560 likes | 756 Views
โครงการศึกษาความพร้อมของกำลังคนเพื่อรองรับ การเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า 9 สาขาตามกรอบ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 22 มีนาคม 2555. วัตถุประสงค์การวิจัย โครงการศึกษาความพร้อมของกำลังคนรองรับการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า 9 สาขา ตามกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน.
E N D
โครงการศึกษาความพร้อมของกำลังคนเพื่อรองรับการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า 9 สาขาตามกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 22 มีนาคม 2555
วัตถุประสงค์การวิจัยโครงการศึกษาความพร้อมของกำลังคนรองรับการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า 9 สาขา ตามกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
เค้าโครงการนำเสนอ • ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและผลกระทบต่อความต้องการกำลังคน • สรุปภาพรวมของสถานการณ์แรงงาน และความต้องการกำลังคนใน 9สาขาเร่งรัดตามกรอบอาเซียน • กรอบความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนต่อการพัฒนากำลังคนของประเทศเพื่อรองรับการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า 9 สาขาตามกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
1. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและผลกระทบต่อความต้องการกำลังคน
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) • เป้าหมายหนึ่งของ AEC: มุ่งหวังให้ประเทศสมาชิกอาเซียนกลายเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวร่วมกัน(single market and single production base) ภายในปี 2558 มีการเคลื่อนย้ายอย่างเสรี • สินค้า • บริการ • การลงทุน • เงินทุน • แรงงานมีฝีมือ
สินค้าและบริการเร่งรัด 12 สาขาในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน • อาเซียนได้จ้างบริษัทMcKinseyทำการศึกษาการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน(ASEAN Competitiveness Study) • การศึกษาดังกล่าวพบว่า อาเซียนเป็นกลุ่มประเทศที่มีความดึงดูดและเป็นสวรรค์ของนักลงทุน เนื่องเพราะ • ขนาดของตลาดในกลุ่มประเทศสมาชิกที่รวมกันแล้วมากกว่า 590 ล้านคน • อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรมนุษย์ • อุตสาหกรรมส่งออกของภูมิภาคนี้ก็มีอัตราการเจริญเติบโตสูง • ค่าจ้างแรงงานโดยเฉลี่ยของภูมิภาคยังไม่สูงนัก ทำให้ดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมที่พึ่งพาแรงงานเข้มข้น
สินค้าและบริการเร่งรัด 12 สาขาในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ต่อ) • งานศึกษาของ McKinseyให้ข้อเสนอว่า • การพึ่งพาแรงงานราคาถูกไม่อาจทำให้อาเซียนได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดโลกได้ในระยะยาว • การลดต้นทุนที่เกิดจากอุปสรรคทางการค้า เช่น การลดภาษีระหว่างกัน จะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศ • ให้อาเซียนเร่งรัดการรวมกลุ่มในสาขาอุตสาหกรรม/บริการที่มีศักยภาพซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่อาเซียนมีการค้าระหว่างกันสูงสุด • ในปี 2546ผู้นำอาเซียนได้ออกแถลงการณ์Bali Concord II ประกาศเจตนารมณ์ที่จะจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และให้เร่งรัดการรวมกลุ่มเพื่อเปิดเสรีสินค้าและบริการสำคัญ12สาขาสำคัญ(priority sectors)
การเปิดเสรีด้านการค้าในสาขาเร่งรัด 9 สาขา*ประกอบด้วย 1. ผลิตภัณฑ์เกษตร (Agro-processed sector) 2. สินค้าประมง (Fisheries sector) 3. ผลิตภัณฑ์ไม้ (Wood-based sector) 4. ผลิตภัณฑ์ยาง (Rubber-based sector) 5. สิ่งทอ/เสื้อผ้า (Textile & Clothing sector) 6. อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics sector) 7. ยานยนต์ (Automotive sector) 8. สินค้าสุขภาพ (Health care sector) 9. เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN sector (ICT equipment) หมายเหตุ *สาขาเร่งรัด (priority sectors) ของอาเซียนมี 12 สาขา อีก 3 สาขาเป็นภาคบริการ ได้แก่ การบิน ท่องเที่ยว โลจิสติกส์
