700 likes | 3.36k Views
ทฤษฎีหลักสูตรพลศึกษา. โดย รองศาสตราจารย์ ดร . วาสนา คุณาอภิสิทธิ์ คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2548-2550. ทฤษฎีหลักสูตรพลศึกษา.
E N D
ทฤษฎีหลักสูตรพลศึกษา โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วาสนา คุณาอภิสิทธิ์ คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2548-2550
ทฤษฎีหลักสูตรพลศึกษา ความหมายของทฤษฎี ตามพจนานุกรมภาษาไทย หมายถึง ความเห็น การเห็น การเห็นด้วยใจ ลักษณะที่คิดคาด เอาตามหลักวิชาเพื่อเสริมเหตุผลและรากฐานให้แก่ปรากฏการณ์ หรือข้อมูลในภาคปฏิบัติ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างมีระเบียบ
ความหมายของทฤษฎี ตามพจนานุกรมภาษาอังกฤษ คือ การอธิบายเกี่ยวกับหลักการทั่วไปทั้งทางศิลปะและวิทยาศาสตร์ (ตรงกันข้ามกับการปฏิบัติ) ทฤษฎีเป็นการให้เหตุผลประกอบการอธิบายความจริงหรือข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ต่างๆ เช่นทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วิน และทฤษฎีเป็นความคิดที่ไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลก็ได้ เช่น ลินน์ มีทฤษฎีว่าการสวมหมวกทำให้ผู้ชายหัวล้าน
บางความหมายมีว่า ทฤษฎีเป็นมุมมองด้านจิตใจ เป็นความคิดหรือการว่างแผนอยู่ในใจเกี่ยวกับวิธีทำอะไรหรือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาจเป็นระบบข้อความหรือของหลักการต่างๆ ที่รวบรวมเข้าไว้ด้วยการ • ทฤษฎีเป็นความคิดใดความคิดหนึ่งหรือรูปแบบความคิดหลายความคิดรวมกัน ทั้งนี้เพื่อตั้งใจอธิบายเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่าง ทฤษฎีมีรากฐานมาจากความจริง และการให้เหตุผลเชิงพินิจพิเคราะห์ แต่ถึงอย่างไรทฤษฎีก็ยังไม่ได้รับการพิสูจน์อย่างสมบูรณ์
องค์ประกอบของทฤษฎี ทฤษฎีมีองค์กระกอบ 3 มิติดังนี้ 1. สิ่งที่รู้แล้ว (Events of Known Dimensions) 2. สิ่งที่สมมติหรือคาดคะเนว่ารู้ (Events of AssumedDimensions) 3. สิ่งที่ยังไม่รู้ (Events of Unknown Dimensions) 1 2 3
สรุปความหมายของทฤษฎี ทฤษฎีเป็นแนวทางการปฏิบัติงานอย่างมีกฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผนเพื่อให้งานมีประสิทธิภาพ และพร้อมกันนั้น การปฏิบัติยังนำไปสู่ทฤษฎีได้อีกด้วย ถ้าการปฏิบัตินั้นได้ผลสม่ำเสมอ ทฤษฎีจึงเป็นสากล เพราะพิสูจน์ ทดลอง หาเหตุผลได้ สอดคล้องกับที่ แพนกราซิ และดาสต์ (Pangraziand Darst. 1985:31) กล่าวว่า ทฤษฎี คือรูปแบบที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกันของความคิด (Ideas) หรือความคิดรวบยอด (Concepts) ที่มีการอธิบายเกี่ยวกับวิชานั้นๆไว้อย่างมีระบบระเบียบ
ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีกับการปฏิบัติความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีกับการปฏิบัติ การปฏิบัติ ทฤษฎี การปฏิบัติ การปฏิบัติ การปฏิบัติ การปฏิบัติ ทฤษฎี การปฏิบัติ กฎเกณฑ์ การปฏิบัติ การวิจัย สูตร
