580 likes | 1.79k Views
เรื่อง แนวคิดปรัชญาที่เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร. เสนอ อาจารย์เกรียงศักดิ์ คัมภิรา. สมาชิกในกลุ่ม ART. 10. น.ส.ปาริชาติ สอทา 11. น.ส.นารถลัดดา คิดการ 12. น.ส.นิตยา ทองกาสี 13. นายรงคเทพ ชัยลา 14. นายบุญเหริม พรมมาวัน 15. นายจิรศักดิ์ นาเมืองรักษ์ 16. นายมนตรี ทองนพเก้า
E N D
เรื่อง แนวคิดปรัชญาที่เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร เสนอ อาจารย์เกรียงศักดิ์ คัมภิรา
สมาชิกในกลุ่ม ART 10.น.ส.ปาริชาติ สอทา 11.น.ส.นารถลัดดา คิดการ 12.น.ส.นิตยา ทองกาสี 13.นายรงคเทพ ชัยลา 14.นายบุญเหริม พรมมาวัน 15.นายจิรศักดิ์ นาเมืองรักษ์ 16.นายมนตรี ทองนพเก้า 17.นายเอกชัย พานนนท์ 18. นายอนุพงศ์ ลดกระโทก 1.นายสมเกียรติ สุดศรี ประธานกลุ่ม 2.นายเสกสรร ปูพบุญ รองประธาน 3.น.ส.พัชรียา บรรดาศักดิ์ เลขานุการ 4.นายอนุวัฒน์ ขัณฑา ผู้ช่วยเลขา 5.น.ส.อัมพร คิดการ 6.น.ส.เจือจิตร บุญมานอก 7.นางสมสิริ อิชิกาว่า 8.น.ส.สุภาพร อุททา 9.น.ส.วิมลนันท์ แย้มศรี
แนวคิดปรัชญากลุ่มต่างๆแนวคิดปรัชญากลุ่มต่างๆ • แนวคิดปรัชญากลุ่ม อภิปรัชญา • แนวคิดปรัชญากลุ่ม ญาณวิทยา(EPIS) • แนวคิดปรัชญากลุ่ม คุณวิทยา (AXIO) • แนวคิดปรัชญากลุ่ม ตรรกวิทยา(Logic)
แนวคิดปรัชญากลุ่ม อภิปรัชญาMetaphysicOr Ontology
แนวคิดปรัชญากลุ่ม อภิปรัชญาMetaphysicOr Ontology เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยความจริงแท้เน้นความจริงคืออะไร What is reality? เป็นความพยายามหาคำตอบและค้นหา ความหมายของความจริงอันเป็นพื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติ จักรวาลพื้นพิภพจิตวิญญาณเรื่องพระเจ้าและชีวิตมนุษย์
อภิปรัชญา คือ สสารนิยม จิตนิยม และธรรมชาตินิยม สสารนิยม หมายถึงทัศนะที่ว่าสะสารหรือพลังงานเป็นเครื่องกำหนดลักษณะพื้นฐานของสิ่งและเหตุการณ์ทั้งหลาย แต่สสารเท่านั้นเป็นภาวะที่มีอยู่จริงนอกนั้นไม่เชื่อว่ามีอยู่จริง สิ่งที่เรียกว่าจิตหรือประสบการณ์ทางจิตไม่มีอยู่จริง จิตนิยม(Idealism)ความหมายของจิตนิยม กลุ่มจิตนิยม ถือว่าจิตเป็นความแท้จริงสูงสุดเพียงสิ่งเดียวเท่านั้น
อภิปรัชญา คือ สสารนิยม จิตนิยม และธรรมชาตินิยม ธรรมชาตินิยม (Naturalism)ชาตินิยมเป็นปรัชญาที่อยู่กลาง ระหว่างสสารนิยมและจิตนิยมกล่าวคือสสาระนิยมเชื่อว่าสสารหรือวัถุเท่านั้นเป็นจริงส่วนจิตนิยมเชื่อว่านอกจากสสารแล้วยังมีความเป็นจริงอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งมีความจริงมากกว่าสสาร สิ่งนั้นคือจิต แต่สำหรับธรรมชาตินิยมทำหน้าที่ประนีประนอม
นักปรัชญาที่คิดแนวคิดนี้นักปรัชญาที่คิดแนวคิดนี้ • คาร์ล มาร์กซ์ • อาร์ทูร์ โชเป็นเฮาเออร์ • ฮ็อบส์ • นิตเช่ • ทักซ์ปลังค์ 6. เพลโต 7. จอร์จ เบริคเลย์ 8. อิมมานูเอล คานต์ 9. จอห์น ดิวอี้ 10. เอ็มพีโดคลีส
อภิปรัชญาการศึกษา เป็นการศึกษาค้นคว้าหาคำตอบและเรียนรู้ เพื่อหลักความจริง ความเชื่อตามแนวปรัชญานี้ คือ เชื่อว่าธรรมชาติที่แท้จริงของคน คือ จิต (mind) สิ่งอื่นนั้น ไม่แน่นอน อีกแนวคิดหนึ่งคือ สิ่งที่แท้จริงก็คือสิ่งที่ต้องมองเห็นได้ สัมผัสได้ นอกเหนือจากนี้ไม่ใช่สิ่งที่แน่นอน ดังนั้นมนุษย์จึง ศึกษาเพื่อให้รู้ความจริง อาจเป็นวัตถุ หรือสิ่งที่ไม่มีตัวตน
แนวคิดปรัชญากลุ่ม ตรรกวิทยา(Logic)
แนวคิดปรัชญากลุ่ม สาขาญาณวิทยา (the meaning of epistemology) นักปรัชญาในกลุ่มญาณวิทยา เรอเน เดการ์ตส์ บารุค สปิโนซา ฟรานซิส เบคอน
นักปรัชญาในกลุ่มญาณวิทยานักปรัชญาในกลุ่มญาณวิทยา เดวิด ฮิวม์ จอห์น ล็อค โทมัส ฮอบส์
ความหมายของปรัชญาสาขาญาณวิทยา (the meaning of epistemology) ญาณวิทยา (epistemology) เป็นสาขาใหญ่อีกสาขาหนึ่งของปรัชญา ซึ่งเกี่ยวกับการสืบถามถึงกำเนิดของความรู้ โครงสร้างของความรู้ วิธีการของความรู้และความเที่ยงตรงถูกต้องของความรู้ ดังนั้น ญาณวิทยาจึงเป็นเรื่องทฤษฎีของความรู้ (theory of knowledge) ซึ่งมุ่งในเรื่องปัญหาของความรู้
1. เหตุผลนิยม (Rationalism) คือแนวความคิดที่ถือว่ามนุษย์มีความรู้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด (innate idea) ซึ่งความรู้นั้นจัดว่าเป็นความรู้ที่แท้จริง เป็นอิสระจากประสบการณ์ (a priori knowledge) ถือว่าเป็นความรู้ที่แน่นอนตายตัว ที่เรียกว่า ความจริงที่จำเป็น (necessary truth)จะต้องไม่เป็นความจริงที่ไม่แน่นอน (contingent truth)
เรอเน เดการ์ตส์ (Rene Decartes : 1596 – 1650) • บิดาของปรัชญาสมัยใหม่ ผู้ถือว่า “มนุษย์มีความรู้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด” (Innate Idea) • ความรู้ในใจของมนุษย์นั้นก็เหมือนกับน้ำที่มีอยู่ในแผ่นดิน ถ้ารู้จักวิธีการขุดก็จะทำให้สามารถค้นพบน้ำคือความรู้ในจิตของมนุษย์ได้อย่างไม่ยาก
2. ประสบการณ์นิยม (Empiricism) คือแนวความคิดที่ถือว่าความรู้ของมนุษย์มีบ่อเกิดมาจากประสบการณ์เท่านั้น (Experience)ซึ่งหมายถึงว่า ความรู้เหล่านั้นจะต้องผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือตา หู จมูก ลิ้น กาย อย่างเดียว ใช้วิธีการอุปนัย (Induction) ในการแสวงหาความรู้
จอห์น ล็อค (John Locke : 1632 – 1704) • จอห์น ล็อค เขาเห็นว่า ความรู้ทุกอย่างล้วนแต่เริ่มต้นจากประสบการณ์ทั้งนั้น (All knowledge comes from experience) นั่นคือ คนเราเกิดมามีจิตว่างเปล่าเหมือนกระดาษขาวที่ยังไม่มีตัวอักษรอะไรเขียนลงไปเลย
เดวิด ฮิวม์ (David Hume : 1711 – 1776) เจ้าของแนวคิด กังขานิยม (Sceptic) ที่ผลักดันแนวความคิดแบบประสบการณ์นิยมจนถึงจุดสูงสุดเขาไม่เชื่อในทุกสิ่งทุกอย่างจนกว่าจะได้พิสูจน์ด้วยตัวเองในแต่ละครั้ง เขากล่าวไว้ในตอนหนึ่งว่า “ทุก ๆ ฝีก้าว ข้าพเจ้ารู้สึกลังเล ความคิดใหม่ทุกครั้งทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกขยาดกลัวต่อความผิดเหลวไหลในเหตุผลของข้าพเจ้า ”
3. ลัทธิของคานท์ คานท์ กล่าวว่า เป็นความเข้าใจผิดของฝ่ายประสบการณ์นิยมซึ่งถือว่า จิตไม่ใช่ตัวทำงานในกระบวนการการทำงานรับรู้ของมนุษย์ และก็เป็นความเข้าใจผิดของฝ่ายเหตุผลนิยมที่ไม่ให้ความสำคัญกับความรู้ทางผัสสะ