แผนการภายใต้การรวมกลุ่มของสาขาเร่งรัดแผนการภายใต้การรวมกลุ่มของสาขาเร่งรัด • มีการเปิดเสรีด้วยการเร่งรัดการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า–ขจัดภาษีสินค้าใน9สาขาหลัก ให้เร็วขึ้นจากกรอบอาฟต้าเดิม3ปี • สำหรับสมาชิกอาเซียนเดิมจากปี2553เป็นปี 2550 • สำหรับสมาชิกอาเซียนใหม่(CLMV) จากปี2558 เป็นปี2555
แผนการภายใต้การรวมกลุ่มของสาขาเร่งรัด (ต่อ) • ตั้งเป้าหมายการเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการในแต่ละรอบอย่างชัดเจน เพื่อให้การค้าบริการของอาเซียนเป็นไปอย่างเสรีมากขึ้น มีการเปิดตลาดการค้าบริการ+ เพิ่มจำนวนประเภทธุรกิจที่เปิดตลาดให้มากขึ้น • พัฒนาระบบการยอมรับร่วมกัน(Mutual RecognitionArrangements: MRAs) เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบวิชาชีพในสาขาบริการ • ส่งเสริมการร่วมลงทุนของอาเซียนไปยังประเทศที่สาม
แผนการภายใต้การรวมกลุ่มของสาขาเร่งรัด (ต่อ) • กำหนดแผนที่จะเร่งเปิดเสรีสาขาการลงทุนภายใต้กรอบความตกลงด้านการลงทุนของอาเซียน (Agreement on the ASEAN Investment Area: AIA) โดยการ • ลด/ยกเลิกข้อจำกัดด้านการลงทุนต่างๆ • ส่งเสริมการร่วมลงทุนในสาขาอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ • สร้างเครือข่ายด้านการลงทุนของอาเซียนที่มีประสิทธิภาพ • ส่งเสริมการอำนวยความสะดวกด้านพิธีการศุลกากร • พัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์
ผลกระทบการเปิดเสรีด้านการค้า 9 สาขาตามกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อความต้องการกำลังคน
จำนวนประชากรและผลิตภัณฑ์มวลรวมของอาเซียนปี 2553 และประมาณการ ปี 2558 ที่มา : IMF World Economic Outlook อ้างอิงในสุทัศน์ เศรษฐ์บุญสร้าง. 2553.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและตลาดแรงงานไทย. เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่อง สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2558: โอกาสและความพร้อมของไทยต่อการเคลื่อนย้ายเสรีของแรงงานฝีมือ. โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น. 22 กรกฎาคม 2553.
สรุปคือแนวโน้มความต้องการกำลังคนเพิ่มขึ้นสรุปคือแนวโน้มความต้องการกำลังคนเพิ่มขึ้น • ความต้องการกำลังคนเป็นอุปสงค์สืบเนื่อง (Derived demand) จากอุปสงด์โดยรวม การค้าและการลงทุน • จากการประมาณการพบว่า อัตราการเพิ่มของประชากรในอาเซียนจากปี 2553-2558 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 ซึ่งน้อยกว่าอัตราการเพิ่มของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) ของอาเซียนจากปี 2553-2558 ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 55.3 ต่อปีเป็นอย่างมาก • ทำให้มีความจำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานโดยรวม ซึ่งหมายถึงว่าความต้องการแรงงานมีแนวโน้มที่เป็นแรงงานฝีมือมากกว่าแรงงานกรรมกร
2. สรุปภาพรวมของสถานการณ์แรงงาน และความต้องการกำลังคนใน 9สาขาเร่งรัดตามกรอบอาเซียน
2.1 สรุปภาพรวมของสถานการณ์แรงงาน 9 สาขาเร่งรัดในประเทศไทย • จากจำนวนผู้มีงานทำทั้งสิ้น 38.69 ล้านคน มีผู้มีงานทำในภาคผลิต 5.19 ล้านคน จำแนกตามสาขาเร่งรัดตามกรอบอาเซียน 9 สาขารวม 3.66 ล้านคน • การศึกษากำลังคนใน 9 สาขาการผลิตดังกล่าวพบว่า สามารถแบ่งสาขาการผลิตออกได้เป็น 2 กลุ่มอย่างชัดเจน • กลุ่มแรกเป็นกลุ่มสาขาการผลิตที่มีการจ้างงานมากที่สุดและเป็นอุตสาหกรรมใช้แรงงานเข้มข้น (labor intensive) เช่น สาขาสิ่งทอและเสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์เกษตร มีการจ้างแรงงานที่มีการศึกษาไม่สูงนัก กล่าวคือ เป็นกลุ่มคนงานที่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาหรือต่ำกว่า เป็นสัดส่วนที่มาก • กลุ่มที่สองได้แก่สาขาการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีอย่างอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เทคโนโลยีสารสนเทศ มีการจ้างแรงงานในระดับที่จบการศึกษาสูงกว่ามัธยมศึกษามากขึ้น ทำให้ระดับค่าจ้างเฉลี่ยของสาขาการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีอย่างอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ในระดับสูงกว่าสาขาการผลิตอื่น
