250 likes | 545 Views
การประชุมคณะกรรมการประกันคุณภาพฯ ระดับสำนักวิชา. เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2555. อวยพร เรืองศรี ส่วนส่งเสริมวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 4 เมษายน 2556. ประเด็นการประชุม. ประเด็นแจ้งที่ประชุมทราบ :. ปฏิทินการดำเนินงาน QA ปีการศึกษา 2555
E N D
การประชุมคณะกรรมการประกันคุณภาพฯ ระดับสำนักวิชา เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2555 อวยพร เรืองศรี ส่วนส่งเสริมวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 4 เมษายน 2556
ประเด็นการประชุม ประเด็นแจ้งที่ประชุมทราบ: • ปฏิทินการดำเนินงาน QA ปีการศึกษา 2555 • การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2555 • แนวทางในการนำเกณฑ์คุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ (EdPEx) ไปใช้ใน IQA • แนวปฏิบัติการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ของ สกอ. • รูปแบบ SAR ปีการศึกษา 2555 ประเด็นเพื่อพิจารณา: • การกำหนดเป้าหมายตามตัวบ่งชี้ QA ปีการศึกษา 2555
สาระสำคัญของการประกันคุณภาพ ตาม พรบ. การศึกษาแห่งชาติ
ควบคุม การดำเนินงาน ตามมาตรฐานคุณภาพ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแผนดำเนินงาน ตรวจสอบ และประเมิน ตามองค์ประกอบคุณภาพ รายงานสรุป ข้อมูลป้อนกลับเพื่อการพัฒนา/ปรับปรุง รายงาน ผลการตรวจประเมิน ตรวจ และ ประเมิน โดย สมศ. การติดตาม ทุก 5 ปี การประกันคุณภาพภายใน VS ภายนอก ประกันคุณภาพภายใน ประกันคุณภาพภายนอก ข้อมูลป้อนกลับสถาบัน เพื่อการพัฒนา ข้อมูลรายงานภาครัฐ
ปฏิทินกิจกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปีการศึกษา 2555
* หมายเหตุ อาจมีการปรับเปลี่ยนวันตามที่คณะกรรมการฯ กำหนดเพื่อให้เกิดความเหมาะสม
การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2555 องค์ประกอบ/คุณสมบัติผู้ประเมิน:
การแบ่งสายการตรวจเยี่ยม (เฉพาะระดับสำนักวิชา):
แนวทางการนำเกณฑ์คุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ (EdPEx) ไปใช้ใน IQA หลักการ: • นโยบายของ สกอ. ที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาที่มีความเข้มแข็ง โดยเฉพาะสถาบันหรือคณะที่มีการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับดีมาก หรือมีผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามได้มาตรฐานในระดับดีมาก ให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อไปสู่ความเป็นเลิศ โดยให้มีการนำเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Education Criteria for Performance Excellence:EdPEx) ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ยอมรับในระดับสากลไปใช้เป็นทางเลือกหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพการบริหารการจัดการศึกษา อย่างก้าวกระโดดเทียบได้ในระดับสากล • คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษาในการประชุมครั้งที่ 3/55 เมื่อวันที่ 15 ต.ค. 55 มีมติเห็นชอบแนวทางในการนำเกณฑ์ EdPEx มาใช้ใน IQA เพื่อเป็นทางเลือกให้สถาบันอุดมศึกษาที่มีความพร้อมตามเกณฑ์ที่กำหนด ได้นำเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ไปใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารองค์การเพื่อการพัฒนาที่ก้าวกระโดดต่อไป
แนวปฏิบัติการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ของ สกอ. หลักการ: • เป็นไปตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2553 ข้อ 36 ดังนี้ • “หน่วยงานต้นสังกัดของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาจัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษานั้นอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสามปี และแจ้งให้สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาทราบ รวมทั้งเปิดเผยผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาต่อสาธารณชน” • คณะกรรมการการอุดมศึกษา ครั้งที่ 1/2556 เมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2556 มีมติเห็นชอบแนวปฏิบัติการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา และจัดทำประกาศ เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2556 และแจ้งให้สถาบันอุดมศึกษาทราบ (ตามหนังสือที่ศธ 0506(3)/ว37 ลว 28 ก.พ.56)
วัตถุประสงค์: • เพื่อติดตามผลการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาที่เกี่ยวข้อง • เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการปฏิบัติตามแผนการพัฒนาคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษา • เพื่อให้ข้อเสนอแนะในการเร่งรัดพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ • เพื่อจัดทำรายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาและแจ้งผลให้สถาบันอุดมศึกษาทราบ ตลอดจนเปิดเผยผลการติดตามตรวจสอบต่อสาธารณชน
