190 likes | 349 Views
พรบ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550. แบบไหนจึงจะ เรียกว่าเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ. ฉบับนี้.
E N D
แบบไหนจึงจะเรียกว่าเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ. ฉบับนี้ -การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ-การเปิดเผยข้อมูลมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่น จัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ-การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ -การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น -การทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
-การกระทำเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่นโดยปกติสุข -การจำหน่ายชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด -การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำความผิดอื่น ผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิด -การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของบุคคลเหล่านี้ถือว่าเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ. ฉบับนี้
เรื่องของใคร.......มาตรา 26 บัญญัติให้ผู้ให้บริการต้องเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ไว้ไม่ต่ำกว่า 90 วัน แต่ไม่เกิน 1 ปี ซึ่งรายละเอียดข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ที่ต้องจัดเก็บจะอยู่ในประกาศรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่กำลังออกตามหลังการประกาศใช้งานกฎหมายฉบับนี้ โดยผู้ให้บริการจะมีภาระหน้าที่เก็บข้อมูลจราจรเท่าที่จำเป็น เพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้หากผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ใครรับผิดชอบ...มาตรา 27 บัญญัติไว้ชัดเจนว่าหากผู้ใดไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตาม มาตรา 18 หรือ มาตรา 20 หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2 แสนบาท และที่สำคัญต้องโทษปรับ รายวันอีก ไม่เกินวันละ 5 พันบาท “จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง”มีวิธีการอย่างไร......ข้อ ๘ การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ผู้ให้บริการต้องใช้วิธีการที่มั่นคงปลอดภัย ดังต่อไปนี้(๑) เก็บในสื่อ (Media) ที่สามารถรักษาความครบถ้วนถูกต้องแท้จริง (Integrity) และระบุตัวบุคคล (Identification) ที่เข้าถึงสื่อดังกล่าวได้
(๒) มีระบบการเก็บรักษาความลับของข้อมูลที่จัดเก็บ และกำหนดชั้นความลับในการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว เพื่อรักษาความน่าเชื่อถือของข้อมูล และไม่ให้ผู้ดูแลระบบสามารถแก้ไขข้อมูลที่เก็บรักษาไว้ เช่น การเก็บไว้ใน Centralized Log Server หรือการทำ Data Archiving หรือทำ Data Hashing เป็นต้น เว้นแต่ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องที่เจ้าของหรือผู้บริหารองค์กร กำหนดให้สามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ เช่น ผู้ตรวจสอบระบบสารสนเทศขององค์กร (IT Auditor) หรือบุคคลที่องค์กรมอบหมาย เป็นต้น รวมทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
(๓) จัดให้มีผู้มีหน้าที่ประสานงานและให้ข้อมูลกับพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ เพื่อให้การส่งมอบข้อมูลนั้น เป็นไปด้วยความรวดเร็ว(๔) ในการเก็บข้อมูลจราจรนั้น ต้องสามารถระบุรายละเอียดผู้ใช้บริการเป็นรายบุคคลได้ (Identification and Authentication) เช่น ลักษณะการใช้บริการ Proxy Server, Network Address Translation (NAT) หรือ Proxy Cache หรือ Cache Engine หรือ บริการ Free Internet หรือ บริการ 1222 หรือ Wi-Fi Hotspot ต้องสามารถระบุตัวตนของผู้ใช้บริการเป็นรายบุคคลได้จริง