จำนวนผู้มีงานทำในสาขาการค้าเร่งรัด 9สาขาตามกรอบอาเซียน ปี 2544-2553(คน) ที่มา: การสำรวจภาวะการทำงานของประชากรไตรมาสที่ 3 ปี พ.ศ. 2544-2553 สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
โครงสร้างอายุของแรงงานไทยใน 9สาขาเร่งรัดตามกรอบอาเซียน ปี 2553 ที่มา: การสำรวจภาวะการทำงานของประชากรไตรมาสที่ 3 ปี พ.ศ. 2553 สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
โครงสร้างการศึกษาของแรงงานไทยใน 9สาขาเร่งรัดตามกรอบอาเซียน ปี 2553 ที่มา: การสำรวจภาวะการทำงานของประชากรไตรมาสที่ 3 ปี พ.ศ. 2553 สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
แนวโน้มค่าจ้างเฉลี่ยในช่วง 10 ปี (พ.ศ. 2544-2553) ของผู้มีงานทำในสาขาการค้าเร่งรัด 9 สาขาตามกรอบอาเซียน หน่วย : บาทต่อเดือน ที่มา: การสำรวจภาวะการทำงานของประชากรไตรมาสที่ 3 ปี พ.ศ. 2544-2553 สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
2.2 สถานการณ์ความต้องการและภาวะขาดแคลนแรงงานในประเทศ • เมื่อพิจารณาสถานการณ์ความขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะในสาขาการผลิตที่ใช้คนจำนวนมากอย่างสิ่งทอ พบว่าคุณลักษณะของคนงานที่สาขาการผลิตสำคัญๆ ต้องการเป็นแรงงานที่เป็นผู้ปฏิบัติงานในโรงงาน ที่มีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาหรือต่ำกว่า โดยผลการสำรวจของ สสช. พบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ระบุว่าไม่กำหนดว่าแรงงานที่มาทำงานในสาขาการผลิตสำคัญๆ ต้องเคยมีประสบการณ์ทำงานมาก่อน • การที่ในภาคการจ้างงานระดับพื้นฐานในสาขาการผลิตสำคัญๆ ของไทยที่ใช้จำนวนแรงงานมากยังใช้แรงงานในตำแหน่งระดับปฏิบัติงานในโรงงาน เป็นแรงงานที่มีทักษะไม่มากนัก เมื่อพิจารณาทั้งในแง่ของระดับความรู้และประสบการณ์ในการทำงาน เมื่อประสบกับภาวะขาดแคลนแรงงาน ทำให้ผู้ประกอบการหลายแห่งต้องหันมาใช้แรงงานต่างชาติ
จำนวนแรงงานที่ต้องการและขาดแคลน ปี 2551 หมายเหตุ : * ขาดแคลน หมายถึงหาคนยาก หาคนไม่ได้ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ที่มา: สำรวจความต้องการแรงงานของสถานประกอบการ พ.ศ. 2551 สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
จำนวนแรงงานที่ต้องการและขาดแคลน จำแนกตามตำแหน่ง ปี 2551 หมายเหตุ : * ขาดแคลน หมายถึงหาคนยาก หาคนไม่ได้ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ที่มา: สำรวจความต้องการแรงงานของสถานประกอบการ พ.ศ. 2551 สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
2.3 ภาพรวมแรงงานต่างด้าวในไทย • จากสถิติพบว่าในปี 2553 มีจำนวนคนต่างด้าวในประเทศไทยประมาณ 1,300,281 คน ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ • (ก) แรงงานต่างด้าวที่เป็นแรงงานฝีมือ (skilled labor) ส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่มีทักษะฝีมือในระดับผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญ จากประเทศญี่ปุ่น (ร้อยละ 15.2) มีประเทศในอาเซียนที่มาทำงานในไทยสูงสุดคือ ฟิลิปปินส์ (ร้อยละ 9.1) ทั้งนี้ในสาขาการผลิต 9 สาขาเร่งรัดตามกรอบอาเซียนที่มีจำนวนแรงงานต่างชาติขอใบอนุญาตเข้ามาทำงานในไทยสูงสุดสามอันดับแรกได้แก่ ผลิตภัณฑ์เกษตร 1,495 ตำแหน่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ 1,337 ตำแหน่ง อิเล็กทรอนิกส์ 1,163 ตำแหน่ง • (ข) แรงงานต่างด้าวที่เป็นแรงงานไร้ฝีมือ (unskilled labor) ได้แก่ กลุ่มแรงงานต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว พม่า) ในปี 2553 มีจำนวนประมาณเก้าแสนคน ส่วนใหญ่ทำงานเป็นกรรมกรในสาขาเกษตร (ร้อยละ 18.4) ประมง (ร้อยละ 14) สิ่งทอ(ร้อยละ 7.2)
