520 likes | 990 Views
ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ. 2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552. ยกเลิก. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539
E N D
ระเบียบกระทรวงการคลังระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ. 2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552
ยกเลิก ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมของส่วนราชการ พ.ศ. 2545 หนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0526.7/ว.129 ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2539
ยกเลิก(ต่อ) หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0505.4/ ว46 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2545 หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0505.4/ ว123 ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2545 หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0409.7/ ว51 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2548 หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0409.7/ ว47 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2548
ขั้นตอนการจัดฝึกอบรม • จัดทำโครงการฝึกอบรม • คำนวณค่าใช้จ่ายในการจัดฝึกอบรมสำหรับประธานและผู้ติดตามประธาน ผู้จัดการฝึกอบรม วิทยากร ผู้เข้ารับการฝึกอบรมและผู้สังเกตการ โดยต้องเขียนประมาณการค่าใช้จ่ายโดยละเอียด • ขออนุมัติโครงการฝึกอบรมต่อหัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ
4. เจ้าหน้าที่ผู้จัดการฝึกอบรมขออนุมัติเดินทางไปจัดฝึกอบรม4. เจ้าหน้าที่ผู้จัดการฝึกอบรมขออนุมัติเดินทางไปจัดฝึกอบรม 5. เก็บรวบรวมเอกสารหลักฐานค่าใช้จ่ายทั้งหมด สำหรับเบิกจ่ายเงินภายใน 30 วันนับแต่เดินทางกลับมาที่ตั้งสำนักงาน
คำนิยาม ส่วนราชการ หมายถึง สำนักนายกฯ กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง ทบวง กรม รวมทั้งส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรม แต่หัวหน้าส่วนราชการมีฐานะเป็นอธิบดี
คำนิยาม(ต่อ) • บุคลากรของรัฐ หมายถึง ข้าราชการทุกประเภท พนักงาน ลูกจ้างของ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เช่น ข้าราชการการเมือง องค์การมหาชน องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เจ้าหน้าที่ ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและองค์การบริหารส่วนตำบล แต่ ไม่รวมถึงลูกจ้างจ้างเหมา สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและองค์การบริหารส่วนตำบล องคมนตรี สมาชิกสภากรุงเทพ สมาชิกสภาเขต (มีวาระการดำรงตำแหน่ง) กรณีลูกจ้างตามสัญญาจ้างเหมา หากในสัญญาจ้างไม่ได้กำหนดให้ลูกจ้างสามารถเข้ารับการฝึกอบรม หรือเดินทางได้ ส่วนราชการต้นสังกัด ก็จะอนุมัติให้ลูกจ้างตามสัญญาจ้างเหมาเข้าร่วมฝึกอบรม หรือ เป็นเจ้าหน้าที่ในการจัดฝึกอบรมไม่ได้
คำนิยาม (ต่อ) การฝึกอบรม หมายความว่า การอบรม การประชุมทางวิชาการหรือเชิงปฏิบัติการ การสัมมนาทางวิชาการหรือเชิงปฏิบัติการ การบรรยายพิเศษ การฝึกศึกษา การดูงาน การฝึกงาน หรือที่เรียกชื่ออย่างอื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีโครงการหรือหลักสูตรและช่วงเวลาจัดที่แน่นอน ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคคลหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยไม่มีการรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ
คำนิยาม (ต่อ) องค์ประกอบการฝึกอบรม 1. มีโครงการ / หลักสูตร 2. ระยะเวลามีกำหนดแน่นอน 3. วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลากรหรือเพิ่มประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงาน 4. ไม่มีการแจกปริญญาบัตรหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ
คำนิยาม(ต่อ) เจ้าหน้าที่ หมายถึง บุคลากรของรัฐที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงาน บุคคลอื่นที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงาน และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานลักษณะพิเศษ หมายถึง บุคคลซึ่งมิได้เป็นบุคลากรของรัฐ และได้รับแต่งตั้งจากหัวหน้าส่วนราชการผู้จัดการประชุมระหว่างประเทศให้ปฏิบัติงาน เช่น พนักงานพิมพ์ดีด พนักงานบันทึกข้อมูล เป็นต้น
คำนิยาม(ต่อ) ผู้เข้ารับการฝึกอบรม หมายถึง บุคลากรของรัฐหรือบุคคลซึ่งไม่ใช่บุคลากรของรัฐที่เข้ารับการฝึกอบรม การประชุมระหว่างประเทศ หมายถึง การประชุมหรือสัมมนาระหว่างประเทศที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ รัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศจัดหรือจัดร่วมกันในประเทศไทย โดยมีผู้แทนจากสองประเทศขึ้นไปเข้าร่วมประชุมหรือสัมมนา
“การฝึกอบรมข้าราชการประเภท ก” หมายความว่า การฝึกอบรมที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกินกึ่งหนึ่งเป็นบุคลากรของรัฐ ซึ่งเป็นข้าราชการ - ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ - ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ ระดับทรงคุณวุฒิ - ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูง และ - ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น และระดับสูง หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า • “การฝึกอบรมข้าราชการประเภท ข” หมายความว่า การฝึกอบรมที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกินกึ่งหนึ่งเป็นบุคลากรของรัฐ ซึ่งเป็นข้าราชการ - ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ระดับชำนาญงาน และระดับอาวุโส - ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ และ - ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้น หรือตำแหน่งที่เทียบเท่า
คำนิยาม(ต่อ) การดูงาน หมายถึง การเพิ่มพูนความรู้หรือประสบการณ์ด้วยการสังเกตการณ์ โดยกำหนดไว้ในโครงการหรือหลักสูตรการฝึกอบรม หรือกำหนดไว้ใน แผนการจัดการประชุมระหว่างประเทศให้มีการดูงานก่อน ระหว่างหรือหลังการฝึกอบรมหรือประชุมระหว่างประเทศ รวมถึง โครงการหรือหลักสูตรการฝึกอบรมดูงานในประเทศซึ่งหน่วยงาน ของรัฐจัดขึ้น
คำนิยาม(ต่อ) ผู้แทน หมายถึง ผู้แทนประเทศไทยและที่ปรึกษาของผู้แทน ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี หรือได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ประธานรัฐสภา หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ผู้เข้าร่วมประชุม หมายถึง ผู้แทน และผู้แทนของต่างประเทศ ที่เข้าร่วมประชุมระหว่างประเทศ
