120 likes | 351 Views
ภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาไตรมาสที่ 3/2550 และแนวโน้มไตรมาสที่ 4/2550 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไตรมาสที่ 3/2550. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไตรมาสที่ 3/2550 ( ต่อ). OIE: OFFICE OF INDUSTRIAL ECONOMICS. สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม.
E N D
ภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาไตรมาสที่ 3/2550 และแนวโน้มไตรมาสที่ 4/2550 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไตรมาสที่ 3/2550(ต่อ)
OIE:OFFICE OF INDUSTRIAL ECONOMICS สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม แนวโน้มไตรมาส 4 ปี 2550 อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ • แนวโน้มไตรมาส 4 ปี 2550 อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า มีแนวโน้มทรงตัว เนื่องจากกำลังซื้อในประเทศยังคงไม่ฟื้นตัว อย่างไรก็ตามจะได้แรงหนุนจากการจัดโปรแกรมส่งสริมการขายช่วงเทศการคริสมาสและปีใหม่ ส่วนการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายรายการยังมีแนวโน้มลดลง เช่น TV เนื่องจากผลกระทบจาก GSP รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กที่ต้องแข่งขันอย่างหนักกับสินค้าจีน เป็นต้น • ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องร้อยละ 10-15 ตามภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์โลกที่เพิ่มขึ้น
อุตสาหกรรมยานยนต์ไตรมาสที่ 3/2550
OIE:OFFICE OF INDUSTRIAL ECONOMICS สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม แนวโน้มไตรมาส 4 ปี 2550 อุตสาหกรรมยานยนต์ • อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาส 4 ปี 2550 จะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งในช่วงปลายปี 2550 จะมีการจัดงาน Motor Expo 2007 คาดว่าบริษัทรถยนต์ต่างๆจะจัดกิจกรรมส่งเสริมทางการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขายให้ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ • อย่างไรก็ตาม ปัจจัยด้านราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอาจส่งผลต่อยอดขายในประเทศได้
OIE:OFFICE OF INDUSTRIAL ECONOMICS สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นโยบายกระตุ้นการลงทุนของอุตสาหกรรมยานยนต์ • คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบนโยบายส่งเสริมการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้กำหนดเงื่อนไขการขอรับการส่งเสริมการลงทุนดังต่อไปนี้ • ผู้ขอรับการส่งเสริมต้องเสนอการลงทุนเป็นโครงการรวม (Package) ประกอบด้วยโครงการประกอบรถยนต์ การผลิตเครื่องยนต์ และการผลิตหรือจัดหาชิ้นส่วนยานยนต์ และมีขนาดการลงทุนของโครงการรวมไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาท • มีปริมาณการผลิตจริงไม่น้อยกว่า 100,000 คันต่อปี ตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไตรมาสที่ 3/2550 ที่มา * จากการประมาณการณ์ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มปี 2550 • ปัจจัยส่งเสริมของการส่งออกของสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยในปี 2550 และ 2551 • สินค้าจากประเทศจีนมีปัญหาในเรื่องของคุณภาพและความปลอดภัย • รัฐบาลจีนได้ลดการสนับสนุนการผลิตสินค้าในประเทศ และควบคุมการส่งออกสินค้าของตนเองมากขึ้น • ไทยมีการส่งออกสิ่งทอไปยังประเทศในกลุ่มอาเซียนมากขึ้น • ปัจจัยที่มีผลกระทบที่ทำให้การส่งออกของไทยลดลง • ปัจจุบันไทยมีมูลค่าการส่งออกสิ่งทอซึ่งเป็นสินค้าขั้นกลางไปประเทศเวียดนามมากขึ้น ขณะเดียวกันเวียดนามก็ได้ผลิตต่อเป็นสินค้าปลายน้ำ ซึ่งก็คือเครื่องนุ่งห่ม จึงทำให้ส่วนแบ่งในตลาดเครื่องนุ่งห่มในตลาดที่สำคัญของไทยลดลง เช่น ตลาดสหรัฐฯ และตลาด EU
อุตสาหกรรมอาหารไตรมาสที่ 3/2550 ที่มา * จากการประมาณการณ์ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม** จากการประมาณการณ์ของสถาบันอาหาร
อุตสาหกรรมอาหาร(ต่อ) • ประมงและการผลิตอาหารทะเลแปรรูปประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ ประกอบกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดหลัก ชะลอตัว ทำให้การส่งออกหดตัว นอกจากนี้ประเทศคู่แข่งได้ลดอัตราภาษี AD สินค้ากุ้งจากสหรัฐฯ ทำให้ความได้เปรียบของไทยลดลง • ปศุสัตว์ (ไก่)การเปิดตลาดสินค้าฮาลาล โดยเฉพาะไก่ในตะวันออกกลาง ทำให้สินค้าไก่ของไทยมีการส่งออกได้เพิ่มขึ้น ประกอบกับประเทศที่เคยประสบปัญหาไข้หวัดนกยังไม่สามารถแก้ไขได้หมดสิ้น เช่น เวียดนาม มีการนำเข้าไก่จากไทยเพิ่มขึ้น • ผักผลไม้ (กระป๋องและแปรรูป)ผลจากราคาสับปะรดตกต่ำ ทำให้ปริมาณการปลูกสับปะรดลดลงจากปีก่อน ประกอบกับพื้นที่ปลูกได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ทำให้วัตถุดิบสับปะรดมีปริมาณน้อยลง และค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการชะลอการรับคำสั่งซื้อเพื่อปรับราคาที่เหมาะสม
THANK YOU Office of Industrial Economics www.oie.go.th