ภาพรวมแรงงานต่างด้าวในไทย ปี 2553 จำนวนแรงงานต่างด้าว 1,300,281 คน เข้าเมืองถูกกฎหมาย 344,686 คน เข้าเมืองผิดกฎหมาย 955,595 คน ชนกลุ่มน้อย 23,340 คน ตลอดชีพ 14,423 คน MOU 236,569 คน มติครม.3 สัญชาติ 932,255 คน Unknown=? ทั่วไป 70,449 คน Skilled labor BOI 23,245 คน ที่มา: สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน
ภาพรวมแรงงานต่างด้าวในไทย (ต่อ) • ในปี 2553 แรงงานต่าวด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานตามมติครม. 3 สัญชาติ (พม่า ลาว และกัมพูชา) ส่วนใหญ่ทำงานกรรมกร ที่มา: สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน
2.4 แนวโน้มความต้องการกำลังคนและสถานการณ์การผลิตกำลังคนในประเทศไทย • สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (2553) มีการประมาณการความต้องการกำลังคนรายปีในปี 2555-2558 จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่าในแต่ละปีมีความต้องการจ้างแรงงานเพื่อตอบสนองเพิ่ม/ลดตำแหน่งงาน บวกกับความต้องการกำลังคนเพื่อทดแทนแรงงานเก่ามากถึงปีละกว่า 1.2 ล้านคน • การคาดประมาณจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาในประเทศไทยจำแนกตามระดับการศึกษาในปี 2555-2558 พบว่าแม้ว่าในแต่ละปีสถาบันการศึกษาระดับต่างๆ จะสามารถผลิตผู้จบการศึกษาในทุกระดับรวมประมาณ 1.5 ล้านคน ซึ่งสูงกว่าความต้องการจ้างงานดังกล่าวข้างต้น แต่ในจำนวนผู้ที่สำเร็จการศึกษาเหล่านี้ที่พร้อมจะเข้าสู่ตลาดแรงงานในแต่ละปีมีเพียงปีละประมาณ 3.6 แสนคนเท่านั้น
ผลการคาดประมาณความต้องการกำลังคนโดยรวมและความต้องการกำลังคนส่วนเพิ่ม จำแนกตามระดับการศึกษา ปี 2555-2558 หมายเหตุ : ความต้องการกำลังคนส่วนเพิ่มประมาณการมาจากความต้องการกำลังคนเพิ่มเพื่อตอบสนองเพิ่ม/ลดตำแหน่งงาน บวกกับความต้องการกำลังคนเพื่อทดแทนแรงงานเก่า ที่มา: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 2553.
ผลการคาดประมาณการผู้สำเร็จการศึกษาและพร้อมที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานของประเทศ จำแนกตามระดับการศึกษา ปี 2555-2558 ที่มา: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. 2553. การศึกษาความต้องการกำลังคนเพื่อวางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ. เสนอต่อ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
2.5 สรุปภาพการค้าและความต้องการกำลังคนใน 9 สาขาเร่งรัดตามกรอบอาเซียน • ผลการศึกษาภาพการค้าระหว่างประเทศของแต่ละสาขา โดยพิจารณาจากมูลค่าการส่งออก ตลาดส่งออกที่สำคัญ ขีดความสามารถในการแข่งขัน และการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงลดภาษีของประเทศสมาชิกอาเซียนพบว่า • สาขาที่ได้รับประโยชน์จากการลดภาษีตามข้อตกลงอาเซียนได้แก่ ผลิตภัณฑ์เกษตร ผลิตภัณฑ์ยาง ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ข้ามประเทศในภูมิภาค ทำให้มีความสามารถในการผลิตโดยใช้ฐานการผลิตข้ามประเทศในภูมิภาคอาเซียน (Factory Asia)
2.5 สรุปภาพการค้าและความต้องการกำลังคนใน 9 สาขาเร่งรัดตามกรอบอาเซียน (ต่อ) • สาขาที่ค่อนข้างทรงตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ประมง เทคโนโลยีสารสนเทศ • สาขาที่มีการขยายตัวของการส่งออกในตลาดอาเซียนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แต่ไม่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน (คือมีค่าRCA น้อยกว่า 1) ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ไม้ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม • สาขาที่มีการหดตัวของการส่งออกในตลาดอาเซียนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และเป็นสาขาที่ไม่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน (คือมีค่าRCA น้อยกว่า 1) ได้แก่ สินค้าสุขภาพ • ดังนั้นผลกระทบในภาพรวมของความต้องการกำลังคนในสาขาการค้า 9 สาขาเร่งรัดที่เพิ่มขึ้นจากการเป็นประชาคมอาเซียนนั้นน่าจะมีผลต่อความต้องการกำลังแรงงานเพิ่มในสาขาที่มีการขยายตัวของตลาดในอาเซียนชัดเจนคือ ผลิตภัณฑ์เกษตร ผลิตภัณฑ์ยาง ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนสาขาอื่นๆ ไม่น่าจะได้รับผลกระทบจนต้องเพิ่มกำลังแรงงานมากนัก
