490 likes | 750 Views
การจ้างเอกชนดำเนินงาน (กรณีจ้างบุคคลธรรมดา) (ว 67 ลว 14-07-2553). เชิดชัย มีคำ. ที่มา กค 0526.5 / ว 131 ลว 28 ธ.ค. 2541 กค 0409.6 / ว 86 ลว 17 ก.พ. 2548 ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วย การเบิกจ่ายเงินเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ พ.ศ. 2553.
E N D
การจ้างเอกชนดำเนินงานการจ้างเอกชนดำเนินงาน (กรณีจ้างบุคคลธรรมดา) (ว 67 ลว 14-07-2553) เชิดชัย มีคำ
ที่มา กค 0526.5 / ว 131 ลว 28ธ.ค. 2541 กค 0409.6 / ว 86 ลว 17 ก.พ. 2548 ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วย การเบิกจ่ายเงินเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการพ.ศ. 2553 การจ้างเอกชนดำเนินงาน (ว 67 – 14-7-2553)
ดุลพินิจหัวหน้าส่วนราชการดุลพินิจหัวหน้าส่วนราชการ จ่ายจริง วิธีการใช้ระเบียบพัสดุ มุ่งผลสำเร็จของงาน ไม่มีอำนาจบังคับบัญชาหรือสั่งการทำงาน มีการตรวจงานและสั่งแก้ไขงาน ไม่ถือเป็นลูกจ้าง หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายการจ้างเอกชนดำเนินงานของส่วนราชการ
การจ้างเอกชนดำเนินงาน (ว 67 – 14-7-2553) • การจ้างบุคคลธรรมดา • เฉพาะโครงการ หรือเฉพาะครั้งคราวที่มีความจำเป็น • เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานในหน้าที่ปกติของ ส่วนราชการเท่านั้น • ไม่จำต้องทำข้อตกลงการจ้างหรือสัญญาเต็มปีงบประมาณ • มิให้ทำข้อตกลงการจ้างหรือสัญญาการจ้างในลักษณะต่อเนื่อง
การจ้างเอกชนดำเนินงาน (ว 67 – 14-7-2553) • ลักษณะงานเป็นการซื้อบริการเป็นรายชิ้น • การจ้างมุ่งเน้นผลสำเร็จของงานในระยะเวลาที่กำหนดเป็นสำคัญ • ผู้ว่าจ้างไม่มีอำนาจควบคุมบังคับบัญชาหรือสั่งการในการทำงาน แต่มีอำนาจตรวจตรางานและสั่งให้ปรับปรุงแก้ไขเมื่องานผิดพลาดบกพร่อง • ผู้รับจ้างไม่อยู่ในภายใต้ระเบียบข้อบังคับที่ลูกจ้างของส่วนราชการถือปฏิบัติ
การจ้างเอกชนดำเนินงาน (ว 67 – 14-7-2553) • ผู้รับจ้างไม่มาปฏิบัติงาน อาจหาผู้อื่นมาทำงานแทน หรือบอกกล่าวล่วงหน้า • หากเกิดความเสียหายเนื่องจากไม่มาทำงาน อาจกำหนดค่าปรับสำหรับความเสียหายนั้น • อัตราค่าจ้างไม่จำต้องจ่ายตามวุฒิการศึกษา ให้พิจารณาจากความรู้และประสบการณ์ที่เหมาะสมกับงานที่แท้จริง หรืออัตราตลาด • การจ่ายค่าจ้างตามข้อตกลงหรือสัญญาจ้าง และคณะกรรมการตรวจรับงานแล้ว
การจ้างเอกชนดำเนินงาน (ว 67 – 14-7-2553) • ผู้รับจ้างมีฐานะเป็นผู้รับจ้างทำของตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 • ไม่มีนิติสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างกับลูกจ้าง ตามกฎหมายประกันสังคม
ระบบการเงินการคลังของหน่วยงานระบบการเงินการคลังของหน่วยงาน พัสดุ งบประมาณ บัญชี การเงิน สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
กระบวนการบริหารงานพัสดุกระบวนการบริหารงานพัสดุ งานประจำ กำหนดความต้องการ งานโครงการ งบประมาณ เบิกจ่ายเงิน จัดทำแผน จัดหาพัสดุ การบริหารสัญญา การควบคุมและจำหน่ายพัสดุ สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
การจ้างเหมาบริการ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 หนังสือที่ กค (กวพ.) 0408.4/ว 351 ลว 9 ก.ย. 2548 หนังสือที่ กค 0406.4/ว 67 ลว 14 ก.ค. 2553
