1 / 78

29 มีนาคม 2555

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 และ แผนการพัฒนาภาคกลาง ในช่วง แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11. โดย นางสาวลดาวัลย์ คำภา รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 29 มีนาคม 2555. ประเด็นการบรรยาย. บทบาท ภารกิจของ สศช. 1.

maja
Download Presentation

29 มีนาคม 2555

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 และแผนการพัฒนาภาคกลางในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 โดย นางสาวลดาวัลย์ คำภา รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 29 มีนาคม 2555

  2. ประเด็นการบรรยาย บทบาท ภารกิจของ สศช. 1 2 การจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 3 การขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 สู่การปฏิบัติ 4 แผนพัฒนาภาคกลาง ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11

  3. วิสัยทัศน์ บทบาท และ ภารกิจของ สศช. วิสัยทัศน์  “หน่วยงานหลักวางแผนและจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน ที่ยึดประโยชน์ส่วนรวม ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และมีประสิทธิภาพสูง” พันธกิจ ค่านิยม • หน่วยงานยุทธศาสตร์ (Strategic Unit) • หน่วยงานข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม เชิงลึก (Intelligent Unit) • หน่วยงานความรู้สมัยใหม่ (Knowledge Organization) “มุ่งมั่น ทุ่มเท พัฒนาประเทศ เพื่อประโยชน์สุขแก่สังคมด้วยคุณธรรม ตามหลักวิชาการอย่างมืออาชีพ” 3

  4. Strategic Unit KnowledgeOrganization IntelligentUnit พันธกิจของ สศช. • จัดทำยุทธศาสตร์และให้คำปรึกษา ของรัฐบาล (Government’s Think Tank) • ประสานการแปลงนโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติ (Policy coordination to implementation) • ประเมินผลนโยบายของรัฐบาล (Monitoring & Evaluation) • วิเคราะห์ข้อมูลและเฝ้าระวังภัยเศรษฐกิจของรัฐบาล (Warning center) • เจาะข้อมูลเชิงลึกต่างประเทศที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมไทย • เสาะแสวงหาและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ สำหรับการพัฒนาประเทศ 4

  5. ประเด็นการบรรยาย บทบาท ภารกิจของ สศช. 1 2 การจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 3 การขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 สู่การปฏิบัติ 4 แผนพัฒนาภาคกลาง ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11

  6. พัฒนาการของแนวคิดพื้นฐานพัฒนาการของแนวคิดพื้นฐาน แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 - 7 แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 เน้นการใช้แรงงานและทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ การขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพและแก้ปัญหาความยากจน เน้นสมดุลและยั่งยืน แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 - 10 เน้นคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาแบบบูรณาการ มุ่งสู่ความพอเพียง(Sufficiency) 6

  7. กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ประชุมระดมความคิดเห็น ระดับชุมชน/ ภาค และผู้ทรงคุณวุฒิ ประชุมประจำปี 54 “ร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11” ประชุมประจำปี 52 “จากวิสัยทัศน์…สู่แผนฯ 11” ประชุมประจำปี 51 “วิสัยทัศน์ ประเทศไทย…สู่ปี 2570” เสนอทิศทางและประเด็นยุทธศาสตร์ของแผนฯ 11 ต่อ ค.ร.ม. ส.ค. 51 – ส.ค. 52 ต.ค. 53 – ก.ค. 54 พ.ศ. 2551 2552 2553 2554 2555 เสนอ ครม. เพื่อพิจารณา ศึกษาวิจัยเฉพาะด้าน เสนอร่างทิศทางแผนฯ 11 ต่อคณะกรรมการ สศช. ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2554 -2559) 1ต.ค. 2554 จัดประชุมประจำปี 53 “ทิศทางของแผนฯ 11” • ระดมความเห็น4 ภาค ก.ย. 52 – ก.ย. 53 7

  8. กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ ...(ต่อ) • สศช. ได้จัดทำร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ และจัดประชุมระดมความคิดเห็นในเวทีระดับต่างๆ อาทิ • ประชุมระดมความคิดเห็นระดับหมู่บ้าน/ชุมชน รวม ๒๒ เวที ๑๓๒ หมู่บ้าน ทั่วประเทศ • ประชุมระดมความคิดเห็นระดับภาคทั้ง ๔ ภาค ภาคละ ๒ ครั้ง และ กทม. ๑ ครั้ง • ประชุมระดมความคิดเห็นเฉพาะกลุ่มรวม ๔ กลุ่ม กลุ่มละ ๒ ครั้ง ประกอบด้วย กลุ่มธุรกิจเอกชน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเด็กและเยาวชน และกลุ่มสื่อมวลชน 8

  9. บริบทการเปลี่ยนแปลงในระดับโลกบริบทการเปลี่ยนแปลงในระดับโลก กฎ กติกาใหม่ของโลกในการบริหารจัดการด้านเศรษฐกิจและสังคมโลก เช่น การค้า การลงทุน การเงิน สิ่งแวดล้อม และสิทธิมนุษยชน • การเคลื่อนย้ายเงินทุน/สินค้า/แรงงานระหว่างประเทศคล่องตัวมากขึ้น • การจำกัดสินค้าจากประเทศกำลังพัฒนาเข้าไปจำหน่ายในตลาดประเทศพัฒนาแล้ว • ประเทศกำลังพัฒนามีภาระมากขึ้นจากการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าและมาตรการทางด้านการละเมิดสิทธิเด็ก สตรี • เศรษฐกิจเอเชียจะขยายตัวร้อยละ 6-7 ต่อปี (โลกร้อยละ 4-5 ต่อปี) • โครงสร้างตลาดส่งออกของไทยกระจายตัวมากขึ้น • เกิดชนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อและความต้องการบริโภคสินค้ามากขึ้น เกิดการแย่งชิงทรัพยากรการผลิต การปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจโลกแบบหลายศูนย์กลางรวมทั้งเอเชีย • เกิดการย้ายถิ่นของแรงงานข้ามชาติเพิ่มขึ้น • โครงสร้างการผลิตเปลี่ยนจากการใช้แรงงานเข้มข้นมาเป็นการใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีมากขึ้น • โครงสร้างใช้จ่ายงบประมาณเปลี่ยนแปลงไปเน้นด้านสุขภาพมากขึ้น การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของโลกอย่างต่อเนื่อง • ส่งผลให้อากาศแปรปรวนกระทบต่อการเกิดภัยพิบัติธรรมชาติรุนแรง เกิดการขาดแคลนน้ำ เกิดโรคระบาดเพิ่มขึ้น • ผลผลิตเกษตรของโลกและความมั่นคงทางอาหารได้รับผลกระทบ • เกิดปัญหาความยากจน การอพยพย้ายถิ่น และการแย่งชิงทรัพยากร การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกก่อให้เกิดความเสียหายหลายด้าน ความมั่นคงทางอาหารและพลังงานจะเป็นปัญหาสำคัญในอนาคต • จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานไปสู่พลังงานทางเลือกมากขึ้น • เกิดความขัดแย้งระหว่างการเพาะปลูกพืชอาหารและพืชพลังงาน • โครงสร้างเศรษฐกิจที่จะปรับตัวสู่ภาคบริการเพิ่มขึ้น • การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการด้านการเงิน การผลิต • การพัฒนาศักยภาพของสมองและสุขภาพของมนุษย์ • เป็นภัยคุกคามจากการใช้สื่อในการจารกรรมการเผยแพร่ข้อมูลเท็จ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การก่อการร้ายสากลมีแนวโน้มขยายไปทั่วโลก • ส่งผลกระทบต่อความมั่นคง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประเทศ 9

