340 likes | 704 Views
การศึกษาตัวแปรที่ส่งผลต่อการมุ่งวิจัย เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการของอาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำเสนอ รศ.ดร.ดิลก บุญเรืองรอด โดย ประสิทธิ์ เวชบรรยงรัตน์ นิสิตปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(การจัดการเทคโนโลยี)มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา วันที่ 27 สิงหาคม 2549.
E N D
การศึกษาตัวแปรที่ส่งผลต่อการมุ่งวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการของอาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำเสนอ รศ.ดร.ดิลก บุญเรืองรอด โดย ประสิทธิ์ เวชบรรยงรัตน์ นิสิตปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(การจัดการเทคโนโลยี)มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา วันที่ 27 สิงหาคม 2549
ปริญญานิพนธ์ ของ วินัย ดำสุวรรณ เสนอต่อมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ พ.ศ.2542
ความเป็นมาและความความสำคัญของปัญหาความเป็นมาและความความสำคัญของปัญหา • การวิจัยเป็นกระบวนการทำงานที่นำไปสู่การค้นพบสิ่งใหม่ ซึ่งให้ผลลัพธ์ทั้งในเชิงแก้ ปัญหาและพัฒนาเชิงรุก ประเทศใดที่มีนักวิจัยผลิตผลงานวิจัยได้อย่างมีคุณภาพ ในปริมาณที่มากพอภายใต้กระบวนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพย่อมหมายถึงประเทศนั้นมีความ ก้าวหน้าเป็นผู้นำทางวิทยาการ สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้เอื้อต่อการพัฒนาประเทศของตนได้ดังนั้นนักวิชาการจึงให้ความสนใจต่อข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงานวิจัยของแต่ละประเทศว่ามีลักษณะอย่างไร ข้อมูลที่สำคัญเหล่านั้นสรุปเป็นตัวบ่งชี้ความก้าวหน้าทางวิทยาการ สามตัวบ่งชี้ คือ ปริมาณผลงานวิจัย คุณภาพงานวิจัย และประสิทธิภาพการทำงานวิจัย ตัวบ่งชี้ทั้งสามนี้ช่วยให้เห็นภาพจุดเด่นจุดด้อยในเชิงเปรียบเทียบระหว่างประเทศ เกี่ยวกับกระบวนการทำงาน
ปัญหาเชิงวิจัย • เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการของอาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิจัยในสาขาเกษตร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสาขาสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ มีความแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด • ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมุ่งวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ ซึ่งประยุกต์มาจากแบบจำลองทฤษฎีควบคุมสำหรับการจูงใจในการทำงานของ ไคลน์ (Klein.1989) มีความเหมาะสม พอดีกับการมุ่งวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ ของอาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพียงใด • แบบจำลองเชิงสาเหตุของการมุ่งวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ ที่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ของอาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ควรมีลักษณะอย่างไร
วัตถุประสงค์ของการวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัย • เพื่อศึกษามุ่งการวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ ของอาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งทำวิจัยในสาขาที่แตกต่างกัน • เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมุ่งวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ ของอาจารยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งประยุกต์รูปแบบความสัมพันธ์มาจาก แบบจำลองทฤษฎีควบคุมสำหรับการจูงใจในการทำงานของไคลน์ (Klein.1989) • เพื่อสร้างแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ สำหรับการอธิบายพฤติกรรมการมุ่งวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ
ขอบเขตการวิจัย • ประชากรในการวิจัย คือ อาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน และวิทยาเขตกำแพงแสน ที่มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนประวัตินักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปี 2537 • ข้อมูลที่รวบรวมจากเอกสาร และการสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จะเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง และมีหลักฐานยืนยันในระหว่างปี พ.ศ. 2538 – 2540 ส่วนเป้าหมายอรรถประโยชน์ของการวิจัย และการมุ่งวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ ของอาจารย์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ กำหนดเวลาให้อยู่ระหว่างปี พ.ศ.2541 – 2543
ความสำคัญของการศึกษาวิจัยความสำคัญของการศึกษาวิจัย • ได้แนวทางการประยุกต์ ทฤษฎีควบคุมและแบบจำลองทฤษฎีควบคุมสำหรับการจูงใจในการทำงาน ซึ่งเป็นแนวคิดใหม่ทางพฤติกรรมศาสตร์ มาใช้ในการวิจัยอย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับบริบทการทำงาน ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยไทย • ผลที่ได้จากการวิจัยจะเป็นข้อมูลสำคัญในการปรับปรุงนโยบายและแผนงานวิจัยสำหรับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัย อื่น ๆ ที่เน้นการวิจัยเพื่อมุ่งวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ • ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในการอธิบาย การมุ่งวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ ด้วยวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย • ตัวแปรในทางพฤติกรรมศาสตร์ ซึ่งผู้วิจัยกำหนดขึ้นเพื่อศึกษาการมุ่งวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ คือ ความตั้งใจ (Intention) ความตั้งใจเป็นสภาวะทางจิตที่นักจิตวิทยาให้ความสนใจค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้แนวทางการอธิบายพฤติกรรมมนุษย์ได้มากขึ้น มนุษย์ใช้ความตั้งใจเป็นตัวกำกับพฤติกรรม บุคคลที่มีการกระทำสอดคล้องกับความตั้งใจจะสามารถรับผิดชอบต่อพฤติกรรมและผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำนั้นได้(Stevens and Fiske.1994:675)
ในทางพระพุทธศาสนา พระธรรมปิฎก (2538: 431) แปลคำว่า intention หมายถึง สังกัปปะ อธิปปายะ และเจตนา เพื่อขยายความเจตนาได้ความว่าเป็นความตั้งใจ ความมุ่งใจหมายจะทำ เจตน์จำนง ความจำนง ความจงใจ เป็นเจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวง เป็นตัวนำในหารคิดปรุงแต่ง หรือเป็นประธานในสังขารขันธ์ และเป็นตัวการในการทำกรรม หรือกล่าวได้ว่าเป็นตัวกรรมทีเดียว ตัวพุทธพจน์ที่ว่า “เจตนาหํ ภิกขเว กมมํ วทามิ” แปลว่า เรากล่าวเจตนาว่า เป็นกรรม (พระราช วรมุนี.2527: 48) จะเห็นได้ว่าแนวคิดทางพระพุทธศาสนา สรุปความตั้งใจเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้มนุษย์เกิดการกระทำหรือมีพฤติกรรม ซึ่งนับว่าแนวคิดทางจิตวิทยาตะวันตกอธิบายความตั้งใจ ในทำนองเดียวกับหลักการทางพุทธศาสนา
ฟิสค์ (Fiske.1993) อธิบายลักษณะความตั้งใจว่าประกอบด้วยเงื่อนไขสามประการ คือ ประการแรก บุคคลต้องมีสิทธิในการเลือก(option) และมองเห็นตัวเลือกท่ามกลางวีถีทางต่าง ๆ ที่มีอยู่ ประการที่สอง บุคคลต้องเลือกตามวิถีทางที่มีอยู่ทางใดทางหนึ่ง ความตั้งใจจะชัดเจนเมื่อบุคคลเลือกแนวทางที่ไม่ถูกบังคับหรือยากลำบาก ประการสุดท้ายทำให้ทางเลือกนั้นง่ายขึ้นโดยการทุ่มเอาใจใส่(attention) อย่างจริงจัง ฟิสค์ เห็นว่า การมุ่งทำงานวิจัยอย่างมีทิศทาง สามารถ และมองเห็นแนวทางที่เหมาะกับตนท่ามกลางวิถีทางอื่น ๆ อีกมาก อธิบายได้เช่นเดียวกับการตั้งใจ กล่าวคือ นักวิจัยมีสิทธิเลือกแนวทางวิจัย เมื่อเลือกแล้วทุ่มเทเอาใจใส่ก็จะถึงเป้าหมายที่กำหนด
