1 / 68

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์ 6 สิงหาคม 2552 1 0 .00 – 1 2 .00 น.

กฎหมายอาญา. รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์ 6 สิงหาคม 2552 1 0 .00 – 1 2 .00 น. ทำความรู้จักกับกฎหมายอาญา. 1. เป็นกฎหมายว่าด้วย ความผิดและโทษ มาตรา 209

ismet
Download Presentation

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์ 6 สิงหาคม 2552 1 0 .00 – 1 2 .00 น.

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กฎหมายอาญา รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์ 6 สิงหาคม 2552 10.00 – 12.00 น. นันทนา ศิริทรัพย์

  2. ทำความรู้จักกับกฎหมายอาญาทำความรู้จักกับกฎหมายอาญา 1. เป็นกฎหมายว่าด้วยความผิดและโทษ มาตรา 209 ผู้ใดเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการ และมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท นันทนา ศิริทรัพย์

  3. ทำความรู้จักกับกฎหมายอาญาทำความรู้จักกับกฎหมายอาญา 2. เป็นกฎหมายมหาชน • ใช้อำนาจรัฐผ่านหน่วยงานของรัฐในการ ดำเนินการกับคนในสังคมที่ฝ่าฝืนข้อบังคับ • มุ่งป้องกันสังคมและแก้ไขผู้กระทำความผิด นันทนา ศิริทรัพย์

  4. มาตรา 65 วรรคแรก ผู้ใดกระทำความผิด ในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น นันทนา ศิริทรัพย์

  5. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 248 ถ้าบุคคลซึ่งต้องคำพิพากษาให้ประหารชีวิตเกิดวิกลจริตก่อนถูกประหารชีวิต ให้รอการประหารชีวิตไว้ก่อนจนกว่าผู้นั้นจะหาย ..... ถ้าผู้วิกลจริตนั้นหายภายหลัง ปีหนึ่งนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด ให้ลดโทษประหารชีวิตลงเหลือจำคุกตลอดชีวิต นันทนา ศิริทรัพย์

  6. ประมวลกฎหมายอาญา ภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป (มาตรา 1 – 106) ภาค 2 ความผิด (มาตรา 107 – 366) ภาค 3 ลหุโทษ (มาตรา 367 – 398) นันทนา ศิริทรัพย์

  7. ภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป ลักษณะ 1 บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไป ลักษณะ 2 บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดลหุโทษ นันทนา ศิริทรัพย์

  8. ลักษณะ 1 บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไป หมวด 1 บทนิยาม หมวด 2 การใช้กฎหมายอาญา หมวด 3 โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย หมวด 4 ความรับผิดในทางอาญา หมวด 5 การพยายามกระทำความผิด หมวด 6 ตัวการและผู้สนับสนุน หมวด 7 การกระทำความผิดหลายบทหรือหลายกระทง หมวด 8 การกระทำความผิดอีก หมวด 9 อายุความ นันทนา ศิริทรัพย์

  9. หมวดที่ 1 บทนิยาม มาตรา 1 ในประมวลกฎหมายนี้ 1 (1) “โดยทุจริต”หมายความว่า เพื่อแสวงหา ประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง หรือผู้อื่น นันทนา ศิริทรัพย์

  10. หมวดที่ 1 บทนิยาม มาตรา 1 ในประมวลกฎหมายนี้ 1 (7) “เอกสาร” หมายความว่า กระดาษหรือวัตถุอื่นใดซึ่งได้ทำให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผัง หรือแผนแบบอย่างอื่น จะเป็นโดยวิธีพิมพ์ถ่ายภาพหรือวิธีอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้น นันทนา ศิริทรัพย์

  11. หมวดที่ 1 บทนิยาม มาตรา 1 ในประมวลกฎหมายนี้ 1 (6) “ใช้กำลังประทุษร้าย” หมายความว่า ทำการ ประทุษร้ายแก่กายหรือจิตใจของบุคคล ไม่ว่าจะทำด้วย ใช้แรงกายภาพหรือด้วยวิธีอื่นใด และให้หมายความรวมถึงการกระทำใด ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ ไม่ว่าจะโดยใช้ยาทำให้มึนเมาสะกดจิต หรือใช้วิธีอื่นใดอันคล้ายคลึงกัน นันทนา ศิริทรัพย์

