1.57k likes | 3.06k Views
วิชา กฎหมายลักษณะนิติกรรมและสัญญา. กฎหมายลักษณะนิติกรรม มาตรา 149 - 193/35 = 80 มาตรา. กฎหมายลักษณะสัญญา มาตร 345 - 394 = 41 มาตรา. ผู้สอน : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อ่อนน้อม คนซื่อ. อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี โทร. 084-6509914 02- 448-1914. นิติกรรม.
E N D
วิชา กฎหมายลักษณะนิติกรรมและสัญญา กฎหมายลักษณะนิติกรรม มาตรา 149 - 193/35 = 80 มาตรา กฎหมายลักษณะสัญญา มาตร 345 - 394 = 41 มาตรา ผู้สอน : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อ่อนน้อม คนซื่อ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี โทร. 084-6509914 02- 448-1914
นิติกรรม การทำนิติกรรม มาตรา 149 “นิติกรรม หมายความว่า การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมาย และด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ” ความหมาย “นิติกรรม” คือ การกระทำของบุคคลที่ผู้กระทำมีเจตนามุ่งให้เกิดผลทางกฎหมาย
องค์ประกอบ 1. ต้องมีการกระทำ 2. ต้องชอบด้วยกฎหมาย 3. ต้องทำด้วยใจสมัคร 4. มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้น ระหว่างบุคคล 5. เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือ ระงับซึ่งสิทธิ” ข. ประเภท 1. นิติกรรมฝ่ายเดียว 2. นิติกรรมหลายฝ่าย
1. การกระทำ ต้องเป็นการกระทำของบุคคล โดย การแสดงออก ซึ่งเจตนาตามความ ในใจอันแท้จริงให้ผู้อื่นเข้าใจความ ประสงค์ของผู้ทำนิติกรรม วิธีการแสดงเจตนา โดยชัดแจ้ง โดยปริยาย หรือ โดยการนิ่ง ผลของการแสดงเจตนา ก่อให้เกิด ผลเป็นนิติกรรม
4. มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ซึ่งจะต้องปฏิบัติต่อกันตามกฎหมาย การร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในความผิด อันยอมกันได้ ไม่ใช่นิติกรรม (ฎ.1590/2530) ฟ้องคดีแพ่ง ไม่ใช่นิติกรรม (ฎ.7976/2529) การท้าในกระบวนการพิจารณาคดีศาล ไม่เป็นนิติกรรม (ฎ.3590/2538) 5. เพื่อก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวแห่งสิทธิก่อเปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับซึ่งสิทธิ
2. ชอบด้วยกฎหมาย ชอบด้วยวัตถุประสงค์ ม. 150 ชอบด้วยแบบของนิติกรรม ม. 151-152 ชอบด้วยความสามารถของบุคคล ม. 153 3. ทำด้วยใจสมัคร ต้องเกิดจากความพอใจของผู้ทำนิติกรรมโดยการแสดงออกซึ่งเจตนาที่แท้จริง มิใช่เกิดจากการแสดงเจตนาที่วิปริต
คือ สิทธิหรือประโยชน์สุดท้ายที่ผู้ทำนิติกรรมต้องการที่จะให้เกิดขึ้นจากการทำนิติกรรมนั้น 1. มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย- มีกฎหมายห้าม- มีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด 2. มีวัตถุประสงค์ประสงค์เป็นการพ้นวิสัย- ไม่มีใครปฏิบัติได้ เป็นไปไม่ได้- เหตุพ้นวิสัยต้องมีอยู่ก่อนหรือขณะทำนิติกรรม ถ้ามีภายหลังเป็นการชำระหนี้พ้นวิสัย วัตถุประสงค์การทำนิติกรรมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ม.150
วัตถุประสงค์การทำนิติกรรมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ม.150 3. มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของ ประชาชน - ทำสัญญาเลิกความกันในความผิดอาญาแผ่นดิน - ขัดต่อผลประสงค์ส่วนรวม ความมั่นคง - ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของประชาชน - ส่งเสริมให้คนอื่นเป็นความกัน - ข้อสัญญาให้สินบนต่อเจ้าหน้าที่
