1 / 11

จุลสารสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ฉบับที่ 1 ปีที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ 2548

มุมอะไรใหม่. จุลสารสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ฉบับที่ 1 ปีที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ 2548. New !. ยาปฏิชีวนะชนิดปรับปรุง. ลงน้ำแล้วแข็งแรง. รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สัตย์ธรรม สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ผู้รับผิดชอบมุมอะไรใหม่. ลาก่อนไมเกรน. เอดส์พันธุ์ใหม่.

Download Presentation

จุลสารสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ฉบับที่ 1 ปีที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ 2548

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. มุมอะไรใหม่ จุลสารสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพฉบับที่ 1 ปีที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ 2548 New ! ยาปฏิชีวนะชนิดปรับปรุง ลงน้ำแล้วแข็งแรง รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สัตย์ธรรม สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ผู้รับผิดชอบมุมอะไรใหม่ ลาก่อนไมเกรน เอดส์พันธุ์ใหม่

  2. ยาปฏิชีวนะชนิดปรับปรุงยาปฏิชีวนะชนิดปรับปรุง สถานการณ์โรคติดเชื้อในปัจจุบันกำลังเข้มข้น เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียสามารถพัฒนาตนเอง และดื้อยาปฏิชีวนะมากขึ้น เมื่อเมษายนที่ผ่านมา คณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐอเมริกาอนุมัติยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ ชื่อ เทลิโทรมัยซิน (telithromycin) หรือ คีเทก (Ketek) ซึ่งวางจำหน่วยไม่นาน หลังจากนั้น คีเทกเป็นยาตัวแรกในกลุ่มคีโทไลด์ (ketolides) ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะกลุ่มใหม่ มีประสิทธิภาพเด่นสำหรับรักษาโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่ดื้อยา เช่น ปอดบวม หลอดลมอักเสบ และไซนัสอักเสบ เป็นต้น โรคติดเชื้อเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อสเตรปโตคอกคัส ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่มักดื้อยา อย่างไรก็ตาม ดีเทกไม่ใช่คำตอบดีที่สุดของปัญหาเชื้อดื้อยา เพราะแบคทีเรียจะพัฒนาตัวเองจนดื้อยาในที่สุด แต่ยานี้มีความต้านทานสูงกว่ายาอื่น นักจุลชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยไอโอวา ซึ่งเชี่ยวชาญด้านยาปฏิชีวนะให้ความเห็นว่า ยาปฏิชีวนะทั่วไปออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างโปรตีนสำคัญของแบคทีเรียเพียงหนึ่งตำแหน่ง ขณะที่ยากลุ่มคีโทไลด์ออกฤทธิ์ยับยั้งสองตำแหน่ง จึงทำให้ดื้อยายากขึ้น ที่มา : Reader’s Digest ฉบับเดือนกันยายน 2547

  3. ลงน้ำแล้วแข็งแรง ว่ายน้ำเป็นการออกกำลังที่ดีมากแต่จะว่ายท่าไหนดี ท่าว่ายน้ำแต่ละท่ามีข้อดีและข้อเสียต่างกัน ดังนี้ ท่าฟรีสไตล์ เป็นท่าที่ว่ายได้เร็วที่สุด และทำให้หลังแข็งแรง นอกจากนี้ ยังทำให้กล้ามเนื้อสะโพก กล้ามท้อง และกล้ามเนื้อหัวไหล่แข็งแรงด้วย อีกทั้งเป็นท่าว่ายน้ำที่เผาผลาญแคลอรีได้ดี (300 แคลอรีทุกสิบนาที) แต่มักมีปัญหาหายใจผิดวิธี (คุณต้องหายใจออกอย่างต่อเนื่องใต้น้ำ) ควรหาครูสอนถ้าจำเป็น ท่ากบ เป็นท่าที่ช่วยขยายปอด ทำให้หน้าอก ขา หัวไหล่ และกล้ามเนื้อแขนแข็งแรง แต่เผาผลาญได้เพียง 60 แคลอรีทุกสิบนาที ควรอุ่นร่างกายก่อนว่ายท่านี้ มิฉะนั้น อาจเกิดการบาดเจ็บที่หัวเข่าหรือบริเวณหลังและอย่าโผล่ศีรษะพ้นน้ำตลอดเวลาเพราะจะมีผลเสียต่อคอ

