1 / 22

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2550)

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2550). คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.). ประเทศไทยในบริบทของความเปลี่ยนแปลง. มิติทางด้านนานาชาติ - การเปิดการค้าเสรี - การเพิ่มขีดความสามารถ ในการเจราจาการค้า - การสร้างความร่วมมือ ในภูมิภาคเอเซีย ( ADB).

conroy
Download Presentation

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2550)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2550) คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

  2. ประเทศไทยในบริบทของความเปลี่ยนแปลงประเทศไทยในบริบทของความเปลี่ยนแปลง มิติทางด้านนานาชาติ - การเปิดการค้าเสรี - การเพิ่มขีดความสามารถ ในการเจราจาการค้า - การสร้างความร่วมมือ ในภูมิภาคเอเซีย (ADB) มิติทางด้านเศรษฐกิจ - การเปลี่ยนแปลงฐานเศรษฐกิจ ไปสู่ Knowledge based - การพัฒนาเศรษฐกิจในระดับ รากฐานควบคู่กับการส่งเสริม การส่งออก สินค้า และบริการ - การสร้างความรอบรู้ทาง ว&ท มิติทางด้านสังคม - การขาดคุณภาพในการพัฒนาสังคม - ปัญหาCorruptionทั้งรัฐและเอกชน - ปัญหาคุณภาพทางการศึกษา - กระแสวัตถุนิยม มิติทางด้านการเมือง - แรงผลักดันจากการปฏิรูปการเมืองและรัฐธรรมนูญ 2540

  3. เป้าประสงค์หลัก (ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์) ยุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ที่ 1 1. พัฒนาคุณภาพการให้ บริการประชาชนที่ดีขึ้น พัฒนาระบบราชการไทยให้มีความเป็น เลิศสามารถรองรับ กับการพัฒนาประเทศในยุคโลกาภิวัตน์โดยยึดหลักธรรมาภิบาล และประโยชน์สุข ของประชาชน ยุทธศาสตร์ที่ 2 2. ปรับบทบาทภารกิจ และ ขนาดให้มีความเหมาะสม ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์ที่ 4 3. ยกระดับขีดความสามารถและ มาตรฐานการทำงานให้อยู่ ในระดับ สูงและเทียบเท่าเกณฑ์สากล ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยุทธศาสตร์ที่ 6 4. ตอบสนองต่อการบริหาร ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ยุทธศาสตร์ที่ 7

  4. วิสัยทัศน์ใหม่ของการพัฒนาระบบราชการไทยวิสัยทัศน์ใหม่ของการพัฒนาระบบราชการไทย พัฒนาระบบราชการไทยให้มีความเป็นเลิศ สามารถรองรับกับการพัฒนาประเทศในยุคโลกาภิวัตน์ โดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และประโยชน์สุขของประชาชน หลักการสำคัญ การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตาม ม. 3/1 พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2545

  5. เป้าประสงค์หลักของการพัฒนาระบบราชการไทยเป้าประสงค์หลักของการพัฒนาระบบราชการไทย 1. พัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนที่ดีขึ้น (better service quality) 2. ปรับบทบาท ภารกิจ และขนาดให้มีความเหมาะสม (rightsizing) 3. ยกระดับขีดความสามารถของข้าราชการและ มาตรฐานการทำงานให้อยู่ในระดับสูงและเทียบเท่า เกณฑ์สากล (high performance) 4. ตอบสนองต่อการบริหารปกครองในระบอบประชาธิปไตย (democratic governance)