ให้อำนาจหัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ ใช้ดุลพินิจในการอนุมัติเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถปฏิบัติได้หรือ อยู่นอกเหนือจากที่กำหนดในระเบียบ (ข้อ 7) ต้องขออนุมัติโครงการหรือหลักสูตรการฝึกอบรมต่อหัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ และอนุมัติเฉพาะผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องหรือเป็นประโยชน์ต่อส่วนราชการตามจำนวนที่สมควรและพิจารณาด้านการเงินก่อน (ข้อ 8,9) * การฝึกอบรมบุคคลภายนอกจัดได้เฉพาะภายในประเทศเท่านั้น (ข้อ 10)
บุคคลที่จะเบิกค่าใช้จ่าย(ข้อ 11)ได้แก่ 1. ประธานในพิธีเปิด พิธีปิด แขกผู้มีเกียรติ ผู้ติดตาม 2. เจ้าหน้าที่ 3. วิทยากร 4. ผู้เข้ารับการฝึกอบรม 5. ผู้สังเกตการณ์
ให้หัวหน้าส่วนราชการใช้ดุลพินิจเบิกจ่ายค่าใช้จ่าย ได้เท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็น เหมาะสม ประหยัดเพื่อประโยชน์ของทางราชการ (ข้อ 15) เช่น - อาหารว่าง เครื่องดื่ม - เสื้อ - กระเป๋า , เป้ , แฟ้ม - ฯลฯ
ประเภทค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมประเภทค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม 1. ค่าใช้จ่ายในภาคผู้จัด ได้แก่ - ค่าอาหาร ที่พัก ค่ายานพาหนะ ค่าสมนาคุณวิทยากร และค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามข้อ 15 2. ค่าใช้จ่ายในภาคผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้แก่ - ค่าลงทะเบียน และค่าใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องเบิกจ่ายจากต้นสังกัด
ค่าสมนาคุณวิทยากร(ข้อ 16) หลักเกณฑ์การจ่าย • บรรยาย ไม่เกิน 1 คน • อภิปราย ไม่เกิน 5 คน แบ่งกลุ่ม - ฝึกภาคปฏิบัติ - อภิปราย - ทำกิจกรรม • วิทยากรเกินที่กำหนดให้เฉลี่ยจ่าย ไม่เกินกลุ่มละ 2 คน
การนับเวลาบรรยาย - ไม่น้อยกว่า 50 นาที = 1 ชม. - ไม่น้อยกว่า 25 นาที แต่ไม่ถึง 50 นาที = ครึ่งชม. ไม่ต้องหักเวลาพักรับประทานอาหารว่างออกจากเวลาบรรยาย
อัตราค่าสมนาคุณวิทยากรอัตราค่าสมนาคุณวิทยากร วิทยากรเป็นบุคลากรของรัฐ ประเภท ก ไม่เกินชั่วโมงละ 800 บาท ประเภท ข และบุคคลภายนอก ไม่เกินชั่วโมงละ 600 บาท วิทยากรมิใช่บุคลากรของรัฐ ประเภท ก ไม่เกินชั่วโมงละ 1,600 บาท ประเภท ข และบุคคลภายนอก ไม่เกินชั่วโมงละ 1,200 บาท วิทยากรสังกัดหน่วยงานเดียวกับผู้จัด ให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการผู้จัด ที่จะจ่ายค่าสมนาคุณวิทยากรไม่เกินอัตราที่กำหนด วิทยากรที่มีความรู้สูงจะจ่ายสูงกว่านี้ได้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ
ค่าอาหาร (บาท : วัน : คน)สถานที่ราชการ สถานที่เอกชน ครบทุกมื้อ ไม่ครบทุกมื้อ ครบทุกมื้อ ไม่ครบทุกมื้อ ประเภท ข และ บุคคลภายนอก ไม่เกิน 700 ไม่เกิน 500 ประเภท ก ไม่เกิน 1000 ไม่เกิน 700 ไม่เกิน 500 ไม่เกิน 300 ไม่เกิน 800 ไม่เกิน 600
กรณีที่พักในการฝึกอบรมกรณีที่พักในการฝึกอบรม ที่พักในการฝึกอบรมมี 3 ลักษณะ ดังนี้ 1. ผู้จัดการฝึกอบรม จัดที่พักให้ ตามระเบียบฝึกอบรม 2. ผู้จัดการฝึกอบรม ไม่จัดที่พักให้แต่ประสานที่พักให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ตามข้อ 11 วรรคสอง ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องเอาใบเสร็จของโรงแรมที่ผู้จัดประสานกลับไปเบิกจากต้นสังกัดได้ตามระเบียบฝึกอบรม โดยจะต้องพักที่โรงแรมซึ่งผู้จัดประสานให้เหมือนกับกรณีที่ผู้จัดการฝึกอบรมจัดที่พักให้ 3. ผู้จัดการฝึกอบรมไม่จัดที่พักให้ และไม่ประสานที่พัก ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเบิกได้ระเบียบพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ตามระเบียบข้อ 20