แนวโน้มมูลค่าการส่งออกและความสามารถในการแข่งขันสาขาที่ได้รับประโยชน์จากการลดภาษีตามข้อตกลงอาเซียน ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์เกษตร อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์
แนวโน้มมูลค่าการส่งออกและความสามารถในการแข่งขันสาขาที่ค่อนข้างทรงตัว เทคโนโลยีสารสนเทศ ผลิตภัณฑ์ประมง
แนวโน้มมูลค่าการส่งออกและความสามารถในการแข่งขันสาขาที่มีการขยายตัว แต่ไม่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน ผลิตภัณฑ์ไม้ สิ่งทอและเครื่องนุ่มห่ม
แนวโน้มมูลค่าการส่งออกและความสามารถในการแข่งขันสาขาที่มีการหดตัวและไม่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน สินค้าสุขภาพ
การขยายตัวของการส่งออกของสินค้า 9 สาขาในตลาดอาเซียนปี2544 และ2553 ที่มา : คำนวณจากฐานข้อมูล COMTRADE statistics.
อัตราการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงลดภาษีของประเทศสมาชิกอาเซียนโดยผู้ส่งออกของไทยในปี 2553 หมายเหตุ : ร้อยละของมูลค่าการส่งออก ที่มา : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. 2554. โครงการเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมภายใต้นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศของไทย (ระยะที่ 2). เสนอต่อ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.
การจ้างงานใน 9 สาขาเร่งรัดตามกรอบอาเซียนในปี 2544-2553 และประมาณการความต้องการแรงงานในปี 2554-2558 ที่มา : ข้อมูลปี 2544-2553 จากกการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ข้อมูลปี 2554-2558 ประมาณการโดยผู้วิจัย
2.6 การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของกำลังแรงงานจำแนกตามสาขาการค้า 9 สาขาเร่งรัดตามกรอบอาเซียน • ในมิติด้านกำลังแรงงาน ผลจากการประชุมระดมสมองกับผู้ประกอบการเพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของกำลังแรงงานจำแนกตามสาขาการค้า 9 สาขาเร่งรัดตามกรอบอาเซียนพบว่า จุดแข็งของแรงงานไทยในภาพรวมคือ การที่แรงงานไทยมีความสามารถในการทำงานฝีมือที่มีความละเอียดประณีตได้ดีกว่าแรงงานจากประเทศอื่น โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคเดียวกัน • จุดอ่อนสำคัญของตลาดแรงงานไทยทั้งที่ประสบปัญหาอยู่ในปัจจุบันและแนวโน้มที่จะเกิดในอนาคตคือ การขาดแคลนกำลังคน การใช้แรงงานต่างด้าว การที่กำลังแรงงานที่มีอยู่ในระบบมีอายุ (แก่) มากขึ้น ตลอดจนประเด็นเกี่ยวกับกำลังแรงงานใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานขาดทักษะในการทำงานได้จริง รวมถึงการขาดทักษะด้านภาษาต่างประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการสื่อสาร โดยเฉพาะผู้ทำงานในสาขาการผลิตที่ใช้เทคโนโลยี
2.7 สรุปความต้องการการพัฒนากำลังคนของประเทศเพื่อรองรับการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า 9 สาขาตามกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน • จุดอ่อนสำคัญของตลาดแรงงานไทยทั้งที่ประสบปัญหาอยู่ในปัจจุบันและแนวโน้มที่จะเกิดในอนาคตคือ การขาดแคลนกำลังคน แนวทางการตอบสนองความต้องการแรงงานที่เพิ่มขึ้นใน 9 สาขาเร่งรัดประมาณปีละ 32,732 คนดังกล่าวในภาวะกำลังแรงงานใหม่เข้าสู่ตลาดแรงงานค่อนข้างคงที่ จึงต้องพิจารณาทางเลือกระหว่าง • (ก) การเพิ่ม productivityด้วยการนำเครื่องจักรสมัยใหม่ที่มีประสิทธิภาพเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนา/ฝึกอบรมกำลังแรงงานให้มีความรู้และสามารถใช้เครื่องจักร/เทคโนโลยีสมัยใหม่เหล่านี้ได้ • (ข) การเพิ่ม labor productivityเพื่อให้ใช้จำนวนคนเท่าเดิมแต่สามารถผลิตได้มากขึ้น ซึ่งก็ต้องทำการพัฒนายกระดับความสามารถและประสิทธิภาพของแรงงาน
