1.01k likes | 4.4k Views
เรื่อง ดนตรีไทย. จัดทำโดย นางสาว ธาวินี ทิพย์จร เลขที่ 31 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4/1. สารบัญ. เครื่องดนตรีไทยคือ การผสมวง ลำดับเสียง เพลงดนตรีไทย การบรรเลงดนตรีไทยประกอบงาน เครื่องดนตรีไทย อ้างอิง.
E N D
เรื่อง ดนตรีไทย จัดทำโดย นางสาวธาวินี ทิพย์จร เลขที่ 31 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4/1
สารบัญ • เครื่องดนตรีไทยคือ • การผสมวง • ลำดับเสียง • เพลงดนตรีไทย • การบรรเลงดนตรีไทยประกอบงาน • เครื่องดนตรีไทย • อ้างอิง
เครื่องดนตรีไทยคือ สิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับทำเสียงให้เป็นทำนอง หรือจังหวะ วิธีที่ทำให้มีเสียงดังขึ้นนั้นมีอยู่ 4 วิธี คือ • ใช้มือหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งดีดที่สาย แล้วเกิดเสียงดังขึ้น สิ่งที่มีสายสำหรับดีด เรียกว่า "เครื่องดีด" • ใช้เส้นหางม้าหลายๆ เส้นรวมกันสีไปมาที่สาย แล้วเกิดเสียงดังขึ้น สิ่งที่มีสายแล้วใช้เส้นหางม้าสีให้เกิด เสียงเรียกว่า "เครื่องสี"
ใช้มือ หรือไม้ ตีที่สิ่งนั้น แล้วเกิดเสียงดังขึ้น สิ่งที่ใช้ไม้ หรือมือตี เรียกว่า "เครื่องตี" เครื่องตี เครื่องเป่า • ใช้ปากเป่าลมเข้าไปในสิ่งนั้น แล้วเกิดเสียงดังขึ้น สิ่งที่เป่าลมเข้าไปแล้วเกิดเสียงเรียกว่า "เครื่องป่า"
การผสมวง • ผสมวง คือการเอาเครื่องดนตรีหลายๆ อย่างมาบรรเลงรวมกัน แต่การที่จะนำเอาเครื่องดนตรีคนละอย่างมาบรรเลงพร้อมๆ กันนี้ จะต้องพิจารณาเลือกแต่สิ่งที่มีเสียงกลมกลืนกัน และไม่ดังกลบเสียงกัน สมัยโบราณนั้นเครื่องดีดก็จะผสมแต่กับเครื่องสี เพราะมีเสียงที่ค่อนข้างเบาด้วยกัน และเครื่องตีก็จะผสมแต่เฉพาะกับเครื่องเป่าเท่านั้น เพราะมีเสียงค่อนข้างดังมากด้วยกัน ภายหลังเมื่อรู้จักวิธีสร้าง หรือแก้ไขเครื่องตี และเครื่องเป่า ให้ลดความดังลงได้พอเสมอกับเครื่องดีดเครื่องสี จึงได้นำเครื่องตี และเครื่องเป่าเหล่านั้นบางอย่างเข้าผสมเฉพาะแต่ที่ต้องการ และจำเป็น และเลือกดูว่า เครื่องดนตรีอย่างไหนทำเสียงสูงๆ ต่ำๆ ได้หลายเสียง ก็ให้บรรเลงเป็นทำนอง อย่างไหนทำเสียงสูงต่ำหลายๆ เสียงไม่ได้ก็ให้เป็นพวกบรรเลงประกอบจังหวะ วงดนตรีไทยที่ผสมเป็นวงและถือเป็นแบบแผน มีอยู่ 3 อย่างคือ วงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย และวงมโหรี นอกจาก นี้ถือว่าเป็นวงพิเศษ
"วงปี่พาทย์" ผสมด้วยเครื่องตีและเป่า มีอยู่ 3 ขนาด คือวงปี่พาทย์เครื่องห้า วงปี่พาทย์เครื่องคู่ และวงปี่พาทย์ เครื่องใหญ่ • "วงเครื่องสาย" เป็นวงดนตรีที่มีเครื่องดีด และเครื่องสีเป็นหลัก มีเครื่องเป่า และเครื่องตีที่ได้เลือกว่ามี เสียงเหมาะสมกันผสม ดังนี้ เครื่องสายวงเล็ก และเครื่องสายเครื่องคู่
