1 / 44

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 25 5 0 พ . ร . บ . การศึกษาแห่งชาติ พ . ศ .2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 2)

กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาพิเศษ. ดร.สมพร หวานเสร็จ ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 25 5 0 พ . ร . บ . การศึกษาแห่งชาติ พ . ศ .2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545

enrique
Download Presentation

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 25 5 0 พ . ร . บ . การศึกษาแห่งชาติ พ . ศ .2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 2)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาพิเศษกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาพิเศษ ดร.สมพร หวานเสร็จ ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 พ.ร.บ. การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 นโยบายการจัดการศึกษาระดับ กระทรวง ส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น

  2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 กำหนดให้คนพิการจะได้รับการคุ้มครองสิทธิเสมอภาคกับคนทั่วไปในสังคม และให้คนพิการได้รับสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นที่เหมาะสมจากรัฐอีกด้วย รายละเอียดตามมาตราดังนี้ มาตรา 30 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิดเชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมือง อันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้

  3. มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่นการจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชนการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐมาตรา 54 บุคคลซึ่งพิการหรือทุพพลภาพ มีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสวัสดิการสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ

  4. มาตรา 80 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษาและวัฒนธรรม ดังต่อไปนี้ (1) คุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน สนับสนุนการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาปฐมวัย ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของสถาบันครอบครัวและชุมชน รวมทั้งต้องสงเคราะห์และจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผู้อยู่ในสภาวะยาก ลำบาก ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้

  5. พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 10 “การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน ในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาสำหรับผู้ซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ หรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล หรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิ และโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ

  6. มาตรา 38 ระบุให้ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา มีคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแล และส่งเสริม สนับสนุนให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครอบครัว องค์กรในชุมชน ฯลฯ ให้สามารถจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย

  7. พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550

  8. มาตรา 15 การกำหนดนโยบาย กฎ ระเบียบ มาตรการ โครงการ หรือวิธีปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน หรือบุคคลใดในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ จะกระทำมิได้

  9. การกระทำในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงการกระทำหรืองดเว้นกระทำการที่แม้จะมิได้มุ่งหมายให้เป็นการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการโดยตรง แต่ผลของการกระทำนั้นทำให้คนพิการต้องเสียสิทธิประโยชน์ที่ควรจะได้รับเพราะเหตุแห่งความพิการด้วย

  10. มาตรา 16 คนพิการที่ได้รับหรือจะได้รับความเสียหายจากการกระทำในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการตามมาตรา 15 มีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการให้มีคำสั่งเพิกถอนการกระทำ หรือห้ามมิให้กระทำการนั้นได้ คำสั่งของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด

  11. ...และหากการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการนั้นเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ศาลจะกำหนดค่าเสียหายในเชิงลงโทษให้แก่คนพิการไม่เกินสี่เท่าของค่าเสียหายที่แท้จริงด้วยก็ได้

  12. มาตรา 17 มาตรา 17 ในการใช้สิทธิตามมาตรา 16 คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ อาจขอให้องค์กรด้านคนพิการ เกี่ยวข้องเป็นผู้ร้องขอหรือฟ้องคดีแทนได้

  13. พระราชบัญญัติ การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการพ.ศ. 2551

  14. มาตรา 5 คนพิการมีสิทธิทางการศึกษา ดังนี้ ได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการจนตลอดชีวิต พร้อมทั้งได้รับเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา  เลือกบริการทางการศึกษา สถานศึกษา ระบบและรูปแบบการศึกษา โดยคำนึงถึงความสามารถ ความสนใจ ความถนัดและความต้องการจำเป็นพิเศษของบุคคลนั้น

  15. ได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้งการจัดหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้ การทดสอบทางการศึกษา ที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการแต่ละประเภทและบุคคล

  16. มาตรา 19 มาตรา 19 ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีหน้าที่ดำเนินการจัดการศึกษาโดยเฉพาะการจัดการเรียนร่วม การนิเทศ กำกับ ติดตาม เพื่อให้คนพิการได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้การดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์ ตามวรรคหนึ่ง ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้การสนับสนุนทรัพยากร องค์ความรู้ และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านแก่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