2.7 สรุปความต้องการการพัฒนากำลังคนของประเทศเพื่อรองรับการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า 9 สาขาตามกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ต่อ) • (ค) การใช้แรงงานต่างด้าว ซึ่งปัจจุบันเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้ประกอบการ อย่างไรก็ดี ทางเลือกในการใช้แรงงานต่างด้าวเป็นทางเลือกในระยะสั้นเท่านั้น เพราะในระยะยาว เมื่อเศรษฐกิจในประเทศต้นทางของแรงงานต่างด้าวพัฒนาจนถึงระดับที่ต้องการกำลังคน แรงงานต่างด้าวเหล่านี้ก็จะย้ายกลับไปทำงานในประเทศของตนเอง • นอกจากประเด็นการขาดแคลนกำลังคนแล้วยังมีประเด็นอื่นๆ ได้แก่ การที่กำลังแรงงานใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานขาดทักษะในการทำงานได้จริง รวมถึงการขาดทักษะด้านภาษาต่างประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการสื่อสาร โดยเฉพาะผู้ทำงานในสาขาการผลิตที่ใช้เทคโนโลยี
2.7 สรุปความต้องการการพัฒนากำลังคนของประเทศเพื่อรองรับการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า 9 สาขาตามกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ต่อ) • 1. การขาดแคลนแรงงานระดับช่างเทคนิค • จากการประชุมระดมสมองกับผู้ประกอบการในสาขาการผลิตที่มีระดับค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยสูงได้แก่ สาขายานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่าสาขาการผลิตเหล่านี้ไม่ประสบกับภาวะการขาดแคลนคนในระดับปฏิบัติ แต่ขาดแคลนกำลังแรงงานในระดับช่างเทคนิค รวมถึงแรงงานที่มีทักษะเฉพาะด้านและมีความเชี่ยวชาญสูง นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังสะท้อนคุณภาพของผู้ที่สำเร็จการศึกษาด้านช่างเทคนิคว่าส่วนใหญ่เป็นผู้ไม่มีประสบการณ์ ทำให้ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้งานนานประมาณ 6 เดือน จึงจะปฏิบัติงานได้ดี
2.7 สรุปความต้องการการพัฒนากำลังคนของประเทศเพื่อรองรับการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า 9 สาขาตามกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ต่อ) • ก. ข้อเสนอแนะของการเตรียมกำลังคน • หลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นการฝึกงาน โดยเพิ่มช่วงระยะเวลาของการฝึกงานให้เรียนรู้งานมากขึ้น เพื่อให้นักศึกษาสามารถเข้าไปสู่สายการผลิตในอุตสาหกรรม ก่อให้เกิดการเพิ่มทักษะในด้านต่างๆ จากการได้ทำงานจริงๆ มากกว่าการเรียนรู้จากการเรียนเพียงอย่างเดียว • เพิ่มหรือขยายสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับช่างไฟฟ้าและช่างเทคนิค • เน้นการฝึกอบรมให้กำลังแรงงานมีความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (basic IT) ที่ดี ถึงแม้เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงก็สามารถปรับตัวรวมถึงใช้พื้นฐานความรู้ที่มีต่อยอดความรู้ให้ทันการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นตลอดเวลาได้ • การยกระดับกำลังแรงงานที่อยู่ในภาคการผลิตอยู่แล้วให้มีความสามารถในระดับช่างเทคนิค รวมถึงแรงงานที่มีทักษะเฉพาะด้านและมีความเชี่ยวชาญสูงนั้น สามารถใช้มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติและอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือเป็นเครื่องมือช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้แรงงานได้มีการพัฒนาทักษะฝีมือเพิ่มขึ้น • ข. หน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการ : หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากำลังคนในระบบการศึกษา (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ)
