721 likes | 1.94k Views
พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550. เหตุผลในการประกาศใช้. พระราชบัญญัติส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2521 ใช้บังคับเป็นเวลานาน สมควรกำหนดแนวทางและปรับปรุงวิธีการให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบันและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
E N D
พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550
เหตุผลในการประกาศใช้ พระราชบัญญัติส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2521 ใช้บังคับเป็นเวลานาน สมควรกำหนดแนวทางและปรับปรุงวิธีการให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบันและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การจัดตั้งศูนย์เด็กและเยาวชนอำเภอ สภาเด็กและเยาวชน ให้องค์กรเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการส่งเสริมและพัฒนาเด็ก
การประกาศใช้พระราชบัญญัติการประกาศใช้พระราชบัญญัติ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2551 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน 2551 เป็นต้นไป ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2521
บทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง มาตรา 52 : เด็กและเยาวชนมีสิทธิในการได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ มาตรา 80 : รัฐต้องดำเนินนโยบายคุ้มครองเด็กและพัฒนาเยาวชน
บททั่วไป หลักการพัฒนาเด็กและเยาวชน (มาตรา 6) การคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กและเยาวชนเป็นอันดับแรก สิทธิในการได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพสูงสุด สิทธิในการได้รับการศึกษาที่จัดให้เป็นพิเศษและเหมาะสมกับเด็กพิการ เด็กที่มีข้อจำกัดแห่งการเรียนรู้ และเด็กที่มีความสามารถพิเศษ
บททั่วไป หลักการพัฒนาเด็กและเยาวชน (มาตรา 6) สิทธิในการรับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานสู่เด็ก สิทธิในการเล่น พักผ่อน เข้าร่วมกิจกรรม การนันทนาการที่เหมาะสม และการมีส่วนร่วมอย่างเสรีในทางวัฒนธรรมและศิลปะ
บททั่วไป แนวทางในการพัฒนาเด็กและเยาวชน (มาตรา 6) ให้มีความผูกพันต่อครอบครัว ภาคภูมิใจในความเป็นไทย มีวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย ดำเนินชีวิตอย่างปลอดภัย เคารพสิทธิผู้อื่นและกติกาของสังคม มีสุขภาพแข็งแรง ป้องกันตนเองจากโรคและสิ่งเสพติด มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ จริยธรรมและคุณธรรม มีทักษะและเจตคติที่ดีต่อการทำงาน มีศักดิ์ศรีและภาคภูมิใจในการทำงานสุจริต
แนวทางในการพัฒนาเด็กและเยาวชน (มาตรา 6) บททั่วไป รู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและพัฒนาตนเอง มีจิตสำนึกการให้การอาสาสมัครและมีส่วนร่วมในการพัฒนา รับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และส่วนรวม
บททั่วไป • สิทธิได้รับการจดทะเบียนรับรองการเกิด การพัฒนาการยอมรับการ คุ้มครองและโอกาสในการมีส่วนร่วม โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติโดย ไม่เป็นธรรม (มาตรา 7)
บททั่วไป การจัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในระดับท้องถิ่น โดยคำนึงถึงหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนและประชาสังคม (มาตรา 8) การร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนา
บททั่วไป การร่วมมือ ส่งเสริม และสนับสนุนสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ สภาเด็กและเยาวชนจังหวัด สภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร และสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย (มาตรา 9)
สภาเด็กและเยาวชนอำเภอ (มาตรา 22 – 24) องค์ประกอบ สมาชิก : เด็กและเยาวชนในอำเภอ คณะบริหารสภาฯ ประธานสภา ผู้บริหารไม่เกิน 15คน ผู้แทนนักเรียนนักศึกษาระดับมัธยมขึ้นไป ผู้แทนเด็กไม่สังกัดสถานศึกษา
สภาเด็กและเยาวชนอำเภอ (มาตรา 22 – 24) ที่ปรึกษาคณะบริหารสภาฯ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนองค์กรเอกชนหรือองค์กรชุมชน
สภาเด็กและเยาวชนอำเภอ (มาตรา 22 – 24) หน้าที่ ส่งเสริมสนับสนุนด้านวิชาการและกิจกรรมต่าง ๆ จัดกิจกรรมต่าง ๆ เสนอแนะและให้ความเห็นต่อสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด
สภาเด็กและเยาวชนจังหวัด (มาตรา 25 – 27, 31) องค์ประกอบ สมาชิก : ผู้แทนจากคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ ไม่เกิน 5คน จากแต่ละสภาฯ คณะบริหารสภาฯ ประธานสภา ผู้บริหารไม่เกิน 20 คน สมาชิกสภาฯ จังหวัดคัดเลือกกันเอง
สภาเด็กและเยาวชนจังหวัด (มาตรา 25 – 27, 31) ที่ปรึกษาคณะบริหารสภาฯ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ผู้แทนองค์กรเอกชนหรือองค์กรชุมชนไม่เกิน 5 คน
สภาเด็กและเยาวชนจังหวัด (มาตรา 25 – 27, 31) อำนาจหน้าที่ ประสานงานระหว่างสภาฯ อำเภอ และแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ของเด็กและเยาวชน เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และการเผยแพร่ สนับสนุนสภาฯ อำเภอและสถานศึกษาฯ จัดกิจกรรม ออกข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
