280 likes | 951 Views
ข้อบังคับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2551. ระยะเวลาการศึกษา. ปัญหาที่พบ. นิสิตเข้าใจผิด คิดว่าตนเอง ใช้ข้อบังคับฯปี 2551คิดว่ายังมีเวลาเหลือทำให้ต้องทำเรื่องขยายเวลา นิสิตที่เข้าศึกษาปีการศึกษา 2542-2550 ต้องใช้ ระเบียบจุฬาฯพ.ศ.2542
E N D
ข้อบังคับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาพ.ศ. 2551
ปัญหาที่พบ นิสิตเข้าใจผิด คิดว่าตนเอง ใช้ข้อบังคับฯปี 2551คิดว่ายังมีเวลาเหลือทำให้ต้องทำเรื่องขยายเวลา นิสิตที่เข้าศึกษาปีการศึกษา 2542-2550 ต้องใช้ระเบียบจุฬาฯพ.ศ.2542 นิสิตที่เข้าศึกษาปีการศึกษา 2551เป็นต้นไป ต้องใช้ข้อบังคับจุฬาฯ 2551
การขยายเวลาการศึกษา 1.ขยายเวลาการศึกษา เนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยไม่สามารถสำเร็จการศึกษาได้ เหตุสุดวิสัยหมายความว่า เหตุการณ์ที่เกินความสามารถที่จะควบคุมป้องกันได้ ได้แก่ ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการวิจัยเสียหาย ปัญหาจากภัยธรรมชาติหรือการก่อการร้าย ปัญหาจากวิกฤตการณ์บ้านเมือง ทั้งนี้ เหตุสุดวิสัยที่มิได้กำหนดไว้ข้างต้น ให้คณะกรรมการบริหารคณะเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการบัณฑิตวิทยาลัยเพื่อพิจารณา (ตามข้อบังคับใหม่) สำหรับปริญญาเอกและปริญญาโท
การขยายเวลาการศึกษา • นิสิตต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณะกรรมการบริหารคณะเพื่อพิจารณา • หากคณะกรรมการบริหารคณะเห็นชอบให้ขยายเวลา ให้เสนอเรื่องมาบัณฑิตวิทยาลัย • บัณฑิตวิทยาลัย นำเรื่องเข้าคณะกรรมการบริหารบัณฑิตวิทยาลัยถ้าเห็นชอบเสนออธิการบดีเพื่อพิจารณาอนุมัติ • บัณฑิตวิทยาลัยส่งเรื่องให้ สทป. และแจ้งผลไปที่คณะ สำหรับปริญญาเอกและปริญญาโท
การทำเรื่องขยายเวลาการศึกษา ต่อไปต้องมีแบบประเมินผลวิทยานิพนธ์ของภาคการศึกษาที่ผ่านมาแนบมาด้วย
การขยายเวลาการศึกษา (ต่อ) 2.การขยายเวลาเพื่อรอตีพิมพ์ สำหรับนิสิตปริญญาเอกเท่านั้น • 1.ขยายเวลาการศึกษา เนื่องจากส่งวิทยานิพนธ์แล้ว แต่ยังไม่สำเร็จการศึกษาเนื่องจากยังไม่ได้รับการตีพิมพ์ • นิสิตต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณะกรรมการบริหารคณะเพื่อพิจารณา • หากคณะกรรมการบริหารคณะเห็นชอบให้ขยายเวลา ให้เสนอเรื่องมาบัณฑิตวิทยาลัย • บัณฑิตวิทยาลัย พิจารณาและเสนออธิการบดีเพื่อพิจารณาอนุมัติ • บัณฑิตวิทยาลัยส่งเรื่องให้ สทป. และแจ้งผลไปที่คณะ
ปัญหาที่พบ บางทีนิสิตยังมีระยะเวลาเหลือแต่ว่าทางคณะยังส่งเรื่องมาขยายเวลา ส่งเรื่องกระชั้นชิดใกล้เวลาประชุม
การสอบวัดคุณสมบัติ ผู้ที่เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญามหาบัณฑิต หรือวุฒิปริญญาบัณฑิตที่มีผลการเรียนระดับปริญญาเกียรตินิยมขึ้นไปสามารถลงทะเบียนสอบวัดคุณสมบัติได้ตั้งแต่ภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา นิสิตที่เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญาบัณฑิตที่มีผลการเรียนต่ำกว่าระดับปริญญา เกียรตินิยม ต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาในหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๑๒ หน่วยกิต และมีแต้มเฉลี่ยสะสม ๓.๕ ขึ้นไป จึงจะลงทะเบียนสอบวัดคุณสมบัติได้ ผู้ที่เข้าสอบวัดคุณสมบัติแล้ว ผลปรากฏว่าได้สัญลักษณ์ U อาจลงทะเบียนสอบได้อีก 1 ครั้ง
