1 / 57

วิชา งานเครื่องมือกลเบื้องต้น ผู้สอน อาจารย์ไพโรจน์ แสงศรีมณีวงศ์

วิชา งานเครื่องมือกลเบื้องต้น ผู้สอน อาจารย์ไพโรจน์ แสงศรีมณีวงศ์. หลักการทำงานของเครื่องเลื่อยชัก.

Download Presentation

วิชา งานเครื่องมือกลเบื้องต้น ผู้สอน อาจารย์ไพโรจน์ แสงศรีมณีวงศ์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิชา งานเครื่องมือกลเบื้องต้น ผู้สอน อาจารย์ไพโรจน์ แสงศรีมณีวงศ์

  2. หลักการทำงานของเครื่องเลื่อยชักหลักการทำงานของเครื่องเลื่อยชัก กลไกการทำงานของเครื่องเลื่อยชัก เป็นกลไกส่งกำลังด้วยมอเตอร์ ส่งกำลังผ่านเฟืองขับ ซึ่งเป็นเฟืองทด เพื่อทดความเร็วรอบมอเตอร์ และเพื่อทดแรงขับของมอเตอร์ ที่ข้างเฟืองขับ มีจุดหมุนก้านต่ออยู่คนละศูนย์กับศูนย์กลางเฟือง เพื่อต่อก้านต่อไปขับโครงเลื่อย ให้ชักโครงเลื่อยเดินหน้าและถอยหลังได้ กลไกการทำงาน

  3. หลักการทำงานของเครื่องเลื่อยชักหลักการทำงานของเครื่องเลื่อยชัก น้ำหนักกดโครงเลื่อย สำหรับน้ำหนักกดโครงเลื่อย ยิ่งเลื่อนห่างออกจากหัวเครื่องมากเท่าใด จะกดให้ใบเลื่อยตัดเฉือนมากเท่านั้น ดังนั้น การเลื่อนปรับระยะน้ำหนักกด ให้สังเกตการตัดเฉือนของฟังเลื่อยด้วย น้ำหนักกดใกล้หัวเครื่อง = น้ำหนักกดโครงเลื่อยน้อย น้ำหนักกดห่างหัวเครื่อง = น้ำหนักกดโครงเลื่อยมาก น้ำหนักกดโครงเลื่อย

  4. หลักการทำงานของเครื่องเลื่อยชักหลักการทำงานของเครื่องเลื่อยชัก ใบเลื่อยเครื่อง (Saw Blade) ใบเลื่อยเป็นอุปกรณ์ของเครื่องเลื่อยที่มีความสำคัญมาก ทำหน้าที่ตัดเฉือนชิ้นงาน ใบเลื่อยเครื่องทำจากเหล็กรอบสูง มีความเข็งแต่เปราะ ดังนั้นการประกอบใบเลื่อยเข้ากับโครงเลื่อย จะต้องประกอบให้ถูกวิธีและขันสกรูให้ใบเลื่อยตึงพอประมาณ เพื่อป้องกันไม่ให้ใบเลื่อยหัก ส่วนต่าง ๆ ของใบเลื่อยประกอบด้วยความกว้าง ความยาว ความหนา ความโตของรูใบเลื่อย และจำนวนฟันใบเลื่อย ซึ่งมีทั้งฟันหยาบและฟันละเอียด จำนวนฟันใยเลื่อยบอกเป็นจำนวนฟันต่อนิ้ว เช่น 10 ฟันต่อนิ้ว 14 ฟันต่อนิ้ว แต่ที่นิยมใช้งานทั่ว ๆ ไป คือ 10 ฟันต่อนิ้ว

  5. หลักการทำงานของเครื่องเลื่อยชักหลักการทำงานของเครื่องเลื่อยชัก คลองเลื่อย (Free Cutting Action) คลองเลื่อย คือ ความกว้างของร่องบนวัสดุงาน หลังจากที่มีการตัดเฉือน ปกติคลองเลื่อยจะมีขนาดความหนามากกว่าใบเลื่อย ทั้งนี้ ถ้าไม่มีคลองเลื่อย ขณะทำการเลื่อยใบเลื่อยก็จะติด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ใบเลื่อยหัก