  12. หมวดที่ 2 การใช้กฎหมายอาญา มาตรา 2 บุคคลจักต้องได้รับโทษทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการ อันกฎหมายขณะนั้น บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่บัญญัติ ไว้ในกฎหมาย ถ้าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่กำหนดในภายหลัง การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดอีกต่อไป ให้ผู้ที่ได้กระทำนั้น พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด และถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด ให้ลงโทษแล้วให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำ ความผิดนั้น ถ้ารับโทษอยู่ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง นันทนา ศิริทรัพย์

  13. หมวดที่ 3 โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย มาตรา 18 โทษสำหรับลงแก่ผู้กระทำความผิด มีดังนี้ 1. ประหารชีวิต 2. จำคุก 3. กักขัง 4. ปรับ 5. ริบทรัพย์สิน นันทนา ศิริทรัพย์

  14. มาตรา 19 ผู้ใดต้องโทษประหารชีวิต ให้ดำเนินการด้วยวิธีฉีดยาหรือสารพิษให้ตาย หลักเกณฑ์และวิธีการประหารชีวิต ให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงยุติธรรมกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา นันทนา ศิริทรัพย์

  15. มาตรา 38 โทษให้เป็นอันระงับไปด้วยความตาย ของผู้กระทำความผิด นันทนา ศิริทรัพย์

  16. มาตรา 39 วิธีการเพื่อความปลอดภัย มีดังนี้ 1. กักกัน 2. ห้ามเข้าเขตกำหนด 3. เรียกประกันทัณฑ์บน 4. คุมตัวไว้ในสถานพยาบาล 5. ห้ามการประกอบอาชีพบางอย่าง นันทนา ศิริทรัพย์

  17. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๐ ที่บัญญัติว่า “เมื่อศาลพิพากษาให้ลงโทษผู้ใด ถ้าศาลเห็นว่าผู้นั้นกระทำความผิด โดยอาศัยโอกาสจากการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพ หรือเนื่องจากการประกอบวิชาชีพ หรือวิชาชีพ และเห็นว่า หากผู้นั้นประกอบวิชาชีพ หรืออาชีพนั้นต่อไป อาจกระทำความผิดเช่นนั้นขึ้นอีก ศาลจะสั่งไว้ในคำพิพากษาห้ามการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพ นั้นมีกำหนดเวลาไม่เกินห้าปี นับแต่วันพ้นโทษไปแล้วก็ได้” นันทนา ศิริทรัพย์

  18. หมวดที่ 4 ความรับผิดในทางอาญา มาตรา 59 วรรค 1 บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาทหรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา นันทนา ศิริทรัพย์

  19. มาตรา 59 วรรค 2 การกระทำโดยเจตนา ได้แก่กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น นันทนา ศิริทรัพย์

  20. มาตรา 59 วรรค 4 การกระทำโดยประมาท ได้แก่ กระทำความผิด มิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้น จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ นันทนา ศิริทรัพย์

  21. มาตรา 59 วรรค 5 การกระทำ ให้หมายความรวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้นโดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย นันทนา ศิริทรัพย์

  22. ประเด็นในการพิจารณา • มีการกระทำหรือไม่ งดเว้น ละเว้น • การกระทำดังกล่าวกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดหรือไม่ เจตนา ประมาท ไม่เจตนา • กฎหมายขณะนั้นกำหนดโทษหรือไม่ นันทนา ศิริทรัพย์

  23. มาตรา 64 บุคคลจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นจากความรับผิดในทางอาญาไม่ได้ แต่ถ้าศาลเห็นว่า ตามสภาพและพฤติการณ์ ผู้กระทำความผิดอาจไม่รู้ว่า กฎหมายบัญญัติว่า การกระทำนั้นเป็นความผิด ศาลอาจอนุญาตให้แสดงพยานหลักฐานต่อศาล และถ้าศาลเชื่อว่า ผู้กระทำไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติไว้เช่นนั้น ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น เพียงใดก็ได้ นันทนา ศิริทรัพย์

  24. มาตรา 67 • ผู้ใดกระทำความผิดด้วยความจำเป็น • เพราะอยู่ในที่บังคับ หรือภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถ • หลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ หรือ • เพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้ • เมื่อภยันตรายนั้นตนมิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน • ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นการเกินสมควรแก่เหตุแล้ว • ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ นันทนา ศิริทรัพย์

  25. มาตรา 68 ผู้ใดจำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตน หรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้าย อันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นเป็นการ ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด นันทนา ศิริทรัพย์

