440 likes | 747 Views
ยินดีต้อนรับ เจ้าหน้าที่กรมบ่อแร่ กระทรวงพลังงานและบ่อแร่. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. โปรแกรมการบรรยาย. 09:00-11:30 น. บรรยาย 11:30-12:00 น. ซักถามข้อสงสัย. ประวัติผู้บรรยาย. จบปริญญาตรี วศ.บ.เหมืองแร่และโลหะวิทยา จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
E N D
ยินดีต้อนรับเจ้าหน้าที่กรมบ่อแร่ กระทรวงพลังงานและบ่อแร่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
โปรแกรมการบรรยาย 09:00-11:30 น. บรรยาย 11:30-12:00 น. ซักถามข้อสงสัย
ประวัติผู้บรรยาย • จบปริญญาตรี วศ.บ.เหมืองแร่และโลหะวิทยา จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ • จบปริญญาโท วศ.ม.อุตสาหการโรงงาน จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กทม • รับราชการที่ กรมทรัพยากรธรณี (กพร.ในปัจจุบัน) เป็นเวลา 10 ปี ด้านความปลอดภัยในการทำเหมือง • ทำงานที่ปูนซิเมนต์ไทย (SCG ในปัจจุบัน) เป็นเวลา 21 ปี ด้านการทำเหมืองหิน ดิน ถ่านหิน ยิปซั่ม ไพโรฟิลไลต์ • เจ้าของเว็บไซต์ ภูมิปัญญาอภิวัฒน์ www.budmgt.com • ความเชี่ยวชาญพิเศษ ด้าน เสถียรภาพความลาดเอียง การระเบิดหิน การบริหารงานเหมือง การลดต้นทุนการทำเหมือง สิ่งแวดล้อมในการทำเหมือง การฟื้นฟูเหมือง การพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน การแต่งเพลงประเภทชีวิตคนทำงาน เทคโนโลยี่จุลินทรีย์อีเอ็ม เทคโนโลยี่เอ็นไซม์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
ประสบการณ์ของภาคเอกชนในการประกอบธุรกิจเหมืองแร่ประสบการณ์ของภาคเอกชนในการประกอบธุรกิจเหมืองแร่ Mining Experiences in Practice สมหวัง วิทยาปัญญานนท์ บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ จำกัด 19 มกราคม 2555
หัวข้อการบรรยาย • แนะนำธุรกิจบริษัท เอสซีจีซิเมนต์(ธุรกิจ โรงงาน เหมือง) • ปรัชญาการดำเนินธุรกิจ (อุดมการณ์ 4 วัฒนธรรมองค์กร) • ระบบการบริหารงานเหมือง (TQM, TPM, ISO 9000,14001,18001การดูแลสุขภาพพนักงาน) • การพัฒนาอย่างยั่งยืน (เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย สังคม(ชุมชน)) • วัตถุดิบที่ใช้ในธุรกิจบริษัท ประเภททรัพยากรธรณี (ดิน หิน แร่ ทราย) • การได้มาซึ่งแหล่งวัตถุดิบ (การสำรวจ การจัดหา การได้มาซึ่งประทานบัตรและใบอนุญาตต่างๆ EIA) • การทำเหมืองแร่(การเปิดเหมือง การออกแบบเหมือง การระเบิด การขุดตัก การขนส่ง การย่อย การควบคุมคุณภาพ การเก็บกองดิน การเตรียมแผนรองรับเมื่อใบอนุญาตล่าช้า การฟื้นฟูเหมือง การระบายน้ำ เสถียรภาพความลาดเอียง หลุมโพรงถ้ำ การป้องกันน้ำท่วม แหล่งน้ำใช้) • การปิดเหมือง (การวางแผนภูมิทัศน์สุดท้าย การฟื้นฟูเหมือง การพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน) ที่สอดคล้องความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย และระบบนิเวศน์ใหม่
แนะนำธุรกิจบริษัท • ธุรกิจ SCG Cement มีผลิตปูนซีเมนต์เทา ปูนซีเมนต์ขาว มอร์ตาร์ คอนกรีตผสมเสร็จ อิฐทนไฟ • แบรนด์เนม SCG Cement ภายใต้บริษัทแม่ SCG ตรายี่ห้อ มีตราเสือ ตราช้าง CPAC และ SCG • โรงงานปูนซีเมนต์เทา มีที่ แก่งคอย(SKK) พระพุทธบาท(STL) จังหวัดสระบุรี ทุ่งสง (STS) จังหวัดนครศรีธรรมราชบ้านสา แจ้ห่ม(SLP) จังหวัดลำปาง และ ที่กัมปอต (KCC) กัมพูชา • โรงงานปูนซีมนต์ขาว (SWCC) พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี • โรงงานอิฐทนไฟ บ้านหมอ จังหวัดสระบุรี • โรงงานคอนกรีตผสมเสร็จ กระจายทั่วประเทศไทย ที่พม่า กัมพูชา • โรงงานผลิตมอร์ตาร์ มักอยู่บริเวณใกล้ๆ โรงงานปูนซีเมนต์ • เหมือง ส่วนใหญ่อยู่ติดและใกล้โรงงาน เช่น หินปูน ดินเหนียว ดินอลูมิน่า ลูกรัง ดินซิลิก้าสูง ที่ไกลๆ จากโรงงาน มี ถ่านหิน(ลำปาง) ยิปซั่ม(พิจิตร นครสวรรค์ สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช)
ปรัชญาการดำเนินธุรกิจปรัชญาการดำเนินธุรกิจ • อุดมการณ์สี่ • ตั้งมั่นในความเป็นธรรม • มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ • เชื่อมั่นในคุณค่าของคน • ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม • วัฒนธรรมองค์กร • Innovation นวัตกรรม • Open เปิดใจรับฟัง • Challenge ทำงานที่ท้าทาย • Sustainable พัฒนาอย่างยั่งยืน