  10. ความเสี่ยงที่ประเทศไทยต้องเผชิญ โครงสร้างทางเศรษฐกิจไม่สามารถรองรับการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน การบริหารภาครัฐอ่อนแอ โครงสร้างประชากรวัยสูงอายุเพิ่มขึ้นวัยเด็ก วัยแรงงานลดลง ค่านิยมดีงามของไทยเสื่อมถอย ฐานทรัพยากรธรรมชาติสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมรุนแรง มีความเสี่ยงด้านความมั่นคง 10

  11. ภูมิคุ้มกันที่จำเป็นต่อประเทศภูมิคุ้มกันที่จำเป็นต่อประเทศ ยึดการปกครองในระบอบระชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ยึดภาคเกษตรเป็นฐานรายได้หลัก และความมั่นคงด้านอาหารของสังคมชนบท ยึดการพัฒนาประเทศบนฐานความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ยึดค่านิยมที่ดีและวัฒนธรรมไทย ยึดชุมชนเป็นฐานที่มีความสามารถในการบริหารจัดการ มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และสามารถเชื่อมโยงกับสังคมสวัสดิการ 11

  12. กรอบแนวคิดของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 กรอบแนวคิดและหลักการของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 วิสัยทัศน์ ประเทศไทย พ.ศ.2570 วิสัยทัศน์ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 • พัฒนาตามหลักปรัชญา • ของเศรษฐกิจพอเพียง • ยึดคนเป็นศูนย์กลางของ • การพัฒนาให้ความสำคัญ • กับการมีส่วนร่วม • พัฒนาประเทศสู่ความ • สมดุลในทุกมิติอย่าง • บูรณาการและเป็นองค์รวม “คนไทยภาคภูมิใจในความเป็นไทย มีมิตรไมตรีบนวิถีแห่งความพอเพียง ยึดมั่นในวัฒนธรรมประชาธิปไตยและ หลักธรรมาภิบาลการบริการสาธารณะ ขั้นพื้นฐานที่ทั่วถึง มีคุณภาพ สังคมมีความปลอดภัยและมั่นคง อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ดีเกื้อกูลและเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน ระบบการผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมีความมั่นคงทางด้านอาหารและ พลังงานอยู่บนพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ที่พึ่งตนเองและแข่งขันได้ในเวทีโลก สามารถอยู่ในประชาคมโลกอย่าง มีศักดิ์ศรี” “สังคมที่อยู่ร่วมกัน อย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกัน ต่อการเปลี่ยนแปลง”

  13. วิสัยทัศน์และเป้าหมายวิสัยทัศน์และเป้าหมาย วิสัยทัศน์ : “สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง” • ความอยู่เย็นเป็นสุขของคนในสังคมและความสงบสุขของสังคมไทยเพิ่มขึ้น ความเหลื่อมล้ำในสังคมลดลง และภาพลักษณ์การทุจริตคอรัปชั่นดีขึ้น • คนไทยมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีสุขภาวะที่ดีขึ้น และสถาบันทางสังคมมีความเข้มแข้งมากขึ้น • เศรษฐกิจเติบโตในอัตราที่เหมาะสม ตามศักยภาพของประเทศ • - ผลิตภาพการผลิตรวมสูงขึ้นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3 ต่อปี • - เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ • - เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ของ SMEs ต่อ GDP ให้มีสัดส่วนไม่ต่อกว่าร้อยละ 40 • - ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก • คุณภาพสิ่งแวดล้อมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพิ่มประสิทธิภาพการลดปริมาณการปล่อยก๊าซ รวมทั้งเพิ่มพื้นที่ป่าไม้เพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศ

  14. ภาพรวมยุทธศาสตร์ การสร้างคนและสังคมคุณภาพ • การสร้างความเป็นธรรมในสังคม (ยุทธศาสตร์ที่ 1) • การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ (ยุทธศาสตร์ที่ 2) แผนฯ 11 การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ • การสร้างความเข้มแข็งของภาคเกษตรและความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน ยุทธศาสตร์ที่ 3) • การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน (ยุทธศาสตร์ที่ 4) • การเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาค (ยุทธศาสตร์ที่ 5) การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ธรรมาภิบาลและการขับเคลื่อนแผนฯ 11 • การเตรียมการรองรับความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและสภาพแวดล้อม และการเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (ยุทธศาสตร์ที่ 6)

  15. ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคมยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม สร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่ระดับปัจเจก ครอบครัว และชุมชนสู่สังคมคุณภาพ สามารถจัดการความเสี่ยง และปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง มีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศ 1. การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมให้ทุกคนในสังคมไทยสามารถจัดการความเสี่ยงและสร้างโอกาสในชีวิตได้ 3. การเสริมสร้างพลังให้ทุกภาคส่วนสามารถเพิ่มทางเลือกในการใช้ชีวิตในสังคมและสร้างการมีส่วนร่วมในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง 2. การจัดบริการทางสังคมให้ทุกคนตามสิทธิขั้นพื้นฐาน เน้นการสร้างภูมิคุ้มกันและสร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ 4. เสริมสร้างความสัมพันธ์ของคนในสังคมให้มีคุณค่าร่วมและตระหนักถึงผลประโยชน์ของสังคม

  16. ยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาคุณภาพคนไทยทุกช่วงวัยให้มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง มีความพร้อมด้านร่างกาย สติปัญญา และจิตใจ สามารถเรียนรู้ตลอดชีวิต อยู่ในสภาพแวดล้อมในสังคมที่เข้มแข็งและเอื้อต่อการพัฒนาคน 1. ปรับโครงสร้างและการกระจายตัว ประชากรให้เหมาะสม 4. ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2. พัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง 5. เสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันทางสังคม 3. ส่งเสริมการลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ

  17. ยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นฐานการผลิตภาคเกษตรให้เข้มแข็ง เป็นแหล่งการผลิตอาหารที่มั่นคงของประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพการผลิตภาคเกษตร สร้างความมั่นคงในอาชีพและรายได้ให้แก่เกษตรกรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานชีวภาพทั้งในระดับครัวเรือนและชุมชน 1. การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นฐานการผลิตภาคเกษตรให้เข้มแข็ง และยั่งยืน 2. การเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพการผลิตภาคเกษตร 3. การสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรตลอดห่วงโซ่การผลิต 4. การสร้างความมั่นคงในอาชีพและรายได้ให้แก่เกษตรกร 5. การสร้างความมั่นคงด้านอาหาร และพัฒนาพลังงานชีวภาพในระดับครัวเรือน และชุมชน 6. การสร้างความมั่นคงด้านพลังงานชีวภาพเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศ และความเข้มแข็งภาคเกษตร 7. การปรับระบบการบริหารจัดการภาครัฐเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน

  18. ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืนยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ เป็นปัจจัยนำในการขับเคลื่อนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของไทย และใช้โอกาสจากการขยายตัวของเอเชียให้เกิดประโยชน์กับประเทศ • การปรับโครงสร้างภาคการค้าและการลงทุน • เชื่อมโยงการลงทุนและการผลิตตลอดห่วงโซ่มูลค่าสู่ตลาดที่มีศักยภาพ • ขยายการลงทุนไปต่างประเทศ • ส่งเสริม SMEs ให้สามารถเติบโตอย่างมีคุณภาพ • การปรับโครงสร้างภาคการผลิตและบริการ • พัฒนาศักยภาพภาคเกษตร บริการ และท่องเที่ยว • ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้เป็นเครื่องมือปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การผลิตที่มีมูลค่าสูง • ส่งเสริมการผลิตภาคอุตสาหกรรมให้มีคุณภาพ มูลค่าเพิ่มและผลิตภาพการผลิตสูง ใช้เทคโนโลยีที่ได้มาตรฐาน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม • การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย นวัตกรรม (วทน.) โครงสร้างพื้นฐาน และพลังงาน • สร้างสภาพแวดล้อม วทน. ให้เอื้อต่อการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสร้างมูลค่าเพิ่มในภาคการผลิต • พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ • จัดหาพลังงานอย่างเพียงพอ • การปฏิรูปกฎหมาย กฎ และระเบียบทางเศรษฐกิจ เพื่อ • ลดอุปสรรคและขั้นตอนการดำเนินธุรกิจการค้าและการลงทุนในและนอกประเทศ • สนับสนุนการลงทุนที่ใช้องค์ความรู้ การวิจัยและพัฒนา นวัตกรรม • สร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถเข้าถึงสินเชื่อ • การบริหารจัดการเศรษฐกิจส่วนรวมอย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อการเปลี่ยนแปลง • ดำเนินนโยบายการเงินได้เหมาะสมกับสถานการณ์และทันต่อเหตุการณ์ • ปรับปรุงระบบการจัดเก็บรายได้ของประเทศ • เพิ่มประสิทธิภาพการจัดสรรและบริหารงบประมาณ

  19. ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างความร่วมมือแบบหุ้นส่วนการพัฒนาเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม จุดเน้นของยุทธศาสตร์ “ให้ความสำคัญกับ 3 กลุ่ม” • อนุภูมิภาค • (GMS, IMT-GT, • ACMECS, • BIMSTEC) • อาเซียน • (ASEAN) • เอเชียแปซิฟิก • รวม อาเซียน+3 • อาเซียน+6 • เอเปค 1 2 3 1 2 3 4 5 6 7 8 9

  20. ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน อนุรักษ์ ฟื้นฟู และสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนประเทศไปสู่เศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำ ยกระดับความสามารถในการรองรับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ ควบคุมและลดมลพิษ พัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม ปรับตัวให้สอดคล้องกับการค้าภายใต้เงื่อนไขสิ่งแวดล้อมและวิกฤติภาวะโลกร้อน เพิ่มบทบาทประเทศไทยในเวทีโลกที่เกี่ยวกับข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมและภูมิอากาศ พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการ สร้างสังคมและชุมชนที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเกื้อกูล 1. การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2. การปรับกระบวนทัศน์การพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเป็นเศรษฐกิจ และสังคมคาร์บอนต่ำ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3. การยกระดับขีดความสามารถในการรับมือและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อให้สังคมมีภูมิคุ้มกัน 4. การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ 5. การสร้างภูมิคุ้มกันด้านการค้าจากเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมและวิกฤตจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 6. การเพิ่มบทบาทประเทศไทยในเวทีประชาคมโลกที่เกี่ยวข้องกับกรอบความตกลงและพันธกรณีด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ 7. การควบคุมและลดมลพิษ 8. การพัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นธรรมอย่างบูรณาการ