  6. หลักการทำงานของเครื่องเลื่อยชักหลักการทำงานของเครื่องเลื่อยชัก ทิศทางการตัดเฉือน การทำงานของคมเลื่อยประกอบด้วยทิศทางที่สำคัญ 2 ทิศ ได้แก่ ทิศทางการกดลงและทิศทางการดันไป ดูตามลูกศร ทิศทางทั้ง 2 เป็นตัวทำให้เกิดการตัดเฉือนขึ้น แรงที่กระทำการกดและการดันจะต้องสัมพันธ์กัน ถ้าแรงใดมากเกินไปหรือฝืนอาจจะทำให้ใบเลื่อยหักได้

  7. หลักการทำงานของเครื่องเลื่อยชักหลักการทำงานของเครื่องเลื่อยชัก การประกอบใบเลื่อยเข้าโครงเลื่อย การประกอบใบเลื่อยเข้ากับโครงเลื่อยต้องระวังทิศทางของฟันเลื่อย จะต้องใส่ให้ถูกทิศทางเนื่องจากจังหวะถอยกลับของโครงเลื่อย จะเป็นจังหวะที่ทำการตัดเฉือน เพื่อตัดเฉือนชิ้นงานการประกอบใบเลื่อยต้องผ่อนตัวดึงใบเลื่อยให้ยื่นออกแล้วใส่ใบเลื่อยเข้าไปให้รูของใบเลื่อยตรงกับสลักร้อยทั้ง 2 ข้าง ของโครงเลื่อย จากนั้นปรับตัวดึงใบเลื่อยให้พอตึง ๆ แล้วปรับขยับใบเลื่อยให้ตั้งฉากโดยการใช้ค้อนเคาะเบา ๆ ให้ใบเลื่อยแนบสนิทกับตัวดึงใบเลื่อย จึงขันให้ตึงอีกครั้งด้วยแรงมือ

  8. หลักการทำงานของเครื่องเลื่อยชักหลักการทำงานของเครื่องเลื่อยชัก ฟันเลื่อยตัดเฉือนหน้าชิ้นงาน การประกอบใบเลื่อย

  9. หลักการทำงานของเครื่องเลื่อยชักหลักการทำงานของเครื่องเลื่อยชัก การจับยึดชิ้นงานสำหรับงานเลื่อย การจับงานที่ผิดวิธีในกรณีชิ้นงานสั้น ปากของปากกาไม่สามารถจะจับชิ้นงานให้แน่นได้ แรงกดของเกลียวจะดันชิ้นงานหลุด ถ้าฝืนเลื่อยใบเลื่อยจะหัก การจับงานที่ถูกวิธี ปากของปากกาจะต้องกดขนานกันทั้ง 2 ปาก การจับชิ้นงานสั้น ใช้เหล็กหนุนช่วยในการจับ ดันปากของปากกาให้ขนานกดชิ้นงานแน่นเมื่อขันเกลียวทำให้ชิ้นงานไม่หลุด การจับชิ้นงานสั้นผิดวิธีการจับชิ้นงานสั้นถูกวิธี

  10. หลักการทำงานของเครื่องเลื่อยชักหลักการทำงานของเครื่องเลื่อยชัก การจับยึดชิ้นงานในลักษณะต่าง ๆ

  11. หลักการทำงานของเครื่องเลื่อยชักหลักการทำงานของเครื่องเลื่อยชัก การวัดตัดชิ้นงาน การเลื่อยชิ้นงานขนาดเดียวกันจำนวนมาก ๆ ถ้าตั้งวัดงานทุกครั้งที่ทำการตัด จะใช้เวลามากและขนาดของชิ้นงานจะไม่เท่ากัน มีโอกาสคลาดเคลื่อนได้ วิธีการแก้ไขในการตัดชิ้นงานขนาดเดียวกันจำนวนมาก ๆ โดยการตั้งวัดระยะงานชิ้นแรก แล้วใช้แขนตั้งระยะช่วยในการเลื่อยชิ้นงานชิ้นต่อไป การวัดตัดชิ้นงาน

  12. หลักการทำงานของเครื่องเลื่อยชักหลักการทำงานของเครื่องเลื่อยชัก การใช้แขนตั้งระยะ แขนตั้งระยะ ช่วยในการวัดชิ้นงานที่ต้องการตัดจำนวนมาก ๆ ให้ได้ขนาดเดียวกันทุกชิ้นแขนตั้งระยะสามารถปรับระยะได้ โดยการขันสกรูยึดให้แน่น และมือหมุนขันแน่น เมื่อปรับได้ที่แล้วต้องขันแน่นทั้ง 2 จุด เพราะเมื่อดันชิ้นงานเข้ามาตัดใหม่จะเกิดการกระแทก อาจทำให้ขนาดเปลี่ยนแปลงไปได้ ข้อควรจำไม่ดันชิ้นงานกระแทกเขนตั้งระยะแรงจนเกินไป จะทำให้ขนาดความยาวชิ้นงานที่ตัดมีขนาดความยาวเคลื่อนไปจากที่ตั้งระยะไว้

