1 / 23

Topic 12 เงิน สถาบันการเงิน นโยบายการเงิน VS การคลังสาธารณะ (Public Finance)

Topic 12 เงิน สถาบันการเงิน นโยบายการเงิน VS การคลังสาธารณะ (Public Finance). เงิน สถาบันการเงิน นโยบายการเงิน หัวข้อหลักที่สำคัญ. คุณสมบัติของเงิน หน้าที่ของเงิน ส่วนประกอบของอุปทานเงิน การเปลี่ยนแปลงในอุปทานของเงิน การควบคุมปริมาณเงิน และนโยบายการเงิน. ความหมายของเงิน.

xiang
Download Presentation

Topic 12 เงิน สถาบันการเงิน นโยบายการเงิน VS การคลังสาธารณะ (Public Finance)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Topic 12 เงิน สถาบันการเงิน นโยบายการเงินVSการคลังสาธารณะ(Public Finance)

  2. เงิน สถาบันการเงิน นโยบายการเงินหัวข้อหลักที่สำคัญ • คุณสมบัติของเงิน • หน้าที่ของเงิน • ส่วนประกอบของอุปทานเงิน • การเปลี่ยนแปลงในอุปทานของเงิน • การควบคุมปริมาณเงิน และนโยบายการเงิน

  3. ความหมายของเงิน เงิน (money)เป็นสิ่งที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน และถือว่าเป็นทรัพย์สินที่มีสภาพคล่อง(Liquidity)สูงสุด • หน้าที่การเงิน - เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (A Medium of Exchange) - เป็นมาตรฐานในการวัดค่า (A Standard for the Measurement of Value) - เป็นเครื่องสะสมค่า (A Store of Value) - เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ (A Standard of Deferred Payment)

  4. ส่วนประกอบของปริมาณเงิน หรือ อุปทานของเงิน(The Determinants of Supply of Money) เงินที่หมุนเวียนอยู่ในมือของประชาชนในขณะใดขณะหนึ่ง ประกอบด้วยสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงสุด คือ • ธนบัตร (Paper Currency) หน่วยงานที่รับผิดชอบในการผลิตคือ ธนาคารแห่งประเทศไทย • เหรียญกษาปณ์ (Coin) หน่วยงานที่รับผิดชอบในการผลิตคือ กรมธนารักษ์ , กระทรวงการคลัง • เงินฝากเผื่อเรียก (Demand Deposit) หน่วยงานที่รับผิดชอบในการดูและเงินฝากเผื่อเรียกคือ ธนาคารพาณิชย์

  5. อัตราดอกเบี้ย MS MS’ 0 อุปทานของเงิน • ปริมาณเงินตามความหมายแบบแคบ(M1)ประกอบด้วย M1 = ธนบัตร + เหรียญกษาปน์ + เงินฝากเผื่อเรียก • ปริมาณเงินตามความหมายแบบกว้าง(M2) ประกอบด้วย M2 = ปริมาณแบบแคบ + เงินฝากออมทรัพย์ + เงินฝากประจำ M2A = M2 + ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note : P/N) อุปทานของเงินมักถูกควบคุมจากธนาคารกลาง

  6. อุปสงค์ของเงิน (The total Demand for Money) • ทฤษฎีของเงินตามทรรศนะของเคนส์ - เงินทำหน้าที่อื่นด้วยนอกเหนือจากการแลกเปลี่ยน - บุคคลถือเงินด้วยเหตุผล 3 ประการ คือ 1. ถือเงินเพื่อการใช้จ่ายประจำวัน (The Transaction Demand) 2. ถือเงินเพื่อสำรองใช้จ่ายยามฉุกเฉิน (The Precautionary Demand) 3. ถือเงินเพื่อเก็งกำไร/ลงทุน (The Speculative Demand)

  7. การถือเงินเพื่อการใช้จ่ายประจำวันและการถือเงินเพื่อสำรองใช้จ่าย ยามฉุกเฉิน จะมีความสัมพันธ์ขึ้นกับรายได้ในทิศทางเดียวกัน • การถือเงินเพื่อเก็งกำไร จะมีความสัมพันธ์กับอัตราดอกเบี้ยในทิศทาง ตรงข้าม • อุปสงค์ต่อการถือเงินจึงมีความสัมพันธ์กับรายได้(Y) และอัตราดอกเบี้ย(i) Md = f (Y, i)

  8. อัตราดอกเบี้ย Md 0 อุปสงค์ของเงิน Md = f (Y, i)