ระบบบริหารงานเหมือง • TQM นโยบายคุณภาพ ความพึงพอใจลูกค้า การจัดการนโยบาย การจัดการงานประจำวัน ผังก้างปลา การจัดการปัญหา Fact and Data การจัดการข้อบกพร่อง การจัดการข้อร้องเรียนจุดวัดคุณภาพ QCDSMEE จุดควบคุม DOE การกระจายอำนาจ การกระจายนโยบาย • TPM การซ่อมเอง(AM) การซ่อมตามแผน(PM) การปรับปรุงมุ่งเน้น(FI) การจัดการโครงการใหม่ (IPM) การจัดการคุณภาพ(QM) การอบรมเพิ่มความรู้(ET) ความปลอดภัยสุขภาพสิ่งแวดล้อม(SHE) การจัดการสำนักงาน (Admin) • ISO 9000 เน้นการทำงานอย่างมีระบบ ตามโพรซิเยอร์ คู่มือปฏิบัติงาน เพื่อให้ลูกค้าเชื่อมั่นในการทำงาน จากสินค้าและบริการ ว่ามีคุณภาพตามที่ตกลงกัน • ISO 14001 เน้นการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการทำงาน หากมีมากเกินกว่าที่ยอมรับ ก็จะมีแผนการลดผลกระทบให้อยู่ในระดับที่ยอมรับ • ISO 18001 เน้นการประเมินความเสี่ยงภัยจากการทำงาน ที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ แล้วมีแผนการลดความเสี่ยงภัย ตลอดจนรวมถึงการจัดการความปลอดภัย เหตุฉุกเฉินต่างๆ • CSR Dpim เน้น การดูแลผู้มีส่วนได้เสีย ที่เกี่ยวข้องกับการทำเหมือง อย่างสมดุลย์ พอดี สร้างชุมชนเข้มแข็ง
การพัฒนาอย่างยั่งยืน • ลดผลกระทบ ลดความเสี่ยง ตามมาตรฐานและกฎหมาย • ทำให้ดีกว่าก่อนดำเนินการเชิงธุรกิจ • มีการผลิต • มีการขาย • มีกำไรที่เหมาะสม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและ ความปลอดภัย สังคม • ชุมชน ราชการ การเมือง ยอมรับ • พัฒนาคุณภาพชีวิตสังคมเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม • % Covering พอเพียงและสมดุล พอเพียง คือ เหมาะสม ไม่ใช่ Maximize profit และ Minimize Cost แต่เป็น Optimize ธรรมาภิบาล สมดุล คือ ธุรกิจรับได้ ชุมชนและสังคมอื่นรับได้ ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมรับได้ • โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีส่วนร่วม มีคุณธรรม
วัตถุดิบที่ใช้ในธุรกิจบริษัทวัตถุดิบที่ใช้ในธุรกิจบริษัท • วัตถุดิบประเภทองค์ประกอบผลิตปูนเม็ด • ผลิตปูนซีเมนต์เทา • หินปูนคุณภาพปกติ CaO 48-52% ดินเหนียวดำ Al2O3 14-22% ดินลูกรัง Fe2O3 25-35% ทรายหรือดินดานเนื้อทราย SiO2 75-85% ดินแดงอลูมิน่าสูง Al2O3 30-38% • หินปูนผลิตปูนซีเมนต์ขาว • หินปูนคุณภาพสูง Max Fe2O3 0.04% หินไพโรฟิลไลต์ Max Fe2O3 0.40% ทรายแก้ว SiO2Min 90% • วัตถุดิบประเภทเติมใส่ปูนซีเมนต์ • ยิปซั่ม • วัตถุดิบประเภทเชื้อเพลิง • ถ่านหิน • วัตถุดิบประเภทเติมเป็นคอนกรีต (Ready mixed) • หินก่อสร้าง เน้นขนาดและการกระจายตัวของขนาด สีสรร ความแข็ง ความกลมมน • ทรายผสมคอนกรีต ทรายเทียมจากหินปูน
การได้มาซึ่งแหล่งวัตถุดิบ-การสำรวจการได้มาซึ่งแหล่งวัตถุดิบ-การสำรวจ • การสำรวจ เน้นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการทำเหมือง หากมั่นใจว่าไม่ผ่านแน่ๆ ก็ไม่สำรวจ เพราะจะเสียเงินเปล่า ใช้แผนที่ธรณี คำบอกเล่า การเดินสำรวจ พอแน่ใจก็ไปขออาชญาบัตรสำรวจ มั่นใจก็ลงทุนเจาะเก็บแท่ง มาวิเคราะห์คุณภาพ และปริมาณสำรองแบบเบื้องต้น ปัญหาอาจมีบางพื้นที่ที่มีการครอบครอง ไม่ให้เข้าพื้นที่ หากเป็นพื้นที่เอกสารสิทธิมักจะถือโอกาสขึ้นราคา ต้องจ่ายค่าเสียหายตอนเข้าพื้นที่ บางครั้งอาจจำเป็นต้องทำสัญญาและวางราคากันคร่าวๆ ก่อน การสำรวจใช้เงินทุน สำรวจแล้วไม่เอา ยังไม่คุ้มค่าตอนนั้น กลับมาอีกที คู่แข่งรู้ข้อมูล แทบไม่ต้องลงทุนเจาะเลย ซื้อเอาไปเป็นกรรมสิทธิอย่างสบายๆ การใช้ธรณีฟิสิกส์ก็มีใช้เหมือนกัน แต่มักมีปัญหา เรื่องการแปลข้อมูล
การได้มาซึ่งแหล่งวัตถุดิบ-การจัดหาการได้มาซึ่งแหล่งวัตถุดิบ-การจัดหา • การจัดหา หากเป็นที่ดินเอกสารสิทธิ หรือมีการครอบครองแล้ว ก็ต้องทำสัญญาซื้อขาย ที่ครอบครองมักมีปัญหามาก คือ ขายซ้ำพื้นที่ พ่อแม่ขายแล้วลูกมาทีหลังก็ต้องรับเงินด้วย ซื้อแล้วปล่อยทิ้งไว้หลายปี พอจะทำจริง ยังอยู่ที่เดิม ต้องมาเจรจาซื้อซ้ำอีก • อีกวิธีหนึ่งคือ ติดต่อขอซื้อจากแปลงอาชญาบัตร แปลงประทานบัตร ก็จะได้มาอย่างรวดเร็ว แต่ก็ต้องมีการพิสูจน์ข้อมูลว่า มีปริมาณเพียงพอที่จะทำเหมือง หากผู้ขายมีข้อมูลอยู่แล้ว ก็ต้องเจาะตรวจสอบบางจุดด้วยตัวเราเอง
การได้มาซึ่งแหล่งวัตถุดิบ-การได้มาซึ่งการอนุญาต ดูแลสังคมรอบเหมือง • การได้มาซึ่งประทานบัตร ที่ทิ้งมูลดินทราย และใบอนุญาตต่างๆ เช่น ป่าไม้ การมีและใช้วัตถุระเบิด คลังระเบิด โรงแต่งแร่ นั้นต้องให้ความสำคัญ คือ License to Operate จาก สังคมรอบเหมือง ราชการ NGO ไม่ใช่แค่ใบอนุญาต แต่เป็น การยอมรับจาก Stakeholder • ต้องตั้งหน่วยงาน รัฐกิจและชุมชนสัมพันธ์ มาดูแล จะได้โฟกัสงานได้ งานบางอย่างทางฝั่งเหมืองก็มาช่วยทำ เชิงชุมชนสัมพันธ์เชิงรุก • หน่วยงานบริษัท ตั้งใหม่ SOD การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน ดูแลสังคม สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย สุขภาพกายใจ ระบบมาตรฐานงานต่างๆ • มีระดับท้องถิ่น ให้หน่วยงาน SOD หรือเหมืองดูแล ซึ่งเป็นระดับล่าง หากงานเดินเรื่องมาที่ระดับกรม กระทรวง ก็ให้ส่วนกลางสำนักงานใหญ่ดูแล