การสอบวัดคุณสมบัตินิสิตจะต้องสอบให้ผ่าน ดังระยะเวลาต่อไปนี้
การลาพักการศึกษา นิสิตที่ประสงค์จะหยุดกิจกรรมด้านการศึกษากับมหาวิทยาลัยเป็นการชั่วคราว ยื่นคำร้องขอลาพักการศึกษาต่อคณบดี พร้อมหลักฐานอื่นที่จำเป็น ต้องได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการบริหารหลักสูตรก่อน เว้นแต่เป็นการลาพักในระหว่างทำวิทยานิพนธ์ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารคณะ การยื่นคำร้องลาพักการศึกษา ต้องกระทำก่อนวันสุดท้ายของการสอบในภาคการศึกษาหรือ ภาคฤดูร้อนนั้น ทั้งนี้ ตามที่กำหนดไว้ในปฏิทินการศึกษา
เมื่อได้รับอนุมัติให้ลาพักการศึกษาเมื่อได้รับอนุมัติให้ลาพักการศึกษา นิสิตต้องชำระค่ารักษาสถานภาพการเป็นนิสิตทุกภาคการศึกษาที่ลาพัก เว้นแต่นิสิตได้ชำระค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมอื่นในภาคการศึกษานั้นแล้ว ในระหว่างลาพักการศึกษา นิสิตจะไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้อุปกรณ์การศึกษาและสิ่งอำนวย ความสะดวกทางการศึกษาของมหาวิทยาลัย และไม่สามารถดำเนินกิจกรรมใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้
การขอลาพักการศึกษา นิสิตจะต้องลงทะเบียนเรียนมาแล้วอย่างน้อย ๑ ภาคการศึกษา และมีแต้มเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐ เว้นแต่มีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
การขอลาพักการศึกษา นิสิตจะต้องลงทะเบียนเรียนมาแล้วอย่างน้อย ๑ ภาคการศึกษา และมีแต้มเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐ เว้นแต่มีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
นิสิตจะเข้าสู่หรือเปลี่ยนระดับเข้าสู่ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตได้ก็ต่อเมื่อนิสิตจะเข้าสู่หรือเปลี่ยนระดับเข้าสู่ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตได้ก็ต่อเมื่อ หลักสูตรแบบต่อเนื่อง • 1.สอบวัดคุณสมบัติและได้รับสัญลักษณ์ S ภายใน 3 ภาคการศึกษา นับแต่ภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษาสำหรับผู้ที่เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญามหาบัณฑิต หรือภายใน 4 ภาคการศึกษาสำหรับผู้ที่เข้าด้วยวุฒิปริญญาบัณฑิต 2 ผ่านเกณฑ์การทดสอบภาษาต่างประเทศตามหลักเกณฑ์ที่ คณะกรรมการนโยบายวิชาการกำหนด (ปี53 เกณฑ์รับเข้า ตั้งแต่ 450 เกณฑ์จบ ตั้งแต่ 525 ) ผู้ที่เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญาบัณฑิตโดยไม่ได้รับปริญญาเกียรตินิยมต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาในหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 12 หน่วยกิต และสอบได้แต้มเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 และได้ดำเนินการตาม 1 และ 2 แล้ว
