240 likes | 486 Views
บทบาทของบุคลากรสายสนับสนุนต่อการพัฒนาด้านวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุขอังคณา ลี รองคณบดีฝ่ายวิชาการ สัมมนาบุคลากร ประจำปี 2551. 27 มีนาคม 2552. อ้างอิง.
E N D
บทบาทของบุคลากรสายสนับสนุนต่อการพัฒนาด้านวิชาการคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุขอังคณา ลี รองคณบดีฝ่ายวิชาการ สัมมนาบุคลากร ประจำปี 2551 27 มีนาคม 2552
อ้างอิง • ดร.จิรณี ตันติรัตนวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาเอกสารอภิปราย เรื่อง “ความสำคัญและการดำเนินงานด้านกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย” วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม 2551 ณ ห้องประชุมสุธรรม อารีกุล อาคารสารนิเทศ 50 ปี ชั้น 1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กทม.
ระดับนโยบาย ระดับการนำไปสู่การปฏิบัติ มาตรฐานการอุดมศึกษา มาตรฐานด้านการบริหาร จัดการการอุดมศึกษา มาตรฐานด้านการสร้างและพัฒนาสังคมฐานความรู้ และสังคมแห่งการเรียนรู้ มาตรฐานด้านคุณภาพบัณฑิต กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (NQF) รายละเอียดของหลักสูตรแต่ละสาขาวิชา
เกณฑ์แนวทางอื่น ๆ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ National Qualifications Framework เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร เกณฑ์กำหนดชื่อปริญญา หลักเกณฑ์การเทียบโอน NQF ระดับสาขาวิชา วางแผนปรับปรุง + พัฒนา รายละเอียดของหลักสูตร รายละเอียด ของรายวิชา การรายงานผลหลักสูตรประจำปี กระบวนการเรียนการสอน (มุ่งเน้นกลุ่มมาตรฐานผลการเรียนรู้) การรายงานผล รายวิชา การวัดผลประเมินผล (มุ่งวัดกลุ่มมาตรฐานผลการเรียนรู้) กลวิธีการสอนแบบต่าง ๆ Teaching Unit (รายงานผลการดำเนินการในภาพรวม ของหลักสูตร เทียบกับแผนและเสนอ แนวทางในการปรับปรุง) การวิจัยในห้องเรียน จะต้องมีการประกันคุณภาพทุกขั้นตอน
บทบาทผู้บริหาร • กำหนดนโยบายในการนำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาสู่การปฏิบัติไว้อย่างชัดเจน • ให้การสนับสนุนการดำเนินการอย่างเป็นระบบในการพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา จริงจังและต่อเนื่องในการผลักดันให้เกิดผู้เชี่ยวชาญเพื่อเป็น Trainer ในการพัฒนาหลักสูตร และการสอน สามารถให้คำแนะนำ สนับสนุนคณาจารย์ได้อย่างถูกต้อง • ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการสร้างและใช้ความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคณาจารย์ด้วยกันเอง ทั้งในและต่างสถาบันจนเกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้
บทบาทอาจารย์-ครู • ตระหนักถึงเป้าหมายของการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาบัณฑิตตามนโยบายของชาติ • ติดตามพัฒนาการทางการศึกษาและจัดกระบวนการเรียนการสอนเพื่อให้ถึงเป้าหมายดังกล่าว • มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของบัณฑิตตามกรอบ NQF • ศึกษาหาความรู้และนำกลยุทธ์การสอนแบบใหม่ ๆ ไปใช้ใน การเรียนการสอนรวมถึงการใช้เกี่ยวกับกระบวนการวัดผลนักศึกษา การประเมินและพัฒนาหลักสูตรได้อย่างเหมาะสม
บทบาทสายสนับสนุน • ศึกษาและทำความเข้าใจกับนโยบายและการดำเนินการในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของบัณฑิต • ช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินการของผู้บริหารและคณาจารย์ในการส่งเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้และพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ • พัฒนาตนเองด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมงาน/ร่วมอาชีพทั้งในสถาบันอุดมศึกษาของตนเองและสถาบันอื่นเพื่อให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ และนำมาพัฒนางานให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การทำงานให้สำเร็จขึ้นอยู่กับความสามารถสองอย่างเป็นสำคัญ คือ สามารถในการใช้วิชาความรู้อย่างหนึ่ง สามารถในการประสานสัมพันธ์กับผู้อื่นอีกอย่างหนึ่ง ทั้งสองประการนี้ต้องดำเนินคู่กันไป และจำเป็นต้องกระทำด้วยความสุจริตกาย สุจริตใจ ด้วยความคิด ความเห็นที่เป็นอิสระ ปราศจากอคติ และด้วยความถูกต้อง ตามเหตุตามผลด้วย จึงจะช่วยให้งานบรรลุจุดหมายและประโยชน์ที่พึงประสงค์โดยครบถ้วน