หลักการจัดหาพัสดุ • เปิดเผย • โปร่งใส • เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม • ห้ามก่อนิติสัมพันธ์กับผู้ทิ้งงาน • คำนึงถึงคุณสมบัติและความสามารถของผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองาน • เว้นแต่กรณีที่มีลักษณะเป็นการเฉพาะอันเป็นการยกเว้นที่กำหนดไว้ในระเบียบ
หลักการจัดหาพัสดุ การจัดหาพัสดุจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนของ ระเบียบจนได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจแล้ว จึงไปทำสัญญาหรือข้อตกลง การจัดหาพัสดุหากไม่ปฏิบัติหรือไม่ดำเนินการตามขั้นตอนของระเบียบ ผู้มีอำนาจสั่งให้ปฏิบัติตามหรือดำเนินการตามระเบียบได้ ถึงแม้จะได้ดำเนินการเสนอราคาไปแล้วก็ตาม
หลักการจัดหาพัสดุ ต้องมีการบันทึกหลักฐานในการดำเนินการ พร้อมทั้งเหตุผลในการพิจารณาสั่งการในขั้นตอนที่สำคัญไว้เพื่อประกอบการพิจารณา ห้ามแบ่งซื้อแบ่งจ้าง
แนววินิจฉัยของ กวพ.เรื่อง การแบ่งซื้อแบ่งจ้าง ข้อเท็จจริง กรมป่าไม้มีภารกิจเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาคสนามและอื่น ๆ โดยงานเดิมได้ใช้ลูกจ้างชั่วคราวปฏิบัติงาน ปัจจุบันมีความจำเป็นต้องจ้างบุคคลธรรมดา เพื่อให้ปฏิบัติงานดังกล่าวแทน โดยทำสัญญาจ้างเป็นรายบุคคล
ข้อกฎหมายและระเบียบ กรมบัญชีกลางมีหนังสือซ้อมความเข้าใจ เรื่อง การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจ้างเอกชนดำเนินงานของส่วนราชการ ตามหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กค 0409.6 / ว 86 ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2548 ซึ่งสาระสำคัญ ข้อ 2 กำหนดว่า การจ้างเอกชนดำเนินงานอาจจ้างเอกชนที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาก็ได้ การกำหนดค่าตอบแทน ไม่จำเป็นต้องจ้างตามคุณวุฒิการศึกษาอย่างเดียว แต่ให้พิจารณาคัดเลือกจากผู้ที่มีความรู้และมีประสบการณ์ที่เหมาะสม เพื่อให้การดำเนินงานของหน่วยงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ สำหรับวิธีการจ้าง ให้ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อหารือ • กรมป่าไม้ขอหารือเกี่ยวกับการดำเนินการทำสัญญาจ้างบุคคลธรรมดาเพื่อปฏิบัติงานในลักษณะเดียวกันในพื้นที่เดียวกันของการปฏิบัติงานภาคสนามและอื่น ดังนี้ • กรมป่าไม้จะสามารถทำสัญญาจ้างเป็นรายบุคคลได้หรือไม่ และจะถือว่าเป็นการแบ่งซื้อแบ่งจ้าง หรือไม่ • กรณีจ้างบุคคลธรรมดาปฏิบัติงานในส่วนกลาง ในลักษณะงานเหมือนกัน จะจ้างโดยทำสัญญาจ้างเป็นรายบุคคล ได้หรือไม่
ความเห็น กวพ. • ตามข้อหารือ หากลักษณะงานมีความจำเป็นต้องทำสัญญาจ้างเหมาบริการบุคคลธรรมดาที่มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์และมีความชำนาญงานเฉพาะตัว เพื่อให้ทำงานเฉพาะอย่างตามที่กำหนดแผนงานไว้ โดยเป็นผลงานของผู้นั้นมาก่อนแล้ว เช่น เคยปฏิบัติงานเป็นลูกจ้างชั่วคราวของกรมป่าไม่มาก่อน เป็นต้น ถือได้ว่าเป็นการจ้างผู้มีความรู้ ความชำนาญเฉพาะตัว เพื่อให้ทำงานเฉพาะอย่าง ดังนั้น ในการทำสัญญาจ้าง กรมป่าไม่ย่อมสามารถทำสัญญาจ้างเหมาเป็นรายบุคคลได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการ แบ่งจ้าง
ความเห็น กวพ. • วิธีการจัดจ้าง • วงเงินในการจ้างตามสัญญาแต่ละรายครั้งหนึ่งมีวงเงิน ไม่เกิน 100,000 บาท จ้างโดยวิธีตกลงราคาได้ • สัญญาจ้างมีวงเงินเกินกว่า 100,000 บาท จ้างโดย วิธีพิเศษได้ ตามระเบียบ ฯข้อ 24(1) • (กรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค (กวพ) 0408.4/30967 ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2548)