ทฤษฎีการสอน • ทฤษฎีหลักสูตร (Curriculum Theory) คือ สิ่งที่ใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการตัดสินใจเกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย เนื้อหา โครงสร้าง ผลผลิต (การจัดลำดับ) และการประเมินผลเกี่ยวกับการว่างแผนหลักสูตร (Bain.1978) • ทฤษฎีหลักสูตรยังช่วยให้ผู้ว่างแผนหลักสูตรพลศึกษาเกิดความคิดหรือแนวคิดเกี่ยวกับการคัดเลือกและจัดเนื้อหาวิชาต่างๆ ช่วยในการคาดคะเน เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกันของเนื้อหาและกระบวนการสอน • ทฤษฎีการสอน (Instructional Theory) แตกต่างจากทฤษฎีหลักสูตรตรงที่มุ่งเน้นเฉพาะองค์ประกอบของกระบวนการเรียนการสอน(teaching-learning process) เกี่ยวข้องกับการที่ว่าทำอย่างไรจึงจะให้องค์ประกอบของการสอนมีผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน (Pangrazi and Darst.1985) • สรุป ทั้งทฤษฎีหลักสูตร และทฤษฎีการสอน จะไม่แยกออกจากกันต้องทำควบคู่กันไปเสมอ
ประโยชน์ของทฤษฎี 1.เกิดความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลกับข้อมูลซึ้งเป็นข้อเท็จจริงได้ 2.เกิดการแบ่งแยกหรือแบ่งชั้น(classification) หรือเกิดความคิดรวบยอด(concept)ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา 3.คาดคะเนข้อมูลหรือข้อเท็จจริงได้ 4.ทำให้มีการวิจัยค้นคว้าต่อเนื่อง 5.ใช้เป็นเหตุผลประกอบการอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆได้ 6.เป็นแนวทางปฏิบัติให้เกิดผลต่อไป
ทฤษฎีหลักสูตรพลศึกษา ทฤษฎีหลักสูตรพลศึกษา ทฤษฎีดั้งเดิม หรือทฤษฎีรูปแบบการเคลื่อนไหวต่างๆ ทฤษฎีระดับของการพัฒนา ทฤษฎีการสร้างแรงจูงใจหรือการกำหนดเป้าหมาย ทฤษฎีการสร้างความคิดรวบยอด ทฤษฎีวิเคราะห์การเคลื่อนไหว (Pangrazi, Drast, Corbin, Seidel, Jewett)
ทฤษฎีดั้งเดิมหรือ ทฤษฎีรูปแบบการเคลื่อนไหวต่างๆ (Traditional Theory, Activity – Centered Theory or Movement Forms Theory) (Siedentop. 1980b)
ทฤษฎีดั้งเดิมหรือทฤษฎีรูปแบบการเคลื่อนไหวต่างๆทฤษฎีดั้งเดิมหรือทฤษฎีรูปแบบการเคลื่อนไหวต่างๆ กิจกรรมเสริมสร้างร่างกาย กีฬาทีม เกมนันทนาการ กีฬาเดี่ยวหรือกีฬาในชีวิตประจำวัน กิจกรรมกลางแจ้ง เต้นรำ กิจกรรมทางน้ำ
ทฤษฎีดั้งเดิมหรือทฤษฎีรูปแบบการเคลื่อนไหวต่างๆทฤษฎีดั้งเดิมหรือทฤษฎีรูปแบบการเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นทฤษฎีที่เน้นกิจกรรมทางพลศึกษาเป็นศูนย์กลางและปฏิบัติกันมา จนเป็นประเพณีซึ่งแบ่งได้ดังนี้ •กีฬาทีม เช่น บาสเกตบอล ฟุตบอล • กีฬาเดี่ยวหรือกีฬาในชีวิตประจำวัน (lifetime sports)เช่น เทนนิส แบดมินตัน • เต้นรำ เช่น การเต้นรำพื้นเมือง ชนบท • กิจกรรมเสริมสร้างร่างกาย เช่น การวิ่งเหยาะๆ แอโรบิก • เกมนันทนาการ เช่น เทเบิลเทนนิส • กิจกรรมกลางแจ้ง เช่น จักรยาน สเกต • กิจกรรมทางน้ำ เช่น ว่ายน้ำ ดำน้ำ กีฬาทางน้ำต่างๆ
