280 likes | 476 Views
แบบคัดกรองนักเรียน ที่มีภาวะสมาธิสั้น บกพร่องทางการเรียนรู้ และออทิซึม KUS-SI Rating Scales: ADHD/LD/Autism (PDDs). ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสมุทรปราการ 20 พฤศจิกายน 2555. ภาวะสมาธิสั้น. กลุ่มอาการที่เป็นลักษณะสำคัญมี 3 ประการ คือ
E N D
แบบคัดกรองนักเรียนที่มีภาวะสมาธิสั้น บกพร่องทางการเรียนรู้ และออทิซึมKUS-SI Rating Scales: ADHD/LD/Autism (PDDs) ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสมุทรปราการ 20 พฤศจิกายน 2555
ภาวะสมาธิสั้น กลุ่มอาการที่เป็นลักษณะสำคัญมี 3 ประการ คือ 1. Inattention: สมาธิของเด็กจะมีช่วงสั้น ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับเรื่องใดได้นาน วอกแวกง่าย ประกอบด้วยอาการ - ไม่สามารถจดจ่อกับรายละเอียด หรือเลินเล่อในกิจกรรมที่โรงเรียน การทำงาน หรือกิจกรรมอื่น - มีความลำบากในการคงสมาธิในการประกอบการงานหรือการเล่น
- ไม่สามารถจดจ่อกับรายละเอียด - มักทำตามคำสั่ง งานที่โรงเรียน งานบ้าน หรือหน้าที่ในที่ทำงานไม่ครบ (โดยไม่ได้เกิดจากการต่อต้านหรือไม่เข้าใจคำสั่ง) - มักมีความลำบากในการจัดระบบงานหรือ กิจกรรม - มักเลี่ยง ไม่ชอบ หรือลังเลที่จะร่วมงานที่ต้องใช้ความใส่ใจพยายามหรือใช้สมาธิ - มักทำของที่จำเป็นต่อการทำงานหรือกิจกรรมหาย (สมุด ดินสอ หนังสือ เครื่องมือ ของเล่น)
2. Hyperactivity: ประกอบด้วยอาการ - มือเท้า มักยุกยิก นั่งไม่ติดเก้าอี้ - มักลุกจากที่นั่งในห้องเรียนหรือสถานการณ์อื่น ที่ต้องนั่งกับที่ - มักวิ่ง หรือปีนป่ายอย่างมาก ในที่ไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ (ในวัยรุ่น หรือผู้ใหญ่ อาจมีเพียงกระสับกระส่าย กระวนกระวาย) - มักมีความลำบากในการเล่น หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ แบบเงียบ ๆ
- มักมีอาการ “พร้อมที่จะไป” หรือทำเหมือน “ติดเครื่องยนต์” ตลอดเวลา - มักพูดมากเกินควร 3. Impulsively: ประกอบด้วยอาการ - มักชิงตอบคำถามก่อนที่จะถามจบ - มักมีความลำบากที่จะรอตามลำดับ - มักขัด หรือแทรกขึ้นระหว่างการสนทนาหรือการเล่นเกม
ภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ หมายถึง ภาวะความบกพร่องทางด้านความคิด (Cognitive) ในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน ซึ่งสามารถจัดรวมได้เป็น 5 ด้านใหญ่ๆ คือ การพูด ทั้งการฟังและการพูด การอ่าน การเขียน การให้เหตุผล และการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์
บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ • บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ได้แก่ บุคคลที่มีความผิดปกติในการทำงานของสมองบางส่วนที่แสดงถึงความบกพร่องในกระบวนการเรียนรู้ที่อาจเกิดขึ้นเฉพาะความสามารถด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน คือ การอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ ซึ่งไม่สามารถเรียนรู้ในด้านที่บกพร่องได้ ทั้งที่มีระดับสติปัญญาปกติ
การฟัง ไม่เข้าใจคำพูด หรือไม่สามารถจับใจความเรื่องที่ฟังได้ การพูด มักจะพูดเป็นคำ ๆ ไม่สามารถพูดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ การอ่าน มักอ่านข้ามคำ มีปัญหาการจำพยัญชนะที่คล้ายคลึงกัน เช่น ส และตัว ล ผ และตัว ฝ ลักษณะความบกพร่อง และไม่สามารถแยกเสียงสระได้ เช่น แสดง อ่านว่า แส – ดง แมลง อ่านว่า แม – ลง