การได้มาซึ่งแหล่งวัตถุดิบ-การได้มาซึ่งการอนุญาต ดูแลสังคมรอบเหมือง(ต่อ) • การหาช่องทางสื่อสารกับชุมชนบ่อยๆ ก็จะได้ทราบสถานะการณ์ความคิดของชุมชน update จะทำให้ทันกาล มีการเยี่ยมแบบทางการ และแบบไม่ทางการ การเปิดเวทีให้แสดงความคิดเห็นและความรู้สึก(Reflection or Dialogue) • การขอความเห็นประชาคมหมู่บ้าน การจัดการเรื่องการสื่อสาร การปฏิสัมพันธ์ และการจัดการเรื่อง Common Interest • การขอมติเห็นชอบจากอบตลักษณะเช่นเดียวกับหมู่บ้าน ต้องประสานงานให้ข้อมูลแต่เนินๆ
การได้มาซึ่งแหล่งวัตถุดิบ-การได้มาซึ่งการอนุญาต ผลกระทบสิ่งแวดล้อมEIA • จุดอ่อนอีกอย่างคือ การขอประทานบัตร มักลืมเส้นทางเข้าเหมือง ได้มาแล้วเข้าเหมืองไม่ได้ ควรขีดเส้นให้ถึงเขตทางสาธารณะ มิเช่นนั้นอาจพบพื้นที่ครอบครองของชุมชนการเลือกทางเข้าเหมืองดีๆ จะช่วยลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้มาก • EIA ต้องมีการช่วยที่ปรึกษาที่ว่าจ้าง ว่าควรทำอะไร บางอย่างก็เข้าไปช่วยทำ มีการเตรียมประเด็นต่างๆ ว่าคณะกรรมการ EIA จะถามอะไร และจะตอบเชิงวิชาการอย่างไร ให้ที่ปรึกษามานำเสนอบริษัทก่อนแล้ว จะลองซักดูว่าตอบได้ดีแค่ไหน ถ้าไม่ดี ก็อาจศึกษาเพิ่ม บางครั้งอาจต้องว่าจ้างที่ปรึกษารายอื่นที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะมาทำ การตั้งกองทุนฟื้นฟูเหมือง การตั้งกองทุนดูแลสุขภาพชุมชน ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล การจ้างที่ปรึกษา มาทำเรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ (Bio-diversity) • EIA ต้องหาโอกาสไปชี้แจงเจ้าหน้าที่ราชการ สผ. ให้เขาเข้าใจเชิงละเอียดก่อน ตลอดจนไปดูหน้างานจริง
การได้มาซึ่งแหล่งวัตถุดิบ-การได้มาซึ่งการอนุญาต ผลกระทบสิ่งแวดล้อมEIA (ต่อ) • โครงการ Partnership Model คือ บริษัทเราทำดีแล้ว ไม่พอ ต้องไปชวนเพื่อนบ้านร่วมธุรกิจมาทำดีด้วย แบบเป็นทีมและเครือข่าย • การให้ทุนหน่วยงานราชการที่ดูแลสิ่งแวดล้อมเหมือง มาร่วมวิจัยที่เหมืองด้านการฟื้นฟูเหมือง การดับฝุ่นถนนในรูปแบบต่างๆ ก็จะช่วยให้ประเด็นปัญหาต่างๆ ได้รับการแก้ไข ไปทีละเรื่องๆ • การให้สถาบันวิชาการทางธรณีและเหมือง มาทำวิจัยที่หน้างานจริง ก็จะตอบประเด็นการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้ชัดเจน เช่น การใช้ธรณีไฟฟ้าหาโพรงถ้ำหินปูน การใช้ปฐพีวิศวกรรมมาใช้ในการอุดรูรั่วจากอ่างเก็บน้ำไหลเข้าเหมือง การศึกษาเสียรภาพความลาดเอียงหน้าเหมืองดิน-หิน มาใช้ในการออกแบบเหมือง การใช้ Bio-diversity ในการฟื้นฟูเหมือง
การได้มาซึ่งแหล่งวัตถุดิบ-การได้มาซึ่งการอนุญาตการแก้ปัญหากรณีประทานบัตรออกล่าช้าการได้มาซึ่งแหล่งวัตถุดิบ-การได้มาซึ่งการอนุญาตการแก้ปัญหากรณีประทานบัตรออกล่าช้า • การใช้วิธีการซื้อวัตถุดิบจากประทานบัตรที่ใกล้ที่สุด แต่ต้องยอมรับว่า ต้นทุนแพงขึ้นแน่นอน • ทำแร่ครอบครองสัก 3-6 เดือน ใช้เป็นแผนสอง ซึ่งต้องทำสต๊อกก่อนหมดอายุใบอนุญาต ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม จากการ double handling (ใช้น้ำมันจากการตักขนและทำกอง) ในภายหลัง ใช้เป็นการบริหาร Un-controlable Factors • การทำให้อายุประทานบัตร มีอายุไม่หมดพร้อมกัน จะได้ไปทำอีกแปลงหนึ่งได้
การทำเหมืองแร่-การเปิดเหมืองการทำเหมืองแร่-การเปิดเหมือง • การเปิดเหมือง • หลังได้ประทานบัตรแล้วมีการเตรียมการเรื่องพื้นที่ทำเหมือง ตามแผนผังโครงการ หากไม่เหมือนก็มาแก้ไขใหม่ ลงพื้นที่ บริเวณสำนักงานถาวรหรือชั่วคราว ลานจอดรถ รั้วกั้น โรงย่อย ถนน คันดินกั้นฝุ่นเสียง เครื่องชั่ง ยาม คลังระเบิด บริเวณทิ้งเปลือกดิน บริเวณหน้าเหมือง เส้นทางขนแร่ ไฟฟ้าแรงสูง การนำเจ้าหน้าที่มาตรวจก่อนเพื่อเปิดเหมือง • จำเป็นต้องเคลียร์พื้นที่ ที่มีชุมชนยังไม่ได้ย้ายออก การโยกย้ายที่เป็นไปอย่างนุ่มนวลและเต็มใจ • การเปิดเหมืองใหม่ ต้องเคลียร์ชุมชนเพื่อให้เข้าใจว่าเรามาทำอะไร มาตรการลดผลกระทบ ออกแบบให้คนท้องถิ่นได้ประโยชน์บ้าง เช่นยาม คนรดน้ำต้นไม้ คนงานฟื้นฟูเหมือง ซื้ออาหารท้องถิ่นกิน ไปร่วมกิจกรรมชุมชน ปลูกต้นไม้ให้มีส่วนที่กินได้ สมุนไพรที่ควรมีในชุมชน ดูจากการเจ็บป่วยที่เป็นบ่อยๆ • หากเป็นพื้นที่ที่มีการทำเหมืองมาก่อนในบริเวณแถวๆ นั้น ชุมชนจะคุ้นเคย หากเป็นที่ใหม่ อาจต้องพาผู้นำชุมชนไปดูงานที่อื่นๆ ให้เห็นภาพรวมบ้าง ให้ทำอย่างโปร่งใส มิเช่นนั้น ลูกบ้านจะหาว่าถูกซื้อตัวแล้ว
