480 likes | 749 Views
การเตรียมความ พร้อม หน่วยงานของรัฐ สู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558. เศรษฐกิจ. สังคม. ความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ. ภาวะทาง ธรรมชาติ. ระบบ ราชการ. ความร่วมมือ ในภูมิภาค. การรวมตัวในระดับภูมิภาค.
E N D
เศรษฐกิจ สังคม ความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ ภาวะทาง ธรรมชาติ ระบบ ราชการ ความร่วมมือ ในภูมิภาค การรวมตัวในระดับภูมิภาค
วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ
วัตถุประสงค์ของอาเซียนวัตถุประสงค์ของอาเซียน • ส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศสมาชิก • ธำรงสันติภาพ เสถียรภาพ ความมั่นคง • เสริมสร้างเศรษฐกิจและความอยู่ดีกินดีของประชาชน • พัฒนาสังคมและวัฒนธรรม • ส่งเสริมความร่วมมือกับภายนอก (อาเซียน) และองค์การระหว่างประเทศต่างๆ
รูปรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงินรวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและการมีผลผลิต สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
ข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียนข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียน อาเซียนประกอบด้วยสมาชิก 10 ประเทศ ประชากรอาเซียนรวม 580 ล้านคน GDP อาเซียนรวมกัน 1.7 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ
ความสำเร็จของอาเซียนที่ผ่านมาความสำเร็จของอาเซียนที่ผ่านมา การกดดันให้เวียดนามถอนทหารจากกัมพูชา ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เช่น การลดภาษี การประกาศใช้กฎบัตรอาเซียน
ความเป็นมาของการจัดตั้งประชาคมอาเซียนความเป็นมาของการจัดตั้งประชาคมอาเซียน เดือนธันวาคม 2540 ผู้นำอาเซียนได้รับรองเอกสาร "วิสัยทัศน์อาเซียน 2020" กำหนดเป้าหมายหลัก 4 ประการ เพื่อมุ่งพัฒนาอาเซียนไปสู่ "ประชาคมอาเซียน" (ASEAN Community)ให้เป็นผลสำเร็จภายในปี 2563 (ค.ศ. 2020) ซึ่งจะประกอบด้วย "เสาประชาคมหลักรวม 3 เสา" ได้แก่ ประชาคมความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน รวมทั้งจัดโครงสร้างองค์กรของอาเซียน รองรับภารกิจและพันธกิจ นับเป็นการแปลงสภาพอาเซียนจากองค์กรที่มีการรวมตัวหรือร่วมมือกันแบบหลวมๆ เพื่อสร้างและพัฒนามาสู่สภาพการเป็น "นิติบุคคล" ซึ่งเป็นที่มาของการนำหลักการนี้ไปร่างเป็น "กฎบัตรอาเซียน" ซึ่งเป็น "ธรรมนูญ" การบริหารปกครองกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ
ความเป็นมาของการจัดตั้งประชาคมอาเซียนความเป็นมาของการจัดตั้งประชาคมอาเซียน • วันที่ 7 ตุลาคม 2546 ผู้นำอาเซียนเห็นชอบปฏิญญาอาเซียนคองคอร์ดสอง ที่เมืองบาหลี อินโดนีเซีย เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี 2563 • วันที่ 13 มกราคม 2550 ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 12 ที่เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ลงนามในปฏิญญาเซบูกำหนดให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี 2558 • วันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 13 ที่สิงคโปร์ ตกลงให้มีการจัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมอาเซียน 2558 ทั้งสามเสาหลัก • วันที่ 1 มีนาคม 2552 ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ที่ ชะอำ หัวหินผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรอง “ปฏิญญาชะอำ หัวหินว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน(ค.ศ. 2009-2015)” เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558
ASEAN Community 2015 ประชาคมการเมือง และความมั่นคงอาเซียน ASEAN Politicaly-Security Community ประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน ASEAN Socio-Cultural Community ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ASEAN Economic Community
