190 likes | 789 Views
ระเบียบมาตราฐานฟาร์มโคนมและการผลิตน้ำนมดิบ ของประเทศไทย พ.ศ. 2542. ผู้จัดทำ นางสาวกนิษฐา ทิมชล เลขที่ 1 นางสาวชญาดา นิลศาสตร์ เลขที่ 5 นางสาวชมดวง ไตรยงค์ เลขที่ 6 โปรแกรมวิชา เกษตรศาสตร์ (สัตวบาล). วัตถุประสงค์
E N D
ระเบียบมาตราฐานฟาร์มโคนมและการผลิตน้ำนมดิบระเบียบมาตราฐานฟาร์มโคนมและการผลิตน้ำนมดิบ • ของประเทศไทย พ.ศ. 2542 ผู้จัดทำ นางสาวกนิษฐา ทิมชล เลขที่ 1 นางสาวชญาดา นิลศาสตร์ เลขที่ 5 นางสาวชมดวง ไตรยงค์ เลขที่ 6 โปรแกรมวิชา เกษตรศาสตร์ (สัตวบาล)
วัตถุประสงค์ • เพื่อปรับปรุงให้ฟาร์มโคนมได้มาตราฐานทางด้านการจัดการฟาร์ม ด้านสุขภาพสัตว์ • ด้าน สิ่งแวดล้อมและมีการจัดระบบต่าง ๆ การกำจัดของเสียและซากภายในฟาร์ม • เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม • เพื่อให้ได้น้ำนมที่มีคุณภาพและถูกสุขลักษณะและมีประโยชน์ต่อผู้บริโภค • ทำให้ฟาร์มโคนมและการผลิตน้ำนมดิบมีมาตราฐานเดียวกันและมีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบของฟาร์ม • 1. ทำเลที่ตั้งของฟาร์ม • บ้านพักอาศัย ควรตั้งห่างจากฟาร์มไม่น้อยกว่า 50 เมตร • ฟาร์มควรอยู่ห่างจากศูนย์รวมน้ำนมดิบ ในรัศมีไม่เกิน 20 กิโลเมตร • ฟาร์มควรอยู่ห่างจากโรงงานผู้รับซื้อน้ำนมดิบ ไม่เกิน 200 กิโลเมตร • สามารถป้องกันการแพร่ระบาดโรคจากภายนอกที่จะเข้ามาในฟาร์ม ควรอยู่ห่างจาก • แหล่งชุมชน โรงฆ่าสัตว์ ตลาดนัดค้าสัตว์ และแหล่งน้ำสาธารณะไม่น้อยกว่า 5 กิโลเมตร • กรณีจัดตั้งฟาร์มใหม่ต้องได้รับการยินยอมจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น • 2. ลักษณะของฟาร์ม • มีพื้นที่สำหรับแม่โคดังนี้ • - ระบบยืนโรง ต้องการพื้นที่ไม่น้อยกว่า 4 ตารางเมตร/ ตัว • - ระบบเลี้ยงปล่อย ต้องการพื้นที่ไม่น้อยกว่า 6 ตารางเมตร/ ตัว
3. ลักษณะของโรงเรือน 3.1 พื้นโรงเรือน กรณีที่พื้นของโรงเรือนเป็นดิน จะต้องมีการจัดสร้างระบบการกำจัดของเสีย ที่มีประสิทธิภาพ 3.2 หลังคาโรงเรือนยกสูงโปร่ง อากาศสามารถถ่ายเทได้ดี 3.3 มีขนาดพื้นที่เหมาะสมกับจำนวนโคที่เลี้ยงและสะดวกในการปฏิบัติงาน 3.4 โรงเรือน ควรสร้างด้วยวัสดุที่คงทนถาวร เพื่อให้มีอายุการใช้งานนาน 3.5ควรสร้างโรงเรือนในแนวทิศตะวันออก – ตก 3.6รางอาารและน้ำจะต้องเพียงพอกับขนาดและจำนวนโค 3.7โรงเรือนทุกโรงจะต้องมีระบบระบายน้ำที่ดี
การจัดการฟาร์มโคนม • 1. การจัดการโรงเรือน • โรงเรือนเลี้ยงโค ต้องสะดวกในการปฏิบัติงาน มีความสะอาดและแห้ง • โรงรีดนม และอุปกรณ์การรีดนม ต้องมีความสะอาดและแห้ง • 2. การจัดการด้านบุคลากร • การดูแลด้านสุขภาพสัตว์ และการสุขาภิบาลของฟาร์ม • การจัดการเลี้ยงดูฝูงโค • 3. คู่มือการจัดการฟาร์มโคนม
