1 / 37

การประเมิน วิเคราะห์ สังเคราะห์สารสนเทศ

GEL 1103. สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า. Information and Education. 5. บทที่. การประเมิน วิเคราะห์ สังเคราะห์สารสนเทศ. ( Evaluate, Analysis, Synthesis ). วัตถุประสงค์. เพื่อให้ผู้เรียน รู้และเข้าใจความหมายของ การประเมิน วิเคราะห์ และสังเคราะห์สารสนเทศ

Download Presentation

การประเมิน วิเคราะห์ สังเคราะห์สารสนเทศ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า Information and Education 5 บทที่ การประเมิน วิเคราะห์ สังเคราะห์สารสนเทศ (Evaluate, Analysis,Synthesis)

  2. วัตถุประสงค์ • เพื่อให้ผู้เรียน รู้และเข้าใจความหมายของการประเมิน วิเคราะห์ และสังเคราะห์สารสนเทศ • เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการประเมิน วิเคราะห์ และสังเคราะห์สารสนเทศ 60 2

  3. ขั้นตอน การประเมิน วิเคราะห์ สังเคราะห์สารสนเทศ สารสนเทศจากการสืบค้น สารสนเทศมีจำนวนมาก ประเมิน (Evaluate) ได้สารสนเทศที่สามารถใช้งานได้จริง น่าเชื่อถือ ระดับของเนื้อหา ตรงกับความต้องการ วิเคราะห์ (Analysis) รับรู้ (อ่าน ดู ฟัง) บันทึกเนื้อหาของสารสนเทศ แยกแยะเนื้อหา รับรู้สารสนเทศ สังเคราะห์ (Synthesis) จัดกลุ่มและสร้างความสัมพันธ์ของสารสนเทศ จัดกลุ่มเนื้อหา จัดทำโครงร่าง ทบทวนและปรับปรุง 60 4

  4. ลักษณะของสารสนเทศที่ดีลักษณะของสารสนเทศที่ดี 1 ลักษณะของสารสนเทศที่ดี (Characteristics of good information) • ต้องมีความความถูกต้อง (Accuracy) • มีความน่าเชื่อถือ (Reliable) • ต้องมีความสมบูรณ์ (Completeness) • สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ (Relevance) • เข้าถึงได้ง่าย (Accessible) • ตรวจสอบได้ (Verifiability) • ทันต่อความต้องการใช้ (Timeliness) • มีความทันสมัย เป็นปัจจุบัน (Up to date) 60 5

  5. การเลือกใช้สารสนเทศ 3 การเลือกใช้สารสนเทศ • การนำสารสนเทศที่ค้นคว้าได้ไปใช้เพื่อทำรายงานหรือบทนิพนธ์ ต้องผ่านกระบวนการ 3 ขั้นตอน • 1. การประเมินสารสนเทศ (evaluate) • 2. การวิเคราะห์สารสนเทศ (Analysis) • 3. การสังเคราะห์สารสนเทศ (synthesis) 78 3

  6. การประเมินสารสนเทศ 4 ความหมายของการประเมินสารสนเทศ การประเมินสารสนเทศ คือ การตรวจสอบว่าสารสนเทศที่ได้มานั้น สามารถตอบคำถาม ที่ตั้งไว้ได้ละเอียดครอบคลุมทุกประเด็น มีคำอธิบายที่เป็นเหตุเป็นผลและมีเอกสารอ้างอิงที่มีความน่าเชื่อถือเพียงใด 60 15

  7. การประเมินสารสนเทศ 4 ความสำคัญของการประเมินสารสนเทศ • เป็นขั้นตอนในการประเมินเพื่อคัดเลือกสารสนเทศที่เราได้จากการสืบค้นที่มีคุณค่า มีความน่าเชื่อถือในทางวิชาการ เป็นการพิจารณาคัดเลือกจากแหล่งสารสนเทศต่างๆ ทั้งจากห้องสมุด อินเทอร์เน็ต เป็นต้น 60 16

  8. การประเมินสารสนเทศ 4 หลักการประเมินสารสนเทศ • พิจารณาว่าเป็นเรื่องที่ตรงกับความต้องการอย่างแท้จริงหรือไม่ • พิจารณาว่าเป็นสารสนเทศที่มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ • พิจารณาว่าเนื้อหาของสารสนเทศอยู่ในระดับใด 60 17

