300 likes | 635 Views
การประกันคุณภาพภายใน เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม (พ.ศ. 2554-2558). ดวงปาน สวงรัมย์ ศึกษานิเทศก์ ชำนาญการพิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. ความเชื่อมโยงระหว่างการประกันคุณภาพกายใน กับการประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม (พ.ศ. 2554 – 2558).
E N D
การประกันคุณภาพภายในเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) ดวงปาน สวงรัมย์ ศึกษานิเทศก์ ชำนาญการพิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2
ความเชื่อมโยงระหว่างการประกันคุณภาพกายใน กับการประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม (พ.ศ. 2554 – 2558) พระราชบัญญัติการศึกษา (เป้าหมาย ม.6 ม.24 ม.39 ม.48) การประกันคุณภาพภายใน (กฎกระทรวงศึกษา ฯ) การประเมินคุณภาพภายใน (กฎกระทรวงศึกษา ฯ) การประเมินคุณภาพภายนอก
กฎกระทรวงว่าด้วย ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓ ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ๒ เมษายน ๒๕๕๓ ๑ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒ การอาชีวศึกษา ๓ การอุดมศึกษา หมวด ๑ บททั่วไป ๓ หมวด หมวด ๒ การประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา หมวด ๓ การประกันคุณภาพภายนอก
กฎกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๔๕๓ ข้อ ๑๔ ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการดำเนินการ ดังนี้ ๑. กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ๒. จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ๓. จัดระบบบริหารและสารสนเทศ ๔. ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ๕. จัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ๖. จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ๗. จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน ๘. จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
ข้อ ๑๕ การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาตาม ข้อ ๑๔(๑) ต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ เอกลักษณ์ของสถานศึกษา และมาตรฐานการศึกษา ขั้นพื้นฐานตามที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนด และต้องครอบคลุมสาระการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ รวมทั้ง คำนึงถึงศักยภาพของผู้เรียน ชุมชนและท้องถิ่นด้วย
ข้อ ๑๖ การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ตามข้อ ๑๔(๒) ให้ดำเนินการ ดังนี้ ๑ ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นของสถานศึกษา อย่างเป็นระบบ ๒ กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายและความสำเร็จของ การพัฒนาไว้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม ๓ กำหนดวิธีดำเนินงานที่มีหลักวิชา ผลงานวิจัย หรือข้อมูล เชิงประจักษ์ที่อ้างอิงได้ให้ครอบคลุมการพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษาด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การพัฒนาคุณภาพและการบริหารจัดการเพื่อนำไปสู่มาตรฐานการศึกษา ที่กำหนดไว้
๔ กำหนดแหล่งวิทยากรภายนอกที่ให้การสนับสนุนทางวิชาการ ๕ กำหนดบทบาทหน้าที่ให้บุคลากรของสถานศึกษา และผู้เรียนรับผิดชอบและดำเนินงานตามที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ๖ กำหนดบทบาทหน้าที่และแนวทางการมีส่วนร่วมของบิดา มารดา ผู้ปกครองและองค์กรชุมชน ๗ กำหนดการใช้งบประมาณและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ๘ จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี
ข้อ ๑๘ ให้หน่วยงานต้นสังกัดของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดให้มีการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสามปี และแจ้งผลให้สถานศึกษาทราบ รวมทั้งเปิดเผยต่อสาธารณชน