4. ระบบการบันทึกข้อมูล • มีบัตรประจำตัวโค เครื่องหมายตัวสัตว์ และพันธุ์ประวัติ บันทึกระบบการสืบพันธุ์ • บันทึกผล ผลิตนมและบันทึกสุขภาพสัตว์ • มีการบันทึกการจัดการอาหารสัตว์และระบบบัญชีรายรับ – รายจ่าย ของฟาร์ม • การตรวจสอบคุณภาพอาหารสัตว์ • 5.การจัดการด้านอาหารสัตว์ • คุณภาพอาหารสัตว์ • แหล่งที่มาของอาหารสัตว์ • ภาชนะบรรจุและการขนส่ง
การจัดการด้านสุขภาพ 1. การป้องกันและควบคุมโรค 1.1 มีการทำลายเชื่อโรคก่อนเข้า - ออกฟาร์ม 1.2 การป้องกันการสะสมของเชื่อโรคในฟาร์ม 1.3 มีโปรแกรมการให้วัคซีน โปรแกรมการกำจัดพยาธิภายในภายนอก 1.4 มีการตรวจวัณโรคและโรคแท้งติดต่อ เป็นประจำอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง 1.5 โคนมที่ซื้อเข้าฟาร์มจะต้องได้รับการตรวจรับรองสุขภาพ จากสัตวแพทย์ผู้ดูแลฟาร์ม 1.6 ในกรณีเกิดโรคระบาดต้องแจ้งสัตวแพทย์ประจำท้องที่และปฏิบัติตามระเบียบที่กำหนด โดยพระราชบัญญัติโรคระบาด พ.ศ. 2499 และ พ.ศ. 2542 และแยกสัตว์ป่วยออกจากฝูง 2. การบำบัดโรคโคนม 2.1 ต้องปฏิบัติตาม พรบ. ควบคุมการประกอบการบำบัดโรคสัตว์ พ.ศ.2505 2.2 การใช้ยา ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดการใช้ยาสำหรับสัตว์
การจัดการสิ่งแวดล้อม • สิ่งปฏิกูลต่าง ๆ รวมถึงขยะ ต้องผ่านการกำจัดอย่างเหมาะสม • เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัยข้างเคียง หรือสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย • 1. ขยะมูลฝอย กำจัดในที่กำจัดขยะซึ่งแยกไว้เป็นสัดส่วนและแยกออกจากบริเวณที่ เลี้ยงโค • 2. ซากสัตว์ ทำการฝังซากสัตว์บริเวณใต้ระดับผิวดิน ไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร • 3. มูลสัตว์ นำไปทำปุ๋ยหรือหมักเป็นปุ๋ยหมัก • 4. น้ำเสีย ต้องจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย
การผลิตน้ำนมดิบ • การจัดการด้านสุขอนามัยการผลิตน้ำนมดิบ • เกษตรกรผู้ทำการรีดนมควรมีสุขภาพดี และแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สะอาด • ตัวแม่โครีดนม • 1. การจัดการก่อนการรีดนมโดยทั่วไป • 1.1 เช็ดล้างตัวโคและเต้านม ด้วยน้ำคลอรีนก่อนทำการรีดนมทุกครั้ง • 1.2 รีดนมจากเต้า 2 – 3 ครั้ง เพื่อดูลักษณะน้ำนมปกติและช่วยลดปริมาณเชื้อโรคที่ ปลายหัวนม • 1.3 กรณีที่สงสัยว่าแม่โคมีปัญหาเต้านมอักเสบควรตรวจสอบด้วย น้ำยา ซี.เอ็ม.ที • ก่อนทุกครั้ง • 1.4 ทุกครั้งที่รีดนมควรชั่งน้ำหนัก จดบันทึกปริมาณน้ำนมที่ได้ของโคแต่ละตัว • 2. การจัดการกรณีพบแม่โค แสดงอาการโรคเต้านมอักเสบ • 2.1 โคนมที่มีผล ซี.เอ็ม.ที บวก ให้รีดน้ำนมออกจากเต้าให้มากที่สุด และรีดนมเป็นตัว สุดท้าย • 2.2 โคนมที่ใช้ยาปฏิชีวนะอยู่ ไม่ควรส่งนมและต้องคำนึงถึงระยะเวลาหยุดยา
วิธีการรีดนม • 3. การรีดด้วยมือ • 3.1 รีดนมให้ถูกวิธี • 3.2 มือของ ต้องแห้งและสะอาด • 3.3 หลังจากรีดนมเสร็จ ต้องจุ่มหัวนมด้วยน้ำยา • 4. การรีดด้วยเครื่อง • 4.1 รีดนมให้ถูกวิธี • 4.2 มือของต้องแห้งและสะอาด • 4.3 หลังจากรีดนมเสร็จ ต้องจุ่มหัวนมด้วยน้ำยา • 4.4 ต้องดูแลรักษาความสะอาดเครื่องรีดโดยถอดชิ้นส่วนออกล้าง และผึ่ง ลมให้แห้ง