  17. มาตรา 6 มาตรา 6 ให้ครูการศึกษาพิเศษในทุกสังกัดมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษตามที่กฎหมายกำหนดให้ครูการศึกษาพิเศษ ครู และคณาจารย์ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ องค์ความรู้ การศึกษาต่อเนื่องและทักษะในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด

  18. มาตรา 3 มาตรา 3 วรรค 5 “ครูการศึกษาพิเศษ” หมายความว่า ครูที่มีวุฒิทางการศึกษาพิเศษสูงกว่าระดับปริญญาตรีขึ้นไป และปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน

  19. มาตรา 29 มาตรา 29 ให้ครูหรือบุคลากรทางการศึกษาที่ผ่านการอบรมวุฒิบัตรครูการศึกษาพิเศษตามหลักสูตรที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอนุมัติก่อนการประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้ เป็นครูการศึกษาพิเศษตามพระราชบัญญัตินี้ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้ที่ผ่านการอบรมวุฒิบัตรครูการศึกษาพิเศษ ตามหลักสูตรที่คณะกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาอนุมัติมีสิทธิได้รับแต่งตั้งเป็นครูการศึกษาพิเศษตามพระราชบัญญัตินี้

  20. มาตรา 7 มาตรา 7 ให้สถานศึกษาของรัฐและเอกชนที่จัดการ เรียนร่วม สถานศึกษาเอกชนการกุศลที่จัดการการศึกษาสำหรับคนพิการโดยเฉพาะ และศูนย์การเรียนเฉพาะคนพิการ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ได้รับเงินอุดหนุนและความช่วยเหลือเป็นพิเศษจากรัฐ หลักเกณฑ์และวิธีการในการรับเงินอุดหนุนและความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด

  21. มาตรา 8 มาตรา 8 ให้สถานศึกษาในทุกสังกัดจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล โดยให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ และต้องมีการปรับปรุงแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในประกาศกระทรวง สถานศึกษาในทุกสังกัดและศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการอาจจัดการศึกษาสำหรับคนพิการทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งการเรียนร่วม การจัดการศึกษาเฉพาะความพิการ รวมถึงการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพ การพัฒนาศักยภาพในการดำรงชีวิตอิสระ การพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็น การฝึกอาชีพ หรือการบริการอื่นใด

  22. สถานศึกษาใดปฏิเสธไม่รับคนพิการเข้าศึกษา ให้ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามกฎหมาย ให้สถานศึกษาในทุกสังกัดจัดสภาพแวดล้อม ระบบสนับสนุนการเรียนการสอน ตลอดจนบริการเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ที่คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ ให้สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาในทุกสังกัด มีหน้าที่รับคนพิการเข้าศึกษาในสัดส่วนหรือจำนวนที่เหมาะสม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด

  23. มาตรา 9 มาตรา 9 ให้รัฐจัดเงินอุดหนุนเพื่อส่งเสริมการวิจัยพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และการพัฒนาครู บุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและความสามารถในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ให้รัฐจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษาอื่นเป็นพิเศษให้เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการและสถานศึกษาที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการ

  24. มาตรา 10 มาตรา 10 เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ให้ราชการส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติ เทศบัญญัติ ข้อกำหนด ระเบียบหรือประกาศ แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

  25. มาตรา 3 วรรค 9 “ศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ” หมายความว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษานอกระบบ หรือตามอัธยาศัยแก่ คนพิการโดยเฉพาะ โดยหน่วยงานการศึกษานอกโรงเรียน บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการโรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์และสถาบันทางสังคมอื่นเป็นผู้จัด ตั้งแต่ระดับการศึกษาปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา อุดมศึกษาและหลักสูตรระยะสั้น

  26. ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมนคงของมนุษย์ เรื่อง ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยนาย อิสสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ

  27. ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ ข้อ ๓ ให้กำหนดประเภทความพิการ ดังนี้ (๑) ความพิการทางการเห็น (๒) ความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย (๓) ความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย (๔) ความพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม หรือออทิสติก (๕) ความพิการทางสติปัญญา (๖) ความพิการทางการเรียนรู้

  28. ข้อ ๑๐ ให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เป็นผู้ตรวจวินิจฉัยและออกใบรับรองความพิการที่ระบุประเภทความพิการตามข้อ ๔ ข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ ข้อ ๘ หรือข้อ ๙ เพื่อประกอบคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการตามมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการพ.ศ. ๒๕๕๐ เว้นแต่นายทะเบียนกลาง หรือนายทะเบียนจังหวัดแล้วแต่กรณี เห็นว่าบุคคลนั้นมีสภาพความพิการที่สามารถมองเห็นได้โดยประจักษ์จะไม่ต้องให้มีการตรวจวินิจฉัยก็ได้

  29. ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการเรื่อง หลักเกณฑ์การให้ครูการศึกษาพิเศษ ครู และคณาจารย์ ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพในการจัดการศึกษา สำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๒ วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ โดย นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการฯ

  30. ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “ครู” หมายความว่า บุคลากรซึ่งประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนสอน และ การส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา “ครูการศึกษาพิเศษ” หมายความว่า ครูที่มีวุฒิทางการศึกษาพิเศษ สูงกว่าระดับปริญญาตรีขึ้นไป และปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน “สถานศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษาในทุกระดับหรือหน่วยงานการศึกษาอื่นทั้งของรัฐและเอกชนที่มีคนพิการเข้าเรียนหรือที่พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาสำหรับคนพิการ

  31. ข้อ ๔ ให้ครูการศึกษาพิเศษ ครู และคณาจารย์ ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพองค์ความรู้ การศึกษาต่อเนื่องและทักษะในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ดังต่อไปนี้ • ได้รับการฝึกอบรมหรือพัฒนาให้มีทักษะเฉพาะในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการแต่ละประเภท อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง (๒) ได้รับการพัฒนาศักยภาพตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ อย่างน้อยสามปีต่อครั้ง

  32. (๓) ส่งเสริมและสนับสนุน ให้ได้รับการศึกษาต่อเนื่องทางด้านการศึกษาพิเศษหรือพัฒนาองค์ความรู้ทางการศึกษาพิเศษที่สูงกว่าระดับปริญญาตรี (๔) ส่งเสริมและพัฒนาด้านอื่น ๆ ตามความเหมาะสมและความจำเป็นในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ

  33. ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ การดำเนินการตามข้อ ๔ ให้มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) การฝึกอบรมหรือพัฒนาให้มีทักษะเฉพาะในการจัดการศึกษาตาม (๑) ของข้อ ๔ ต้องเป็นหลักสูตรกลางที่คณะกรรมการได้กำหนดไว้ตามความเหมาะสมและมีลักษณะเฉพาะเพื่อคนพิการแต่ละประเภท และสถานศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำหลักสูตรกลางดังกล่าวไปใช้การฝึกอบรมหรือพัฒนานั้น ในการนี้ หากคณะกรรมการเห็นว่าสถานศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใดได้กำหนดหลักสูตรขึ้นเองมีความเหมาะสม คณะกรรมการก็สามารถให้ความเห็นชอบและถือเป็นหลักสูตรที่ใช้ฝึกอบรมหรือพัฒนานั้นได้

  34. (๒) การพัฒนาศักยภาพตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพตาม (๒) ของข้อ ๔ ต้องเป็นหลักสูตรซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการฝึกอบรมเป็นการเฉพาะ โดยหลักสูตรนั้นจะต้องมีลักษณะตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพการศึกษาพิเศษ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์รวมทั้งโครงสร้างหลักสูตรการฝึกอบรมที่ประกอบด้วยภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติตลอดจนมีการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรนั้น