  26. หลักการใช้กฎหมายอาญา • ไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย • กฎหมายอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด • กฎหมายอาญาไม่มีผลย้อนหลัง(ในส่วนที่เป็นโทษ) • ให้ใช้กฎหมายย้อนหลังเฉพาะส่วนที่เป็นคุณกับผู้กระทำความผิด • ความไม่รู้กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว • การกระทำความผิดด้วยความจำเป็นไม่ต้องรับโทษ • การกระทำการเพื่อป้องกันไม่เกินสมควรแก่เหตุไม่ต้องรับผิด นันทนา ศิริทรัพย์

  27. มาตรา 79 ในคดีที่มีโทษปรับสถานเดียว ถ้าผู้ที่ต้องหาว่า กระทำความผิด นำค่าปรับในอัตราอย่างสูงสำหรับ ความผิดนั้นมาชำระก่อนที่ศาลเริ่มต้นสืบพยาน ให้คดีนั้นเป็นอันระงับไป นันทนา ศิริทรัพย์

  28. หมวด 5 การพยายามกระทำความผิด มาตรา 80 ผู้ใดลงมือกระทำความผิดแต่กระทำไปไม่ตลอด หรือกระทำไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล ผู้นั้นพยายามกระทำความผิด ผู้ใดพยายามกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษ สองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับ ความผิดนั้น นันทนา ศิริทรัพย์

  29. มาตรา 82 ผู้ใดพยายามกระทำความผิด หากยับยั้งเสียเอง ไม่กระทำการให้ตลอด หรือกลับใจแก้ไขไม่ให้การกระทำนั้นบรรลุผล ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษสำหรับการพยายามกระทำความผิดนั้น แต่ถ้าการที่ได้กระทำไปแล้วต้องตามบทกฎหมายที่บัญญัติเป็นความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น ๆ นันทนา ศิริทรัพย์

  30. มาตรา 83 ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น นันทนา ศิริทรัพย์

  31. มาตรา 86 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดก่อนหรือขณะกระทำความผิด แม้ผู้กระทำความผิดจะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้นก็ตาม ผู้นั้นเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดที่สนับสนุนนั้น นันทนา ศิริทรัพย์

  32. มาตรา 96 ภายใต้บังคับมาตรา 95 ในกรณีความผิดอันยอมความได้ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิด และรู้ตัวผู้กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ นันทนา ศิริทรัพย์

  33. มาตรา 95 ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิด มายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ 1. ยี่สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกยี่สิบปี 2. สิบห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่า เจ็ดปีแต่ยังไม่ถึงยี่สิบปี 3. สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปี ถึงเจ็ดปี 4. ห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งเดือน ถึงหนึ่งปี นันทนา ศิริทรัพย์

  34. 5. หนึ่งปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หนึ่งเดือนลงมา หรือต้องระวางโทษอย่างอื่น ถ้าได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลแล้ว ผู้กระทำความผิดหลบหนีหรือวิกลจริต และศาลสั่งงดการพิจารณา ไว้จนเกินกำหนดังกล่าวแล้วนับแต่วันที่หลบหนีหรือวันที่ศาลสั่งงด การพิจารณาก็ให้ถือว่าเป็นอันขาดอายุความเช่นเดียวกัน นันทนา ศิริทรัพย์

  35. ลักษณะ 2 บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดลหุโทษ มาตรา 102 ความผิดลหุโทษ คือความผิดซึ่งต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับเช่นว่ามานี้ด้วยกัน นันทนา ศิริทรัพย์

  36. มาตรา 104 การกระทำความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายนี้ แม้กระทำโดยไม่มีเจตนาก็เป็นความผิด เว้นแต่ตามบทบัญญัติ ความผิดนั้นจะมีความบัญญัติให้เห็นเป็นอย่างอื่น มาตรา 105 ผู้ใดพยายามกระทำความผิดลหุโทษ ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ มาตรา 106 ผู้สนับสนุนในความผิดลหุโทษไม่ต้องรับโทษ นันทนา ศิริทรัพย์