ค่าที่พัก (ข้อ 18) 1. การจัดที่พักให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม สำหรับการฝึกอบรมประเภท ข และการฝึกอบรมบุคคลภายนอก ให้พักรวมกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยให้พักห้องพักคู่ เว้นแต่เป็นกรณีที่ไม่เหมาะสมหรือมีเหตุจำเป็นไม่อาจพักรวมกับผู้อื่นได้ หัวหน้าส่วนราชการผู้จัดการฝึกอบรมอาจจัดให้พักห้องพักคนเดียวได้ 2. การจัดที่พักให้แก่ผู้สังเกตการณ์หรือเจ้าหน้าที่ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ระดับชำนาญงาน ระดับอาวุโส ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ และตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้น ให้พักรวมกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยให้พักห้องพักคู่ เว้นแต่เป็นกรณีที่ไม่เหมาะสมหรือมีเหตุจำเป็นไม่อาจพักรวมกับผู้อื่นได้ หัวหน้าส่วนราชการผู้จัดการฝึกอบรมอาจจัดให้พักห้องพักคนเดียวได้
ค่าที่พัก (ข้อ 18) ต่อ • ส่วนผู้สังเกตการณ์หรือเจ้าหน้าที่ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ ระดับทรงคุณวุฒิ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูง และตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น ระดับสูง หรือตำแหน่ง ที่เทียบเท่า
อัตราค่าเช่าที่พัก (บาท : วัน : คน) พักคนเดียวพักคู่ ไม่เกิน 2,000 ไม่เกิน 1,100 ประเภท ก ประเภท ข และ บุคคลภายนอก ไม่เกิน 1,200 ไม่เกิน 750
ค่าพาหนะ(ข้อ 19) 1. กรณีใช้ยานพาหนะของส่วนราชการผู้จัดการฝึกอบรม หรือกรณี ยืมยานพาหนะจากส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่น ให้เบิกค่าน้ำมันเชื้อเพลิงได้เท่าที่จ่ายจริง (2) กรณีใช้ยานพาหนะประจำทางหรือเช่าเหมายานพาหนะ ให้จัด ยานพาหนะ โดยอนุโลมตามสิทธิของข้าราชการตาม พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ โดยให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นและประหยัด ดังนี้
ค่าพาหนะ(ข้อ 19) ต่อ (ก) การฝึกอบรมข้าราชการประเภท ก ให้จัดยานพาหนะตามสิทธิของข้าราชการตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง เว้นแต่ กรณีเดินทางโดยเครื่องบินให้ใช้ชั้นธุรกิจ กรณีที่ไม่สามารถเดินทางโดยชั้นธุรกิจให้เดินทางโดยชั้นหนึ่ง (ข)การฝึกอบรมข้าราชการประเภท ข ให้จัดยานพาหนะตามสิทธิของข้าราชการตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน (ค) การฝึกอบรมบุคคลภายนอก ให้จัดยานพาหนะตามสิทธิของข้าราชการตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน
กรณีร้องขอความช่วยเหลือกรณีร้องขอความช่วยเหลือ ค่าใช้จ่ายในการจัดอบรมให้ส่วนราชการผู้จัดเป็นผู้เบิกจ่าย ถ้าจะเบิกจ่ายจากต้นสังกัดให้ส่วนราชการผู้จัดร้องขอ และต้นสังกัดตกลงยินยอม (ข้อ11 วรรคสอง)
ค่าใช้จ่ายของผู้เข้าอบรมค่าใช้จ่ายของผู้เข้าอบรม ค่าลงทะเบียน เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง (ข้อ 23) กรณีที่การฝึกอบรมในโครงการมีการดูงานที่ต่างประเทศด้วย และมีการเก็บค่าลงทะเบียน แบ่งเป็น - กรณีที่ค่าลงทะเบียนแยกค่าใช้จ่าย หรือเก็บแยกกัน ให้นำส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายในต่างประเทศขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณเป็นงบรายจ่ายอื่นที่สำนักงบประมาณก่อน - กรณีที่ค่าลงทะเบียนรวมกันทั้งค่าใช้จ่ายในการอบรมในประเทศและค่าใช้จ่ายดูงานที่ต่างประเทศ ให้ขอทำความตกลงเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณทั้งจำนวนต่อสำนักงบประมาณด้วย
