270 likes | 639 Views
ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ.2551 และระเบียบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ว่าด้วยเงินรายได้ พ.ศ.2545และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2549 งานงบประมาณ กองคลัง สำนักงานอธิการบดี. ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง
E N D
ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลังการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังพ.ศ.2551 และระเบียบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ว่าด้วยเงินรายได้ พ.ศ.2545และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2) พ.ศ. 2549งานงบประมาณ กองคลัง สำนักงานอธิการบดี
ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลังระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง ปี พ.ศ. 2551 หมวดที่ 1 ความทั่วไป หมวดที่ 2 การใช้งานในระบบ หมวดที่ 3 การเบิกเงิน หมวดที่ 4 การจ่ายเงิน หมวดที่ 5 การจ่ายเงินยืม หมวดที่ 7 การเก็บรักษาเงินของส่วนราชการ หมวดที่ 8 การนำเงินส่งคลังและฝากคลัง หมวดที่ 9 การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี หมวดที่ 6 การรับเงินของส่วนราชการ หมวดที่ 10 การควบคุมและตรวจสอบ
หมวดที่ 3 การเบิกเงิน ส่วนที่ 1 สถานที่เบิกเงิน และผู้เบิกเงิน สถานที่เบิกเงินส่วนกลาง เบิกจากกรมบัญชีกลาง ส่วนภูมิภาค เบิกจากคลังจังหวัด ผู้เบิก หัวหน้าหน่วยงานหรือผู้ที่หัวหน้าหน่วยงานมอบหมายเป็นผู้เบิกเงินและอนุมัติการจ่ายเงินให้เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงิน
หมวดที่ 3 การเบิกเงิน (ต่อ) ส่วนที่ 2 หลักเกณฑ์การเบิกเงินจากคลัง • การเบิกเงินทุกกรณีให้ระบุวัตถุประสงค์ที่นำไปจ่าย • ห้ามเบิกก่อนถึงกำหนดจ่ายหรือใกล้ถึงกำหนดจ่าย • ขอเบิกเพื่อการใดให้จ่ายเพื่อการนั้น
หมวดที่ 3 การเบิกเงิน (ต่อ) • เบิกเฉพาะที่มีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งและมติคณะรัฐมนตรี หรือที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง • ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณใดให้เบิกจ่ายในปีนั้น • การชำระหนี้เงินตราต่างประเทศให้ชำระเป็นบาท • การเบิกเงินทุกกรณีต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
ค่าใช้จ่ายที่ถือว่าเป็นรายจ่ายเมื่อได้รับแจ้งให้ชำระหนี้ค่าใช้จ่ายที่ถือว่าเป็นรายจ่ายเมื่อได้รับแจ้งให้ชำระหนี้
1. รายการค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นไม่ว่าเดือนใด หากแจ้งหนี้เมื่อใดให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายของปีงบประมาณนั้น 1.1 ค่าเช่าบ้านข้าราชการ 1.2 ค่าบอกรับสิ่งพิมพ์ 1.3 ค่าขนส่ง 1.4 ค่าบัญชีพลโดยสารรถไฟ
2. รายการค่าใช้จ่ายเฉพาะเดือนกันยายน 2.1 ค่าเบี้ยเลี้ยงผู้ต้องหา 2.2 ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง 2.3 ค่าเครื่องบริโภค เช่นค่าข้าว ค่ากับข้าว และ ค่าเชื้อเพลิงของผู้ต้องขัง 2.4 ค่าเครื่องบริโภค เช่นค่าข้าว ค่ากับข้าว ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงของคนไข้นักเรียนพยาบาลและนักเรียนผู้ช่วยพยาบาล
