1 / 38

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ . ศ . 2551

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ . ศ . 2551. ความสัมพันธ์ของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตรหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิสัยทัศน์

saeran
Download Presentation

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ . ศ . 2551

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ . 2551

  2. ความสัมพันธ์ของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตรหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานความสัมพันธ์ของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตรหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน • วิสัยทัศน์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งทางด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นทรงประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ

  3. จุดหมาย 1. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตัวเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยืดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2. มีความรู้อันเป็นสากลและมีความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและมีทักษะชีวิต 3. มีสุขภาพทางกายและทางจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย 4.มีความรักชาติมีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก ยืดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 5. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

  4. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด 3. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 4. ความสามารถในการใช้ เทคโนโลยี 5. ความสามารถในการ แก้ปัญหา

  5. คุณลักษณะอันพึงประสงค์คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 5. อยู่อย่างพอเพียง 2. ซื่อสัตย์สุจริต 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 3.มีวินัย 7. รักความเป็นไทย 4.ใฝ่เรียนรู้ 8. มีจิตสาธารณะ

  6. มาตราฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ 1. ภาษาไทย 2. คณิตศาสตร์ 3. วิทยาศาสตร์ 4. สังคมศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม 5. สุขศึกษาและพลศึกษา 6. ศิลปะ 7. การงานอาชีพและเทคโนโลยี 8. ภาษาต่างประเทศ

  7. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มุ่งให้นักเรียนได้พัฒนาตนเองอย่างมีศักยภาพ พัฒนาอย่างรอบด้านเพื่อเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม 1. กิจกรรมแนะแนว 2. กิจกรรมนักเรียน 3. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะ ประโยชน์

  8. ระดับการศึกษา หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดเป็น 3 ระดับ ดังนี้ 1. ระดับประถมศึกษา(ประถมศึกษาปีที่ 1-6) มุ่งเน้นทักษะด้านการอ่าน การเขียน การคิดคำนวน ทักษะความคิดพื้นฐาน การติดต่อสื่อสาร กระบวบการเรียนรู้ทางสังคมและพื้นฐาเป็นมนุษย์ โดยเน้นจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ

  9. ระดับการศึกษา (ต่อ) • 2. ระดับมัธยมตอนต้น (มัธยมศึกษาปีที่ 1-3) เป็นช่วงสุดท้ายของการศึกษาภาคบังคับ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้สำรวจความถนัดและความสนใจของตนเอง มีทักษะในการคิดวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์ และคิดแก้ปัญหา มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้

  10. ระดับการศึกษา (ต่อ) • 3. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (มัธยมศึกษาปีที่ 4-6) เน้นการเพิ่มพูนทักษะเฉพาะด้าน สนองตอบความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียนแต่ละคนทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ

  11. การจัดเวลาเรียน 1. ระดับชั้นประถมศึกษาให้จัดเวลาเรียนเป็นรายปี โดยมีเวลาเรียนวันละไม่เกิน 5 ชั่วโมง 2. ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นให้จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค มีเวลาเรียนวันละไม่เกิน 6 ชั่วโมง คิดน้ำหนักของรายวิชาเป็นหน่วยกิต ใช้เกณฑ์ 40 ชั่วโมงต่อภาคเรียน มีค่าน้ำหนักวิชา เท่ากับ 1 หน่วยกิต 3. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายให้จัดการเรียนเป็นรายภาค วันละไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง คิดน้ำหนักของรายวิชาที่เรียนเป็นหน่วยกิต ใช้เกณฑ์ 40 ชั่วโมงต่อภาคเรียน มีค่าน้ำหนักวิชาเท่ากับ 1 หน่วยกิต

  12. การกำหนดโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐาน และเพิ่มเติม สถานศึกษาสามารถดำเนินการดังนี้ ระดับประถมศึกษา สามารถปรับเวลาเรียนพื้นฐานของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ต้องมีเวลาเรียนตามที่กำหนดไว้ตามโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐาน และผู้เรียนต้องมีคุณภาพตามมาตราฐานการเรียนรู้ละตัวชี้วัดที่กำหนด ระดับมัธยมศึกษา ต้องจัดโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐานให้เป็นไปตามที่กำหนด และสอดคล้องกับเกณฑ์การจบหลักสูตร