  6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย ยุทธศาสตร์ 1: การปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงาน มาตรการ 1. วางเงื่อนไขให้ส่วนราชการต่างๆ นำระบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์มาประยุกต์ ใช้อย่างจริงจัง โดยให้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนดำเนินงานอย่างเป็นระบบ 2. ในแผนยุทธศาสตร์ ให้แต่ละส่วนราชการกำหนดเป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานในการให้บริการและการพัฒนาองค์การโดยรวม 3. ปรับเปลี่ยนระบบการควบคุมภายในของส่วนราชการให้มีความทันสมัยมากขึ้น 4. ปรับปรุงระบบการประเมินผลการดำเนินงาน โดยจัดให้มีการเจรจาและทำข้อตกลง ว่าด้วยผลงานประจำปี (annual performance agreement) และให้มีการติดตาม ประเมินผลรายปี และถือเป็นส่วนหนึ่งของการให้เงินรางวัลประจำปีแก่ส่วนราชการ 5. ให้มีการทบทวนแผนยุทธศาสตร์และแผนดำเนินงานในลักษณะ mid-term review

  7. ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย ยุทธศาสตร์ 1: การปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงาน มาตรการ (ต่อ) 6. ในการกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายและตัวชี้วัด การจัดทำข้อตกลงฯ การติดตาม ประเมินผล ให้มีกระบวนการปรึกษาหารือ การสำรวจและการรับฟังความเห็นของ ประชาชน และ/หรือการเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมโดยตรง 7. ในการปรับปรุงขั้นตอนและแนวทางการให้บริการประชาชน ให้แต่ละส่วนราชการ เสนอแผนในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบปฏิบัติของทางราชการที่ล้าสมัย โดยเฉพาะการมอบอำนาจ การอนุมัติ อนุญาตและการสั่งการต่างๆ ให้เสร็จสิ้น ณ จุดให้บริการเดียวกัน 8. วางกติการให้มีการแข่งขัน โดยพยายามลดการผูกขาดของหน่วยงานราชการในการ เป็นผู้ให้บริการสาธารณะเองลง 9. ให้มีการจัดทำแนวทางและคู่มือการบริหารราชการที่ดี

  8. ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย ยุทธศาสตร์ 2: การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน มาตรการ 1. มุ่งเน้นการจัดระเบียบโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินในเชิงบูรณาการ โดยให้ มีลักษณะแบบเมตริกซ์เชิงซ้อน ให้มีกลไกประสานการทำงานร่วมกัน 2. ให้มีการทบทวนการจัดโครงสร้างองค์การของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ให้มี ความเหมาะสมมากขึ้น 3. ให้มีการวางยุทธศาสตร์/แผนงานการพัฒนาเขตพื้นที่ในเชิงบูรณาการและการจัดสรร ทรัพยากรในลักษณะแบบอิงพื้นที่ โดยให้มีการวางหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน 4. ให้มีการปรับปรุงและจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารราชการในระดับ ต่างๆ (intergovernmental relations)

  9. จังหวัด จังหวัด จังหวัด จังหวัด จังหวัด จังหวัด ……... ……... ……... นายกรัฐมนตรี ….. 1 2 3 รองนายกฯ รองนายกฯ รองนายกฯ กระทรวง (รมต.) กระทรวง (รมต.) กระทรวง (รมต.) กระทรวง (รมต.) กระทรวง (รมต.) กระทรวง (รมต.) กรม กรม กรม กรม กรม กรม กรม กรม กรม กรม กรม กรม รองนายกฯ ภาค นายกรัฐมนตรี รองนายกฯ ภาค รองนายกฯ ภาค

  10. นรม. กต พณ กษ ฯลฯ สำนักนายกรัฐมนตรี Pooled resources Foreign Affairs Management & Coordination Agency สำนักงานบริหารและประสานราชการในต่างประเทศ ภารกิจหลัก ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารราชการในต่างประเทศ โดยเฉพาะในส่วนของการวิเคราะห์และจัดสรรงบประมาณ ตามแผนงาน/โครงการต่าง ๆ ให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ การ จัดอัตรากำลังและการสรรหา/แต่งตั้งบุคลากร (คณะผู้แทน ตามมาตรา 50/1 พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2545) การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการใน ต่างประเทศ รวมถึงการแก้ไขปัญหา บูรณาการเป้าหมาย เชิงยุทธศาสตร์ และการประสานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ บริหารราชการในต่างประเทศ หมายเหตุ : ปัจจุบันมีคณะกรรมการบริหารราชการในต่างประเทศ (รมต.ว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน) แต่พบว่า การดำเนินงานยังคงมีข้อจำกัดหลายประการ ทำให้ไม่สามารถบูรณาการ งาน-เงิน-คน ได้อย่างเต็มที่ สมควรมีการปรับปรุงใหม่

  11. รวมไม่เกิน 50 อัตรา สำนักงานบริหารและประสานราชการในต่างประเทศ กลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคคล กลุ่มงานติดตามและประเมินผล กลุ่มงานประสานราชการและ กิจการพิเศษ กลุ่มงานวิเคราะห์แผนงานและ โครงการ • บทบาทหน้าที่ • พิจารณากลั่นกรองแผนงาน/โครงการและการจัดสรรทรัพยากร (งบประมาณ+อัตรา • กำลัง) ในส่วนของการบริหารราชการในต่างประเทศ • วิเคราะห์และกำหนดคุณสมบัติ /ขีดความสามารถของบุคคลผู้สมควรดำรงตำแหน่ง • หัวหน้าคณะผู้แทนไทยประจำต่างประเทศ รวมถึงการพิจารณาและเสนอแนะ (สรรหา) • รายชื่อบุคคลผู้เหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งดังกล่าว เพื่อเข้าสู่กระบวนการแต่งตั้งต่อไป • ติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ของการบริหารราชการในต่างประเทศ • แก้ไขปัญหา บูรณาการเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ และประสานการดำเนินงานกับคณะ • กรรมการนโยบายระดับชาติ ส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจต่าง ๆ เกี่ยวกับการบริหารราชการ • ในต่างประเทศ (internal management of external relations)

  12. ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย ยุทธศาสตร์ 3: การปรับรื้อระบบการเงินและการงบประมาณ มาตรการ 1. ปรับปรุงกระบวนการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินใหม่ ให้ยึดตามคำแถลงนโยบายของ คณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา/ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลเป็นหลัก และเสริมสร้างภาระ รับผิดชอบในผลสัมฤทธิ์ (accountability for results) 2. ปรับเปลี่ยนระบบการงบประมาณให้สอดรับกับการบริหารราชการแผ่นดินแนวใหม่ โดยให้มีความเชื่อมโยงเข้ากับยุทธศาสตร์ของรัฐบาลและสามารถแสดงผลสัมฤทธิ์ได้ 3. เปิดโอกาสให้แต่ละส่วนราชการทำความตกลงเป็นการล่วงหน้า เพื่อสามารถเก็บเงิน เหลือจ่ายไว้ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาองค์การหรือฝึกอบรมข้าราชการได้ 4. พิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดให้มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในรูปแบบต่างๆ

  13. ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย ยุทธศาสตร์ 3: การปรับรื้อระบบการเงินและการงบประมาณ มาตรการ (ต่อ) 5. ให้แต่ละส่วนราชการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินรายเดือนหรือรายไตรมาสของแผนงาน หรือโครงการ รวมถึง การจัดทำงบดุลและรายงานทางการเงินให้ถูกต้องและทันการณ์ 6. ปรับปรุงระบบบัญชีของส่วนราชการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานสากล โดยให้ สามารถคำนวณต้นทุนในการจัดบริการสาธารณะได้ 7. วางระเบียบเพื่อเปิดโอกาสให้แต่ละส่วนราชการสามารถดำเนินงานในเชิงพาณิชย์ บางส่วนเพื่อหารายได้ของตนเองไว้ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาองค์การและเสริมแรง จูงใจให้แก่บุคลากรในรูปของสวัสดิการ