คัดเลือกสถาบัน/คณะที่มีผลการประเมินคุณภาพภายในของสถาบัน/คณะวิชา ปีการศึกษา 2554 และ 2555 องค์ประกอบที่ 2 ด้านการผลิตบัณฑิต และองค์ประกอบที่ 4 ด้านการวิจัย อยู่ในระดับดีขึ้นไป (ตั้งแต่ 3.51 ขึ้นไป) หมายเหตุ 1. สำหรับคณะที่ไม่มีบัณฑิตศึกษาให้ใช้ผลการประเมินด้านการวิจัยระดับพอใช้ (ตั้งแต่ 3.01 ขึ้นไป) 2. ทั้งนี้ผลการประเมินอภิมานต้องไม่ปรากฏข้อบ่งชี้ที่ผิดปกติ 1. ใช้ CHE QA Online วิธีการติดตามตรวจสอบ: การคัดเลือกสถาบัน/คณะเพื่อเข้าติดตาม/ตรวจสอบ 2.1 คัดเลือกสถาบัน/คณะที่มีผลการประเมินในปีการศึกษา 2554 หรือ 2555 ตามระบบ CHEQA Online ได้ค่าคะแนนน้อยกว่าที่กำหนดในข้อ 1. 2.2 คัดเลือกสถาบัน/คณะที่แม้ว่าผลการประเมินในปีการศึกษา 2554 ได้คะแนนตามข้อ 1. แต่การประเมินอภิมานปรากฏข้อบ่งชี้ที่ผิดปกติ ที่น่าจะทำให้ผลการประเมินที่แท้จริงมีค่าน้อยกว่าที่กำหนดข้างต้น 2. เข้าตรวจเยี่ยมในพื้นที่ 3.1 คัดเลือกสถาบัน/คณะวิชามีผลการประเมินคุณภาพภายใน ปีการศึกษา 2554 น้อยกว่า 3.01 และ/หรือ องค์ประกอบที่ 4 ด้านการวิจัย มีค่าน้อยกว่า 2.51 ---- เข้าปีงบประมาณ 56 3.2 คัดเลือกสถาบัน/คณะที่มีลักษณะตามข้อ 2.1 และ 2.2 ที่ยังไม่ได้เข้าติดตามตรวจสอบในปีงบประมาณ 2556 เพื่อเข้าติดตามตรวจสอบในปีงบประมาณ 2557 3. เรียงลำดับความเร่งด่วนในการเข้าตรวจเยี่ยมในพื้นที่
รูปแบบ SAR ปีการศึกษา 2555 องค์ประกอบของเนื้อหา: • บทสรุปสำหรับผู้บริหาร • ส่วนที่ 1 โครงร่างองค์กร • ส่วนที่ 2 ผลการดำเนินงานตามระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน • ส่วนที่ 3 สรุปผลการประเมิน จุดแข็ง จุดอ่อน และแนวทางเสริมเพื่อการพัฒนา • ภาคผนวก
ตัวบ่งชี้เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2555 หมายเหตุ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และสำนักวิชาต่างๆ ใช้เกณฑ์การประเมินในบางตัวบ่งชี้เป็นไปตามจุดเน้นในกลุ่ม ค. สถาบันเฉพาะทาง ลักษณะที่ 2 เน้นระดับปริญญาตรี (ยกเว้นสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ที่เป็นไปตามจุดเน้นในกลุ่ม ค ลักษณะที่ 1 เน้นระดับบัณฑิตศึกษา)
ตัวบ่งชี้เฉพาะ ของมหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ 1. ร้อยละของจำนวนนักศึกษาที่เข้าใหม่ต่อจำนวนนักศึกษาที่ประกาศรับ 2. ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ในระดับม.ปลายของนักศึกษาที่รับเข้าใหม่ (เฉลี่ยทุกคน) 3. ร้อยละของนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาตามเวลาปกติ (ของผู้ที่เข้าศึกษาในรุ่นนั้น) 4. ร้อยละของนักศึกษาที่สูญเสียต่อรุ่น (พ้นสภาพจากผลการเรียน) 5. ร้อยละของบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่สอบใบประกอบวิชาชีพผ่านในครั้งแรก ต่อจำนวนผู้เข้าสอบทั้งหมด 6. ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ของนักศึกษาทุกคนที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษานั้นๆ 7. ตัวบ่งชี้ความเป็นสากล (รายงานในระดับมหาวิทยาลัย
ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตามกรอบ TOF: • อาจารย์ประจำหลักสูตรอย่างน้อยร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผนติดตาม และทบทวนการดำเนินงานของหลักสูตร • มีรายละเอียดของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.2 ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือมาตรฐานคุณวุฒิ/สาขาวิชา (ถ้ามี) • มีรายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.3 และ มคอ.4 อย่างน้อยก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกรายวิชา • จัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา และรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.5 และ มคอ.6 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชา • จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.7 ภายใน 60 วัน หลังปีการศึกษา • มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดใน มคอ.3 และ มคอ.4 (ถ้ามี) อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา
ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตามกรอบ TOF: • 7. มีการพัฒนา/ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือการประเมินผลการเรียนรู้ จากผลการประเมินการดำเนินงานที่รายงานใน มคอ.7 ปีที่แล้ว • 8. อาจารย์ใหม่ (ถ้ามี) ทุกคน ได้รับการปฐมนิเทศหรือคำแนะนำด้านการจัดการเรียนการสอน • อาจารย์ประจำทุกคนได้รับการพัฒนาทางวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง • จำนวนบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน (ถ้ามี) ได้รับการพัฒนาวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ต่อปี • ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้าย/บัณฑิตใหม่ที่มีต่อคุณภาพหลักสูตรเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.5 จากคะแนนเต็ม 5 • ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่ เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.5 จากคะแนนเต็ม 5