การกำหนด spec : กำหนดอย่างไร • กำหนดตามความต้องการของหน่วยงาน • ตามมาตรฐานของทางราชการ • ต้องไม่เป็นการกีดกัน • ต้องคำนึงถึงการแข่งขันได้หลายราย หากต้องเจาะจง ..... ใช้วิธีพิเศษ
การกำหนด Spec / TOR • ความต้องการของหน่วยงาน • คุณสมบัติของผู้รับจ้าง • ขอบเขตรายละเอียดของงานที่จ้าง (TOR )
คุณสมบัติของผู้รับจ้างคุณสมบัติของผู้รับจ้าง • เป็นบุคคลธรรมดา • เพศ • อายุ • คุณวุฒิการศึกษา • ประสบการณ์ทำงาน • อื่น ๆ
สาระสำคัญของ TOR • หน้าที่ความรับผิชอบ • ขอบเขตรายละเอียดของงานที่ต้องการจ้าง • ทำอะไร • ทำที่ไหน .. ใน / นอกที่ตั้ง • ทำอย่างไร .. ใน / นอกเวลา .. ส่งงานทุกวัน • ทำเมื่อใด ..เริ่มต้น / สิ้นสุด • ค่าจ้าง • นอกเวลาราชการ • การเดินทางๆไปทำงานนอกที่ตั้ง
ระยะเวลา ขั้นตอน การจัดจ้าง ตรวจสอบ วิธีการ กำหนด spec วงเงิน เอกสาร ราคา spec เหตุผล จำเป็น รูปแบบ บริหารสัญญา การลงนาม แก้ไข บอกเลิก ขยาย งด ลด ค่าปรับ ตกลงราคา ตรวจรับ สอบราคา พิเศษ
การจัดทำสัญญาและการบริหารสัญญาการจัดทำสัญญาและการบริหารสัญญา • การจัดทำสัญญา (ข้อ 132 ข้อ 133) • การแก้ไขสัญญา (ข้อ 136) • การบอกเลิกสัญญา (ข้อ 137 ข้อ 138 ข้อ 140) • การงด ลดค่าปรับและการขยายอายุสัญญา (ข้อ 139) ต้องมีการตรวจรับงานจ้างตามที่กำหนดในสัญญา
การจัดทำสัญญา 1. รูปแบบ กวพ.กำหนด 2. ข้อตกลงเป็นหนังสือ ตกลงราคา ส่งงาน ใน 5 วันทำการ วิธีพิเศษเฉพาะ (1)-(5) ของข้อ 23 ข้อ24 3. ไม่ต้องทำข้อตกลงเป็นหนังสือ - จ้างไม่เกิน 10,000 บาท - ตกลงราคาฉุกเฉิน
สาระสำคัญในสัญญาจ้าง 1. ข้อตกลงการจ้างเหมาบริการ (ทำอะไร) 2. เงื่อนไขการจ่ายเงิน 2.1 เดือนละเท่าไร (มีอะไรบ้าง) 2.2 ไม่เต็มเดือนจ่ายอย่างไร 2.3 จ่ายเมื่อไร 2.4 นอกจาก 2.1 2.4.1 ค่าตอบแทนการทำงานจ้างนอกเวลา 2.4.2 ค่าตอบแทนในการเดินทางไปทำงานที่จ้าง 2.4.3 ค่าตอบแทนนอก TOR
สาระสำคัญในสัญญาจ้าง 3. เงื่อนไขในการปฏิบัติงาน 3.1 ต้องปฏิบัติงานด้วยตนเอง 3.2 ต้องมารับงานจ้างในแต่ละวันและให้ส่งงานจ้างที่แล้วเสร็จในวันทุกครั้ง 3.3 สถานที่ทำงาน .. ที่ไหน 3.4 การขาดงานโดยไม่มีเหตุอันควร ถือว่าผิดสัญญา 3.4 ไม่มา ไม่แจ้ง โดยไม่มีเหตุอันควร ถูกปรับเป็นรายวัน
สาระสำคัญในสัญญาจ้าง 3. เงื่อนไขในการปฏิบัติงาน (ต่อ) 3.5 การให้ความเคารพต่อผู้ร่วมงาน ผู้มาติดต่อ 3.6 ผู้รับจ้างต้องรับผิดในทางละเมิดต่อบุคคล ทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง หรือบุคคลอื่น เว้นแต่เหตุสุดวิสัย 3.7 ต้องวางหลักประกันสัญญา ร้อยละ 5 ของวงเงินที่จ้าง 3.8 ผิดสัญญา จะต้องถูกริบหลักประกันสัญญา 4. การว่าจ้างไม่ทำให้ผู้รับจ้างมีฐานะเป็นลูกจ้างของทางราชการ หรือมีความสัมพันธ์ในฐานะเป็นลูกจ้างตามกฎหมายแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม
เงื่อนไขในสัญญา • ค่าปรับ • การจ้างที่ต้องการผลสำเร็จของงานทั้งหมด ปรับรายวัน ร้อยละ 0.01-0.10 ของราคางานจ้าง (ไม่ต่ำกว่าวันละ 100 บาท) หลักประกันสัญญา - ร้อยละ 5 ของวงเงินที่จัดหาในครั้งนั้น หากงานที่มีความสำคัญพิเศษ ไม่เกินร้อยละ 10
การแก้ไข สัญญา (ข้อ 136) • หลัก ลงนามแล้ว แก้ไม่ได้ • ยกเว้น • จำเป็นโดยไม่ทำให้ทางราชการเสียประโยชน์ • เป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ • หากจำเป็นต้องเพิ่มหรือลดวงเงิน หรือเพิ่มหรือลดระยะเวลา ให้ดำเนินการไปพร้อมกัน • เป็นอำนาจหัวหน้าส่วนราชการ