การทำเหมืองแร่-การออกแบบเหมืองการทำเหมืองแร่-การออกแบบเหมือง • การออกแบบเหมือง • คำนึงวัตถุประสงค์ของบริษัท ขีดจำกัดของบริษัทในเรื่องงบประมาณ สไตล์แนวคิดผู้บริหาร จรรยาบรรณหลักยึดของบริษัท คำนึงถึงสิ่งที่สังคมชุมชนอยากได้หรือมีความจำเป็นอะไรในการดำรงชีวิต เช่น อาชีพการเกษตร มีหนี้สิน คำนึงถึงระบบนิเวศน์ของธรรมชาติขณะทำเหมืองและหลังปิดเหมือง • การออกแบบหน้าเหมือง จะมีประเภทระยะยาว เน้นภาพรวมเชิงปริมาณแร่สำรองและคุณภาพแร่ที่จะผลิต ให้มีความคุ้มทุน นำผลเจาะมาพิจารณา ทำ Block Model มาคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ หาขอบเขตบ่อเหมืองสุดท้าย ระยะสั้นรายปีที่จะผลิตจะขุดตรงไหน คุณภาพแร่ต้องสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า สอดคล้องกับการออกแบบโรงย่อยแร่ด้วย • การวางผังเหมืองแร่ มีขอบเขตบ่อเหมืองสุดท้าย เส้นทาง ที่ทิ้งดิน บ่อดักตะกอน จำเป็นต้องย้ายสิ่งสาธารณะ ควรศึกษาขั้นตอนทางกฎหมายด้วย
การทำเหมืองแร่-การระเบิดการทำเหมืองแร่-การระเบิด • การระเบิด • การตั้งคลังระเบิดที่ถูกหลักกฎหมายทั้งทหาร มหาดไทย และพรบ.แร่ รวมถึงการออกแบบคลังที่ปลอดภัยจากไฟไหม้ ฟ้าผ่า จารกรรม • การลดต้นทุนการระเบิดด้วย การปรับปรุง pattern ใช้แท่งดินระเบิดลงจาก 5% เป็น 0.5% จากโครงการรูเดียวแท่งเดียว การใช้กลีเซอรีนแทนน้ำมันดีเซล การใช้รถผสมคอนกรีตมาผสมปุ๋ยแอนโฟ การดัดแปลงรถบรรทุกอาหารสัตว์มาเป็นรถเครื่องผสมปุ๋ยแอนโฟ การทดลองแอร์แบคทำ decking เพื่อลดปริมาณแอนโฟต่อตันหิน • การดัดแปลงรถเจาะโรตารี่เก่ามาทำใหม่ ตามโครงการ never die machine เครื่องจักรที่ไม่มีวันตาย จะช่วยลดเงินลงทุนได้ • ควบคุมการระเบิด โดยการใช้จังหวะถ่วง แบบการถ่วงจังหวะ เพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม • การสอยหินแขวนด้วยระเบิด เพื่อป้องกันหินหล่นใส่เครื่องจักร • การเจาะระเบิดหินหน้าลาดชันขุดหลุมปลูกต้นไม้ การระเบิดหินให้แตกเพื่อปลูกต้นไม้ • ประสบการณ์การแก้ปัญหาการสั่นสะเทือนจากการระเบิด ต่อ อาคารโรงเรือน โรงเรียน ว่ามาจากการระเบิด หรือการทรุดตัวของดินฐานราก นั้นมีความแตกต่างกัน
การทำเหมืองแร่-การขุดตักการทำเหมืองแร่-การขุดตัก • การขุดตัก • รถตักล้อยาง เคลื่อนที่เร็ว ย้ายหน้างานได้เร็ว แต่แรงดันตักหินน้อย • รถตักตีนตะขาบ เคลื่อนที่ช้า แรงดันตักหินดี เดินมากช่วงล่างชำรุดง่าย • รถตักเป็นกุญแจหลักในการชงคุณภาพหินหรือแร่ ควรสอนวิธีการดูหินแร่ ว่าแบบไหนคุณภาพดี วิธีการชงตักมากน้อย ตักผสมอย่างไรให้คุณภาพผ่าน ตักคัดดินคัดหินก้อนโตออก สอนธรณีวิทยาอย่างง่ายๆให้เขาด้วย ศิลปะการตักที่ทำให้เครื่องย่อยเดินที่ตัน/ชม.สูง • รถตักแบคโฮ ใช้กันมาก ในวงการขุดตักดิน เป็นรถตลาด จะหาอะไหล่ได้ง่าย • การซ่อมรถตัก อาจใช้ระบบ service contract แทนการซ่อมเองก็ได้ เพื่อลดกำลังพลของบริษัท และลดความยุ่งยากในการสั่งซื้ออะไหล่ • รถตักตีนตะขาบ มักมีอุบัติเหตุไฟไหม้จาก สายไฮดรอลิคขาดฉีดพ่นท่อเทอร์โบหรือไอเสีย ตัวเครื่องยนต์ ควรมีระบบกลับสาย และมีการ์ดบังส่วนร้อน
การทำเหมืองแร่-การขนส่งการทำเหมืองแร่-การขนส่ง • การขนส่ง • การขนส่งด้วยรถบรรทุก มีแบบกะบะฝาท้าย และแบบก้นเป็ด • การลำเลียงด้วยระบบสายพาน มีแบบเรียงเป็นชั้น และแบบสายพายพานยาว • การเททิ้งชู้ต มี stopper มีคันกั้นปิด เวลาตักข้างล่างใต้ชู้ต • เส้นทางขนส่ง รัศมีความโค้ง ความกว้างขั้นต่ำทางเดียว 1.5 สวนกัน 3 เท่า • การใช้รถเกรดเดอร์ปาดทางหลังเต่า ขึ้นอยู่กับวิธีการวางมีด ต้องสอน • คูข้างทางขนส่งระบายน้ำ เพื่อป้องกันน้ำวิ่งตัดถนน • คันดินกันรถตกข้างทาง ควรมีตลอดแนวและสูงพอให้ปะทะ • ทางเบี่ยงกรณีรถเบรคแตก เมื่อรถหนักลงเขา มีหลุมทราย คันดินตะลุย • Stopper รองล้อรถก่อนดัมพ์ อย่างน้อยสูง ¼ ของวงล้อ ทดสอบด้วย • ลานจอดรถบรรทุก แบบเดินหน้าอย่างเดียว ป้องกันการถอยหลังชนกัน • การผลิตไบโอดีเซล จากน้ำมันทอดไก่ใช้แล้ว เพื่อใช้กับเครื่องจักรกลเหมือง B50-70 โดยทำปฏิกิริยากับเมทานอล และด่างโปแตสเซี่ยม
การทำเหมืองแร่-การย่อยการทำเหมืองแร่-การย่อย • การย่อย • การเลือกเครื่องย่อย ต้องสอดคล้องกับผลผลิตที่ต้องการ • โรงย่อยหินก่อสร้าง จะต้องทำการันตีทั้งหมดพร้อมๆ กันด้วย อย่าทำแค่ทีละตัวเครื่องจักร • การตั้ง plant ควรเช็คอะไหล่ เช็คตัวเครื่อง และเช็คทั้งระบบ เพื่อให้ทำ start up ทีเดียวผ่าน เสร็จทันเวลา • อะไหล่ที่เก็บไว้ ควรตรวจรับตอนรับเข้า อย่าดูแค่ชิ้น ให้ดูถึงสเป๊ด ลึกถึงเนื้อวัสดุ และกรรมวิธีการผลิต หาโอกาสมาลองใส่ดูว่าใช้ได้ มิเช่นนั้นอาจพบปัญหา เอาอะไหล่มาใส่แต่ใช้ไม่ได้ • การย่อยเฉพาะกลางวัน 06:00-18:00 น. ต้องใช้เครื่องย่อยใหญ่ขึ้น จำนวนรถบรรทุกมาก หากคิดเดิน 08:00-16:00 น. ก็จะได้แค่กะเดียว • การย่อย 2 กะ 08:00-16:00,16:00-24:00 น. มักออกแบบ แบบนี้ • การใช้หินป้อนคละขนาด จะย่อยได้ตัน/ชม สูง • หลักการซ่อมเครื่องย่อย ให้เน้นเรื่อง Alignment, Clearance, Center, Spacing, Balancing เพื่อให้เครื่องย่อยเดินได้ดี ไม่ชำรุดได้ง่าย • เมื่อชำรุด ควรทำการวิเคราะห์ Failure Analysis เพื่อหาสาเหตุรากเหง้า
