880 likes | 1.15k Views
การบรรยาย เรื่อง “ หลักเกณฑ์และมาตรฐานการปรับปรุงหลักสูตร ”. โดย นางมยุรี สิงห์ไข่มุกข์ วันที่ 2 9 มิถุนายน 2552 ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี. ขั้นตอนการรับทราบการให้ความเห็นชอบหลักสูตร ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. คณะกรรมการสภาวิชาการมหาวิทยาลัย/สถาบัน.
E N D
การบรรยาย เรื่อง“หลักเกณฑ์และมาตรฐานการปรับปรุงหลักสูตร” โดย นางมยุรี สิงห์ไข่มุกข์ วันที่ 29 มิถุนายน 2552 ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี
ขั้นตอนการรับทราบการให้ความเห็นชอบหลักสูตร ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา คณะกรรมการสภาวิชาการมหาวิทยาลัย/สถาบัน สภามหาวิทยาลัย/สถาบัน ให้ความเห็นชอบ/อนุมัติ รับรองความถูกต้อง ของข้อมูลหลักสูตร อธิการบดี สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา
สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษาสำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา วิเคราะห์ตาม เกณฑ์มาตรฐาน และหลักเกณฑ์อื่น ที่เกี่ยวข้อง ประสานม/ส ไม่ผ่าน ผ่าน เสนอคณะอนุกรรมการด้านมาตรฐานการอุดมศึกษา เลขาธิการ สกอ. รับทราบการให้ความเห็นชอบ แจ้ง ม/ส แจ้ง ก.พ. ตีราคา บันทึก แจ้ง ม/ส ฐานข้อมูลหลักสูตร
ประเภทของหลักสูตร ☺ หลักสูตรใหม่ ☺ หลักสูตรปรับปรุง ☺ หลักสูตรปรับปรุงเล็กน้อย
หลักสูตรใหม่ ☺ หลักสูตรที่ยังไม่เคยเปิดสอนมาก่อน ☺ หลักสูตรเดิม ถ้าจะเปิดเป็นหลักสูตรนานาชาติถือ เป็นหลักสูตรใหม่ ☺ หลักสูตรเดิมเป็นภาษาหนึ่ง ต้องการเปิดสอนอีก ภาษาหนึ่ง ถือเป็นหลักสูตรใหม่ ☺ การจัดทำเอกสารหลักสูตรกรณีที่เปิดสอน หลักสูตรภาษาอังกฤษหรือหลักสูตรนานาชาติ จะต้องทำหลักสูตรเป็นฉบับภาษาไทยและ ฉบับภาษาอังกฤษหรือภาษาใช้สอน
หลักสูตรปรับปรุง (ทำใหม่ทั้งเล่ม) ☺ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลักสูตรเดิม ☺ เปลี่ยนแปลงชื่อหลักสูตร สาขาวิชา ปริญญา ☺ เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติผู้เข้าศึกษา ☺ เพิ่มแผนการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา
หลักสูตรปรับปรุงเล็กน้อยหลักสูตรปรับปรุงเล็กน้อย ☺ เพิ่มหรือยกเลิกรายวิชา ☺ ปรับปรุงคำอธิบายรายวิชา/เนื้อหาวิชา ☺ เปลี่ยนแปลงหน่วยกิต/ชั่วโมงเรียน หมายเหตุ:เมื่อมีการปรับปรุงเล็กน้อยหลายๆ ครั้ง ควรจะมีการประมวลเป็นหลักสูตรปรับปรุงใหญ่ สัก 1 ครั้ง
1. ชื่อหลักสูตร ให้ระบุชื่อเต็มของหลักสูตรพร้อมสาขาวิชาทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ (สำหรับปกหน้า ให้ระบุชื่อเต็มของหลักสูตรพร้อม สาขาวิชาและระบุว่าเป็นหลักสูตรใหม่หรือหลักสูตร ปรับปรุง และปี พ.ศ. ....)