1.มีกฎ กติกา เป็นพื้นฐานภายใต้ค่านิยมร่วมกัน 2.มีความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคง สำหรับประชาชนที่ครอบคลุมอย่างรอบด้าน 3.มีพลวัตและมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศนอกอาเซียน 4.มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ 5.มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี 6.มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน 7.มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิม และรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
1.เป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง 2.มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน 3.มีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต 4.ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน 5.ส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน ประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน
1.เป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base) 2.มีความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ 3.มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค 4.สามารถบูรณาการเข้ากับระบบเศรษฐกิจโลก 5.เกิดการรวมตัวทางเศรษฐกิจและอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน 6.เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ 7.ลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคม 8.ลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก 9.ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาค ตลาดการเงินและตลาดทุน การปะกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม 10.พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว 11.พัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
เป้าหมายการขับเคลื่อนเป้าหมายการขับเคลื่อน • มุ่งเน้นการปฏิบัติ (Community of Action) • มีการเชื่อมโยงและติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างใกล้ชิด • (Community of Connectivity) • เป็นประชาคมเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง • (Community of People)
สิ่งที่ต้องเตรียมการทั่วไปสิ่งที่ต้องเตรียมการทั่วไป นับเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ต้องไม่ให้การเปลี่ยนแปลงนี้มากระทบเราอย่างทุลักทุเล เราต้องเตรียมความพร้อมทันที ตลอดเวลา โดยเฉพาะบุคลากรต้องตามให้ทันและยืดหยุ่นปรับตัวให้รับสถานการณ์ได้ ภาษาอังกฤษจะเป็นภาษาที่ใช้เป็นภาษากลางของอาเซียนบุคลากรและนักศึกษา ต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ ให้สามารถสื่อสารได้ ทุกคนต้องปรับปรุงความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ เพื่อลดข้อขัดแย้งในภูมิภาคอาเซียน โดยรัฐบาลต้องให้ความรู้เรื่องอาเซียนแก่ประชาชนอย่างเป็นระบบทั่วถึง สร้างบัณฑิตให้สามารถแข่งขันได้ในอาเซียน และเพิ่มโอกาสในการทำงาน ไม่เช่นนั้น จะถูกแย่งงานเพราะเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน/บริการอย่างเสรี คณะกรรมการวิชาชีพ สภาวิชาชีพ ต้องเตรียมการรองรับผลกระทบนี้อย่างเร่งด่วน ประเทศไทยควรใช้โอกาสนี้ในการเป็น Hub ของอาเซียนในด้านต่างๆ เช่น ด้านพาณิชย์ ด้านการศึกษา โดยอาศัยความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์ของประเทศไทย
การเตรียมตัวของภาคราชการโดยรวมการเตรียมตัวของภาคราชการโดยรวม เมื่อเกิดประชาคมอาเซียน ความร่วมมือจะเพิ่มมากขึ้นในทุกๆด้าน จะมีการติดต่อกันระหว่างหน่วยงานราชการต่างๆของประเทศสมาชิกอาเซียนเพิ่มมากขึ้น เพราะฉะนั้น เมื่อเกิดประชาคมอาเซียน ความร่วมมือในทุกๆด้านจะเพิ่มมากขึ้น และข้าราชการเกือบจะทุกกระทรวง ทบวง กรม จะต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องของอาเซียนมากขึ้น จึงต้องมีการปรับตัว เพื่อที่จะให้ทันกับประเทศอาเซียนอื่นๆ จะมีการแข่งขันกันมากขึ้นในการปฏิสัมพันธ์กันในระบบราชการต่างๆ ระบบราชการไทยจะต้องทำงานให้ทันกับระบบราชการในประเทศอาเซียนอื่นๆ อย่างเช่น สิงคโปร์ ซึ่งได้ชื่อว่าระบบราชการมีประสิทธิภาพมาก ราชการไทยต้องตื่นตัวในการรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนมากขึ้นต้องพยายามที่จะรู้จักประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น ซึ่งเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันทั้งนั้น รวมทั้งต้องรู้จักภาษาของประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น