  9. อัตราดอกเบี้ย M r Md 0 ปริมาณเงิน M • การกำหนดอัตราดอกเบี้ยดุลยภาพ • อุปสงค์ของเงินและอุปทานของเงินจึงเป็นตัวกำหนดอัตราดอกเบี้ยในระบบเศรษฐกิจ

  10. การควบคุมปริมาณเงินหรือนโยบายการเงินการควบคุมปริมาณเงินหรือนโยบายการเงิน หน่วยงานที่รับผิดชอบในการใช้มาตรการต่างๆ ทางการเงิน คือธนาคารแห่งประเทศไทย • การซื้อขายหลักทรัพย์ (เช่น พันธบัตรรัฐบาล, ตั๋วเงินคลัง) ถ้าธนาคารต้องการเพิ่มปริมาณเงิน จะต้องรับซื้อหลักทรัพย์คืนจากประชาชน • การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย(Legal reserve) ถ้าธนาคารต้องการเพิ่มปริมาณเงิน จะลดอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย • การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วแลกเงิน (Rediscount rate)

  11. อัตรารับช่วงซื้อลด(Rediscount Rate): อัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดกับธนาคารพาณิชย์ เมื่อธนาคารพาณิชย์นำตั๋วสัญญาให้เงินมาขายลดที่ธนาคาร • อัตราหักลด(Discount Rate): อัตราที่ธนาคารพาณิชย์คิดกับลูกค้าที่นำตั๋วสัญญาใช้เงินมาขายให้ธนาคารพาณิชย์

  12. BOT Commercial Banks Consumers Discount rate 10% Rediscount rate 5% ดังนั้น หากธนาคารแห่งประเทศไทยต้องการเพิ่ม(ลด)ปริมาณ โดยให้ธนาคารพาณิชย์ขยายสินเชื่อ จะทำโดยการลด(เพิ่ม)อัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วแลกเงิน

  13. ตัวอย่าง ณ.วันที่ 1 ธ.ค. 50 นายสมชายส่งออกข้าวไปขายบริษัทUSA ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา มูลค่าคิดเป็นเงินบาท = 100,000 บาท โดยมีกำหนดรับชำระเงินใน 3 เดือนข้างหน้า(1 มี.ค. 51) บริษัท USA ได้จ่ายชำระค่าสินค้าโดยออกตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note : P/N) ให้กับนายสมชาย ลงวันที่ 1 มี.ค. 51 จำนวน 100,000 บาท • ถ้านาย สมชาย ต้องการได้เงินก่อนตั๋วครบกำหนด นาย สมชาย จะนำตั๋วไปขายลดที่ธนาคารพาณิชย์ โดยธนาคารจะคิดดอกเบี้ย (อัตราหักลด)จากนาย สมชาย10 % • ถ้าธนาคารพาณิชย์ต้องการได้เงินก่อนตั๋วครบกำหนด ธนาคารพาณิชย์จะนำตั๋วไปขายลดที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) โดย BOT จะคิดอัตราดอกเบี้ย (อัตรารับช่วงซื้อลด) จากธนาคารพาณิชย์ในอัตรา 5%

  14. การคลังสาธารณะ(Public Finance) • ความหมายและความสำคัญของการคลังสาธารณะ • งบประมาณแผ่นดิน • ประเภทของงบประมาณแผ่นดิน • นโยบายการคลัง หัวข้อหลักที่สำคัญ

  15. การคลังสาธารณะ หมายถึง เศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับรายรับและรายจ่าย ของรัฐบาล • งบประมาณแผ่นดิน แผนเกี่ยวกับการใช้จ่ายของรัฐบาล และแผนเกี่ยวกับการจัดหารายรับให้เพียงพอในรอบระยะเวลาหนึ่งปีงบประมาณจะเริ่มต้นตั้งแต่ 1 ตุลาคม - 30 กันยายน เช่น งบประมาณปี 2551 จะเริ่มต้นตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2550 - 30 กันยายน 2551 หน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดทำงบประมาณแผ่นดิน คือ สำนักงบประมาณ , กระทรวงการคลัง

  16. งบประมาณรายรับของรัฐบาล รายรับของรัฐบาลแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้ 3 ประเภท คือ รายได้ , เงินกู้ และเงินคงคลัง • รายได้ของรัฐบาล รายได้จากภาษีอากร , รายได้จากการขายสินค้า , รายได้จากรัฐ พาณิชย์ , รายได้อื่นๆ , ค่าธรรมเนียม , ค่าปรับ • เงินกู้ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ • เงินคงคลัง : เงินที่เหลือจากการใช้จ่ายในปีก่อนๆ ซึ่งรัฐบาลสะสมไว้