เมื่อนิสิตยื่นคำร้องขอเข้าสู่ระดับปริญญามหาบัณฑิต ภายใน ๒ สัปดาห์ของภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา หรือภายใน ๒ สัปดาห์นับแต่วันสิ้นภาคการศึกษาที่ ๒ • ไม่ได้สัญลักษณ์ S ในการสอบวัดคุณสมบัติภายในกำหนดเวลาต่อไปนี้ นับแต่ภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา • (ก) ๓ ภาคการศึกษา สำหรับผู้ที่เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญามหาบัณฑิต • (ข) ๔ ภาคการศึกษา สำหรับผู้ที่เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญาบัณฑิต • (๓) ได้สัญลักษณ์ U สองครั้งในการสอบวัดคุณสมบัติ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรให้เปลี่ยนเข้าสู่ระดับปริญญามหาบัณฑิต นิสิตจะเข้าสู่ระดับปริญญามหาบัณฑิต เมื่อมีกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
เมื่อมีการอนุมัติให้เปลี่ยนระดับการศึกษา ให้โอนทุกรายวิชาที่นิสิตผู้นั้นได้ศึกษาแล้วไปเป็นรายวิชาในหลักสูตรที่เปลี่ยนเข้าศึกษาพร้อมทั้งสัญลักษณ์การประเมินผลการศึกษาที่ได้รับ และให้นำไปใช้คิดคำนวณผลการศึกษาตลอดหลักสูตร การนับระยะเวลาการศึกษาให้นับต่อเนื่องตั้งแต่ภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนระดับการศึกษา นิสิตที่เข้าสู่ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตแล้ว แต่พ้นสถานภาพการเป็นนิสิตระดับดุษฎีบัณฑิต เพราะเหตุที่สอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ไม่ผ่าน หรือสอบวิทยานิพนธ์ตก อาจขอกลับเข้าศึกษาในระดับปริญญามหาบัณฑิตได้ โดยต้องยื่นคำร้องพร้อมใบสมัครเข้าศึกษาภายในภาคการศึกษาถัดจากภาคการศึกษาที่พ้นสถานภาพการเป็นนิสิตในระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต
ให้โอนทุกรายวิชาที่นิสิตผู้นั้นได้ศึกษาแล้วไปเป็นรายวิชาในหลักสูตรที่ขอกลับเข้าศึกษา พร้อมทั้งสัญลักษณ์การประเมินผลการศึกษาที่ได้รับ และให้นำไปใช้คิดคำนวณผลการศึกษาตลอดหลักสูตร ระยะเวลาการศึกษา ให้เริ่มต้นนับใหม่ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่กลับเข้าศึกษา ให้คณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาการเข้าสู่ระดับการศึกษา การเปลี่ยนระดับการศึกษา และการขอกลับเข้าศึกษา จากนั้นให้เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการบริหารคณะเพื่อพิจารณาอนุมัติ และแจ้งสำนักทะเบียนและประมวลผลทราบภายใน ๒ สัปดาห์นับแต่วันที่ได้รับอนุมัติ
1.นิสิตต้องมีผลการทดสอบภาษาอังกฤษจากศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหรือ1.นิสิตต้องมีผลการทดสอบภาษาอังกฤษจากศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหรือ สำเนาใบแจ้งผลการสอบ TOEFL หรือ IELTS มาแสดงกับหลักสูตรภายในระยะเวลาที่ บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด และก่อนการลงทะเบียนแรกเข้ากับสำนักงานการทะเบียนและประมวลผล จึง จะถือว่าการรับเข้าศึกษามีผลสมบูรณ์ 2.เกณฑ์การสอบผ่านภาษาอังกฤษในแต่ละสาขาวิชาให้เป็นไปตามที่สาขาวิชากำหนด แต่ต้องไม่ต่ำกว่า เกณฑ์ของมหาวิทยาลัย 3.ผลการทดสอบ CU-TEP หรือเทียบเท่าให้มีอายุ 2 ปี นับจากวันที่ทำการทดสอบตามใบ รายงานคะแนนจนถึงวันประกาศผลการสอบคัดเลือกตามที่ระบุไว้ในรายละเอียดแนบท้ายประกาศรับ สมัครฯ ในหนังสือคู่มือการรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาของแต่ละปี 4.ให้ใช้เกณฑ์ดังกล่าวสำหรับนิสิตที่เข้าศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 เป็นต้นไป