  9. การประเมินสารสนเทศ 4 หลักการประเมินสารสนเทศ • พิจารณาว่าเป็นเรื่องที่ตรงกับความต้องการอย่างแท้จริงหรือไม่ • ต้องการสารสนเทศที่มีเนื้อหาอย่างไร เพื่อตอบโจทย์คำถามอะไร • ต้องการสารสนเทศจากแหล่งใด • ต้องการใช้สารสนเทศไปทำอะไร 60 17

  10. การประเมินสารสนเทศ 4 หลักการประเมินสารสนเทศ • พิจารณาว่าเป็นเรื่องที่ตรงกับความต้องการอย่างแท้จริงหรือไม่ ขั้นตอน ตัวอย่าง เลือกเฉพาะรายการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราศึกษา • อาจโดยการอ่าน • ชื่อเรื่อง • อ่านคำนำ • หน้าสารบัญ • เนื้อเรื่องย่อ ฯลฯ 60 19

  11. การประเมินสารสนเทศ 4 หลักการประเมินสารสนเทศ • พิจารณาว่าเป็นสารสนเทศที่มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ขั้นตอน ตัวอย่าง 1. ประเมินความน่าเชื่อถือของ แหล่งสารสนเทศโดยพิจารณาว่าสารสนเทศนั้นได้มาจากแหล่งสารสนเทศใด บทความที่ได้จากวารสารวิชาการ มีความน่าเชื่อถือมากกว่านิตยสารหรือหนังสือพิมพ์ 60 20

  12. การประเมินสารสนเทศ 4 หลักการประเมินสารสนเทศ • พิจารณาว่าเป็นสารสนเทศที่มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ขั้นตอน ตัวอย่าง 2.ประเมินความน่าเชื่อถือของ ผู้เขียน ผู้จัดทำ สำนักพิมพ์ โดยพิจารณาว่า ผู้เขียนมีคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ ตรงหรือสอดคล้องกับเรื่องที่เขียนหรือไม่ สารสนเทศที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่แต่งโดย รศ.ยืน ภู่สุวรรณ มีความน่าเชื่อถือกว่าที่แต่งโดยผู้แต่งที่ใช้นามแฝงว่า หนุ่มไอที 60 21

  13. การประเมินสารสนเทศ 4 หลักการประเมินสารสนเทศ • พิจารณาว่าเป็นสารสนเทศที่มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ขั้นตอน ตัวอย่าง 3. ประเมินความน่าเชื่อถือของ ทรัพยากรสารสนเทศโดยพิจารณาว่า ทรัพยากรสารสนเทศหรือสารสนเทศนั้นๆ เป็นรูปแบบใด อยู่ในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อไม่ตีพิมพ์ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หากเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ เป็นสิ่งพิมพ์ประเภทใด หนังสือทั่วไป หนังสืออ้างอิง วารสาร นิตยสาร เป็นต้น 60 22

  14. การประเมินสารสนเทศ 4 หลักการประเมินสารสนเทศ • พิจารณาว่าเป็นสารสนเทศที่มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ขั้นตอน ตัวอย่าง 4.ประเมินความทันสมัยของสารสนเทศ - สื่อสิ่งพิมพ์ พิจารณาจาก วัน เดือน ปี ที่พิมพ์ - สื่ออิเล็กทรอนิกส์ พิจารณาจาก วัน เดือน ปีที่เผยแพร่ เป็นต้น 60 23

  15. การประเมินสารสนเทศ 4 หลักการประเมินสารสนเทศ • พิจารณาว่าเนื้อหาของสารสนเทศอยู่ในระดับใด • ระดับเนื้อหาสารสนเทศมี 3 ระดับ ได้แก่ • 1. สารสนเทศปฐมภูมิ (Primary Information) • 2. สารสนเทศทุติยภูมิ (Secondary Information) • 3. สารสนเทศตติยภูมิ (Tertiary Information) 60 24

  16. การประเมินสารสนเทศ 4 หลักการประเมินสารสนเทศ • พิจารณาว่าเนื้อหาของสารสนเทศอยู่ในระดับใด ขั้นตอน ตัวอย่าง 1. สารสนเทศปฐมภูมิ (Primary Information) งานต้นฉบับหรืองานที่ผู้เขียนเผยแพร่ครั้งแรก มักปรากฏในวารสาร หรือรายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ 60 25

