1.57k likes | 2.94k Views
..ยินดีต้อนรับ. อาจารย์ศรีลักษณ์ ผลวัฒนะ ครูเชี่ยวชาญพิเศษ ( คศ. 5). ด้วยความยินดียิ่ง. มาตรฐานและจรรยาบรรณ วิชาชีพทางการศึกษา. ศรีลักษณ์ ผลวัฒนะ ครูเชี่ยวชาญพิเศษ ( คศ. 5). ผู้ใดสอนบทความตามหลักสูตร คือผู้พูดแทนตำรากล้าขยัน ใครเฝ้าปลูกความดีทุกวี่วัน รู้ไว้เขาผู้นั้นนั่นแหละครู.
E N D
..ยินดีต้อนรับ.. อาจารย์ศรีลักษณ์ ผลวัฒนะ ครูเชี่ยวชาญพิเศษ (คศ.5) ด้วยความยินดียิ่ง...
มาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพทางการศึกษามาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพทางการศึกษา ศรีลักษณ์ ผลวัฒนะ ครูเชี่ยวชาญพิเศษ (คศ.5)
ผู้ใดสอนบทความตามหลักสูตรผู้ใดสอนบทความตามหลักสูตร คือผู้พูดแทนตำรากล้าขยัน ใครเฝ้าปลูกความดีทุกวี่วัน รู้ไว้เขาผู้นั้นนั่นแหละครู หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เพียงแต่สอนนั้นไซร้ไม่ลำบาก เป็นครูนั้นสิยากเป็นนักหนา เพราะต้องใช้ศิลปวิทยา อีกมีความเมตตาอยู่ในใจ
กล้วยไม้ออกดอกช้า ฉันใดกล้วยไม้ออกดอกช้า ฉันใด การศึกษาเป็นไป เช่นนั้น แต่ออกดอกคราใด งามเด่น งานสั่งสอนปลูกปั้น เสร็จแล้ว แสนงาม
หลังคารั่ว รูน้อย ไม่คอยซ่อม สักวันหนึ่ง ฝนย่อม จะรั่วไหล หากเด็กผิดนิดหน่อย ครูปล่อยไป ก็จะต้องเสียใจ เมื่อปลายมือ(จากโรงเรียนชุมแสงชนูทิศ จังหวัดนครสวรรค์)
ผลการวิจัยพบว่า ครูเป็นบุคคลที่สังคมคาดหวัง 4 เรื่อง 1. มีความรับผิดชอบ 2. มีความรู้ 3. เป็นผู้เสียสละ 4. เป็นแบบอย่างแห่งความประพฤติ
ครู ครู บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพหลัก ด้านการเรียนการสอน การส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้วยวิธีต่างๆ ในสถานศึกษา ปฐมวัยขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาต่ำกว่า ปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน คุรุสภา : มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ พ.ศ.2548
วิชาชีพ (Profession) เป็นอาชีพให้บริการแก่สาธารณชนที่ต้องอาศัย ความรู้ ความชำนาญเป็นการเฉพาะ ไม่ซ้ำซ้อนกับวิชาชีพอื่นและมีมาตรฐาน
วินัยและการรักษาวินัยวินัยและการรักษาวินัย • พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2551 กำหนดวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาไว้ในหมวดที่ 6 วินัยและการรักษาวินัย ในมาตรา 82 – มาตรา 97
มาตรา 82 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ต้องรักษาวินัยที่บัญญัติเป็นข้อห้ามและปฏิบัติในหมวดนี้โดยเคร่งครัดอยู่เสมอ • มาตรา 83 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องสนับสนุนการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข • มาตรา 84 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เสมอภาคและเที่ยงธรรม มีความวิริยะ อุตสาหะ ขยันหมั่นเพียร ดูแลเอาใจใส่ รักษาประโยชน์ของทางราชการ และต้องปฏิบัติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างเคร่งครัด
มาตรา 85 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบแบบแผนของทางราชการและหน่วยงานทางการศึกษา มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของรัฐบาลโดยถือประโยชน์สูงสุดของผู้เรียนและไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ............. • มาตรา 86 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ต้องปฏิบัติตามคำสั่ง ของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ..........
มาตรา 87 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ต้องตรงต่อเวลา อุทิศเวลาของตนให้แก่ทางราชการและผู้เรียน จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรมิได้.......... • มาตรา 88 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ต้องประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน ชุมชน สังคม มีความสุภาพเรียบร้อย ช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้เรียน และระหว่างข้าราชการด้วยกัน..........