"มโหรี" เป็นวงดนตรีผสม ตั้งแต่มีไม่กี่สิ่ง จนกลายเป็นวงเครื่องสายผสมกับวงปี่พาทย์ ดังนี้ วงมโหรีโบราณ มโหรีวงเล็ก วงมโหรีเครื่องคู่ วงมโหรีเครื่องใหญ่
ลำดับเสียง • เสียงของเครื่องดนตรี ที่จะบรรเลงเป็นทำนองนั้น จะต้องมีเสียงสูงต่ำเรียงลำดับกันหลายๆ เสียง โดยปกติก็มีอยู่ ๗ เสียง เมื่อถึงเสียงที่ ๘ ก็ถือว่าเป็นเสียงซ้ำกับเสียงที่ ๑ (เรียกว่า คู่ ๘) และซ้ำต่อๆ ไปตามลำดับ แต่ระยะความห่างจากเสียงหนึ่งไปอีกเสียงหนึ่งนั้น ดนตรีของแต่ละชาติ มักจะนิยมแบ่งระยะไม่เหมือนกัน
เพลงดนตรีไทย • เพลงดนตรีของไทยนั้น มีทำนองต่างๆ เพลงบางชนิดก็มีทำนองพื้นๆ เรียบๆ ไม่มีพลิกแพลงอย่างใด เรียกว่า "เพลงพื้น" บางชนิดก็เดินทำนองเป็นเสียงยาวๆ เพลงชนิดนี้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีก็จะต้องตีกรอทำให้เสียงยาวจึงเรียกว่า "เพลงกรอ" และเพลงบางชนิดก็มีทำนองพลิกแพลงโลดโผน มีแบ่งเครื่องดนตรีเป็นพวก ผลัดกันหยุด ผลัดกันบรรเลง ก็เรียกว่า "เพลงลูกล้อลูกขัด" ถ้าจะแบ่งตามลักษณะของเพลง ก็จะแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ • "เพลงหน้าพาทย์" ได้แก่ เพลงที่บรรเลงประกอบกิริยาเคลื่อนไหว หรือเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งของมนุษย์ ของสัตว์ ของวัตถุต่างๆ และอื่นๆ เช่น เดิน นอน วิ่ง กลายร่าง เกิดขึ้น สูญไป เป็นต้น ไม่ว่ากิริยานั้น จะแลเห็นตัวตน เช่น การแสดง โขน ละคร หรือกิริยาสมมุติและไม่เห็นตัว เช่น การเชิญเทวดาให้เสด็จมา ถ้าเป็นการบรรเลงประกอบกิริยานั้นๆ แล้ว ก็เรียกว่า หน้าพาทย์ทั้งสิ้น
"เพลงรับร้อง" บางทีก็เรียกว่า เพลงเสภา เพราะเพลงประเภทนี้ใช้บรรเลงประกอบการขับเสภามาก่อน มีทั้งเพลงพื้น เพลงกรอ และเพลงลูกล้อลูกขัด ที่เรียกว่า เพลงรับร้อง ก็ด้วยบรรเลงรับจากการร้อง คือ เมื่อคนร้องได้ร้องจบไปแล้วแต่ละท่อน ดนตรีก็ต้องบรรเลงรับในท่อนนั้นๆ โดยมากมักเป็นเพลงอัตรา 3 ชั้น และเพลงเถา เช่น เพลงจระเข้หางยาว 3 ชั้น เพลงสี่บท 3 ชั้น และเพลงบุหลันเถา เป็นต้น • "เพลงละคร" หมายถึงเพลงที่บรรเลงประกอบการแสดงโขน ละคร และมหรสพต่างๆ ความจริงการแสดงโขนละครนี้ ก็จะต้องมีเพลงหน้าพาทย์ด้วย แต่เพลงหน้าพาทย์ได้แยกไปอธิบายอยู่ส่วนหนึ่งแล้ว เพลงละครในที่นี้จึงหมายเฉพาะเพลงที่มีร้อง และดนตรีรับเท่านั้น เพลงละครได้แก่เพลงอัตรา 2 ชั้น เช่น เพลงเวสสุกรรม เพลงพญาโศก หรือชั้นเดียว เช่น เพลงนาคราช เพลงตะลุ่มโปง เป็นต้น กับเพลงจำพวกพิเศษที่ใช้เฉพาะละครแท้ๆ เช่น เพลงช้าปี่ เพลงโอ้ปี่ เพลงโอ้ชาตรี เพลงโอ้โลม เพลงชมตลาดเป็นต้น • "เพลงเบ็ดเตล็ด" ได้แก่ เพลงเล็กๆ สั้นๆ สำหรับใช้บรรเลงเป็นพิเศษ เช่น บรรเลงต่อท้ายเพลงใหญ่เป็นเพลงลูกบท หรือเพลงภาษาต่างๆ ซึ่งบรรเลงเพื่อสนุกสนาน