  21. สรุปแผนฯ ๑๑ ความเสี่ยงที่ประเทศไทยต้องเผชิญ “สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง” ๖ ยุทธศาสตร์การพัฒนา โครงสร้างทางเศรษฐกิจไม่สามารถรองรับการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน การบริหารภาครัฐอ่อนแอ ๑ ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม โครงสร้างประชากรวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น วัยเด็ก วัยแรงงานลดลง ๒ ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน พันธกิจ มีความเสี่ยงด้านความมั่นคง ๖ ความเสี่ยง • สร้างความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ สร้างสังคมคุณธรรม ให้คนกินดีอยู่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี ปลอดภัยจากอาชญากรรม อุบัติเหตุ ยาเสพติดอบายมุข อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มีวัฒนธรรมประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล • พัฒนาฐานการผลิต บริการให้เข้มแข็งมีเสถียรภาพบนฐานความรู้ การสร้างสรรค์ ขยายหลักประกันทางสังคมให้ครอบคลุม สร้างความมั่นคงด้านอาหาร พลังงาน ยารักษาโรคจากสมุนไพรบนฐานทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพ ปรับโครงสร้างสาขาการผลิต การบริโภคให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม • สร้างภูมิคุ้มกันให้เข้มแข็ง สามารถป้องกัน รองรับผลกระทบ ความเสี่ยงจากวิกฤตเศรษฐกิจในอนาคต พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ ทักษะ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงอย่างมีเหตุผล ๓ ยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน ฐานทรัพยากรธรรมชาติสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมรุนแรง ๔ ยุทธศาสตร์การสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ค่านิยมดีงามของไทยเสื่อมถอย ๕ ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้าง ๕ภูมิคุ้มกันให้ประเทศพร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลง ๖ ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน • ตัวชี้วัดความสำเร็จ • ดัชนีความสงบสุข • สัดส่วนรายได้ระหว่างกลุ่มประชากรที่มีรายได้สูงสุด • ร้อยละ ๑๐ กับกลุ่มที่มีรายได้น้อยร้อยละ ๑๐ • การถือครองที่ดินของคนกลุ่มต่างๆ • ดัชนีภาพลักษณ์การทุจริตประพฤติมิชอบ • อัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ • อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ • จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ย • ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน • ดัชนีความอบอุ่นของครอบครัว • อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ • อัตราเงินเฟ้อ • ผลิตภาพการผลิตรวม • อันดับความสามารถในการประกอบธุรกิจ • ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ • ร้อยละของพื้นที่ป่าไม้ต่อพื้นที่ประเทศ • ร้อยละขององค์กรชุมชนที่ดำเนินการด้านทรัพยากรฯ ๕ ภูมิคุ้มกัน เป้าหมาย ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  ภาคเกษตรเป็นฐานรายได้หลักและความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ  การพัฒนาประเทศให้อยู่บนฐานความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย  สังคมไทยมีค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดีงาม  ชุมชนเป็นกลไกที่มีความสามารถในการบริหารจัดการ มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และเชื่อมโยงกันเป็นสังคมสวัสดิการ • ความสงบสุขของสังคมไทยเพิ่มขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ การประกอบอาชีพ การเข้าถึงแหล่งทรัพยากร และกระบวนการยุติธรรม ลดความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชน เพิ่มคะแนนภาพลักการทุจริตคอรัปชั่นให้ไม่ต่ำกว่า ๕.๐ คะแนน • ลดอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ ลดอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ เพิ่มจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทย ผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาหลักสูงกว่าร้อยละ ๕๐ และความอบอุ่นของครอบครัวเพิ่มขึ้น • เศรษฐกิจเติบโตเฉลี่ย ร้อยละ ๕.๐ ต่อปี อัตราเงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมาย ผลิตภาพการผลิตรวมสูงขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๓ ต่อปี เพิ่มขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจ รักษาปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารให้พอเพียงต่อความต้องการของผู้บริโภค และลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

  22. ประเด็นการบรรยาย บทบาท ภารกิจของ สศช. 1 2 2 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 - 10 การจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 3 การขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 สู่การปฏิบัติ 4 แผนพัฒนาภาคกลาง ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11

  23. สรุปบทเรียนจากการบริหารจัดการแผนพัฒนาฯ ที่ผ่านมา

  24. การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการบริหารจัดการแผนฯ 11 สู่การปฏิบัติ 2 1 3 ข้อจำกัดการบริหารการพัฒนาประเทศที่ผ่านมา ความเสี่ยง ข้อจำกัด ปัจจัยเสริมประสิทธิภาพการบริหารจัดการ • นำแผนพัฒนาฯ ไปใช้ประโยชน์อย่างจริงจังในทางปฏิบัติมีน้อย • จัดสรรงบประมาณไม่สอดคล้องกับการประกาศใช้แผนพัฒนาฯ • จัดสรรงบประมาณลงสู่พื้นที่มากขึ้น แต่ มีข้อจำกัดด้านการบริหารการใช้จ่ายที่ไม่เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพสูงเท่าที่ควร • กลไกการขับเคลื่อนแผนพัฒนาประเทศขาดการกำกับดูแลในภาพรวม • ทุจริตคอร์รัปชั่นส่งผลต่อประสิทธิภาพและความเชื่อมั่นในระยะยาว • ภาคราชการมีบทบาทสูง แต่รวมศูนย์ที่ส่วนกลาง • หน่วยงานระดับภาคไม่สามารถปรับตัวกับมิติ/รูปแบบการพัฒนาใหม่ • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ • ภาคราชการมีเครื่องมือ/วิธีการใหม่ๆ ด้านการกระจายอำนาจที่เสริมให้การบริหารราชการส่วนภูมิภาค/ท้องถิ่นมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสนับสนุนการพัฒนาในระดับพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม • ภาคชุมชน/ประชาชนเข้มแข็ง และมีโอกาสในการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการประเทศเพิ่มขึ้น • ชุมชนมีข้อจำกัดในการจัดทำแผนชุมชนให้เชื่อมโยงกับแผนระดับอื่นๆ ในพื้นที่ • ภาคธุรกิจเอกชนตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการพัฒนา และดำเนินธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคม / เพื่อสังคมมากขึ้น • เอกชนมีบทบาทมากขึ้น แต่อยู่ในวงจำกัดเฉพาะด้านธุรกิจขนาดใหญ่ • สถาบันการศึกษา (มหาวิทยาลัยในส่วนกลาง) หน่วยงานวิจัย มีบทบาทน้อยในการร่วมพัฒนาท้องถิ่น • ภาควิชาการตื่นตัวและได้รับการยอมรับมากขึ้นในฐานะแกนหลักของการพัฒนา

  25. แนวทางการขับเคลื่อนแผนฯ สู่การปฏิบัติ

  26. ประเด็นการพัฒนาสำคัญตามยุทธศาสตร์ประเด็นการพัฒนาสำคัญตามยุทธศาสตร์ ประเด็นการพัฒนา แผนระดับรอง กลไก/เจ้าภาพ 1 พัฒนาท่องเที่ยวอย่างมีคุณภาพ แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ คกก.นโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ*/กระทรวงท่องเที่ยวและการกีฬา 2 บริหารจัดการน้ำอย่างเป็นองค์รวม แผนบริหารจัดการน้ำท่วม น้ำแล้ง คกก. ทรัพยากรน้ำแห่งชาติ/กรมทรัพยากรน้ำ ทส. 3 เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 12 พันธสัญญาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ คกก. นโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งชาติ/ สนง .เศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งชาติ (กศส.) สลน. 4 พัฒนาระบบโลจิสติกส์ แผนแม่บทการพัฒนาโลจิกติกส์ คกก. พัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) /สศช. * ตาม พ.ร.บ. นโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2551 การบูรณาการในส่วนกลาง : ประเด็นยุทธศาสตร์แผนฯ 11 และแผนระดับอื่นๆ