  4. (ลงน้ำแล้วแข็งแรง) ท่ากรรเชียง ทำให้กล้ามเนื้อท้อง หลัง ขา แขน และหัวไหล่แข็งแรง เหมาะสำหรับผ่อนคลายหลังนั่งทำงานมาทั้งวัน และยังทำให้คุณมีท่าว่ายน้ำที่หลากหลายขึ้น ท่านี้เผาผลาญได้ 80 แคลอรีทุกสิบนาที อย่ายกศีรษะสูงเกินไป มิฉะนั้นสะโพกจะจมน้ำ ท่าผีเสื้อ ช่วยยืดเหยียดร่างกายและทำให้ร่างกายแข็งแรง เผาผลาญได้ 150 แคลอรีทุกสิบนาที แต่ควรมีครูสอนเพื่อให้ว่ายถูกต้อง มิฉะนั้นอาจเจ็บหัวไหล่และหลังได้ ที่มา : Reader’s Digest ฉบับเดือนกันยายน 2547

  5. ลาก่อนไมเกรน เมื่อมีอาการปวดศีรษะ ผู้ป่วยโรคไมเกรนส่วนมากจะกินยาแก้ปวดและรอจนกระทั่งยาออกฤทธิ์ขจัดความปวดให้หมดไป ยาแก้ปวดไมเกรนส่วนใหญ่มักทำให้เกิดอาการปวดกำเริบซ้ำได้อยู่เสมอ มีงานวิจัยใหม่พบว่า ยากันชักบางชนิดสามารถลดความถี่ของอาการปวด หรือป้องกันอาการได้ในบางรายโดยไม่มีอาการปวดกำเริบ โรงพยาบาลหลายแห่งในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาร่วมกันศึกษาประสิทธิภาพของยาโทพิราเมต (Topiramate) เปรียบเทียบกับยาหลอกจากอาสาสมัครจำนวน 468 คน เป็นเวลาหกเดือนครึ่ง ผลการศึกษาพบว่า ผู้ที่รับยาวันละ 100 มิลลิกรัม มีความถี่ของการปวดศีรษะลดลงครึ่งหนึ่ง ผู้ที่ได้รับยาน้อยกว่า จะปวดศีรษะเพียงเดือนละสี่ถึงห้าครั้ง

  6. (ลาก่อนไมเกรน ) โรคไมเกรนเกิดจากสัญญาณไฟฟ้าจากสมองส่งไปที่ปลายประสาทมากเกินควร ยาโทพิราเมตมีฤทธิ์ยับยั้งสัญญาณดังกล่าว นายแพทย์แจน แบรนเดส แพทย์ด้านประสาทวิทยาจากกลุ่มประสาทวิทยาในเมืองแนชวิลล์ และเป็นผู้ร่วมศึกษา เชื่อว่า ยานี้สามารถควบคุมสัญญาณไฟฟ้าจากสมองได้ ทำให้อาการไมเกรนไม่กำเริบ ผู้ป่วยจึงไม่ต้องกินยาแก้ปวดเป็นประจำ คาดว่าองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาจะอนุมัติให้ใช้ยาโทพิราเมตรักษาไมเกรนได้ภายในสิ้นปีนี้ ที่มา : Reader’s Digest ฉบับเดือนสิงหาคม 2547

