170 likes | 391 Views
การถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้แก่บุคลากรในหน่วยงาน. K.M.(Knowledge management). เอกสารประกอบรายงานการประชุมข้าราชการ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่อุบลราชธานี ครั้งที่ 10 / 2556 เมื่อศุกร์ ที่ 1 พฤศจิกายน 2556 ณ ห้องประชุมชั้น 2 สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่อุบลราชธานี.
E N D
การถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้แก่บุคลากรในหน่วยงานการถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้แก่บุคลากรในหน่วยงาน K.M.(Knowledge management) เอกสารประกอบรายงานการประชุมข้าราชการ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่อุบลราชธานี ครั้งที่ 10 / 2556 เมื่อศุกร์ ที่ 1 พฤศจิกายน 2556 ณ ห้องประชุมชั้น 2 สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่อุบลราชธานี
มีเรื่องเผยแพร่ความรู้จากการเข้ารับการฝึกอบรมและร่วมสัมมนา 2 เรื่อง 1. สัมมนาเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การบริหารจัดการด้านการเงินการบัญชีและการบริหารจัดการแสตมป์สรรพสามิต” รุ่นที่ 1ในวันที่ 14-15 ตุลาคม 2556 ณ โรงแรมรามา การ์เด้นกรุงเทพมหานคร โดยการแลกเปลี่ยนความรู้และสรุปสาระสำคัญร่วมกันระหว่างสรรพสามิตพื้นที่และสรรพสามิตพื้นที่สาขาทุกสาขา 2. การฝึกอบรมหลักสูตร “ทบทวนระบบงานสารสนเทศหลัก กรมสรรพสามิต เพื่อการบริหารแสตมป์” รุ่นที่ 1 ณ ห้องฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ชั้น 4 กรมสรรพสามิต ระหว่างวันที่ 16-17 ตุลาคม 2556 โดย นางดวงแข พันธุ์เพ็ง ...เจ้าพนักงานสรรพสามิตชำนาญงาน...
1. สัมมนาเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การบริหารจัดการด้านการเงินการบัญชีและการบริหารจัดการแสตมป์สรรพสามิต” รุ่นที่ 1 ในวันที่ 14 - 15 , 24 – 25 ตุลาคม 2556 ณ โรงแรมรามา การ์เด้น กรุงเทพมหานคร” โดยการแลกเปลี่ยนความรู้และสรุปสาระสำคัญร่วมกันระหว่างสรรพสามิตพื้นที่และสรรพสามิตพื้นที่สาขาทุกสาขา
หลักการและเหตุผลกรมสรรพสามิตมีพันธกิจในการบริหารงานหลายประการ พันธกิจที่สำคัญ คือเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และพัฒนามาตรฐานการให้บริการสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งล้วนมีความสำคัญอย่างยิ่งในการบริหารจัดการภาครัฐในปัจจุบัน เนื่องจากสถานการณ์การบริหารจัดการและการพัฒนาประเทศในปัจจุบันส่งผลให้การบริหารจัดการภายในหน่วยงานราชการเต็มไปด้วยความท้าทายที่มากมาย ทั้งเรื่องของกำลังคนที่ลดลง ความคาดหวังของประชาชนที่ต้องการการบริการจากหน่วยงานราชการที่ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น รวมถึงการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี พ.ศ.2558 เป็นต้น ความท้าทายเหล่านี้กรมสรรพสามิตจำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อให้การบริหารงานเกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในหลักปฏิบัติเกี่ยวกับแสตมป์ การเบิกจ่าย และตรวจสอบแสตมป์กรมสรรพสามิต รวมถึงการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยรายละเอียดค่าใช้จ่าย การจัดซื้อจัดจ้าง ราคากลาง และการคำนวณราคากลาจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการบริหารการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในภาพรวม เพื่อให้บุคลากรและเจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานด้านการเบิกจ่ายและตรวจสอบแสตมป์ และขอบข่ายงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้การจัดเก็บภาษีบรรลุผลตามเป้าหมายที่กรมสรรพสามิตมอบหมาย
