260 likes | 1.31k Views
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550 - 2554). * สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน. * ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา. * ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. แผนยุทธศาสตร์บูรณาการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งชาติ พ.ศ. 2550-2554. สาเหตุการติดเชื้อที่แปรเปลี่ยนไป.
E N D
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550 - 2554) *สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน *ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา * ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
แผนยุทธศาสตร์บูรณาการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งชาติ พ.ศ. 2550-2554
สาเหตุการติดเชื้อที่แปรเปลี่ยนไปสาเหตุการติดเชื้อที่แปรเปลี่ยนไป • การเปลี่ยนแปลงจากการติดเชื้อส่วนใหญ่ในชายจาก หญิงบริการทางเพศในช่วง พ.ศ. ๒๕๓๕ มาเป็นการติดเชื้อของหญิงจากสามี และสามีจากภรรยา ในปัจจุบัน การจัดบริการให้เข้าถึงกลุ่มผู้ติดเชื้อเอดส์ ให้สามารถป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจึงเป็นประเด็นสำคัญ • การแพร่เชื้อในกลุ่มชายรักชาย เริ่มมีสัดส่วนสูงขึ้น รองจาก การติดเชื้อระหว่างคู่สามีภรรยา
แม่บ้าน หญิงทั่วไป ชายรักต่างเพศ จากกลุ่มประชากรเสี่ยง สู่ประชากรทั่วไป หญิงขายบริการ ผู้ติดสารเสพติด เด็ก ชายรักร่วมเพศ 2527 2528 2529 2530 2531 2532 2533 2534 2535 2536 20 ปีของการระบาดของโรคเอดส์ในประเทศไทย เยาวชนและ ประชากรเคลื่อนย้าย 2545- ปัจจุบัน
ยุทธศาสตร์ • ยุทธศาสตร์ที่ 1 การบริหารจัดการเพื่อบูรณาการงานเอดส์สู่ ภาคส่วนต่างๆ • ยุทธศาสตร์ที่ 2 การบูรณาการป้องกัน ดูแลรักษา และ ลดผลกระทบตามกลุ่มประชากรเป้าหมาย • ยุทธศาสตร์ที่ 3 การคุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ • ยุทธศาสตร์ที่ 4 การติดตาม ประเมินผล และศึกษาวิจัยและ พัฒนาองค์ความรู้ เพื่อการป้องกันและแก้ไข ปัญหาเอดส์
ยุทธศาสตร์ • ยุทธศาสตร์ที่ 1 การบริหารจัดการเพื่อบูรณาการงานเอดส์สู่ ภาคส่วนต่างๆ
ส่วนจังหวัดและท้องถิ่น (Local ownership) ภาพความสำเร็จ • องค์กรในพื้นที่ร่วมกันวางแผน กำหนดนโยบายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ และปัญหาอื่นที่เกี่ยวข้อง • เครือข่ายการดำเนินงานเอดส์ในจังหวัดและท้องถิ่นมีศักยภาพในการบริหารจัดการปัญหาเอดส์ ตัวชี้วัด • ร้อยละของจังหวัดที่มีการระดมงบประมาณมาใช้ในการดำเนินงานเอดส์ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับปัญหาพื้นที่ • ร้อยละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ จากร้อยละ 70 ในปี 2549 เป็นร้อยละ 80 ในปี 2550 เพิ่มขึ้นปีละ ร้อยละ 10
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การบูรณาการป้องกัน ดูแลรักษา และ ลดผลกระทบตาม กลุ่มประชากรเป้าหมาย
1) การป้องกันในบริการทางการแพทย์ ภาพความสำเร็จ • การติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ในประชากรกลุ่มต่างๆ ลดลง ตัวชี้วัด • อัตราความชุกของการติดเชื้อเอชไอวีในหญิงตั้งครรภ์จากร้อยละ 0.95ในปี2549 ให้ต่ำกว่าร้อยละ0.90ทุกจังหวัดในปี2550 และ ลดลงร้อยละ 0.05 ในแต่ละปี • อัตราความชุกของการติดเชื้อเอชไอวีในชายไทยก่อนเข้าเป็นทหาร กองประจำการ จากร้อยละ 0.45 ในปี 2549 ให้ต่ำกว่าร้อยละ 0.40 ทุกจังหวัด ในปี 2550 และลดลงร้อยละ 0.05 ในแต่ละปี
2) การรักษาผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ ภาพความสำเร็จ • การดูแลผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์แบบองค์รวม ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม จิตวิญญาณ และเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ตัวชี้วัด • จำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับการดูแลรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์อย่างครบถ้วนและต่อเนื่อง จากจำนวน 82,000 ราย ในปี 2549 เป็นจำนวน 138,000 ราย ในปี 2550 และเพิ่มขึ้นปีละ 40,000 ราย • อัตราการติดเชื้อเอช ไอ วี ของเด็กต่ำกว่า 2 ปี จากร้อยละ 3 ในปี 2549 ให้ต่ำกว่าร้อยละ 3 ในแต่ละปี