หลักสูตรที่ใช้ทฤษฎีดั้งเดิมนี้จะจัดกิจกรรมใน7ลักษณะอย่างสมดุล รวมทั้งยังคำนึงถึงองค์ประกอบพื้นฐานเกี่ยวกับการนำไปปฏิบัติได้จริง เช่น ความสนใจของนักเรียน ความสนใจของครู สิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์และบรรยากาศการเรียน และในการแบ่งกลุ่มนักเรียนนั้นเป็นการแบ่งตามระดับชั้นมากกว่าแบ่งตามระดับความสามารถหรือระดับพัฒนาการ ให้นักเรียนได้มีโอกาสเลือกเรียนกิจกรรมพลศึกษาตามชอบ การเลือกเรียนแบบนี้ทำให้ครูและนักเรียนมีระดับความสนใจ ความกระตือรือร้น และแรงจูงใจมากขึ้น เป็นการพัฒนาด้านสังคม อารมณ์ สติปัญญา และร่างกาย
ทฤษฎีนี้แนะนำถึงรูปแบบการเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิดประโยชน์ภายใน หรือแรงจูงใจภายในและความพึงพอใจกิจกรรมต่างๆ จึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาถึงพื้นฐานด้านคุณประโยชน์ภายนอกหรือแรงจูงใจภายนอก
ทฤษฎีการสร้างความคิดรวบยอดทฤษฎีการสร้างความคิดรวบยอด (Conceptual Theory) (Corbin. 1984)
ทฤษฎีการสร้างความคิดรวบยอดทฤษฎีการสร้างความคิดรวบยอด สมรรถภาพของ ระบบไหลเวียนโลหิต วิธีออกกำลังกายที่ถูกต้อง ทักษะเกี่ยวกับสมรรถภาพ ความแข็งแรง การควบคุมไขมัน ความอดทน วิธีวางแผนโปรแกรม การออกกำลังกาย ความอ่อนตัว
เน้นเรื่องความแข็งแรงสมบูรณ์ (fitness) ด้วยการสอนแบบบรรยาย การทดสอบในห้องปฏิบัติการ และการพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายสำหรับใช้ในชีวิตประจำวันนอกจากนี้ยังเน้นเรื่องความกินดีอยู่ดีของมนุษย์(human wellness) ความกินดีอยู่ดี หมายถึงสภาพของสุขภาพที่สำคัญซึ่งเป็นกระบวนการต่อเนื่องตลอดชีวิต ทฤษฎีมุ่งเน้นที่ความรู้และความเข้าใจในสมรรถภาพทางกายและการกินดีอยู่ดีเป็นหลัก เน้นที่วิชาการมากกว่าทฤษฎีรูปแบบการเคลื่อนไหว (TheMovement Forms Theory)
ทฤษฎีวิเคราะห์การเคลื่อนไหวทฤษฎีวิเคราะห์การเคลื่อนไหว (Movement Analysis Theory) (Seidel et al.1980)
ทฤษฎีนี้อธิบายถึงองค์ประกอบของการเคลื่อนไหวในเรื่องของเวลา พื้นที่ แรง คาน องค์ประกอบของการเคลื่อนไหวจึงเป็นศูนย์กลางของการจัดโปรแกรมพลศึกษา การสอนก็มุ่งเน้นเกี่ยวกับแรง ความสมดุล การตี การเคลื่อนที่ เสถียรภาพ การทำงานของคานต่างๆ
ทฤษฎีนี้ยังเน้นเรื่องของนิยามศัพท์ ความรู้และการวิเคราะห์ความสามารถ การสอนวิธีโดยอ้อม ซึ่งเรียกว่า การแก้ปัญหา หรือการค้นพบความสามารถของตนเองจากคำแนะนำ(ไม่ใช้การสอน)ของครูเข้าไปด้วย เช่น การวิเคราะห์วิธีการเล่นฟุตบอล รู้จักตำแหน่งการยืนของคู่ต่อสู้ แต่ทฤษฎีนี้มีส่วนที่เหมือนกับทฤษฎีการสร้างความคิดรวบยอด คือ ถ้าใช้เวลาในการศึกษาและวิเคราะห์มากเท่าใดก็จะมีเวลาในการพัฒนาทักษะน้อยลงไปเท่านั้น
