่งพิสูจน์ไว้เมื่อ ค.ศ. 1875 ก่อนเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา D E a กำหนดให้ใน พ.ท. คางหมู ABCDE มีสามเหลี่ยม b c ABC,BDE และABE มีความยาวด้านต่างๆ = a, b , c B c ดังในรูป A C b A

  10. ทฤษฎีทางเรขาคณิต การพิสูจน์ คือการพิจารณาหาเหตุผลในเชิงคณิตศาสตร์ว่าข้อกล่าวอ้างเป็น จริง สัจพจน์ในวิชาเรขาคณิต คือข้อตกลงเบื้องต้นในวิชาเรขาคณิตว่าเป็นจริงโดยไม่ต้องพิสูจน์ นิยาม 1 การเคลื่อนที่ คือการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของรูปเรขาคณิตบนระนาบโดยระยะระหว่างจุดสองจุดใดๆของรูปนั้นไม่เปลี่ยนแปลง นิยาม 2 เส้นตรงสองเส้นขนานกันก็ต่อเมื่อเส้นตรงสองเส้นนั้นอยู่ระนาบเดียวกันและไม่ตัดกัน สัจพจน์ที่ 1 รูปเรขาคณิตสองรูปจะเท่ากันทุกประการก็ต่อเมื่อเคลื่อนที่รูปหนึ่งให้ทับอีกรูปหนึ่งได้สนิท สัจพจน์ที่ 2 เส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง เส้นตรงคู่นั้นจะขนานกันก็ต่อเมื่อ ผลบวกของขนาดของมุมภายในบนข้างเดียวกันของเส้นตัดเป็น 180 องศา

  11. ทฤษฎีทางเรขาคณิต สัจพจน์ที่ 3 กำหนดให้ a,b,c และ d เป็นจำนวนจริงใดๆ 1.ถ้า a = b และ c = d แล้ว a + c = d + b (คุณสมบัติการบวก) 2.ถ้า a = b และ c = d แล้ว a = c (คุณสมบัติการถ่ายทอด)

  12. วงกลม 1.เส้นรอบวง เอราโตเทเนส นักวิทยาศาสตร์ชาวกรีก เชื่อว่าโลกกลมเมื่อประมาณ พ.ศ. 300 เขาสรุปว่าเส้นรอบโลกยาวประมาณ 46,076 กิโลเมตร ซึ่งใกล้เคียงกับความจริงในปัจจุบันเราทราบว่าเส้นรอบโลกยาวประมาณ 40,076 กิโลเมตร มุมภายในวงกลมและคอร์ด นิยาม วงกลม คือ เซ็ตของจุดทุกจุดซึ่งอยู่ห่างจากจุดคงที่จุดหนึ่งบนระนาบเดียวกันเป็นระยะห่างเท่ากัน Aรัศมี เส้นผ่านศูนย์กลาง B O O C

  13. การสร้างรูปเรขาคณิต • 1.การสร้างพื้นฐาน • ก. การแบ่งส่วนของเส้นตรง • การสร้างที่ 1 การแบ่งครึ่งส่วนของเส้นตรง การสร้างที่ 2 การสร้างเส้นตรงให้ตั้งฉากกับส่วนของเส้นตรง AB ที่จุด C A C B A C B

  14. ข้อสอบ 30 ข้อ ข้อที่ 1:  รูปเรขาคณิตและทรงเรขาคณิตต่างกันในเรื่องใด 1.ความกว้าง 2.ความยาว 3.ความหนา 4.ไม่แตกต่าง ข้อที่ 2:  ปริซึมหกเหลี่ยมมีหน้าตัดเป็นรูปชนิดใด 1.รูปสามเหลี่ย 2. รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 3. รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 4. รูปหกเหลี่ยม ข้อที่ 3:  พีระมิดฐานสี่เหลี่ยมประกอบด้วยรูปอะไรบ้าง 1. รูปสามเหลี่ยม 4 รูป รูปสี่เหลี่ยม 1 รูป 2. รูปสามเหลี่ยม 3 รูป รูปสี่เหลี่ยม 1 รูป 3. รูปสามเหลี่ยม 1 รูป รูปสี่เหลี่ยม 2 รูป 4. รูปสามเหลี่ยม 2 รูป รูปสี่เหลี่ยม 3 รูป