การอธิบายมุ่งวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ ในฐานะตัวแปรตามให้มีความชัดเจน และเชื่อมโยงตัวแปรอิสระอื่น ๆ ได้อย่างสมเหตุสมผลจำเป็นต้องอาศัยแบบจำลอง และทฤษฎีทางจิตวิทยาเข้ามาช่วย ผู้วิจัยเริ่มต้นจากแบบจำลองความตั้งใจเชิงพฤติกรรม เพื่อนำเข้าสู่การอธิบายความตั้งใจตามแนวทฤษฎีควบคุม และสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัยด้วยการประยุกต์ตัวแปรจากแบบจำลองทฤษฎีควบคุมของแรงจูงใจในการทำงาน
แบบจำลองพฤติกรรมการทำงานด้วยความมุ่งมั่นแบบจำลองพฤติกรรมการทำงานด้วยความมุ่งมั่น • เส้นศึกษาความตั้งใจในแง่ที่เป็นตัวแปรซึ่งเกี่ยวข้องกับแรงจูงใจ กล่าวคือ นักวิจัยจะถือความตั้งใจเป็นจุดหมายในการจูงใจ เช่นเดียวกับการกำหนดเป้าหมาย(Campbell and Pritchard) 1976: 110) งานวิจัยบางเรื่องใช้เป้าหมายและความตั้งใจแทนกัน ลอคและทาแทม (Lock and Lantham.1990) เห็นว่าความตั้งใจและเป้าหมายต่างก็เป็นตัวแปรทางด้านความรู้คิดที่มีลักษณะแตกต่างกันชัดเจน โดยความตั้งใจเป็นลักษณะของแผนการกระทำ ในขณะเป้าหมายสะท้อนถึงวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายของการกระทำซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของทับส์และอิเคเบรก์ (Tubbs and Ekeberg.1991:181)ที่กล่าวว่าเป้าหมายและความตั้งใจไม่ใช่สิ่งที่แทนกันได้ แต่ก็ไม่ แยกออกจากกันโดยสิ้นเชิง ความตั้งใจของเขตมากกว่าเป้าหมาย(Irwin.1971) กล่าวถึง ความตั้งใจทั้งที่เป็นผลลัพธ์และการกระทำ
แนวคิดของทับส์และอิเคเบอรก์ (Tubbs and Ekeberg.1991) ได้เสนอแบบจำลองพฤติกรรมการทำงานด้วยความมุ่งมั่น (Model of Intentional Work Behavior) แบบจำลองพฤติกรรมการทำงานด้วยความมุ่งมั่น คือ เน้นความตั้งใจในลักษณะของการมุ่งกระทำที่เป็นโครงสร้างทางความคิด ซึ่งมีวิถีและเป้าหมายอยู่ด้วยกัน และขยายความการมุ่งกระทำไว้ในสามประเด็นสำคัญ
การมุ่งกระทำเมื่อเป็นทั้งวิถีและเป้าหมาย โครงสร้างของการมุ่งกระทำตามแนวคิดมี 2 แบบ คือ โครงสร้างแนวดิ่ง และแนวราบ โครงสร้างแนวดิ่งนิยามการมุ่งกระทำที่อยู่ในระดับต่ำกับระดับสูงต่างกัน เช่น การมุ่งการทำงานเพื่อสร้างความสำเร็จในชีวิต ที่ตั้งใจทำงานไปเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อผลแห่งความสำเร็จ จะต่างกับ การมุ่งทำโครงการใหม่ให้เสร็จภายในวันศุกร์ ที่แสดงความตั้งใจที่เฉพาะเจาะจงและมีที่สิ้นสุด อย่างแรกมุ่งในระดับสูง อย่างหลังมุ่งระดับต่ำ สำหรับแนวนอนจะมีความแตกต่าง มุ่งทำโครงการให้เสร็จเรียบร้อย เช่น กีฬาภายในหน่วยงาน โครงสร้างแนวราบอาจกระทำในช่วงเวลาเดียวกันได้ การทำทั้งแนวดิ่งและแนวราบเป็นการมุ่งกระทำเป็นทั้ง วิถี และเป้าหมาย (Means and End)
การทำงานจะมีประสิทธิผลมากที่สุด เมื่อบุคคลมีความชำนาญในการรักษาระดับความตั้งใจที่เหมาะสม การมีมนสิการ (attention) เพียงชั่วขณะจะเป็นตัวชี้นำการมุ่งกระทำเพียงระดับเดียวของลำดับขั้น (Heirachy)ทั้งหมด ทับส์และอิเคเบอรก์ (Tubbs and Ekeberg. 1991:184) เรียกว่า การมุ่งกระทำให้มีผลในปัจจุบัน การกระทำลักษณะนี้อาจเป็นความตั้งใจที่ดีเลิศได้ เมื่อ 1) บุคคลถูก โน้มน้าวให้เปรียบเทียบการกระทำที่ผ่านมากับมาตรฐานเชิงนามธรรม ที่สูงกว่า และ 2) บุคคลแปลความหมายของมาตรฐานเป้าหมายที่สูงกว่าคล้ายหรือใกล้เคียงกับการกระทำของตน
การมุ่งกระทำเป็นทั้งจุดหมายและแผนปฏิบัติการ การกระทำบางอย่างของบุคคลอาจไม่มีจุดหมายที่แน่ชัด แต่การมุ่งกระทำมีลักษณะใกล้เคียงกับจุดหมาย ส่วนแผนปฏิบัติการถือว่าเป็นตัวแปรขั้นสูงที่ทำให้บุคคลทำพฤติกรรม บางครั้งบุคคลมีจุดหมายในการทำงานแต่ขาดแผนปฏิบัติการ การมุ่งกระทำที่ต้องการให้เกิดประสิทธิผลในงานจึงต้องได้รับการชี้แนะจากความรู้คิดที่เป็นจุดมุ่งหมายและแผนปฏิบัติการที่อยู่ในรูปของความประสงค์(Wish) หรือความปรารถนา(Desire)
