90 likes | 366 Views
การสร้างวินัยทางการเงินการคลัง 24 กุมภาพันธ์ 2557. เวทีปฏิรูป TDRI. สมชัย จิตสุชน. ปัญหาเชิงโครงสร้างการคลังไทย. โครงสร้างการคลังไม่รองรับอนาคต โครงสร้างรายได้ : ฐานภาษีไม่เหมาะสม ฐานการบริโภค > ฐานรายได้ > ฐานทรัพย์สิน (ควรตรงข้าม ) โครงสร้างรายจ่าย : ไม่เพียงพอสำหรับอนาคต
E N D
การสร้างวินัยทางการเงินการคลัง24 กุมภาพันธ์ 2557 เวทีปฏิรูป TDRI สมชัย จิตสุชน
ปัญหาเชิงโครงสร้างการคลังไทยปัญหาเชิงโครงสร้างการคลังไทย • โครงสร้างการคลังไม่รองรับอนาคต • โครงสร้างรายได้: ฐานภาษีไม่เหมาะสม • ฐานการบริโภค > ฐานรายได้ > ฐานทรัพย์สิน (ควรตรงข้าม) • โครงสร้างรายจ่าย: ไม่เพียงพอสำหรับอนาคต • ไม่พอรองรับสังคม/เศรษฐกิจในอนาคต (สวัสดิการสังคม, โครงสร้างพื้นฐาน) • ระบบการคลังไม่โปร่งใส/ไม่เปิดเผยเพียงพอ • เกิดความเสี่ยงทางการคลัง (ภาระระยะปานกลาง/ภาระซ่อนเร้น) • แนวโน้มการคลังขาดดุลจากการเลือกตั้ง ใช้จ่ายระยะสั้น • รัฐสภาไม่เข้มแข็งในการตรวจสอบการใช้งบประมาณ
ความไม่โปร่งใสทางการคลังของไทยความไม่โปร่งใสทางการคลังของไทย • เปิดเผยข้อมูลไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะเงินนอกงบประมาณ • ขาดการประเมินความเสี่ยงการคลังจาก ‘ภาระการคลังปลายเปิด’ (contingent liability) อย่างครบถ้วนและเหมาะสม • ตั้งงบประมาณแบบยืดหยุ่นให้กับฝ่ายบริหารมากไป (งบกลาง) • ครม. อนุมัติรายจ่ายผูกพันก่อนรัฐสภาพิจารณางบประมาณ • ซ่อนเร้นภาระการคลัง โดยถ่ายโอนภารกิจการคลังให้ • ธนาคารรัฐ (quasi-fiscal) • ภาคเอกชน (เช่นในรูป SPV)
แนวทางปฏิรูปการเงินการคลังแนวทางปฏิรูปการเงินการคลัง • ปฏิรูปการคลังเพื่ออนาคตประเทศ • ปฏิรูปภาษี: เพิ่มรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำ • ปฏิรูปรายจ่าย: เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ • ปฏิรูปเพื่อความโปร่งใส/ลดความเสี่ยงทางการคลัง • การทำงบประมาณระยะปานกลาง (3-5 ปี) • เปิดเผยข้อมูลการคลังอย่างครบถ้วน โดยมีรายงาน ‘ฉบับประชาชน' • การวิเคราะห์การคลังที่เป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร • การควบคุมการใช้เงินนอกงบประมาณ • เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการจัดทำงบประมาณ
รูปธรรมการปฏิรูปการเงินการคลังรูปธรรมการปฏิรูปการเงินการคลัง • เร่งรัด/ปรับปรุง การออก พรบ. การเงินการคลังของรัฐ พ.ศ...... • ออก พรบ. จัดตั้งสำนักงบประมาณประจำรัฐสภา (Thai PBO) ภายในปี 2557 • ปรับปรุงการเปิดเผยข้อมูลการคลังต่อสาธาณะ • ให้รายงานฐานะการคลัง ‘เป็นประจำ’ ที่รวม • ในงบประมาณ + นอกงบประมาณ • รวมฐานะของหน่วยงานรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายเงินรัฐ • การคลังส่วนท้องถิ่น • โดยมีบทลงโทษที่ชัดเจนหากหน่วยงานรับผิดชอบไม่เปิดเผยข้อมูล
รูปธรรมการปฏิรูปการเงินการคลัง (2) • เพิ่มข้อจำกัดของการใช้สถาบันการเงินของรัฐ/เอกชน ในการดำเนินนโยบายการคลัง เช่น • กำหนดประเภท/วงเงินของกิจกรรมกึ่งการคลัง • กำหนดให้สุดท้ายต้องมีการชดเชยให้สถาบันการเงินของรัฐเต็มจำนวน เพื่อสร้างความโปร่งใสของภาระการคลัง • ปรับแก้ กม. เลือกตั้ง ให้การหาเสียงต้องระบุ ‘ต้นทุนการคลัง’ ของนโยบายที่ใช้หาเสียง • ต้นทุนของ นโยบายรายจ่าย • ต้นทุนของ นโยบายภาษี/รายได้
การจัดทำและเผยแพร่‘รายงานงบประมาณฉบับประชาชน’การจัดทำและเผยแพร่‘รายงานงบประมาณฉบับประชาชน’ • สำหรับประชาชนอ่านได้ง่าย ใช้ภาษา ‘ชาวบ้าน’ • ครอบคลุมเนื้อหาการคลังระยะปานกลาง • ภาพรวมเศรษฐกิจมหภาค • งบประมาณระยะปานกลาง 3-5 ปี (รายได้ รายจ่าย ดุลงบประมาณ) • ประมาณการรายได้ภาครัฐ • ต้นทุนการคลังของ ‘นโยบายใหม่ที่สำคัญ’ • ผลกระทบต่อ ‘สาขาเศรษฐกิจ’ ของนโยบายการคลังโดยรวมและ ‘นโยบายใหม่ที่สำคัญ’ • เผยแพร่พร้อมเอกสารงบประมาณสำหรับสมาชิกรัฐสภา (3 เดือนก่อนปีงบประมาณเริ่ม)
ข้อเสนอการจัดตั้งสำนักงบประมาณประจำรัฐสภาThai Parliamentary Budget Office Thai PBO
พรบ. การจัดตั้ง Thai PBO • ให้เป็นหน่วยงานวิเคราะห์ด้านการคลังที่เป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร • การแต่งตั้งผู้บริหารไม่ขึ้นกับฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) • มีความรับผิดชอบต่อฝ่ายนิติบัญญัติและสาธารณะโดยรวม • มีหน้าที่ทำการวิเคราะห์ • ภาพรวมเศรษฐกิจมหภาค • ฐานะการคลังภาครัฐโดยรวม • ต้นทุนการคลังของมาตรการที่สำคัญ • ผลกระทบต่อเศรษฐกิจของมาตรการที่สำคัญ • ต้องเป็นกลางทางการเมือง ไม่ฝักใฝ่พรรคการเมือง • มีบุคลากรและได้รับงบประมาณเพียงพอ • มีอำนาจตามกฏหมายในการเข้าถึงข้อมูลการคลังทุกประเภท