  35. (๓) การส่งเสริมและสนับสนุนให้ได้รับการศึกษาต่อเนื่องที่สูงกว่าระดับปริญญาตรี ตาม (๓)ของข้อ ๔ ต้องเป็นการศึกษาที่มีการกำหนดประเภทของทุน สาขาวิชาที่จะศึกษา สถานศึกษา ทั้งในและต่างประเทศ และระยะเวลาการศึกษา (๔) การส่งเสริมและพัฒนาด้านอื่น ๆ ตาม (๔) ของข้อ ๔ ต้องมีจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ รวมทั้งผลสัมฤทธิ์ที่ได้จากการดำเนินการดังกล่าว

  36. ข้อ ๖ การพัฒนาศักยภาพครูการศึกษาพิเศษ ครู และคณาจารย์ ให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานต้นสังกัดร่วมกับหน่วยงาน สถาบัน หรือมหาวิทยาลัย ซึ่งมีรูปแบบและวิธีการในการพัฒนาศักยภาพเพื่อให้ครูการศึกษาพิเศษ ครู และคณาจารย์ดังกล่าวสามารถนำไปจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ให้มีประสิทธิภาพและมาตรฐานยิ่งขึ้น

  37. ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการว่าด้วยการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ (๔) แห่งพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ โดย จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการฯ

  38. ข้อ ๔ ให้สถานศึกษามีหน้าที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการตามภารกิจของสถานศึกษานั้น โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ข้อ ๕ ในกรณีที่สถานศึกษาใดปฏิเสธไม่รับคนพิการเข้าศึกษาโดยไม่มีเหตุและความจำเป็นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด ให้ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามมาตรา ๘ แห่ง พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ใน การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง หากสถานศึกษาใดมีข้อโต้แย้งหรือมี ปัญหาในทางปฏิบัติที่จำเป็น ให้สถานศึกษานั้นเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเป็นรายไป

  39. ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการ ให้สถานศึกษาซึ่งได้รับคนพิการเข้าศึกษา มีการดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้ • จัดระบบหรือรูปแบบที่สนับสนุนการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงความสามารถ ความสนใจความถนัด และความจำเป็นพิเศษตามประเภทของคนพิการทางการศึกษา • จัดสภาพแวดล้อม ระบบสนับสนุนการเรียนการสอน ตลอดจนบริการสิ่งอำนวยความสะดวกเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาที่คนพิการสามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้

  40. ข้อ ๗ ในการจัดทำหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ การทดสอบทางการศึกษา การวัดและประเมินผลการศึกษา ให้สถานศึกษาและส่วนราชการที่รับผิดชอบดำเนินการให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการแต่ละประเภท ตามรูปแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด หรือตามที่สถานศึกษาเห็นสมควร

  41. ข้อ ๘ ในกรณีที่คนพิการซึ่งมีอุปสรรคและมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับ ความช่วยเหลือในการเดินทางเพราะเหตุแห่งความพิการนั้น ให้สถานศึกษาหรือส่วนราชการที่รับผิดชอบจัดบริการสำหรับการเดินทางในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง หากเงินอุดหนุนของสถานศึกษาไม่เพียงพอ ให้สถานศึกษาขอรับการสนับสนุนจากกองทุนหรือส่วนราชการต้นสังกัดของสถานศึกษานั้นได้

  42. ข้อ ๙ เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการ ให้ส่วนราชการที่รับผิดชอบจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษาเป็นกรณีพิเศษแก่สถานศึกษา ทั้งนี้ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับ ความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ

  43. ข้อ ๑๐ ให้ส่วนราชการต้นสังกัดของสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการรายงานผลการดำเนินงานในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ต่อคณะกรรมการอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง

  44. กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้คนพิการมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา พ.ศ.2545 กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้คนพิการมีสิทธิได้รับ สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และ ความช่วยเหลือ อื่นใดทางการศึกษาพ.ศ.2545 ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้ คนพิการหรือผู้ปกครองที่จะประสงค์ใช้สิทธิดังกล่าวจะต้องยื่นคำขอต่อสถานศึกษา และสถานศึกษาจะต้องจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Plan : IEP) เพื่อให้มีการพัฒนาศักยภาพเด็กพิการตามกระบวนการของแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล

More Related