  13. เครื่องเลื่อยสายพานแนวนอน (Horizontal Band Saw) เป็นเครื่องเลื่อยที่มีใบเลื่อยยาวติดต่อกันเป็นวงกลม การเคลื่อนที่ของใบเลื่อย มีลักษณะการส่งกำลังด้วยสายพาน คือมีล้อขับและล้อตาม ทำให้คมตัดของใบเลื่อยสามารถเลื่อยตัดงานได้ตลอด เนื่องตลอดทั้งใบ การป้อนตัดงานใช้ระบบไฮดรอลิกควบคุมความตึงของใบเลื่อย ปรับด้วยมือหมุน หรือใช้ไฮดรอลิก ปรับระยะห่างของล้อ มีโครงสร้างแข็งแรง ตัวเครื่องสามารถติดตั้งได้กับพื้นโรงงาน

  14. เครื่องเลื่อยสายพานแนวตั้ง (Vertical Band Saw) เครื่องเลื่อยสายพานแนวตั้ง เป็นเครื่องเลื่อยที่มีใบเลื่อยเป็นแบบสายพานในแนวตั้ง ซึ่งจะหมุนตัดชิ้นงานอย่างต่อเนื่อง ใช้ตัดงานเบาได้ทุกลักษณะ เช่น ตัดเหล็กแบน หรือเหล็กบางให้ขาด หรือตัดเป็นรูปทรงต่าง ๆ ซึ่งเครื่องเลื่อยชนิดอื่น ๆ ไม่สามารถทำได้ ชิ้นงานจากการเลื่อยด้วย เครื่องเลื่อยสายพานแนวตั้ง

  15. ความแตกต่างระหว่างเครื่องเลื่อยสายพานกับเครื่องเลื่อยชักความแตกต่างระหว่างเครื่องเลื่อยสายพานกับเครื่องเลื่อยชัก เครื่องเลื่อยสายพานแตกต่างจากเครื่องเลื่อยชัก ที่สามารถตัดชิ้นงานเป็นแบบต่อเนื่อง ในขณะที่เครื่องเลื่อยชักทำหน้าที่ตัดงานเฉพาะช่วงชักตัดเท่านั้น และยังใช้ประโยชน์ของใบเลื่อยในช่วงจำกัดอีกด้วย คือ จะใช้ประโยชน์เฉพาะส่วนกลางของใบเลื่อยเท่านั้นใบเลื่อยสายพานจะมีความหนาน้อยกว่าใบเลื่อยชนิดอื่น ๆ จึงทำให้มีการสูญเสียวัสดุน้อยกว่าเลื่อยสายพานแนวตั้ง ให้ลักษณะเด่นในการทำงานหลายประการ คล้ายกับงานฉลุด้วยมือ ซึ่งจะไม่พบในเครื่องเลื่อยโลหะชนิดอื่น ๆ เช่น งานตัดชิ้นงานเป็นรูปทรงเรขาคณิต ลักษณะการขับใบเลื่อย

  16. การหล่อเย็นชิ้นงานขณะตัดเฉือนโลหะการหล่อเย็นชิ้นงานขณะตัดเฉือนโลหะ หน้าที่ของน้ำมันหล่อเย็น 1. ระบายความร้อน น้ำมันตัดกลึงโลหะมีหน้าที่ระบายความร้อนออกจากบริเวณใบมีดและชิ้นงานเพื่อไม่ให้ใบมีดสูญเสียความแข็งหรืออ่อนตัว อันเนื่องมาจากความร้อน ป้องกันไม่ให้เกิดการหลอมติดของเศษโลหะที่ปลายใบมีด (BUE) ทำให้สามารถทำงานตัดกลึงได้เร็วชิ้นงานได้ขนาดและคุณภาพผิดตามต้องการ