  15. ข้อสอบ 30 ข้อ ข้อที่ 4: หากนำลูกเต๋าขนาดเท่ากัน 6 ลูก วางซ้อนกันในแนวตั้ง จะเกิดทรงเรขาคณิตชนิดใด 1. พีระมิด 2. ปริซึม 3. ทรงกระบอก 4. กรวย ข้อที่ 5:  ผ่าผลฝรั่งออกเป็น 2 ส่วน หน้าตัดของผลฝรั่งเป็นรูปอะไร 1. รูปสามเหลี่ยม 2. รูปสี่เหลี่ยม 3. รูปวงกลม 4. ทรงกระบอก ข้อที่ 6: จากรูป ประกอบเป็นทรงเรขาคณิตชนิดใด 1. ปริซึมสามเหลี่ยม 2. ปริซึมห้าเหลี่ยม 3. กรวย 4. พีระมิดฐานห้าเหลี่ยม

  16. ข้อสอบ 30 ข้อ ข้อที่ 7:  พีระมิดฐานห้าเหลี่ยมด้านข้างเป็นรูปเรขาคณิตชนิดใด 1. รูปสามเหลี่ยม 2. รูปสี่เหลี่ยม 3. รูปห้าเหลี่ยม 4. รูปหกเหลี่ยม ข้อที่ 8: ทรงเรขาคณิตชนิดใดประกอบด้วยรูปสามเหลี่ยม 2 รูป และรูปสี่เหลี่ยม 3 รูป 1. พีระมิดฐานสี่เหลี่ยม 2. พีระมิดฐานสามเหลี่ยม 3. ปริซึมฐานสี่เหลี่ยม 4. ปริซึมฐานสามเหลี่ยม ข้อที่ 9:  ทรงเรขาคณิตข้อใดมีหน้าตัดไม่เป็นรูปวงกลม 1. ทรงกระบอก 2. กรวย 3. ปริซึม 4. ทรงกลม

  17. ข้อสอบ 30 ข้อ ข้อที่ 10:  การเรียกชื่อของพีระมิด เรียกตามสิ่งใด 1. รูปทรง 2. ขนาดของพีระมิด 3. ปริมาตรของพีระมิด 4. ฐานของพีระมิด ข้อที่ 11:  สิ่งของข้อใดมีลักษณะเป็นทรงเรขาคณิตต่างจากข้ออื่น 1. กล่อง 2. ตู้ 3. ลูกบอล 4. ฐานของพีระมิด ข้อที่ 12:  ทรงเรขาคณิตข้อใดที่ไม่มีรูปสี่เหลี่ยมเป็นส่วนประกอบ 1. กรวย 2. ปริซึมสามเหลี่ยม 3. พีระมิดฐานสี่เหลี่ยม 4. ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

  18. ข้อสอบ 30 ข้อ ข้อที่ 13:  ข้อใดไม่ถูกต้อง 1. ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ประกอบด้วยรูปสี่เหลี่ยม 2. ทรงกระบอก ประกอบด้วย รูปสามเหลี่ยม 3. ปริซึม ประกอบด้วย รูปสี่เหลี่ยม 4. พีระมิด ประกอบด้วย รูปสามเหลี่ยม ข้อที่ 14:  พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม คล้ายรูปเรขาคณิตสามมิติชนิดใด 1. ทรงกลม 2. ทรงกระบอก 3. กรวย 4. ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ข้อที่ 15:  ตู้เย็นมีลักษณะคล้ายรูปเรขาคณิตสามมิติชนิดใด และมีหน้าทุกหน้าเป็นรูปอะไร 1. ทรงกระบอก รูปวงกลม 2. ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก รูปสี่เหลี่ยม 3. พีระมิดฐานสี่เหลี่ยม รูปสามเหลี่ยม 4. ปริซึมหกเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม

  19. ข้อสอบ 30 ข้อ ข้อที่ 16:  สิ่งของในข้อใดมีลักษณะเป็นทรงกลม 1. นาฬิกา 2. ลูกโลกจำลอง 3. เหรียญบาท 4.แท่งชอล์ก ข้อที่ 17: รูปต่อไปนี้รูปใดเป็นรังสี 1. 2. 3. 4. ข้อที่ 18: มุมในข้อใดเป็นมุมกลับ 1. 2. 3. 4.