การเขียน • มีความยากลำบากที่จะเขียนให้อยู่ในกรอบ เขียนตัวอักษรกลับด้าน และเขียนสะกดคำผิด • ปัญหาการบูรณาการของกล้ามเนื้อประสานสายตา • ความบกพร่องในความเข้าใจกฎเกณฑ์และความสัมพันธ์ระหว่างถ้อยคำในประโยค มีปัญหาในการรวบรวมหรือจัดระบบความคิด • การคิดคำนวณ • ไม่สามารถคิดคำนวณเลขที่สลับซับซ้อนได้ • ไม่สามารถเข้าใจความคิดรวบยอดในเรื่องต่าง ๆ เช่น การคูณ การหาร • มีปัญหาด้านมโนทัศน์เกี่ยวกับระยะหรือการคิดคำนวณที่เป็นปริมาณ
6. การให้เหตุผลและพฤติกรรมทางสังคม - พฤติกรรมที่เป็นรูปธรรม - ความสามารถจำแนกแยกแยะสิ่งต่างๆ - แยกแยะความสัมพันธ์ระหว่างส่วนย่อย-ส่วนรวม - ขาดความอยากรู้อยากเห็น - ความจำระยะสั้นและยาวไม่ดี - ขาดความพยายาม - พฤติกรรมซ้ำๆอยู่กับสิ่งเร้าหรือสภาพแวดล้อม - ไม่ยืดหยุ่น ต่อต้านเปลี่ยนแปลง
ตัวหนังสือมีขนาดไม่เท่ากัน • ตัวหนังสือเขียนในลักษณะมีช่องไฟไม่เท่ากัน • ตัวหนังสือเรียงซ้อนกัน ลักษณะงานของนักเรียน ด้านการเขียน
ลักษณะงานของนักเรียน ด้านการคิดคำนวณ
ภาวะออทิซึม เด็กออทิสติก แสดงความบกพร่องทางคุณภาพในด้าน : การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การสื่อสาร ความคิดและพฤติกรรมไม่ยืดหยุ่น พบก่อนอายุ 3 ขวบ
ลักษณะอาการที่เห็นเด่นชัดลักษณะอาการที่เห็นเด่นชัด • ความบกพร่องในการพัฒนาปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Failure to develop normal socialization) - ไม่สบตา - ชอบอยู่คนเดียว
ความบกพร่องในการสื่อสาร (Failure to communication) - พูดด้วยภาษาเฉพาะตัว - พูดเรื่องเดียวซ้ำๆ - พูดเลียนแบบ - ไม่เข้าใจภาษาพูดเปรียบเทียบ หรือเรื่องตลก - ไม่เข้าใจภาษาท่าทาง และสีหน้าของผู้อื่น - เมื่อต้องการสิ่งของจะใช้วิธีดึงมือผู้อื่นไปทำแทน
ความผิดปกติในการตอบสนองต่อสิ่งของและเหตุการณ์ (Abnormal relationships to objects and events) - ชอบมองวัตถุที่มีแสงสว่างหรือหมุนได้ และชอบหมุนตัวเอง - ชอบทำอะไรซ้ำๆ และไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง - รับประทานอาหารอย่างเดียวได้ตลอดทั้งสามมื้อ
- มีความสนใจสั้น ชอบดูภาพยนตร์โฆษณามากกว่าเป็นเรื่องๆ -ไม่แสดงปฏิกริยาตอบสนองต่อเสียงที่ได้ยิน
ความผิดปกติในการตอบสนองประสาทสัมผัส (Abnormal responses to sensory stimulation) - มีความไวต่อกลิ่น แสง เสียง รส หรือสัมผัส - ใช้การดมแทนการสัมผัส
- ไม่ชอบการกอด - ไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด ร้อน หนาว - ไม่สามารถป้องกันตัวเองจากอันตรายได้ - มีการตอบสนองที่ไม่ตรงกับสถานการณ์จริง - กลัวโดยไม่สมเหตุสมผล
พัฒนาการล่าช้าและแตกต่างจากเด็กปกติ (Developmental delays and differences) - ขาดจินตนาการ
- เข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมมากกว่านามธรรม- เข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมมากกว่านามธรรม
วั ส ดี ส โครงการวิจัย "การบ่งชี้ คัดกรอง วินิจฉัย และให้ความช่วยเหลือนักเรียนที่มีภาวะสมาธิสั้น บกพร่องทางการเรียนรู้ และออทิซึม"