เจตนา คือ ความในใจที่แท้จริงของบุคคล คือ เจตนาเป็นหลักซึ่งเป็นรากฐานของการทำนิติกรรม คือ 1. หลักความศักดิ์สิทธิ์ของเจตนา ม.149 ,151, 360 2. หลักให้ถือเอาเจตนาที่แสดงออกเป็นสำคัญ กรรม เป็นเครื่องชี้เจตนา ดูเจตนา วิปริต 6 ประการ 3. เจตนาที่จะกระทำ มุ่งที่พฤติกรรมภายนอก 4. เจตนาที่จะแสดงออก มุ่งที่ความรู้สำนึกของผู้กระทำ 5. เจตนาที่จะทำนิติกรรม มุ่งโดยตรงจะทำให้เกิดผล ตามกฎหมาย การแสดงเจตนา
การแสดงเจตนา คือ การแสดงออกซึ่งความในใจตามความประสงค์ของผู้ทำนิติกรรม แยกเป็น 1. การแสดงเจตนาโดยชัดแจ้ง 2. การแสดงเจตนาโดยปริยาย 3. การแสดงเจตนาโดยการนิ่ง
1. การแสดงเจตนาซ่อนเร้น ม.154 โมฆะ 2. การแสดงเจตนาลวง ม.155 โมฆะ 3. การแสดงเจตนาอำพราง ม.155 ว.2 โมฆะ 4. การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิด - สำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญ ม.156 โมฆะ - สำคัญผิดในคุณสมบัติ ม.157 โมฆียะ 5. การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉล ม.159 โมฆียะ 6. การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่ ม.164 โมฆียะ การแสดงเจตนาที่เป็นโมฆะ หรือ โมฆียะ
1. เจตนาอันแท้จริงซ่อนอยู่ในใจไม่แสดงออกให้คู่กรณีรู้ 2. เจตนาที่แสดงออกเป็นเจตนาที่ไม่ต้องการให้ตนต้องผูกพันตามที่ แสดงออก 3. คู่กรณีที่ทำนิติกรรมด้วยไม่รู้เจตนาที่ซ่อนอยู่ในใจของผู้แสดง เจตนานั้น 4. เจตนาที่แสดงออกนั้นไม่เป็นโมฆะ หมายความว่ายังต้องผูกพัน ตามนิติกรรมที่ทำไว้ เจตนาอันแท้จริงซ่อนอยู่ในใจ แสดงเจตนาออกอีกอย่างหนึ่ง การแสดงเจตนาซ่อนเร้น (ม.154) ไม่รู้ ผู้รับ ผู้แสดง รับรู้
1. ผู้เข้าทำนิติกรรมได้แสดงเจตนาโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง 2. เพื่อนำนิติกรรมลวงบุคคลอื่น 3. ผลของการทำนิติกรรมระหว่างคู่กรณีที่สมรู้กันเป็นโมฆะ 4. ผลความเป็นโมฆะนั้น ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับบุคลคลภายนอก ไม่ได้ ในกรณี (1) บุคคลภายนอกนั้นกระทำการโดยสุจริต และ (2) บุคคลภายนอกนั้นต้องได้รับความเสียหายจากการแสดง เจตนาลวงนั้น การแสดงเจตนาลวง (ม.155 ว.1) ลวง สมรู้กัน ค. ข. ก. ง. บุคคลภายนอกเข้าทำนิติกรรม
1. เป็นการแสดงเจตนาลวงทำนิติกรรมกัน (สมรู้กัน ไม่ใช่เจตนาแท้จริง) เป็นนิติกรรมอำพราง (โมฆะ) 2. เพื่อปิดบังอำพรางนิติกรรมอื่น (เจตนาอันแท้จริง) เป็นนิติกรรมถูก อำพราง (สมบูรณ์) 3. ต้องมีนิติกรรมในเรื่องเดียวกันอยู่ 2 นิติกรรมในคู่กรณีเดียวกัน 4. ผลของการแสดงเจตนาลวงเพื่ออำพรางนิติกรรมอื่น การแสดงเจตนาเพื่ออำพรางนิติกรรมอื่น (ม.155 ว.2) ก. นิติกรรมลวงเป็นโมฆะ สมรู้กัน อำพราง นิติกรรมที่ 1 ไม่ใช่เจตนาจริง (โมฆะ) ข. นิติกรรมถูกอำพราง สมบูรณ์บังคับได้ ถูกปิดบัง อำพราง นิติกรรมที่ 2 เจตนาแท้จริง (สมบูรณ์)
คือ การที่ผู้แสดงเจตนาได้แสดงออกมาไม่ตรงกับเจตนาที่แท้จริงที่มีอยู่ในใจ โดยผู้แสดงเจตนาไม่รู้ว่าที่ตนแสดงออกนั้นผิดจากเจตนาในใจของตนที่ต้องการจะทำนิติกรรม มี 2 กรณี คือ 1. การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญ แห่งนิติกรรม เป็นโมฆะ (ม.156) 2. การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคล หรือ ทรัพย์ เป็นโมฆียะ (ม.157) การแสดงเจตนาสำคัญผิด
การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม เป็นโมฆะ (ม.156) สิ่ง ซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม ได้แก่ สิ่งซึ่งจำเป็นต้องมีในการทำนิติกรรมนั้น ถ้าไม่มีสิ่งนั้น ก็ไม่เกิดเป็นนิติกรรมขึ้น เช่น 1. สำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม 2. สำคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม 3. สำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม
การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม เป็นโมฆะ (ม.156) (ต่อ) 4. สำคัญผิดในกรณีอื่น เช่น สำคัญผิดในราคาที่ดิน (ฎ. 6103/2545) ขอเอาประกันชีวิต ตายก่อน ผู้รับประกัน ตอบรับประกันโดยสำคัญผิดว่ามีชีวิตอยู่ (ฎ. 4196/2533) สำคัญผิดในค่าเช่า (ฎ. 458/2498) 5. ถ้าความสำคัญผิดนั้นเกิดขึ้นโดยความประมาทเลินเล่ออย่าง ร้ายแรงของตนจะยกความสำคัญผิดนั้นมาเป็นประโยชน์ แก่ตนไม่ได้ (ม.158)
1. ทำนิติกรรม กับบุคคล หรือทรัพย์ถูกต้อง เพียงแต่มีคุณสมบัติไม่ตรงกับความจริงที่เป็นสาระสำคัญ แยกเป็น2 กรณี (1) สำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม (2) สำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สินที่เป็นวัตถุแห่งนิติกรรม 2. หากไม่ได้สำคัญผิดดังกล่าวการอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะไม่กระทำขึ้น3. ถ้าความสำคัญผิดนั้นเกิดขึ้นโดยความประมาทเลินเล่ออย่าง ร้ายแรงของตน จะยกความสำคัญผิดนั้นมาเป็นประโยชน์แก่ตน ไม่ได้ (ม.158) การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคล หรือทรัพย์ เป็นโมฆียะ (ม.157)
คือ การแสดงเจตนากับคู่กรณีที่ใช้อุบายหลอกลวงด้วยข้อความเป็นเท็จ หรือปกปิดความจริงเพื่อให้ผู้แสดงเจตนาทำนิติกรรมด้วย ต้องเข้าลักษณะดังนี้ 1. ต้องเป็นกลฉ้อฉลถึงขนาดซึ่งถ้าไม่มีกลฉ้อฉลนั้นก็ไม่เข้าทำนิติกรรมด้วย 2. กลฉ้อฉลนั้นเกิดจากบุคคลภายนอก แต่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้หรือควรจะได้รู้ก็เป็นโมฆียะได้ 3. ผลของการแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉล เป็นโมฆียะ 4. การบอกล้างโมฆียกรรมเพราะถูกกลฉ้อฉลจะยกเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอก ผู้กระทำการโดยสุจริตไม่ได้ (ม.160) การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉล เป็นโมฆียะ (ม.159)
กลฉ้อฉลเป็นเพียงเหตุจูงใจ ไม่เป็นโมฆียะ(ม.161) เหตุจูงใจให้คู่กรณียอมรับข้อกำหนดอันหนักยิ่งกว่าที่จะยอมรับได้โดยปกติ คือ มีการกำหนดให้มีคุณค่าสูงขั้นกว่าปกติ มีหลักดังนี้ 1.เป็นการหลอกลวงโดยแสดงข้อความเป็นเท็จหรือนิ่งเสียไม่บอกความจริงเพื่อให้หลงเชื่อ 2.เป็นเพียงเหตุจูงใจให้เข้าทำนิติกรรมด้วยไม่ถึงขนาดจะไม่ทำนิติกรรมนั้นเลย 3.ผลของนิติกรรมนี้สมบูรณ์ไม่เป็นโมฆียะเพียงแต่มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นได้เช่น -รับเหมาก่อสร้างคิดค่าวัตถุสูง ฎ.6103/2548 -อวดคุณสมบัติของรถยนต์ว่ารุ่นใหม่ ฎ.4045/2548 -ชื้อเครื่องไสสันทากางแพงขึ้น ฎ.1559/2524 -อ้างที่ดินติดแม่น้ำ ถนน ฎ.696/2531
การแสดงกลฉ้อฉลโดยการนิ่ง (ม.162) 1.ต้องเป็นนิติกรรม 2 ฝ่าย 2.อีกฝ่ายหนึ่งมีหน้าที่ควรจะบอกความจริงซึ่งอีกฝ่ายหนึ่งไม่รู้ จึงนิ่งเสีย 3.ถ้าไม่นิ่งเสีย นิติกรรมนั้นก็จะไม่ทำขึ้น เช่น ขายที่ดินที่อยู่ระหว่างสำรวจเพื่อเวนคืน ฎ.63/2544 และ ฎ.1131/2532