การทำเหมืองแร่-การควบคุมคุณภาพการทำเหมืองแร่-การควบคุมคุณภาพ • การควบคุมคุณภาพ • แบ่งคุณภาพ เป็น QC1: คุณภาพจาก Block Model QC2: คุณภาพจุดตักหน้าเหมืองซึ่งอาจมีหลายจุด QC3: คุณภาพกองที่เราส่งมอบจากการเก็บตัวอย่างที่สายพาน QC4: คุณภาพแร่ที่ลูกค้าตรวจรับ • การกำหนดสเป็ค ร่วมกับลูกค้ามากำหนด คุยกันบ่อยๆ จะได้รู้ขีดจำกัดของแต่ละฝ่าย สเป๊ค แบ่งเป็น กำหนดค่า Min อย่างเดียว กำหนดค่า Max อย่างเดียว หรือกำหนดเป็นช่วงแคบๆ ซึ่งจะเป็นในเรื่องของขนาด ค่าทางเคมี และค่าความร้อน • ความต้องการของลูกค้า มักต้องการ SD แคบๆ ไม่แกว่งเดี๋ยวสูงเดี๋ยวต่ำ ลูกค้าไม่ต้องการค่าเฉลี่ยทั้งเดือน แต่ค่าเฉลี่ยควรสอดคล้องกับกองผสมของลูกค้า ซึ่งอาจนำมาจากหลายแหล่งก็ได้ • การกำหนดคุณภาพที่เหมือง ไม่ใช่เอาทั้งแหล่งมาดู แต่เอา Mining phase มาดู อาจอยู่ในช่วง 1-2 ปี ที่ทำเหมือง • การเก็บตัวอย่างมาควบคุมคุณภาพต้องเป็นตัวแทน เก็บเต็มหน้าสายพานหรือเปล่า และอัตราการเก็บทุกๆ การผลิตกี่ตัน ค่าจึงจะนิ่ง ซึ่งต้องไปหามา จากการทดลองใช้ และการทดลองทางสถิติ เรื่องความเชื่อมั่น
การทำเหมืองแร่-การเก็บกองดินการทำเหมืองแร่-การเก็บกองดิน • การเก็บกองดิน • คำนวณปริมาณดินให้ดีว่าจะไปเก็บกองที่ไหนของประทานบัตรหรือที่ทิ้งมูลดินทราย • การถมกลับ Back Fill ดี แต่ต้องสอดคล้องกับการผลิตโดยไม่ขวางทางหน้าเหมือง และให้มั่นใจด้านเสถียรภาพความลาดเอียงว่าไม่เกิดการเลื่อนไหลเข้าหาหน้างาน • การหาที่ทิ้งดินใหม่ ต้องระวังผลกระทบสิ่งแวดล้อม มีฝุ่นปลิว ดินไหล ควรทำร่องระบายน้ำ และบ่อดักตะกอน ที่ทิ้งดินหากไกลเกินไปจากจุดตักจะมีต้นทุนรถบรรทุกสูง • บางแห่งตั้งกองดิน แต่มาพบภายหลังว่ามีแร่อยู่ข้างใต้ ก็ต้องรื้อกองดินอีก
การทำเหมืองแร่-การฟื้นฟูเหมืองการทำเหมืองแร่-การฟื้นฟูเหมือง • การฟื้นฟูเหมือง • อย่าปลูกพืชที่ทำความเดือดร้อนกับชาวบ้าน การแพร่กระจายสู่ไร่นาทำให้ต้นทุนการเกษตรกรรมสูง ต้องขุดไถ ใช้ยาฆ่า เช่น กระถิน ไมยราบยักษ์ หญ้าคอมมูนิส หรือสร้างความเดือนร้อนรำคาญให้ชุมชน เช่น หมามุ่ย • ควรใช้พืชที่ทนแล้ง ทำต้นไม้ให้แกร่งก่อน ปลูกต้นฝน เร่งให้ต้นโตเร็ว รากเดินดี จะได้ทนแล้งได้ เริ่มปลูกใกล้ๆ เรือนเพาะชำก่อน ใกล้ตัวใกล้น้ำ จะได้มีโอกาสรอดสูง • บ่อเหมือง ควรพัฒนาเป็นแหล่งน้ำให้เกษตรกร แหล่งน้ำใช้ชุมชน หลังการปิดเหมือง • ควรเก็บเปลือกดินกองไว้ นานก็มีหญ้าขึ้น เอาไว้ปิดคลุมทับเป็นหน้าดิน จะได้ปลูกพืชได้โตเร็ว และมีหญ้าขึ้นเองเป็นพี่เลี้ยง ลดความร้อน • ควรนำความต้องการของชุมชน มาออกแบบการฟื้นฟูด้วย เช่นพืชที่ปลูก พื้นที่ที่ชุมชนอยากได้ใช้งานต่อ ที่อาจเป็นทุ่งหญ้า สนาม อาคารสำนักงาน บ่อหมักปุ๋ยจากครัวเรือนในชุมชน • ที่ฮ่องกง การทำเหมืองแกรนิตเขาออกแบบเป็นเมืองหลังการทำเหมือง
การทำเหมืองแร่-การระบายน้ำการทำเหมืองแร่-การระบายน้ำ • การระบายน้ำ • การระบายน้ำในเหมืองเป็นสิ่งจำเป็น • เมื่อฝนตกควรวิ่งไปดูว่าน้ำไหลไปทางไหน การดูแต่แผนที่และนึกเอามักจะผิดพลาดเสมอ ของจริงจะฟ้องเอง ว่าน้ำควรไหลไปทางไหน และมีปัญหาอะไร • การจัดการน้ำที่ดี น้ำจะไม่ไหลตัดกัดถนน ไหลรวบรวมไปลงแหล่งน้ำ มีการตกตะกอนก่อน น้ำที่ไหลตัดหรือซึมเข้าหน้าลาดเอียงอาจมีความหมายว่าหน้าเหมืองอาจถล่มในเร็วๆ นี้ น้ำขุ่นข้นไหลลงไร่นาชุมชน จะต้องเห็นก่อนที่ชาวบ้านจะร้องเรียน การดักน้ำเป็นช่วงๆ จะช่วยให้การฟื้นฟูเหมืองสำเร็จได้ง่าย มีแหล่งน้ำใช้สำหรับการดับฝุ่น ล้างเครื่องจักร การดับเพลิง และรดน้ำต้นไม้ช่วงแล้งจัด
การทำเหมืองแร่-เสถียรภาพความลาดเอียงการทำเหมืองแร่-เสถียรภาพความลาดเอียง • เสถียรภาพความลาดเอียง • เสถียรภาพความลาดเอียง เป็นเรื่องของต้นทุน ทั้งหน้าเหมืองและกองดินทิ้ง และเรื่องความปลอดภัย ควรศึกษาให้ดี จะได้หาจุดที่เหมาะสม • การเพิ่มความลาดเอียงที่เก็บกองดิน จะลดพื้นที่เก็บกอง แต่ต้องหาทางจัดการเรื่องน้ำอย่าให้อิ่มตัว ตลอดจนการใช้ Toe Design การเพิ่มความความลาดเอียงของหน้าเหมือง จะช่วยลดการเปิดเปลือกดิน หน้าเหมืองชันมากและยาว ก็เป็นปัญหาการฟื้นฟูเหมือง • บางครั้งการสร้างคันดินความลาดเอียง ร่วมกับการปลูกไม้ต้นบนคันดิน เป็นกำแพงกันเสียงและฝุ่น จากการบดแร่ การวิ่งในบริเวณในเหมืองที่ใกล้ชุมชน • การทำเหมืองหินที่ตัดตีน Under Cut หน้าเหมืองขนาดใหญ่อาจถล่มลงมาแบบ Plane Failure หากเป็นเหมืองดิน จะถล่มลงมาแบบวงโค้ง Circular Failure • การทำเหมืองติดกับอ่างเก็บน้ำเหมืองเก่า น้ำอาจรั่วมาตามหน้าความลาดเอียง • เหมืองดินที่น้ำท่วมแช่นาน ที่มีการสูบน้ำออกอย่างรวดเร็ว ระวังความลาดเอียงจะถล่มลงมา