  17. การหล่อเย็นชิ้นงานขณะตัดเฉือนโลหะการหล่อเย็นชิ้นงานขณะตัดเฉือนโลหะ หน้าที่ของน้ำมันหล่อเย็น 2. หล่อลื่นลดแรงเสียดทาน น้ำมันตัดกลึงโลหะทำหน้าที่หล่อลื่นลดแรงเสียทานระหว่าง ระหว่างชิ้นงานกับใบมีด รวมทั้งเศษโลหะที่เคลื่อนที่ผ่านหน้าใบมีด การตัดกลึงใช้กำลังน้อยลง ลดการสึกหรอของใบมีดช่วยป้องกันการเกิดปัญหา BUE

  18. การหล่อเย็นชิ้นงานขณะตัดเฉือนโลหะการหล่อเย็นชิ้นงานขณะตัดเฉือนโลหะ หน้าที่ของน้ำมันหล่อเย็น 3. ซะล้างและพาเศษโลหะ น้ำมันตัดกลึงโลหะทำหน้าที่ในการชะล้างและพาเศษโลหะที่เกิดจากการตัดเฉือนออกไปจากบริเวณตัดเฉือน และชิ้นงาน 4. ป้องกันสนิม น้ำมันตัดกลึงโลหะทำหน้าที่ป้องกันสนิม ให้แก่ชิ้นงานที่ถูกตัดเฉือนใหม่ ซึ่งผิวโลหะส่วนนี้มักไวต่อการเกิดสนิมมากและยังทำหน้าที่ป้องกันสนิม ให้แก่เครื่องจักรและรางแท่น (Slideways) ด้วย

  19. การบำรุงรักษาเครื่องเลื่อยชักการบำรุงรักษาเครื่องเลื่อยชัก เครื่องเลื่อยชักเป็นเครื่องจักรกลพื้นฐานที่มีความจำเป็นมาก ดังนั้นเพื่อยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานจำเป็นจะต้องมีการบำรุงรักษาเครื่องดังต่อไปนี้ 1. ก่อนใช้เครื่องเลื่อยชักทุกครั้งควรหยอดน้ำมันหล่อลื่นตรงบริเวณจุดที่เคลื่อนที่ 2. หลังเลิกใช้งานทุกครั้งควรทำความสะอาด และใช้ผ้าคลุมเครื่องป้องกันฝุ่นละออง 3. ควรเปลี่ยนน้ำหล่อเย็นทุก ๆ สัปดาห์ 4. ตรวจสอบกระบอกสูบน้ำมันไฮดรอลิกส์ว่ารั่วซึมหรือไม่ 5. ตรวจสอบ สายพาน มู่เล่ เฟืองทด ปั๊มน้ำหล่อเย็นเพื่อให้ใช้งานได้ตลอด

  20. ความปลอดภัยในการใช้เครื่องเลื่อยชักความปลอดภัยในการใช้เครื่องเลื่อยชัก เครื่องจักรทุกชนิดมีประโยชน์แต่ก็มีโทษมากเช่นกัน ดังนั้นก่อนใช้งานทุกครั้งต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเสมอ การใช้เครื่องเลื่อยชักก็เช่นกันสามารถเกิดอันตรายได้ เพื่อความปลอดภัยจึงต้องรู้วิธีใช้ดังนี้ 1. ก่อนใช้เครื่องเลื่อยชักทุกครั้งต้องตรวจสอบความพร้อมของเครื่องเสมอ 2. บีบปากกาจับชิ้นงานให้แน่นก่อนเปิดสวิตซ์เครื่องทำงาน

  21. ความปลอดภัยในการใช้เครื่องเลื่อยชักความปลอดภัยในการใช้เครื่องเลื่อยชัก 3. ห้ามตัดชิ้นงานที่มีความยาวน้อยกว่าปากของปากกาจับงาน เพราะจะทำให้ใบเลื่อยหัก 4. เมื่อต้องการตัดชิ้นงานยาว ๆ ควรมีฐานรองรับงานมารองรับปลายชิ้นงานทุกครั้ง 5. ก่อนเปิดสวิทซ์เดินเครื่องเลื่อยชักต้องยกใบเลื่อยให้ห่างจากชิ้นงานประมาณ 10 มิลลิเมตร 6. การป้อนตัดด้วยระบบไฮดรอลิคมากเกินไปจะทำให้ใบเลื่อยหัก