มาตรา 89 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ต้องไม่กลั่นแกล้ง กล่าวหา หรือร้องเรียนผู้อื่น โดยปราศจากความเป็นจริง........ • มาตรา 90 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาประโยชน์อันอาจทำให้เสื่อมเสียความเที่ยงธรรม หรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ในตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน..........
มาตรา 91 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ต้องไม่คัดลอกหรือลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่นโดยมิชอบ หรือนำเอาผลงานทางวิชาการของผู้อื่นหรือจ้างวาน ใช้ผู้อื่นทำผลงานทางวิชาการ........ • มาตรา 92 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการหรือผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้น ในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท..............
มาตรา 93 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ต้องวางตนเป็นกลางทางการเมือง ในการปฏิบัติหน้าที่........... • มาตรา 94 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ต้องรักษาชื่อเสียงของตนและรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย โดยไม่กระทำการใดๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว การกระทำความผิดทางอาญาจนได้รับโทษจำคุก..........
มาตรา 95 ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่เสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีวินัย ป้องกันมิให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัย............... • มาตรา 96 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ใดฝ่าฝืนข้อห้ามหรือไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติทางวินัยที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ ผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัย จักต้องได้รับโทษทางวินัยเว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 7 • โทษทางวินัยมี 5 สถานคือ (1) ภาคทัณฑ์ (2)ตัดเงินเดือน (3) ลดขั้นเงินเดือน (4) ปลดออก (5) ไล่ออก • ผู้ใดถูกลงโทษปลดออก ผู้นั้นมีสิทธิ์ได้รับบำเหน็จ บำนาญ เสมือนว่าเป็นผู้ลาออกจากราชการ
มาตรา 97 การลงโทษข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้ทำเป็นคำสั่ง วิธีการออกคำสั่งเกี่ยวกับการลงโทษ ให้เป็นไปตามระเบียบของ ก.ค.ศ. ผู้สั่งลงโทษต้องสั่งลงโทษให้สมกับความผิดและมิให้เป็นไปโดยพยาบาท โดยอคติหรือโดยโทสจริตหรือลงโทษผู้ที่ไม่มีความผิด ในคำสั่งลงโทษให้แสดงว่าผู้ถูกลงโทษกระทำผิดวินัยกรณีใด ตามมาตราใดและมีเหตุผลอย่างใดในการกำหนดสถานโทษเช่นนั้น
จรรยาบรรณ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 จรรยาบรรณ หมายถึง “ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบ อาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก”
จรรยาบรรณวิชาชีพครูกับการประเมินวิทยฐานะ ด้านที่ 1
ตอนที่ 1การมีวินัย ตอนที่ 2การประพฤติปฏิบัติ ตนเป็นแบบอย่างที่ดี ด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณ (100คะแนน) ตอนละ 20 คะแนน ตอนที่ 3 การดำเนินชีวิตที่เหมาะสม ตอนที่ 4 ความรักและศรัทธา ในวิชาชีพ ตอนที่ 5 ความรับผิดชอบในวิชาชีพ
ด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ(100คะแนน) มี 5 ตอน 1.1 การมีวินัยในตนเอง ยอมรับและถือปฏิบัติตาม กติกา มารยาท ขนบธรรมเนียมและแบบแผนอัน ดีงามของสังคม 1.2 การรักษาและส่งเสริมวินัยในตำแหน่งหน้าที่ ราชการ การปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบแบบ แผนของทางราชาการ ตอนที่ 1 การมีวินัย
1.3 การตรงต่อเวลาและอุทิศเวลาให้แก่ทาง ราชการและผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง 1.4 ความซื่อสัตย์ สุจริตในการปฏิบัติหน้าที่ การรักษาผลประโยชน์ของทางราชการ และ ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน 1.5 การรักษาความสามัคคี มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ต่อเพื่อนร่วมงาน องค์กรและชุมชน
2.1 ความอุตสาหะ ขยัน อดทน มุ่งมั่นและรับผิดชอบ ต่อผลสัมฤทธิ์ของงาน โดยยึกหลักประหยัด คุ้มค่า มีประสิทธิภาพ 2.2 การยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม มีความศรัทธา และปฏิบัติตนตามหลักศาสนา 2.3 การยึดมั่นในหลักนิติธรรม ยึดหลักการกระทำในสิ่ง ที่ถูกต้อง เป็นธรรม และชอบธรรมด้วยกฎหมาย ตอนที่ 2 การประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
2.4 การยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และ วางตัวเป็นกลางทางการเมือง 2.5 การมีส่วนร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมสิ่งแวดล้อม
3.1 การดำรงชีวิตตามแนวทางหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง 3.2 การละเว้นอบายมุข และสิ่งเสพติด 3.4 การดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี เหมาะสม กับสถานภาพและตำแหน่งหน้าที่ 3.5 การประหยัด มัธยัสถ์ อดออม ตอนที่ 3 การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม
4.1 การเป็นสมาชิกที่ดี สนับสนุน หรือร่วมกิจกรรม ของวิชาชีพและทางวิชาการอย่างสร้างสรรค์ 4.2 การศึกษาค้นคว้า ริเริ่ม สร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ มาใช้พัฒนางานในวิชาชีพ 4.3 การมีบทบาทเป็นผู้นำทางวิชาการ ในวงการวิชาชีพ 4.4 การรักษาชื่อเสียง ปกป้องศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพและ การยกย่องเชิดชูเกียรติ 4.5 การเสริมสร้างปลูกจิตสำนึกที่ดีแก่ผู้เรียน ชุมชน สังคม ตอนที่ 4 ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ
5.1 การเอาใจใส่ถ่ายทอดความรู้ หรือส่งเสริมการ แสวงหาความรู้ โดยไม่บิดเบือน ปิดบัง หวังสิ่งตอบแทน 5.2 การเอาใจใส่ช่วยเหลือผู้เรียนและผู้รับบริการ เต็มความสามารถตามหลักวิชาชีพอย่าง สม่ำเสมอเท่าเทียมกัน ตอนที่ 5 ความรับผิดชอบในวิชาชีพ
5.3 การศึกษา ค้นคว้า ริเริ่มสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ นวัตกรรมในการพัฒนางานในหน้าที่ 5.4 การประพฤติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ และแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของ วิชาชีพ 5.5 การมีจิตอาสา จิตสาธารณะ และมุ่งประโยชน์ ส่วนรวม
ต้องจัดแฟ้มเอกสารหลักฐานประกอบด้านที่ 1 ให้ครบทั้ง 5 ตอน และต้องเขียนรายงาน ก.ค.ศ. 2 แบบรายงานด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในการขอมี/หรือเลื่อนวิทยฐานะ (ใช้แบบเดียวกันทุกตำแหน่ง และทุกวิทยฐานะ)
จรรยาบรรณวิชาชีพครู คือ ประมวลพฤติกรรมที่กำหนด ลักษณะมาตรฐานการกระทำของครู อันจะทำให้วิชาชีพครูก้าวหน้าอย่างถาวร โดยที่ครูจะต้องดำเนินการเรียนการสอนโดยการยึดจรรยาบรรณ ต่อวิชาชีพ ต่อผู้เรียน และต่อตนเอง ในการทำหน้าที่ของครูให้ สมบูรณ์
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษามาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา คือ ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ และคุณภาพที่พึงประสงค์ในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งผู้กระกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติการ เพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ สามารถสร้างความเชื่อมั่น ความศรัธทาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่าเป็นบริการที่มีคุณภาพ
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้ประกอบวิชาชีพ ซึ่งจะต้องประพฤติปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลดีต่อผู้รับบริการอันเป็นเป้าหมายหลักของการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้สามารถนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพให้สมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง และได้รับการยอมรับยกย่องจากสังคม
วิชาชีพทางการศึกษาเป็นวิชาชีพควบคุม ประกอบด้วย • วิชาชีพครู • วิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา • วิชาชีพผู้บริหารการศึกษา • วิชาชีพควบคุมอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง
พรบ. สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 มาตรา 49 กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพ 3 ด้าน ได้แก่ • มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ • มาตรฐานการปฏิบัติงาน • มาตรฐานการปฏิบัติตน
มาตรฐานวิชาชีพครู 1. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ แบ่งเป็น มาตรฐานความรู้ • ครูต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษาหรือเทียบเท่าหรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยมีความรู้ ดังต่อไปนี้ • ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู • การพัฒนาหลักสูตร • การจัดการเรียนรู้
จิตวิทยาสำหรับครู • การวัดและประเมินผลการศึกษา • การบริหารจัดการในห้องเรียน • การวิจัยทางการศึกษา • นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา • ความเป็นครู
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพมาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ครูต้องผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังนี้ 1. การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน 2. การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาสาขาวิชาเฉพาะ
2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย มาตรฐานที่ 1 ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการที่เกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครู อยู่เสมอ มาตรฐานที่ 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิด แก่ผู้เรียน มาตรฐานที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง มาตรฐานที่ 5 พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ มาตรฐานที่ 6 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ ผู้เรียน