วัตถุประสงค์1) เพื่อให้ผู้ร่วมสัมมนามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการเบิกจ่าย และตรวจสอบแสตมป์กรมสรรพสามิต2) เพื่อให้ผู้ร่วมสัมมนามีความรู้และทักษะในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง และการคำนวณราคากลางได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานและระเบียบที่กรมสรรพสามิตกำหนด3) เพื่อให้ผู้ร่วมสัมมนาได้แลกเปลี่ยนความรู้เชิงบริหารงานราชการระหว่างกัน และร่วมหาแนวทาง/วิธีการในการบริหารงานใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานกิจกรรมดำเนินงาน1) บรรยาย/อภิปราย2) นำเสนอแนวคิด ข้อเสนอแนะ อุปสรรค และสภาพปัญหา ตลอดจนแนวทางแก้ไขเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการแสตมป์กรมสรรพสามิตให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้น
คุณสมบัติและจำนวนผู้เข้าร่วมสัมมนาผู้อำนวยการสำนักงานสรรพสามิตภาคทุกภาค / สรรพสามิตพื้นที่ทุกคน / ผู้อำนวยการสำนัก/ ศูนย์ , กลุ่ม / สรรพสามิตพื้นที่สาขาผลที่คาดว่าจะได้รับ1) บุคลากรภายในหน่วยงานมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเบิกจ่ายและตรวจสอบ แสตมป์สรรพสามิต ปฏิบัติงานได้อย่างเป็นขั้นตอนและมีมาตรฐานเดียวกัน2) บุคลากรกรมสรรพสามิตมีทักษะและความสามารถในการดำเนินการด้านการจัดซื้อ จัดจ้าง ราคากลาง และการคำนวณราคากลางได้ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ3) บุคลากรทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาคได้แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ร่วมกัน สามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์
สรุปเนื้อหาของหลักสูตรสรุปเนื้อหาของหลักสูตร • การพัฒนาเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี (แสตมป์สรรพสามิต) • ปัญหาแสตมป์สรรพสามิต • - รูปแบบแสตมป์ล้าสมัย • - จำนวนรูปแบบแสตมป์มีความหลากหลาย • - การหลีกเลี่ยงภาษีในรูปแบบต่างๆ • - การตรวจสอบความถูกต้องของแสตมป์ • - การบริหารจัดการคลังแสตมป์ • แนวทางการดำเนินการ • - พัฒนารูปแบบของดวงแสตมป์ให้มีความทัน สวยงาม • - ลดจำนวนรูปแบบแสตมป์ • - พัฒนาระบบการติดตามแสตมป์ ด้วยการนำเทคโนโลยี Mobile Application • - เพิ่มประสิทธิภาพระบบการตรวจสอบ การปลอมแปลงแสตมป์ (Security) • - พัฒนาระบบบริหารคลังแสตมป์
โครงการพัฒนาแสตมป์สรรพสามิต โครงการแบ่งออกเป็น 2 ส่วนงาน • 1. การพัฒนารูปแบบของดวงแสตมป์ทุกประเภท • - ออกแบบแสตมป์ใหม่ • - เพิ่มคุณลักษณะการป้องกันการปลอมแปลง 2. การพัฒนาระบบบริหารคลังแสตมป์ • - การประมาณการ การใช้แสตมป์ • - การเบิกจ่ายแสตมป์ • - การตรวจสอบและติดตามแสตมป์ • รายละเอียด รหัส บนดวงแสตมป์ • รูปแบบ : YYTTTSSSSSSSSSSGความยาว 16 หลัก ประกอบด้วย • 2 หลักแรก คือ ปีงบประมาณตามสัญญาที่สั่งพิมพ์ เช่น 56 • 3 หลักต่อไป คือ รหัสของชนิดแสตมป์ เช่น 101 = สุราขาว • 10 หลักต่อไป คือ รหัสประจำดวงแสตมป์แต่ละดวง ขึ้น 1 ใหม่เมื่อเปลี่ยนชนิดแสตมป์หรือปีงบประมาณ • 1 หลักต่อไป คือ รหัสสำหรับตรวจสอบความถูกต้อง • ความสะดวกในการตรวจสอบรหัสแสตมป์ คือ ประชาชนสามารถใช้ Smart Phone ในการตรวจสอบและเจ้าหน้าที่กรมฯ สามารถให้อุปกรณ์พิเศษในการอ่าน โดยอ่านได้ทั้งแบบ Off-Line และ On-Line