สภาเด็กและเยาวชนจังหวัด (มาตรา 27 - 31) องค์ประกอบ สมาชิก สภาผู้แทนนักเรียนนักศึกษา ระดับมัธยมศึกษาไม่เกิน 20 คน ระดับอาชีวศึกษาไม่เกิน 20 คน ระดับอุดมศึกษาไม่เกิน 20 คน ผู้แทนเด็กไม่สังกัดสถานศึกษา ไม่เกิน 40 คน
สภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร (มาตรา 27 - 31) คณะบริหารสภาฯ ประธานสภา ผู้บริหารไม่เกิน 20 คน สมาชิกสภากรุงเทพมหานครคัดเลือกกันเอง
สภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร (มาตรา 27 - 31) ที่ปรึกษาคณะบริหารสภาฯ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้แทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา ผู้แทน สท. ผู้แทนองค์กรเอกชนหรือองค์กรชุมชนไม่เกิน 5 คน อำนาจหน้าที่ เช่นเดียวกับสภาฯ จังหวัด
สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย (มาตรา 32 - 40) องค์ประกอบ สมาชิก ประธานสภาฯ จังหวัดทุกจังหวัด ประธานสภาฯ กรุงเทพมหานคร ผู้แทนเด็กและเยาวชน 38 คน คณะบริหารสภาฯ ประธานสภา ผู้บริหารไม่เกิน 25 คน สมาชิกสภาฯ แห่งประเทศไทยคัดเลือกกันเอง
สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย (มาตรา 32 - 40) อำนาจหน้าที่ เป็นศูนย์กลางประสานงาน ร่วมมือดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เสนอความเห็นเกี่ยวกับนโยบาย กิจกรรม และเสนอต่อ คณะกรรมการฯ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน องค์กรชุมชน ออกข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
การส่งเสริมบทบาทองค์กรเอกชนหรือองค์กรชุมชนการส่งเสริมบทบาทองค์กรเอกชนหรือองค์กรชุมชน การจดทะเบียนเป็นองค์กรเอกชนหรือองค์กรชุมชนด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชน (มาตรา 41) องค์กรที่จดทะเบียนอาจได้รับเงินอุดหนุน ความช่วยเหลือ หรือการสนับสนุนจากรัฐ (มาตรา 42) การจัดให้มีอาสาสมัคร การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร การจัดตั้งหรือดำเนินโครงการ
การส่งเสริมบทบาทองค์กรเอกชนหรือองค์กรชุมชนการส่งเสริมบทบาทองค์กรเอกชนหรือองค์กรชุมชน องค์กรที่จดทะเบียนอาจได้รับเงินอุดหนุน ความช่วยเหลือ หรือการสนับสนุนจากรัฐ (มาตรา 42) การศึกษาวิจัย การให้ความช่วยเหลือสนับสนุนด้านกฎหมาย การแพทย์ การบำบัดฟื้นฟูและการสงเคราะห์
หน่วยงานและองค์กรที่รับผิดชอบตามกฎหมายหน่วยงานและองค์กรที่รับผิดชอบตามกฎหมาย คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (มาตรา 10 - 18) องค์ประกอบ นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รองประธานกรรมการคนที่สอง
หน่วยงานและองค์กรที่รับผิดชอบตามกฎหมายหน่วยงานและองค์กรที่รับผิดชอบตามกฎหมาย คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (มาตรา 10 - 18) กรรมการโดยตำแหน่ง 10 คน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน 5 คน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1 คน ผู้แทนเด็กและเยาวชนชาย / หญิง 2 คน ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ เป็นกรรมการและเลขานุการ
หน่วยงานและองค์กรที่รับผิดชอบตามกฎหมายหน่วยงานและองค์กรที่รับผิดชอบตามกฎหมาย คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (มาตรา 10 - 18) อำนาจหน้าที่ เสนอนโยบายและแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติต่อคณะรัฐมนตรี กำหนดระเบียบและหลักเกณฑ์การปฏิบัติงาน สนับสนุนการจัดสมัชชาการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ เสนอรายงานประจำปีเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนของประเทศ
หน่วยงานและองค์กรที่รับผิดชอบตามกฎหมายหน่วยงานและองค์กรที่รับผิดชอบตามกฎหมาย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (มาตรา 6) หน้าที่ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนและดำเนินการที่เกี่ยวข้อง สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ (มาตรา 8, 9, 19, 20, 40) ร่วมมือ ส่งเสริม และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชน
หน่วยงานและองค์กรที่รับผิดชอบตามกฎหมายหน่วยงานและองค์กรที่รับผิดชอบตามกฎหมาย สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ อำนาจหน้าที่ จัดทำนโยบายและแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ กำหนดแผนพัฒนาเด็กและเยาวชน พัฒนาศักยภาพของบุคลากรและส่งเสริมสนับสนุนและร่วมมือในการพัฒนา ศึกษา วิจัย วิเคราะห์ และประเมินผล
หน่วยงานและองค์กรที่รับผิดชอบตามกฎหมายหน่วยงานและองค์กรที่รับผิดชอบตามกฎหมาย สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ สนับสนุน ส่งเสริมและประสานงานกับหน่วยงานองค์กรต่าง ๆ และดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการจัดงานสมัชชาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริม สนับสนุนการจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย และสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร
หน่วยงานและองค์กรที่รับผิดชอบตามกฎหมายหน่วยงานและองค์กรที่รับผิดชอบตามกฎหมาย สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (มาตรา 8, 40) ร่วมมือ ส่งเสริม และประสานงานกับองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานอื่นในการจัดทำแผนพัฒนาพัฒนาเด็กและ เยาวชนในระดับท้องถิ่น ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานกับสภาฯ อำเภอ และสภาฯ จังหวัด
จบการนำเสนอ สวัสดี