200 likes | 359 Views
การประชุมชี้แจงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารโครงการและการใช้จ่ายเงินกู้ เพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำ และสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555. วันพุธที่ 21 มีนาคม 2555 เวลา 13.30 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล.
E N D
การประชุมชี้แจงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารโครงการและการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 วันพุธที่ 21 มีนาคม 2555 เวลา 13.30 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารโครงการและการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 บทนิยาม ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2555 “หน่วยงานของรัฐ”= ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นของรัฐ “หน่วยงานเจ้าของโครงการ”= หน่วยงานของรัฐที่ได้รับอนุมัติหรือได้รับมอบหมายให้ดำเนินการตามโครงการ “โครงการ” ได้แก่ 1. โครงการตามแผนปฏิบัติการบริหารจัดการน้ำ การป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยแห่งชาติ 2. โครงการอื่นใดที่ กนอช. หรือ กบอ. เห็นว่า เป็นโครงการที่ เกี่ยวเนื่องกับการบริหารจัดการน้ำหรืออุทกภัย 3. โครงการตามแผนยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศตามที่ กยอ. กำหนด 4. แผนงานหรือการดำเนินการใด ๆ ที่ถูกกำหนดให้อยู่ในแผนปฏิบัติการหรือแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว “เงินกู้” = เงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 (วงเงิน 350,000 ล้านบาท)
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารโครงการและการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 บททั่วไป 1. ระเบียบนี้ใช้บังคับเฉพาะแก่โครงการที่ต้องดำเนินการโดยใช้จ่ายเงินจากเงินกู้ 2. โครงการใดได้รับการจัดสรรทั้งงบประมาณรายจ่ายและเงินกู้หรือแหล่งใดแหล่งหนึ่งในภายหลังการดำเนินการ ในส่วนที่เกี่ยวกับงบประมาณรายจ่าย ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการนั้น ส่วนการดำเนินการที่เกี่ยวกับเงินกู้ให้เป็นไปตามระเบียบนี้ โครงการใดดำเนินการโดยได้รับการจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายให้หน่วยงานเจ้าของโครงการรายงานให้ กบอ. ทราบ (ข้อ 5 และ ข้อ 6) 3. การจัดสรรเงินกู้ การเบิกจ่ายเงินกู้ และการรายงานผล การดำเนินโครงการ ให้รับส่งข้อมูลผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโครงการ โดยกระทรวงการคลังจัดส่งข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ข้อ 7) 4. กรณีที่โครงการใดต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบใด ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง (ข้อ 11) 5. กรณีมีปัญหาในการปฏิบัติตามระเบียบให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยหรือกำหนดวิธีปฏิบัติ เป็นการเฉพาะเรื่อง (ข้อ 12) 6. ผู้กำกับดูแลในการดำเนินโครงการ ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้กำกับดูแล และให้ถือเป็นตัวชี้วัดในการประเมินผล การปฏิบัติงาน (ข้อ 18)
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารโครงการและการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 หน้าที่ของสำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ 1. สำนักงบประมาณมีหน้าที่พิจารณาจัดสรรวงเงินกู้ พิจารณาคำขอโอนหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียด ซึ่งไม่ใช่สาระสำคัญที่กำหนดในโครงการ และพิจารณาคำขอใช้เงินเหลือจ่ายเพื่อชดเชยค่างานก่อสร้าง รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์หรือวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง (ข้อ 8) 2. กรมบัญชีกลางมีหน้าที่รับฝากเงินกู้ไว้ในบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง และจัดทำระบบบัญชีและระบบการเบิกจ่ายเงินสำหรับโครงการ รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์หรือวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง (ข้อ 9) 3. สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะมีหน้าที่พิจารณาจัดหาเงินกู้ ดำเนินการเปิดบัญชี “บัญชีเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ” และนำฝากเงินกู้ไว้ในบัญชี จัดทำระบบบริหารเงินสดและบริหารจัดการเงินกู้ และรายงานสถานะเงินกู้ รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์หรือวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง (ข้อ 10) เมื่อดำเนินโครงการและเบิกจ่ายเงินแล้วเสร็จครบทุกโครงการ ให้ปิด “บัญชีเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและ สร้างอนาคตประเทศ” และนำเงินที่เหลือในบัญชีส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน (ข้อ 28) 4. สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ มีหน้าที่ประสานงานหน่วยงานเจ้าของโครงการเพื่อเร่งรัดการดำเนินงาน ติดตามความก้าวหน้าในการเบิกจ่ายเงินกู้ และเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของหน่วยงานเจ้าของโครงการในส่วนที่เกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินกู้ ต่อ กบอ. หรือ กยอ. แล้วแต่กรณี (ข้อ 23)