ค่าใช้จ่ายของผู้เข้าอบรม (ต่อ) • กรณีผู้จัดไม่จัดอาหาร ที่พัก หรือยานพาหนะ ให้ส่วนราชการผู้จัด เบิกค่าใช้จ่ายส่วนที่ไม่ได้จัดให้ตาม พรฎ.เดินทางไปราชการ ให้แก่บุคคลตามข้อ 11 ยกว้นผู้เข้าอบรม ผู้สังเกตการณ์ ให้เบิกจากต้นสังกัด (ข้อ 20 วรรคแรก)
การคำนวณเบี้ยเลี้ยง ถ้าในการฝึกอบรมมีการจัดเลี้ยงอาหาร นับเวลาตั้งแต่ออกจากที่อยู่ ที่ทำงาน จนถึงที่อยู่ ที่ทำงาน แล้วคำนวณเบี้ยเลี้ยง 24 ชม. = 1 วัน เศษเกิน 12 ชม. = 1 วัน หักเบี้ยเลี้ยงที่คำนวณได้ในอัตรามื้อละ 1ใน 3 ของอัตราเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย (มื้อที่จัดอาหารให้แล้ว) (ข้อ 20 วรรคสองและ วรรคสาม)
ถ้าผู้จัดไม่จัดอาหาร / ที่พัก / ยานพาหนะ ต้องเบิก ค่าใช้จ่ายให้บุคคลภายนอกดังนี้ 1. ค่าเบี้ยเลี้ยง - ไม่จัด 3 มื้อ ไม่เกิน 120 บาท/คน/วัน - จัด 2 มื้อ ไม่เกิน 40 บาท/คน/วัน - จัด 1 มื้อ ไม่เกิน 80 บาท/คน/วัน 2. ค่าเช่าที่พัก ไม่เกิน 500 บาท/คน/วัน 3. ค่าพาหนะ เบิกเท่าที่จ่ายจริง หรือเหมาจ่าย ยกเว้น ห้ามเบิกค่าโดยสารเครื่องบิน (ข้อ 21)
การฝึกอบรมโดยได้รับความช่วยเหลือ(ข้อ 25) กรณีส่วนราชการผู้จัดการฝึกอบรมได้รับความช่วยเหลือค่าใช้จ่ายทั้งหมดจากหน่วยงานในประเทศหรือต่างประเทศ ให้งดเบิกจ่ายค่าใช้จ่าย ได้รับความช่วยเหลือเพียงบางส่วนให้เบิกจ่ายสมทบในส่วนที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์ของระเบียบ กรณีบุคลากรของรัฐได้รับอนุมัติให้เดินทางไปฝึกอบรม ที่ต่างประเทศ โดยได้รับความช่วยเหลือทั้งหมดให้งดเบิกจ่ายค่าใช้จ่าย ได้รับความช่วยเหลือเพียงบางส่วนให้เบิกค่าใช้จ่ายสมทบในส่วนที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือ โดยไม่เกินวงเงินที่ได้รับความช่วยเหลือภายใต้เงื่อนไข ดังนี้
1.) ได้รับความช่วยเหลือค่าโดยสารเครื่องบินไป-กลับ ให้งดเบิกจ่าย ได้รับความช่วยเหลือเพียงเที่ยวเดียว ให้เบิกจ่ายได้อีกเที่ยวในชั้นเดียวกัน แต่ไม่สูงกว่าสิทธิที่ได้รับ 2.) มีการจัดที่พักให้ ให้งดเบิกจ่ายค่าเช่าที่พัก ได้รับความช่วยเหลือต่ำกว่าสิทธิ ให้เบิกจ่ายค่าเช่าที่พักเฉพาะส่วนที่ขาด แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินสิทธิ 3.) ได้รับความช่วยเหลือค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางต่ำกว่าสิทธิ ให้เบิกจ่ายได้เฉพาะส่วนที่ขาด กรณีมีการจัดอาหารบางส่วน ให้เบิกเบี้ยเลี้ยงเหมือนอบรมในประเทศ 4.)ได้รับความช่วยเหลือค่าเครื่องแต่งตัวต่ำกว่าสิทธิ ให้เบิกจ่ายได้เฉพาะส่วนที่ขาด
จ้างจัดฝึกอบรม(ข้อ 26) - ดำเนินการตามระเบียบพัสดุ - ดำเนินการได้ตามหลักเกณฑ์และอัตราตามระเบียบ - ใช้ใบเสร็จรับเงินของผู้รับจ้างเป็นหลักฐานการเบิกจ่าย
การเทียบตำแหน่งของบุคคลที่มิได้เป็นบุคลากรของรัฐ(ข้อ 12) กรณีเป็นบุคคลตามข้อ 11(1) (2) (3) และ (5) 1.) หากบุคคลดังกล่าวเคยเป็นบุคลากรของรัฐให้เทียบตำแหน่งหรือชั้นยศ ก่อนออกจากราชการ 2.) บุคคลที่กระทรวงการคลังเทียบตำแหน่งไว้แล้ว 3.) วิทยากรในการฝึกอบรมระดับต้นและระดับกลาง ให้เทียบเท่าข้าราชการระดับ 8 ระดับสูงเทียบเท่าระดับ 10 4.) นอกจากนี้ให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของ งบประมาณเทียบตำแหน่งตามความเหมาะสม