2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน (ต่อ) ประกอบด้วย มาตรฐานที่ 7 รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน มาตรฐานที่ 9 ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์ มาตรฐานที่ 10 ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์ มาตรฐานที่ 11 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์
3. มาตรฐานการปฏิบัติตน • ประกอบด้วย • จรรยาบรรณต่อตนเอง • จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ • จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ • จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ • จรรยาบรรณต่อสังคม
จรรยาบรรณวิชาชีพครู คุรุสภาได้ออกข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและ จรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ.2548 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 กำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติตน ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ
แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู จรรยาบรรณต่อตนเอง 1.มีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ - เป็นแบบอย่างที่ดี - ประพฤติตน ดำเนินชีวิตตามประเพณีวัฒนธรรมไทย - ปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย อย่างมีคุณภาพ - พัฒนาตนเอง พัฒนางาน และสะสมผลงานอย่างสม่ำเสมอ - ค้นคว้า นำเทคนิคด้านวิชาชีพที่พัฒนาเป็นที่ยอมรับมาใช้ ให้เกิด ผลสัมฤทธิ์ที่พึงประสงค์
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ 2. ครูต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ - แสดงความชื่นชมและศรัธทา ในคุณค่าวิชาชีพ - รักษาชื่อเสียง และปกป้องศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ - ยกย่องเชิดชูเกียรติผู้มีผลงาน ในวิชาชีพ - รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ ปฏิบัติตามกฏระเบียบของทางราชการ - เลือกใช้หลักวิชาที่ถูกต้อง สร้างสรรค์เทคนิคใหม่ๆ - ใช้องค์ความรู้ที่หลากหลาย - ร่วมกิจกรรมของวิชาชีพ อย่างสร้างสรรค์
จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการจรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ 3. ครู ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจ แก่ศิษย์และ ผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า 4. ครู ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์และ ผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ 5. ครู ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งกาย วาจาและจิตใจ 6. ครู ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์และผู้รับบริการ 7. ครู ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียนรับหรือยอมรับ ผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพจรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ 8. ครู พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์โดยยึดมั่นในระบบ คุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ - เสียสละ เอื้ออาทร และให้ความช่วยเหลือผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ - มีความรัก ความสามัคคี ร่วมใจกันผนึกกำลังในการพัฒนาการศึกษา
จรรยาบรรณต่อสังคม 9. ครู พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของ ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข - ยึดมั่น สนับสนุน ส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข - นำภูมิปัญญาท้องถิ่นและศิลปวัฒนธรรม มาใช้ในการจัดการศึกษา - จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง - เป็นผู้นำในการวางแผนและดำเนินการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พัฒนาเศรษฐกิจ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและศิลปวัฒนธรรม
ศึกษา วิเคราะห์ความต้องการของผู้ปกครองชุมชน การปฏิบัติที่ดีในวิชาชีพ วิจัยเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เข้าใจหลักสูตร การปฏิบัติที่ดี เทคนิคการสอน การพัฒนาผู้เรียน K P A การวัดและประเมินผล การผลิตสื่อ
บทบาทของผู้สอน • 1. วิเคราะห์ผู้เรียน วางแผนการจัดการเรียนรู้ • 2. กำหนดเป้าหมาย ด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ ความคิดรวบยอด หลักการ • คุณลักษณะอันพึงประสงค์ • 3. ออกแบบการเรียนรู้ที่ ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล และพัฒนาการ • ทางสมอง • 4. จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ดูแลช่วยเหลือ • 5. เตรียม / เลือกสื่อให้เหมาะสมกับกิจกรรม นำภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีมา • ประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ • 6. ประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนด้วยวิธีหลากหลาย • วิเคราะห์ผลการประเมินมาใช้ซ่อมเสริมและพัฒนาผู้เรียนปรับปรุงการสอน • ศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ • (ตัวบ่งชี้ที่ 6.2ของสมศ. ข้อ1-8)