การเตรียมตัวของภาคราชการโดยรวม(ต่อ)การเตรียมตัวของภาคราชการโดยรวม(ต่อ) ภาษาอังกฤษจะเป็นภาษาราชการของอาเซียนในอนาคต จะมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชนอาเซียนมากขึ้น รวมทั้งระหว่างระบบราชการ โดยจะมีการพบปะ เจรจา และประชุมกันมากขึ้น เพราะความร่วมมือต่างๆ จะเกิดมากขึ้นในทุกมิติ ดังนั้น สิ่งที่ราชการไทยต้องรีบปรับตัวอย่างรวดเร็ว ก็คือ ทักษะภาษาอังกฤษ การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน และเปิดกว้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
“แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน พ.ศ.2552 - 2558” Blueprint for The ASEAN Socio-Cultural Community 2009 - 2015 A. การพัฒนามนุษย์ (Human Development) B. การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (Social Welfare and Protection) C. ความยุติธรรมและสิทธิ (Social Justice and Rights) D. ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Ensuring Environmental Sustainability) E. การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (Building the ASEAN Identity) F. การลดช่องว่างการพัฒนา (Narrowing the Development Gap)
ปี 2524 ที่ประชุมอาเซียนได้ก่อตั้ง “การประชุมอาเซียนว่าด้วยกิจการราชการพลเรือน” (ASEAN Conference on Civil Service Matters : ACCSM ให้เป็นกลไกหนึ่งของสมาคมอาเซียน
แผนงานการจัดตั้ง ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ข้อ A การพัฒนามนุษย์ รัฐบาลไทยมอบหมายให้ สำนักงาน ก.พ. รับผิดชอบ ข้อ A 7 พัฒนาสมรรถภาพของระบบราชการ
A. การพัฒนามนุษย์ A 1. การให้ความสำคัญกับการศึกษา (21 มาตรการ) A 2. การลงทุนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (8 มาตรการ) A 3. การส่งเสริมการจ้างงานที่เหมาะสม (4 มาตรการ) A 4. การส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศ (6 มาตรการ) A 5. การอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีเชิงประยุกต์ (8 มาตรการ) A 6. การเสริมสร้างทักษะการประกอบการสำหรับสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ (3 มาตรการ) A 7. การพัฒนาสมรรถภาพของระบบราชการ (8 มาตรการ)
พันธกิจที่สำนักงาน ก.พ. ต้องรับผิดชอบ A7. พัฒนาสมรรถภาพของระบบราชการเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ • เน้นการจัดตั้งระบบราชการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส มีความรับผิดชอบและมีความน่าเชื่อถือ โดยการเพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในระบบราชการของอาเซียน และเพิ่มความร่วมมือระหว่างรัฐสมาชิกอาเซียน
A7. พัฒนาสมรรถภาพของระบบราชการมาตรการ พัฒนายุทธศาสตร์เพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติการการประชุมอาเซียนว่าด้วยกิจการด้านพลเรือน (ACCSM WORK PLAN 2008-2015) โดยส่วนที่สำนักงาน ก.พ. รับผิดชอบ เช่น การพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ การพัฒนาภาวะผู้นำ ให้ ACCSM สนับสนุนการประสานงานในอาเซียนเพื่อให้ระบบราชการมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบต่อสาธารณ มีธรรมาภิบาล รวมทั้งสนับสนุนการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านเหล่านี้ประจำทุกปี โดยให้เริ่มตั้งแต่ปี 2551 เสริมสร้างขีดความสามารถของ ASEAN Resource Center ภายใต้ ACCSM เพื่อพัฒนาและจัดฝึกอบรมเพื่อช่วยประเทศสมาชิกอาเซียน พัฒนาผู้เชี่ยวชาญและวิทยากรเพื่อเป็นทรัพยากรบุคคลในการฝึกอบรมและเสริมสร้างขีดความสามารถของราชการพลเรือน