มาตรการจัดซื้อจัดจ้างตามกฎหมาย ป.ป.ช. 1. การเปิดเผยราคากลางและการคำนวณราคากลางไว้ในระบบข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (ต้องปฏิบัติภายในวันที่ 11 สิงหาคม 2556) 2. บุคคลหรือนิติบุคคล ซึ่งเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐยื่นบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายของโครงการ ต่อกรมสรรพากร(บังคับใช้วันที่ 1 เมษายน 2555) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 มาตรา 103/7 ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการจัดทำข้อมูลรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างโดยเฉพาะราคากลางและการคำนวณราคากลางไว้ในระบบข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าดูได้ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในกรณีที่มีการทำสัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับบุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ ให้บุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยของรัฐนั้น มีหน้าที่แสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐต่อกรมสรรพากร นอกเหนือจากบัญชีงบดุลปกติที่ยื่นประจำปี เพื่อให้มีการตรวจสอบเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินและการคำนวณภาษีเงินได้ในโครงการที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐดังกล่าว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.กำหนด
การจัดซื้อจัดจ้างที่ต้องประกาศราคากลางการจัดซื้อจัดจ้างที่ต้องประกาศราคากลาง • คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีสั่งการให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติในการจัดซื้อจัดจ้าง 7 ประเภท คือ • 1. งานจ้างก่อสร้าง • 2. การจ้างควบคุมงาน • 3. การจ้างออกแบบ • 4. การจ้างที่ปรึกษา • 5. การจ้างวิจัยหรือเงินสนับสนุนให้ทุนการวิจัย • 6. การจ้างพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ • 7. การจัดซื้อจัดจ้างซึ่งมิใช่งานก่อสร้าง • มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556 มอบหมายให้กระทรวงการคลังร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลาง ดังนี้ • 1. กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการกำหนดหลักเกณฑ์ราคากลางยานอกบัญชียาหลักและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา • 2. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดำเนินการกำหนดหลักเกณฑ์ราคากลางการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ • 3. สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ดำเนินการกำหนดหลักเกณฑ์ราคากลางการจ้างที่ปรึกษา • 4. สำนักงบประมาณ ดำเนินการกำหนดราคามาตรฐานให้ครอบคลุมรายการครุภัณฑ์ประเภทต่างๆ
ระบบสารสนเทศหลัก กรมสรรพสามิต • ด้านการจัดเก็บภาษี • 1. จดทะเบียนสรรพสามิต • 2. แจ้งราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม • 3. ชำระภาษี เงินกองทุนและรายได้อื่นๆ • 4. ขออนุญาตสุรา ยาสูบ ไพ่ • 5. ขอคืน ยกเว้น ภาษี ขอลดหย่อนภาษี • 6. วิเคราะห์รายการภาษี • 7. SSO, TCL , RDB • ด้านการป้องกันและปราบปราม • 1. ผู้กระทำผิดกฎหมาย • 2. ระบบ GPS น้ำมัน • 3. ระบบแผนที่ผู้กระทำผิด (Tax Map) • ด้านการควบคุมโรงงาน • 1. ควบคุมการขนน้ำมันออกจากโรงกลั่น • 2. อนุมัติงดเว้นภาษีและควบคุมการขนเอทานอล • 3. บัญชีควบคุมโรงงานสุรา เบียร์และควบคุมการขน • 4. ระบบมิเตอร์เครื่องดื่ม • * * * เงื่อนไขการใช้ระบบสารสนเทศหลัก ผู้สมัครเป็นผู้ใช้ระบบ ผู้ใช้ คือ ภาค/พื้นที่/สาขา