การแสดงเจตนาเพาะถูกข่มขู่ เป็นโมฆียะ (ม.164) 1. เป็นกรณีแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่ ต้องเป็นการข่มขู่ที่ (1) จะเกิดภัยใกล้จะถึง (2) มีความร้ายแรงถึงขนาดที่จะจูงใจให้ผู้ถูกข่มขู่มีมูลต้องกลัว (3) ถ้าไม่มีการข่มขู่ก็จะไม่มีการแสดงเจตนานั้น 2. ผู้ข่มขู่อาจเกิดจากคู่กรณีเอง หรือบุคคลภายนอกซึ่งคู่กรณีได้รู้เห็นด้วย(ม.166) 3. ผลของการแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่ เป็นโมฆียะ 4. กรณีที่ไม่เป็นการแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่ (1) การขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม (ม.165 ว.1) (2) การที่ผู้แสดงเจตนากระทำไปเพราะนับถือยำเกรง(ม.165 ว.2)
ข้อวิเคราะห์กรณีมีความสำคัญผิด กลฉ้อฉลและการข่มขู่ 1. ต้องเข้าหลักเกณฑ์ถึงมูลเหตูแห่งสำคัญผิด กลฉ้อฉล และการข่มขู่ 2.ต้องวิเคราะห์ถึง เพศ อายุ ฐานะ สุขภาพ อนามัย ภาวะแห่งจิตใจ พฤติการณ์ และสภาพแวดล้อมอันเกี่ยวกับการนั้น (ม.167)
แสดงเจตนาต่อบุคคลซึ่งอยู่เฉพาะหน้า (ม.168) 1. เป็นกรณีผู้รับแสดงเจตนาอยู่ต่อหน้าสามารถรับรู้และโต้ตอบกันได้ทันที 2. แม้ห่างไกลโดยระยะทางแต่สามารถรับรู้และโต้ตอบได้โดย ทางโทรศัพท์ เครื่องมือสื่อสารอื่นๆ หรือวิธีอื่นซึ่งติดต่อถึงกันได้ทำนองเดียวกัน ก็ถือว่าอยู่เฉพาะหน้า 3. มีผลนับแต่ผู้แสดงเจตนาได้ทราบการแสดงเจตนานั้น
แสดงเจตนาต่อบุคคลซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้า (ม.169) 1 เป็นกรณีผู้รับแสดงเจตนาไม่สามารถทราบการแสดงเจตนาของผู้แสดงเจตนาได้ทันที 2 มีผลนับแต่เวลาที่การแสดงเจตนานั้นไปถึงผู้รับการแสดงเจตนา ( ผู้รับจะทราบหรือไม่ไม่สำคัญ สำคัญที่การไปถึง ) 3 การถอนการแสดงเจตนา จะมีผลดังนี้ (1) คำขอถอนไปถึงผู้รับการแสดงเจตนาก่อนหรือพร้อมกันกับการแสดงเจตนานั้น ทำให้ การแสดงเจตนานั้นไม่มีผล (2) คำขอถอนไปถึงผู้รับแสดงเจตนาภายหลังทำให้การแสดงเจตนานั้นยังมีผลอยู่ 4 การแสดงเจตนาที่ผู้แสดงเจตนาถึงแก่ความตายไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ (1) ต้องไม่ใช่กรณีแสดงเจตนาต่อบุคคลผู้อยู่เฉพาะหน้า (2 ผลของการแสดงเจตนา -ทำให้การแสดงเจตนานั้นมีผลอยู่ไม่เสียไป -แต่ผู้รับแสดงเจตนาทราบการตาย ไร้ความสามารถหรือ เสมือนไร้ความสามารถแล้ว การแสดงเจตนานั้นสิ้นผล (ม.360)
การตีความการแสดงเจตนา (ม.171) 1. การตีความ คือ การนำเอาบทบัญญัติของกฎหมายมาปรับเพื่อบังคับใช้กับข้อเท็จจริง 2. หลักการตีความตามตัวอักษร หากตัวอักษรนั้นมีความหมายนัยเดียว 3. หากถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรนั้นมีความหมายได้หลายนัย ต้องตีความโดยเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงของกฎหมาย - หลักการตีความกฎหมายที่ให้โทษ - หลักการตีความกฎหมายที่เป็นคุณ - หลักการตีความโดยอาศัยเหตุและผล - หลักการตีความโดยเล็งผลเลิศ
โมฆกรรม (ม.172) 1. เป็นนิติกรรมที่เสียเปล่ามาแต่ต้นถึงเสมือนไม่ได้เกิดนิติกรรมนั้นขึ้นจึงไม่อาจให้สัตยาบันได้ 2. ผู้มีสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้าง (1) ผู้มีส่วนได้เสีย คือผู้จะได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์ (2) ยกขึ้นกล่าวอ้างเวลาใดก็ได้ไม่จำกัดเวลา 3. การคืนทรัพย์สินที่ส่งมอบกันไว้อันเกิดจากโมฆกรรม (1) ให้กลับคืนสู่ฐานะเดิมก่อนการเกิดโมฆกรรม (2)ให้ใช้บทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับ (ม.406-419) (3) การเรียกร้องเอาทรัพย์สินคืนต้องอยู่ในอายุความ 1 ปีนับแต่วันรู้โมฆะ หรือ10 ปี นับแต่วันมีสิทธิเรียกคืน 4. การกล่าวอ้างความเสียเปล่าแห่งโมฆกรรม ไม่ใช่เป็นการบอกล้างหรือเพิกถอนนิติกรรม