  22. ความปลอดภัยในการใช้เครื่องเลื่อยชักความปลอดภัยในการใช้เครื่องเลื่อยชัก 7. เหล็กหล่อ ทองเหลือง ทองแดง และอะลูมิเนียมควรหล่อเย็นให้ถูกประเภท 8. ไม่ควรก้มหน้าเข้าใกล้โครงเลื่อยชักขณะจะเปิดสวิตซ์เดินเครื่องเลื่อยทำงาน 9. ขณะเครื่องเลื่อยชักกำลังตัดชิ้นงานห้ามหมุนถอยปากกาจับงานออกเป็นอันขาด 10. เพื่อความปลอดภัยให้คิดก่อนทำเสมอ

  23. หลักการทำงานของเครื่องเจียระไนหลักการทำงานของเครื่องเจียระไน การลับเครื่องมือตัด เนื่องจากเครื่องมือตัดมีมากมายหลายประเภท เช่น มีดกลึง มีดไส ดอกสว่าน แต่ละประเภทยังมีรูปทรงและลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันอีก เช่น มีดกลึงปาดหน้า มีดกลึงบอกมีดกลึงเกลียว และมีดกลึงขึ้นรูปต่าง ๆ ดังนั้น วิธีการลับจึงต้องตามรูปแบบของเครื่องมือตัดแต่ละชนิดตามที่ต้องการ ซึ่งในที่นี้จะบอกล่าวเฉพาะที่สำคัญ ๆ ดังนี้

  24. มีดกลึง (Cutting Tool)เป็นเครื่องมือแปรรูปชิ้นงาน เพื่อให้ชิ้นงานมีรูปร่างและขนาดได้พิกัดตามแบบสั่งงาน วัสดุทำมีดกลึงสำหรับใช้ในงานกลึงปัจจุบันมี 2 ชนิด คือ มีดกลึงทำจากเหล็กกล้ารอบสูง (HSS) ซึ่งเป็นมีดกลึงที่นิยมใช้งานโดยทั่วไป และมีดกลึงที่ทำจากคาร์ไบด์ (Carbide) ซึ่งเป็นโลหะที่มีความแข็งสูงมาก เหมาะสำหรับการกลึงขึ้นรูปชิ้นงานที่เป็นโลหะแข็ง แข็งมาก หรืองานกลึงผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เช่น เหล็กหล่อ เหล็กกล้าผสม มีดกลึงมีคมตัดเป็นมุมต่าง ๆ ที่เหมาะสำหรับการนำไปใช้กับชิ้นงานที่เป็นวัดสุดที่สอดคล้องกัน เมื่อคมมีดกลึงทื่อแล้ว ต้องเจียระไนให้คม และได้มุมที่ต้องการสำหรับการใช้งานต่อไป

  25. วัสดุมีดกลึงช่างโลหะ วัสดุที่ใช้ทำมีดกลึงงานโลหะ • เหล็กไฮสปีด (High Speed Steel = HSS) เป็นเหล็กกล้าผสมสามารถรักษาคมไว้ได้จนอุณหภูมิสูงถึง 6500 ซ. เหล็กไฮสปีดมีส่วนประกอบต่าง ๆ กัน แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักคือ • - เหล็กไฮสปีดชนิด 18-4-1 มีส่วนผสมของทังสเตน 18% โครเมียม 4% และวาเนเดียม 1% • - โมลิบดีนัมไฮสปีดสตีล เป็นเหล็กไฮสปีดที่ใช้โมลิบดีนัมผสมแทนทังสเตนบางส่วน ส่วนผสมที่นิยมใช้คือ ทังสเตน 6% โมลิบดีนัม 6% โครเนียม 4% วาเนดียม 2% • - ซุปเปอร์ไฮสปีดสตีลมีโคบอลต์ผสมเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 2-15% ทังสเตน 20% โครเมียม 4% วาเนดียม 2% และโคบอลต์ 12%

  26. - โมลิบดีนัมไฮสปีดสตีล เป็นเหล็กไฮสปีดที่ใช้โมลิบดีนัมผสมแทนทังสเตนบางส่วน ส่วนผสมที่นิยมใช้คือ ทังสเตน 6% โมลิบดีนัม 6% โครเนียม 4% วาเนดียม 2% - ซุปเปอร์ไฮสปีดสตีลมีโคบอลต์ผสมเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 2-15% ทังสเตน 20% โครเมียม 4% วาเนดียม 2% และโคบอลต์ 12%