2.7 สรุปความต้องการการพัฒนากำลังคนของประเทศเพื่อรองรับการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า 9 สาขาตามกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ต่อ) • 2. การขาดแคลนแรงงานระดับปฏิบัติงานในโรงงาน • พบว่า สาขาการผลิตที่ประสบภาวะการขาดแคลนกำลังคนในระดับพนักงานปฎิบัติงานในโรงงาน ได้แก่ สาขาผลิตภัณฑ์เกษตร สินค้าประมง ผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม สินค้าสุขภาพ ซึ่งผู้ประกอบการสะท้อนภาพเหตุผลหลักของภาวะการขาดแคลนแรงงานดังกล่าวว่า เกิดจากการที่สาขาการผลิตเหล่านี้มีระดับค่าจ้างเฉลี่ยต่ำกว่าสาขาการผลิตอื่นๆ เช่น ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้แรงงานไทยเลือกไปทำงานกับสาขาการผลิตอื่นที่ได้รับค่าจ้างแรงงานสูงกว่า ทำให้ผู้ประกอบการในสาขาการผลิตที่ใช้แรงงานในระดับปฏิบัติการจำนวนมากและขาดแคลนกำลังแรงงานปรับตัวด้วยการจ้างแรงงานต่างด้าว อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการพบว่า การจ้างแรงงานต่างด้าว แม้จะมีต้นทุนค่าจ้างที่ต่ำกว่า แต่ยังประสบปัญหาการขาดประสิทธิภาพในการสื่อสาร และประสิทธิภาพในการทำงาน • ข้อเสนอแนะที่ได้จากการประชุมระดมสมองผู้ประกอบการซึ่งต้องการให้ภาครัฐพิจารณาคือ ภาวะขาดแคลนแรงงานในปัจจุบันทำให้มีแรงกดดันที่จะต้องจ้างแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงาน ซึ่งตามกฎหมายอนุญาตให้แรงงานเหล่านี้ทำงานกรรมกรได้นั้น
2.7 สรุปความต้องการการพัฒนากำลังคนของประเทศเพื่อรองรับการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า 9 สาขาตามกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ต่อ) • ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ การใช้แรงงานต่างด้าวที่เป็นแรงงานไร้ทักษะจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของผลิตภาพแรงงาน (labor productivity) ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยเทียบกับประเทศอื่นๆ ลดลงได้ในระยะยาว จึงควรมีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการใช้แรงงานต่างด้าวให้ชัดเจนว่า ไทยจะใช้แรงงานต่างด้าวเหล่านี้เพื่อทำงานแบกหามเป็นกรรมกรต่อไป หรือจะมีนโยบายยอมรับแรงงานต่างด้าวเหล่านี้ในฐานะคนงานที่ได้รับการเชื้อเชิญ (guest worker) ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาและสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศไทย และยินยอมที่จะลงทุนพัฒนาฝีมือและสร้างมาตรฐานสำหรับแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในไทยโดยผ่านการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง การยกระดับฝีมือให้แรงงานเหล่านี้จะส่งผลให้ผลิตภาพแรงงานต่างด้าวสูงขึ้น เป็นผลดีต่อผู้ประกอบการและเศรษฐกิจไทย การวัดมาตรฐานฝีมือแรงงานก็จะช่วยคัดเลือกคนต่างด้าวที่จะเข้ามาทำงาน และเมื่อแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนเหล่านี้ผ่านการฝึกอบรมและผ่านเกณฑ์มาตรฐานจนสามารถปฏิบัติงานได้แล้ว ควรจะอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตทำงานต่อได้อย่างสะดวกมากขึ้น
2.7 สรุปความต้องการการพัฒนากำลังคนของประเทศเพื่อรองรับการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า 9 สาขาตามกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ต่อ) • ข้อเสนอแนะดังกล่าวเป็นข้อเสนอแนะที่สำคัญและพึงนำไปพิจารณา แต่เนื่องจากการจ้างแรงงานต่างด้าวดังกล่าวมีผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้น จึงสนับสนุนแผนแม่บทกระทรวงแรงงาน (พ.ศ.2555-2559) ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริหารจัดการด้านแรงงานระหว่างประเทศ กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาระบบบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว ซึ่งมีแนวดำเนินการในข้อ 5 ระบุถึงแผนการดำเนินงานในระยะยาวคือการดำเนินการศึกษาและจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการจัดตั้งส่วนราชการที่มีภารกิจบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวทั้งระบบ ทั้งนี้ในการจัดทำการศึกษาดังกล่าวควรศึกษาถึงความสำคัญและจำเป็น ผลดี ผลเสีย โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น โครงสร้างประชากรของไทยที่มีอัตราการเกิดลดลง ส่งผลต่ออัตรากำลังแรงงานที่มีแนวโน้มลดลง สัดส่วนของผู้สูงอายุที่มากขึ้น ผลกระทบทางสังคมของการเปิดรับแรงงานต่างด้าวอย่างรอบด้าน เพื่อกำหนดนโยบายที่เหมาะสม