A7. พัฒนาสมรรถภาพของระบบราชการมาตรการ พัฒนาหลักสูตรอบรมให้เหมาะสมสำหรับเพศและการพัฒนา และหลักสูตรพัฒนาหลักจริยธรรมและธรรมาภิบาล สำหรับการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน จัดโครงการฝึกอบรมโดยเน้นการเสริมสร้างขีดความ สามารถเพื่อแลกเปลี่ยนกันในระบบราชการอาเซียนภายใต้การประชุม ACCSM กระชับความร่วมมือเพื่อบรรลุการพัฒนาราชการพลเรือนที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มีความสามารถ น่าเชื่อถือและตอบสนองต่อระบบราชการในอาเซียน โดยดำเนินกิจกรรมผ่าน ARC กรอบความร่วมมือรายสาขา และกิจกรรมระดับภูมิภาคที่สนับสนุนการดำเนินการของ ACCSM จัดทำนโยบายและโครงการพัฒนาราชการพลเรือนที่ยั่งยืน เพื่อให้ ACCSM WORK Plan 2008-2015 บรรลุผลสำเร็จ เน้นความโปร่งใส ซื่อสัตย์ คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน ความเท่าเทียมทางเพศ
การดำเนินการของสำนักงาน ก.พ. ปัจจุบัน • การดำเนินภารกิจตาม ARC มาตั้งแต่ปี 2524 โดย • จัดอบรมหลักสูตรประจำปี ASEAN Middle Management and Leadership Development • จัดอบรมหลักสูตรต่าง ๆ ตามคำขอของประเทศสมาชิก เช่น หลักสูตร HR Strategic Management แก่ข้าราชการกัมพูชา • จัดอบรมภายใต้โครงการความร่วมมือทางวิชาการกับประเทศสมาชิกอาเซียน 19 โครงการ ระหว่างปี 2553 – 2555 ด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ด้าน HR Professional และด้านการพัฒนาภาวะผู้นำ • ดำเนินโครงการความร่วมมือทวิภาคีระหว่างไทยกับสิงคโปร์ (การจัดอบรมร่วมกัน การแลกเปลี่ยนบุคลากรเพื่อเพิ่มประสบการณ์การณ์ทำงาน การจัดทำหลักสูตรออนไลน์ร่วมกัน ฯ ล ฯ)
การดำเนินการของสำนักงาน ก.พ. ปัจจุบัน(ต่อ) • การดำเนินในฐานะสมาชิก ASEAN Conference on Civil Service Matters – ACCSM หรือ ก.พ. อาเซียน โดย • เป็นเจ้าภาพจัดประชุมประจำปี • เข้าร่วมประชุมประจำปี โดยนำเสนอ Country Paper, Technical Paper นำเสนอข้อคิดเห็นใหม่ ๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการพลเรือน • นำประสบการณ์การพัฒนาระบบราชการของประเทศสมาชิกมาปรับใช้กับราชการไทย • ร่วมกำหนด ACCSM Blueprint 2008 – 2012 และปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการดังกล่าว • ให้การสนับสนุนประเทศสมาชิกตามที่ร้องขอ เช่น สนับสนุนที่ปรึกษาระบบราชการ • ปรับปรุงพัฒนาระบบข้าราชการพลเรือนให้ทันสมัย • แทรกหลักสูตรเรื่องอาเซียนไว้ในหลักสูตรอบรมหลัก ๆ ของสำนักงาน ก.พ. • เปิดตัวเรื่องการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553
การดำเนินงานของสำนักงาน ก.พ. ในอนาคต • คงการดำเนินการที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง • สิ่งที่จะดำเนินการใหม่ • ปีงบประมาณ 2554 (1) ปรับปรุง/สร้างหลักสูตรอบรมทั้งที่เป็นหลักสูตรเฉพาะและหลักสูตรพื้นฐาน เน้นการสร้างความตื่นตัว/ความตระหนัก ปรับเปลี่ยนทัศนคติ รับทราบ เข้าใจ ถึงที่มา แนวคิด เป้าหมาย และผลกระทบของอาเซียนและการมีประชาคมอาเซียน (2) เปิดตัวแนวทางการเตรียมความพร้อมในเวทีต่าง ๆ (3) สอดแทรกเรื่องประชาคมอาเซียนไว้ในหลักสูตรฝึกอบรมหลัก ๆ (4) บรรจุเรื่องการเตรียมความพร้อมข้าราชการ ฯ ไว้ในแผนบริหารราชการแผ่นดิน • ปีงบประมาณ 2555 (1) ดำเนินการฝีกอบรมให้ความรู้และพัฒนาทักษะ/สมรรถนะที่จำเป็น (ภาษาอังกฤษ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การบริหารการเปลี่ยนแปลง/บริหารความขัดแย้ง/บริหารความเสี่ยง การทำงานเป็นทีมและสร้างเครือข่าย การเจรจาระหว่างประเทศ การทำงานเชิงกลยุทธ ฯ ล ฯ โดยจัดเป็นหลักสูตรกลาง หรือแทรกไว้ในหลักสูตรอื่น ๆ (2) สนับสนุนให้ส่วนราชการไปดำเนินการพัฒนา/อบรมตามมาตรฐาน (3) จัดสรรทุนพัฒนานักบริหารระดับสูงไปรับการอบรมหาประสบการณ์การเตรียมความพร้อมในต่างประเทศเพื่อกลับมาขยายผลต่อไป • ปีงบประมาณ 2556 ส่งเสริมให้ข้าราชการสร้างเครือข่ายร่วมกันเป็นพลังผลักดันให้เกิดประชาคมอาเซียน