  27. วัสดุมีดกลึงช่างโลหะ • สเตลไลต์ (Stelite) ใช้เป็นมีดเล็บมีส่วนผสมของทังสเตนประมาณ 12-15% โครเมียม 15-3% โคบอลต์ 40-50% คาร์บอน 1-4% และมีคาร์ไบด์ของธาตุอื่น ๆ อีกประมาณ 1% คงความแข็งไว้ได้จนอุณหภูมิสูงถึงประมาณ 9500 ซ. • 3. ทังสเตนคาร์ไบต์ (Thungsten Carbide) ใช้เป็นมีดเล็บ เป็นวัสดุที่สังเคราะห์มาจากทังสเตนกับคาร์บอนทนความร้อนโดยไม่เสียคม จนอุณหภูมิสูงประมาณ 1,2000 ซ. เหมาะสำหรับกลึงงานที่เป็นเหล็กหล่อไม่เหมาะกับการกลึงเหล็กกล้า อัตราส่วนที่เหมาะสมคือ ทังสเตนคาร์ไบด์ 82% ไทตามเนียมคาร์ไบด์ 10% และโคบอลต์ 8%

  28. วัสดุมีดกลึงช่างโลหะ 4. เพชร (Diamond) ใช้เป็นมีดเล็บสำหรับกลึงงานเบา ๆ ที่ต้องการขนาดที่เที่ยงตรงมากหรือใช้สำหรับตัดงานที่มีความแข็งมาก จนไม่สามารถตัดด้วยวัสดุอื่นได้ 5. เซรามิก (Ceramic) ใช้เป็นมีดเล็บ ทนความเร็วตัดให้สูงกว่าวัสดุชนิดอื่น ๆ และทนแรงอัดได้สูง แต่เปราะมาก ชุดมีดเซรามิก

  29. ชนิดของมีดกลึงแบ่งตามลักษณะการใช้งานชนิดของมีดกลึงแบ่งตามลักษณะการใช้งาน • มีดกลึงปาดหน้า ใช้สำหรับปาดหน้าชิ้นงานให้เรียบ มีทั้งปาดหน้าซ้ายและปาดหน้าขวา ดังรูป มีดกลึงปาดหน้าซ้าย มีดกลึงปาดหน้าขวา

  30. ชนิดของมีดกลึงแบ่งตามลักษณะการใช้งานชนิดของมีดกลึงแบ่งตามลักษณะการใช้งาน • มีดกลึงปอก ใช้สำหรับกลึงปอกชิ้นงานให้ได้ขนาดความยาวเส้นผ่าศูนย์กลางที่ต้องการ มีทั้งมีดกลึงปอกขวา คือ กลึงปอกจากขวามือมาซ้ายมือหรือจากท้ายแท่นมายังหัวเครื่องกลึง และมีดกลึงปอกซ้าย คือ กลึงจากซ้ายมือมาขวามือหรือกลึงจากหัวเครื่องกลึงมายังท้ายแท่น มีดกลึงปอกซ้าย มีดกลึงปอกขวา

  31. ชนิดของมีดกลึงแบ่งตามลักษณะการใช้งานชนิดของมีดกลึงแบ่งตามลักษณะการใช้งาน - มีดกลึงปอกชนิดกลึงปอกได้ทั้งกลึงปอกซ้ายและกลึงปอกขวา เหมาะสำหรับงานที่ต้องการกลึงในสองทิศทาง - มีดตัดหรือมีดกลึงตกร่องเป็นมีดกลึงที่ใช้ตัดชิ้นงานหรือใช้กลึงตกร่องชิ้นงาน มีดกลึงทั้งสองทิศทาง มีดตัดหรือมีดกลึงตกร่อง

  32. ชนิดของมีดกลึงแบ่งตามลักษณะการใช้งานชนิดของมีดกลึงแบ่งตามลักษณะการใช้งาน - มีดกลึงเกลียวสามเหลี่ยมเป็นมีดกลึงเกลียวสามเหลี่ยมที่ใช้กลึงเกลียวนอกส่วนมากมีมุมรวม 60 องศา - มีดคว้านรูใน ใช้สำหรับคว้านรูให้เรียบ และได้ขนาดตามต้องการ มีดกลึงเกลียวนอก มีดคว้านรูใน

  33. ชนิดของมีดกลึงแบ่งตามลักษณะการใช้งานชนิดของมีดกลึงแบ่งตามลักษณะการใช้งาน • มีดกลึงเกลียวใน ใช้สำหรับกลึงเกลียวใน