3)การดูแลผู้ติดเชื้อผู้ป่วยเอดส์ ครอบครัว และผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาเอดส์ ภาพความสำเร็จ • ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม และส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมของ ผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ ครอบครัว และผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาเอดส์ลดลง ตัวชี้วัด • ร้อยละของผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยเอดส์ และครอบครัว ได้รับการส่งเสริมอาชีพและ มีรายได้ อย่างน้อยร้อยละ 80 เมื่อสิ้นสุดแผน • ร้อยละของเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์เข้าถึงบริการด้านสุขภาพ การศึกษา และบริการทางสังคมอื่นๆ อย่างน้อยร้อยละ 80 เมื่อสิ้นสุดแผน • ร้อยละของผู้ป่วยเอดส์และผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ ได้รับเบี้ยยังชีพเพื่อการดำรงชีวิต อย่างน้อยร้อยละ 80 เมื่อสิ้นสุดแผน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การคุ้มครองสิทธิด้านเอดส์
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การคุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ ภาพความสำเร็จ • ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม และส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมของผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ ครอบครัว และผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาเอดส์ลดลง • ผู้ติดเชื้อและผู้ได้รับผลกระทบจากเอดส์กลุ่มต่างๆ ได้รับการคุ้มครองสิทธิและได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกับบุคคลอื่นในสังคม • กลุ่มประชากรที่เข้าถึงยาก (เช่น ผู้ใช้สารเสพติด แรงงานต่างชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ผู้ขายบริการทางเพศ ผู้ต้องขัง เป็นต้น) ได้รับการคุ้มครองสิทธิ และเข้าถึงบริการป้องกันได้ครอบคลุมและมีคุณภาพ
ตัวชี้วัด • ร้อยละของผู้ให้บริการ ทั้งด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์มีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องสิทธิที่เกี่ยวข้องกับเอดส์ • ร้อยละของผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ได้รับผลกระทบจากเอดส์ ที่ประสบปัญหาถูกละเมิดสิทธิ ได้รับการดำเนินงานเพื่อคุ้มครองสิทธิ • มีระบบการติดตาม และจัดทำรายงานสถานการณ์ด้านสิทธิ เรื่องโรคเอดส์ โดยการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ รวมทั้งเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ปีละ 1 ครั้ง
ยุทธศาสตร์ • ยุทธศาสตร์ที่ 4 การติดตาม ประเมินผล และศึกษาวิจัยและ พัฒนาองค์ความรู้ เพื่อการป้องกันและแก้ไข ปัญหาเอดส์
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การติดตาม ประเมินผล และศึกษาวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ 1) การติดตามและประเมินผลเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ภาพความสำเร็จ • ประเทศมีระบบติดตามและประเมินผลแผนงานป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์เป็นหนึ่งเดียว • ระบบฐานข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ทันกาล ใช้ประโยชน์ได้จริงบอกผลสำเร็จของแผนได้ • หน่วยงานทุกระดับใช้ประโยชน์ได้ โดยสามารถนำมาวางแผน วิเคราะห์แผนการดำเนินการ รวมทั้งประเมินผลสำเร็จ ตัวชี้วัด • มีระบบติดตามและประเมินผลแผนงานป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์ของประเทศ
2) การศึกษาวิจัย และพัฒนาองค์ความรู้ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ภาพความสำเร็จ • ทิศทางและรูปแบบการวิจัยที่ชัดเจนเหมาะสมและทันต่อสถานการณ์เพื่อตอบสนองการแก้ไขปัญหาเอดส์ในภาพกว้างและกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญ • การระดมทรัพยากรงานวิจัยที่เกิดขึ้นแบบบูรณาการอย่างมีประสิทธิภาพเพื่องานวิจัยเอดส์ทั้งจากภายในและนอกประเทศ • การเข้าถึงแหล่งทุนงานวิจัยอย่างทั่วถึง • การจัดการข้อมูลงานวิจัยและเผยแพร่แลกเปลี่ยนอย่างเป็นระบบระเบียบ • การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาเอดส์ของประเทศ ตัวชี้วัด • จำนวนงานวิจัยด้านเอดส์ที่นำมาใช้เป็นกรอบกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในการจัดการปัญหาเอดส์
Stop AIDS... Keep the promise เอดส์หยุดได้ ร่วมใจรักษาสัญญา