คะแนนสอบ CU-TEP เทียบเท่า TOEFLตั้งแต่ 400รับเข้าศึกษาแต่มีเงื่อนไข ดังนี้ คะแนนสอบ CU-TEP เทียบเท่า TOEFLตั้งแต่ 450ไม่ต้อง เรียนเพิ่ม คะแนนสอบ CU-TEP เทียบเท่า TOEFL น้อยกว่า 400 ไม่รับเข้าศึกษา นิสิตปริญญาโท คะแนนสอบ CU-TEP เทียบเท่า TOEFLน้อยกว่า 425 ต้องเรียน5500 503 Preparatory English for Graduate Studentsและให้เลือกเรียนรายวิชาใดรายวิชาหนึ่งต่อไปนี้ 5500 504 English Pronunciation and Conversation 5500 505 Academic English Grammar 5500 506 Academic English Vocabulary 5500 510 Skills in English for Graduates ทั้งนี้ต้องสอบผ่านรายวิชาดังกล่าวก่อนสำเร็จการศึกษา คะแนนสอบ CU-TEP เทียบเท่า TOEFLตั้งแต่ 425 แต่น้อยกว่า 450ให้เลือกเรียนรายวิชาใดรายวิชาหนึ่งต่อไปนี้ 5500 504 English Pronunciation and Conversation 5500 505 Academic English Grammar 5500 506 Academic English Vocabulary 5500 510 Skills in English for Graduates ทั้งนี้ต้องสอบผ่านรายวิชาดังกล่าวก่อนสำเร็จการศึกษา สอบใหม่เพื่อให้ได้คะแนน CU-TEP เทียบเท่า TOEFL ตั้งแต่ 450 ก่อนสำเร็จการศึกษา หรือ
เกณฑ์มาตรฐานการทดสอบภาษาอังกฤษสำหรับนิสิตระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต(มติคณะกรรมการนโยบายวิชาการของสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 3/2552 วันที่ 7 พฤษภาคม 2552) 1.นิสิตต้องมีผลการทดสอบภาษาอังกฤษจากศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหรือสำเนาใบแจ้งผลการสอบTOEFL หรือIELTS มาแสดงกับหลักสูตรภายในระยะเวลาที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด และก่อนการลงทะเบียนแรกเข้ากับสำนักงานการทะเบียนและประมวลผล จึงจะถือว่าการรับเข้าศึกษามีผลสมบูรณ์ 2. เกณฑ์การสอบผ่านภาษาอังกฤษในแต่ละสาขาวิชาให้เป็นไปตามที่สาขาวิชากำหนด แต่ต้องไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย 3.ผลการทดสอบ CU-TEP หรือเทียบเท่าให้มีอายุ 2 ปี นับจากวันที่ทำการทดสอบตามใบรายงานคะแนนจนถึงวันประกาศผลการสอบคัดเลือกตามที่ระบุไว้ในรายละเอียดแนบท้ายประกาศรับสมัครฯ ในหนังสือคู่มือการรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาของแต่ละปี 4.ให้ใช้เกณฑ์ดังกล่าวสำหรับนิสิตที่เข้าศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 เป็นต้นไป
นิสิตปริญญาเอก คะแนนสอบ CU-TEP เทียบเท่า TOEFL น้อยกว่า 450 ไม่รับเข้าศึกษา คะแนนสอบ CU-TEP เทียบเท่า TOEFLตั้งแต่ 450รับเข้าศึกษาแต่มีเงื่อนไข ดังนี้ คะแนนสอบ CU-TEP เทียบเท่า TOEFL ตั้งแต่ 525 ไม่ต้องเรียนเพิ่ม คะแนนสอบ CU-TEP เทียบเท่า TOEFLน้อยกว่า 500 ต้องเรียน5500 532 Academic English for Graduate Studies และ 5500 560 Thesis Writing ทั้งนี้ต้องสอบผ่านรายวิชาดังกล่าวก่อนสำเร็จการศึกษา คะแนนสอบ CU-TEP เทียบเท่า TOEFLตั้งแต่ 500 แต่น้อยกว่า 525 ต้องเรียน 5500 560 Thesis Writing และสอบผ่านรายวิชาดังกล่าว ก่อนสำเร็จการศึกษา สอบใหม่เพื่อให้ได้คะแนน CU-TEP เทียบเท่า TOEFL ตั้งแต่ 525 ก่อนสำเร็จการศึกษา
ข้อสำคัญ บ.21(รายชื่อผู้สอบได้)ที่ส่งให้บัณฑิตวิทยาลัย ต้องมีคะแนนภาษาอังกฤษครบทุกราย ประมาณกลางเดือนสิงหาคมจะมีอบรม การใช้โปรแกรมรับสมัคร สำหรับเจ้าหน้าที่หลักสูตร