การมุ่งกระทำในฐานะเป็นหน่วยตัวเลือก นักจิตวิทยาหลายท่าน (Ajzen. 1985;Kuhl.1985;Nayor and Ilgen.1984) เห็นว่าจุดเน้น และผลของกระบวนการตัวเลือก คือ ภาพรวมของการมุ่งกระทำ ซึ่งอธิบายได้ด้วยทฤษฎีความคาดหวังและคุณค่า (Expectancy and valence) และทฤษฎีภาพพจน์(Image Theory)
การวัดความตั้งใจเชิงพฤติกรรมการวัดความตั้งใจเชิงพฤติกรรม • ทฤษฎีความคาดหวังและคุณค่าอธิบายตัวเลือกว่าเป็นฟังชั่นของความคาดหวังและคุณค่าซึ่งเป็นฐานทำให้เกิดพลังจูงใจมากที่สุด และอยู่ภายในบุคคลที่เป็นตัวผลักดันไปสู่เป้าหมาย ในขณะที่เป้าหมาย เป็นสิ่งที่ทำให้บุคคลรู้ว่าพยายามทำเพื่ออะไร ทำให้ตั้งใจกระทำเพื่อเกิดผลตามเป้าหมายนั้น การเชื่อมโยงอย่างต่อเนื่องข้างต้น แสดงให้เห็นถึงการมุ่งกระทำเป็นหน่วยของตัวเลือก ทับส์และอิเคเบอรก์ (Tubbs and Ekeberg.1991:187-188)
การวัดความตั้งใจเชิงพฤติกรรมการวัดความตั้งใจเชิงพฤติกรรม • นักวิจัยด้านเจตคติให้ความสำคัญต่อการวัดความตั้งใจเชิงพฤติกรรมหรือการมุ่งกระทำ เพราะเชื่อว่า พฤติกรรมถูกกำหนดโดยตรงจากความตั้งใจของบุคคล เห็นได้จากทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนของไอเซน(Ajzen’s theory of planned behavior) ซึ่งอธิบายความตั้งใจเชิงพฤติกรรมเกิดขึ้นจากตัวกำหนด สามตัว คือ 1) เจตคติต่อการทำพฤติกรรม 2) การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และ 3) การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม
จรัส สุวรรณเวลา และคณะ (2534) กล่าวว่า สำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยการทำวิจัยเพียงแค่เห็นผลวิจัยเท่านั้นยังไม่เพียงพอ อาจารย์มหาวิทยาลัยจะต้องมุ่งวิจัยอย่างมีทิศทาง และต้องทุ่มเทเอาใจใส่ในแนววิจัยนั้นอย่างจริงจัง การวิจัยที่ควรกำหนดสำหรับมหาวิทยาลัย มี 3 ทิศทาง คือ 1) การวิจัยเพื่อผลิตความรู้ที่มุ่งสร้างความก้าวหน้าทางวิชาการ 2) การวิจัยที่มุ่งผลิตความรู้เพื่อการแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศ และ 3) การวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ
อาจารย์มหาวิทยาลัยต้องตระหนักให้ความสำคัญต่อการวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชา การ เป็นการวิจัยที่หาความรู้ใหม่ หรือสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการซึ่งหมายถึงการสร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในลักษณะศูนย์ของความเป็นเลิศ (Center of excellence)
ในการประชุมครบรอบ 125 ปีของวารสารเนเจอร์ (Nature) ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเดือนธันวาคม 2537 เงื่อนไขสำคัญการวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการของมหาวิทยาลัย มี 7 ข้อ ดังนี้ (Maddox. 1994: 723) 1) ความเป็นเลิศทางวิชาการต้องเป็นเกณฑ์สำหรับการแต่งตั้งเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ และให้เงินตอบแทน 2) ความเป็นเลิศทางวิชาการในการวิจัยจะต้องไม่เป็นข้ออ้างที่มาทำให้การสอน ด้อยคุณภาพ 3) งานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการจะต้องดำเนินอย่างมีเป้าหมายและได้ รับการประเมินคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ
4) ประเด็นการวิจัยมีความยืดหยุ่นได้ทั้งระดับคณะ และสาขาวิจัย เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และสนองตอบต่อโอกาสการทำวิจัยในเชิงสหวิทยาการ 5) ศูนย์ของความเป็นเลิศที่ไม่สามารถหานักวิจัยผู้เชี่ยวชาญในประเทศมาประจำได้ ถ้าเป็นไปได้ควรเปิดโอกาสให้นักวิจัยต่างประเทศเข้ามาทำงาน 6) มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญในการเชื่อมโยงเครือข่ายกับต่างประเทศ 7) มหาวิทยาลัยมีอิสระที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้งบประมาณการวิจัย โดยมีหน่วยงานภายนอกที่ทำหนาที่นี้เข้ามาดูแลในระดับภาพรวม