  14. ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย ยุทธศาสตร์ 4: การทบทวนระบบบุคคลและค่าตอบแทนใหม่ มาตรการ 1. เร่งสรรหาบุคลากรผู้มีความสามารถสูงหรือระดับหัวกะทิเข้าสู่ระบบราชการไทย โดยมุ่งเน้นให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาระบบราชการ 2. ทบทวนและปรับเปลี่ยนระบบการจำแนกตำแหน่ง (P.C.)และค่าตอบแทน 3. เพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ของข้าราชการ 4. ให้แต่ละส่วนราชการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic HRD Plan) 5. ปรับปรุงขีดสมรรถนะของศูนย์เพิ่มทักษะและปรับเปลี่ยนบุคลากรภาครัฐ รวมทั้ง จัดให้มีตำแหน่งสำรองราชการขึ้นในระบบข้าราชการพลเรือน 6. พัฒนากลไกและกระบวนการในการรักษาและปกป้องระบบคุณธรรมในวงราชการ ให้มีความเหมาะสม

  15. ระบบบริหารงานบุคคลแบบคู่ขนานระบบบริหารงานบุคคลแบบคู่ขนาน เส้นทางสายพิเศษ (Special Track) Special appointment system $ เส้นทางสายปกติ (Mai9nstream) บุคคลภายนอก Special appointment system Senior Executive C 11 (60,000) SEP บุคคลภายนอก C 10 C 9 Young Executive (Experts) C 8 ENA 30,000 7 นักเรียนทุน บันฑิตเกียรตินิยม 6 C 5 C 4 C 3(6,000) t ยุทธศาสตร์ระยะสั้น : สรรหาหัวกะทิเข้าสู่ราชการไทย โดยเปิดเส้นทางสายพิเศษให้ทั้งในส่วนของ Young Executive และ Senior Executive เริ่มต้นที่ประมาณ 0.1% หรือ 400 คน โดยให้มี Special Appointment System ขึ้น (รวมทั้งอาจต้อง กำหนดเพดานของข้าราชการในเส้นทางสายปกติ ไว้แค่ C9 หรือ C10) ยุทธศาสตร์ระยะยาว : พยายามยกระดับข้าราชการไทยให้เข้าสู่ระบบ Special Track ได้มากขึ้น ประมาณ 1% หรือ 4,000 คน

  16. ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย ยุทธศาสตร์ 5: การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยมของระบบราชการ มาตรการ 1. สร้างรูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองของกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้บริหารระดับสูง ในลักษณะของการเรียนรู้จากประสบการณ์ปฏิบัติจริงๆ 2. เสนอแนะการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการสร้างกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่ม เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. ให้แต่ละส่วนราชการจัดทำคำแถลงค่านิยมสร้างสรรค์ ประกาศมาตรฐานทาง คุณธรรมและจริยธรรม

  17. ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย ยุทธศาสตร์6: การเสริมสร้างความทันสมัย (รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์) มาตรการ 1. ปรับปรุงระบบการทำงานของหน่วยงานราชการให้เป็นสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (e-office) โดยนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสมัยใหม่มาใช้ 2. ให้แต่ละส่วนราชการเปิดให้บริการประชาชนทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือธุรกรรม อิเล็กทรอนิกส์ โดยผ่านทางระบบ internet และ website ของส่วนราชการ 3. วางระบบการรายงานผลสัมฤทธิ์ (performance track system) ของส่วนราชการ ต่างๆ ให้เชื่อมโยงเข้าสู่ศูนย์ปฏิบัติการระดับกระทรวง (MOC) และศูนย์ปฏิบัติการ ของนายกรัฐมนตรี (PMOC)