  34. ชนิดของมีดกลึงแบ่งตามลักษณะการใช้งานชนิดของมีดกลึงแบ่งตามลักษณะการใช้งาน มุมของมีดกลึง มีดกลึงที่จะนำไปใช้งาน จะต้องมีการลับคมตัดมีดกลึงเสียก่อน ซึ่งส่วนที่ถูกลับออกไปจะทำให้เกิดเป็นมุมขึ้น • มุมคายเศษ (Top Rake Angle) มุมนี้จะเป็นมุมที่ลับลงมาให้ลาดต่ำลงจากปลายมีดกลึง สำหรับให้เศษกลึงไหลออกได้สะดวกยิ่งขึ้นขณะคมมีดกลึงกินนาน • มุมฟรีหน้า (Front Relief Angle) มุมนี้เป็นมุมที่ลับเพื่อไม่ให้ผิวด้านหน้าของมีดกลึงเสียดสีกับผิวงานขณะกลึง • มุมฟรีข้าง (Side Relief Angle) มุมนี้เป็นมุมที่ลับเพื่อไม่ให้ผิวด้านข้างของมีด กลึงเสียดสีกับผิวงานขณะกลึง

  35. ชนิดของมีดกลึงแบ่งตามลักษณะการใช้งานชนิดของมีดกลึงแบ่งตามลักษณะการใช้งาน • มุมรวมปลายมีด เป็นมุมที่เกิดจากการลับมุมคมตัดด้านข้างและมุมคมตัดด้านหน้าของมีดกลึง มุมของมีดกลึงแต่ละมุมจะแตกต่างกันไปตามวัสดุที่จะกลึงและขึ้นอยู่กับวัสดุที่จะนำมาใช้กลึง สำหรับในที่นี้จะกล่าวถึงมีดกลึงที่ทำด้วยเหล็กรอบ • มุมตัดด้านข้าง (Side Cutting Edge Angle) เป็นมุมที่ลับให้คมตัดเอียงทำมุมกับของของตัวมีด เพื่อให้มีดกลึงเดินตัดเนื้อวัสดุได้สะดวกมีแรงต้านน้อย ขนาดของมุมนี้จะขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุที่ใช้ทำมีดและวัสดุงาน • มุมตัดด้านหน้า (Front Cutting Edge Angle) เป็นมุมที่ลับเพื่อไม่ใช้ผิวด้านหน้าของคมตัดของมีดกลึงเสียดสีกับผิวงานในขณะกลึงงาน

  36. ขั้นตอนการลับมีดกลึง การลับมีดกลึงปาดหน้ามี 3 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 ลับมุมหลบข้างมีด 8 องศา ยาว 15 มิลลิเมตร

  37. การลับมีดกลึงปาดหน้า ขั้นที่ 2 ลับมุมหลบปลายมีด 10 องศา และมุมหลบหน้ามีด 8 องศาพร้อมกัน

  38. การลับมีดกลึงปาดหน้า ขั้นที่ 3 ลับมุมคายเศษ 14องศา

  39. การลับมีดกลึงปอกผิว ขั้นที่ 1 ลับมุมหลบข้างมีด 8 องศา และ 8 องศา พร้อมกัน

  40. การลับมีดกลึงปอกผิว ขั้นที่ 2 ลับมุมหลบปลายมีด 90 องศา และมุมหลบหน้ามีด 8องศาพร้อมกัน

  41. การลับมีดกลึงปอกผิว ขั้นที่ 3 ลับมุมคลายเศษ 14 องศา แสดงการลับมุมคายเศษ

  42. ลับมีดกลึงเกลียวสามเหลี่ยมลับมีดกลึงเกลียวสามเหลี่ยม ขั้นที่ 1 ลับมุมมีดด้านซ้าย 30 องศา และ 1 องศาพร้อมกัน

  43. ลับมีดกลึงเกลียวสามเหลี่ยมลับมีดกลึงเกลียวสามเหลี่ยม ขั้นที่ 2 ลับมุมมีดด้านขวา 30 องศา

  44. ลับมีดกลึงเกลียวสามเหลี่ยมลับมีดกลึงเกลียวสามเหลี่ยม ขั้นที่ 3 ลับมุมปลายมีด 8 องศา

  45. การลับมีดไส การลับมีดไส มีวิธีการลับเช่นเดียวกับการลับมีดกลึงปาดหน้า มีดกลึงปอกผิว มีดกลึงเกลียวสามเหลี่ยมจะแตกต่างกันตรงค่าขิงมุมคมตัดเท่านั้น ขั้นตอนที่ 1 ลับมุมด้านข้าง 2 องศาและ 8 องศาพร้อมกัน

