230 likes | 356 Views
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. “ คาดการณ์ ภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 4 ตลอดทั้งปี 2554 และปี 2555 ”. ขอบเขตของการแถลงข่าว. ด้านอุปสงค์ของเศรษฐกิจ ด้านอุปทานของเศรษฐกิจ เสถียรภาพทางด้านเศรษฐกิจ ภาวะเศรษฐกิจโลก. ด้านอุปสงค์ของเศรษฐกิจ. ด้านการบริโภค.
E N D
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย “คาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 4 ตลอดทั้งปี 2554 และปี 2555”
ขอบเขตของการแถลงข่าว • ด้านอุปสงค์ของเศรษฐกิจ • ด้านอุปทานของเศรษฐกิจ • เสถียรภาพทางด้านเศรษฐกิจ • ภาวะเศรษฐกิจโลก
ด้านอุปสงค์ของเศรษฐกิจด้านอุปสงค์ของเศรษฐกิจ
ด้านการบริโภค การบริโภคในไตรมาสที่ 4 คาดว่าจะหดตัวลงร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร ส่งผลให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นด้านการบริโภคที่ลดลง ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดว่าอัตราการขยายตัวของการบริโภคตลอดทั้งปี 2554 จะขยายตัวที่ประมาณร้อยละ 1.6 ชะลอตัวลงจากการบริโภคในปีที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 4.8 และคาดว่ามีอัตราการขยายตัวของการบริโภคในปี 2555 จะขยายตัวประมาณที่ร้อยละ 4.5 เร่งตัวขึ้นจากปี 2554 ที่มา : ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย
ด้านการลงทุน สถานการณด้านการลงทุนในช่วงไตรมาสที่ 4 คาดว่าจะหดตัวลงร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ชะลอลงตัวลงจากในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีที่การลงทุนขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.4 เป็นผลมาจากสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ในหลายพื้นที่ส่งผลสถานการณ์ด้านการลงทุนในช่วงไตรมาสที่ 4 หดตัวลง คาดว่าอัตราการขยายตัวของการลงทุนโดยตลอดปี 2554 น่าจะขยายตัวที่ประมาณร้อยละ 4.5 ชะลอตัวลงจากปีที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 9.4 และคาดว่าการลงทุนโดยรวมในปี 2555 น่าจะสามารถขยายตัวได้ในระดับที่ดีที่ร้อยละ 10.6เมื่อเทียบกับปี 2554 ที่มา : สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
การค้าระหว่างประเทศและดุลการค้าการค้าระหว่างประเทศและดุลการค้า ในช่วงไตรมาสที่ 4 คาดว่าการส่งออกจะหดตัวลงร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อภาคอุตสาหกรรมของประเทศ ส่งผลให้การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง • ปัจจัยเกื้อหนุน • ความต้องการสินค้าจากต่างประเทศยังมีอย่างต่อเนื่อง • ระดับราคาสินค้าเกษตรที่ยังคงทรงตัวในระดับสูง • ปัจจัยบั่นทอน • ผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมที่สร้างความเสียหายอย่างมากต่อภาคอุตสาหกรรม • การแข่งขันด้านการส่งออกที่ค่อนข้างรุนแรง • ความเสี่ยงด้านภาวะเศรษฐกิจโลก อันเป็นผลมาจากสถานการณ์ปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป และสหรัฐอเมริกา ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยคาดว่าภาวะการส่งออกตลอดทั้งปี 2554 จะสามารถขยายตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 16.5 ชะลอตัวลงจากปีที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 28.5 และคาดว่าการส่งออกปี 2555 น่าจะสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยขยายตัวที่ร้อยละ 10.2ชะลอตัวลงจากการขยายตัวของการส่งออกในปี 2554
ด้านอุปทานของเศรษฐกิจด้านอุปทานของเศรษฐกิจ
ภาคเกษตรกรรม ภาคเกษตรกรรมไตรมาสที่ 4 หดตัวลงร้อยละ 5.8 ต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 3 ที่ภาคเกษตรกรรมหดตัวลงร้อยละ 0.9 ส่งผลให้ในช่วงครึ่งปีหลังภาคเกษตรกรรมหดตัวลงร้อยละ 3.4 เนื่องจากผลผลิตพืชสำคัญ คือ ข้าวนาปรังลดลงจากการรณรงค์ของภาครัฐให้เกษตรกรลดการปลูกข้าวนาปรังรอบที่ 2 รวมถึงผลผลิตสินค้าเกษตรอื่นๆ เช่น ผลไม้ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันปะหลัง และประมง มีปริมาณออกสู่ตลาดมากขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มชะลอตัวลง รวมถึงผลกระทบจากอุทกภัยที่สร้างความเสียหายแก่พื้นที่ทำการเกษตรเป็นจำนวนมาก ที่มา : สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดว่าในปี 2554 ภาคเกษตรกรรมจะสามารถขยายตัวได้ที่ร้อยละ 1.4อันเป็นผลมาจากการในระดับสูงในช่วงครึ่งแรกของปี สำหรับการคาดการณ์ปี 2555 คาดว่าภาคเกษตรกรรมจะขยายตัวในเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
GDP ภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 4 คาดว่าจะหดตัวลงถึงร้อยละ 10.4 ส่งผลให้ในช่วงครึ่งหลังของปีภาคอุตสาหกรรมน่าจะหดตัวลงประมาณร้อยละ 3.7 อันเป็นผลมาจากสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่สร้างความเสียหายอย่างมากต่อภาคอุตสาหกรรม ภาคอุตสาหกรรม ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับ GDP ภาคอุตสาหกรรมตลอดทั้งปี 2554 คาดว่าภาคอุตสาหกรรมจะหดตัวลงร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และคาดว่าในปี 2555 ภาคอุตสาหกรรมจะสามารถขยายตัวได้ที่ร้อยละ 5.5 • ปัจจัยเกื้อหนุน • ความต้องการสินค้าจากต่างประเทศยังคงมีอย่างต่อเนื่อง • การบริโภคในประเทศขยายตัวในระดับที่ดี • ปัจจัยบั่นทอน • สถานการณ์น้ำท่วมที่สร้างความเสียหายอย่างมากต่อภาคอุตสาหกรรม • ความเสี่ยงด้านภาวะเศรษฐกิจโลก อันเป็นผลมาจากสถานการณ์ปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป และสหรัฐอเมริกา
ภาคการท่องเที่ยว ที่มา:ธนาคารแห่งประเทศไทย • ไตรมาส 4/54 คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 4.2 ล้านคน หดตัวลงร้อยละ 8.6 ส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ 1.60 แสนล้านบาท หดตัวร้อยละ16.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน • ทั้งปี 2554 คาดว่ามีจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 18.6 ล้านคนเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 16.6 และมีรายได้จำนวน 6.93 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 17.1 • ทั้งปี 2555 คาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 19.3 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 3.7 และรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ 7.32 แสนล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับในช่วงปี 2554 • สถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ • ปัญหาหนี้ของภูมิภาคยุโรป • การเกิดสึนามิ และการระเบิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่น • + ภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่มีแนวโน้มดีขึ้น • + ภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคปรับตัวดีขึ้น • + ฤดูกาลท่องเที่ยวชายฝั่งอ่าวไทย และอันดามัน • + ช่วงปลายปีมีเทศกาลมากมาย เช่น เทศกาลกินเจ ปีใหม่ การจัดมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ และงานเฉลิมฉลองในหลวงครบรอบ 84 พรรษา • + การจัดการส่งเสริมการขายของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย • + สถานการณ์การเมืองของไทยที่คลี่คลายในทิศทางที่ดีขึ้น
ดัชนีความเชื่อมั่น ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มา : ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ที่มา : สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่มา : สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 ค่าดัชนีความเชื่อมั่นมีการปรับตัวในทิศทางที่เพิ่มขึ้นเป็นส่วนใหญ่ทั้งดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคการค้าและบริการ และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมถือเป็นดัชนีความเชื่อมั่นเดียวที่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวในทิศทางที่ลดลงเมื่อเทียบกับค่าดัชนีความเชื่อมั่นในไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ค่อนข้างชัดเจน รวมถึงสถานการณ์ด้านการเมืองที่ค่อนข้างนิ่งและเริ่มมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในรูปแบบต่างๆ ออกมามากขึ้น
