1 / 27

รายงานการปฎิบัติงาน ภาคเรียนที่ ปีการศึกษา 2550

สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ. รายงานการปฎิบัติงาน ภาคเรียนที่ ปีการศึกษา 2550. สารบัญ. 1 . บุคลากรปฎิบัติงาน 2 . การเรียนการสอน 3 . กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 4 . กิจกรรมเสริมหลักสูตร 5 . งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย 6 . การพัฒนาบุคลากรและผลงานวิชาการ. 1 . บุคลากรปฎิบัติงาน.

baris
Download Presentation

รายงานการปฎิบัติงาน ภาคเรียนที่ ปีการศึกษา 2550

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สาขาวิชาภาษาต่างประเทศสาขาวิชาภาษาต่างประเทศ รายงานการปฎิบัติงาน ภาคเรียนที่ ปีการศึกษา 2550

  2. สารบัญ 1. บุคลากรปฎิบัติงาน 2. การเรียนการสอน 3. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 4. กิจกรรมเสริมหลักสูตร 5. งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย 6. การพัฒนาบุคลากรและผลงานวิชาการ

  3. 1. บุคลากรปฎิบัติงาน ผู้ทรงคุณวุฒิสัญญารายปี 3 คน Miss Miki Takii Mr. Nathan Ewell Mrs. Lisa Ewell เจ้าหน้าที่โรงเรียน 7 คน นายไห่ หยาง นางสาวกรรณิถา สีวลีพันธ์ Mr. Mathew Harris นายปิตุภูมิ นาคประดา นายเมธชวิน อินธิไชย นางสาวประนอม จิตต์กลาง นางสาวสุกฤตา อานนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิสัญญารายปี 5 คน (ปฏิบัติงานบางส่วนของเวลา) นางสาวนพวรรณ ทองคำ ร.ต.ท.หญิงประวิสาข์ แย้มชื่น นายสัณหพงศ์ ก่อวงษ์ Mr. Gerheart Scheider Mr. Thomas Ezechiele Mrs. Orie Green

  4. 2. การเรียนการสอน 2.1 รายวิชาที่เปิดสอน วิชาพื้นฐาน 3 วิชา รวม 6 หน่วยกิต 120 คาบ/สัปดาห์ วิชาเพิ่มเติม 9 วิชา รวม 13.5 หน่วยกิต 33 คาบ/สัปดาห์ รวม 153 คาบ/สัปดาห์

  5. 2. การเรียนการสอน 2.2 การเตรียมการสอน โครงการจัดการเรียนรู้ 13 รายวิชา แผนการประเมินผลการเรียนรู้13 รายวิชา แผนการจัดการเรียนรู้รวม 13 เล่ม

  6. 2. การเรียนการสอน 2.3 การทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ (MWIT-TEP)

  7. 3. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3.1 กิจกรรมชุมนุม

  8. 3. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3.2 กิจกรรมบรรยายพิเศษ

  9. 3. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3.3 ศึกษาดูงาน

  10. 3. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3.4 คลินิกวิชาการ

  11. 4. กิจกรรมเสริมหลักสูตร 4.1 การจัด English Competition • ระหว่างวันที่ 20-30 มิถุนายน 2550 สาขาวิชาภาษาต่างประเทศได้จัดให้มีกิจกรรม English Competition โดยมีกิจกรรมต่างๆดังต่อไปนี้ • การประกวดร้องเพลงภาษาอังกฤษ • การแข่งขันตอบปัญหาภาษาอังกฤษ • การแข่งขัน Spelling Bee • การแข่งขันใบ้คำภาษาอังกฤษ