ข้อมูลที่ต้องพร้อมก่อนการบันทึกระบบวิเคราะห์ คือ • 1. ข้อมูลยี่ห้อ/แบบ/รุ่น สินค้า • 2. ข้อมูลราคา ณ โรงอุตสาหกรรม • 3. ข้อมูลขออนุมัติลดหย่อนภาษี • 4. หนังสือครุฑ คืนภาษี • สาเหตุที่ไม่สามารถคีย์ระบบวิเคราะห์ • 1. ไม่มีสินค้า ยี่ห้อ/แบบ/รุ่น และราคาในระบบ แนวทางการดำเนินการคือ • - ค้นหาแบบแจ้งราคาที่ผู้ประกอบการยื่นที่พื้นที่/ขอสำเนาแบบแจ้งจากผู้ประกอบการ • - แจ้ง มจ. 1 หรือ มจ. 2 เพื่อเพิ่มชื่อสินค้า/ยี่ห้อ /แบบ/รุ่น • - พื้นที่ คีย์ข้อมูลราคา • 2. ไม่พบหนังสืออนุมัติลดหย่อน (ภษ.01-29) และหนังสือครุฑคืนภาษี แนวทางดำเนินการ • - ค้นหาแบบแจ้งราคาที่ผู้ประกอบการยื่นที่พื้นที่/ขอสำเนาแบบแจ้งจากผู้ประกอบการ • - พื้นที่ คีย์ข้อมูลแบบ (ภษ.01.29) ในระบบขอลดหย่อนภาษี ส่วนข้อมูลตามแบบ (ภษ.01-30) • คีย์ที่ระบบวิเคราะห์
2. การฝึกอบรมหลักสูตร “ทบทวนระบบงานสารสนเทศหลัก กรมสรรพสามิต เพื่อการบริหารแสตมป์” รุ่นที่ 1 ณ ห้องฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ชั้น 4 กรมสรรพสามิต ระหว่างวันที่ 16-17 ตุลาคม 2556 โดย นางสาวธิดารัตน์ เครือชัย ... นักวิชาการสรรพสามิต ...
หลักการและเหตุผล กรมสรรพสามิตได้ดำเนินการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยรูปแบบ Web Application เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานและบริหารการจัดเก็บภาษี รวมถึงการติดตามผู้เสียภาษีได้อย่างถูกต้องพร้อมให้ระบบงานอื่นๆ สามารถเชื่อมโยงและใช้ข้อมูลผู้เสียภาษีร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามโครงการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมสรรพสามิต ซึ่งระบบงานดังกล่าวได้อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ได้ใช้งานระบบฯ ไประยะหนึ่งแล้ว แต่เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในการใช้และนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ และศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศได้ปรับปรุงและพัฒนาระบบสารสนเทศหลัก เพื่อรองรับการจัดเก็บภาษีสุราใหม่และการจ่ายแสตมป์สุรา ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2546 และพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการจัดเก็บภาษี(ใหม่) ตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพศูนย์ปฏิบัติการกรมสรรพสามิต แทนระบบงานบริหารการจัดเก็บภาษีในระบบงานอินทราเน็ตที่ใช้งานปัจจุบัน ดังนั้นเพื่อให้ระบบงานสารสนเทศหลัก กรมสรรพสามิต มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงได้จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรนี้ขึ้น
วัตถุประสงค์ 1) เพื่อซักซ้อมความเข้าใจและทบทวนการใช้งานระบบสารสนเทศ 2) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับกลับไปถ่ายทอดให้เพื่อนร่วมงานได้ หัวข้อวิชา 1) การใช้งานระบบสารสนเทศหลัก เพื่อรองรับการจัดเก็บภาษีสุราใหม่และการจ่ายแสตมป์สุรา 2) ทบทวนการใช้ระบบงานวิชาการกำหนดมูลค่า 3) ทบทวนการใช้ระบบงานคืน ยกเว้นและลดหย่อนภาษีสรรพสามิต
ผลที่คาดว่าจะได้รับ1) ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ2) ผู้เข้ารับการอบรมเกิดความรู้ความเข้าใจในการใช้งานระบบงานหลักของกรมสรรพสามิต และสามารถนำข้อมูลเข้าสู่ฐานข้อมูลดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง