1 / 51

สรุปผลงานประจำปี 2551

สรุปผลงานประจำปี 2551. สมาคมผู้ประกอบธุรกิจวัตถุอันตราย Hazardous Substances Logistics Association.

ima-hess
Download Presentation

สรุปผลงานประจำปี 2551

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สรุปผลงานประจำปี 2551 สมาคมผู้ประกอบธุรกิจวัตถุอันตราย Hazardous Substances Logistics Association

  2. กิจกรรมในรอบปี 2551 ที่สมาคมHASLA ดำเนินการ เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และแก้ไขปัญหาให้กับสมาชิก และอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการพัฒนาและยกระดับการประกอบธุรกิจวัตถุอันตรายในประเทศไทยให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล มีดังนี้

  3. การอบรมสัมมนา และเผยแพร่ความรู้เชิงวิชาการ : • วัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย และข้อกำหนดต่างๆ ที่ทางภาครัฐประกาศใช้ ทำให้สมาชิกฯ สามารถปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง ช่วยลดปัญหาการกระทำความผิด และเป็นการป้องกันการเกิดอุบัติภัย • ได้รับเกียรติจากวิทยากรหลายท่านทั้งจากภาครัฐ และภาคเอกชน

  4. การอบรมสัมมนา และเผยแพร่ความรู้เชิงวิชาการ (ต่อ) • การเสวนา เรื่อง “GHS แนวคิดและวิธีปฏิบัติตามระบบการจัดกลุ่มความเป็นอันตรายและการติดฉลากสารเคมีแบบสหประชาชาติ : ความเหมือนและแตกต่างจาก ADR ที่ผู้ประกอบธุรกิจวัตถุอันตรายจำเป็นต้องรู้” • การบรรยายพิเศษ เรื่อง “แนวทางการพัฒนา Logistics Provider ในประเทศไทย”

  5. การอบรมสัมมนา และเผยแพร่ความรู้เชิงวิชาการ (ต่อ) • การบรรยายพิเศษ เรื่อง “LNG พลังงานทางเลือกใหม่สำหรับภาคอุตสาหกรรมและการขนส่ง” • การบรรยายพิเศษ“การกำหนดเวลาทำงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง ค่าล่วงเวลา และ TRIP RATE : กฎหมายที่นายจ้างต้องรู้ ”

  6. การอบรมสัมมนา และเผยแพร่ความรู้เชิงวิชาการ : • การบรรยายพิเศษ เรื่อง “พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค และ พ.ร.บ. ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย (PL Law) กฎหมายใหม่ ที่คนไทยต้องรู้” • การบรรยายพิเศษ เรื่อง การทดสอบโดยไม่ทำลาย แบบ Acoustic Emission (AE)

  7. การอบรมสัมมนา และเผยแพร่ความรู้เชิงวิชาการ (ต่อ) • การอบรมเรื่อง “หลักการและมาตรการป้องกันภัยจากคลอรีน” โดยจัดร่วมกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม • จัดทำหนังสือคู่มือความปลอดภัยคลอรีน จำนวน 5,500 เล่ม พร้อมซีดีเพื่อมอบให้แก่หน่วยงานภาครัฐ และผู้เกี่ยวข้อง

  8. การอบรมสัมมนา และเผยแพร่ความรู้เชิงวิชาการ (ต่อ) • การอบรม เรื่อง หลักการและมาตรการป้องกันภัยจากคลอรีน ให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง • จัดโครงการนำสมาชิกเยี่ยมชมโรงงานบริษัท คลาเรียนท์ เคมิคอลซ์ จำกัด เพื่อศึกษาวิธีจัดเก็บสารเคมีอย่างปลอดภัยและถูกต้อง และรับฟังบรรยายพิเศษ

  9. การจัดประชุม • ตลอดปี 2551 สมาคมฯ ได้ดำเนินการจัดประชุมและเข้าร่วมประชุมกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก ดังนี้

  10. การประชุมภายใน • การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 1 ครั้ง • การประชุมประจำเดือน คณะกรรมการสมาคม จำนวน 7 ครั้ง • ประชุมคณะทำงานจัดทำแผนงานสมาคม จำนวน 3 ครั้ง • การประชุมเตรียมจัดตั้งสมาพันธ์สมาคมอุตสาหกรรมสนับสนุน (A.S.I.A.) 22 ครั้ง