  12. 4. กิจกรรมเสริมหลักสูตร 4.2 การจัดส่งนักเรียนเข้าแข่งขันกับหน่วยงานภายนอก  4.2.1 การแข่งขันโครงการประกวดพูดสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ รายการ “CU-US Public Speaking Contest” ของคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2550 โดยกล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ “The US: a friend of Thailand” ผลการแข่งขันมีดังนี้ รางวัลที่ 3 ระดับประเทศ คือ นางสาวธัญญา ปลูกผล ชั้น ม.4/4 รางวัลที่ 1 ระดับประเทศ คือ นายกานต์ อุดมแสงเพ็ชร ชั้น ม.6/6 4.2.2 การแข่งขันตอบปัญหาโอโซนภาคภาษาอังกฤษระดับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 12 –14 มิถุนายน 2550 ณ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ผลการแข่งขันคือนักเรียนผ่านเข้ารอบ 5 คนสุดท้ายในรายการนี้

  13. 4. กิจกรรมเสริมหลักสูตร 4.3 การจัดค่ายพัฒนาภาษาอังกฤษแบบเข้มข้น จัดค่ายพัฒนาภาษาอังกฤษแบบเข้มข้น ในระหว่างวันที่ 18 เมษายน - 11 พฤษภาคม 2550 เป็นเวลา 24 วัน ณ Stamford International University อ. หัวหิน จ. ประจวบคีรีขันธ์ 4.3.1. กิจกรรมการเรียนการสอน นักเรียนต้องเรียนภาษาอังกฤษทั้ง 4 ทักษะ ได้แก่ การฟัง การพูด การอ่านและการเขียน โดยมีนักเรียนตั้งแต่กลุ่ม A-H และแต่ละกลุ่มมีนักเรียนจำนวน 30 คน ทั้งนี้นักเรียนต้องเรียนวิชาภาษาอังกฤษในภาคเช้า ตลอดระยะเวลา 24 วัน 4.3.2. กิจกรรมที่ส่งเสริมให้มีการนำความรู้ทางด้านวิชาภาษาอังกฤษมาประยุกต์ใช้ หลังจากที่นักเรียนเสร็จสิ้นการเรียนในภาคเช้าแล้วนั้น ภาคบ่ายจะเป็นการจัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้เรียนในภาคเช้ามาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมต่างๆ เช่น การแสดงละครภาษาอังกฤษ การประกวดร้องเพลงภาษาอังกฤษ และการประกวดการกล่าวสุนทรพจน์ เป็นต้น

  14. 4. กิจกรรมเสริมหลักสูตร 4.4 โครงการภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาต่อต่างประเทศ ได้ดำเนินการสรรหาหน่วยงานภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง คือ The Nation Edutainment และ สถาบัน Knowledge Plus ให้มาจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ตามแนวข้อสอบมาตรฐานดังกล่าวในระหว่างเดือนมิถุนายน— เดือนกันยายน ให้แก่นักเรียนของโรงเรียน จำนวน 2 กลุ่ม ( TOEFL IBT I—II ) โดยมีเวลาเรียนกลุ่มละ60 ชั่วโมง

  15. 5. งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย 5.1 การกล่าวสุนทรพจน์ ในงานต้อนรับคณะผู้มาเยี่ยมชมโรงเรียน สาขาวิชาฯ สนับสนุนและส่งเสริมให้นักเรียนได้มีโอกาสใช้ภาษาอังกฤษในการทำหน้าที่พิธีกรดำเนินรายการ (M.C.) และในการกล่าวสุนทรพจน์ ในโอกาสต่างๆ ตลอดภาคเรียน ดังนี้

  16. 5. งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย 5.2 การให้การต้อนรับผู้มาเยี่ยมชม ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ ได้ให้การต้อนรับ และบรรยายสรุปลักษณะการดำเนินงาน การบริหารจัดการและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของสาขาวิชาภาษาต่างประเทศ ให้แก่คณาจารย์จากโรงเรียนต่างๆ

  17. 5. งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย 5.3 การเข้าร่วมพิธีเนื่องในวันเฉลิมพระชนม์พรรษา สาขาวิชาภาษาต่างประเทศได้รับมอบหมายให้นำนักเรียนเข้าร่วมพิธีถวายพานพุ่มเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถฯ ณ มณฑลพิธี ที่ว่าการอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2550

