290 likes | 484 Views
จัดทำโดย นายอดิศักดิ์ งามแสง. พรบ . ว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ . ศ . 2550. สังคมดิจิทัล. การกระทำความผิดในสังคมดิจิทัล. การรบกวน / แอบแก้ไขข้อมูล การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์ การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ การแอบเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ การแอบเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์. Spyware.
E N D
จัดทำโดย นายอดิศักดิ์ งามแสง พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ. 2550
การกระทำความผิดในสังคมดิจิทัลการกระทำความผิดในสังคมดิจิทัล • การรบกวน/แอบแก้ไขข้อมูล • การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์ • การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ • การแอบเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ • การแอบเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ Spyware Virus Spam Mail Cyber Attack Hack
การกระทำความผิดในสังคมดิจิทัลการกระทำความผิดในสังคมดิจิทัล • ผู้กระทำความผิดอยู่ตรงไหนก็ได้ในโลก • มีการใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อน • ยากต่อการตรวจพบร่องรอย • ยากต่อการจับกุม และนำผู้กระทำผิดมาลงโทษ • ความเสียหายกระทบคนจำนวนมาก และรวดเร็ว
พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐ มีผลบังคับใช้แล้ว วันพุธที่ 18 กรกฎาคม 2550
เจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อกำหนด • ฐานความผิด และบทลงโทษ • อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ • หน้าที่ของผู้ให้บริการ
กฎหมายประเทศอื่น • Computer Misue Act (สิงคโปร์) • Computer Crimes Act 1997 (มาเลเซีย) • Electronic Commerce Act 2000 (ฟิลิปปินส์) • Unauthorized Computer Access Law 2000 (ญี่ปุ่น) • Information Technology Act 2000 (อินเดีย)
ประเด็นสำคัญ ระบบคอมพิวเตอร์/ ข้อมูลคอมพิวเตอร์/ ข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ ครอบคลุมถึง ????
ประเด็นสำคัญ ผู้ให้บริการ ครอบคลุมถึง ????
ผู้ให้บริการ (ม.4) 1. ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น • ผู้ให้บริการ หมายถึง Internet Service Provider ทั่วไป +ผู้ดูแลเว็บ และครอบคลุมถึงหน่วยงานที่มีการจัดบริการออนไลน์ บริการใช้อินเทอร์เน็ตและเครือข่ายทั่วไปในหน่วยงานของตนเองอีกด้วย เจ้าของร้านอินเทอร์เน็ตเจ้าของเว็บไซต์ รวมทั้งเจ้าของเว็บบอร์ด หากเปิดบริการให้สาธารณชน เข้ามาใช้บริการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต หรือสามารถแพร่ข้อความ ภาพ และเสียง ผ่านเว็บที่ท่านเป็นเจ้าของ
ผู้ให้บริการ 2. ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น หน่วยงานต่างๆที่เปิดบริการอินเทอร์เน็ต ให้แก่ผู้อื่นหรือกลุ่มพนักงาน/นักศึกษาในองค์กร
หน้าที่ของผู้ให้บริการ (ม.26) • ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่า90 วัน นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ • แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกิน90 วันแต่ไม่เกิน1 ปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ • ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า90 วันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง
ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ • ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึง • แหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง • เวลา วันที่ • ปริมาณ ระยะเวลา • ชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ ติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
มาตรา ๒๖ • ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ • มาตรา 5“ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
การเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึงการเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึง • มาตรา 6 “ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบการเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ • มาตรา 7“ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบการดักข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ • มาตรา 8“ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
การรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์การรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์ • มาตรา 9“ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ • มาตรา 10“ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
การกระทำความผิดอื่นๆ • การส่งข้อมูลหรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์โดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มามาตรา 11 • การกระทำซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคง มาตรา 12 • การจำหน่าย/เผยแพร่ชุดคำสั่งที่ใช้ในการกระทำผิด มาตรา 13 • การเผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม มาตรา 14
การกระทำความผิด • สปายแวร์ (Spyware) • Sniffer • การใช้ชุดคำสั่งในทางมิชอบ (Malicious code) เช่น Viruses, Worms, Trojan horses • Spamming • การโพสต์ หรือนำเข้าข้อมูล • การตัดต่อภาพ
บทลงโทษ โทษจำคุก โทษปรับ ฐานความผิด มาตรา ๕ เข้าถึงคอมฯ โดยมิชอบ ไม่เกิน 6 เดือน ไม่เกิน 10,000 มาตรา ๖ ล่วงรู้มาตรการป้องกัน ไม่เกิน 1 ปี ไม่เกิน 20,000 มาตรา ๗ เข้าถึงข้อมูลโดยมิชอบ ไม่เกิน 2 ปี ไม่เกิน 40,000 มาตรา ๘ การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์ ไม่เกิน 3 ปี ไม่เกิน 60,000 มาตรา ๙ การรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์ ไม่เกิน 5 ปี ไม่เกิน 100,000 มาตรา ๑๐ การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ ไม่เกิน 5 ปี ไม่เกิน 100,000
บทลงโทษ ฐานความผิด โทษจำคุก โทษปรับ มาตรา ๑๑ สแปมเมล์ - ไม่เกิน 100,000 มาตรา ๑๒(๑) ก่อความเสียหายแก่ข้อมูล ไม่เกิน 10 ปี (และ) ไม่เกิน 200,000 มาตรา ๑๒(๒) กระทบความมั่นคง 3 - 15 ปี 60,000 - 300,000 มาตรา ๑๒ เป็นเหตุให้เสียชีวิต 10 – 20 ปี - มาตรา ๑๓ จำหน่าย/เผยแพร่ชุดคำสั่ง ไม่เกิน 1 ปี ไม่เกิน 20,000 มาตรา ๑๔ เผยแพร่เนื้อหาไม่เหมาะสม ไม่เกิน 5 ปี ไม่เกิน 100,000
บทลงโทษ ฐานความผิด โทษจำคุก โทษปรับ มาตรา ๑๕ ความรับผิดของผู้ให้บริการ ไม่เกิน 5 ปี ไม่เกิน 100,000 มาตรา ๑๖ การตัดต่อภาพ ไม่เกิน 3 ปี ไม่เกิน 60,000
การเตรียมตัวของผู้ให้บริการการเตรียมตัวของผู้ให้บริการ • ศึกษา พรบ. • ศึกษาี่วิธีการเก็บ logfile ของข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ • ติดตาม ตรวจสอบข้อมูลจากผู้ใช้บริการ
ผู้ใช้บริการ • อย่าบอกpassword ของท่านแก่ผู้อื่น • อย่าให้ผู้อื่นยืมใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อเข้าเน็ต • อย่าติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สายในบ้านหรือที่ทำงานโดยไม่ใช้มาตรการการตรวจสอบผู้ใช้งานและการเข้ารหัสลับ • อย่าเข้าสู่ระบบด้วยuser ID และpassword ที่ไม่ใช่ของท่านเอง • อย่านำuser ID และpassword ของผู้อื่นไปใช้งานหรือเผยแพร่ • อย่าส่งต่อซึ่งภาพหรือข้อความหรือภาพเคลื่อนไหวที่ผิดกฎหมาย • อย่ากด"remember me" หรือ"remember password" ที่เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะและอย่าlog-in เพื่อทำธุรกรรมทางการเงินที่เครื่องสาธารณะถ้าท่านไม่ใช่เซียนทางcomputer security • อย่าใช้WiFi (Wireless LAN) ที่เปิดให้ใช้ฟรีโดยปราศจากการเข้ารหัสลับข้อมูล • อย่าทำผิดตามมาตรา ๑๔ ถึง ๑๖ เสียเองไม่ว่าโดยบังเิอิญหรือโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม • http://www.etcommission.go.th/ • http://wiki.nectec.or.th/nectecpedia/index.php/LAWS