  46. การลับมีดไส ขั้นที่ 2 ลับมุมหลบปลายมีด 8 องศามุมหลบหน้ามีด 5 องศาพร้อมกัน

  47. การลับมีดไส ขั้นที่ 3 ลับมุมคายเศษ

  48. การบำรุงรักษาเครื่องเจียระไนลับคมตัด 1. หมั่นตรวจดูความเรียบร้อยของเครื่องให้เรียบร้อยทุกจุด ให้อยู่ในสภาพดี พร้อมจะใช้งานเสมอ หากเกิดการชำรุดเสียหายควรทำการจัดซ่อมให้ใช้งานได้ดี 2. ตรวจดูล้อหินเจียระไนว่ามีรอยร้าวหรือรอยบิ่นหรือไม่ เมื่อล้อหินเจียระไนทื่อไม่คมจะต้องทำการแต่งหน้าหินเจียระไนใหม่ 3. ควรดูแลรักษามอเตอร์ คอยตรวจสอบเสียงของมอเตอร์ว่ามีเสียงดังผิดปกติหรือไม่ 4. จะต้องตรวจสอบระยะห่างของแท่นรองรับงานเป็นประจำ โดยให้มีระยะห่างมากสุด ไม่ควรเกิน 3 มม. เพื่อป้องกันชิ้นงานหรือเครื่องมือตัดหลุดเข้าไปในระหว่างล้อหิน อาจจะทำให้ล้อหินแตกหรือแท่นรองรับงานอาจแตกหักทำให้เกิดความเสียหายได้ 5. หลังจากเลิกใช้งานทุกครั้ง ควรปิดสวิตซ์และทำความสะอาดเครื่องเจียระไน

  49. ความปลอดภัยในการใช้เครื่องเจียระไน 1. ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องเจียระไนก่อนเปิดเครื่องใช้งานทุกครั้ง เช่น ตรวจสอบระบบไฟฟ้า ล้อหินเจียระไน ฝาครอบล้อหินเจียระไน ฯลฯ เป็นการตรวจสอบว่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวอยู่ในสภาพที่พร้อมจะใช้งานและมีความปลอดภัยหรือไม่ 2. การแต่งกายต้องรัดกุม ไม่รุ่มร่าม ไม่ผูกเน็กไท ผมไม่ยาวรุงรัง 3. ต้องสวมแว่นตานิรภัยทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน 4. จะต้องมีกระจกนิรภัยและอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งาน เพื่อป้องกันเศษโลหะกระเด็นเข้าตา 5. ต้องปรับระยะห่างแท่นรองรับงานให้อยู่ในระยะห่างไม่เกิน 3 มม. ป้องกันชิ้นงานหลุดเข้าไปขัดกับล้อหินเจียระไน ล้อหินเจียระไนอาจจะแตกกระเด็นโดยผู้ปฏิบัติงานได้

  50. ความปลอดภัยในการใช้เครื่องเจียระไน 6. เมื่อล้อหินเจียระไนทื่อหรือเกิดรอยบิ่น จะต้องทำการแต่งหน้าล้อหินเจียระไนใหม่ มิฉะนั้นผู้ปฏิบัติงานจะต้องออกแรงกดชิ้นงานที่นำมาลับมากเพราะหินทื่อ อาจจะทำให้พลาดไปโดนล้อหินเจียระไน ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ 7. ห้ามใช้ผ้าจับเครื่องมือตัดหรือชิ้นงานที่นำมาเจียระไน เพราะผ้าอาจจะติดเข้าไปในล้อหินเจียระไนที่กำลังหมุน และทำให้มือติดเข้าไปด้วยทำให้เกิดอันตรายได้ 8. ในขณะเริ่มเปิดสวิตซ์เครื่องเจียระไนเพื่อปฏิบัติงานจะต้องระมัดระวังไม่ยืนตรงกับล้อหินเจียระไน เพราะในช่วงที่เริ่มเปิดเครื่องใหม่ ๆ ล้อหินเจียระไนจะมีแรงเหวี่ยงมาก ถ้าล้อหินเจียระไนเกิดรอยแตกร้าวอยู่ก่อนอาจกระเด็นออกมาถูกผู้ปฏิบัติงานทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ 9. เครื่องเจียระไนทุกเครื่องจะต้องมีการติดตั้งสายดินเพื่อป้องกันไฟฟ้าดูดผู้ปฏิบัติงาน

More Related