  11. ภาพบรรยากาศงานประชุมต่างๆภาพบรรยากาศงานประชุมต่างๆ

  12. การประชุมภายใน(ต่อ) • การประชุมจัดทำหลักเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงเพื่อประกอบการพิจารณากำหนดค่าเบี้ยประกันภัยรถขนส่งวัตถุอันตรายอย่างเหมาะสม จำนวน 7 ครั้ง • การประชุมร่วมกับบริษัทประกันภัยเพื่อหาแนวทางการ Pool ประกันร่วมกันของสมาชิก เพื่อลดค่าเบี้ยกรมธรรม์ประกันภัย จำนวน 2 ครั้ง

  13. การประชุมภายใน(ต่อ) • ประชุมรับฟังข้อเสนอ การให้บริการระงับเหตุฉุกเฉินแก่สมาชิกของสมาคม จำนวน 2 ครั้ง • ประชุมเตรียมจัดทำหนังสือทำเนียบรายชื่อผู้ประกอบธุรกิจวัตถุอันตรายและสารเคมี 2009 จำนวน 3 ครั้ง

  14. การประชุมภายนอก • ประชุมคณะอนุกรรมการประกันภัย จำนวน 4 ครั้ง • ประชุมจัดทำหนังสือคู่มือคลอรีน 5 ครั้ง • ประชุมเตรียมจัดสัมมนาและพิธีมอบหนังสือคลอรีน จำนวน 3 ครั้ง

  15. การประชุมภายนอก (ต่อ) • ประชุมเตรียมจัดงาน Thailand International Logistics Fair 2008 จำนวน 7 ครั้ง • ประชุมหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบผู้ตรวจรับรองแท็งก์ 3 ครั้ง

  16. การแก้ไขปัญหาสมาชิก: • สมาคมจัดประชุมหารือและระดมความคิดเห็นร่วมกับสมาชิก ผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ดังนี้

  17. การขึ้นทะเบียนแท็งก์เก่าชนิดไม่มีประวัติการสร้างการขึ้นทะเบียนแท็งก์เก่าชนิดไม่มีประวัติการสร้าง • ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนดให้ผู้ประกอบการนำแท็งก์ติดตรึงเก่าที่มีอายุครบกำหนดตรวจ 3 ปี เข้ารับการตรวจสภาพแท็งก์ รวมทั้งส่งรายงานผลการตรวจรวมและการแก้ไขปรับปรุงให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม

  18. การขึ้นทะเบียนแท็งก์เก่าชนิดไม่มีประวัติการสร้างการขึ้นทะเบียนแท็งก์เก่าชนิดไม่มีประวัติการสร้าง • ผู้ตรวจสอบทดสอบแต่ละรายกำหนดหลักเกณฑ์การตรวจสอบทดสอบที่ไม่เหมือนกัน • สมาคมฯ ได้หารือร่วมกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การตรวจสอบทดสอบให้มีความชัดเจนและไม่เกิดการลักลั่นในการดำเนินการ

  19. การขึ้นทะเบียนแท็งก์เก่าชนิดไม่มีประวัติการสร้าง(ต่อ)การขึ้นทะเบียนแท็งก์เก่าชนิดไม่มีประวัติการสร้าง(ต่อ) • ผู้ประกอบการบางรายยังไม่ดำเนินการนำแท็งก์เก่าไปขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม และเลยเวลาที่กฎหมายกำหนด • สมาคมฯ เสนอให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมขยายระยะเวลาการรับขึ้นทะเบียนออกไปอีก เพื่อความสะดวกในการกำกับดูแลและสร้างความปลอดภัย

  20. การขึ้นทะเบียนแท็งก์เก่าชนิดไม่มีประวัติการสร้าง(ต่อ)การขึ้นทะเบียนแท็งก์เก่าชนิดไม่มีประวัติการสร้าง(ต่อ) • ภายหลังการขึ้นทะเบียนแท็งก์ ผู้ประกอบการต้องนำแท็งก์ไปตรวจสอบความพร้อมใช้งาน (ถ้าไม่ผ่านก็ไม่สามารถนำไปใช้งานขนส่งวัตถุอันตรายได้)

  21. การกำหนดคุณสมบัติ คุณวุฒิ และการรับรองผู้สร้างและหน่วยตรวจ • สมาคมฯ ระดมความคิดเห็นจากสมาชิกจัดทำหลักเกณฑ์ คุณสมบัติ คุณวุฒิ และการรับรองผู้สร้างและหน่วยตรวจ เสนอต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อออกประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมาย

  22. การบูรณาการกฎหมายร่วมกันระหว่างหน่วยงานการบูรณาการกฎหมายร่วมกันระหว่างหน่วยงาน • กรมการขนส่งทางบก ออกประกาศเรื่อง แบบตัวถัง และลักษณะและมาตรฐานถังบรรทุกวัตถุอันตรายของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ พ.ศ. 2549 • กฎหมายมีเนื้อหาบางตอนซ้ำซ้อนกับกฎหมายกรมโรงงานอุตสาหกรรม • สมาคมฯ เสนอให้บูรณาการวิธีปฏิบัติ โดยยอมรับผลการตรวจสอบทดสอบ ที่อีกหน่วยงานหนึ่งออกให้

  23. การเลื่อนบังคับใช้ ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบตัวถัง ลักษณะและ มาตรฐานถังบรรทุกวัตถุอันตรายของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ • เนื่องจากยังขาดความชัดเจนในด้านวิธีปฏิบัติ กรมการขนส่งทางบกจึงยกเลิกการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว • กรมฯเตรียมออกกฎหมายฉบับใหม่ เรื่อง “กำหนดแบบตัวถัง และลักษณะเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถบรรทุกสินค้าอันตราย พ.ศ. 255…

  24. ปัญหาความเดือดร้อนจากการนำเข้ากำมะถันปัญหาความเดือดร้อนจากการนำเข้ากำมะถัน • ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2549 กำหนดเพิ่มเติมให้ SULFUR (กำมะถัน) CAS NO. 7704-34-9 ที่ใช้ในการอุตสาหกรรม เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 • ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และผู้มีไว้ในครอบครองต้องยื่นขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2549 เป็นต้นมา

  25. ปัญหาความเดือดร้อนจากการนำเข้ากำมะถัน(ต่อ)ปัญหาความเดือดร้อนจากการนำเข้ากำมะถัน(ต่อ) • สมาคมฯ กลุ่มอุตสาหกรรมเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หารือกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม • ผู้ประกอบการ ส่วนมากปฏิบัติไม่ถูกต้องและต้องเสียค่าปรับรวมกว่า 15,000 ล้านบาท

  26. ปัญหาความเดือดร้อนจากการนำเข้ากำมะถัน(ต่อ)ปัญหาความเดือดร้อนจากการนำเข้ากำมะถัน(ต่อ) • คณะกรรมการวัตถุอันตรายมีมติถอน SULFUR ออกจากบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ยกเว้น SULFUR ที่ใช้ในทางการเกษตร ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นของแข็ง มีความเข้มข้น 80% และมีสารหรือส่วนประกอบอื่นผสมเพื่อช่วยให้แขวนลอยหรือผสมปนในน้ำได้ หรือในรูปของเหลวที่มีความเข้มข้นตั้งแต่ 52% ขึ้นไป

  27. ปัญหาความเดือดร้อนจากการนำเข้ากำมะถัน(ต่อ)ปัญหาความเดือดร้อนจากการนำเข้ากำมะถัน(ต่อ) • อัยการสูงสุดมีความเห็นว่าประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมที่ยกเลิกการกำหนดให้Sulfur เป็นวัตถุอันตราย ทำให้ผู้ นำเข้า Sulfur ก่อนประกาศดังกล่าวพ้นจากการเป็นผู้กระทำความและไม่สามารถดำเนินคดี • สื่อมวลชนตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการปฏิบัติของภาครัฐ ซึ่งดูเหมือนเร่งรีบดำเนินการ ทั้งที่เกี่ยวข้องกับค่าปรับจำนวนมาก

  28. การขยายระยะเวลาการต่อใบอนุญาตใช้ทางพิเศษ (ทางด่วน) สำหรับรถขนส่งวัตถุอันตราย • การทางพิเศษแห่งประเทศไทยออกข้อบังคับ เรื่อง การห้ามรถยนต์บรรทุกวัตถุอันตรายเดินในทางพิเศษ พ.ศ. 2548 • ตั้งแต่ 1 มกราคม 2549 เป็นต้นมา ผู้ขนส่งวัตถุอันตรายที่จะเดินรถในทางพิเศษ ต้องแจ้งเส้นทาง วัน เวลา และประเภทของวัตถุอันตรายที่บรรทุกให้การทางพิเศษทราบล่วงหน้าเป็นประจำทุกปี

  29. การขยายระยะเวลาการต่อใบอนุญาตใช้ทางพิเศษ (ทางด่วน) สำหรับรถขนส่งวัตถุอันตราย (ต่อ) • สมาคมขอขยายระยะเวลาการแจ้ง เส้นทาง วัน เวลา และประเภทของวัตถุอันตรายที่บรรทุกให้การทางพิเศษทราบล่วงหน้าออกไปเป็นทุก 2 ปีแทน • ในเบื้องต้นการทางพิเศษฯ เห็นด้วยในหลักการเพื่อลดภาระผู้ประกอบการและภาครัฐ

  30. การกำหนดเวลาทำงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง ค่าล่วงเวลา และ Trip rate (ต่อ) • สมาชิกประสบปัญหาเรื่องความชัดเจน และวิธีการกำหนดเวลาทำงานในงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง รวมทั้งการจ่ายล่วงเวลา และค่า Trip rate

  31. การกำหนดเวลาทำงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง ค่าล่วงเวลา และ Trip rate (ต่อ) • จัดตั้งคณะทำงานทบทวนประเด็นข้อกฎหมายแรงานที่เป็นปัญหา เพื่อรวมรวมเสนอต่อกระทรวงแรงงาน พิจารณาแก้ไขปรับปรุง • สมาคมฯเชิญผู้อำนวยการกองนิติการ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมาบรรยาย

  32. การซ้อมแผนฉุกเฉิน • กลุ่ม CATEMAG ร่วมกับบริษัท ไทยพลาสติกส์และเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) จัดฝึกซ้อมแผนปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินประจำปี 2551 ณ จังหวัดระยอง โดย เปิดโอกาสให้สมาชิกที่สนใจเข้าร่วมชม • สมาคมฯ ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดศูนย์ฝึกอบรมกู้ภัยทางพิเศษ และสังเกตการณ์การฝึกซ้อมกู้ภัยการให้ความช่วยเหลืออุบัติเหตุร้ายแรง กรณีรถบรรทุกสารเคมีตกจากทางพิเศษ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2551 บริเวณใต้ทางพิเศษฉลองรัช

  33. ภาพบรรยากาศงานซ้อมแผนฉุกเฉินภาพบรรยากาศงานซ้อมแผนฉุกเฉิน

  34. การซ้อมแผนฉุกเฉิน (ต่อ) • แต่งตั้งนายจรินทร์ วีรโอฬารสิทธิ์ เป็นอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการพัฒนากฎหมาย กรมโรงงานอุตสาหกรรม • แต่งตั้งนายจรินทร์ วีรโอฬารสิทธิ์ เป็นวิทยากรบรรยาย - บรรยายเรื่อง การสาธิตและฝึกปฏิบัติการกำจัดสารเคมี ตามแผนปฏิบัติการโครงการฝึกซ้อมแผนป้องกันภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตรายระดับกลุ่มจังหวัด ของศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 8 กำแพงเพชร โดยจังหวัดกำแพงเพชร ร่วมกับจังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดอุทัยธานี และศูนย์ปลอดภัยคมนาคม ระหว่างวันที่ 9 -10 เมษายน 2551

  35. การซ้อมแผนฉุกเฉิน (ต่อ) - บรรยายเรื่อง การระงับเหตุฉุกเฉินสารเคมีรั่วไหล วันที่ 24 สิงหาคม 2551 ณ จังหวัดภูเก็ต จัดโดย ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม - บรรยายเรื่อง การระงับเหตุฉุกเฉินสารเคมีร้ายแรงรั่วไหล วันที่ 22 ตุลาคม 2551 ณ จังหวัดระยอง จัดโดย กรมโรงงานอุตสาหกรรม

  36. การซ้อมแผนฉุกเฉิน (ต่อ) - บรรยายเรื่อง “การสื่อสารแจ้งเหตุกรณีสารเคมีรั่วไหล” วันที่ 16 พฤศจิกายน 2551 ณ นิคมอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรปราการ และวันที่ 30 พฤศจิกายน 2551 ณ จังหวัด นครราชสีมา จัดโดย ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม

  37. แต่งตั้งตัวแทน 1. สมาคมฯ เสนอชื่อนายมหาบีร์ โกเดอร์ นายกสมาคมฯ เป็นผู้แทนเพื่อคัดเลือกเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวัตถุอันตราย 2. แต่งตั้งนายธนิต พุทธพรมงคล และนายชรินทร์ พงศ์ทรรพ เป็นคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจทบทวนหลักเกณฑ์การประกันภัยจากอุบัติเหตุในการขนส่ง 3. แต่งตั้งนายมหาบีร์ โกเดอร์ นายชัยวัฒน์ นิยมการ และนายประชุม ภาคภพ เป็นผู้แทนในสมาพันธ์สมาคมอุตสาหกรรมสนับสนุน

  38. แต่งตั้งตัวแทน (ต่อ) • แต่งตั้งนายประเสริฐ ธรรมมนุญกุล และนายประทีป ภววงษ์ศักดิ์ เป็นที่ปรึกษาร่วมกับคณาจารย์จากมหาวิทยาเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี “โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาการจัดวางระบบการขนส่งสินค้าอันตราย / วัตถุอันตรายให้เหมาะสมกับประเทศไทยและการขนส่งข้ามแดน” 5. แต่งตั้งนายมหาบีร์ โกเดอร์ เป็นผู้แทนในคณะอนุกรรมการส่งเสริมความปลอดภัยและ บทบาทประชาชนในการจัดการสารเคมี

  39. แต่งตั้งตัวแทน (ต่อ) 6. แต่งตั้งนายประชุม ภาคภพ เป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุมกับกรมควบคุมมลพิษ เกี่ยวกับความพร้อมในการให้สัตยาบันต่อข้อแก้ไขอนุสัญญาบาเซลในการห้ามการส่งออกของเสียอันตราย (Basel Ban Amendment) 7. แต่งตั้งนายชวนินทร์ บัณฑิตกฤษดา และนายเฉลิมศักดิ์ กาญจนวรินทร์ เป็นผู้แทนหารือร่วมกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม เกี่ยวกับการจัดทำคู่มือการเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย และการกำหนดให้สถานประกอบการมีบุคลากรเฉพาะ

  40. การประชาสัมพันธ์เผยแพร่การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารสมาคมฯ : • ปรับปรุงหน้าเว็บไซต์สมาคมใหม่ เพื่อเป็นช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร • จัดทำจดหมายข่าวสมาคม (News Letter) • จัดนิทรรศการในงาน Thailand International Logistics Fair 2008 • จัดนิทรรศการในงานสัปดาห์ความปลอดภัยแห่งชาติ ณ IMPAC

  41. กิจกรรมส่งเสริมสมาชิกกิจกรรมส่งเสริมสมาชิก • งานแสดงเทคโนโลยีและสินค้าด้านโลจิสติกส์ Thailand International Logistics Fair 2008สมาคมฯ ร่วมกับกรมส่งเสริมการส่งออก และสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-13 กันยายน 2551 ณ ศูนย์ไบเทค

  42. กิจกรรมส่งเสริมสมาชิก (ต่อ) • Thailand Hazardous Substances and Chemical Related Industries Directory 2009 สมาคมฯร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมเคมี กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กลุ่มอุตสาหกรรมก๊าซ กลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมัน กลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการของเสียและวัสดุเหลือใช้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ผลิตสีไทย และสมาคมธุรกิจเคมีโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

  43. กิจกรรมส่งเสริมสมาชิก (ต่อ) • รวบรวมรายชื่อผู้ประกอบการด้านวัตถุอันตรายและสารเคมีในประเทศ • สร้างทางเลือกหรือช่องทางในการติดต่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น • สร้างความเชื่อมโยงให้เกิดขึ้นภายในอุตสาหกรรม • ขยายโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการส่งเสริมและสนับสนุน

  44. กิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์กิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์ • การแข่งขันโบว์ลิ่งเชื่อมความสัมพันธ์ เมื่อวันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2551 ณ Major Bowl เซ็นทรัลพระราม 3

  45. บรรยากาศการแข่งขันโบว์ลิ่งการกุศลบรรยากาศการแข่งขันโบว์ลิ่งการกุศล

  46. กราฟแสดงจำนวนสมาชิกปี 2546-2551(สิ้นสุด ณ วันที่ 27 มีนาคม 2551)

More Related