การแสดเจตนาต่อผู้เยาว์คนไร้ความสามารถ (ม.170) 1. ต้องเป็นการแสดงเจตนาต่อบุคคลดั้งนี้ - ผู้เยาว์,คนไร้ความสามารถ,คนเสมือนไร้ความสามารถ 2. ต้องผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุพล ผู้พิทักษ์ ไม่รู้ด้วย หรือไม่ได้ให้ความยินยอมไว้ก่อน 3. ผลของการแสดงเจตนาจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู่ผู้รับแสดงเจตนาไม่ได้ 4. ข้อยกเว้น ยกเว้นข้อต่อสู้ผู้รับแสดงเจตนาได้ กรณี (1) ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุพล ผู้พิทักษ์ ได้รู้หรือได้ให้ความยินยอมไว้ก่อนแล้ว (2) ต้องมิใช้การแสดงเจตนาเกี่ยวกับการที่กฎหมายให้อำนาจผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถกระทำได้เองโดยลำพัง
นิติกรรมที่เป็นโมฆะบางส่วน (ม.173) 1. หลัก นิติกรรมที่เป็นโมฆะเพียงบางส่วน ย่อมทำให้นิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆะทั้งหมด 2. ข้อยกเว้น คู่กรณีมีเจตนาจะแยกส่วนที่ไม่เป็นโมฆะ ออกมาจากส่วนที่เป็นโมฆะ ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะใช้บังคับได้
นิติกรรมที่เป็นโมฆะ แต่เข้าลักษณะเป็นนิติกรรมอื่น (ม.174) 1.เป็นนิติกรรมที่เป็นโมฆะ เพราะไม่ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนด (ม.152) 2.นิติกรรมที่ทำไม่ถูกแบบนั้น(โมฆะ)ไปเข้าลักษณะของนิติกรรมแบบอื่น ก็บังคับได้ตามนิติกรรมแบบอื่นนั้น 3.ข้อยกเว้น เป็นข้อสันนิฐานของกฎหมายถ้าคู่กรณีรู้ว่านิติกรรมที่ทำนั้นเป็นโมฆะ ก็คงตั้งใจจะทำเป็นนิติกรรมอย่างอื่นที่ไม่เป็นโมฆะนั้น
โมฆียกรรม 1.ความหมาย เป็นนิติกรรมที่ทำขึ้นแล้ว มีผลใช้ประปฏิบัติต่อกันตามข้อตกลงได้ แต่นิติกรรมนั้นไม่สมบูรณ์อาจถูกบอกล้าง หรือให้สัตยาบันก็ได้ 2.เหตุที่ทำให้เกิดโมฆียกรรม (1)การแสดงเจตนาโดยผู้หย่อนความสามารถ(2) การแสดงเจตนาโดยวิกลจริต (3) การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์(4) การแสดงเจตนาเนื่องจากกลฉ้อฉล(5) การแสดงเจตนาเนื่องจากถูกข่มขู่ 3.ผลของนิติกรรมที่เป็นโมฆียะ(1) ทำให้คู่กรณีสามารถปฏิบัติต่อกันตามข้อกำหนดในนิติกรรมนั้นได้(2) แต่อาจถูกบอกล้างหรือให้สัตยาบันก็ได้
การบอกล้างโมฆียกรรม 1.เป็นการแสดงเจตนาต่อคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อยกเลิกนิติกรรมนั้น 2.ผู้มีสิทธิบอกล้าง (ม.175) (1)กรณีเกิดจากผู้เยาว์ ก. ผู้แทนโดยชอบธรรม ข. ตัวผู้เยาว์เองเมื่อบรรลุนิติภาวะแล้ว ค. ตัวผู้เยาว์ที่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม (2) กรณีคนไร้ความสามารถ ก. ผู้อนุบาล ข. ตัวคนไร้ความสามารถเอง เมื่อพ้นจากการเป็นคนไร้ความสามารถแล้ว (3) กรณีคนเสมือนไร้ความสามารถ ก. ผู้พิทักษ์ ข. คนเสมือนไร้ความสามารถ เมื่อพ้นจากการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ค. คนเสมือนไร้ความสามารถ เมื่อได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ (4) บุคคลผู้แสดงเจตนา เพราะสำคัญผิด หรือถูกกลฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่(5) บุคคลวิกลจริต เมื่อบุคคลนั้นไม่วิกลจริตแล้ว (6) ทายาทของบุคคลผู้ทำนิติกรรมที่เป็นโมฆียะ เมื่อผู้นั้นตายก่อนบอกล้าง