  17. งบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลสำหรับประเทศไทยจำแนกรายจ่ายออกเป็นประเภทต่างๆ เช่น • จำแนกตามลักษณะงาน เช่น การบริการทั่วไป , การบริการชุมชนและสังคม • จำแนกตามลักษณะเศรษฐกิจ • จำแนกตามส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ • จำแนกตามแผนงานของสาขาเศรษฐกิจ เช่น ด้านเกษตร ด้านอุตสาหกรรม ด้านคมนาคม

  18. วัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายของรัฐบาลวัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายของรัฐบาล • 1. เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายในประเทศ • 2. เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายนอกระเทศ • 3. เพื่อเร่งรัดความจำเริญเติบโตทางเศรษฐกิจ • 4. เพื่อให้เกิดความเสมอภาคในการกระจายรายได้

  19. วัตถุประสงค์ของการเก็บภาษีอากรวัตถุประสงค์ของการเก็บภาษีอากร • เพื่อจัดหารายได้ • เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อการใช้ทรัพยากรของประเทศ • เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ • เพื่อเร่งรัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ • หลักในการจัดเก็บภาษีอากร • หลักความยุติธรรม • หลักความมีประสิทธิภาพ (สะดวก) • หลักความแน่นอน (วิธีการจัดเก็บ , อัตราที่จัดเก็บ , ระยะเวลาในการจัดเก็บ , ผู้รับผิดชอบจัดเก็บ) • หลักประหยัด

  20. ประเภทของภาษีอากร • ภาษีทางตรง (Direct Tax) ภาษีที่ผู้เสียภาษีจะต้องรับภาระภาษีที่เสียไว้เอง ผลักให้ผู้อื่นได้ยาก เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา , ภาษีเงินได้นิติบุคคล , ภาษีที่ดิน , ภาษีมรดก • ภาษีทางอ้อม (Indirect Tax) ภาษีที่ผู้เสียภาษีสามารถผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้โดยง่าย ได้แก่ ภาษีที่เก็บจากการบริโภคหรือการขาย เช่น ภาษีสินค้าเข้า , ภาษีสินค้าออก , ภาษีการค้า , ภาษีมูลค่าเพิ่ม , ภาษีสรรพสามิต

  21. อัตราภาษีแบ่งได้ 3 ประเภท • อัตราภาษีคงที่(Flat Rate หรือ Proportional Tax Rate) : อัตราภาษีที่จัดเก็บในอัตราที่เท่ากันโดยไม่คำนึงถึงขนาดของฐานภาษี เช่น ภาษีดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร , ภาษีเงินได้นิติบุคคล , ภาษีมูลค่าเพิ่ม • อัตราก้าวหน้า(Progressive Rate) : อัตราภาษีที่เก็บหลายอัตราโดยอัตราภาษีจะสูงขึ้นเมื่อฐานภาษีสูงขึ้น เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา • อัตราถอยหลัง ( Regressive Rate) : อัตราภาษีที่จัดเก็บหลายอัตราโดยอัตราภาษีจะต่ำลงเมื่อฐานภาษีสูงขึ้น เช่น ภาษีบำรุงท้องที่

  22. ประเภทของงบประมาณแผ่นดินประเภทของงบประมาณแผ่นดิน • งบประมาณสมดุล (Balanced Budget) : งบประมาณที่รายได้ของรัฐบาล เท่ากับ รายจ่ายของรัฐบาล • งบประมาณไม่สมดุล (Unbalanced Budget) : - งบประมาณเกินดุล รายได้ > รายจ่าย - งบประมาณขาดดุล รายได้ < รายจ่าย

  23. นโยบายการคลัง (Fiscal Policy) นโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการจัดหารายได้ (ซึ่งได้แก่ การจัดเก็บภาษีอากร) และนโยบายที่เกี่ยวกับการใช้ จ่ายของรัฐบาล รวมทั้งการก่อหนี้ และการบริหารหนี้ สาธารณะ ตัวอย่าง มาตรการของนโยบายการคลังเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เช่น การจัดเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า , เงินประกันสังคม , โครงการพยุงราคาสินค้าเกษตรกรรม

More Related