  7. "เอดส์พันธุ์ใหม่" จากหนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ปีที่ 28 ฉบับที่ 9837 ได้ลงบทความ "เอดส์พันธุ์ใหม่"ร้ายกว่าเดิม ฟักตัวเร็ว-ยาต้านเอาไม่อยู่ พบเอดส์สายพันธุ์ใหม่ร้ายแรงกว่าไวรัสเดิม ระยะฟักตัวแค่ 2-3 เดือน ยาต่อต้านเอาไม่อยู่ กรมสาธารณสุขนิวยอร์กเพิ่งเจอเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาในหนุ่มใหญ่ที่มีคู่ขาชายหลายคน หลังจากก่อนหน้านี้เพิ่งเจอ 2 หนุ่ม นิวยอร์กติดโรคที่เกิดขึ้นได้ยาก กรรมาธิการสาธารณสุขชี้เป็นเหมือนการเตือนภัยล่วงหน้าในกลุ่มรักร่วมเพศชายและกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกาว่า มีการค้นพบไวรัสเอดส์สายพันธุ์ใหม่ที่เรียกว่า 3-อีซีอาร์ เอชไอวี ซึ่งมีความร้ายแรงกว่าไวรัสเอดส์ ซึ่งรู้จักกันแต่เดิมอย่างมาก เพราะไม่เพียงแต่ไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้จะไม่ตอบสนองต่อยาต่อต้านไวรัสเอดส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้เท่านั้น แต่มันยังมีระยะเวลาในการติดเชื้อจนกระทั่งฟักตัวเต็มที่จนกลายเป็นโรคเอดส์รวดเร็วกว่าไวรัสเอชไอวีสายพันธุ์เดิมที่จะใช้เวลามากกว่า 10 ปี เหลือเพียง 2-3 เดือนเท่านั้น

  8. (เอดส์พันธุ์ใหม่) แถลงการณ์ของกรมสาธารณสุขนครนิวยอร์กระบุว่า ตรวจพบไวรัสเอดส์สายพันธุ์ใหม่เป็นครั้งแรกเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาในชายวัย 40 ซึ่งอาศัยอยู่ในนิวยอร์ก โดยชายผู้นี้มีคู่ขาชายหลายรายที่มีเพศสัมพันธ์กันโดยปราศจากการป้องกัน และยังมีพฤติกรรมในการใช้ยาเมแอมเฟตามีน ซึ่งเป็นยากระตุ้นที่นิยมใช้ระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์ควบคู่ไปด้วย พัฒนาการของไวรัสเอชไอวีจนกระทั่งกลายเป็นโรคเอดส์ในชายผู้นี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากเพียง 2-3 เดือนหลังได้รับเชื้อไวรัส ซึ่งทางการนิวยอร์กยืนยันว่า กระบวนการในการรับเชื้อจนกระทั่งกลายเป็นเอดส์นั้นกินเวลาไม่ถึง 20 เดือน การตรวจพบไวรัสเอดส์สายพันธุ์ใหม่นี้มีขึ้นหลังจากที่ก่อนหน้านี้ไม่นานนัก ชายนิวยอร์ก 2 รายถูกระบุว่า เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นได้ยาก นายโทมัส ไฟร์เดน กรรมาธิการสาธารณสุขระบุว่า เหตุการณ์ที่ตรวจพบทั้ง 2 กรณีนี้ เป็นเสมือนการเตือนภัยล่วงหน้าทั้งในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติด เพราะการให้การรักษาผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่เพิ่งถูกค้นพบนี้ เป็นเรื่องยากลำบากหรือแทบจะเป็นไปไม่ได้ ขณะที่การฟักตัวของเชื้อไวรัสไปสู่โรคเอดส์ก็รวดเร็วอย่างมากเช่นกัน ดังนั้น ชุมชนชาวรักร่วมเพศจะต้องร่วมมือกันเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ซึ่งต้านยารักษาโรคชนิดนี้

  9. (เอดส์พันธุ์ใหม่) ไฟร์เดนระบุด้วยว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนากลายเป็นปัญหาใหญ่ และยังได้แจ้งเตือนไปยังโรงพยาบาลและแพทย์ให้ช่วยกันตรวจสอบเพื่อหาหลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้ โฆษกกรมสาธารณสุขนิวยอร์กย้ำว่า การออกแถลงการณ์เตือนครั้งนี้มีขึ้นหลังจากที่ได้มีการสอบถามและตรวจสอบข้อมูลจำนวนมาก รวมถึงการทดสอบในห้องทดลองและถกเถียงในประเด็นต่างๆ กับหน่วยงานชั้นนำ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขและโรคเอดส์อย่างรอบคอบแล้ว อย่างไรก็ดี หลังทางการนิวยอร์กประกาศการค้นพบไวรัสเอดส์สายพันธุ์ใหม่ นายโรเบิร์ต กัลโล ผู้อำนวยการสถาบันไวรัสวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ค้นพบไวรัสเอชไอวี ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคเอดส์ระบุว่า ยังคงไม่มีหลักฐานใดๆ ที่บ่งชี้ได้ว่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ถูกระบุถึงนี้จะมีความรุนแรงถึงขึ้นเป็นซุปเปอร์ไวรัส และแม้ไวรัสเอชไอวีที่พบในนิวยอร์กจะมีความร้ายกาจ แต่การแพร่ระบาดคงเป็นไปได้ยาก แต่เขาก็ยอมรับว่า การเฝ้าระวังไวรัสดังกล่าวอย่างใกล้ชิดเป็นเรื่องดี