การบอกล้างโมฆียกรรม (ต่อ) 3.วิธีการบอกล้าง ให้ผู้มีสิทธิบอกล้าง แสดงเจตนาต่อคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งให้ผู้นั้นทราบ (ม.178) 4. กำหนดเวลาบอกล้าง(1) กำหนดเวลาเริ่มต้นใช้สิทธิบอกล้างโดยปกติบอกล้างเมื่อใดก็ได้ เว้นแต่ ผู้นั้นหย่อนความสามารถก็ต้องพ้นการหย่อนความสามารถนั้นแล้ว (2) กำหนดเวลาสิ้นสุดที่จะใช้สิทธิบอกล้างไม่ได้ (ม.181) - พ้นเวลา 1 ปี นับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้- พ้นเวลา 10 ปี นับแต่ได้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะ
การบอกล้างโมฆียกรรม (ต่อ) 5.ผลการบอกล้างโมฆียะ (ม.176) (1) ให้ถือว่าเป็นโมฆะมาตั้งแต่เริ่มแรก(2) ให้คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม(3) ถ้าเป็นการพ้นวิสัยจะกลับคืนสู่ฐานะเดิมไม่ได้ ให้ได้รับ ค่าเสียหายชดใช้ให้แทน(4) ถ้าบุคคลใดได้รู้ หรือควรจะได้รู้ว่าการใดเป็นโมฆียะ เมื่อบอกล้างแล้วได้ถือว่าบุคคลนั้นได้รู้ว่าการนั้น เป็นโมฆะนับแต่วันที่ได้รู้หรือควรจะได้รู้ว่าเป็นโมฆียะ (ม.176 ว.2) 6. อายุความการใช้สิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์สินที่ส่งมอบกันแล้วคืนให้เรียกร้องภายใน 1 ปี นับแต่วันบอกล้างโมฆียะ (ม.176 ว.3)
การให้สัตยาบัน 1.ความหมาย เป็นการรับรองว่านิติกรรมที่ทำแล้วนั้นสมบูรณ์มีผลบังคับได้ตามกฎหมายต่อไป 2. ผู้มีสิทธิให้สัตยาบัน ได้แก่ บุคลที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 175 3. กำหนดเวลาเริ่มต้นใช้สิทธิให้สัตยาบัน (1) กรณีผู้หย่อนความสามารถจะให้สัตยาบันได้เมื่อพ้นการหย่อนความสามารถแล้ว (ม.179 ว.1, ว.2) (2) ทายาทของบุคคลผู้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะจะให้ สัตยาบันได้ เมื่อผู้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะนั้นตาย เว้นแต่สิทธิของผู้ตายนั้นสิ้นสุดลงแล้ว (ม.179 ว.3) (3) ผู้แทนโยชอบธรรม ผู้อนุบาล ผู้พิทักษ์ ให้สัตยาบัน เมื่อใดก็ได้ (ม.179 ว.4)
การให้สัตยาบัน(ต่อ) 4.กำหนดเวลาสิ้นสุดการให้สัตยาบัน เมื่อพ้นระยะเวลาการบอกล้างโมฆียะ นิติกรรมนั้นสมบูรณ์ โดยไม่ต้องให้สัตยาบัน 5. วิธีการให้สัตยาบัน ก. การให้สัตยาบันโดยแสดงเจตนาโดยชัดแจ้ง (ม.178) ข. การให้สัตยาบันโดยปริยาย (ม.180) (1) ได้ชำระหนี้ทั้งหมด หรือบางส่วน (2) ได้มีการเรียกให้ชำระหนี้นั้นแล้ว (3) ได้มีการแปลงหนี้ใหม่ (4) ได้มีการให้ประกันเพื่อหนี้นั้น (5) ได้มีการโอนสิทธิ หรือความรับผิดทั้งหมด หรือบางส่วน (6) ได้มีการกระทำอย่างอื่นอันแสดงได้ว่าเป็นการให้สัตยาบัน
การให้สัตยาบัน(ต่อ) ค. ไม่มีการสงวนสิทธิไว้โดยชัดแจ้งว่าการกระทำตาม (1)-(6) นั้นไม่ใช่เป็นการให้สัตยาบัน 6.ผลของการให้สัตยาบัน (1) ให้ถือว่านิติกรรมนั้นเป็นอันสมบูรณ์มาตั้งแต่เริ่มแรก (ม.177) (2) ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอก (ม.177) ผู้กระทำโดยสุจริต (ม.5)
เงื่อนไข 1. ความหมาย ข้อความใดอันบังคับไว้ให้นิติกรรมเป็นผลหรือสิ้นผลต่อเมื่อมีเหตุการณ์อันไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้น หรือไม่ในอนาคต (ม.182) 2. ลักษณะของเงื่อนไข - เป็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต - เป็นเหตุการณ์ที่ไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่- เมื่อมีเหตุการณ์นั้นแล้วทำให้นิติกรรมนั้นเป็นผล หรือสิ้นผลไป 3. ประเภทของเงื่อนไข มี 2 ประเภท (1) เงื่อนไขบังคับก่อน (2) เงื่อนไขบังคับหลัง