การบรรเลงดนตรีไทยนั้นผู้บรรเลงต้องจำทำนองเนื้อเพลงได้อย่างแม่นยำอย่างหนึ่ง รู้วิธีบรรเลง และหน้าที่ของเครื่องดนตรีที่ตนบรรเลง และมีสติปัญญาแต่งทำนองให้เกิดความไพเราะอีกอย่างหนึ่ง เพราะการบรรเลงดนตรีไทยไม่ได้ดูโน๊ต จึงต้องใช้ความจำ ในขณะที่บรรเลง ผู้บรรเลงจะต้องแต่งทำนองด้วยปัญญาของตน
การฟังเพลงไทย • การฟังเพลงสิ่งสำคัญก็อยู่ที่ทำนอง เครื่องดนตรีที่บรรเลงทุกๆ อย่างย่อมมีทำนองของตัวจะต้องฟังดูว่าเครื่อง ดนตรีทุกๆ อย่างนั้น ดำเนินทำนองสอดคล้องกลมเกลียวกันดีหรือไม่ และต่างทำถูกตามหน้าที่ หรือไม่ เช่น ซออู้ทำหน้าที่ หยอกล้อยั่วเย้าหรือเปล่า หรือฆ้องวงเล็ก ตีสอดแทรกทางเสียงสูงดีหรือไม่ เป็นต้น เมื่อสังเกตการบรรเลงอย่างนั้นแล้ว จึงทำอารมณ์ให้เป็นไปตามอารมณ์ของเพลง เพราะทำนองเพลงย่อมแสดงอารมณ์โศก รัก รื่นเริง หรือขับกล่อมให้เพลิดเพลิน เพลงอารมณ์โศก และรัก มักจะมีจังหวะช้าๆ และเสียงยาว เพลงรื่นเริง มักจะมีจังหวะค่อนข้างเร็ว และเสียงสั้น ส่วนเพลงขับกล่อม ก็มักจะเป็นพื้นๆ เรียบๆ สม่ำเสมอ ทั้งนี้จะต้องสังเกตด้วยเสียงของทำนองที่มาสู่อารมณ์เราด้วย ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า เมื่อฟังเพลงในอารมณ์ใด ก็ตั้งใจฟังไปในอารมณ์นั้น ก็จะได้รสไพเราะจากการฟังได้อย่างแท้จริง
การบรรเลงดนตรีไทยประกอบงาน การที่จะมีดนตรีบรรเลงประกอบในงาน ที่จะจัดให้มีขึ้นนั้น ก็ควรจะยึดถือแบบแผนที่สมัยโบราณได้เคยใช้กันมาจนเป็นประเพณีไปแล้ว คือ • งานที่มีพระสงฆ์สวดมนต์ และฉันอาหาร เช่น งานขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญวันเกิด หรืองานที่ต้องการให้ผู้อื่นร่วมอนุโมทนา เช่น งานบวชพระ งานทอดกฐิน ทอดผ้าป่า เป็นต้น ควรใช้วงปี่พาทย์ จะเป็นวงปี่พาทย์เครื่องห้า เครื่องคู่ หรือเครื่องใหญ่ ก็แล้วแต่เห็นสมควร • งานแต่งงาน หรือที่เรียกกันว่างานมงคลสมรส ควรใช้วงมโหรี หรือวงเครื่องสาย • งานศพ ถ้าจะใช้ดนตรีไทย ควรใช้วงปี่พาทย์นางหงส์ แต่สมัยปัจจุบันนี้ มักจะใช้วงปี่พาทย์มอญ (วงปี่พาทย์ของมอญมีฆ้องเป็นวงโค้งขึ้น) กันโดยมาก • งานพิเศษที่จัดขึ้นเฉพาะครั้งคราว เช่น รับแขกผู้มีเกียรติ ชุมนุมเพื่อกิจการ หรือสมาคม อาจใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม หรือมโหรี หรือเครื่องสาย ก็ได้ทั้งนั้น แล้วแต่เจ้าของงานจะพอใจ แต่ถ้าเป็นการบรรเลงประกอบการแสดง เช่น โขน ละคร ระบำ ก็จะต้องใช้วงปี่พาทย์
เครื่องดนตรีไทย • เครื่องดีด ซึง กระจับปี่ • เครื่องสี ซออู้ ซอด้วง
เครื่องตี ระนาดเอก ฆ้องวงเล็ก • เครื่องเป่า ขลุ่ยเพียงออ ปี่ชวา
อ้างอิง • http://kanchanapisek.or.th/kp6/New/index.php • http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2 • http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2 • http://www.patakorn.com/ • http://www2.udru.ac.th/~musicnote/dontreethai.htm