  18. 5. งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย 5.4 ประสานงานตามโครงการแลกเปลี่ยน ฯ และติดต่อผู้ทรงคุณวุฒิ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 สาขาวิชาภาษาต่างประเทศได้ทำหน้าที่ติดต่อประสานงานในการเชิญ Mr. Kang Cheng ผู้อำนวยการโรงเรียน จากเมืองต้าหลี่ มณฑลยูนนาน มาเป็นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิถ่ายทอดประสบการณ์จากการเป็นครูและการเป็นผู้บริหารโรงเรียนที่ได้รับการยอมรับนับถือในมณฑลยูนนาน ให้กับคณาจารย์และนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และกลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณ์

  19. 5. งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย 5.6 กิจกรรม Morning Talk สาขาวิชาภาษาต่างประเทศได้ให้ความร่วมมือกับ รายการ Morning Talk ช่อง 11 จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้แก่ อาจารย์ผู้สอนภาษา ภายใต้หัวข้อ “เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษเพื่อเพิ่มศักยภาพในการสอนอย่างมีประสิทธภาพ และจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษนักเรียนภายใต้โครงการ E-Tour for Teens” ทั้งนี้โดยมีคณาจารย์และนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ ในเขตจังหวัดนครปฐม เข้าร่วมกิจกรรมด้วย ประมาณ 300 คน

  20. 5. งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย 5.8 งานเกษียณอายุของผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวิชาภาษาต่างประเทศ เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2550 สาขาวิชาภาษาต่างประเทศได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนเข้าร่วมงาน “ลีลาศกตัญญู...ภาษาศาสตร์รังสรรค์” ในโอกาสที่ ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.สุดาพร ลักษณียนาวิน ผู้ทรงคุณวุฒิประจำสาขาวิชาภาษาต่างประเทศ เกษียณอายุราชการ ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อนึ่งในงานดังกล่าวยังได้มีการจัดประชุมทางวิชาการในหัวข้อต่างๆ เช่น Language Input and Interaction: From Home to Classroom Setting, Linguistic Information Processing of Second Language Learners with different Levels of Language Proficiency เป็นต้น โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เป็นผู้บรรยายด้วย

  21. 5. งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย 5.9 ต้อนรับคณะครูและนักเรียนแลกเปลี่ยน สาขาวิชาภาษาต่างประเทศได้ต้อนรับคณะครูและนักเรียนจาก THE MIDDLE SCHOOL ATTACHED TO YUNNAN NORMAL UNIVERSITY จากเมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน เพื่อเป็นการศึกษาและแลกเปลี่ยนทั้งทางด้านภาษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรมของทั้งสองโรงเรียน โดยมีนักเรียนของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ร่วมให้การรับรองด้วย นับเป็นโอกาสอันดีที่นักเรียนจะได้ฝึกทั้งภาษาจีน และภาษาอังกฤษอีกด้วย นอกจากนี้คณะนักเรียนจีนยังได้ฝึกพูดภาษาไทยอีกด้วย นับเป็นโครงการที่ดีที่ควรให้การสนับสนุนต่อไป

  22. 6. การพัฒนาบุคลากร 6.1 การนิเทศภายใน ได้จัดให้มีการนิเทศภายในให้แก่บุคลากรภายในสาขาวิชาฯ ในหัวข้อต่างๆ เช่น 1. แนวทางการจัดหลักสูตรวิชาภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2551 2. วิธีการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 3. การให้คำปรึกษาแก่นักเรียนที่มีปัญหาในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ 4. การทำหน้าที่ครูที่ปรึกษาของนักเรียนในระดับชั้นต่างๆ 5. การวางตัวให้เหมาะสมในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร

  23. 6. การพัฒนาบุคลากร 6.2 การเข้าอบรม ด้วยโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากโรงเรียนทั่วไปคือเป็นโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนั้นบุคลากรของโรงเรียนจึงต้องมีการพัฒนาและเพิ่มพูนองค์ความรู้ให้ของตนเองตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้ สาขาวิชาภาษาต่างประเทศจึงได้สนับสนุนให้บุคลากรในสาขาวิชาเข้ารับการอบรม สัมมนากับทั้งหน่วยงานภายนอกและภายในโรงเรียน โดยมีรายละเอียดดังนี้ ช่น เข้ารับการอบรม “การเขียนเชิงวิชาการ” ระหว่างวันที่ 6-7 กันยายน 2550 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การอบรมการแปลบทภาพยนต์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ High School Counselor Seminar วันที่ 5 กันยายน 2550 โดยสถาบัน Kaplan

  24. 6. การพัฒนาบุคลากร 6.3 ผลงานทางวิชาการ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 ทางสาขาวิชาภาษาต่างประเทศ ได้นำแสดงผลงานการวิจัยระดับนานาชาติ 3 รายการด้วยกัน ณ The 2nd Biennial International Conference on the Teaching and The Learning of English, June 14-16 2007, Langkawi, Malaysia 1. Pidginized English Pronunciation in Thailand - Hai Yang, Matthew Harris, Pranom Jitklang and Sukritta Anont 2. Improving English Education in Thailand by Modeling Classroom Behaviour - Hai Yang, Matthew Harris and Pranom Jitklang 3. Correcting Final Plosives: A Report of Using Suggestive Signs for Improving English Pronunciation Among Thai Speakers. - Hai Yang and Pranom Jitklang

  25. 6. การพัฒนาบุคลากร 6.4 การแต่งตั้งครูพี่เลี้ยงในสาขาวิชาฯ โครงการครูพี่เลี้ยงในสาขาวิชาเป็นโครงการสืบเนื่องตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 จนกระทั่ง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โดยทางสาขาวิชาภาษาต่างประเทศได้รับครูใหม่เข้าทำงาน 2 คน ตั้งแต่กลางภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 และอีก 2 คน ในต้นภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 ทั้งนี้ เพื่อให้ครูใหม่ดังกล่าวสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอยู่กับองค์กรได้อย่างมีความสุข ดังนั้นสาขาวิชาฯ จึงได้แต่งตั้งครูพี่เลี้ยงดูแลครูใหม่อย่างใกล้ชิด - แนะนำอุดมการณ์ เป้าหมาย และที่มาของโรงเรียนอย่างละเอียด - แนะนำและถ่ายทอดประสบการณ์การสอนนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ - แนะนำงานในแต่ละขั้นตอนที่สาขาวิชารับผิดชอบอย่างรอบด้าน - เข้าสังเกตการสอนของครูใหม่และให้ครูใหม่เข้าสังเกตการสอนของครูพี่เลี้ยง - เป็นตัวอย่างและให้กำลังใจกับครูใหม่ในการทำผลงานวิชาการ - เป็นตัวอย่างให้กับครูใหม่ทางด้านคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้ครูใหม่มีวินัย มีมิตรภาพและความ เป็น หนึ่งเดียว ทุ่มเทในการทำงาน รักองค์กรและนักเรียน

  26. 7. ความสัมพันธ์ภายในสาขาวิชาภาษาต่างประเทศ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สาขาวิชาภาษาต่างประเทศได้นำหลักการที่จะทำให้ครอบครัวมีความสุขมาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการภายในสาขาวิชา ดังนั้นความสัมพันธ์ของบุคลากรในสาขาวิชาทั้งบุคลากรที่ทำงานเต็มเวลาและบุคลากรที่ทำงานบางส่วนของเวลาจึงมีความสัมพันธ์กันในลักษณะพี่-น้อง คอยให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยไม่มีความต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา วัยวุฒิและคุณวุฒิ เป็นอุปสรรคในการทำงานร่วมกัน ซึ่งส่งผลให้งานของสาขาวิชาทุกชิ้นงาน ดำเนินไปได้ด้วยดีอย่างต่อเนื่องและประสบความสำเร็จในทุกภาระงาน

  27. Thank you!

More Related