350 likes | 594 Views
การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาเครือข่ายสถานศึกษาและครูผู้สอน เรื่องการสื่อสารความเป็นอันตรายของสารเคมีตามระบบสากล GHS จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกับ มูลนิธิสิ่งแวดล้อมไทย. แนวคิดและแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการ เรื่อง ข้อความแสดงความเป็นอันตรายของสารเคมี ตามระบบสากล GHS.
E N D
การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาเครือข่ายสถานศึกษาและครูผู้สอนการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาเครือข่ายสถานศึกษาและครูผู้สอน เรื่องการสื่อสารความเป็นอันตรายของสารเคมีตามระบบสากล GHS จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกับ มูลนิธิสิ่งแวดล้อมไทย แนวคิดและแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการ เรื่อง ข้อความแสดงความเป็นอันตรายของสารเคมีตามระบบสากล GHS ดร. อำไพ หรคุณารักษ์ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ 18 กรกฎาคม 2552
หัวข้อการนำเสนอ • ความเป็นมาและเป้าหมาย • สรุปสาระความรู้เรื่อง GHS สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน • แนวคิดการบูรณาการสาระเรื่องระบบสากล GHS • แนวทางการจัดทำสาระการเรียนรู้เรื่อง GHS • การออกแบบหน่วยเรียนรู้ • การจัดทำแผนการเรียนรู้ • การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ • ข้อพิจารณาเพื่อการเตรียมความพร้อมของโรงเรียนหรือสถานศึกษา
ความเป็นมาและเป้าหมายความเป็นมาและเป้าหมาย • อย. เล็งเห็นถึงความสำคัญของการให้ความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องด้านสารเคมีแก่กลุ่มเด็กและเยาวชน จึงสนับสนุนการบูรณาการความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารความเป็นอันตรายของสารเคมี ตามระบบสากล GHS เข้ากับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน • เป้าหมายของการทำงาน คือ การเสริมสร้างศักยภาพของครูผู้สอน ตลอดจนบุคลากรทางการศึกษาและนักเรียน ในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เรื่อง ความเป็นอันตรายของสารเคมีตามระบบสากล GHS สำหรับระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา
สรุปสาระความรู้เรื่อง GHSสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน • การจัดกลุ่มสารเคมี/เคมีภัณฑ์ ตามความเป็นอันตรายในระบบสากล GHS (ได้แก่ อันตรายทางกายภาพ 16 ประเภท อันตรายทางสุขภาพ 10 ประเภท อันตรายทางสิ่งแวดล้อม 1 ประเภท) • ฉลากเคมีภัณฑ์ตามระบบสากล GHS (ได้แก่ รูปสัญลักษณ์ความเป็นอันตราย 9 รูป คำสัญญาณ 2 คำ ข้อความแสดงความเป็นอันตราย ข้อควรปฏิบัติ 4 ประเภท) • เอกสารความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี (Safety Data Sheet ประกอบด้วย 16 หัวข้อหลัก)
การจัดกลุ่มสารเคมี/เคมีภัณฑ์ตามความเป็นอันตรายในระบบสากล GHS
รูปสัญลักษณ์ความเป็นอันตราย (Pictogram)มี 9 รูป ลักษณะเป็นรูปสัญลักษณ์สีดำบนพื้นสีขาวและมีกรอบรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนสีแดง กลุ่มความเป็นอันตรายด้านกายภาพ กลุ่มความเป็นอันตรายด้านสุขภาพ กลุ่มความเป็นอันตรายด้านสิ่งแวดล้อม
คำสัญญาณ (Signal Word) ใช้กำหนดระดับความสัมพันธ์กับความรุนแรงของอันตรายระบบ GHS มี 2 คำ“อันตราย (Danger)”สำหรับอันตรายที่มีความรุนแรง“ระวัง (Warning)”สำหรับความเป็นอันตรายระดับที่ต่ำกว่า ข้อความแสดงความเป็นอันตราย (Hazard Statement)อธิบายความเป็นอันตรายกำหนดโดยการจำแนกประเภทความเป็นอันตราย อาทิ อาจระเบิดเมื่อได้รับความร้อน ระคายเคืองต่อผิวหนัง อาจก่อให้เกิดมะเร็ง เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ เป็นต้น ข้อควรปฏิบัติ (Precautionary Statement)แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ 1) การป้องกัน 2) การตอบสนองในกรณีอุบัติเหตุสารเคมีหกหล่นหรือสัมผัส 3) การเก็บรักษา และ 4) การกำจัด