เงื่อนไขบังคับก่อน (ม.183 ว.1) 1. เป็นเงื่อนไขที่บังคับให้นิติกรรมยังไม่เกิดผล จนกว่าเงื่อนไขจะสำเร็จ 2. เมื่อเงื่อนไขสำเร็จแล้ว นิติกรรมนั้นก็จะเกิดผลบังคับได้ตามกฎหมาย 1. เป็นเงื่อนไขที่ยังไม่บังคับนิติกรรม ทำให้คู่กรณีปฏิบัติตามนิติกรรมนั้นได้ 2. เมื่อเงื่อนไขสำเร็จ ทำให้นิติกรรมนั้นสิ้นผล ไม่สามารถปฏิบัติตามนิติกรรมได้ เงื่อนไขบังคับหลัง (ม.183 ว.2)
ผลของนิติกรรมที่มีเงื่อนไขผลของนิติกรรมที่มีเงื่อนไข 1.ผลในระหว่างที่เงื่อนไขยังไม่สำเร็จ(1) ถ้าเป็นเงื่อนไขบังคับก่อน นิติกรรมยังไม่เกิดผล คู่กรณียังไม่มีสิทธิและหน้าที่จะต้องปฏิบัติต่อกันตามนิติกรรม (ม.183 ว.1) (2) ถ้าเป็นเงื่อนไขบังคับหลัง นิติกรรมเกิดผลแล้ว คู่กรณีมีสิทธิและหน้าที่จะต้องปฏิบัติต่อกันตามนิติกรรมได้ (3) คู่กรณีต้องงดเว้นไม่กระทำการใดๆ ให้เป็นที่เสื่อมเสียประโยชน์แก่อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งจะพึ่งได้จากการสำเร็จแห่งเงื่อนไขนั้น (ม.184) (4) สิทธิและหน้าที่ต่างๆ ของคู่กรณีมีอย่างไร จะจำหน่าย จะจัดการป้องกันรักษาหรือจะทำประกันไว้ประการใดตามกฎหมายก็ย่อมทำได้ (ม.185)
ผลของนิติกรรมที่มีเงื่อนไข (ต่อ) 2.การกระทำที่ไม่สุจริตเป็นเหตุให้เงื่อนไขไม่สำเร็จหรือสำเร็จ (ม.184) (1) ถ้าความสำเร็จแห่งเงื่อนไขจะเป็นทางให้คู่กรณีฝ่ายใดเสียเปรียบและคู่กรณีฝ่ายนั้นกระทำโดยไม่สุจริตจนเป็นเหตุให้เงื่อนไขนั้นไม่สำเร็จ ให้ถือว่าเงื่อนไขนั้นสำเร็จแล้ว (2) ถ้าความสำเร็จแห่งเงื่อนไขจะเป็นทางให้คู่กรณีฝ่ายใดได้เปรียบและคู่กรณีฝ่ายนั้น กระทำการโดยไม่สุจริตจนเป็นเหตุให้เงื่อนไขนั้นสำเร็จ ให้ถือว่าเงือนไขนั้นมิได้สำเร็จเลย
ผลของนิติกรรมที่มีเงื่อนไข (ต่อ) 3.ผลของนิติกรรมเมื่อเงื่อนไขสำเร็จแล้ว (1) ถ้าเป็นเงื่อนไขบังคับก่อน นิติกรรมนั้นเกิดผล คู่กรณีมีสิทธิและหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อกันตามนิติกรรม (2) ถ้าเป็นเงื่อนไขบังคับหลัง นิติกรรมนั้นสินผล คู่กรณีหมดสิทธิและหน้าที่ ไม่ต้องปฏิบัติต่อกัน (3) คู่กรณีมีสิทธิตกลงกันว่า เมื่อเงื่อนไขสำเร็จแล้วให้นิติกรรมมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาใดเวลาหนึ่งก่อนสำเร็จก็ได้
เงื่อนไขที่ไม่สมบูรณ์เงื่อนไขที่ไม่สมบูรณ์ • เงื่อนไขที่สำเร็จแล้ว ในเวลาทำนิติกรรม (ม.187 ว.1) (1) หากเป็นเงื่อนไขบังคับก่อน ให้ถือว่านิติกรรมนั้นไม่มีเงื่อนไข (2) หากเป็นเงื่อนไขบังคับหลัง ให้ถือว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ 2. เงื่อนไขที่ไม่อาจสำเร็จได้ ในเวลาทำนิติกรรม (ม.187 ว.2) (1) หากเป็นเงื่อนไขบังคับก่อน ให้ถือว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ(2) หากเป็นเงื่อนไขบังคับหลัง ให้ถือว่านิติกรรมนั้นไม่มีเงื่อนไข 3. ถ้าคู่กรณีไม่รู้ว่าเงื่อนไขได้สำเร็จแล้ว หรือไม่อาจสำเร็จได้ให้คู่กรณีมีสิทธิและหน้าที่ (ม.187 ว.3) (1) งดเว้นกระทำการให้เสื่อมเสียประโยชน์แก่อีกฝ่ายหนึ่งตาม ม. 184(2) สิทธิและหน้าที่การจำหน่าย รับมรดก ป้องกันรักษา หรือทำ ประกันตามมาตรา 185