4. สัญชาตญาณนิยม (intuitionism) คือแนวความคิดที่ถือว่าความรู้ของมนุษย์สามารถที่จะเข้าถึงความจริงได้อย่างฉับพลันโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการทางผัสสะหรือเหตุผลแต่ประการใด
5. วิวรณ์ (revelation) การเปิดเผยจากพระเจ้า เป็นความรู้ที่เปิดเผยจากความรู้ที่ได้จากพระผู้เป็นเจ้า (God) ที่ได้ให้ไว้กับมนุษย์
6. ลัทธิจิตนิยม (idealism) ในปรัชญาสาขาญาณวิทยากับการศึกษา ในเรื่องปรัชญาฝ่ายลัทธินิยมในสาขาญาณวิทยานี้ ปรัชญาเมธีทั้งหลายได้สร้างทฤษฎีของความรู้ขึ้นมาต่าง ๆ กัน ดังเช่น Plato ซึ่งเห็นด้วยกับ Socrates ในทฤษฎีของความรู้ที่ว่า ความรู้ย่อมได้มาจากความรู้สึกต่าง ๆ (senses) แต่จะยังคงถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอนและไม่สมบูรณ์ เพราะวัตถุต่าง ๆ ในโลกเป็นการพิมพ์แบบจากสภาพที่มีอยู่ที่สมบูรณ์กว่า ความรู้ที่แท้จริงเป็นผลของเหตุผลนั้น
7. ลัทธิสัจนิยม (realism) ในปรัชญาสาขาญาณวิทยากับการศึกษา แนวปรัชญาลัทธินิยมนี้ เชื่อในโลกแห่งสรรพสิ่ง หรือโลกแห่งวัตถุ (material world) ที่จิตของมนุษย์มีความรู้สึกอ่อนไหวกับโลกของวัตถุเหล่านี้ โดยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ใน 2 ลักษณะที่สำคัญ คือ 1สิ่งที่เป็นความจริงที่สุดก็คือความคิด (ideas) ที่มนุษย์มีต่อวัตถุ และ 2 สิ่งเป็นจริงที่สำคัญที่สุดก็คือวัตถุที่ความเป็นจริงในตัวของมันเอง
8.ลัทธิปฎิบัตินิยม (pragmatism) ในปรัชญาสาขาญาณวิทยากับการศึกษา Johann Friedrick Herbart (ค.ศ.1776-1841) ผู้ซึ่งมีความเชื่อว่าร่างกาย (body) และวิญญาณ (soul) ของมนุษย์มีรวมกันตั้งแต่เกิด แต่จิต (mind) ไม่เป็นเช่นนั้น จิตมีขึ้นโดยการพัฒนาจากประสบการณ์การศึกษา
การประยุกต์ใช้แนวคิดกับการจัดการศึกษาการประยุกต์ใช้แนวคิดกับการจัดการศึกษา 1 สร้างสถานการณ์การเรียนรู้ (learning situations) ของปัญหาเฉพาะอย่างเพื่อที่จะแก้ปัญหานั้น 2 เป็นทางทำให้นักเรียนได้มีความเข้าใจสังคมและสภาพแวดล้อมของเขา 3 ครูและนักเรียนจะร่วมกันแก้ปัญหาที่สนใจร่วมกัน เนื้อหาวิชาที่เรียนต้องมีความหมายให้นักเรียนได้นำไปใช้และปฏิบัติได้ 4 ต้องสนองความต้องการ และความสนใจของนักเรียน
ครูมีหน้าที่ส่งเสริมให้นักเรียนอย่างน้อย 3 ประการ คือ 1.ให้นักเรียนได้เรียนในสิ่งที่นักเรียนอยากรู้อยากเห็น (curious) 2.ส่งเสริมให้นักเรียนมีความอยากรู้อย่างเห็นในเนื้อหาวิชา เช่น วิทยาศาสตร์ วรรณคดี และประวัติศาสตร์ เป็นต้น 3.กฎและคำสั่งสอนเป็นสิ่งสำคัญ เพราะครูอาจไม่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ครูส่ง เสริมให้นักเรียนทำตามความพอใจของนักเรียนเอง ดังนั้น หลักใหญ่ในการสอนของครูตามแนวปรัชญาฝ่ายนี้ ก็คือนักเรียนจะเรียนในสิ่งที่ตนอยากรู้อยากเห็น ครูต้องเร่งเร้าให้นักเรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับวิชาที่นักเรียนจะเรียน
แนวคิดปรัชญากลุ่ม คุณวิทยา (AXIO)