2. ชื่อปริญญา ให้ระบุชื่อเต็มและอักษรย่อของปริญญา ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยให้มีความสอดคล้องกัน สำหรับชื่อภาษาไทยให้ใช้ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย ปริญญาของสถาบัน หรือ ตามหลักเกณฑ์การกำหนด ชื่อปริญญาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 3. หน่วยงานรับผิดชอบ ให้ระบุภาควิชา คณะ มหาวิทยาลัย หรือสถาบัน
4. ปรัชญาและ/หรือวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ให้แจ้งปรัชญาและ/หรือวัตถุประสงค์ของหลักสูตร อย่างชัดเจน เช่น เพื่อผลิตบัณฑิตประเภทและ คุณลักษณะใด และ/หรือเป็นวัตถุประสงค์พิเศษอันใดของ สถาบันอุดมศึกษานั้น เป็นต้น
5. กำหนดการเปิดสอน ให้ระบุปีการศึกษาที่จะเปิดดำเนินการเรียนการสอน ตามหลักสูตร ในกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาได้รับทราบ/เห็นชอบหลักสูตรแล้ว แต่ยังไม่สามารถดำเนินการเปิดสอนในปีที่กำหนดได้ ให้แจ้งเหตุผลและความจำเป็นให้สำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาทราบ
6. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา ให้ระบุคุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา เช่น คุณวุฒิ แต้มระดับคะแนนเฉลี่ย ประสบการณ์ และคุณสมบัติอื่นๆ ตามความเหมาะสม 7. การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา ให้แจ้งวิธีการและขั้นตอนการคัดเลือกผู้เข้าศึกษา โดยสังเขป
8. ระบบการศึกษา ให้แจ้งระบบการศึกษา การคิดหน่วยกิตรายวิชาภาคทฤษฎี รายวิชาภาคปฏิบัติ และการฝึกงานหรือการฝึกภาคสนาม 9. ระยะเวลาการศึกษา ให้ระบุระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร และระยะเวลา ที่ให้ศึกษาได้อย่างน้อยและอย่างมากของหลักสูตรนั้น
10. การลงทะเบียนเรียน ให้ระบุจำนวนหน่วยกิตอย่างน้อยและอย่างมากที่ให้ ลงทะเบียนเรียนได้ในแต่ละภาคการศึกษา 11. การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา ให้แจ้งเกณฑ์การวัดผลและเกณฑ์การสำเร็จการศึกษา ตามหลักสูตรอย่างละเอียด
12. อาจารย์ผู้สอน ให้แยกเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบ หลักสูตร (เฉพาะหลักสูตรบัณฑิตศึกษา) และ อาจารย์พิเศษโดยแจ้งรายชื่อ คุณวุฒิและสาขาวิชา ตำแหน่งทางวิชาการ ผลงานทางวิชาการการค้นคว้า วิจัย หรือการแต่งตำรา (ถ้ามี) รวมทั้งภาระการสอน ทั้งที่มีอยู่แล้ว และที่จะมีในหลักสูตรที่เปิดสอนใหม่
13. จำนวนนิสิตนักศึกษา ให้แสดงจำนวนนิสิตนักศึกษาที่จะรับเข้าศึกษา ในหลักสูตร และจำนวนบัณฑิตที่คาดว่าจะจบในแต่ละ ปีการศึกษา เป็นระยะเวลา 5 ปีการศึกษา โดยเริ่มตั้งแต่ ปีการศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรนั้น 14. สถานที่และอุปกรณ์การสอน ให้แจ้งสถานที่และอุปกรณ์การสอนทั้งที่มีอยู่แล้วและ ที่ต้องการเพิ่มในอนาคต
15. ห้องสมุด ให้แจ้งจำนวนหนังสือ ตำราเรียน วารสาร และ เอกสารอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอนหรือ อยู่ในระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 16. งบประมาณ ให้แจ้งงบประมาณ โดยแยกรายละเอียดตามหัวข้อ การเสนอตั้งงบประมาณรวมทั้งงบประมาณการค่าใช้จ่าย ต่อหัวในการผลิตบัณฑิตตามหลักสูตรนั้น
17. หลักสูตร ให้ระบุรายละเอียดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (1) จำนวนหน่วยกิต ให้ระบุหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร (2) โครงสร้างหลักสูตร ให้แสดงโครงสร้างหรือ องค์ประกอบของหลักสูตร โดยแบ่งเป็นหมวดวิชา ให้สอดคล้องกับที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐาน หลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