ข้อ ๔๐ ในกรณีที่ผลการประเมินคุณภาพภายนอก แสดงว่า ผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษาได้ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ให้สำนักงาน แจ้งเป็นหนังสือพร้อมแสดงเหตุผลที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานแก่หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษานั้น และให้สถานศึกษานั้นปรับปรุงแก้ไข โดยจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพและดำเนินการตามแผน เพื่อขอรับการประเมินใหม่ภายในสองปีนับตั้งแต่วันที่ได้รับการแจ้งผลการประเมิน ครั้งแรก ให้สถานศึกษาเสนอแผนพัฒนาคุณภาพต่อสำนักงานเพื่อพิจารณาอนุมัติภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการประเมิน ตามวรรคหนึ่ง
การประกันคุณภาพภายนอก (หมวด ๓) ข้อ ๓๘ ในการประกันคุณภาพภายนอก ให้สำนักงานทำการประเมิน คุณภาพภายนอกสถานศึกษาแต่ละแห่งตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ ให้ครอบคลุมหลักเกณฑ์ในเรื่องต่อไปนี้ • มาตรฐานที่ว่าด้วยผลการจัดการศึกษาในแต่ละระดับและประเภทการศึกษา (ตบช. ๑ , ๒, ๓, ๔, ๕, ๙, ๑๐, ๑๑) • มาตรฐานที่ว่าด้วยการบริหารจัดการศึกษา (ตบช. ๗, ๑๒) • มาตรฐานที่ว่าด้วยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (๖) • มาตรฐานที่ว่าด้วยการประกันคุณภาพภายใน (๘)
การประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม (พ.ศ. ๒๕๕๔ – ๒๕๕๘) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัวบ่งชี้พื้นฐาน (ค่าน้ำหนัก ๘๐ คะแนน) ๑. ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี (๑๐) ๒. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ (๑๐) ๓. ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (๑๐) ๔. ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น (๑๐) ๕. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน (๒๐)
การประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม (พ.ศ. 2554 – 2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัวบ่งชี้พื้นฐาน (ค่าน้ำหนัก ๘๐ คะแนน) ๖. ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (๑๐) ๗. ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการพัฒนา สถานศึกษา (๕) ๘. พัฒนาการประกันคุณภาพภายในโดยสถานศึกษา และต้นสังกัด (๕)
การประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม (พ.ศ. 2554 – 2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ (ค่าน้ำหนัก ๑๐ คะแนน) ๙. ผลการพัฒนาให้บรรลุตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และ วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา (๕) ๑๐. ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อน เป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา (๕)
การประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม (พ.ศ. 2554 – 2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม ๑๑. ผลการดำเนินงานโครงการพิเศษเพื่อส่งเสริมบทบาทของ สถานศึกษา ๑๒. ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐาน รักษามาตรฐาน และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศเพื่อให้สอดคล้องกับ แนวทางการปฏิรูปการศึกษา
ตัวบ่งชี้พื้นฐาน ? : ตัวบ่งชี้ที่ประเมินภายใต้ภารกิจของสถานศึกษา โดยกำหนด ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินบนพื้นฐานที่ทุกสถานศึกษาต้องมี และปฏิบัติได้ ซึ่งสามารถชี้ผลลัพธ์และผลกระทบได้ดี และมี ความเชื่อมโยงกับการประกันคุณภาพภายในซึ่งเป็นการพัฒนา มาจากรอบแรกและรอบสอง ประกอบด้วย ๘ ตัวบ่งชี้ (ค่าน้ำหนักคะแนน ๘๐ คะแนน)
กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ ? หมายถึง ตัวบ่งชี้ที่ประเมินผลผลิตตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา รวมทั้งความสำเร็จ ตามจุดเน้น และจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อน เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละ สถานศึกษา โดยได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการสถาน ศึกษา และหน่วยงานต้นสังกัด ประกอบด้วย ๒ ตัวบ่งชี้ (ค่าน้ำหนักคะแนน ๑๐ คะแนน)
ตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม ? หมายถึงตัวบ่งชี้ที่มุ่งประเมินผลการดำเนินงานของสถานศึกษา โดยสถานศึกษา เป็นผู้กำหนดแนวทางการพัฒนาเพื่อร่วมกัน ชี้แนะ ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสังคม ตามนโยบายของรัฐ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนตามกาลเวลา และปัญหาสังคมที่เปลี่ยนไป โดยมีเป้าหมายที่แสดงถึงความเป็นผู้ช่วยเหลือสังคมและแก้ปัญหาสังคมของ สถานศึกษา เช่น การปฏิรูปการศึกษา การส่งเสริมและสืบสานโครงการตาม พระราชดำริ และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การส่งเสริมประชาธิปไตย ในสถานศึกษาการป้องกันสิ่งเสพติด การพร้อมรับการเป็นสมาชิก สังคมอาเซียน การอนุรักษ์พลังงาน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การป้องกันอุบัติภัย การแก้ปัญหาความขัดแย้ง การสร้างสังคมสันติสุข และความปรองดอง ฯลฯ โดยสถานศึกษาเป็นผู้กำหนดและหน่วยงานต้นสังกัดให้การรับรองการกำหนด ตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริมของสถานศึกษา (ค่าน้ำหนักคะแนน ๑๐ คะแนน)
การรับรองมาตรฐานคุณภาพการรับรองมาตรฐานคุณภาพ การรับรองมาตรฐานระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2 แนวทาง การประเมินแบบโดดเด่น การรับรองมาตรฐานระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑. ให้คะแนนรายตัวบ่งชี้ ๒. คำนวณผลการประเมิน ๓. ตัดสินผลการประเมินคุณภาพภายนอก
การรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ๑. การรับรองมาตรฐานระดับตัวบ่งชี้ ๑) มีคะแนนเฉลี่ยรวมตัวบ่งชี้พื้นฐานตั้งแต่ ๔.๐๐ คะแนนขึ้นไป ๒) มีตัวบ่งชี้ย่อยอย่างน้อย ๒๐ ตัวบ่งชี้ ต้องมีคะแนนแต่ละตัวบ่งชี้ ตั้งแต่ ๓.๗๕ คะแนนขึ้นไป ๓) ไม่มีตัวบ่งชี้ใดมีคะแนนต่ำกว่า ๒.๕๑ คะแนน ๒. การรับรองมาตรฐานในภาพรวม ๑) สถานศึกษามีค่าเฉลี่ยผลการประเมินคุณภาพภายนอกในระดับสถานศึกษา ตั้งแต่ ๔.๐๐ คะแนนขึ้นไป ๒) สถานศึกษามีค่าเฉลี่ยผลการประเมินคุณภาพภายนอกในระดับดีขึ้นไป (ตั้งแต่ ๓.๗๕ คะแนนขึ้นไป) ไม่ต่ำกว่า ๓ มาตรฐานใน ๔ มาตรฐาน ๓) สถานศึกษาไม่มีมาตรฐานใดอยู่ในระดับปรับปรุง (น้อยกว่า ๒.๕๑ คะแนน)
การประเมินแบบโดดเด่น : ขอรับการประเมินเพิ่มเติม สถานศึกษาเป็นผู้ขอรับการประเมิน (เป็นสถานศึกษาที่มีผล การประเมินรอบสอง ในภาพรวม ระดับดีมาก) แนวทางการประเมินของสถานศึกษาแบบโดดเด่น ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ แนวทาง “๑ ช่วย ๙” (๑ สถานศึกษา ช่วย ๙ สถานศึกษา)
จำนวนของผู้ประเมินภายนอกที่เข้าประเมินจำนวนของผู้ประเมินภายนอกที่เข้าประเมิน ในแต่ละสถานศึกษา
กระบวนการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษากระบวนการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา ประกอบด้วย ๑. การจัดคณะผู้ประเมินภายนอก ๒. การเก็บรวบรวมข้อมูล ๓. ขั้นตอนการประเมิน ระยะเวลาในการประเมิน ระยะเวลาในการประเมิน ๓ วันทำการที่ สถานศึกษามีการจัดการเรียนการสอน
การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับ การประเมินภายนอก ทำได้หลายวิธีแต่วิธีที่เหมาะสม ที่ สมศ. นำเสนอมี 3 วิธีหลัก คือ ๑. การศึกษาจากเอกสาร ๒. การสัมภาษณ์ ๓ การสังเกต