การเตรียมตัวเรื่องเฉพาะของหน่วยงานการเตรียมตัวเรื่องเฉพาะของหน่วยงาน เรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน จะเกี่ยวข้องกับกระทรวงยุติธรรม ที่จะต้องมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในเรื่องของการผลักดันความร่วมมือด้านสิทธิมนุษยชน และกลไกสิทธิมนุษยชนในอาเซียน ดังนั้น บุคลากรในกระทรวงยุติธรรม ก็ต้องมีความรู้เกี่ยวกับอาเซียนมากขึ้น และต้องมีบทบาทมากขึ้นในการเข้าไปผลักดันในประเด็นเหล่านี้ การจัดทำข้อตกลง สนธิสัญญา และกฎหมายระหว่างประเทศ กระทรวงที่เกี่ยวข้อง คือ กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงยุติธรรม บทบาทที่จะไปเสริมสร้างกลไกป้องกันความขัดแย้ง กลไกแก้ไขความขัดแย้ง จะเป็นเรื่องของหน่วยงานความมั่นคงเป็นหลัก คือ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงกลาโหม ฝ่ายทหาร และสภาความมั่นคงแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงมหาดไทยพัฒนาสุขภาพเด็กและเยาวชนภายใต้โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ให้มีภูมิคุ้มกันในการดำรงชีวิต และปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคศตวรรษที่ 11 และเตรียมพร้อมสู่ “ประชาคมอาเซียน”
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดสัมมนาผู้ประกอบการการท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาคเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปิดเสรีการค้าและการบริการในกลุ่มประเทศสมาชิกสมาคมอาเซียน ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยปั้นให้จังหวัดอุบลราชธานีนำร่องเป็น “ฮั๊บ” ดึงชาวลาว เวียดนาม และกัมพูชามาเที่ยว โดยตั้งเป้าปีละ 1.5 ล้านคน ในปี 2554 และเพิ่มเป็น 2 ล้านคนในปี 2555 ท.ท.ท. ร่วมกับผู้ประกอบการในจังหวัดอุบลราชธานี วางแผนกลยุทธด้านการตลาด การทำจุดขายด้านการท่องเที่ยวในจังหวัด
ยุทธศาสตร์อุดมศึกษาไทยในการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเพิ่มขีดความสามารถของบัณฑิตให้มีคุณภาพมาตรฐานในระดับสากล ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาความเข้มแข็งของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาประชาคมอาเซียน ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมบทบาทของอุดมศึกษาไทยในประชาคมอาเซียน 32
ความตกลงยอมรับคุณสมบัติร่วมใน 8 สาขาวิชาชีพ ของอาเซียน
ตัวอย่างความตกลงยอมรับคุณสมบัติร่วมด้านบริการวิศวกรรมตัวอย่างความตกลงยอมรับคุณสมบัติร่วมด้านบริการวิศวกรรม • วิศวกรสัญชาติของประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถเข้าร่วมได้ • จบการศึกษาจากหลักสูตรและสถาบันที่ได้รับการรับรองโดยรัฐบาลและสภาวิศวกร • มีใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรม • มีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 7 ปี (มีผลงานที่สำคัญอย่างน้อย 2 ปี) • สภาวิศวกรจะทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบและออกใบอนุญาตให้วิศวกรจากประเทศอาเซียนอื่นที่เข้าร่วมโครงการสามารถประกอบวิชาชีพได้
สถานะล่าสุด ความตกลงยอมรับคุณสมบัติร่วมด้านบริการวิศวกรรม • ไทยได้แจ้งเข้าร่วมผูกพันการปฏิบัติตามความตกลงยอมรับคุณสมบัติ ร่วมด้านบริการวิศวกรรมแล้ว มีผลตั้งแต่ 1 มีนาคม 2552 • ขณะนี้มีประเทศอาเซียน 7 ประเทศแจ้งเข้าร่วมผูกพันการปฏิบัติตามความตกลงแล้ว (ลาว มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ไทย และสิงคโปร์) • มีผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นวิศวกรอาเซียนแล้ว 125 คน (จากสิงคโปร์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย) • ไทยกำลังพิจารณาเรื่องผู้แทนในคณะกรรมการกำกับติดตาม (MC) และการเสนอ Assessment Statement ก่อนที่จะเริ่มรับจดทะเบียน • สภาวิศวกรของไทยมีความคิดที่จะให้ License มีอายุ 3 ปี
ความตกลงยอมรับคุณสมบัติร่วมด้านบริการทางการแพทย์ความตกลงยอมรับคุณสมบัติร่วมด้านบริการทางการแพทย์ • ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์สัญชาติของประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถเข้าร่วมได้ • จบการศึกษาจากหลักสูตรและสถาบันที่ได้รับการรับรองโดยรัฐบาลและแพทย์สภา • มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์ • มีประสบการณ์ทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี • แพทย์สภาจะทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบและออกใบอนุญาตให้แพทย์จากประเทศอาเซียนอื่นที่เข้าร่วมโครงการสามารถประกอบวิชาชีพในไทยได้