เงื่อนไขที่ไม่สมบูรณ์(ต่อ)เงื่อนไขที่ไม่สมบูรณ์(ต่อ) 4. เงื่อนไขที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน นิติกรรมเป็นโมฆะ (ม.188) 5. เงื่อนไขที่เป็นการพ้นวิสัย (ม.189) (1) ถ้าเป็นนิติกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ(2) ถ้าเป็นนิติกรรมมีเงื่อนไขบังคับหลัง นิติกรรมนั้นไม่มีเงื่อนไข 6. เงื่อนไขบังคับก่อนซึ่งสำเร็จหรือไม่ สุดแล้วแต่ใจฝ่ายลูกหนี้ นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ (ม.190) (1) ต้องเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนเท่านั้น(2) ต้องสุดแล้วแต่ความพอใจของฝ่ายลูกหนี้เท่านั้น ถ้าเป็นฝ่ายเจ้าหนี้ นิติกรรมยังสมบูรณ์อยู่
เงื่อนเวลา 1. ความหมาย คือ ข้อกำหนดเกี่ยวกับเวลาเริ่มต้น และเวลาสิ้นสุดแห่งนิติกรรม • เงื่อนเวลา แบ่งเป็น 2 ประเภท (ม.191) (1) เงื่อนเวลาเริ่มต้น หมายถึง ข้อกำหนดของเวลาเริ่มต้นให้คู่กรณีปฏิบัติตามนิติกรรมได้ หากยังไม่ถึงเงื่อนเวลาเริ่มต้นห้ามทวงถามให้ปฏิบัติตามนิติกรรม (2) เงื่อนเวลาสิ้นสุด หมายถึง ข้อกำหนดของเวลาการ ปฏิบัติตามนิติกรรมสิ้นผล เมื่อถึงเวลาที่กำหนด
ประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลา 1. ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า กำหนดไว้เพื่อประโยชน์แก่ฝ่ายลูกหนี้ • ถ้าคู่กรณีตั้งใจจะให้เป็นประโยชน์แก่ทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ด้วยก็ได้ โดยพิจารณาจากเนื้อความในสัญญาหรือพฤติการณ์ที่คู่สัญญาปฏิบัติต่อกัน
การสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลา (ม.192 ว.2) 1. เงื่อนเวลาเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายใด ฝ่ายนั้นจะสละประโยชน์นั้นเสียก็ได้ • เมื่อฝ่ายใดสละประโยชน์นั้นแล้ว ไม่กระทบกระเทือนถึงประโยชน์ของคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งที่จะได้รับประโยชน์จากเงื่อนเวลานั้น
ข้อห้ามลูกหนี้ถือเอาประโยชน์จากเงื่อนเวลา (ม.193) ห้ามลูกหนี้ถือเอาประโยชน์จากเงื่อนเวลาเริ่มต้นหรือเงื่อนเวลาสิ้นสุดในกรณี 1. ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย • ลูกหนี้ไม่ให้ประกันในเมื่อจำต้องให้ • ลูกหนี้ได้ทำลาย หรือทำให้ลดน้อยถอยลงซึ่งประกันอันได้ให้ไว้ • ลูกหนี้นำทรัพย์สินของบุคคลอื่นมาให้เป็นประกันโดยเจ้าของทรัพย์สินนั้นมิได้ยินยอมด้วย
ระยะเวลา • ความหมาย หมายถึง ช่วงของเวลา ซึ่งอาจกำหนดหน่วยนับเป็น วินาที นาที ชั่วโมง วัน สัปดาห์ เดือน ปี ก็ได้ • การนับระยะเวลามาใช้บังคับ (ม.193/1) (ก) นับตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดนี้ใช้ ในกิจการทั้งปวงได้ (ข) มีข้อยกเว้น ไม่ใช้บังคับแก่กิจการที่มีลักษณะดังนี้ (1) มีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ กำหนดหลักเกณฑ์การนับ ระยะเวลาในเรื่องใดๆ โดเฉพาะ (2) ศาลมีคำสั่งให้คำนวณนับเป็นหลักเกณฑ์ไว้โดยเฉพาะ (3)คู่กรณีแห่งนิติกรรมตกลงกันกำหนดการนับระยะเวลา ไว้เป็นอย่างอื่น
ระยะเวลา (ต่อ) 3. การคำนวณระยะเวลา (ม.193/2) (1) ให้คำนวณเป็นวัน (2) ถ้ากำหนดหน่วยเวลาสั้นกว่าวันให้คำนวณตามหน่วยเวลาที่กำหนดนั้น(ม.193/3 ว.1) 4. ความหมายคำว่า วัน (1) หมายถึงช่วงเวลา 00.00 น. ถึง 24.00 น. (2) ในทางคดีความในทางราชการ หรือทางธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรม วัน หมายความว่า เวลาทำการตามที่ได้กำหนดขึ้นโดยกฎหมาย คำสั่งศาล หรือระเบียบข้อบังคับของกิจการนั้น (ม.193/4)