แนวคิดการบูรณาการสาระเรื่องระบบสากล GHS • กรอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดสาระการเรียนรู้แกนกลางระดับชาติ (8 กลุ่มสาระ คือ ภาษาไทย - คณิตศาสตร์ - วิทยาศาสตร์ - สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม - สุขศึกษาและพลศึกษา - ศิลปะ - การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ) มาตรฐานการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค ในแต่ละระดับชั้นไว้อย่างชัดเจน • สถานศึกษา สามารถนำเนื้อหาสาระการเรียนรู้ เรื่อง การแบ่งกลุ่มความเป็นอันตรายของสารเคมีตามระบบสากล GHS มาบูรณาการเข้าสู่การจัดการเรียนรู้ภายใต้หลักสูตรสถานศึกษา โดยกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ และเป้าหมายของสถานศึกษาในเรื่องนี้ให้ชัดเจน พร้อมกับกำหนดสาระการเรียนรู้หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง จัดทำคำอธิบายรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ย่อย และแผนการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกรอบหลักสูตรเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งจัดทำสาระเพิ่มเติมให้เหมาะสมสอดคล้องกับผู้เรียนในท้องถิ่น
แนวคิดการบูรณาการสาระเรื่องระบบสากล GHS • ผู้สอนสามารถบูรณาการความรู้และทักษะการเรียนรู้ เรื่อง ระบบสากล GHS เข้าสู่กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้โดยตรงอย่างน้อย 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ • นอกจากนี้ ผู้สอนยังสามารถศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบสากล GHS เพิ่มเติม เพื่อนำมาใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ในสาระอื่นๆ ซึ่งสามารถส่งเสริมและสื่อสารให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสากล GHS (กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ) เป็นต้น
หลักสูตรสถานศึกษา กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน คุณภาพ และมาตรฐานการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ ความต้องการเรียนรู้ภายในชุมชน/ท้องถิ่น การจัดทำนโยบาย/เป้าหมายหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวนรายสาระการเรียนรู้ (รายวิชา) จากผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี/ภาค และสาระการเรียนรู้รายปี/ภาค ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี/รายภาค และสาระการเรียนรู้รายปี/ภาค มาตรฐานเรียนรู้ช่วงชั้น • กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับ GHS • วิทยาศาสตร์ • สุขศึกษาและพลศึกษา • ภาษาต่างประเทศ • ภาษาไทย • การงานอาชีพและเทคโนโลยี โครงสร้างรายวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนเวลา/หน่วยกิต ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี/ภาค สาระการเรียนรู้รายปี/ภาค คำอธิบายรายวิชา ลำดับที่ ชื่อหน่วย ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายหน่วย สาระการเรียนรู้รายหน่วย จำนวนชั่วโมง/หน่วยกิต หน่วยการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ กระบวนการวัดและประเมินผล แหล่งเรียนรู้ จำนวนแผนการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แนวทางการจัดทำสาระการเรียนรู้เรื่อง GHS ของสถานศึกษา
ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา เกี่ยวกับความปลอดภัยด้านสารเคมี และข้อมูลระบบสากล GHS สำหรับระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา • วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม (ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นต้น) สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร รายวิชาเพิ่มเติม และหน่วยการเรียนรู้เรื่องสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน (ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1) เรื่อง สารเคมีใกล้ตัว และเรื่องสารและการเปลี่ยนแปลง (ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2) รวมถึงการจัดกิจกรรมสำรวจสารเคมีภายในบ้าน (ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1) กิจกรรมทดลองในห้องปฏิบัติการรายวิชาเคมี (ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4) จัดทำโครงงานศึกษาทดลองสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับอาหาร ได้แก่ การทดสอบสารอาหาร ประโยชน์ของสารอาหาร การกินอาหารให้ถูกสัดส่วน และหลีกเลี่ยงสารพิษเจือปนในอาหาร
ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา เกี่ยวกับความปลอดภัยด้านสารเคมี และข้อมูลระบบสากล GHS สำหรับระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา • วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา รายวิชาสุขศึกษา สาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต เรียนรู้ถึงปัจจัยและพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพและความปลอดภัย การปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยจากสารเคมี • วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระที่ 4 การอาชีพ (ประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3) หน่วยการเรียนรู้สวัสดิภาพในชีวิต ความปลอดภัยในการประกอบอาชีพ รายวิชาโภชนาการ งานบ้าน งานเกษตร และงานธุรกิจ
ตัวอย่างการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยการเรียนรู้ระบบสากล GHSกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง
ตัวอย่างการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยการเรียนรู้ระบบสากล GHSกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง
ตัวอย่างผังมโนทัศน์การจัดการเรียนรู้ระบบสากล GHS แบบบูรณาการ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน Signal Words and Safety Signs ระบบข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ภาษาต่างประเทศ/ต สัญลักษณ์และข้อความเตือนภัย การงานอาชีพ/ง สุขศึกษา/พ ภาษาไทย/ท การอ่านข้อความเตือนภัย เครื่องหมายเตือนภัย
ตัวอย่างการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยการเรียนรู้ระบบสากล GHSกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง
หลักสูตรสถานศึกษา กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน คุณภาพ และมาตรฐานการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ ความต้องการเรียนรู้ภายในชุมชน/ท้องถิ่น การจัดทำนโยบาย/เป้าหมายหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวนรายสาระการเรียนรู้ (รายวิชา) จากผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี/ภาค และสาระการเรียนรู้รายปี/ภาค ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี/รายภาค และสาระการเรียนรู้รายปี/ภาค มาตรฐานเรียนรู้ช่วงชั้น • กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับ GHS • วิทยาศาสตร์ • สุขศึกษาและพลศึกษา • ภาษาต่างประเทศ • ภาษาไทย • การงานอาชีพและเทคโนโลยี โครงสร้างรายวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนเวลา/หน่วยกิต ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี/ภาค สาระการเรียนรู้รายปี/ภาค คำอธิบายรายวิชา ลำดับที่ ชื่อหน่วย ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายหน่วย สาระการเรียนรู้รายหน่วย จำนวนชั่วโมง/หน่วยกิต หน่วยการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ กระบวนการวัดและประเมินผล แหล่งเรียนรู้ จำนวนแผนการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แนวทางการจัดทำสาระการเรียนรู้เรื่อง GHS ของสถานศึกษา
การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ • วิเคราะห์จากคำอธิบายรายวิชารายปีหรือรายภาค และจากแต่ละหน่วยการเรียนรู้ที่ได้มีการจัดทำขึ้น • แผนการจัดการเรียนรู้โดยทั่วไป ประกอบด้วยขั้นตอนและกิจกรรมการเรียนรู้ที่สำคัญ คือ ขั้นสร้างความสนใจ ขั้นสำรวจและค้นหา ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป ขั้นขยายความรู้ และขั้นประเมินผลการเรียนรู้ • การออกแบบจัดการเรียนรู้ประจำหน่วยหรือเรื่อง เพื่อเตรียมการจัดการเรียนรู้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบและเป็นลายลักษณ์อักษร มีองค์ประกอบหลัก ได้แก่ สาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้ • อุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอนเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ระบบสากล GHS
ตัวอย่างกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตัวอย่างกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ข้อมูลระบบสากล GHS(ช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย) • การจัดตั้งชุมนุมคุ้มครองผู้บริโภค • กิจกรรมผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพเพื่อใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี • กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยจากพิษของสารเคมี • การรณรงค์ดื่มน้ำจากถังปลอดสารตะกั่ว • เรียนรู้การฉีดยาฆ่าแมลงอย่างถูกวิธีของเกษตรกร • การจัดทำสื่อเผยแพร่ความรู้ในลักษณะแผ่นพับและหนังสือเล่มเล็กเกี่ยวกับสารเคมีในชีวิตประจำวัน
สื่อและแหล่งเรียนรู้เรื่องระบบสากล GHS • สื่อสิ่งพิมพ์ วารสาร โปสเตอร์ ตำราเรียน ชุดการสอน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน และบทเรียนสำเร็จรูปในรูปแบบซีดี เอกสารอ้างอิง ข้อมูลเผยแพร่ เอกสารการฝึกอบรม และเอกสารวิชาการ ตลอดจนประกาศข้อกำหนดหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง • ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการ และองค์กรวิจัยที่เกี่ยวข้อง บริษัท โรงงานอุตสาหกรรม หรือผู้ประกอบการเอกชนที่ผลิตสินค้าประเภทเคมีภัณฑ์ ซึ่งต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด GHS • การสืบค้นจากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ http://www.diwsafety.org/add_ghs/ghs_manual_th.htm • ฉลากติดเคมีภัณฑ์ที่วางขายตามท้องตลาด และเอกสารข้อมูลความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี (Safety Data Sheet หรือ SDS) ซึ่งจัดทำโดยสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี
แนวทางการดำเนินงานเพื่อบูรณาการสาระข้อมูลระบบสากล GHS ในโรงเรียนหรือสถานศึกษา • หน่วยงานสนับสนุนการจัดการความรู้เรื่องระบบสากล GHS (อาทิ อย.) ร่วมกับหน่วยงานกำกับด้านการศึกษา (อาทิ สพฐ.) พิจารณาวางแผนจัดทำมาตรฐานการเรียนรู้เรื่อง การแบ่งกลุ่มความเป็นอันตรายของสารเคมี และการแสดงฉลากตามระบบสากล GHS เพื่อบูรณาการสู่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน • จัดทำเอกสาร ศึกษาวิจัย ติดตาม สนับสนุน และส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาหรือโรงเรียน • จัดหลักสูตรอบรมครูวิทยากรแกนนำ ส่งเสริมการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้สอนและผู้เรียนให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยด้านสารเคมี
แนวทางการดำเนินงานเพื่อบูรณาการสาระข้อมูลระบบสากล GHS ในโรงเรียนหรือสถานศึกษา • สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ร่วมกับโรงเรียนหรือสถานศึกษา จัดทำกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น ให้ครอบคลุมสาระและรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน • พัฒนาแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกโรงเรียน พร้อมกับจัดทำสื่อเรียนรู้ประเภทต่างๆ อาทิ เอกสารเผยแพร่และเว็บไซต์ • คัดเลือกโรงเรียนหรือสถานศึกษานำร่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพและศึกษารูปแบบที่มีประสิทธิภาพ สำหรับการจัดการเรียนรู้เรื่องระบบสากล GHS พัฒนาเครือข่ายโรงเรียนนำร่องจัดการเรียนรู้เรื่องระบบสากล GHS พร้อมกับเปิดโอกาสให้มีการหารือ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และติดตามประเมินผลการบูรณาการสาระเรื่อง การแบ่งกลุ่มความเป็นอันตรายของสารเคมี และการแสดงฉลากตามระบบสากล GHS ระหว่างผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ที่อยู่ในโรงเรียนเดียวกัน หรือระหว่างเครือข่ายโรงเรียนนำร่อง เพื่อพัฒนา/ปรับปรุงหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้สำหรับแต่ละช่วงชั้นและ/หรือชั้นปีอย่างต่อเนื่อง
แกนนำองค์กร หน่วยงาน และผู้ที่เกี่ยวข้อง • กระทรวงศึกษาธิการ – ส่วนกลางและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา • สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข • คณะกรรมการบริหารโรงเรียน/สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน • ผู้บริหารโรงเรียน/สถานศึกษา • ครู-อาจารย์ • ผู้เรียน • หน่วยงาน/สถาบัน/องค์กรเอกชน/ภาคธุรกิจ • ผู้ปกครองและชุมชน
บทบาทและแนวทางการสนับสนุนของผู้ที่เกี่ยวข้องบทบาทและแนวทางการสนับสนุนของผู้ที่เกี่ยวข้อง กระทรวงศึกษาธิการ – ส่วนกลาง • จัดและส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีการบูรณาการสาระและกระบวนการจัดการเรียนรู้เรื่องความปลอดภัยสารเคมี และระบบสากล GHS ของสถานศึกษา โดยอาจพิจารณากำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ที่เหมาะสม และสอดแทรกสู่สาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม หรือเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง • พัฒนาความพร้อมของครู บุคลากรการศึกษา และสถานศึกษาโดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการเรียนรู้และการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยสารเคมีและระบบสากล GHS
บทบาทและแนวทางการสนับสนุนของผู้ที่เกี่ยวข้องบทบาทและแนวทางการสนับสนุนของผู้ที่เกี่ยวข้อง กระทรวงศึกษาธิการ – สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา • กำกับ ประสาน ส่งเสริมการจัดการศึกษาเรื่องความปลอดภัยสารเคมี และระบบสากล GHS ให้กับโรงเรียน/สถานศึกษา • พัฒนาการจัดการศึกษาเรื่องระบบสากล GHS ของสถานศึกษาในรูปแบบของ “โรงเรียนเครือข่าย” เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมการมีส่วนร่วมพัฒนาปัจจัยที่สร้างเสริมและพัฒนาผู้เรียน ได้แก่ ครู ผู้บริหาร หลักสูตร สภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ ชุมชนและบุคลากรทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง
บทบาทและแนวทางการสนับสนุนของผู้ที่เกี่ยวข้องบทบาทและแนวทางการสนับสนุนของผู้ที่เกี่ยวข้อง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข • สนับสนุนการเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนรู้เรื่อง ระบบสากล GHS ของโรงเรียน/สถานศึกษา โดยเฉพาะการสร้างความรู้ความเข้าใจและพัฒนาศักยภาพของครู อาจารย์ บุคลากรด้านการศึกษา และเด็กนักเรียน ให้สามารถเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยด้านสารเคมี และปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง • พัฒนาและทดลองใช้หลักสูตรต้นแบบการเสริมสร้างศักยภาพของครูและบุคลากรการศึกษา ให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้สาระ GHS อย่างมีประสิทธิภาพ
บทบาทและแนวทางการสนับสนุนของผู้ที่เกี่ยวข้องบทบาทและแนวทางการสนับสนุนของผู้ที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการบริหารโรงเรียน/สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน • กำกับ ดูแล และกำหนดนโยบาย/แผนพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ซึ่งบูรณาการสาระและกระบวนการจัดการเรียนรู้เรื่องระบบสากล GHS ของสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น กำกับและติดตามการดำเนินงานตามแผนพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา • เสนอแนวทางและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการด้านวิชาการและส่งเสริมให้มีการระดมทรัพยากร (ด้านงบประมาณและวิทยากร) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กทุกคนได้รับความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยสารเคมี
บทบาทและแนวทางการสนับสนุนของผู้ที่เกี่ยวข้องบทบาทและแนวทางการสนับสนุนของผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารโรงเรียน/สถานศึกษา • กำหนดแนวปฏิบัติ นโยบาย เป้าหมาย และมาตรการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เรื่องระบบสากล GHS ของโรงเรียนร่วมกับคณะกรรมการบริหารโรงเรียน • ควบคุม ดูแล สนับสนุน ติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรภายในโรงเรียนให้เกิดผลดีต่อการจัดการศึกษาด้านความปลอดภัยสารเคมีและระบบสากล GHS ของโรงเรียน • นิเทศ ติดตาม ให้คำปรึกษา แนะนำ ให้การสนับสนุนงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ กำกับและติดตามให้มีการเรียนการสอน การวัดผลประเมินผลให้เป็นไปหลักสูตรการจัดการเรียนรู้เรื่องระบบสากล GHS • พัฒนากิจกรรมส่งเสริมการศึกษาเพื่อความปลอดภัยสารเคมีภายในโรงเรียน และให้ความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานอื่น
บทบาทและแนวทางการสนับสนุนของผู้ที่เกี่ยวข้องบทบาทและแนวทางการสนับสนุนของผู้ที่เกี่ยวข้อง ครู-อาจารย์ • จัดการเรียนการสอนเรื่องระบบสากล GHS และความปลอดภัยสารเคมี โดยให้ความสำคัญกับผู้เรียน จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสม ให้การแนะแนวศึกษาอย่างต่อเนื่อง • ศึกษา ค้นคว้า รวบรวมวิทยาการและประสบการณ์ใหม่ๆ ในสาขาวิชาความปลอดภัยสารเคมีและระบบสากล GHS จัดทำสื่อการเรียนการสอนใหม่ที่น่าสนใจ วิเคราะห์วิจัยในสาระวิชาที่สามารถบูรณาการสาระเรื่องความปลอดภัยสารเคมี และระบบสากล GHS ประเมินผลการเรียนตามสภาพจริง และตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ • ให้บริการทางการศึกษา ส่งเสริมการเรียนการสอน และให้คำแนะนำด้านความปลอดภัยสารเคมีและระบบสากล GHS แก่ผู้ปกครอง/ชุมชน
บทบาทและแนวทางการสนับสนุนของผู้ที่เกี่ยวข้องบทบาทและแนวทางการสนับสนุนของผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้เรียน • ศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยสารเคมี และระบบสากล GHS • มีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนการสอนสาระเรื่อง ความปลอดภัยสารเคมี และระบบสากล GHS สนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องของโรงเรียน • ป้องกัน รักษาสุขภาพของตนและผู้อื่น ให้มีความปลอดภัยจากผลกระทบของการใช้สารเคมี/ผลิตภัณฑ์สารเคมี หน่วยงาน/สถาบัน/องค์กรเอกชน/ภาคธุรกิจ • ให้ความร่วมมือและสนับสนุนแก่โรงเรียน/สถานศึกษา ในการจัดการศึกษาเรื่อง ความปลอดภัยสารเคมี และระบบสากล GHS
บทบาทและแนวทางการสนับสนุนของผู้ที่เกี่ยวข้องบทบาทและแนวทางการสนับสนุนของผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้ปกครองและชุมชน • มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย วางแผนการดำเนินงาน และประเมินคุณภาพการศึกษาความปลอดภัยสารเคมี และระบบสากล GHS ของโรงเรียน • ให้ความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้ และพัฒนาผู้เรียนด้านความปลอดภัยสารเคมี และระบบสากล GHS ที่โรงเรียนจัดขึ้น
“การจัดการเรียนรู้เรื่องของสารเคมี ควรปลูกฝังกับเด็กตั้งแต่วัยเยาว์ ให้ตระหนักถึงความสำคัญที่ผ่านมา คนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยสนใจถึงพิษภัยของสารเคมี ถึงแม้เป็นสิ่งใกล้ตัว เพราะไม่ทราบถึงพิษภัยของสารเคมีแต่ละชนิด และยังขาดความรู้ว่าสารเคมีแต่ละชนิดมีความรุนแรงหรือเป็นอันตรายมากน้อยเพียงใด มีผลกระทบต่อตนเองอย่างไรบ้าง”