  20. ข้อสอบ 30 ข้อ ข้อที่ 19: แบ่งครึ่งเส้นตรง 48 เซนติเมตร 2 ครั้ง จะได้เส้นตรงแต่ละเส้นยาวส่วนละเท่าไร1. 6 เซนติเมตร2. 12 เซนติเมตร3. 18 เซนติเมตร 4. 24 เซนติเมตร ข้อที่ 20: ข้อความต่อไปนี้ข้อใดผิด1. มุมตรง คือมุมที่กางไม่เกิน 180 องศา2. มุมฉาก คือมุมที่กาง 90 องศา3. มุมแหลม คือมุมที่อยู่ระหว่าง 0 ถึง 90 องศา4. มุมป้าน คือมุมที่อยู่ระหว่าง 90 ถึง 180 องศา ข้อที่ 21: การแบ่งครึ่งเส้นตรงหลาย ๆ ครั้งเราอาจแบ่งเส้นตรงได้ดังข้อใด1. 2 ส่วน 4 ส่วน 6 ส่วน2. 2 ส่วน 3 ส่วน 4 ส่วน3. 2 ส่วน 5 ส่วน 8 ส่วน4. 2 ส่วน 4 ส่วน 8 ส่วน

  21. ข้อสอบ 30 ข้อ ข้อที่ 22: ต้องการมุม 15 องศา ต้องสร้างมุมใดก่อน1. 90 องศา2. 60 องศา3. 45 องศา 4. 30 องศา ข้อที่ 23: ข้อความใดต่อไปนี้เป็นเท็จ1. จุดไม่มีความกว้าง2. มุมตรงเกิดจากรังสีเพียงเส้นเดียว3. มุมเกิดจากรังสี 2 เส้น มีจุดปลายร่วมกัน4. ส่วนของเส้นตรงใด ๆ มีจุดปลายเพียงสองจุดเท่านั้น ข้อที่ 24: ถ้าต้องการสร้างมุมให้มีขนาด 120 องศา จะต้องสร้างด้วยวิธีใดจึงจะรวดเร็วที่สุด1. สร้างมุมขนาด 90 องศา และ 30 องศา2. สร้างมุมขนาด 30 องศา จำนวน 4 มุม3. สร้างมุมขนาด 40 องศาจำนวน 3 มุม4. สร้างมุมขนาด 60 องศา จำนวน 2 มุม

  22. ข้อสอบ 30 ข้อ ข้อที่ 25: เวลา 17.00 นาฬิกา เข็มสั้นกับเข็มยาวทำมุมกันเท่าไร1. 120 องศา2. 150 องศา3. 170 องศา4. 180 องศา ข้อที่ 26: การสร้างรูปสามเหลี่ยมมุมฉากควรสร้างอะไรก่อนจึงจะง่ายที่สุด1. รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส2. รูปครึ่งวงกลม3. รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 4. รูปวงกลม ข้อที่ 27:  ข้อใดไม่ใช่สมบัติของรูปสี่เหลี่ยม 1. มีความหนา 2. มีมุม 4 มุม 3. มีด้าน 4 ด้าน 4. ไม่แตกต่าง

  23. ข้อสอบ 30 ข้อ ข้อที่ 28:  สิ่งของในข้อใดมีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก 1. กล่องนม 2. ลูกบอล 3. แท่งชอล์ก 4. นาฬิกา ข้อที่ 29:  รูปเรขาคณิตสองมิติต่างจากรูปเรขาคณิตสามมิติในเรื่องใด 1. พื้นผิว 2. ความหนา 3. ความยาว 4. ไม่แตกต่าง ข้อที่ 30:  สิ่งของในข้อใดมีลักษณะเป็นทรงกลม 1. นาฬิกา 2. ลูกโลกจำลอง 3. เหรียญบาท 4. กล่องนม

More Related