การทำเหมืองแร่-หลุมโพรงถ้ำการทำเหมืองแร่-หลุมโพรงถ้ำ • หลุมโพรงถ้ำ • มักเกี่ยวข้องกับเหมืองหินปูน และเหมืองเกลือ • การค้นหาโพรงไม่ใช่ของง่ายเลย แต่บางครั้งก็พบโดยบังเอิญ เครื่องจักรเหยียบแล้วยุบลง ทั้งเครื่องจักรเสียหาย หรือตกลงในโพรง • การสำรวจหลุมโพรงถ้ำ อาจใช้วิธีนำไฟฟ้า ก็พอจะแปลความหมายได้บ้าง • การเจาะสำรวจ และทำรูปร่างตามพิกัด x,y,z จะช่วยติดตามโพรงได้ดี • การถมกลบรูโพรง หากรูตื้นจะทำได้ดี แต่หากลึกเป็นร้อยเมตร จะต้องระเบิดแบบขุดหาแย้ คือ ต้องรักษาสภาพรูโพรงหลังระเบิดแบบทีละครึ่ง เพื่อการติดตามโพรงต่อ การตักต้องระวังอย่าเอาตีนตะขาบเหยียบโพรง • การสำรวจโพรงใช้วิธี ใช้กล้องถ่ายรูปผูกเชือกที่ไม่หนักมาก มีดิ่ง ติดปลายหย่อนลงไป วัดเมตรที่หย่อน กล้องจะหมุน หากกล้องหน้าคว่ำแสดงว่ากล้องนั่งแล้ว ระวังกล้องค้างตะพัก หรือมีร่องเลี้ยว
การทำเหมืองแร่-การป้องกันน้ำท่วมการทำเหมืองแร่-การป้องกันน้ำท่วม • การป้องกันน้ำท่วม • การสร้างคันดินรอบบ่อดิน • ระวังอย่าขุดด้านหน้ารับน้ำ จะสร้างแรงกดทับคันดินเพิ่มขึ้น ควรสร้างคันดินในฤดูแล้ง ใช้รถบรรทุกวิ่งบนบดทับให้แน่น คาดการณ์ให้สูงกว่าระดับน้ำหลากที่จะมาท่วมอย่างน้อย 1 เมตร รังวัดให้ระดับสันคันดินให้เท่ากันตลอดรอบบ่อเหมือง อาจใช้เสาไม้ยูคาตอกเย็บดินในขณะก่อสร้างถมคันดิน ดูว่าน้ำมาทางไหน หากมากระแทกตรง ให้ลงถุงทรายยักษ์วางเรียงรับแรงปะทะน้ำด้วย • จากประสบการณ์ คันดินใหม่ สร้างก่อนน้ำท่วมไม่นานนัก จะไม่อัดแน่น จะพังภายใน 2 ชั่วโมง อย่าลังเลใจ สร้างให้เสร็จก่อนตอนหน้าแล้ง คันดินที่มีอายุมากกว่า 1 ปี จะทนแรงน้ำท่วมได้ดีกว่า • บ่อเหมืองดิน ในเขตน้ำท่วม ควรแบ่งเป็นบล๊อกๆ ไม่ควรทำเป็นบ่อเดียวทีละ 500 ไร่ เวลาพลาดน้ำท่วม จะต้องสูบน้ำออกมาก ควรใช้ระบบเดียวกับเรือดำน้ำ • เมื่อน้ำไม่ท่วมเหมือง จะมีเวลาไปช่วยชุมชนรอบๆ บ่อเหมือง ที่น้ำท่วม • ให้พิจารณาเส้นทางขนส่งแร่ส่งมอบลูกค้าขณะเกิดน้ำท่วม หลายๆ เส้นทาง และกำหนดร่วมกันกับลูกค้า ว่าเมื่อไร เงื่อนไขอย่างไร จึงหยุดส่งมอบ • ให้พิจารณา ขุดขนทำสต๊อกแร่ ไปยังจุดที่น้ำไม่ท่วมและเข้าตักขนส่งได้ ในกรณีฉุกเฉิน
การทำเหมืองแร่-แหล่งน้ำใช้การทำเหมืองแร่-แหล่งน้ำใช้ • แหล่งน้ำใช้ • หมั่นทบทวนว่า ขนาดแหล่งน้ำใช้เพียงพอ เมื่อหน้าเดินไปเรื่อย งานฟื้นฟูเพิ่มขึ้น การผลิตเพิ่มขึ้น ต้องใช้น้ำเพิ่มขึ้น • หมั่นขุดลอกตะกอนออก เพื่อรองรับน้ำในฤดูฝนที่ใกล้เข้ามา ขุดลอกช่วงฤดูแล้ง น้ำแห้งขอดบ่อ เพื่อป้องกันขนาดความจุน้ำลดลง หากมีตาน้ำอุดตัน ให้เปิดตะกอนที่ปิดรูตาน้ำออกด้วย • ดูแลเครื่องสูบน้ำให้ดี อาจะใช้ระบบแพลอย จะช่วยให้การสูบน้ำ ไม่ติดขัดเมื่อระดับน้ำลดลง • ขโมยชอบมาขโมยสายทองแดง โดยเฉพาะช่วงกลางคืน ช่วงวันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือช่วงข้าวโพดโตขึ้นบังสายตา
การปิดเหมือง • การวางแผนภูมิทัศน์สุดท้าย มักมีปัญหาความชัดเจนเรื่องสุดท้ายว่าจะเป็นอะไร เพราะเป็นเรื่องใหม่ หาคนออกแบบภูมิสถาปัตย์เหมืองไม่ได้ เพราะไม่เคยทำ คนทำต้องรอบรู้เรื่องมาก ในเรื่อง ความต้องการของชุมชน เสถียรภาพความลาดเอียง สัตว์ป่า พืชพรรณป่าไม้ การชลประทาน การสูบน้ำ ความปลอดภัย การท่องเที่ยว การประชาสัมพันธ์ ต้องทำไปคิดไป คุยกันหลายๆ คน บ่อยๆ แก้ไขไปเรื่อยๆ • การฟื้นฟูเหมือง จะเน้นเชิงระบบนิเวศน์แบบที่สอดคล้องกับภูมิประเทศใหม่ ทั้งวิถีชีวิตชุมชน การไหลของน้ำ พืชพรรณที่ปลูกใหม่ สิ่งแวดล้อมใหม่ สัตว์ป่าที่จะเข้ามาใหม่ • การพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน จะเน้นเรื่องความเป็นอยู่ที่พอดีพอเพียง มีความสุข พัฒนาอาชีพ มีความเป็นนักปราชญ์ในชุมชนเอง ชุมชนเข้มแข็ง • การสร้างความสอดคล้องความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย จะเน้นเรื่อง การเปิดโอกาสในการมีส่วนร่วมในการคิด และลงมือทำ แบบกัลยาณมิตร • ระบบนิเวศน์ใหม่ จะเน้นเรื่องการออกแบบภูมิสถาปัตย์ที่สอดคล้องกับธรรมชาติ ไม่ต้องดูแลมากนัก ให้ธรรมชาติดูแลตัวเอง ซึ่งต้องศึกษาเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง
วัตถุประสงค์การทำแผนปิดเหมืองวัตถุประสงค์การทำแผนปิดเหมือง • ทำให้การทำเหมืองและกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน ทั้งในขณะทำเหมือง และหลังจากที่เหมืองจากไปแล้ว • ทำให้สอดคล้องกับระเบียบข้อบังคับข้อตกลงและกฎหมายที่เป็นเงื่อนไข เช่นแผนผังโครงการ เงื่อนไขประทานบัตร ป่าไม้ EIA(Environment Impact Assessment),IEE (Initial Environment Evaluation ) โดยแสดงเป็นแผนที่หลังการปิดเหมือง • สรุปความต้องการเงื่อนไขที่ทางราชการกำหนด ระบุให้เห็นชัดเจน • สรุปความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ผลกระทบเฉพาะกรณีและแอบแฝง และมาตรการลดความเสี่ยง จนเป็นที่ยอมรับ • แสดงการฟื้นฟูอย่างมีขั้นตอนจนจบ เป็นหน้าตาสุดท้าย ของโครงการ • แสดงวิธีการทำเหมือง ที่มีกลยุทธในการลดผลกระทบให้น้อยสุด