17. หลักสูตร (ต่อ) (3) รายวิชา ให้ระบุเลขประจำรายวิชา ชื่อรายวิชา ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จำนวนหน่วยกิต จำนวนชั่วโมงบรรยาย จำนวนชั่วโมงปฏิบัติ และ จำนวนชั่วโมงศึกษาด้วยตนเอง (4) แผนการศึกษา ให้แสดงรายวิชาที่จัดสอนตาม หลักสูตรในแต่ละภาคการศึกษาจนครบตามหลักสูตร
17. หลักสูตร (ต่อ) (5) คำอธิบายรายวิชา ให้เขียนคำอธิบายรายวิชา เป็นภาษาไทย หรือทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยให้มีรายละเอียดครอบคลุมเนื้อหาสาระสำคัญ ของรายวิชานั้น
18. การประกันคุณภาพของหลักสูตร ให้ทุกหลักสูตรกำหนดระบบการประกันคุณภาพ ของหลักสูตรให้ชัดเจน ซึ่งอย่างน้อยประกอบด้วย ประเด็นหลัก 4 ประเด็น คือ 18.1 การบริหารหลักสูตร 18.2 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน 18.3 การสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา 18.4 ความต้องการของตลาดแรงงาน สังคม และ/หรือ ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต
19. การพัฒนาหลักสูตร ให้ทุกหลักสูตรมีการพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย แสดงการปรับปรุงดัชนีด้านมาตรฐานและคุณภาพ การศึกษาเป็นระยะๆ อย่างน้อยทุกๆ 5 ปี และมี การประเมิน เพื่อพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่องทุก 5 ปี
20. สาระการปรับปรุงหลักสูตร กรณีที่เป็นหลักสูตรฉบับปรับปรุง ให้สถาบันอุดมศึกษา เพิ่มหัวข้อสาระการปรับปรุงหลักสูตรอีก 1 หัวข้อ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 20.1 สาระการปรับปรุงหลักสูตร 20.2 ตารางเปรียบเทียบโครงสร้างหลักสูตรเดิม กับหลักสูตรปรับปรุง 20.3 ตารางเปรียบเทียบสาระการปรับปรุงหลักสูตรเดิม กับหลักสูตรปรับปรุง
21. เอกสารผนวกแนบท้ายหลักสูตร ให้สถาบันอุดมศึกษาจัดหาเอกสารระเบียบ/ข้อบังคับ มหาวิทยาลัย/สถาบัน ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับ..... และเอกสารประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรที่ นำเสนอแนบท้ายหลักสูตรฉบับสมบูรณ์ด้วย
22. จำนวนเอกสาร ให้สถาบันอุดมศึกษาจัดส่งเอกสารเพื่อนำเสนอหลักสูตร ต่อสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประกอบด้วย 22.1 หลักสูตรฉบับสมบูรณ์ จำนวน 4 เล่ม 22.2 แผ่นบันทึกข้อมูลหลักสูตร (CD/…) จำนวน 1 แผ่น
22. จำนวนเอกสาร (ต่อ) 22.3 แบบรายงานข้อมูลการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบ หลักสูตรฯ (สมอ 01 – 06 หรือ สมอ 08 ) โดยนายกสภามหาวิทยาลัย/สถาบัน หรืออธิการบดี ลงนามรับรองความถูกต้องของข้อมูลทั้งหมด พร้อมประทับตราในเอกสารทุกหน้า จำนวน 1 ชุด 22.4 สำเนามติการให้ความเห็นชอบ/อนุมัติหลักสูตรนั้นๆ ของสภามหาวิทยาลัย/สถาบัน
เกณฑ์มาตรฐานการอุดมศึกษาและเกณฑ์มาตรฐานการอุดมศึกษาและ เกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานการอุดมศึกษา ประกอบด้วยมาตรฐาน 3 ด้าน 12 ตัวบ่งชี้☺มาตรฐานด้านคุณภาพบัณฑิต☺มาตรฐานด้านการบริหารจัดการการอุดมศึกษา☺มาตรฐานด้านธรรมาภิบาลของการบริหาร การอุดมศึกษา☺มาตรฐานด้านพันธกิจของการบริหารการอุดมศึกษา☺มาตรฐานด้านการสร้างและพัฒนาสังคมฐานความรู้และ สังคมแห่งการเรียนรู้