  17. การประเมินสารสนเทศ 4 หลักการประเมินสารสนเทศ • ตัวอย่าง เอกสารที่เป็นสารสนเทศปฐมภูมิ (Primary Information) 60 26

  18. การประเมินสารสนเทศ 4 หลักการประเมินสารสนเทศ • พิจารณาว่าเนื้อหาของสารสนเทศอยู่ในระดับใด ขั้นตอน ตัวอย่าง 2. สารสนเทศทุติยภูมิ (Secondary Information) เป็นการนำสารสนเทศปฐมภูมิมาเขียนใหม่ หรือเป็นเครื่องมือช่วยค้นหรือติดตามสารสนเทศปฐมภูมิเช่น หนังสือ บทคัดย่องานวิจัย บทวิจารณ์หนังสือ และวารสารสาระสังเขป 60 27

  19. การประเมินสารสนเทศ 4 หลักการประเมินสารสนเทศ ตัวอย่าง เอกสารที่เป็นสารสนเทศทุติยภูมิ (Secondary Information) 60 28

  20. การประเมินสารสนเทศ 4 หลักการประเมินสารสนเทศ • พิจารณาว่าเนื้อหาของสารสนเทศอยู่ในระดับใด ขั้นตอน ตัวอย่าง 3. สารสนเทศตติยภูมิ (Tertiary Information) เป็นการชี้แนะแหล่งสารสนเทศ 2 ประเภทแรก ไม่ได้ให้เนื้อหาโดยตรง เช่น บรรณานุกรม ดรรชนีวารสาร 60 29

  21. การประเมินสารสนเทศ 4 หลักการประเมินสารสนเทศ ตัวอย่าง เอกสารที่เป็นสารสนเทศตติยภูมิ (Tertiary Information) 60 30

  22. การประเมินสารสนเทศ 4 หลักการประเมินสารสนเทศ • ตัวอย่าง เอกสารที่เป็นสารสนเทศตติยภูมิ (Tertiary Information) 60 31

  23. การประเมินสารสนเทศ 4 หลักการประเมินสารสนเทศ • ตัวอย่าง รูปแบบการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรม 60 32

  24. การวิเคราะห์สารสนเทศ 5 ความหมายของการวิเคราะห์สารสนเทศ • การวิเคราะห์สารสนเทศ หมายถึง กระบวนการแยกแยะสารสนเทศที่สำคัญและสอดคล้องกับเรื่องที่ต้องการออกเป็นกลุ่มย่อยๆ โดยให้สารสนเทศที่มีเนื้อหาเดียวกันหรือที่ค้นได้จากคำสำคัญเดียวกันอยู่ด้วยกัน 60 33

  25. การวิเคราะห์สารสนเทศ 5 กระบวนการของการวิเคราะห์สารสนเทศ การอ่านเนื้อหาของทรัพยากรสารสนเทศ ที่ผ่านการประเมินแล้วว่า สามารถนำมาใช้งานได้จริงๆ ดึงเนื้อหาของสารสนเทศที่สอดคล้องกับประเด็น แนวคิดต่างๆ ที่เราต้องการศึกษา ทำการบันทึกเนื้อหาลงใน บัตรบันทึก นำบัตรบันทึกมาจัดกลุ่มตามประเด็นแนวคิด เพื่อใช้ในการเรียบเรียงเนื้อหาของรายงานต่อไป

  26. การวิเคราะห์สารสนเทศ 5 ขั้นตอนการวิเคราะห์สารสนเทศ 1. อ่านจับใจความสำคัญของเรื่อง 2. พิจารณาเนื้อหาสารสนเทศที่สอดคล้องกับประเด็นแนวคิดต่างๆ ที่ต้องการจะศึกษา 3. บันทึกสารสนเทศที่สอดคล้องกับเรื่องที่ต้องการ เช่น - คำสำคัญ หรือแนวคิด - แหล่งที่มาของข้อมูล เช่น ชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ ชื่อบทความ สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ และเลขหน้าของแหล่งข้อมูล - ใจความหรือข้อความสำคัญ 4. จัดกลุ่มเนื้อหา 60 35