  37. ภาค 2 ความผิด ลักษณะ 1 ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ลักษณะ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง ลักษณะ 3 ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรม ลักษณะ 4 ความผิดเกี่ยวกับศาสนา ลักษณะ 5 ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน ลักษณะ 6 ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน ลักษณะ 7 ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง ลักษณะ 8 ความผิดเกี่ยวกับการค้า ลักษณะ 9 ความผิดเกี่ยวกับเพศ ลักษณะ 10 ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย ลักษณะ 11 ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง ลักษณะ12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ นันทนา ศิริทรัพย์

  38. ลักษณะ 1 ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร (มาตรา 107-135) หมวด 1 ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หมวด 2 ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ ภายในราชอาณาจักร หมวด 3 ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ ภายนอกราชอาณาจักร หมวด 4 ความผิดต่อสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ นันทนา ศิริทรัพย์

  39. ลักษณะ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง (มาตรา 136-166) หมวด 1 ความผิดต่อเจ้าพนักงาน หมวด 2 ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ นันทนา ศิริทรัพย์

  40. มาตรา 157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นันทนา ศิริทรัพย์

  41. มาตรา 158 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ทำให้เสียหาย ทำลายซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์หรือเอกสารใดอันเป็นหน้าที่ของตนที่จะปกครองหรือรักษาไว้หรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปีและปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท นันทนา ศิริทรัพย์

  42. ลักษณะ 3 ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรม (มาตรา 167-205) หมวด 1 ความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรม หมวด 2 ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม นันทนา ศิริทรัพย์

  43. ลักษณะ 7 ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง (มาตรา 240-269) หมวด 1 ความผิดเกี่ยวกับเงินตรา หมวด 2 ความผิดเกี่ยวกับดวงตราแสตมป์และตั๋ว หมวด 3 ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร นันทนา ศิริทรัพย์

  44. มาตรา 269 ผู้ใดในการประกอบการงานในวิชาแพทย์ กฎหมาย บัญชี หรือวิชาชีพอื่นใด ทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่พันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดโดยทุจริตใช้หรืออ้างคำรับรองอันเกิดจากการกระทำความผิดตามวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน นันทนา ศิริทรัพย์

  45. ลักษณะ 9 ความผิดเกี่ยวกับเพศ • ข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่น • กระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี • ซึ่งมิใช่ภรรยาหรือสามีตน • 3. กระทำอนาจารบุคคลอายุกว่าสิบห้าปีโดยขู่เข็ญ • 4. กระทำอนาจารเด็กยังไม่เกินสิบห้าปี นันทนา ศิริทรัพย์

  46. มาตรา 276 วรรค 1 ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยผู้อื่นนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้หรือโดยทำให้ผู้อื่นนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปี ถึงยี่สิบปี ปรับตั้งแต่แปดพันบาท ถึงสี่หมื่นบาท นันทนา ศิริทรัพย์

  47. มาตรา 276 วรรค 2 การกระทำชำเราตามวรรคหนึ่ง หมายความว่าการกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำโดยการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำกระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น หรือการใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่น นันทนา ศิริทรัพย์

  48. ความผิดในข้อ 1, 3 ยอมความได้ ถ้า *ไม่ได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล *ไม่เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำรับอันตรายสาหัส หรือถึงแก่ความตาย *ไม่เป็นการกระทำต่อบุคคลตามมาตรา 285 - ผู้สืบสันดาน - ศิษย์ในความดูแล - ผู้อยู่ในความควบคุมตามหน้าที่ราชการ - ผู้อยู่ในความปกครอง / พิทักษ์ / อนุบาล นันทนา ศิริทรัพย์

  49. มาตรา 285 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 276, 277, 277 ทวิ, 277 ตรี, 278, 279, 280, 282 หรือ 283 เป็นการกระทำแก่ผู้สืบสันดาน ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล ผู้อยู่ในความควบคุมตามหน้าที่ราชการหรือผู้อยู่ในความปกครอง ความพิทักษ์ หรือความอนุบาล ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัคิไว้ในมาตรานั้นหนึ่งในสาม นันทนา ศิริทรัพย์

  50. เพิ่มโทษเมื่อ • ทำให้เกิดอันตรายสาหัส หรือถึงแก่ความตาย • กระทำโดยใช้อาวุธ หรือ วัตถุระเบิด • โทรมหญิงหรือชายโทรมเด็กหญิงหรือเด็กชายและเด็กไม่ยินยอม • เป็นการกระทำต่อบุคคลต้องห้ามตามมาตรา 285 • ความผิดข้อ 4 และขู่เข็ญ / ประทุษร้าย / ฯลฯ นันทนา ศิริทรัพย์

More Related