การเก็บรักษาและการขนส่งน้ำนมดิบการเก็บรักษาและการขนส่งน้ำนมดิบ • 1. สำหรับเกษตรกร • 1.1 หลังรีดนมต้องรีบส่งน้ำนมให้เร็วที่สุด • 1.2 หลังส่งน้ำนมแล้วต้องรีบล้างถังนมให้สะอาดและคว่ำผึ่งให้แห้ง • 2. สำหรับศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบจากเกษตรกร • 2.1 ควรมีน้ำสะอาดมากเพียงพอ ให้สมาชิกใช้ล้างถังนมก่อนกลับฟาร์ม • 2.2 ควรมีระบบทำความเย็น ชนิดแลกเปลี่ยนความเย็นและถังความเย็นบรรจุน้ำนม • เพื่อลดอุณหภูมิน้ำนมลงให้เร็วที่สุดก่อนรวมถังรวมนม • 2.3 ควรมีถังบรรจุสารละลายด่างและคลอรีนเพื่อทำความสะอาดระบบเก็บรักษาน้ำนม • ทั้งหมด
คุณภาพน้ำนมดิบ พิจารณาจากการตรวจสอบคุณสมบัติของน้ำนม 1. องค์ประกอบของน้ำนม 1.1 ไขมัน (FAT) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 3.5 1.2 โปรตีน (PROTEIN) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 3.5 1.3 ธาตุน้ำนมไม่รวมไขมัน(SOLID NOT FAT) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 8.4 1.4 ธาตุน้ำนมทั้งหมด (TOTAL SOLID)ไม่น้อยกว่าร้อยละ 12.5
2. ความสะอาดน้ำนมและสารปนเปื้อนในน้ำนม 2.1 จุดเยือกแข็งหรือค่าความถ่วงจำเพาะ 2.1.1 จุดเยือกเข็ง ควรมีค่าระหว่าง -0.520 ถึง -0.525 องศาเซลเซียส 2.2.2 ความถ่วงจำเพาะ ที่ 20 องศาเซลเซียส มีค่า 1.028 2.2 การเปลี่ยนสี - เมทธีลีนบลูมากกว่า 4 ชั่วโมง - รีซาซูรินอ่านผลที่ 1 ชั่วโมง 2.3 ปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด ไม่มากกว่า 600,000 โคโลนี/มิลลิลิตร 2.4 ปริมาณจุลินทรีย์โคไลฟอร์ม ไม่มากกว่า 10,000 โคโลนี/มิลลิลิตร 2.5 ปริมาณจุลินทรีย์ทนความร้อน ไม่มากว่า 1,000 โคโลนี/มิลลิลิตร 2.6 ปริมาณเซลล์โซมาติก ไม่ควรเกิน 500,000 โคโลนี/มิลลิลิตร 2.7 ยาปฏิชีวนะให้ผลลบ เมื่อทดสอบด้วยชุดตรวจสอบของกรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์
การเก็บตัวอย่างน้ำนม เพื่อการตรวจสอบคุณภาพน้ำนม 1. สหกรณ์หรือศูนย์รวมน้ำนมควรสุ่มตัวอย่างของสมาชิกตรวจเป็นประจำอย่างน้อย เดือนละ1 ครั้ง 2. การเก็บตัวอย่างน้ำนมปริมาตร 200 ml เพื่อดูปริมาณจุลินทรีย์หรือการเปลี่ยนสี เมทธีลีนบลู รีซาซูริน โดยเก็บจากถังนมรวม 3. การตรวจสอบคุณภาพน้ำนมของโคแต่ละตัวให้เก็บตัวอย่างน้ำนมในปริมาตรเพียง30 ml หน้าที่ความรับผิดชอบของสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์ม 1. ปฏิบัติและรับผิดชอบงานด้านสัตวแพทย์ -วิเคราะห์สภาวะโรคในฟาร์ม -วางแผนในการควบคุมโรค และรักษาสุขภาพสัตว์ 2. รับผิดชอบการเกิดโรค และการเกิดยาหรือการตกค้างในผลผลิต 3. เป็นที่ปรึกษาของผู้ประกอบการในการจัดกการฟาร์ม 4.ดูแลควบคุมจัดการด้านสิ่งแวดล้อมภายในฟาร์ม