  18. ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย ยุทธศาสตร์ 7: การเปิดระบบราชการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม มาตรการ 1. ให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาภาคประชาชน (lay board) ขึ้น โดยเฉพาะ ในระดับปฏิบัติการ (จังหวัด/อำเภอ) 2. วางหลักเกณฑ์ให้แต่ละส่วนราชการจัดให้มีระบบการปรึกษาหารือกับประชาชน การสำรวจหรือประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน 3. ให้ทุกส่วนราชการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศที่มีความจำเป็นต่อการแสดงภาระ รับผิดชอบ ความโปร่งใสและเปิดเผยเกี่ยวกับการปฏิบัติงานใน Website 4. ให้แต่ละส่วนราชการเปิดโอกาสให้มีอาสาสมัครภาคประชาชนเข้ามาร่วมปฏิบัติงาน กับข้าราชการ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนา หรือการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ

  19. Milestone ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย 2546 มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน การดำเนินการ ออกคำสั่งและระเบียบต่างๆ ของ ก.พ.ร. และการแต่งตั้ง อนุกรรมการของ ก.พ.ร. จัดประชุมสัมมนา ก.พ.ร. และ อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ นโยบาย ร่าง พ.ร.ฎ. ร่างระเบียบ ร่างแผน - เปิดตัวเครือข่ายประชาสังคมเพื่อการพัฒนาระบบราชการ - รับฟังความเห็นเกี่ยวกับร่าง พ.ร.ฎ. และร่างกฎหมายบางฉบับ - จัดงานสัมมนาให้กระทรวงต่างๆ แถลงผลงานที่ใหม่และถือว่า เป็นการพัฒนาระบบราชการ เปิด Website ก.พ.ร. - เสนอร่าง พ.ร.ฎ. ให้รัฐบาลพิจารณา

  20. Milestoneของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยMilestoneของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย 2546 พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน การดำเนินการ ยกร่างหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการประเภทผู้บริหารให้ ครม. สัมมนาการปฏิบัติการตาม พ.ร.ฎ. ที่ออกใหม่ สัมมนาเพื่อนำเสนอแนวทางการเปลี่ยนกระบวนทัศน์และ การทำงานของข้าราชการ - สัมมนาเพื่อนำเสนอแนวทางปรับปรุงการบริหารงานในส่วนภูมิภาค - เปิดหลักสูตร Executive Program สำหรับผู้บริหารภาครัฐ - จัดทำรายงานประจำปีเสนอคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา - เสนอร่างกฎหมายปรับปรุงโครงสร้างราชการของกระทรวงและกรม ตามที่กฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม กำหนดว่า ต้องให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี - สัมมนาในโอกาสดำเนินการพัฒนาระบบราชการครบ 1 ปี

  21. การนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติการนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ • เงื่อนไขของความสำเร็จ - การเสริมสร้างความเป็นเจ้าของในการพัฒนาระบบราชการให้แก่หัวหน้าส่วนราชการ - การแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการของแต่ละกระทรวง ทบวง กรม และ กำหนดให้มีผู้บริหารระดับสูงเป็นบุคคลผู้รับผิดชอบหลัก - การแก้ไขกฎหมายและระเบียบราชการที่เป็นอุปสรรค - การเชื่อมโยงและบูรณาการสรรพกำลังของทุกภาคส่วนในการพัฒนาระบบราชการ โดยให้ สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นแกนกลาง - การสนับสนุนอย่างจริงจังและต่อเนื่องของทางรัฐบาล - การจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาระบบราชการให้แก่ส่วนราชการต่างๆ

  22. การนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติการนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ • เครื่องมือในการนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ - การตราและบังคับใช้ พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามความใน ม.3/1 พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2545 - การให้ส่วนราชการสมัครเข้าร่วมในการพัฒนาระบบราชการ โดยอาศัยวิธีสร้าง แรงจูงใจ - การสร้างกระแสแรงกดดันจากภายนอก โดยเฉพาะสื่อมวลชน นักวิชาการ ธุรกิจเอกชน และประชาชน - การติดตามประเมินผล โดยการจัดทำรายงานประจำปีของ ก.พ.ร. เพื่อเปิดเผย ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการพัฒนาและจัดระบบราชการและงานของส่วนราชการต่างๆ

More Related