การศึกษาจากเอกสาร แหล่งข้อมูลเอกสาร ได้แก่ รายงานการประเมินตนเอง รายงานประจำปีของสถานศึกษา รายงานการประเมินคุณภาพภายใน รายงานการประชุม รายงานการวิจัยที่เกี่ยวกับสถานศึกษานั้น ๆ เอกสารที่รายงานเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียน เป็นต้น ทั้งนี้อาจรวมถึง ป้ายกระดาน แผนที่ เทปบันทึกเสียง วีดิทัศน์ ในการศึกษาเอกสารควรมีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือ คณะผู้ประเมินภายนอกจะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งเอกสารอย่างระมัดระวังและควรอ่านอย่างมีวิจารณญาณและอย่างมีจิตวิพากษ์และมีการเปรียบเทียบข้อมูล
การสัมภาษณ์ เป็นวิธีการที่ผู้ประเมินภายนอกดำเนินการสอบถามจากบุคคล ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย และบันทึกผลการสัมภาษณ์ บุคคลที่เป็นกลุ่ม เป้าหมาย หมายถึง บุคลากรทางการศึกษา และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้เรียน กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง เป็นต้น แหล่งข้อมูลที่มีจำนวนมาก ผู้ประเมินต้องพิจารณาว่าจะเลือกรูปแบบใดเก็บข้อมูลจากใครจึงจะได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือมากที่สุด มีหลายรูปแบบ เช่น การสัมภาษณ์แบบเผชิญหน้า การสัมภาษณ์ ทางโทรศัพท์ การสัมภาษณ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง การสัมภาษณ์แบบกลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก เป็นต้น
การสังเกต เป็นวิธีเก็บข้อมูลโดยตรงจากปฏิกิริยาทางทางของกลุ่มเป้าหมาย หรือเหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ หรือสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น และจด บันทึกไว้โดยไม่มีการสัมภาษณ์ เช่น แหล่งข้อมูลด้านกายภาพของสถานศึกษา หรืออาจเป็นการสังเกตการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนและนอกห้องเรียน เป็นต้น แหล่งข้อมูลประเภทนี้ผู้ประเมิน ฯ สามารถรวบรวมได้ในระยะเวลาอันสั้นในช่วงการตรวจเยี่ยมสถานศึกษา อาจก่อนเข้า ตรวจเยี่ยม อาจมีการจัดทำแบบสังเกตไว้ล่วงหน้า จะทำให้การเก็บข้อมูลโดยการสังเกตได้รวดเร็วและได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
ขั้นตอนการประเมิน มี ๓ ขั้นตอน ๑. ก่อนการตรวจเยี่ยม ๒ ระหว่างการตรวจเยี่ยม ๓. และหลังการตรวจเยี่ยม
(ร่าง) มาตรฐาน / ตัวบ่งชี้ การประกันคุณภาพภายใน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๒ มาตรฐาน มาตรฐานที่ ๑ ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ มาตรฐานที่ ๒ ผู้เรียนมีสุขภาวะที่ดี และมีสุนทรียภาพ มาตรฐานที่ ๓ ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มาตรฐานที่ ๔ ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ ตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างมีสติสมเหตุสมผล มาตรฐานที่ ๕ ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร มาตรฐานที่ ๖ ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงาน ร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
(ต่อ) มาตรฐานที่ ๗ สถานศึกษามีการจัดหลักสูตร และกระบวนการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มาตรฐานที่ ๘ สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่าง หลากหลาย มาตรฐานที่ ๙ สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อม และการบริการที่ส่งเสริม ให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติเต็มศักยภาพ มาตรฐานที่ ๑๐ สถานศึกษามีการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรฐานที่ ๑๑ ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผล มาตรฐานที่ ๑๒ สถานศึกษามีการสร้าง ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษา เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
มีอีกมากมายในรายละเอียด ต้องร่วมกันศึกษา และปฏิบัติร่วมกันต่อไป กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา สพป.บุรีรัมย์ เขต ๒