คาดการณ์ดัชนีความเชื่อมั่นในไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 คาดว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะเป็นปัจจัยหลักที่จะบั่นทอนความเชื่อมั่นในช่วงไตรมาสที่ 4 เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมได้มีการขยายวงกว้างและสร้างความเสียหายอย่างมากโดยเฉพาะต่อภาคอุตสาหกรรมที่นิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี ที่ได้รับความเสียหายอย่างมากจากสถานการณ์ดังกล่าว รวมถึงการที่น้ำได้เข้าท่วมในพื้นที่ของกรุงเทพมหานครในบางพื้นที่ยิ่งเป็นปัจจัยบั่นทอนความเชื่อมั่นในไตรมาสนี้ในระดับสูง ซึ่งคาดว่าดัชนีความเชื่อมั่นในทุกภาคธุรกิจน่าจะมีการปรับตัวในทิศทางที่ลดลงเมื่อเทียบกับค่าดัชนีในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 แต่อย่างไรก็ตามในช่วงไตรมาสที่ 4 ต่อเนื่องไตรมาสที่ 1 ปีหน้าจะมีวาระสำคัญทั้งในส่วนของงานเฉลิมพระชนม์พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ซึ่งจะถือเป็นปัจจัยบวกของความเชื่อมั่นในช่วงไตรมาสที่ 4 ได้บ้าง คาดการณ์ความเชื่อมั่นในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 • ปัจจัยเกื้อหนุน • ระดับราคาสินค้าเกษตรทรงตัวอยู่ในระดับสูง • มาตรการการให้ความช่วยเหลือด้านค่าครองชีพของประชาชนในด้านต่างๆ • ปัจจัยเสี่ยง • สถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่ภาคกลาง และกรุงเทพมหานครที่สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจภาพรวมในระดับสูง • สถานการณ์ด้านต้นทุนการประกอบการ และค่าครองชีพที่อยู่ในระดับสูง • ความกังวลต่อสถานการณ์การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก จากปัญหาหนี้สาธารณะในสหรัฐอเมริกา และหลายประเทศในยุโรป ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
ด้านการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยมีการปรับอัตราดอกเบี้ย R/P 1 วันในช่วงไตรมาสที่ 4 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.25 และคาดว่ามีโอกาสในปี 2555 คาดว่าจะมีโอกาสปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอีก 0.5-0.75 ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย ไตรมาสที่ 4 ปริมาณเงินฝากและสินเชื่อยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในช่วงต้นไตรมาสที่ 1 ปี 2555 นั้น ปริมาณเงินฝากอาจทรงตัวทั้งนี้จากการที่ต้องใช้เงินในการซ่อมแซมต่างๆ ส่วนทางด้านของสินเชื่อนั้นคาดว่าน่าจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น
อัตราแลกเปลี่ยน ที่มา:ธนาคารแห่งประเทศไทย • ไตรมาส 4/54 ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า • ตลอดปี 2554 คาดว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นมายืนที่ระดับ 30.5 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ • ตลอดปี 2555 คาดว่าค่าเงินบาทจะอยู่ในช่วง 29.0-30.0 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ • ค่าเงินในภูมิภาคส่วนใหญ่ปรับตัวอ่อนค่าลง ยกเว้นค่าเงินเยนที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้น • การส่งออกที่ขยายตัวอย่างมากและต่อเนื่อง • พื้นฐานเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียมีแนวโน้มการขยายตัวที่ดี • ความต้องการเงินบาทลดลงจากการที่ประเทศไทยประสบกับปัญหาอุทกภัย ทำให้นักลงทุนชะลอการลงทุน
สรุปภาวะเศรษฐกิจโลกและแนวโน้มสรุปภาวะเศรษฐกิจโลกและแนวโน้ม ที่มา : IMF World Economic Outlook December2011
ภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลกภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลก เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ระดับราคาน้ำมันในปี 2554 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 106.3 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และในปี 2555 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 107.0 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
คาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจไตรมาสที่ 4 ตลอดทั้งปี 2554 และปี 2555
คาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 4 ตลอดทั้งปี 2554 และปี 2555
คาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 4ตลอดทั้งปี 2554 และปี 2555 (ต่อ)
คาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 4 ตลอดทั้งปี 2554 และปี 2555 (ต่อ)
คาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 4 ตลอดทั้งปี 2554 และปี 2555(ต่อ)