  27. ความเชื่อมโยงระหว่างกลไกระดับชาติ ภารกิจ และพื้นที่ ยุทธศาสตร์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ แผนกระทรวง / กรม ล่างสู่บน R&D ประเด็นการพัฒนาสำคัญ คณะกรรมการระดับชาติชุดต่างๆ อาทิ บนลงล่าง คณะกรรมการเศรษฐกิจสร้างสรรค์ คณะกรรมการทรัพยากรน้ำ คณะกรรมการโลจิสติกส์ คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน ภารกิจหน่วยงาน • แผนจังหวัด/กลุ่มจังหวัด • แนวทางพัฒนาภาค สู่ระดับพื้นที่ จังหวัดเป็นจุดประสาน • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น • ภาคเอกชน กลไกนอกภาครัฐอื่นๆ • ชุมชน

  28. บทบาทจังหวัด การจัดทำแผนจังหวัด/กลุ่มจังหวัด จำเป็นต้องรู้กรอบนโยบายตั้งแต่แผนชาติ และต้องมาจากความต้องการของท้องถิ่นและชุมชน ทิศทางการพัฒนาประเทศในภาพรวม Top-Down แผนชาติ กรอบยุทธศาสตร์ภาค แผนกลุ่มจังหวัด แผนจังหวัด/กลุ่มจังหวัดเป็นจุดบูรณาการ Top-Down & Bottom Up แผนจังหวัด แผนจังหวัด แผนจังหวัด องค์ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร ภูมิปัญญาท้องถิ่น แผนอำเภอ แผนอำเภอ แผนอำเภอ แผนอำเภอ แผนอำเภอ แผนอำเภอ แผนท้องถิ่น/ตำบล แผนท้องถิ่น/ตำบล แผนท้องถิ่น/ตำบล ความต้องการของท้องถิ่น/ชุมชน Bottom Up แผนชุมชน แผนชุมชน แผนชุมชน แผนชุมชน แผนชุมชน อำเภอเป็นตัวเชื่อมแผนท้องถิ่น/ชุมชน ไปสู่แผนจังหวัด/กลุ่มจังหวัด

  29. บทบาทท้องถิ่น อปท. เป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด ประชาชนทุกพื้นที่ ทุกภูมิภาค มีความเกี่ยวข้องกับ อปท. ในพื้นที่นั้นๆ ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งเสียชีวิต ดังนั้นท้องถิ่นจึงมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทุกคน โดยเฉพาะบทบาทการบริการสาธารณะทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน การบริการน้ำประปา ไฟฟ้า และถนน รวมทั้งด้านคุณภาพชีวิต เช่น การดูแลผู้สูงอายุเด็กและเยาวชน สนับสนุนด้านการศึกษา ช่วยเหลือผู้ป่วย ผู้พิการ ตลอดจนการช่วยแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน การบูรณาการแผนชุมชนเข้ากับแผนท้องถิ่น แผนจังหวัด/กลุ่มจังหวัด เป็นแนวทางในการจัดทำแผนท้องถิ่น งบกระทรวง ท้องถิ่น งบจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ปัญหา/ความต้องการ แผนท้องถิ่น งบท้องถิ่น ผู้นำท้องถิ่น/สภา อบต./เทศบาล/อบจ. สภาองค์กรชุมชน อบจ. เทศบาล อบต. หมู่บ้านชุมชน หมู่บ้าน/ชุมชน งบท้องถิ่น ปัญหา/ความต้องการ แผนชุมชน งบรัฐลงชุมชน ผู้นำชุมชน/กรรมการหมู่บ้าน/ประชาคม

  30. ระบบการติดตามและประเมินผลการพัฒนาประเทศระบบการติดตามและประเมินผลการพัฒนาประเทศ คณะรัฐมนตรี วิเคราะห์/จัดทำรายงาน ปรับแผน/การจัดสรรงบประมาณ/แนวทางดำเนินงาน สศช. ติดตามประเมินผลแผนระดับชาติ คณะกรรมการระดับชาติ ท้องถิ่น / ชุมชน /ภาคประชาชน ติดตามประเมินผลแผนระดับรอง ติดตามประเมินผลระดับชุมชน • กนจ./กกภ. • กลไกตรวจสอบอื่น ๆ ติดตามประเมินผลระดับพื้นที่/ จังหวัด พัฒนาฐานข้อมูลเพื่อการติดตามและประเมินผลการพัฒนาประเทศอย่างมีส่วนร่วม

  31. ประเด็นการบรรยาย บทบาท ภารกิจของ สศช. 1 2 2 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 - 10 การจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 3 การขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 สู่การปฏิบัติ 4 แผนพัฒนาภาคกลาง ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11

  32. แนวทางการพัฒนาภาคกลางในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 • สภาพทั่วไป • สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม • ศักยภาพและโอกาส ปัญหาและข้อจำกัดการพัฒนา • ทิศทางการพัฒนาภาคกลาง • ทิศทางการพัฒนากลุ่มจังหวัด

  33. สภาพทั่วไปภาคกลาง ภาคกลางประกอบด้วย 25 จังหวัด 6 กลุ่มจังหวัด • ขนาดพื้นที่ 102,336 ตารางกิโลเมตร หรือ 63.96 ล้านไร่ คิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 5 ของประเทศ • ประชากร 15.74 ล้านคน (ปี 53) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.6 ของประเทศ (63.9 ล้านคน) • ความหนาแน่นของประชากร 154 คนต่อตารางกิโลเมตร หนาแน่นมากกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ (124 คนต่อตารางกิโลเมตร) • ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มน้ำ สภาพดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงมีพื้นที่ป่าไม้ ร้อยละ 29.5 ของพื้นที่ภาค และมีลุ่มน้ำหลัก 10 ลุ่มน้ำ : เจ้าพระยา ป่าสัก ท่าจีน แม่กลอง บางปะกง ฯลฯ • โครงสร้างพื้นฐาน • ถนน :พหลโยธิน มิตรภาพ สุขุมวิท • รถไฟ:สายเหนือ อีสาน ตะวันออก ใต้ และแม่กลอง • ท่าเรือ:แหลมฉบัง มาบตาพุด ศรีราชา ประจวบฯ • สนามบิน :สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา

  34. สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ ภาคกลางมีบทบาทต่อเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศเป็นอันดับหนึ่ง มูลค่า GRP 47.7 % ของ GDP แต่มีปัญหาสำคัญ 2 ประการ ๑ ความไม่สมดุลและยั่งยืนของการพัฒนา • เศรษฐกิจพึ่งพิงภาคอุตสาหกรรม ที่อาศัยทุน และเทคโนโลยีจากต่างประเทศสูง ขาดภูมิคุ้มกันที่ดี มีภาวะความเสี่ยงจากผลกระทบภายนอกที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วและมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น นอกจากนี้การพัฒนาอุตสาหกรรมยังทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดการเสื่อมโทรม ๒ มีความเหลื่อมล้ำด้านการพัฒนาและรายได้ระหว่างพื้นที่

  35. เศรษฐกิจเติบโตสูง โดยพึ่งพิงภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก • GRP 3,944,764ล้านบาท(ณ ราคาประจำปี) • 2,033,368 ล้านบาท (ณ ราคาคงที่) • Growth (ปี48-52) = 4.5 สูงกว่าประเทศ (3.0 %) • โครงสร้างการผลิตหลัก อุตสาหกรรม 60.9 % ขนส่งฯ 8.7 % การค้า 6.7 % เกษตร 5.3 % • รายได้ต่อหัว 248,523 บาทสูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศ (135,145 บาท) • ฐานเศรษฐกิจหลัก สมุทรปราการ 17.3 % อยุธยา 12.8 % ชลบุรี 11.7 % ระยอง 10.6 %

  36. ศักยภาพด้านอุตสาหกรรมศักยภาพด้านอุตสาหกรรม ยานยนต์ อาหาร&เครื่องดื่ม อุปกรณ์เครื่องมือวิทยุ/โทรทัศน์/สื่อสาร เครื่องจักรสำนักงาน/เครื่องทำบัญชี/เครื่องคำนวน การผลิตถ่านโค้ก/ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม & เชื้อเพลิงปรมาณู แหล่งอุตสาหกรรมหลัก • มูลค่าอุตฯ 60.9 %ของ GRP ขยายตัวเฉลี่ย 3.7 %ต่อปี • ฐานอุตฯ สมุทรปราการ 19.0 %อยุธยา 18.1 %สมุทรสาคร 12.9 % ชลบุรี 11.1 % ปทุมธานี 10.3 % ระยอง 8.6 % • อุตฯสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรสำนักงาน 16.2 % ยานยนต์ 12.6 % อุปกรณ์วิทยุ/โทรทัศน์/การสื่อสาร 10.4 % เครื่องจักรและอุปกรณ์ 7.1 % ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม6.9 % และอาหาร 6.3 % • ปัญหา • ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน คุณภาพแรงงานไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด • ปัญหาการจัดหาพื้นที่รองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เนื่องจากมักได้รับการต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่ • การขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการควบคุมมลพิษจากโรงงานอุตฯทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมพื้นที่ใกล้เคียง • การเพิ่มผลิตภาพการผลิต (Productivity) ด้วยนวัตกรรมยังมีน้อยมาก

  37. ศักยภาพด้านการขนส่งฯ • สาขาการขนส่งฯ 8.7 %ของ GRP ขยายตัวเฉลี่ย 17.5 %ต่อปีสัดส่วน 42.7 %ของประเทศ • ภาคกลางได้รับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องมากกว่าภาคอื่นๆ โดยเฉพาะพื้นที่ ESB • ปัญหาการขนส่งคือ จราจรติดขัดในพื้นที่เมืองและแหล่งอุตฯ /ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการขนส่งเพิ่มขึ้น ต้องเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการและมาตรฐานของระบบโลจิสติกส์อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้การลำเลียงสินค้ามีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิต ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและสิ้นเปลืองพลังงาน

  38. ศักยภาพด้านการค้าฯ แหล่งการค้าชายแดนที่สำคัญ แหล่งการค้าชายแดนที่มีศักยภาพ ปี 2552 % Gr (% Share) ตราด เจดีย์สามองค์ บ้านอิต่อง สระแก้ว กาญจนบุรี กาญฯ บ่องตี้ จันทบุรี ทวาย บ้านพุน้ำร้อน สระแก้ว คลองลึก ประจวบฯ บ้านแหลม บ้านผักกาด จันทบุรี 0.003 ตราด สิงขร หมายเหตุ : กาญฯนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากพม่ามูลค่าสูง ประจวบคีรีขันธ์ บ้านหาดเล็ก • ผลิตภัณฑ์สาขาการค้าฯ 6.7 %ของ GRP ขยายตัวเฉลี่ย 4.1 %ต่อปี • แหล่งการค้าฯสำคัญ ชลบุรี 11.2 % สมุทรปราการ 8.6 %ปราจีนบุรี 8.1 % • มูลค่าการค้าชายแดน 21.2 % ของประเทศ เป็นการค้ากับพม่า 66.8 %และกัมพูชา 33.2 % ขยายตัวเฉลี่ยประมาณ 10 % ต่อปี ภาคกลางมีโอกาสและศักยภาพการค้าชายแดนจากโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวายและนิคมอุตฯหลังท่าเรือ และการเปิดเส้นทางเชื่อมโยงแนวเศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor) พม่า-ไทย-เวียตนาม โดยผ่านทางบริเวณบ้านพุน้ำร้อน กาญจนบุรี จะทำให้ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจ รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับการพัฒนาพื้นที่ชายแดนทางตะวันออกของภาค จึงต้องเตรียมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและความพร้อมด้าน Logistics อื่นๆรองรับการพัฒนาภูมิภาคอาเซียนและส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องต่อเนื่องในอนาคต

  39. ศักยภาพด้านการเกษตร ชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง สระบุรี กาญจนบุรี อยุธยา นครนายก นนทบุรี ปทุมธานี ปราจีนบุรี นครปฐม สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ราชบุรี สมุทรสาคร สมุทรปราการ สมุทรสงคราม ชลบุรี เพชรบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ข้าว ประจวบคีรีขันธ์ ผัก สุกร อ้อย ผลไม้ ยางพารา สินค้าเกษตรที่มีศักยภาพ (% Share) % Gr ประมงทะเล 19.2 % ยางพารา 6.5 % อ้อย 6.0 % สุกร 6.0 % ผลไม้ 6.0 % ข้าว 22.3 % ผัก 5.9 % ประมงทะเล • มูลค่าสาขาเกษตรฯ 5.3 %ของ GRP ขยายตัวเฉลี่ย 2.6 %ต่อปี ฐานการผลิตสมุทรสาคร 8 % สุพรรณบุรี 7.3 % ชลบุรี 6.9 %และระยอง 6.3 % • ผลผลิตสำคัญ (1) ข้าว 22.3 %(2) ประมงทะเล 19.2 %(3) ยางพารา 6.5 %(4) สุกร 6 %(5) อ้อย 6 %(6) ผลไม้ 6 %(7) ผัก 5.9 % • ปัญหาราคาสินค้าเกษตรผันผวนและหรือราคาตกต่ำ ราคาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น คุณภาพดินเสื่อมคุณภาพจากการใช้สารเคมี สารเคมีตกค้างในผลผลิตส่งผลกระทบต่อการส่งออก ตลอดจนความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อผลผลิต และปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งที่มีความรุนแรงมากขึ้น

