1.15k likes | 1.32k Views
รายงานประจำปีการประเมินคุณภาพ ปีการศึกษา 2552. กลุ่มงานสถานีวิจัยและบริการกลาง ฝ่ายวิจัยและบริการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ภารกิจ.
E N D
รายงานประจำปีการประเมินคุณภาพรายงานประจำปีการประเมินคุณภาพ ปีการศึกษา 2552 กลุ่มงานสถานีวิจัยและบริการกลาง ฝ่ายวิจัยและบริการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ภารกิจ กลุ่มงานสถานีวิจัยและบริการกลาง มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการสนับสนุนการเรียนการสอน การวิจัยของคณะทรัพยากรธรรมชาติ(เป็นแหล่งสร้างรายได้ของคณะฯ)
วิสัยทัศน์ กลุ่มงานสถานีวิจัยและบริการกลาง จะเป็นหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถสนับสนุนการเรียนการสอน การวิจัยของคณะทรัพยากรธรรมชาติ(เป็นแหล่งสร้างรายได้ของคณะฯ)
พันธกิจ • สนับสนุนการเรียนการสอน การวิจัย และบริการวิชาการของคณะฯ ให้มีประสิทธิภาพ โดยใช้ทรัพยากรจากศูนย์วิจัย สถานีวิจัย และเรือนทดลอง • ให้มีการวิจัยในหัวข้อที่เป็นปัญหาสำคัญในภาคใต้ทั้งในระบบการผลิตและการใช้ทรัพยากรเกษตรโดยใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่ร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น • สร้างคุณค่าขององค์ความรู้จากงานวิจัยเพื่อใช้ในการสนับสนุนการเรียนการสอน และการบริการวิชาการแก่ชุมชน • เป็นแหล่งสร้างรายได้ของคณะฯ
โครงสร้างหน่วยงาน กลุ่มงานสถานีวิจัยฯ และกลุ่มงานศูนย์วิจัย ฝ่ายวิจัยและบริการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
แผนภูมิการแบ่งส่วนราชการแผนภูมิการแบ่งส่วนราชการ คณบดี รองคณบดีฝ่ายพัฒนา กลุ่มงานสถานีวิจัยและบริการกลาง กลุ่มงานศูนย์วิจัย สถานีวิจัยท่าเชียด ศูนย์วิจัยและพัฒนาสัตว์เคี้ยวอื้องขนาดเล็ก งานบริหารธุรการ สถานีวิจัยเทพา ศูนย์วิจัยพืชยืนต้นและไม้ผลเมืองร้อน ศูนย์วิจัยพืชยืนต้นและไม้ผลเมืองร้อน สถานีวิจัยคลองหอยโข่ง ศูนย์วิจัยระบบเกษตรทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม งานบริการกลาง ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ ภาคใต้ หน่วยฝึกงานภาคสนาม ศูนย์วิจัยและพัฒนาการผลิตปาล์มน้ำมัน หน่วยเรือนกระจกทดลอง
ตารางสรุปคะแนนแต่ละองค์ประกอบตารางสรุปคะแนนแต่ละองค์ประกอบ
ตารางสรุปคะแนนแต่ละองค์ประกอบตารางสรุปคะแนนแต่ละองค์ประกอบ
ผลการดำเนินงานของกลุ่มงานสถานีวิจัยและบริการกลางผลการดำเนินงานของกลุ่มงานสถานีวิจัยและบริการกลาง
กลุ่มงานสถานีวิจัยและบริการกลางดำเนินกิจกรรม/งานด้านต่างๆ ดังนี้ 1. กิจกรรมประจำสถานีวิจัย/หน่วยงาน 2. งานพัฒนาสถานี จำนวน 12 เรื่อง 3. งานวิจัย จำนวน 13 เรื่อง 4. งานบริการวิชาการแก่สังคม จำนวน 188 ครั้ง
1. กิจกรรมประจำสถานีวิจัย/หน่วยงาน
สถานีวิจัยเทพา มีพื้นที่ 880 ไร่ โดยมีกิจกรรมหลักดังนี้ - ยางพารา (350 ไร่) - ปาล์มน้ำมัน (120 ไร่)- โคในระบบนิเวศเกษตร (30 ตัว) - ไม้ผล (70 ไร่) - อื่นๆ เช่น น้ำผึ้งรวง น้ำมันมะพร้าว ลูกประคบ
ยางพารา • ยางพาราเปิดกรีด 250 ไร่ • ยางเล็ก (อายุ 1-2ปี) 40 ไร่ • ยางพันธุ์ดั้งเดิม 10 ไร่
ยางเปิดกรีด 250 ไร่ อายุ 9-25 ปี
ยางเล็ก 40 ไร่ อายุ 1-2 ปี
ปาล์มน้ำมัน อายุ 7-20 ปี
ไม้ผลแบบผสมผสาน มังคุด ทุเรียน เงาะ ลองกอง ส้มโอ ลองกองแซมมะพร้าว ลองกอง ส้มจุก กระท้อน กล้วย