2.7 สรุปความต้องการการพัฒนากำลังคนของประเทศเพื่อรองรับการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า 9 สาขาตามกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ต่อ) 3. การขาดทักษะด้านภาษาของกำลังแรงงานไทย แรงงานไทยทุกระดับยังประสบปัญหาอ่อนภาษาอังกฤษอยู่ ทั้งแรงงานในระดับช่างเทคนิคที่ต้องอ่านคู่มือภาษาต่างประเทศ และแรงงานในระดับปฏิบัติงานในโรงงานที่ต้องทำงานกับเครื่องมือเครื่องจักรที่นำเข้าจากและมีการเขียนกำกับวิธีใช้เครื่องจักรเหล่านั้นเป็นภาษาต่างประเทศ ก. การยกระดับมาตรฐานด้านทักษะภาษาให้แรงงานไทย การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของแรงงานให้มีความรู้ทักษะในด้านภาษาต่างประเทศจะช่วยให้แรงงาน โดยเฉพาะการทำงานส่วนใหญ่ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นจำเป็นต้องมีทักษะทางด้านภาษาที่ดีเท่าที่ควรในการเรียนรู้ การสื่อสาร และการทำงานกับลูกค้าต่างประเทศ
2.7 สรุปความต้องการการพัฒนากำลังคนของประเทศเพื่อรองรับการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า 9 สาขาตามกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ต่อ) • ข. พันธกิจและหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการ • หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน) ต้องดำเนินการเตรียมความพร้อมในด้านการพัฒนาทักษะด้านภาษาต่างประเทศ ให้กับผู้ที่อยู่ในระบบการศึกษา และกำลังแรงงานในระบบ ด้วยการฝึกอบรมภาษาและวัฒนธรรมอาเซียนให้กับแรงงานไทย • ดังนั้น จึงสนับสนุนให้เกิดการปฏิบัติตามแผนแม่บทกระทรวงแรงงาน (พ.ศ.2555-2559) ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การเพิ่มขีดความสามารถของกำลังแรงงานและผู้ประกอบการในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาศักยภาพแรงงานและสถานประกอบการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในบริบทสากล ซึ่งมีแนวทางดำเนินงานคือ การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของแรงงานและผู้ประกอบการให้มีความรู้ทักษะในด้านภาษาต่างประเทศ และความรู้ทักษะในด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะช่วยให้แรงงานและผู้ประกอบการสามารถเชื่อมโยงการดำเนินธุรกิจทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ
2.7 สรุปความต้องการการพัฒนากำลังคนของประเทศเพื่อรองรับการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า 9 สาขาตามกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ต่อ) 4. การขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพันธกิจของการรวมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของกำลังแรงงานไทย ก. การประชาสัมพันธ์พันธกิจของการรวมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นบทบาทหน้าที่ของภาครัฐที่นอกจากดำเนินบทบาทในฐานะผู้เจรจาและลงนามในข้อตกลงแล้ว ควรมีบทบาทสำคัญในการประชาสัมพันธ์ว่าประเทศไทยได้อะไร เสียอะไรจากการเปิดเสรีตามกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการได้เข้าใจ อันจะนำไปสู่การตระหนักและเตรียมปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้อย่างเท่าทันและเหมาะสม ข. พันธกิจและหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการ การกลั่นกรองสาร (message) ที่จะสื่อออกไปสู่สาธารณชนก็เป็นเรื่องสำคัญ จึงควรมีการประชุมระดมสมองของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้า นักวิชาการ) เพื่อพิจารณาข้อความที่ประชาชนควรจะรู้และจะเป็นประโยชน์ต่อการเตรียมรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและผลกระทบจากข้อตกลงอาเซียนกับประเทศคู่ค้าอื่นๆ เช่น อาเซียน-จีน อาเซียน+3 อาเซียน+6