  40. ศักยภาพด้านการท่องเที่ยวศักยภาพด้านการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว • สาขาโรงแรมและภัตตาคาร 1.3 % ของ GRP 16.7 %ของประเทศ ขยายตัวเฉลี่ย 3.6 % ต่อปี • จำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวภาคกลาง 44.7 ล้านคน หรือ 35.8 %ของประเทศ จังหวัดที่มีนักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวมากที่สุดของภาค ได้แก่ ชลบุรี ร้อยละ 12.6 รองลงมาคือ กาญจนบุรี ร้อยละ 10.3 และเพชรบุรี ร้อยละ 8.8 • รายได้จากการท่องเที่ยว 116.3 แสนล้านบาท) สัดส่วนรายได้ 16.2 % ของประเทศ จังหวัดที่สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวสูงที่สุดของภาค ได้แก่ ชลบุรี ร้อยละ 41.1 รองลงมาคือ ระยอง ร้อยละ 9.3 และเพชรบุรี ร้อยละ 8.2 • ระดับการใช้จ่ายในพื้นที่ไม่สูงมากนัก แม้ว่ามีจำนวนผู้มาท่องเที่ยวสูงเป็นอันดับ 1 ของประเทศ แต่รายได้อยู่อันดับ 3 รองจากกรุงเทพฯและภาคใต้ • ภาคกลางมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมายและหลากหลาย แต่ระยะเวลาพำนักเฉลี่ยต่ำกว่าพื้นที่ภาคอื่นๆ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เดินทางได้สะดวกสามารถไปเช้าเย็นกลับ และแหล่งท่องเที่ยวบางแห่งเริ่มเสื่อมโทรมจากการขยายตัวที่เน้นปริมาณนักท่องเที่ยวและการสร้างรายได้ ทำให้ไม่มีการเตรียมความพร้อมของขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว

  41. สถานการณ์ด้านสังคม สภาพสังคมโดยทั่วไปของภาคกลางมีลักษณะผสมผสานระหว่างวิถีชีวิตชนบทแบบสังคมเกษตรกรรมเชิงพาณิชย์กับสังคมเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปตามการเจริญเติบโตทางการค้า การขยายตัวของธุรกิจและอุตสาหกรรม สังคมชนบทเปลี่ยนเป็นสังคมเมือง สังคมเอื้ออาทรไปสู่การดำรงชีวิตแบบตะวันตก ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินต่ำ ครอบครัวอ่อนแออัตราหย่าร้างสูง

  42. โครงสร้างประชากร • มีแนวโน้มจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โครงสร้างประชากร • ภาคกลางกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยในระยะ 10 ปีข้างหน้า ภาคกลางจะมีอัตราการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเร็วกว่าในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้สัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นมากเป็นร้อยละ 17.0 ในปี 2563 ขณะที่สัดส่วนวัยแรงงานมีแนวโน้มลดลงภาระพึ่งพิงจะเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน • สัดส่วนวัยแรงงานมีแนวโน้มลดลงจะส่งผลกระทบต่อศักยภาพในการผลิตของภาค ดังนั้น จึงต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนในการเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรถนะกำลังแรงงาน เพื่อให้สามารถรักษาระดับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและดูแลผู้อยู่ในภาวะพึ่งพิงได้

  43. การศึกษา • เด็กและเยาวชนของภาคกลางได้เข้าเรียนในระบบโรงเรียนมากขึ้น • ประชาชนมีอัตราการเรียนรู้เพิ่มขึ้น • จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยเพิ่มขึ้น แต่ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษายังต่ำกว่าเกณฑ์ • จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 9.0 ปี • คุณภาพการศึกษายังไม่น่าพอใจ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าร้อยละ 50

  44. การสาธารณสุข ประชาชนมีโอกาสได้รับบริการสุขภาพดีกว่าเดิม แต่มีปัญหาสุขภาพอยู่ในเกณฑ์สูงกว่าภาพรวมทั้งประเทศ • ภาระของแพทย์ 1 คนต่อประชากรในภาคกลางลดลงเล็กน้อย จาก 3,058 คน ในปี 2549 เป็น 2,879 คนในปี 2552 • ปัญหาสุขภาพมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะอัตราผู้ป่วย 5 โรคสำคัญ ตามเป้าหมายแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 คือ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองใหญ่ โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง รุนแรงมากขึ้นเป็นลำดับ และอัตราผู้ป่วยในภาคกลางสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของประเทศในเกือบทุกโรคอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมีความเกี่ยวโยงกับพฤติกรรมการบริโภค รูปแบบการใช้ชีวิต ขาดการออกกำลังกาย การประกอบอาชีพ และสภาพแวดล้อม • ปัญหาการเจ็บป่วยจากอุบัติเหตุการจราจรและขนส่งในระดับสูงเนื่องจากการเดินทางและขนส่งที่หนาแน่นตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจและเป็นเส้นทางผ่านไปยังภาคอื่น ๆ

  45. มีอัตราการหย่าร้างเพิ่มขึ้นมีอัตราการหย่าร้างเพิ่มขึ้น • อัตราการหย่าร้างสูงขึ้นเล็กน้อยจาก 5.29 คู่ เป็น 5.82 คู่ต่อพันครัวเรือน • มีความเสี่ยงด้านความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากขึ้น • ในช่วงปี 2549-2552 อัตราคดีอาชญากรรม 3 กลุ่ม ได้แก่ คดีชีวิต ร่างกาย และเพศ คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ และคดียาเสพติด ที่เกิดขึ้นในภาคกลางสูงเป็นประมาณ 1.6 เท่าของอัตราเฉลี่ยทั้งประเทศ เนื่องจากหลายจังหวัดมีพื้นที่เมืองประชากรหนาแน่นตามการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและบริการ และมีประชากรแฝงจำนวนมาก ปัญหายาเสพติดรุนแรงขึ้นมาก • สัดส่วนคนจนลดลง สัดส่วนครัวเรือนที่เป็นหนี้ลดลงแต่มูลค่าหนี้สูงขึ้น • สัดส่วนคนจนในภาคกลางลดลงจากร้อยละ 3.3 ในปี 2549 เหลือร้อยละ 2.5 ในปี 2552 จำนวนคนจนหรือประชากรที่มีรายจ่ายเพื่อการบริโภคต่ำกว่าเส้นความยากจนลดลงจาก 5.3 แสนคน เป็น 4.1 แสนคน • หนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนที่เป็นหนี้เพิ่มขึ้นเป็น 263,879 บาท หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 8.4 ต่อปี