ทฤษฎีการสร้างแรงจูงใจ หรือ การกำหนดเป้าหมาย (Motive or Purpose Theory) (Jewett and Mullan. 1977)
ทฤษฎีการสร้างแรงจูงใจ หรือการกำหนดเป้าหมาย การเป็นผู้นำ การระบายอารมณ์ การแข่งขัน ความท้าทาย ความรู้สึก การทำงานเป็นทีม ประสิทธิภาพของระบบไหลเวียนเลือด และระบบหายใจ
ทฤษฎีนี้เน้นเป้าหมายหลัก 3 ประการคือ • พัฒนาการของคนแต่ละคน • สิ่งแวดล้อม • การปะทะสัมพันธ์กับสังคม (social interaction)
การแบ่งความสำคัญของเนื้อหาในแต่ละส่วนนั้นต้องทำอย่างระมัดระวังหากมีการเน้นส่วนใดส่วนหนึ่งมากเกินไป เนื้อหาอื่นๆที่เหลือจะลดลง ถ้าเน้นมากไปทำให้เวลาในการฝึกทักษะทางกายลดลง จุดมุ่งหมายสำคัญของโปรแกรมอาจลดลงได้ การมีความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมพลศึกษาไม่เหมือนกับการมีประสบการณ์เกี่ยวกับกิจกรรม พลศึกษา(การปฏิบัติ)
ทฤษฎีระดับของพัฒนาการทฤษฎีระดับของพัฒนาการ (Developmental Level Theory) (Gruelich and Pyle.1950; Hale. 1956)
ทฤษฎีระดับของพัฒนาการทฤษฎีระดับของพัฒนาการ ระดับประถมศึกษาตอนปลาย และมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับ ทักษะกีฬาเฉพาะอย่าง ทักษะเฉพาะ การจัดร่างกาย เกมต่างๆที่ดัดแปลง กลยุทธการเล่นกีฬา ทักษะการเคลื่อนไหว จากกีฬา ที่เคลื่อนที่ เต้นรำ ความรู้เกี่ยวกับกีฬา ทักษะการเคลื่อนไหว และการวางแผนการเล่น ที่ไม่เคลื่อนที่ การวัดเปอร์เซ็นต์ไขมัน ทักษะการจัดการเคลื่อนไหว ร่างกาย
ทฤษฎีนี้มีพื้นฐานมาจากแนวคิดที่ว่า กิจกรรมพลศึกษาที่แตกต่างกันประกอบกับวิธีการจัดกิจกรรมพลศึกษาเหล่านั้น ควรนำมาประกอบกันเป็นหลักสูตรให้ผู้เรียนที่มีพัฒนาการแตกต่างกันหลากหลายได้เรียน หรือผู้เรียนควรได้เรียนกิจกรรมพลศึกษาที่จัดขึ้นด้วยการคำนึงถึงพัฒนาการด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ และสติปัญญาของผู้เรียน ผู้เรียนจะมีความพร้อมหรือมีความสามารถที่จะปฏิบัติกิจกรรมหรือดัดแปลงกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับระดับพัฒนาการของตนเอง
พัฒนาการของโครงสร้างร่างกายและความเจริญเติบโตที่แตกต่างกันมีความสัมพันธ์อย่างมากกับความสำเร็จในการปฏิบัติทักษะในการเรียนพลศึกษาและกีฬาต่างๆพัฒนาการของโครงสร้างร่างกายและความเจริญเติบโตที่แตกต่างกันมีความสัมพันธ์อย่างมากกับความสำเร็จในการปฏิบัติทักษะในการเรียนพลศึกษาและกีฬาต่างๆ
องค์ประกอบ การนำทฤษฎีหลักสูตรไปปฏิบัติ ปรัชญาส่วนบุคคล พลศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา กีฬา การแข่งขันกีฬาในโรงเรียน และชมรมกีฬา เจ้าหน้าที่พลศึกษา การบริหารโรงเรียน งบประมาณและเงินทุน ชุมชน : ประชาชน และ ลักษณะภูมิอากาศ แผนงานของโรงเรียน อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก กฎระเบียบ และข้อบังคับ