ทบวงมหาวิทยาลัย (2539) ได้กำหนดวัตถุประสงค์ กลยุทธ์ และมาตรการด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษาและความเป็นเลิศทางวิชาการ ในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฉบับที่ 8 ดังนี้ 1) สร้างเครือข่ายทางวิชาการระดับสูงสามารถแข่งขันกับนานาประเทศทั่วโลก • สนับสนุนให้มีโอกาสไปทำงานวิจัยในต่างประเทศเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการประสานภาคเอกชนร่วมมือสร้าง และพัฒนานักวิจัยที่มีความสามารถสูง • ส่งเสริมนักวิจัยที่มีความสามารถสูงให้พัฒนาศักยภาพทางวิชาการอย่างเต็มความสามารถ 2) ส่งเสริมการวิจัยและสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาประเทศไปสู่ความเป็นผู้นำในภูมิภาค • พัฒนามหาวิทยาลัยให้มีขีดความสามารถทำวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในสาขาวิชา • พัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยให้มีความพร้อมทั้งวิชาการและการบริหาร เพื่อออกไปปฏิบัติงานในต่างประเทศได้
3) ส่งเสริมให้มีงานวิจัยที่สามารถตอบสนองต่อการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศชาติ • ส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยเป็นฐานของการสร้างองค์ความรู้ใหม่ และความเป็นเลิศทางวิชาการสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศในระยะยาว • ทำวิจัยเชิงแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในเชิงปฏิบัติ และขยายสู่กลุ่มเป้าหมาย ส่งเสริมให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้มีการทำวิจัยร่วมกับอาจารย์และนักวิจัยที่มีชื่อเสียงของประเทศ 4) ส่งเสริมให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาภูมิปัญญาไทย • ส่งเสริมวิจัยภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาให้เป็นภูมิปัญญาไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทำแผนพัฒนาการศึกษาฉบับที่ 8 (2540 – 2544) กำหนดวัตถุประสงค์เกี่ยวกับงานวิจัย 2 ข้อ และนโยบายการวิจัย 6 ข้อ
การวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการการวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ • ทฤษฎีควบคุม • ทฤษฎีควบคุมและการจูงใจ • ทฤษฎีควบคุมและข้อมูลป้อนกลับ
วิธีดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลวิธีดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการ 4 วิธี • ฝากส่งและรับคืนทางไปรษณีย์ กลุ่มตัวอย่างปฏิบัติราชการ ณ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม • ฝากนักเรียนถึงผู้ปกครอง โดยบันทึกขออนุญาตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนสาธิต ฝากแบบสอบถามผ่านอาจารย์ประจำชั้น • ฝากผ่านสำนักงานเลขานุการคณะ และธุรการภาควิชา โดยระบุชื่อกลุ่มตัวอย่าง มีซองเปล่าพร้อมชื่อผู้วิจัยเพื่อสะดวกในการส่งคืน • ส่งแบบสอบถามด้วนตนเอง เป็นการเก็บข้อมูลเพิ่ม
การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์แบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้ • วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นนำข้อมูลที่เป็นมาตรวัดตัวแปรมาคำนวณหาคุณภาพเครื่องมือวิจัย และวิเคราะห์ลักษณะการกระจายของตัวแปรทั้งหมด โดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเบ้ ความโด่ง ค่าต่ำสุด- ค่าสูงสุด และสัมประสิทธิ์การกระจายของตัวแปรแต่ละตัว • การวิเคราะห์ข้อมูลตอบปัญหาวิจัย นำค่าการวิเคราะห์ตัวแปรมาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และทำการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยภายในกลุ่มตัวอย่าง เพื่อยืนยันความสอดคล้องกับนิยามเชิงปฏิบัติการและความเป็นไปได้ที่จะใช้ในการวิเคราะห์ความ สัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล • นำเสนอในรูปแบบตาราง ภาพประกอบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น และการบรรยาย ตามหัวข้อ • ลักษณะทางสถิติของตัวแปรที่อธิบายความแปรปรวนของการมุ่งวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ ของอาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ • ผลการวิเคราะห์การมุ่งวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ ของอาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งทำวิจัยในสาขาที่แตกต่างกัน • ผลการศึกษาตัวแปรที่ส่งผลต่อการการมุ่งวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ ของอาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เสนอใน 3 หัวข้อย่อย • ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร • การทดสอบความไม่สัมพันธ์กันระหว่างความขัดแย้งระหว่างเป้าหมายการผลิตภาพการวิจัย และการมุ่งวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ ของอาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ • การทดสอบความกลมกลืนของแบบจำลองสมมุติฐานเชิงทฤษฎีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ • แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ สำหรับอธิบายพฤติกรรมการมุ่งวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ ของอาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สรุปผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ • ผู้วิจัยนำเสนอสาระสำคัญของการวิจัยในภาพรวม โดยแบ่งออกเป็นบทย่อ ซึ่งประกอบด้วยวัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย และการวิเคราะห์ข้อมูล หลังจากนั้นจะเป็นการนำเสนอสรุปผลการวิจัย อ๓ปรายผล และข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะสำหรับงานวิจัยต่อไปข้อเสนอแนะสำหรับงานวิจัยต่อไป • ควรมีการศึกษาผลการปฏิบัติงาน และข้อมูลป้อนกลับจากการทำงานวิจัยควบคู่กับการวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยแบ่งระยะต้นปี และปลายปี เพื่อให้ เป็นแบบข้อมูลจำลองสองคลื่น (Two wave Model) • การประยุกต์ใช้แบบจำลองของไคลน์(Klein .1989) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำงานที่เน้นสร้างแรงจูงใจผู้วิจัยต้องสร้างเครื่องมือวิจัย และรายละเอียดของตัวแปรให้สอดคล้องกับบริบทของงานนั้น ๆ เท่านั้น • ควรมีการศึกษาแบบจำลองโครงสร้างเชิงเส้นที่มีผลจาก ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการอนุมานสาเหตุ และความคิดคาดหวังในอรรถประโยชน์ เพิ่มเติมจากการศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ แบบความสัมพันธ์ทางเดียว
ควรมีการศึกษาบทบาทการมุ่งการวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการในกระบวนการจูงใจตามแบบจำลองของทับส์และอิเคเบอร์ (Tubb and Ekeberg 1991) ซึ่งเน้นการควบคุมการกระทำและผลผลิตจากการทำงาน • ควรมีการสำรวจเจตนารมณ์วิจัยของอาจารย์ จำแนกตามสาขา เพื่อเปรียบเทียบเจตนารมณ์ที่เหมือนและแตกต่างกัน แล้วนำเจตนารมณ์ที่ชัดเจนมาทดสอบความตรงกับแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ
ปริญญานิพนธ์ ของ วินัย ดำสุวรรณเสนอต่อมหาวิทยาลัยศรีนคนทรวิโรฒ ประสานมิตร เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ พ.ศ.2542เป็นงานวิจัยที่มีรูปแบบของงานเขียนการวิจัย อยู่ 5 บท คือ บทที่1 บทนำ บทที่2 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย บทที่3 วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า บทที่4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ ท้ายเล่มมีบรรณานุกรม ภาคผนวกเป็นเนื้อหาและข้อมูลเกี่ยวกับเอกสารที่นำมาใช้ในการวิจัยครั้งนี้
ขอบคุณครับ สวัสดี