  10. (เอดส์พันธุ์ใหม่) ขณะที่นายแพทย์ศุภชัย ฤกษ์งาม ผู้อำนวยการโครงการศึกษาวัคซีนเอดส์ทดลองปูพื้น-กระตุ้น ระยะที่ 3 กรมควบคุมโรค กล่าวว่า การกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสเอชไอวีเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ เพราะธรรมชาติของไวรัสจะกลายพันธุ์ได้ง่าย และบางชนิดเมื่อกลายพันธุ์แล้วจะทำให้อาการของโรคร้ายแรงมากขึ้น สำหรับสายพันธุ์เชื้อเอชไอวีกว่า 90% ที่พบในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านจะเป็นสายพันธุ์อี นานๆ ครั้งจะพบเชื้อสายพันธุ์บี ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่พบมากในยุโรปและอเมริกา และยังไม่พบว่ามีการกลายพันธุ์ของเชื้อเอชไอวีในประเทศไทยนายแพทย์ศุภชัยกล่าวว่า ผู้ติดเชื้อที่จะมีอาการของโรคเอดส์อย่างรวดเร็วนั้น ส่วนใหญ่จะไม่ได้เกิดจากเชื้อไวรัสทำลายร่างกาย แต่จะเกิดจากการทำใจยอมรับไม่ได้ว่าตนเองติดเชื้อ และกลัวการไม่ยอมรับจากคนรอบข้าง อย่างไรก็ตาม ผู้ติดเชื้อเอชไอวีจะต้องระมัดระวังการมีพฤติกรรมเสี่ยง เพื่อให้ชีวิตยืนยาวมากขึ้น เพราะขณะนี้พบว่า ผู้ติดเชื้อเอชไอวีหลายคนสามารถมีชีวิตอยู่ได้ไม่น้อยกว่า 15 ปี

  11. (เอดส์พันธุ์ใหม่) นายแพทย์สมบัติ แทนประเสริฐสุข ผู้อำนวยการสำนักโรคเอดส์วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีพบเชื้อไวรัสเอชไอวีกลายพันธุ์ว่า ถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ หากเชื้อดื้อยา เพราะผู้ติดเชื้อเอดส์ที่มีปริมาณเม็ดเลือดขาว หรือซีดี 4 ลดต่ำกว่า 200 เซลล์ จำเป็นต้องรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ ซึ่งหลังจากการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ 3-4 ปี จะมีผู้ติดเชื้อบางส่วนดื้อยาสูตรพื้นฐาน ซึ่งในสหรัฐพบผู้ป่วยดื้อยามากขึ้น ทำให้ต้องกินยาต้านไวรัสสูตรที่ราคาแพงขึ้น และมีค่าใช้จ่ายประมาณ 20,000-30,000 บาทต่อเดือน ดังนั้น จึงขอความร่วมมือจากผู้ติดเชื้อในประเทศไทยให้รับประทานยาต้านอย่างสม่ำเสมอ อย่าหยุดยาเอง เพื่อป้องกันเชื้อเอดส์ดื้อยา "ขณะนี้ผู้ป่วยของไทยส่วนใหญ่เพิ่งจะได้รับยาต้านไวรัสสูตรพื้นฐาน ยังไม่ต้องกังวลเรื่องเชื้อดื้อยา แต่อย่าหยุดยาเอง เพราะเป็นโอกาสทำให้เชื้อดื้อยา ส่งผลเสียต่อผู้ติดเชื้อ สังคมโดยรวม กระทรวงหวังว่า ราคายาต้านจะลดราคาลงอีก เพราะมีแนวโน้มว่า หลายบริษัทจะปรับราคายาลง" นายแพทย์สมบัติกล่าว

More Related