การเพิ่มวงเงิน • การเพิ่มหรือลดวงเงิน หมายความถึง การเพิ่มหรือลดวงเงินที่นอกเหนือจากยอดเงินตามสัญญาเดิม อันเป็นผลสืบเนื่องจากการแก้ไขสัญญา
การแก้ไขสัญญา การแก้ไขสัญญา ดำเนินการในช่วงระยะเวลาใดก็ได้ แม้จะล่วงเลยกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จตามสัญญาก็ตาม แต่อย่างช้าจะต้องดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงก่อนที่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรือคณะกรรมการตรวจการจ้างได้ทำการตรวจรับพัสดุหรือตรวจงานจ้างไว้ใช้ในราชการ การแก้ไขสัญญา (ข้อ 136) ให้พิจารณาการแก้ไขสิ่งของ หรือเนื้องานตามสัญญาเป็นหลัก
การแก้ไขสัญญา ผู้รับรอง : สถาปนิก/วิศวกร ผู้เสนอ : คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ คณะกรรมการตรวจการจ้าง
การปรับ • ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ • ต้องมีการปรับ • พิจารณาตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญา
การคิดค่าปรับ • ผู้ขายส่งมอบสิ่งของ ผู้ซื้อย่อมมีหน้าที่ตรวจรับให้ถูกต้องครบถ้วน ตามสัญญา หากไม่ถูกต้อง ผู้ซื้อต้องแจ้งให้ผู้ขายแก้ไขให้ถูกต้อง ผู้ขายต้องรีบแก้ไขแล้วส่งมอบพัสดุที่แก้ไขถูกต้องแล้ว ให้แก่ผู้ซื้อ • การส่งมอบพัสดุและการตรวจรับพัสดุ หากล่วงเลยกำหนดเวลาส่งมอบตามสัญญา การคิดคำนวณค่าปรับต้องคิดนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดส่งมอบของตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งมอบถูกต้องครบถ้วนตามสัญญา โดยหักระยะเวลาที่ผู้ซื้อได้ใช้ไปในระหว่างการทำการตรวจรับออกจากระยะเวลาของความล่าช้า ถือว่าช่วงระยะเวลาที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการผู้ซื้อ เป็นเหตุที่เกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของส่วนราชการ ที่ส่วนราชการผู้ซื้อจะพิจารณาลด งด ค่าปรับให้แก่คู่สัญญาได้
การงด ลดค่าปรับ การขยายเวลา • สาเหตุ • จากความผิดหรือความบกพร่องของส่วนราชการ • เหตุสุดวิสัย ที่ไม่อาจป้องกันได้ • เหตุเกิดจากพฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่คู่สัญญาไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย • เป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการ • พิจารณาตามจำนวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้นจริง
ความผิดหรือความบกพร่องของฝ่ายผู้ซื้อหรือผู้ว่าจ้างความผิดหรือความบกพร่องของฝ่ายผู้ซื้อหรือผู้ว่าจ้าง • เนื่องจากทางราชการเป็นเหตุ • ส่งมอบพื้นที่ให้คู่สัญญาไม่ได้ตามเวลาที่กำหนด • ตรวจรับพัสดุหรืองานจ้าง ที่ใช้ระยะเวลานานจนล่วงเลยกำหนดเวลาตามสัญญา
ข้อ 139 (1) • กรณีที่ไม่ถือว่าเป็นความผิดและความบกพร่องของส่วนราชการ • การอ้างสาเหตุวัสดุก่อสร้างขาดแคลนและมีราคาสูง • การจ่ายเงินค่าจ้างล่าช้า เป็นเหตุให้ผู้รับจ้างขาดเงินทุนหมุนเวียน
เหตุสุดวิสัย • หมายความว่า เหตุใด ๆ อันจะเกิดขึ้นก็ดี จะให้ผลพิบัติก็ดี ไม่มีใครจะอาจป้องกันได้ แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบหรือใกล้จะประสบเหตุนั้นจะได้จัดการระมัดระวังตามสมควร อันพึงคาดหมายได้จากบุคคลนั้นในฐานะเช่นนั้น • องค์ประกอบ • ไม่ใช่ความผิดของบุคคลนั้นหรือบุคคลอื่น • เป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้
พฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายพฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย • ผู้ขายหรือผู้รับจ้างส่งมอบพัสดุหรืองานจ้างในกำหนดระยะเวลาในช่วงระยะเวลาที่ทางราชการใช้เวลาตรวจรับพัสดุหรืองานจ้างจนล่วงเลยกำหนดระยะเวลาตามสัญญา ซึ่งไม่ใช่ความผิดของผู้ขายหรือผู้รับจ้าง ทางราชการจะปรับผู้ขายหรือผู้รับจ้างไม่ได้
การพิจารณางด ลดค่าปรับ การคิดคำนวณค่าปรับกรณีส่งมอบหรือตรวจรับของคู่สัญญาเป็นการล่วงเลยกำหนดเวลาสัญญาแล้ว ส่วนราชการย่อมจะต้องหักระยะเวลาทั้งหมดที่ ทางราชการได้ใช้ไปในการทำการตรวจรับออกจากระยะเวลาของความล่าช้าดังกล่าวด้วย โดยถือว่าเป็นระยะเวลาที่อยู่ในความรับผิดชอบของทางราชการ และถือว่าเป็นเหตุเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของส่วนราชการ
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา การขยายระยะเวลา การงด หรือลดค่าปรับ เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือคณะกรรมการตรวจการจ้างที่จะเสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของหัวหน้าส่วนราชการหรือ ผู้มีอำนาจ ในแต่ละครั้ง (สำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร (กวพ) 1305/ว 11948 ลว 13 ธันวาคม 2543)
ข้อ 140 ในกรณีที่ไม่มีระเบียบกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ และเป็นความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการที่จะใช้สิทธิตามเงื่อนไขของสัญญาหรือข้อตกลง หรือข้อกฎหมาย ให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการที่จะใช้สิทธิดังกล่าว สั่งการได้ตามความจำเป็น การเลิกสัญญา ข้อ 137 ให้หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง ในกรณีที่มีเหตุอันเชื่อได้ว่า ผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด การตกลงกับคู่สัญญาที่จะบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง ให้หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาได้เฉพาะกรณีที่เป็นประโยชน์แก่ทางราชการโดยตรง หรือเพื่อแก้ไขข้อเสียเปรียบของทางราชการในการที่จะปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้นต่อไป
การบอกเลิกสัญญา • มีเหตุอันเชื่อได้ว่าผู้รับจ้างทำงานไม่แล้วเสร็จในกำหนด • เป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการ • เพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ • เพื่อการแก้ไขข้อเสียเปรียบของทางราชการ
การบอกเลิกสัญญา • ค่าปรับจะเกินร้อยละ 10 ของวงเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้าง • เว้นแต่ จะยอมเสียค่าปรับโดยไม่มีเงื่อนไข • หัวหน้าส่วนราชการผ่อนตามความจำเป็น
ข้อแตกต่าง • สัญญาจ้างทำของ • มุ่งผลสำเร็จของงาน • ผู้ว่างจ้างไม่มีอำนาจควบคุมบังคับบัญชา • ไม่ต้องร่วมรับผิดทางละเมิดต่อบุคคลอื่น สัญญาจ้างแรงงาน • มุ่งเน้นแรงงาน • ผู้ว่าจ้างมีอำนาจควบคุมบังคับบัญชา • ร่วมรับผิดทางละเมิดต่อบุคคลอื่นในทางการที่จ้าง • มีสวัสดิการตามกฎหมายประกันสังคม
ติดตามข้อมูลข่าวสาร http://www.gprocurement.go.th สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐกรมบัญชีกลาง โทร. 02127 7000 ต่อ 4588 , 4589, 4551, 4552, 4553 email: opm@cgd.go.th