การทำงานเป็นทีม • วิธีที่ดีที่สุดในการที่จะพัฒนาทีมของเรา คือ พัฒนาตัวเรานั่นเอง • เริ่มจากการเตรียมตัวให้พร้อมทุกสถานการณ์ ก่อนที่โอกาสจะมาถึง • วันนี้ถ้าเราเตรียมให้พร้อม (Prepare) วันพรุ่งนี้ก็ไม่ต้องมาคอยแก้ไขเรื่องต่างๆ(Repair)
แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันของบุคคลแนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันของบุคคล • ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล • เปิดเผย จริงใจ ร่วมกันแก้ปัญหา • ทบทวนการปฏิบัติงาน และ พัฒนาตนเอง
การพัฒนาตนเอง • คุณเชื่อมั่นในงานของตัวเองหรือเปล่า? • คุณเชื่อมั่นว่าคุณจะทำสำเร็จ หรือบรรลุเป้าหมายได้หรือไม่? • ความเชื่อมั่นในงานของตนเอง จะทำให้เรามีพลังมากขึ้น ความเชื่อมั่น ความคาดหวัง ที่ดี การลงมือทำ ผลงานที่ดี
ขั้นตอนการเรียนรู้ • ขั้นที่ 1 ลงมือทำ • ขั้นที่ 2 มองหาข้อผิดพลาดและประเมินผล • ขั้นที่ 3 แสวงหาวิธีที่ดีกว่าในการทำงานนั้น • ขั้นที่ 4 กลับไปขั้นที่ 1
ความคิดเดิม การเรียนการสอนแบบเดิม ความคิดใหม่ การเรียนรู้แบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การเปลี่ยนแปลงด้านกระบวนการเรียนรู้
ความสำเร็จอยู่ที่ผลลัพธ์ของผู้สอน ครูมุ่งไปเพียงว่ามีวิธีสอนอย่างไร ที่ทำให้เด็กมีกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายเน้นการคิดเอง ปฏิบัติเอง ความสำเร็จอยู่ที่ผลลัพธ์ของผู้เรียน คือ ผู้เรียนทุกคนมีผลการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ครบถ้วนตามความมุ่งหมายของหลักสูตร แม้ผู้เรียนแต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน แต่ครูมีฝีมือที่จะทำให้ผู้เรียนทุกคนบรรลุผลตามที่พึงปรารถนาได้ ด้านการสัมฤทธิ์ผลทางการเรียน รายงานปฏิรูปการศึกษาไทย. ปีที่ 3 ฉบับที่ 46. 15 ตุลาคม 2544
ผู้เรียนมีความสามารถต่างกันจึงมีผลการเรียนไม่เท่ากัน (เด็กมันโง่เอง, ขาดความรับผิดชอบ ฯลฯ) ผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้ได้เท่ากัน ถ้าครูจัดวิธีการเรียนให้เหมาะกับความสามารถของเขา ด้านการสัมฤทธิ์ผลทางการเรียน (ต่อ) รายงานปฏิรูปการศึกษาไทย. ปีที่ 3 ฉบับที่ 46. 15 ตุลาคม 2544
ผลของการเรียน คือความรู้ที่แสดงออกด้วยการจดจำความจริง กฎ เกณฑ์ต่าง ๆ ที่เป็นเนื้อหา ผลของการเรียน คือ ความสมดุลของความรู้ ความคิด ความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประยุกต์ใช้ การแก้ปัญหา การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เป็นต้น ด้านการสัมฤทธิ์ผลทางการเรียน (ต่อ) รายงานปฏิรูปการศึกษาไทย. ปีที่ 3 ฉบับที่ 46. 15 ตุลาคม 2544
การวัดผลประเมินผลมีจุดอ่อนในการยึดเพียงเนื้อหาตามตำราการวัดผลประเมินผลมีจุดอ่อนในการยึดเพียงเนื้อหาตามตำรา การวัดผลเน้นการติดตามผลการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคลตลอดเวลา ใช้วิธีการวัดและการประเมินหลายอย่าง ทั้งการประเมินจากพฤติกรรม ผลงาน ข้อสอบ เป็นต้น ด้านการสัมฤทธิ์ผลทางการเรียน (ต่อ) รายงานปฏิรูปการศึกษาไทย. ปีที่ 3 ฉบับที่ 46. 15 ตุลาคม 2544
ผู้เรียนเรียนรู้จากการอ่าน การฟัง การฝึก และการจดจำ ผู้เรียนเรียนรู้จากได้รับประสบการณ์จากแหล่งต่าง ๆ จากการค้นคว้า ทดลอง ปฏิบัติ สอบถามผู้รู้ วิเคราะห์ แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ด้านการจัดการเรียนรู้ รายงานปฏิรูปการศึกษาไทย. ปีที่ 3 ฉบับที่ 46. 15 ตุลาคม 2544
ครูมีกระบวนการสอนที่เป็นมาตรฐานตายตัวใช้กับผู้เรียนทุกคนครูมีกระบวนการสอนที่เป็นมาตรฐานตายตัวใช้กับผู้เรียนทุกคน ครูรู้จักจุดเด่นจุดด้อยผู้เรียนรายบุคคล ใช้กระบวนการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นและหลากหลาย ด้านการจัดการเรียนรู้ (ต่อ) รายงานปฏิรูปการศึกษาไทย. ปีที่ 3 ฉบับที่ 46. 15 ตุลาคม 2544
ปล่อยให้เด็กทำกิจกรรมเรียนรู้ตามลำพัง ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก ครูทำหน้าที่พี่เลี้ยง ให้คำแนะนำ ร่วมวางแผน ติดตามผลการทำกิจกรรม ด้านการจัดการเรียนรู้ (ต่อ) รายงานปฏิรูปการศึกษาไทย. ปีที่ 3 ฉบับที่ 46. 15 ตุลาคม 2544
หัวใจสำคัญของความสำเร็จหัวใจสำคัญของความสำเร็จ • อยู่ที่ความเป็นครูมืออาชีพที่มุ่งมั่น คิดค้น แสวงหาวิธีการต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ผู้เรียนทุกคนมีความสำเร็จในการเรียนรู้เต็มศักยภาพ ครบถ้วนตามมาตรฐาน โดยใช้พื้นฐานของความรักและความเมตตาที่ครูมีต่อผู้เรียนทุกคนอย่างแท้จริง รายงานปฏิรูปการศึกษาไทย. ปีที่ 3 ฉบับที่ 46. 15 ตุลาคม 2544