สาระสำคัญ • เปิดโอกาสให้แพทย์ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดสามารถจดทะเบียนหรือขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแพทย์ในประเทศอาเซียนได้ • แพทย์ต่างชาติที่ขอรับใบอนุญาตประกอบวาชีพในไทยจะต้องผ่านการประเมินและตรวจสอบโดยแพทย์สภาและกระทรวงสาธารณสุข • การดำเนินงานจะอยู่ภายใต้การดูแลของ ASEAN Joint CoordinatingCommitteeon Medical Practitioners
ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับประโยชน์ที่ไทยจะได้รับ เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (ปัจจุบันอาเซียนเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทย มีมูลค่าการค้าระหว่างกันกว่า 1.75 ล้านล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 19.2 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย ในจำนวนนี้ เป็นการส่งออกจากไทยไปอาเซียนร้อยละ 20.7 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลมาตลอด) เกิดการรวมตัวกันอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นด้านเศรษฐกิจ ประกอบกับการขยายความร่วมมือเพื่อเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เส้นทางคมนาคม ระบบไฟฟ้า โครงข่ายอินเตอร์เน็ต ฯลฯ ช่วยเพิ่มโอกาสทางการค้าและการลงทุนให้กับไทย โดยขยายตลาดให้กับสินค้าไทยจากประชาชนไทย 60 ล้านคนเศษเป็นประชาชนอาเซียนเกือบ 600 ล้านคน และเป็นแหล่งเงินทุนและเป้าหมายการลงทุนของไทย ซึ่งไทยจะได้เปรียบประเทศสมาชิกอื่นเพราะมีที่ตั้งอยู่ใจกลางอาเซียน สามารถเป็นศูนย์กลางทางการคมนาคมและขนส่งในภูมิภาค ในอนาคต คนไทยจะได้รับประโยชน์จากการรวมตัวเป็นประชาคมของอาเซียนมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับการเตรียมความพร้อมของเรา ดังนั้น การสร้างความตื่นตัวและให้ความรู้กับประชาชน จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้ตระหนักถึงโอกาสและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันซึ่งจะช่วยให้คนไทยได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบในทางลบแก่ภาคส่วนต่าง ๆ
สิ่งท้าทายการจัดตั้งประชาคมอาเซียนสิ่งท้าทายการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ประชาธิปไตยของแต่ละประเทศยังมีปัญหา ในกรอบของอาเซียนเอง ยังไม่มีกลไกเรื่องประชาธิปไตยและกลไกที่จะส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ความขัดแย้งระหว่างประเทศสมาชิกคงมีอยู่ เช่น กรณีพิพาทเรื่องปราสาทพระวิหารระหว่างไทยกับกัมพูชา ปัญหาเขตแดนไทยกับลาว กับพม่า และกับมาเลเซีย หรืออินโดนีเซียเองก็มีปัญหากับมาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ สาเหตุสำคัญคือประเทศสมาชิกอาเซียนต่างไม่ไว้วางใจต่อกัน อาเซียนยังคงเป็นเพียงการรวมตัวของประเทศเล็ก ๆ 10ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนา ดังนั้น การบูรณาการระหว่างกันหรือขยายประเทศสมาชิกอาจทำได้ยาก ผิดกับสหภาพยุโรปที่ขยายสมาชิกออกไปเรื่อย ๆ เพื่อครอบคลุมทวีปยุโรปทั้งหมด ดังนั้น อาเซียนอาจต้องมองนอกกรอบออกไปเป็น อาเซียน + 3 หรืออาเซียน + 6ดึงญี่ปุ่น เกาหลี จีน เข้ามาแล้วรวมเป็นกลุ่มเอเชียตะวันออก
สิ่งท้าทายการจัดตั้งประชาคมอาเซียน(ต่อ)สิ่งท้าทายการจัดตั้งประชาคมอาเซียน(ต่อ) การตั้งเป้าจะพัฒนาเป็นประชาคมเศรษฐกิจ โดยเป็นตลาดร่วม ซึ่งจะต้องมีความเป็นเสรีใน4ด้าน คือ ภาคสินค้า บริการ การเคลื่อนย้ายเงินทุนและแรงงาน สำหรับด้านแรงงานอาจเป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะแรงงานไร้ฝีมือ เพราะมีความแตกต่างทางเศรษฐกิจอย่างมากระหว่างประเทศสมาชิก และการควบคุมจะทำได้ยาก เช่น คนจนในบางประเทศย่อมต้องการย้ายถิ่นฐานไปในประเทศที่ดีกว่า ซึ่งอาจจะเกิดการย้ายถิ่นฐานมโหฬารซึ่งประเทศเจ้าของบ้านก็คงไม่ยอมรับ นอกจากนี้ ประเทศอาเซียนยังคงมองประเทศสมาชิกอื่นเป็นคู่แข่งทางเศรษฐกิจ ไม่ได้มองเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ ระบบการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม เชื้อชาติ ศาสนาของประเทศสมาชิกอาเซียนยังคงมีความแตกต่าง ความหลากหลาย ซึ่งอาจทำให้ให้อาเซียนไม่สามารถสร้างอัตลักษณ์ร่วมกันขึ้นมาได้ ต่างกับยุโรปที่มีระบบการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ศาสนา เชื้อชาติเดียวกัน ทำให้รวมกันง่าย นักธุรกิจไทยยังไม่ตื่นตัวมากนัก ธุรกิจSMEsยังไม่รู้ว่าจะเกิดผลกระทบหรือเป็นโอกาส นักธุรกิจต้องเข้าใจบริบทอาเซียน โดยไม่ใช่แค่รู้เรื่องMarketingand Finances แต่ต้องรู้วัฒนธรรมการทำธุรกิจของกลุ่มประเทศอาเซียนและสไตล์ผู้นำอาเซียน (ASEAN leadership stile)
สิ่งท้าทายการจัดตั้งประชาคมอาเซียน(ต่อ)สิ่งท้าทายการจัดตั้งประชาคมอาเซียน(ต่อ) การเป็นประชาคมอาเซียนต้องเป็นประชาคมของประชาชนอาเซียน ไม่ใช่ของกระทรวงการต่างประเทศของอาเซียน ปัจจุบันเรื่องของอาเซียนยังเป็นเรื่องของข้าราชการ ประชาชนมีความรู้เรื่องอาเซียนและความผูกพันกับอาเซียนน้อยมาก การคาดหวังว่ากฎบัตรอาเซียนจะเป็นพิมพ์เขียวสำหรับความร่วมมือของอาเซียนนั้น อาจเป็นการคาดหวังที่สูงมาก เพราะหลักการบางอย่างที่ให้ยึดหลักไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศสมาชิก ทำให้ประเทศสมาชิกหนึ่งไม่สามารถเข้าไปช่วยอีกประเทศหนึ่งได้ เช่น หากเกิดกรณีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือแม้แต่การเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ คนที่เข้าไปก่อนเลขาธิการอาเซียนกลับเป็นเลขาธิการยูเอ็น การรวมตัวของอาเซียนเพื่อเป็นตลาดเดียวและเขตการผลิตเดียว จะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตได้อย่างเสรี สามารถดำเนินการผลิตที่ไหนก็ได้ โดยสามารถใช้ทรัพยากรจากแต่ละประเทศทั้งวัตถุดิบและแรงงานในการผลิตร่วมกัน มีมาตรฐานสินค้า กฎเกณฑ์ กฎระเบียบเดียวกัน
สิ่งท้าทายการจัดตั้งประชาคมอาเซียน(ต่อ)สิ่งท้าทายการจัดตั้งประชาคมอาเซียน(ต่อ) • การเคลื่อนย้ายแรงงานไม่ใช่แค่ระดับแรงงานอย่างเดียว แต่จะรวมถึงระดับบริหารและซีอีโอด้วย • ขณะนี้ประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียนยังมีความเหลื่อมล้ำในระดับการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่เท่าเทียมกัน ประเทศที่ล่าช้าต้องเร่งปรับตัวให้ทัดเทียมมากขึ้น • การรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 นับเป็นความท้าทายของประเทศสมาชิก โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งปัจจุบันมีข้อจำกัดด้านประชากรที่มีฐานเพียง 67 ล้านคน และเริ่มที่จะเข้าสู่สังคมสูงอายุในอีก 20 ปีข้างหน้า • ภาครัฐต้องมีบทบาทในการส่งเสริมการประกอบธุรกิจให้คล่องตัวยิ่งขึ้น ๆ เช่น • การแก้ไขกฎหมายศุลกากรบางส่วน • การปรับปรุงมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนและตั้งสำนักงานในประเทศไทย • การปรับปรุงระยะเวลาการอนุมัติการจัดตั้งบริษัทในไทยให้สั้นที่สุด (ปัจจุบันใช้เวลา 32 วัน) ในขณะที่สิงคโปร์ใช้เวลาเพียง 3 วัน มาเลเซีย 11 วัน
สิ่งท้าทายการจัดตั้งประชาคมอาเซียน(ต่อ)สิ่งท้าทายการจัดตั้งประชาคมอาเซียน(ต่อ) • เมื่อเทียบระหว่างประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มอาเซียน ไทยยังมีความได้เปรียบเสียเปรียบในหลายประการ กล่าวคือ • มีสัดส่วนวัยทำงานสูงถึง 72 % เมื่อเทียบกับวัยเกษียณที่มีสัดส่วนเพียง 11 % แต่ในอีก 20 ปีข้างหน้า สัดส่วนวัยเกษียณของไทยจะเพิ่มขึ้น 2 เท่า หรือ กว่า 22 % จึงเป็นความท้าทายด้านแรงงานไทยในอนาคตที่จะต้องแบกรับภาระต่าง ๆ แทนแรงงานที่เกษียณไป • อุตสาหกรรมบางอย่าง ยังเป็นโอกาสสำหรับไทย เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ ซึ่งโดยเฉลี่ยในกลุ่มประเทศอาเซียนยังมีประชากรต่อจำนวนรถยนต์อยู่ในระดับต่ำ (49 คันต่อประชากร 1 พันคน) สำหรับเวียดนาม 5 คันต่อ 1 พันคน พม่า 4 คันต่อ 1 พันคน • อุตสาหกรรมสถาบันการเงิน โดยเฉลี่ยจำนวนเงินกู้ในกลุ่มประเทศอาเซียนมีจำนวน 1.4 พันดอลล่าร์ต่อคน สิงคโปร์ 5.1 พันดอลล่าร์ต่อคน ไทย 3.2 พันดอลล่าร์ต่อคน พม่าเพียง 7 ดอลล่าร์ต่อคน • อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล สิงคโปร์มีแพทย์ 170 คนต่อประชากร 1 แสนคน ไทยมีเพียง 31 คนต่อประชากร 1 แสนคน
ประเด็นฝากให้คิด... สิ่งที่เกิดขึ้นจะเป็นความท้าทายหรือเป็นโอกาส ขึ้นอยู่กับมุมมองและความตระหนักของประชาชนทุกภาคส่วนที่พร้อมจะเปิดรับกับสิ่งใหม่ ๆ และเตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลา ภาครัฐหรือภาคเอกชนต้องทำงานในลักษณะเครือข่ายมากขึ้น แทนที่จะทำงานคนเดียว โดยเฉพาะต้องดึงเอามูลค่าเพิ่มจากเครือข่ายมาใช้ประโยชน์มากขึ้น ทุกคนต้องมองภาพการบริหารในระดับโลกมากขึ้น ไม่ใช่การมองแบบวัฒนธรรมองค์กรเดียว มองเห็นความหลากหลาย และเห็นระบบของคุณค่าอย่างแท้จริงที่อยู่ร่วมกันในองค์กรเดียวกันได้อย่างผสมผสาน กลไกอาเซียนต้องเป็นประชาคมของประชาชนอาเซียน ไม่ใช่ของกระทรวงการต่างประเทศของอาเซียน ปัจจุบันเรื่องของอาเซียนยังเป็นเรื่องของข้าราชการ ประชาชนมีความรู้เรื่องอาเซียนและความผูกพันกับอาเซียนน้อยมาก
สรุปข้อเสนอแนะ สร้างความตระหนักและรับรู้เข้าใจถึงที่มาและวัตถุประสงค์ของอาเซียนและประชาคมอาเซียน เรียนรู้ว่าอาเซียนและประชาคมอาเซียนประกอบด้วยกลไกอะไรบ้าง หน่วยงานของตนเข้าไปเกี่ยวข้องกับกลไกในอาเซียนและประชาคมอาเซียน(เสาใดเสาหนึ่ง)อะไรบ้าง หน่วยงานของตนเข้าไปรับผิดชอบในแผนงานอะไรบ้างของอาเซียนและเสาของประชาคมอาเซียน กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนงาน/โครงการ ในการดำเนินการใด ๆ (ข้อ 3 และข้อ 4) รวมทั้งมอบหมายหน่วยงานภายในรับผิดชอบ ดำเนินการตามข้อ 5 พร้อมทั้งมีระบบการติดตามและประเมินผล
สรุป(ต่อ) จัดให้มีหน่วยงาน/บุคลากรรับผิดชอบส่งเสริม สนับสนุน และติดตามการดำเนินการตามข้อ 5 เพื่อรายงานความคืบหน้าต่อรัฐบาล หน่วยงานต้องพัฒนาทักษะพื้นฐาน (ภาษาอังกฤษ การประชุมในเวทีระหว่างประเทศ การเจรจาต่อรอง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ฯ ล ฯ) อย่างต่อเนื่องทั้งโดยสำนักงาน ก.พ. หรือจัดขึ้นเอง หน่วยงานต้องบริหารจัดการภารกิจของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพประสิทธิผล ได้มาตรฐาน มีเครือข่าย ดำเนินงานทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องแม้หลังปี 2558
มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง คณะรัฐมนตรีในการประชุม เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2554 รับทราบข้อเสนอของคณะกรรมการอาเซียนแห่งชาติ(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน) ที่เสนอให้หน่วยราชการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียน
คณะรัฐมนตรีในการประชุม(เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2554) รับทราบข้อเสนอของคณะกรรมการอาเซียนแห่งชาติ(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน) ที่เสนอให้หน่วยราชการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียน • ให้การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 เป็นวาระแห่งชาติ • ให้ทุกหน่วยราชการเตรียมความพร้อมในเรื่องนี้ หากหน่วยราชการใดจำเป็นจะของบประมาณเพิ่มเติมเพื่อรองรับโครงการต่าง ๆ ในการเตรียมความพร้อม ให้แจ้งคณะกรรมการอาเซียนแห่งชาติทราบเพื่อช่วยของบประมาณเพิ่มเติมให้ • ให้ความสำคัญในการสร้างความตระหนักรู้เรื่องอาเซียนในหน่วยราชการต่างๆ และในสังคมไทยโดยรวม โดยอาจมีหลักสูตรในแต่ละหน่วยราชการเพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องประชาคมอาเซียน • เห็นชอบในหลักการที่อาจต้องปรับโครงสร้างส่วนราชการเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการประสานงานเกี่ยวกับอาเซียนระหว่างหน่วยงานของไทย รวมทั้งเพื่อรักษาบทบาทนำในการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนของไทยและปกป้องรักษาผลประโยชน์ของไทยในเวทีอาเซียนและเวทีระหว่างประเทศ • ให้แต่ละหน่วยงานจัดทำแผนการดำเนินงานสู่การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนปี 2558 ในส่วนที่แต่ละหน่วยงานรับผิดชอบ โดยจัดทำเป็นแผนปี 2554 – 2558 แล้วส่งให้กระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้รวบรวมและประมวลเป็นแผนการดำเนินงานในระดับ ประเทศไทยเพื่อให้เห็นภาพใหญ่ภาพเดียวกันและร่วมกันผลักดันประเด็นที่เป็นผลประโยชน์ของไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