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการประกาศกระทรวงศึกษาธิการ • เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอนุปริญญา พ.ศ.2548 • เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.2548 • เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2548 • แนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2548
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง แนวทางการจัดการศึกษาหลักสูตรควบปริญญาโท 2 ปริญญาในสถาบันอุดมศึกษาไทย พ.ศ. 2548 • เป็นการศึกษาใน 2 หลักสูตรที่ต่างกัน โดยสถาบันได้เปิดสอนแล้ว • เนื้อหาทั้ง 2 หลักสูตรมีส่วนสนับสนุนกัน • ใช้ระยะเวลาสั้นลงโดยใช้รายวิชาร่วมกัน • ประหยัดค่าใช้จ่าย • มีความรู้/เชี่ยวชาญในศาสตร์ 2 ศาสตร์อย่างบูรณาการ • วิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระเป็นฉบับเดียวหรือสองฉบับ • ได้รับปริญญา 2 ปริญญา
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอเปิดและดำเนินการ หลักสูตรระดับปริญญาในระบบ การศึกษาทางไกล พ.ศ. 2548
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การขอเปิด และดำเนินการหลักสูตรระดับปริญญา ในระบบการศึกษาทางไกลในสถาบัน อุดมศึกษาไทย พ.ศ. 2548
สถาบันอุดมศึกษาที่ขอเปิดและดำเนินการสถาบันอุดมศึกษาที่ขอเปิดและดำเนินการ • หลักสูตรระดับปริญญาในระบบทางไกล จะต้อง • ได้รับการจัดตั้งถูกต้องตามกฎหมาย • อยู่ในกำกับดูแลของ กระทรวงศึกษาธิการ • มีอาคาร สถานที่ บุคลากร ทรัพยากรอื่นที่ เหมาะสมและเพียงพอต่อการจัดการศึกษา ทางไกล
หลักเกณฑ์ฯ ทางไกล ใช้สำหรับ • ทุกหลักสูตร/ปริญญา/สาขาวิชา • การจัดการศึกษาต้องมีมาตรฐานเทียบเคียงได้กับระบบการศึกษาในระบบชั้นเรียน • สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรทุกระดับที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
ปรัชญาและวัตถุประสงค์ปรัชญาและวัตถุประสงค์ • ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ.2542 เป็นการศึกษาตลอดชีวิต ด้วยวิธีการที่หลากหลาย • มุ่งเปิดและขยายโอกาสให้บุคคลใฝ่หาความรู้ใน เวลาและสถานที่ที่สะดวกตามความสามารถ • สอดคล้องกับพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
การขอเปิดดำเนินการ • หลักสูตรที่เปิดดำเนินการในระบบชั้นเรียนอยู่แล้ว • หลักสูตรที่เปิดดำเนินการใหม่ • เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ หรือ หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
ความพร้อมและศักยภาพการเปิดสอนความพร้อมและศักยภาพการเปิดสอน • คณาจารย์ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร • อาคาร สถานที่ บุคลากร ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง • ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
สถาบันอุดมศึกษา • พัฒนาระบบการศึกษาทางไกลอย่างต่อเนื่อง • จัดให้มีระบบการวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอน • จัดให้มีระบบการตรวจสอบและควบคุมให้ผู้เรียนต้องเรียน สอบ ทำผลงานวิชาการในสาขา
สถาบันอุดมศึกษา • มีแผนการสอบประจำภาค สอบย่อย • จัดสอบในสถานที่ที่มีผู้คุมสอบที่สามารถตรวจสอบการเข้าสอบด้วยตนเองของนักศึกษาได้ • กำหนดและพัฒนาระบบประกันคุณภาพที่เหมาะสมกับการจัดการศึกษาทางไกล • ประกันคุณภาพหลักสูตร • ประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
สกอ. โดย คณะกรรมการการอุดมศึกษา • กำกับ ดูแล ติดตาม ประเมินผล ให้การจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน • กรณีที่สถาบันอุดมศึกษาไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ได้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของ กกอ.