วัตถุประสงค์การทำแผนปิดเหมือง(ต่อ)วัตถุประสงค์การทำแผนปิดเหมือง(ต่อ) • แสดงการบริหารจัดการเหมือง สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย ที่กระทบชุมชน สังคม สุขภาพชุมชน ป่าไม้ ในระยะยาว และการรักษาไว้ให้ยั่งยืน • แสดงแผนและการใช้เงิน กิจกรรม ติดตามต่อเนื่อง ในเรื่องการปิดเหมือง ควบคู่ไปกับการทำเหมือง จนถึงจุดสิ้นสุดวันปิดเหมือง • แสดงภาพวาดหรือภาพสเก๊ตหรือจินตนาการหน้าตาพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินในเหมืองหลังการปิดเหมือง ทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ • แสดงถึงการใช้ที่ปรึกษาในด้านต่างๆ ที่ใช้ในงาน โดยระบุชื่อให้ติดต่อได้ • เทคนิคต่างๆ ที่ใช้ และที่วิจัยได้ หรือประสบการณ์ ที่ได้จากการปิดเหมือง
ผังการเดินทางการปิดเหมือง (Road Map) • บันไดขั้น 1 เหมืองสีเขียว(Green Mine) การทำให้เหมือง มีมาตรฐานการทำเหมืองอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย รักษาสิ่งแวดล้อม เป็นที่ยอมรับของชุมชนและทางราชการ • บันไดขั้น 2 เหมืองแห่งความหลากหลาย(Bio-diversityMine) ยกระดับเพิ่มจากเดิม เป็น การทำให้พื้นที่เหมืองและรอบข้าง มีความหลายหลายทางชีวภาพของพื้นที่ป่าไม้ ประกอบด้วยแหล่งน้ำ สัตว์ และพืชพรรณ มีความหลายหลายมากพอ • บันไดขั้น 3 เหมืองนิเวศน์(Eco-Mine) ยกระดับเพิ่มจากเดิมอีก เป็น การทำสิ่งต่างๆ อยู่อย่างสมดุลเป็นระบบนิเวศน์ มีพื้นที่เหมืองที่ปิดการแล้ว มีวิถีชีวิตชุมชน เอื้ออำนวยประโยชน์กันอย่างสมดุล พอเพียง ประกอบด้วย ป่าปลูกใหม่หรือเก่า สัตว์ป่า ปลา ชุมชน อยู่แบบเกื้อกูลส่งเสริมซึ่งกันและกันด้วยดี น่าอยู่อาศัยและมาเยี่ยมเยือน
เหมืองสีเขียว • การทำเหมืองเชิงอนุรักษ์ ฟื้นฟูเหมือง รักษาสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยการดูแลชุมชนขั้นพื้นฐาน มีวัฒนธรรม การศึกษา สุขภาพ สิ่งแวดล้อม อาชีพ การสร้างความไว้วางใจให้ชุมชน การวิจัยเชิงความพึงพอใจของชุมชน วิจัยความมั่นคงของบ่อเหมืองและกองทิ้งดิน • เน้นเรื่อง การฟื้นฟูปรับพื้นที่ ตามภูมิสถาปัตย์ การทำให้มีสีเขียว แหล่งพักผ่อน และแหล่งน้ำ ดูแลสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองให้อยู่ในระดับที่ทางการยอมรับ โดยเฉพาะด้านฝุ่นละออง กลิ่น การระบายน้ำ การวิจัยพืชพันธุ์ที่เหมาะสมตามสภาวะแวดล้อมที่แตกต่าง การตั้งเรือนเพาะชำกล้าไม้ การปลูกต้นไม้ตามชนิดที่เหมาะสม การสร้างแหล่งน้ำเบื้องต้น การวิจัยการดับกลิ่นหรือควบคุมกลิ่นกำมะถันจากถ่าน การวิจัยน้ำเป็นกรด จากการละลายถ่านหิน การวิจัยการเก็บกองถ่านป้องกัน ลุกไหม้เอง การวิจัยการซ่อมถนนลาดยาง แบบเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์และการตลาดให้ชุมชน การพัฒนาน้ำกินน้ำใช้ให้ชุมชน ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง การยกระดับการเกษตรอินทรีย์ให้ชุมชน การยกระดับสุขภาพ ให้ชุมชน
เหมืองแห่งความหลากหลายเหมืองแห่งความหลากหลาย • การวิจัยเชิงพืชพรรณ สัตว์ป่า ดั้งเดิม และพืชเศรษฐกิจที่ท้องถิ่นใช้ประโยชน์ได้ วิจัยเรื่องการเรียกนกมาอาศัย เพิ่มชนิดนก การวิจัยการเลี้ยงปลาในบ่ออ่างใหญ่ และอ่างเล็ก ดูคุณภาพน้ำ การเจริญเติบโต ด้วยตนเองแบบธรรมชาติ ประกอบด้วยปัจจัยอะไรบ้าง มีการทดลองจริงภาคปฏิบัติ การวิจัยความลาดเอียงด้านถมกลับบ่อใหญ่ ให้มั่นคงพอ และปลาสามารถอยู่ได้ตามชั้นความลึก การวิจัยเชิงการเลี้ยงสัตว์ปล่อยให้อยู่ร่วมกับการทำเหมืองและหลังปิดเหมือง การวิจัยเชิงน้ำใช้เพื่อการเกษตรกรรมพืชไร่ จากน้ำในอ่าง ว่าสามารถทำได้แค่ไหน
เหมืองนิเวศน์ • การวิจัยเชิงระบบนิเวศน์ ว่าปัจจัยในขอบเขตรัศมีที่กำหนด อาจเป็น 2 หรือ10 กม. รอบเหมือง มีความเป็นอยู่อย่างสมดุลแล้วหรือยัง โดยการประเมินจากผู้มีส่วนร่วม ถ้ายังก็ทำกิจกรรมเพิ่ม เพราะเป็นเฟสสุดท้าย ก่อนที่เหมืองจะจากชุมชนไป คงเหลือแต่กิจกรรมบางอย่าง(ระบุ)เท่านั้น หรือไม่มีเลย ปัจจัยที่เกี่ยวข้องมี การรื้อถอนหรือคงอยู่สิ่งก่อสร้าง สภาพภูมิสถาปัตย์เหมือง เรื่องคุณภาพชีวิตชุมชน มีโรคภัยสุขภาพ ความสุข การพึ่งพาตนเอง อาชีพชุมชน สถานะความเป็นชุมชนเข้มแข็ง ป่าไม้ดั้งเดิม ป่าปลูก ป่าชุมชน สัตว์ป่า นก ปลาธรรมชาติ คุณภาพน้ำ คุณภาพดิน จุลินทรีย์ในดิน ภูมิปัญญาที่เกิดขึ้นในขณะดำเนินโครงการ กิจกรรมอำลาอาลัยก่อนจาก และการแสดงความขอบคุณชุมชนที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาเหมือง และชุมชนเปิดใจขอบคุณเหมือง
แผนการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนรอบเหมืองแผนการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนรอบเหมือง • บันไดขั้น 1 สร้างความสัมพันธ์พื้นฐาน (Community Relation) กิจกรรมพื้นฐาน 5 อย่าง มอบให้ชุมชน มีสาธารณประโยชน์ วัฒนธรรม สุขภาพชุมชน พัฒนาอาชีพ กิจกรรม • บันไดขั้น 2 พัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน (Quality of Life of Community) กิจกรรมเอาชุมชนเป็นศูนย์กลางพัฒนา • บันไดขั้น 3 ชุมชนมีส่วนร่วมพัฒนาเหมือง (Participation for Mine) กิจกรรมแผนปิดเหมือง สร้างโอกาสชุมชนมาช่วยกันทำ • บันไดขั้น 4 สร้างสังคมเกื้อกูลกัน(ซึ่งกันและกัน) (Two ways Relation) กิจกรรมคนพึ่งป่า ป่าพึ่งคน
ฟื้นฟูควบคู่ไปกับการทำเหมือง-หน้าลาด คันดิน ร่องคู แนวคิดปรัชญา • ปลูกเผื่อชาวบ้าน สไตล์ เทวดาเลี้ยง • เพื่อสุขภาพชุมชน ส่วนใหญ่เป็นโรค เบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือดสูง เก๊าส์ ปวดเมื่อย เนื้อช้ำเอ็นพลิก ไม่มีกำลัง • เหมาะสำหรับเหมืองยิปซั่มและถ่านหิน ตามหน้าลาดกองดิน แนวคันดินกันฝุ่น หน้าลาด • กระดุมทอง พืชคลุมดินแข็งแรง ทนแรง ปลูกตามหน้าลาด แก้เบาหวานความดัน ทำเป็นชาชง ปรับปรุงพันธุ์ให้ทนแล้งก่อน • ขลู่ ทนแล้ง แก้ความดัน ริดสีดวงจมูก กินเป็นผักสดกับลาบ ต้มจืด ทำเป็นชาชง เอนไซม์ • ชะอม ทนแล้ง ทอดกับไข่กินอร่อย ยิ่งเก็บยิ่งแตกยอด • มะขามปลูกห่างแค่ 50 ซม สับหว่าง ตัดเป็นแนว ให้สูงไม่เกิน 1.2 เมตรเก็บยอดอ่อนแกงส้มกิน เพิ่มวิตามินซี • รางจืดต้น ถอนพิษทั้งปวง แก้เมาเหล้า โตเร็ว พอออกดอก แล้วตาย เมล็ดตกหล่นก็งอกใหม่ • ต้นไมยราบเลื้อย ต้มกินแก้ไข้ทับฤดู แก้ปวดเมื่อย ขับปัสสาวะดี บนคันดิน • ปลูกต้นกระถินเทพา ทนแล้งโตเร็ว ใบใหญ่ ไม่ผลัดใบ ปลูกห่างกัน 2 เมตร สับหว่าง จะได้ดักฝุ่นได้ดี • อาจทำเป็นชั้นบันได เพื่อปิดร่องโล่งช่วงโคนต้น • ใต้โคนต้น ปลูก ผักหวานป่าด้วยเมล็ด นำร่องก่อนด้วยเหล็ก 2 หุน แทงลงดิน ใช้เมล็ดผลสุก ไม่เกิน 7 วัน อบผ้าชุ่มงอก ฝัง ช่วงต้นฝน ตามร่องคู บ่อ sump • ปล่อยปลานิล ปลาหมอ ปลากระดี่ ไม่ต้องเลี้ยง กินปลาธรรมชาติไร้สารพิษและฮอร์โมน • ปลูกต้นผักกะเฉด ผักบุ้งนาแดง ผักบุ้งนาขาว กินล้างพิษ บำรุงสายตา • โปรยต้นกะเม็ง ริมๆ คู บำรุงตับไต แก้อักเสบ • ริมคูปลูกต้นอ่อมแซบ หรือผักลืมผัว กินกับลาบ แกงจืด ต้านอนุมูลอิสระป้องกันมะเร็ง
ฟื้นฟูควบคู่ไปกับการทำเหมือง-พืชทนแล้ง เทวดาเลี้ยง • พืชยืนต้น • A: นนทรีย์ตะขบฝรั่ง มะกอกป่า ตะคล้ำ ปีบ มะฮอกกานี มะค่า สะเดาไทย มะเลี่ยน งิ้วป่า มะขามเปรี้ยวทองหลางป่าขี้เหล็กบ้าน ขี้เหล็กป่า จันผาหางนกยูงไทย ชมพูพันธ์ทิพย์ กระถินเทพา กระถินณรงค์ ตีนเป็ด เหลียง • B: พยุง ลีลาวดี ก้ามปู • C: มะกอกฝรั่ง ตะกู มะยม • พืชประดับต้น • A: สับปะรดทะเล พู่นายพล • พืชประดับพุ่มเตี้ย • A: แสยก ลิ้นมังกร สบู่แดงขลู่ ซอง ผักหวานบ้าน พุทธรักษา มะตูมแขก หมุย • B: เฟื่องฟ้า ขาไก่ดำ • พืชคลุมดิน • A: กระดุมทอง เถาเอ็นอ่อน ตะไคร้หอม อ้อยขาไก่ดำ • พืชไร่ • A: มันสำปะหลัง อ้อยแดง กระเจี๊ยบแดง ฝ้าย • พืชสวน • A: มะม่วง ชมพู่ มะขามเทศไทย น้อยหน่า ไผ่หวาน ทับทิม มะตูม • D: กาแฟ ทุเรียน เงาะ หมายเหตุA:ทนแล้งดีมาก B:ทนแล้งแต่ต้องดูแลช่วงปลูกใหม่ C: ต้องดูแลอย่างดีเรื่องน้ำ D: ปลูกแล้วมักตาย สีน้ำเงิน รับประทานได้
อีเอ็มและเอมไซม์ • อีเอ็ม • ซื้อหัวเชื้อมา มีขาย เพาะขยายด้วยกากน้ำตาล ตรวจสอบได้โดยการใส่ขวดน้ำ ดูแก๊สดัน • เชื้อทำเอง ไปหากากดินหอมในป่าดงดิบ มาหมักน้ำตาล • การใช้งาน มี ทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำ ดับกลิ่นเหม็นจากน้ำเน่า ขยะสด อุจจาระสุกร ผสมสมุนไพรไล่แมลง ใช้ในบ่อกุ้งบ่อปลา ใส่ลงในปุ๋ยหมัก ทำอีเอ็มบอลบำบัดบ่อน้ำเสีย • ผสมกับผลไม้รสเปรี้ยว ทำน้ำยาเอนกประสงค์ ล้างจาน ถูพื้น • เอนไซม์ • หมักแบบไม่มีหัวเชื้อ • หาหัวเชื้อมาจากผลไม้ ใบไม้ ในป่า ผสมกับน้ำนมเปรี้ยว ข้าวหมาก • ผสมสมุนไพร ป้องกันโรค รักษาโรค บำรุงสุขภาพ เช่น ปวดเมื่อย เบาหวาน ความดัน หัวใจสั่น ไขมันในเลือด กล้ามเนื้อเอ็นอักเสบ ชูกำลังชาย-หญิง • ใช้ อีเอ็ม และ เอ็นไซม์ ในการพัฒนาสุขภาพชุมชน สร้างประสิทธิภาพการทำงานให้พนักงาน และดูแลครอบครัวพนักงาน
ซักถามปัญหา • สิ่งที่บรรยายไปแล้ว • สิ่งที่อยากทราบเพิ่มเติม
จบการนำเสนอสวัสดีครับจบการนำเสนอสวัสดีครับ อ้างอิงเว็ปไซต์ ของผู้บรรยาย ภูมิปัญญาอภิวัฒน์ดูหมวด เหมืองแร่ www.budmgt.com