  46. สถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม พื้นที่ป่าไม้ สัดส่วนพื้นที่ป่าไม้ต่อพื้นที่ต่ำกว่าระดับความเหมาะสมต่อระบบนิเวศ ทรัพยากรดิน เสื่อมโทรม ทรัพยากรน้ำ มีปัญหาขาดแคลนน้ำ และคุณภาพต่ำกว่าเกณฑ์ในบางพื้นที่ การกัดเซาะชายฝั่ง มีความรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณอ่าวไทยตอนบน ขยะ ขยะมีแนวโน้มสูงขึ้น

  47. ด้านทรัพยากรธรรมชาติ • ทรัพยากรน้ำ • ภาคกลางโดยรวมมีทรัพยากรน้ำน้อยลง เนื่องจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่จำนวน 11 อ่าง สามารถเก็บกักน้ำได้ 25,654 ล้านลบ.ม.ในปี 2553 และลดลงเหลือ 21,095 ล้านลบ.ม.ในปี 2553 โดยที่ภาคตะวันออกยังคงประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เนื่องจากมีการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมการผลิต การท่องเที่ยว และการเพิ่มขึ้นของชุมชนอย่างต่อเนื่อง • ทรัพยากรดิน • ผลจากการขยายตัวของชุมชม รวมทั้งโรงงานอุตสาหกรรม ส่งผลให้พื้นที่ดินดี หรือพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับทำการเกษตรลดลง • สภาพดินยังคงมีสภาพค่อนข้างเสื่อมโทรม กล่าวคือ พื้นที่ 34.06 ล้านไร่ หรือ ร้อยละ 53.2 มีลักษณะและคุณสมบัติที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต โดยเป็นพื้นที่ดินตื้น 9.96 ล้านไร่ พื้นที่ดินเปรี้ยวจัด 5.32 ล้านไร่ และพื้นที่ดินเค็ม ซึ่งพบชั้นดานเกลือ หรือดินเค็มชายทะเลอีก 0.62 ล้านไร่ • ทรัพยากรป่าไม้ • พื้นที่ป่าไม้เพิ่มขึ้นจาก 17.77 ล้านไร่ในปี 2549 เป็น 18.87 ล้านไร่ในปี 2552 คิดเป็นร้อยละ 29.5 ของพื้นที่ภาค แต่ยังต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนฯ 10 ว่าพื้นที่ป่าไม้ควรมีสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 33 ของประเทศ • ทรัพยากรทะเล และชายฝั่ง • มีการกัดเซาะชายฝั่งเป็นระยะทาง 201.8 กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 23.3ของพื้นที่ชายฝั่งทะเลทั้งหมด • สมุทรปราการที่พื้นที่ชายฝั่งทะเลถูกกัดเซาะรุนแรงมากที่สุดถึง 30 กิโลเมตร

  48. ขยะมูลฝอย/ของเสียอันตรายขยะมูลฝอย/ของเสียอันตราย • ปริมาณขยะมูลฝอยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 8,396 ในปี 49 เป็น 8,745 ในปี 51 • กากของเสียอันตรายมีประมาณ 1.26 ล้านตัน ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มจังหวัดที่เป็นฐานอุตฯของภาคกลาง • คุณภาพน้ำ • แม่น้ำสายหลักส่วนใหญ่เสื่อมโทรม โดยเฉพาะเจ้าพระยาตอนล่าง ท่าจีนตอนกลางและตอนล่าง เนื่องจากเป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ และยังมีน้ำเสียจากโรงงานอุตฯและฟาร์มเลี้ยงสุกรที่ปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำโดยไม่มีการบำบัด • คุณภาพน้ำทะเลในพื้นที่อ่าวไทยตอนในบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา จ.สมุทรปราการและปากแม่น้ำท่าจีน จ.สมุทรสาคร มีคุณภาพน้ำในระดับเสื่อมโทรม • คุณภาพอากาศ • พื้นที่ที่ยังคงมีปัญหาอย่างต่อเนื่อง คือ บริเวณมาบตาพุด จ.ระยอง ซึ่งได้รับผลกระทบจากสารอินทรีย์ระเหยง่าย และฝุ่น และพื้นที่ประสบกับปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก คือสระบุรี ราชบุรี และสมุทรปราการ • ภัยธรรมชาติ • ภาคกลางได้ประสบกับปัญหาอุทกภัยอย่างต่อเนื่องทุกปี เนื่องจากปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า และภาวะน้ำหลากจากภาคเหนือในฤดูฝน • ภัยแล้ง ปี 52 มีพื้นที่ที่ประสบภัย 7,945 หมู่บ้าน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 43,142 ไร่ มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 24 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ถึงร้อยละ 216.6 ด้านสิ่งแวดล้อม

  49. บริบทการเปลี่ยนแปลงที่กระทบภาคกลางบริบทการเปลี่ยนแปลงที่กระทบภาคกลาง • เร่งยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีสะอาด • ยกระดับคุณภาพแรงงานในภาคการผลิตโดยเร่งด่วนเพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มการผลิตที่ทันสมัย ปลอดภัย และแข่งขันได้ กฎ กติกาใหม่ และการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี • จะต้องมีการเตรียมความพร้อมในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะการสร้างแรงงานในสาขาต่างๆให้มีความรู้และทักษะด้านการทำธุรกิจและการค้าระหว่างประเทศ การรวมกลุ่มศก. และการสร้างประชาคมอาเซียน • ความต้องการการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุจะมีมากขึ้น จึงควรให้ความสำคัญและมีความตื่นตัวในการดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุมากขึ้น โดยเฉพาะการวางแผนกำหนดแนวทางการพัฒนาให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมทั้งในด้านการพัฒนาอาชีพและการดูแลสุขภาพ • แรงงานภาคเกษตรจะขาดผู้รับช่วงต่อ แรงงานวัยหนุ่มสาวจะทำโรงงานและงานธุรกิจในเขตเมืองเป็นหลัก จำเป็นต้องมีการพิจารณาแนวทางในการปรับวิถีการเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่การเกษตรเชิงธุรกิจแบบสมัยใหม่ เพื่อสนับสนุนให้ภาคกลางเป็นแหล่งการเกษตรที่สร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและสร้างรายได้ให้กับประเทศ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกและพลังงาน • ภัยพิบัติ/ภัยธรรมชาติรุนแรงขึ้น

  50. จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภัยคุกคาม

More Related