3. รายการค่าใช้จ่ายเฉพาะเดือนสิงหาคม - กันยายน 3.1 ค่ากำจัดขยะมูลฝอย 3.2 ค่าน้ำ 3.3 ค่าไฟฟ้า 3.4 ค่าโทรศัพท์ 3.5 ค่าเช่าพูดโทรศัพท์ทางไกล 3.6 ค่าเช่าคู่สายโทรศัพท์
3.7 ค่าติดตั้งโทรศัพท์ 3.8 ค่าฝากส่งไปรษณีย์และพัสดุภัณฑ์ที่ฝากส่งเป็นราย เดือน 3.9 ค่าเช่าวิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3.10 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเครื่องโทรสารที่เป็นครุภัณฑ์ 3.11 ค่าใช้จ่ายในการเช่าใช้บริการวิทยุติดตามตัว เพื่อใช้ ในราชการเร่งด่วน 3.12 ค่าเช่าบริการสัญญาณเคเบิลทีวี
หมวดที่ 3 การเบิกเงิน (ต่อ) ส่วนที่ 3 วิธีการเบิกเงิน - สร้างข้อมูลหลักผู้ขาย ของหน่วยงาน/เจ้าหนี้/ผู้มีสิทธิรับเงิน - ตรวจสอบความถูกต้อง คำขอเบิก - ตรวจสอบการจ่ายเงินของกรมบัญชีกลาง ในระบบ GFMIS - การเบิกเงินสำหรับการซื้อ จ้างทำของ หรือเช่า ให้ปฏิบัติตาม ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ดังนี้ - วงเงินตั้งแต่ 5,000 บาทให้สร้างใบ PO เพื่อจ่ายเข้าบัญชีเจ้าหนี้
-กรณีจ่ายเจ้าหนี้ตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไปให้จ่ายตรงเจ้าหนี้ (มหาวิทยาลัยฯกำหนด) - ให้เบิกอย่างช้าไม่เกินห้าวันนับจากกรรมการตรวจรับงาน - ค่าไฟฟ้า ค่าประปา ค่าบริการไปรษณีย์ ค่าบริการสื่อสารและค่าโทรคมนาคมให้เบิกกับเจ้าหนี้โดยตรง - การเบิกเงินสวัสดิการ ค่าตอบแทน หรือกรณีอื่นใดที่กระทรวงการคลังกำหนด ให้จ่ายเข้าบัญชีส่วนราชการ
หมวดที่ 9 การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี การกันเงินไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปี หมายถึง เงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่ผ่านมาและส่วนราชการไม่สามารถเบิกจ่ายเงินงบประจำปีได้ทันภายในปีงบประมาณนั้น จะต้องขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ซึ่งจะต้องได้รับอนุมัติให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี จึงจะสามารถเบิกจ่ายได้ในงบประมาณถัดไป และมีระยะเวลาการใช้จ่าย ได้อีก 6 เดือนหลังจากสิ้นปีงบประมาณ
ตัวอย่างการกันเงินเหลื่อมปีตัวอย่างการกันเงินเหลื่อมปี งบประมาณประจำปี 2557 (ระยะเวลาตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2556 ถึง 30กันยายน 2557) หน่วยงานต้องเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 กันยายน 2557 กรณีไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทันวันที่ 30 กันยายน 2557 ก็สามารถขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีหลังสิ้นปีงบประมาณได้อีก 6 เดือน (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2557 - 31 มีนาคม 2557) หากเบิกจ่ายไม่ทัน31 มีนาคม 2557 ให้ขอขยายเวลาเบิกจ่ายออกไปอีก 6 เดือน (1 เมษายน 2557 - 30 กันยายน 2557)
การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี • กรณีมีหนี้ผูกพัน • กรณีไม่มีหนี้ผูกพัน
วิธีปฏิบัติการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีวิธีปฏิบัติการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี • กรณีการกันเงินแบบมีหนี้ผูกพัน • ใบสั่งซื้อ/ใบสั่งจ้าง (PO)ตั้งแต่ 50,000 บาท ขึ้นไป ที่จัดทำในระบบ GFMISเป็นการขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีต่อไปอีก 6 เดือนนับจากสิ้นปีงบประมาณ
ระเบียบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ว่าด้วยเงินรายได้ พ.ศ.2545 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549
ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ • ระเบียบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ว่าด้วยเงินรายได้ พ.ศ. 2545 • ระเบียบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ว่าด้วยเงินรายได้ (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2549
ระเบียบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ว่าด้วยเงินรายได้ พ.ศ. 2545 หมวดที่ 1 ประเภทและการใช้เงินรายได้ หมวดที่ 2 การกำหนดอัตราจัดเก็บและจัดสรร หมวดที่ 3 ประมาณการรายรับ-รายจ่าย หมวดที่ 4 การจัดเก็บเงินรายได้และการนำส่ง หมวดที่ 5 การเบิกจ่ายเงิน หมวดที่ 6 การเก็บรักษาเงิน หมวดที่ 7 การบัญชีและรายงานการเงิน หมวดที่ 8 การตรวจสอบ หมวดที่ 9 บทเบ็ดเตล็ด
หมวดที่ 1 ประเภทและการใช้เงินรายได้ • ข้อ 9 การซื้อ การจ้าง หรือการดำเนินการอื่น ที่เกี่ยวกับการพัสดุ โดยใช้เงินรายได้ถือปฏิบัติตามระเบียบ มหาวิทยาลัยว่าด้วยการพัสดุ (ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยฯยังไม่มีระเบียบนี้ใช้ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม)
หมวดที่ 5 การเบิกจ่ายเงิน ข้อ 19 การอนุมัติดำเนินการ ตลอดจนสั่งจ่ายเงินทุกหมวด รายจ่าย 19.1 หัวหน้าหน่วยงาน หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากอธิการบดี ภายในวงเงินไม่เกินครั้งละ 1,000,000 บาท (หัวหน้าหน่วยงาน หมายถึง คณบดี ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการสถาบัน หัวหน้าสำนักงานอธิการบดี หัวหน้าสำนักงานวิทยาเขต หรือหัวหน้าหน่วยงานอื่นเทียบเท่าคณะ)
19.2รองอธิการบดี ภายในวงเงินไม่เกินครั้งละ 2,000,000 บาท 19.3 อธิการบดีภายในวงเงินไม่เกินครั้งละ 5,000,000 บาท หากเกินวงเงินดังกล่าวอธิการสามารถอนุมัติและสั่งจ่าย ได้ตามความเหมาะสม แล้วให้รายงานให้สภา มหาวิทยาลัย ทราบในการประชุมครั้งต่อไป การอนุมัติใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามประมาณการรายจ่าย ที่สภามหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบแล้ว (ฉบับที่2 พ.ศ.2549)
ข้อ 20 ให้หน่วยงานมีเงินรายได้ไว้ทดรองจ่ายได้ไม่เกิน 1,000,000 บาท โดยเบิกจากบัญชีหน่วยงาน ข้อ 21ให้หน่วยงานมีเงินสำรองจ่ายไม่เกิน 10 % ของเงิน รายได้ของหน่วยงานในขณะนั้น
ข้อ 22 ให้กองคลังหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบงานด้านการเงิน ของวิทยาเขตมีเงินสดได้ไม่เกินวันละ 200,000 บาท และให้หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการเงินมีเงินสด ไม่เกิน วันละ 100,000 บาท ข้อ 23การเบิกจ่ายเงินรายได้ ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตาม ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินจาก คลังโดยอนุโลมเว้นแต่อธิการบดีจะกำหนดไว้เป็น อย่างอื่น
ระเบียบข้อ 5 ให้อธิการบดีมีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้ 5.1 ออกระเบียบและแนวปฏิบัติเพื่อปฏิบัติตามระเบียบนี้ 5.2 วินิจฉัยชี้ขาดปัญหาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ 5.2 เสนอรายงานการเงินให้สภามหาวิทยาลัยทราบ ปีละ 1 ครั้ง