การเทียบตำแหน่งของบุคคลที่มิได้เป็นบุคลากรของรัฐ(ข้อ 13) กรณีเป็นบุคคลตามข้อ 11 (4) 1.) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมระดับต้น ให้เทียบเท่า ข้าราชการตั้งแต่ระดับ 1 ถึงระดับ 2 2.) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมระดับกลาง ให้เทียบเท่า ข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 ถึงระดับ 8 3.)ผู้เข้ารับการฝึกอบรมระดับสูง ให้เทียบเท่า ข้าราชการตั้งแต่ระดับ 9 ขึ้นไป
ค่าพาหนะเดินทางไป-กลับระหว่างที่อยู่ ที่พัก ที่ทำงาน ไปยังที่ฝึกอบรมให้อยู่ในดุลพินิจของ หัวหน้าส่วนราชการผู้จัดและต้นสังกัด (ข้อ 14)
การจัดงาน (ข้อ 28-29) การจัดงานมีเงื่อนไข ดังนี้ 1. การจัดงานตามภารกิจปกติ 2. นโยบายของทางราชการ (ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรี) เช่น วันคล้าย วันสถาปนาส่วนราชการ งานแถลงข่าว งานนิทรรศการ จัดการประกวดและแข่งขัน กิจกรรมต่างๆ ให้หัวหน้าส่วนราชการอนุมัติตามความจำเป็น เหมาะสม ประหยัด จ้างจัดได้ ใช้ใบเสร็จรับเงินของผู้รับจ้างเป็นหลักฐาน การเบิกจ่าย
การประชุมระหว่างประเทศการประชุมระหว่างประเทศ บุคคลที่เบิกจ่ายค่าใช้จ่าย ได้แก่ 1.) ประธานในพิธีเปิด-ปิด แขกผู้มีเกียรติ ผู้ติดตาม 2.) เจ้าหน้าที่ 3.) เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานลักษณะพิเศษ 4.) วิทยากร 5.) ผู้เข้าร่วมประชุม * เบิกค่าใช้จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น เหมาะสม และประหยัด ยกเว้นรายการที่กำหนดไว้โดยเฉพาะ (ข้อ 30-31)
ค่าอาหาร ที่พัก พาหนะ(ข้อ 32) • ค่าอาหารและเครื่องดื่ม ครบทุกมื้อ ไม่เกินคนละ 1,200 บาท / วัน ไม่ครบทุกมื้อ ไม่เกินคนละ 800 บาท / วัน • ค่าเช่าที่พัก ไม่เกินคนละ 2,000 บาท / วัน • ค่าพาหนะ เท่าที่จ่ายจริง(อยู่ในดุลพินิจ) • ผู้เข้าร่วมประชุมระดับรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภาขึ้นไป เบิกได้เท่าที่ จ่ายจริง (อยู่ในดุลพินิจ)
ค่าสมนาคุณวิทยากร เงินรางวัล ค่าตอบแทน ค่าสมนาคุณวิทยากร ให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าส่วนราชการผู้จัดการฝึกอบรม เงินรางวัล เจ้าหน้าที่ได้รับเฉพาะวันที่ปฏิบัติงาน คนละไม่เกิน 200 บาท ต่อวัน ค่าตอบแทน เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานลักษณะพิเศษ ได้เฉพาะวันที่ปฏิบัติงาน ตามอัตราที่ส่วนราชการเจ้าของงบประมาณกำหนด
ค่าลงทะเบียน(ข้อ 36-37) เบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริงในอัตราที่ผู้จัดเรียกเก็บ ค่าลงทะเบียน รวมค่าอาหาร ค่าเช่าที่พัก หรือค่าพาหนะทั้งหมด ผู้เข้าร่วมประชุมงดเบิกจ่ายค่าใช้จ่าย ค่าลงทะเบียนไม่รวมค่าอาหาร ค่าเช่าที่พักหรือ ค่าพาหนะหรือรวมไว้เพียงบางส่วน ให้ผู้เข้าร่วมประชุมเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมด หรือเฉพาะส่วนที่ขาด จากส่วนราชการต้นสังกัด ตามข้อ 32
กรณีส่วนราชการผู้จัดการประชุมระหว่างประเทศได้รับความช่วยเหลือ ค่าใช้จ่ายจากส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่น ให้เบิกจ่ายค่าใช้จ่ายสมทบเฉพาะส่วนที่ขาดตามระเบียบนี้ • จ้างจัดได้ ใช้ใบเสร็จรับเงินของผู้รับจ้างเป็นหลักฐาน การเบิกจ่าย
กรมบัญชีกลาง กลุ่มงานกฎหมายและระเบียบ ด้านค่าใช้จ่ายในการบริหาร ( โทร. 02-2739573 , 02-2739024 ต่อ 4442 )