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารโครงการและการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 การอนุมัติโครงการตามแผนปฏิบัติการบริหารจัดการน้ำ การป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยแห่งชาติ • เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกับแผนปฏิบัติการแล้ว กบอ. มีหน้าที่แจ้งหน่วยงานเจ้าของโครงการเพื่อจัดทำรายละเอียดของโครงการตามแผนปฏิบัติการดังกล่าว พร้อมกับวงเงินการใช้จ่ายที่ขอรับการจัดสรรจากเงินกู้เสนอ ต่อ กบอ. ภายในเวลาที่กำหนด • กบอ. พิจารณาเสนอความเห็นต่อ กนอช. เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไปเว้นแต่ โครงการที่ กนอช. มีมติเห็นชอบในหลักการให้ดำเนินการได้ไว้แล้ว กบอ. จึงจะสามารถเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติได้โดยตรง (ข้อ 13) • หน่วยงานของรัฐนั้นมีหน้าที่จัดทำรายละเอียดของโครงการดังกล่าว พร้อมกับวงเงินการใช้จ่ายที่ขอรับการจัดสรร จากเงินกู้ เสนอต่อ กบอ. • กบอ. พิจารณาเสนอความเห็นต่อ กนอช. เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ เว้นแต่ โครงการที่ กนอช. มีมติเห็นชอบในหลักการให้ดำเนินการได้ไว้แล้ว กบอ. จึงจะสามารถเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติได้โดยตรง (ข้อ 13) กรณีมีแผนปฏิบัติการฯ แล้ว และหน่วยงานของรัฐยังไม่เสนอโครงการ กรณียังไม่มีแผนปฏิบัติการ แต่หน่วยงานของรัฐได้เสนอโครงการต่อ กบอ. แล้ว
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารโครงการและการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 การอนุมัติโครงการตามแผนยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ • โครงการใดเป็นโครงการตามแผนยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ ตามที่ กยอ. กำหนดหน่วยงานเจ้าของโครงการโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีเจ้าสังกัด เสนอรายละเอียดของโครงการตามแผนยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศและวงเงินการใช้จ่ายที่ขอรับจัดสรรจากเงินกู้ต่อ กยอ. ภายในระยะเวลาที่ กยอ. กำหนด เพื่อพิจารณากลั่นกรอง แล้วเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ (ข้อ 14) 12
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารโครงการและการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 การดำเนินการโครงการ 1. เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการแล้ว หน่วยงานเจ้าของโครงการมีหน้าที่ส่งแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินกู้ต่อสำนักงบประมาณเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และจัดสรรวงเงินกู้ กรณีที่มีการกู้เงินจากต่างประเทศเพื่อใช้ในโครงการใดโครงการหนึ่งโดยเฉพาะ และแหล่งเงินกู้กำหนดให้ใช้หลักเกณฑ์และระเบียบในการดำเนินงานและการจัดซื้อจัดจ้างของแหล่งเงินกู้นั้น ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และระเบียบของแหล่งเงินกู้นั้น (ข้อ 15) 2. สำนักงบประมาณจัดส่งข้อมูลแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินกู้ต่อสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เพื่อประกอบการจัดหาเงินกู้ (ข้อ 15 (2)) 3. หน่วยงานเจ้าของโครงการมีหน้าที่จัดส่งประมาณการการเบิกจ่ายเงินกู้เป็นรายเดือนให้แก่สำนักงานบริหาร หนี้สาธารณะ (ข้อ 15 (3)) 4. การจัดหาพัสดุในการดำเนินโครงการ หน่วยงานเจ้าของโครงการต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 หรือระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงานเจ้าของโครงการ แล้วแต่กรณี หน่วยงานสามารถดำเนินการจัดหาพัสดุได้ทันทีที่โครงการได้รับอนุมัติและสามารถลงนามในสัญญาได้เมื่อได้รับการจัดสรรวงเงินกู้แล้วเท่านั้น (ข้อ 16)