  27. การวิเคราะห์สารสนเทศ 5 บัตรบันทึกความรู้ • การบันทึก เป็นการเขียนเรื่องราว ข้อความ ข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ได้รับจากการฟังการอ่านเพื่อเตือนความจำ หรือศึกษาค้นคว้า • บัตรบันทึกความรู้ คือ บัตรแข็งขนาด 5 ”x 8 ” หรือ 4 ”x 6 ” หรือกระดาษรายงาน A 4 • พับครึ่งใช้บันทึกข้อมูลที่ ต้องการ ควรจดบันทึกเฉพาะตอนที่จะเกี่ยวข้องกับเนื้อหาตามโครงเรื่องที่กำหนดไว้ • ส่วนประกอบของบัตรบันทึกความรู้ • 1. หัวข้อเรื่องที่ต้องการค้นคว้า ลงไว้ที่หัวมุมบนขวาของบัตร • 2. แหล่งที่มาของข้อมูลให้เขียนตามรูปแบบบรรณานุกรม • 3. เลขหน้าเฉพาะของข้อความในส่วนที่ใช้ค้น • 4. ข้อความที่บันทึก 60 36

  28. การวิเคราะห์สารสนเทศ 5 รูปแบบของบัตรบันทึก 60 38

  29. การวิเคราะห์สารสนเทศ 5 บัตรบันทึกความรู้ ตัวอย่างการบันทึกโดยวิธีถอด 60 46

  30. การสังเคราะห์สารสนเทศการสังเคราะห์สารสนเทศ 6 ความหมายของการสังเคราะห์สารสนเทศ การสังเคราะห์สารสนเทศ หมายถึง การกลั่นกรองและย่อความสารสนเทศในแต่ละเรื่อง หรือแต่ละแนวคิดที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว จากหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งแหล่งแล้วนำเสนอใหม่ ในรูปลักษณ์ที่มีการปรับเค้าโครงใหม่ทั้งหมด ซึ่งเค้าโครงใหม่ที่สร้างขึ้นมาต้องนำประเด็นที่มีความสัมพันธ์กันมาเชื่อมโยงกัน จากเรื่องที่กว้างไปยังเรื่องที่เฉพาะเจาะจง 60 47

  31. การสังเคราะห์สารสนเทศการสังเคราะห์สารสนเทศ 6 กระบวนการของการสังเคราะห์สารสนเทศ จัดกลุ่มสารสนเทศที่มีแนวคิดเดียวกัน ไว้ด้วยกัน นำสารสนเทศที่มีแนวคิดเดียวกันมาจัดกลุ่มอีกครั้ง เพื่อสร้างความสัมพันธ์ตามลำดับชั้น นำแนวคิดต่างๆ ที่เราได้สร้างความสัมพันธ์ในแต่ละกลุ่มของแนวคิด มารวบรวมเป็นโครงสร้างใหม่ในรูปของโครงร่าง ประเมินโครงร่างที่ได้ ครอบคลุมครบถ้วนหรือไม่ กรณีไม่ ครบถ้วน ต้องกลับไปเริ่มที่กระบวนการแสวงหาคำตอบใหม่ 60 49

  32. การสังเคราะห์สารสนเทศการสังเคราะห์สารสนเทศ 6 ตัวอย่างการจัดกลุ่มสัมพันธ์ตามลำดับขั้น 60 50

  33. การสังเคราะห์สารสนเทศการสังเคราะห์สารสนเทศ 6 6 การเขียนแผนผังความคิด หรือแผนที่ความคิด (Mind Map) 60 51

  34. แผนผังความคิด หรือแผนที่ความคิด (MindMap) หัวข้อ “ธูปหอม”

  35. แผนผังความคิด หรือแผนที่ความคิด (MindMap) หัวข้อ “กาแฟร้านป้าทอง”

  36. แผนผังความคิด หรือแผนที่ความคิด (MindMap) หัวข้อ “ผ้าไหม”

  37. ขั้นตอน การประเมิน วิเคราะห์ สังเคราะห์สารสนเทศ สารสนเทศจากการสืบค้น สารสนเทศมีจำนวนมาก ประเมิน (Evaluate) ได้สารสนเทศที่สามารถใช้งานได้จริง น่าเชื่อถือ ระดับของเนื้อหา ตรงกับความต้องการ วิเคราะห์ (Analysis) รับรู้ (อ่าน ดู ฟัง) บันทึกเนื้อหาของสารสนเทศ แยกแยะเนื้อหา รับรู้สารสนเทศ สังเคราะห์ (Synthesis) จัดกลุ่มและสร้างความสัมพันธ์ของสารสนเทศ จัดกลุ่มเนื้อหา จัดทำโครงร่าง ทบทวนและปรับปรุง 60 4

More Related