แนวคิดปรัชญากลุ่ม คุณวิทยา (AXIO) 1.โซฟิสต์ 2.ฮ็อบส์ 3.มิลล์ (J.S.Mill) 4.โสเครติส 5.เพลโต 6.อริสโตเติล
แนวคิดปรัชญากลุ่ม คุณวิทยา (AXIO) ศึกษาเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม ความสุนทรียภาพความดี ความชั่ว ความสุขที่ได้แต่ละอย่างมีคุณค่าไม่เท่ากัน ความสุขที่ได้จากทำประโยชน์ให้ส่วนรวมจะ มี ประโยชน์และคุณค่ามาที่สุเพราะทำให้คนอื่นได้รับ ประโยชน์ มีความสุข และเป็นแบบอย่างให้คนอื่นปฏิบัติตาม
คุณวิทยากับแนวคิดทางการศึกษาคุณวิทยากับแนวคิดทางการศึกษา 1. ถ่ายทอดความรู้ที่ถูกต้องให้แก่ผู้เรียน 2. ปลูกฝังและถ่ายทอดสิ่งที่คุณค่าสิ่งที่ดีงามและค่านิยมที่ดีงามให้แก่ผู้เรียนเป็นวิทยาการที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์เช่นจิตวิทยาสังคมวิทยามนุษยวิทยา
คุณวิทยากับแนวคิดทางการศึกษาคุณวิทยากับแนวคิดทางการศึกษา 3. ประเมินคุณค่าของการกระทำหรือการแสดงออกของมนุษย์วิเคราะห์ว่าดีหรือชั่วนั้นคืออะไรดีเพราะอะไรใช้เกณฑ์อะไรมาตัดสิน 4. การประเมินหรือการตัดสินค่าทางจริยศาสตร์นั้นเป็นไปตามทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์อันได้แก่ความเห็นตามฝ่ายอัตนัยและฝ่ายปรนัย
แนวคิดปรัชญากลุ่ม ตรรกวิทยา(Logic)
แนวคิดปรัชญากลุ่ม ตรรกวิทยา(Logic) ตรรกวิทยา (logic) มาจากรากศัพท์ ในภาษากรีกว่า “Logos” และ ความหมายของคำว่า logos ตามรากศัพท์เดิมในภาษากรีก หมายถึง คำพูด การพูด เหตุผล สมมุติฐาน สุนทรพจน์ คำกรีกที่มีรากศัพท์มาจาก logos เช่น logistikon มีความหมายถึง การอธิบาย การให้รายละเอียด นอกจากนี้ยังมีความหมาย หมายถึง คำสัญญา แต่อย่างไรก็ตามความหมาย ที่ซ่อนอยู่ของคำว่า Logic คือ การคิด นั่นเอง ตรรกวิทยามิใช่เรื่องราวของปรัชญาโดยตรง แต่มีความสำคัญในฐานะเป็นเครื่องมือในการคิดทางปรัชญา เพื่อค้นหาเหตุผลและความถูกผิดในการโต้แย้งที่ต่างกัน
แนวคิดปรัชญากลุ่ม ตรรกวิทยา(Logic) บิดาของวิชาตรรกวิทยา คือ อะริสโตเติล(Aristortle 384-322 ปีก่อนคริสต์ศักราช) นักปราชญ์ชาวกรีก เพราะเขาเป็นคนแรกที่ศึกษาเรื่องราวต่างๆ แล้วใช้ความคิดอธิบายอย่างมีเหตุและผลมิใช่ตามความเชื่อถือที่รับต่อเนื่องกันลงมาอย่างงมงาย
แนวคิดปรัชญากลุ่ม ตรรกวิทยา(Logic) การนำไปปรับใช้ทางด้านการศึกษา - มาใช้ในวิชาคณิตศาสตร์เรียกว่าคณิตตรรกวิทยา (Mathematical Logic) - ใช้สัญลักษณ์หลายรูปหลายแบบแทนคำหรือกลุ่มคำ กะทัดรัดเข้าใจง่าย - นำไปใช้ประโยชน์ทางด้านการวิเคราะห์ และวิจัยเรื่องราวต่างๆ
แนวคิดปรัชญากลุ่ม ตรรกวิทยา(Logic) - ทางด้านวิศวกร - เป็นวิชาที่ว่าด้วยเหตุ และผล เป็นจริง หรือเป็นเท็จ เช่น กลุ่มคำ "แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านกรุงเทพมหานคร"กลุ่มคำนี้ให้ความหมายกระจ่างชัดว่า เป็นจริง (เพราะตรงกับความเป็นจริง) กลุ่มคำ "แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านจังหวัดอุดรธานี" กลุ่มคำนี้ให้ความหมายกระจ่างชัดว่าเป็นเท็จ (เพราะไม่ตรงกับความเป็นจริง) เป็นต้น