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารโครงการและการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 การบริหารและจัดการการกู้เงิน และการเบิกจ่ายเงินกู้ 1. สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะมีหน้าที่จัดหาเงินกู้ ดำเนินการกู้เงิน และบริหารจัดการเงินกู้ (ข้อ 19) 2. กระทรวงการคลังอาจกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการเงินกู้เพื่อให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะดำเนินการ (ข้อ 22) 3. ในการเบิกจ่ายเงินกู้ หน่วยงานเจ้าของโครงการต้องปฏิบัติตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินของทางราชการและหลักเกณฑ์หรือวิธีปฏิบัติที่กระทรวงการคลังกำหนดเว้นแต่ การกู้เงินเพื่อใช้ในโครงการใดโดยเฉพาะ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะจะกำหนดให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้โดยตรงก็ได้ โดยให้หน่วยงานเจ้าของโครงการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการของแหล่งเงินกู้ (ข้อ 20 และ ข้อ 21) 4. สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ มีหน้าที่ประสานงานหน่วยงานเจ้าของโครงการเพื่อเร่งรัดการดำเนินงาน ติดตามความก้าวหน้าในการเบิกจ่ายเงินกู้ และเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของหน่วยงานเจ้าของโครงการในส่วนที่เกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินกู้ ต่อ กบอ. หรือ กยอ. แล้วแต่กรณี (ข้อ 23)
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารโครงการและการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 การโอนหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ • หน่วยงานเจ้าของโครงการเสนอคำขอดังกล่าวพร้อมเหตุผลความจำเป็นต่อ สบอช. หรือสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อนำเสนอต่อ กบอ. หรือ กยอ. แล้วแต่กรณี เพื่อทำความเห็นประกอบการพิจารณาอนุมัติของคณะรัฐมนตรี (ข้อ 17(1)) • หน่วยงานเจ้าของโครงการเสนอคำขอดังกล่าวพร้อมเหตุผลความจำเป็นต่อ สบอช. หรือสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อนำเสนอต่อ กบอ. หรือ กยอ. พิจารณาอนุมัติ แล้วแต่กรณี (ข้อ 17 (2)) • หน่วยงานเจ้าของโครงการเสนอคำขอดังกล่าวต่อสำนักงบประมาณ และเมื่อสำนักงบประมาณพิจารณาอนุมัติแล้ว ให้รายงานต่อ กบอ. หรือ กยอ. เพื่อทราบ แล้วแต่กรณี 1. กรณีเป็นสาระสำคัญและกระทบต่อกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติ 2. กรณีเป็นสาระสำคัญ แต่ไม่กระทบต่อกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติ 3. กรณีที่ไม่เป็นสาระสำคัญและไม่กระทบต่อกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติ
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารโครงการและการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 การติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินการ 1. สำนักงานปลัดกระทรวงการคลังวางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโครงการเพื่อสนับสนุนการติดตามความก้าวหน้า ในการดำเนินโครงการ การเบิกจ่ายเงิน และการประเมินผลโครงการ 2. หน่วยงานเจ้าของโครงการรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการและการใช้จ่ายเงินกู้ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโครงการ ตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาที่กระทรวงการคลังกำหนด 3. สบอช. และ สศช. เร่งรัดการดำเนินงานให้เป็นไปตามโครงการที่ได้รับอนุมัติ ติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงาน เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาอุปสรรค รวมทั้งประเมินผลสัมฤทธิ์และผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวมของโครงการต่อ กบอ. หรือ กยอ. (ข้อ 24 และข้อ 25) 1. กรณีที่ กบอ. หรือ กยอ. เห็นว่ามีความจำเป็นต้องจัดสรรเงินเหลือจ่ายให้แก่โครงการอื่น (ข้อ 26) 2. กรณีที่ต้องดำเนินโครงการขึ้นใหม่ หรือ หน่วยงานเจ้าของโครงการประสงค์จะเสนอโครงการใหม่เพิ่มเติม 3. กรณีที่สำนักงบประมาณเห็นควรพิจารณาจัดสรรจำนวนเงินจากวงเงินเหลือจ่ายของโครงการที่หน่วยงานเจ้าของโครงการประสงค์จะชดเชยค่างานก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) และเสนอขออนุมัติต่อ สำนักงบประมาณ (ข้อ 27) การใช้เงินเหลือจ่าย
บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานเจ้าของโครงการ
บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (สบอช.)
บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำนักงบประมาณ -
บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ - หมายเหตุ : สป.กค. จัดทำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศรายงานผลการดำเนินโครงการและการเบิกจ่ายเงินของ พ.ร.ก.ฯ ร่วมกับงบกลาง 120,000 ลบ. ด้วยระบบ PFMS - FRP 24
บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรมบัญชีกลาง - ทำความเข้าใจกับหน่วยงาน