อื่นๆ ลูกประคบสมุนไพร น้ำมันมะพร้าว น้ำผึ้งรวง
สถานีวิจัยท่าเชียด มีพื้นที่ 70 ไร่ โดยมีกิจกรรมหลักดังนี้ - นาข้าว 9 ไร่ - เกษตรผสมผสาน (เศรษฐกิจพอเพียง 18 ไร่) - ปรับปรุงพื้นที่เพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน 17 ไร่ - โค 20 ตัว สถานีวิจัยท่าเชียด ได้มีการปรับปรุงแผนการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเหมาะสมกับอัตรากำลังที่มีอยู่
งานนา เดิมทำนาปีละ 1 ครั้ง ในพื้นที่ 25 ไร่ ได้ผลผลิตต่ำและสถานีวิจัยฯ ได้พัฒนาคลองส่งน้ำและระบายน้ำใหม่ ซึ่งสามารถควบคุมระดับน้ำได้ 80% ของพื้นที่ทำให้ทำนาได้ปีละ 2 ครั้ง คือ นาปรัง และนาปี
ไม้ผล - มะนาว 2 ไร่ - ส้มโอ 2 ไร่ - กระท้อน 2 ไร่
มะนาว กระท้อน ส้มโอ
พืชไร่ - อ้อยคั้นน้ำ จำนวน 3 ไร่
โคพื้นเมือง ปัจจุบันสถานีวิจัยมีโคทั้งหมด 20 ตัว - เพศเมีย 14 ตัว - เพศผู้ 1 ตัว - ลูกโค 5 ตัว
บ่อเลี้ยงปลา บ่อเลี้ยงปลา ขนาด 1 – 2 งาน จำนวน 4 บ่อ ขณะนี้ได้ขุดลอกบ่อเลี้ยงปลาเพื่อเลี้ยงปลากินพืช (ปลานิล ปลาตะเพียน)ปลากินเนื้อ (ปลาดุก) และเป็นแหล่งน้ำสำรองการเกษตรในฟาร์ม
เพิ่มศักยภาพในการใช้พื้นที่เพิ่มศักยภาพในการใช้พื้นที่ ใช้พื้นที่เสื่อมโทรม พื้นที่เศษเสี้ยว แนวรั้ว และไหล่ทาง พื้นที่ประมาณ 4 ไร่ ปลูกพืชที่ลงทุนน้อย การดูแลรักษาง่าย ได้แก่ ไผ่เลี้ยงหวาน ไผ่รวก ไผ่ตง ไผ่กิมซุ่ง กระถินเทพา หมาก มะพร้าว และเทียม
กระถินเทพา เทียม มะพร้าว หมาก
สถานีวิจัยคลองหอยโข่งสถานีวิจัยคลองหอยโข่ง มีพื้นที่ 598 ไร่ โดยมีกิจกรรมหลักดังนี้ - ปาล์มน้ำมัน (225 ไร่)- ยางพารา (30 ไร่)- โคพื้นเมือง (87 ตัว)- ม้า 11 ตัว - ควาย 2 ตัว - อื่นๆ เช่น ผลิตกล้าไม้ ปุ๋ยหมัก ดินผสม
แปลงปาล์มน้ำมัน อายุ 23 ปี ปลูกตุลาคม 2532 จำนวน 50 ไร่ ประมาณ 1,080 ต้น อายุ9 ปีปลูก มกราคม 2544 จำนวน 35 ไร่ ประมาณ 780 ต้น อายุ 3ปีปลูก ตุลาคม 2551 จำนวน 115 ไร่ ประมาณ 2,540 ต้น
อายุ 23 ปี
อายุ 9 ปี
อายุ 3 ปี
งานอื่นๆ • ผลิตกล้าไม้ชนิดต่างๆ เช่น ส้มโอ มะนาว มะกรูด ฯลฯ • ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ • ผลิตดินผสม
หน่วยเรือนกระจกทดลอง - ให้บริการพื้นที่เรือนกระจก จำนวน 4 หลัง- ให้บริการแปลงทดลอง 4 แปลง- งานช่วยการสอน และการฝึกงาน- งานศึกษาทดลองการปลูกพืชไร้ดิน- บริการวิชาการการปลูกผักไฮโดรโพนิกส์การชลประทานระบบท่อดินและปุ๋ย
หน่วยฝึกงานภาคสนาม กลุ่มงานสถานีวิจัยฯ ได้รับการมอบหมายภารกิจในการฝึกงานนักศึกษาให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของคณะทรัพยากรรมชาติ ในรายวิชา 544-191 (งานฟาร์มพื้นฐาน) จำนวน 100 ชั่วโมง ปีการศึกษาละ 2 ครั้ง ประมาณ 350 คน (จำนวน 2 ภาคการศึกษา) โดยมีสถานีวิจัยที่รองรับการฝึกงานให้กับนักศึกษา จำนวน 3 สถานีวิจัย ให้นักศึกษาสามารถเลือกฝึกงาน ดังนี้
สถานีวิจัยเทพา เน้นการฝึกงานด้านยางพารา ปาล์มน้ำมัน และไม้ผล สถานีวิจัยท่าเชียด เน้นการฝึกงานด้าน พืชไร่นา และเศรษฐกิจพอเพียง สถานีวิจัยคลองหอยโข่ง เน้นการฝึกงานด้าน ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ปศุสัตว์ และระบบการทำฟาร์ม ในปีการศึกษา 2552 มีนักศึกษาฝึกงานทั้งหมด 352 คน ได้ระดับขั้น G จำนวน 250 คน และระดับขั้น P จำนวน 102 คน