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการประกาศกระทรวงศึกษาธิการ • เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา พ.ศ. 2549 • ปริญญาศิลปศาสตร์ • ปริญญาวิทยาศาสตร์ • ปริญญาวิชาชีพ • ปริญญาทางเทคโนโลยี
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 (รมต.ศธ. ลงนามเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2551) (ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2550 เป็นต้นไป) กำหนดชื่อปริญญา สาขาวิชารัฐศาสตร์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ และสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 (รมต.ศธ. ลงนามเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2551) (ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นไป) กำหนดชื่อปริญญาสาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง แนวทางการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี แบบก้าวหน้าในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2548 • หลักสูตรสอดคล้องกับเกณฑ์ฯ ปริญญาตรีและหลักเกณฑ์อื่นๆ • ส่งเสริมผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษ • ใช้หลักสูตรปกติที่เปิดสอนอยู่แล้ว • สถาบันมีศักยภาพและความพร้อม • สถาบันกำหนดหลักเกณฑ์การรับนักศึกษา วิธีการศึกษา การวัดผลการศึกษาและเกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
ประกาศทบวงมหาวิทยาลัยประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง หลักเกณฑ์การเทียบโอนผล การเรียนระดับปริญญาเข้าสู่ การศึกษาในระบบ พ.ศ. 2545
ประกาศทบวงมหาวิทยาลัยประกาศทบวงมหาวิทยาลัย ข้อแนะนำเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีในการเทียบโอนผลการเรียนระดับปริญญา
สาระสำคัญในการเทียบโอนผลการเรียน • ใช้กับนักศึกษา ซึ่งขอรับการเทียบโอนหน่วยกิต ตามหลักสูตรของสถาบันนั้น ๆ • เทียบหน่วยกิตจากการประเมินว่านักศึกษาได้ “เรียนรู้” อะไรจากประสบการณ์ • หน่วยกิตที่ได้มีค่าเท่ากับหน่วยกิตที่ได้จากการเรียน • มีมาตรฐานการประเมิน
สาระสำคัญในการเทียบโอนผลการเรียน • เทียบโอนในรายวิชาที่มีเนื้อหาสาระ ครอบคลุมไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของรายวิชาที่ขอเทียบ • ระดับปริญญาตรี จะเทียบโอนหน่วยกิตได้รวมกันไม่เกิน 3 ใน 4 และระดับบัณฑิตศึกษา ไม่เกิน 2 ใน 3ของจำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร • ประเมินผล ผ่าน – ไม่ผ่าน ไม่ให้ระดับคะแนนตัวอักษร และไม่นำมาคิดคะแนนเฉลี่ยสะสม
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง แนวทางความตกลงร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยกับสถาบัน อุดมศึกษาต่างประเทศ พ.ศ. 2550 • กิจกรรมด้านการเรียนการสอน/การวิจัย/การถ่ายทอดเทคโนโลยี/การให้บริการทางวิชาการ • การแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรม หรือกิจกรรมทางวิชาการอื่น ๆ • ลักษณะทวิภาคีและพหุภาคี • สถาบันพิจารณาทบทวนความร่วมมือทางวิชาการภายใน 3 ปี