ผู้ให้บริการที่ระบุใน พ.ร.บ. นี้ คือบุคคลใดบ้าง สำหรับผู้ให้บริการตามที่พ.ร.บ.นี้ได้ระบุไว้ สามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้1. ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมไม่ว่าโดยระบบโทรศัพท์ ระบบดาวเทียม ระบบวงจรเช่าหรือบริการสื่อสารไร้สาย2. ผู้ให้บริการการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไม่ว่าโดยอินเทอร์เน็ต ทั้งผ่านสายและไร้สาย หรือในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในที่เรียกว่อินเทอร์เน็ต ที่จัดตั้งขึ้นในเฉพาะองค์กรหรือหน่วยงาน3. ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ หรือให้เช่าบริการโปรแกรมประยุกต์ (Host Service Provider)4. ผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่าน application ต่างๆ ที่เรียกว่า content provider เช่นผู้ให้บริการ web board หรือ web service เป็นต้น
ตัวอย่างพฤติกรรมที่มีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 • 1: พฤติกรรม: ใช้ user name/password ของผู้อื่น Log in เข้าสู่ระบบ ฐานความผิด: มาตรา 5 ปรับไม่เกิน 10,000.- จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ข้อแนะนำ: ไม่ใช้ user/password ของผู้อื่น และห้ามไม่ให้ผู้อื่นล่วงรู้ password ของตน
2. พฤติกรรม: Forward email ที่มีข้อความ เนื้อหา หรือรูปภาพที่ไม่เหมาะสม เป็นเท็จ กระทบความมั่นคง หรือลามกก่อนาจารฐานความผิด: มาตรา 14 ปรับไม่เกิน 100,000.- จำคุกไม่เกิน 5 ปีข้อแนะนำ: ไม่ forward email ที่ไม่เหมาะสม
3. พฤติกรรม: โพสข้อความตามกระทู้ต่างๆ ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม เป็นเท็จ กระทบความมั่นคง หรือลามกอนาจาร ฐานความผิด: มาตรา 14 ปรับไม่เกิน 100,000.- จำคุกไม่เกิน 5 ปีข้อแนะนำ: ใช้วิจารณญาณในการแสดงความคิดเห็น และคำนึงถึงผลที่จะตามมา
4. พฤติกรรม: เผยแพร่ภาพตัดต่อให้ผู้อื่นได้รับความเสื่อมเสีย หรืออับอายฐานความผิด: มาตรา 16 ปรับไม่เกิน 60,000.- จำคุกไม่เกิน 3 ปี • การก่อกวนหรือลักขโมยข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ เป็นการกระทำที่กฎหมายอาญาใช้กันอยู่ ไม่สามารถเอาผิดได้ เนื่องจากเป็นความผิดที่ทันสมัย ไม่สามารถปรับข้อกฎหมายเอาผิดได้ จึงได้มีกฎหมายเฉพาะเพื่อเอาผิดกับบรรดาแฮกเกอร์ จอมก่อกวนทั้งหลาย ชื่อ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2550
ความผิดสำหรับนักเจาะ • พวกที่ชอบเจาะระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ที่เขาอุตส่าห์สร้างระบบป้องกันไว้แต่ถ้าเข้าเว็บสาธารณะ ก็ย่อมไม่มีความผิด โทษสำหรับพวกชอบเจาะ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท • แต่ถ้าเจาะเข้าไปถึงข้อมูลที่เก็บรักษาไว้ด้วย โทษจะเพิ่มเป็น 2 เท่า • คนที่เผยรหัส (Password) ที่ตัวเองรู้มา สำหรับเพื่อใช้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ มีโทษจำคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
ความผิดสำหรับนักล้วง พวกที่ชอบดักข้อมูลที่เป็นส่วนตัว ซึ่งส่งถึงกันทางอินเตอร์เน็ต ทาง e-mail มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท
ความผิดสำหรับพวกปล่อยไวรัสความผิดสำหรับพวกปล่อยไวรัส • พวกทำลายข้อมูล หรือไปเปลี่ยนแปลงข้อมูลของคนอื่น ไม่ว่าด้วยวิธีใด จะใช้ไวรัส หรือแอบเข้าไปทำลายตรงๆ หรือพวกพนักงานที่ทำงานอยู่แล้วกำลังจะออก ไปทำลายข้อมูลเข้า มีโทษจำคุกไม่เกิน 5ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท • ถ้าทำลายระบบคอมพิวเตอร์ จะมีข้อมูลหรือไม่ก็ตาม มีโทษเท่ากัน • “เมื่อมีกฎหมายฉบับนี้ มีผลบังคับใช้ น่าจะช่วยให้การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ลดลงได้บ้าง แม้จะไม่ทั้งหมดก็ตาม คนที่ใช้คอมพิวเตอร์ ใช้อินเตอร์เน็ตโดยสุจริต คงไม่ต้องกังวล คงไม่ต้องกังวล ถ้าไม่คิดจะไปกลั่นแกล้งใคร” • ถ้าการทำลายข้อมูลคนอื่น ทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ประเภทคอมพิวเตอร์ควบคุมจราจร โทษสูงขึ้นเป็น จำคุก 10 ปี ปรับ 200,000 บาท • และถ้ากระทบถึงความมั่นคงของประเทศ โทษจะสูงขึ้นเป็นจำคุก 3-15 ปี • แต่ถ้าจนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย โทษจะหนักถึงจำคุก 10-20 ปี
ความผิดของพวกชอบก่อกวนหรืชอบแกล้งคนอื่นความผิดของพวกชอบก่อกวนหรืชอบแกล้งคนอื่น • พวกที่ชอบส่งเมลก่อกวนหรือโฆษณาขายสินค้าหรือขายบริการ ประเภทไปโผล่ป๊อปอัพ หรือพวกส่งเมลขยะโดยที่เขาไม่ต้องการ มีโทษปรับอย่างเดียวไม่เกิน 1000,000 บาท โทษฐานก่อความรำคาญ • พวกที่ชอบส่งเมล เป็นข้อมูลปลอมข้อมูลเท็จ ใส่ร้ายป้ายสีคนอื่น หรือพวกเจ้ากรมข่าวลือที่ชอบปล่อยข่าวให้เกิดความวุ่นวาย รวมถึงส่งภาพลามกอนาจารทั้งหลาย รวมถึงพวกผสมโรงที่ได้รับแล้วส่งต่อด้วย มีโทษเสมอกันคือ จำคุกไม่เกิน 5 ปีปรับไม่เกิน 100,000 บาท • พวกที่ชอบใช้ศิลปะเฉพาะตัว ตัดต่อภาพของคนอื่น แล้วนำเข้าเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต ทำให้เจ้าของภาพเข้าเสียหาย อับอาย ต้องโทษาจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 600, 000 บาท แต่กฎหมายยกเว้นสำหรับผู้ที่ทำด้วยความสุจริต จะไม่เป็นความผิด ซึ่งผมยังนึกไม่ออกครับว่า ถ้าตัดต่อภาพเข้าแล้ว จะสุจริตได้อย่างไร คงเป็นกรณีตัดต่อให้ดูสวยกว่าตัวจริง ซึ่งก็รู้จะทำไปทำไม
ความผิดของผู้ให้บริการหรือเจ้าของเว็บความผิดของผู้ให้บริการหรือเจ้าของเว็บ • ผู้ให้บริการหรือเจ้าของเว็บ มีหน้าที่ต้องเก็บข้อมูลของผู้ใช้บริการอย่างน้อย 90 วัน เพื่อให้สามารถหาตัวผู้ใช้บริการ สำหรับให้ตรวจสอบได้ มิฉะนั้น ผู้ให้บริการหรือเจ้าของเว็บ จะต้องรับโทษเอง แต่เบาหน่อยคือปรับอย่างเดียวไม่เกิน 500,000 บาท • การกระทำความผิดตามกฎหมายนี้ แม้จะทำนอกราชอาณาจักร ไม่ว่าคนไทยหรือคนต่างด้าวเป็นผู้ทำ ถ้าเกิดวามเสียหายไม่ว่าเป็นในประเทศหรือต่างประเทศ ก็ต้องยอมรับโทษตามกฎหมายนี้ด้วย • ปัญหาที่ตามมาคือ การกระทำความผิด ในระบบคอมพิวเตอร์ทางอินเตอร์เน็ตอย่างนี้ จะจับได้อย่างไร เรื่องนี้ขอเตือนพวกลองดีทั้งหลายว่า อย่าประมาทเพราะกฎหมายให้อำนาจ เรียกข้อมูลจากผู้ให้บริการหรือเจ้าของเว็บทั้งหลาย รวมถึงมีอำนาจที่จะ รวมถึงอำนาจที่จะเข้าไปติดตาม ตรวจสอบ ก็อปปี้ ในระบบคอมพิวเตอร์ของใครก็ได้ ถ้ามีเหตุอันควรเชื่อถือได้ว่ามีการกระทำความผิด • แต่การใช้อำนาจเจาะเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่นโดยไม่มีความผิดตามกกหมายนี้นั้น จะต้องขอนุญาตต่อศาลเสียก่อน จะทำโดยพลการไม่ได้ • หากเจ้าหน้าที่เปิดเผยข้อมูลที่ใช้อำนาจ หน้าที่ไปเจาะข้อมูลเข้ามาโดยไม่มีอำนาจ เจ้าหน้าที่แหละจะต้องย้ายภูมิลำเนาเข้าไปอยู่ในคุก ด้วยอัตราโทษจำคุก ไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท • และแม้ไม่ได้ตั้งใจเปิดเผย แต่ด้วยความประมาท ทำให้ข้อหลุดเข้าสู่ อินเตอร์เน็ต ก็ต้องรับโทษด้วย คือจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
ที่มาhttp://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=223 http://www.softbizplus.com/computer/639-computer-law-2550-sample