  13. การกำหนดโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐาน และเพิ่มเติม สถานศึกษาสามารถดำเนินการดังนี้ สำหรับเวลาเรียนเพิ่มเติม ทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ให้จัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติมหรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับความพร้อม จุดเน้นของสถานศึกษาและเกณฑ์การจบหลักสูตร เฉพาะระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 สถานศึกษาอาจจัดให้เป็นเวลาสำหรับสาระการเรียนรู้พื้นฐานในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่กำหนดไว้ในชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีละ 120 ชั่วโมง และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 360 ชั่วโมงนั้น เป็นเวลาสำหรับกิจกรรมแนะแนวและกิจกรรมนักเรียนและกิจกรรมเพื่อสังคม

  14. การจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะการจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ • การศึกษาบางประเภทเป็นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น การศึกษาเฉพาะทาง การศึกษาสำหรับผู้ที่มีความสามารถพิเศษ การศึกษาทางเลือก การศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาส การศึกษาตามอัธยาศัย สามารถนำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม

  15. การจัดการเรียนรู้ • การจัดการเรียนรู้เป็นหลักสูตรที่มีมาตราฐานการเรียนรู้ สมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชน ผู้สอนพยายามคัดสรรกระบวนการเรียนรู้ จัดการเรียนรู้โดยช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ผ่านสาระที่กำหนดไว้ในหลักสูตร 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้

  16. การจัดการเรียนรู้ • หลักการจัดการเรียนรู้ ยึดหลักผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด • 2. กระบวนการเรียนรู้ ผู้เรียนต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย • 3. การออกแบบการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนต้องศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาให้เข้าใจถึงมาตราฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสาระการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน • 4. บทบาทของผู้สอนและผู้เรียน

  17. บทบาทของผู้สอนและผู้เรียนบทบาทของผู้สอนและผู้เรียน บทบาทของผู้สอน 1.ศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล 2. กำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน 3. ออกแบบการเรียนรู้และจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนอง ความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสมอง เพื่อนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย 4.จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้

  18. บทบาทของผู้สอนและผู้เรียน (ต่อ) บทบาทของผู้สอน 5. จัดเตรียมและเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับกิจกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นแทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน 6. ประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย เหมาะกับธรรมชาติของวิชาและระดับพัฒนาการของผู้เรียน 7. วิเคาระห์ผลประเมินมาใช้ในในการซ่อมเสริมและพัฒนาผู้เรียน

  19. บทบาทของผู้เรียน 1. กำหนดเป้าหมาย วางแผนและ รับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเอง 2. เสาะแสวงหาความรู้ เข้าถึงแหล่งการ เรียนรู้ วิเคราะห์สังเคราะห์ข้อความรู้ ตั้งคำถามคิดหาคำตอบหรือหาแนว ทางการแก้ปัญหาด้วยวิธีการต่างๆ

  20. บทบาทของผู้เรียน (ต่อ) 3. ลงมือปฏิบัติจริง สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ 4. มีปฏิสัมพันธ์ ทำงาน ทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่ม และครู 5. ประเมินและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของ ตนเองอย่างต่อเนื่อง

  21. สื่อการเรียนรู้ • สื่อการเรียนรู้เป็นเครื่องมือส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้มีหลากหลายประเภท ทั้งสื่อธรรมชาติ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเทคโนโลยี และเครือข่ายการเรียนรู้ต่างๆในท้องถิ่น การจัดทำ การเลือกใช้ และการประเมินคุณภาพสื่อการเรียนรู้ที่ใช้ในสถานศึกษา ควรคำนึงถึงหลักการสำคัญของสื่อการเรียนรู้ เช่น ความสอดคล้องกับหลักสูตร วัตถุประสงค์การเรียนรู้ การออกแบบกิจกรรมการเรียรนรู้ การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียน เนื้อหามีความถูกต้องและทันสมัยไม่กระทบความมั่นคงของชาติ ไม่ขัดต่อศีลธรรม มีการใช้ภาษาที่ถูกต้อง รูปแบบการนำเสนอที่เข้าใจง่ายและน่าสนใจ

  22. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 4 ระดับได้แก่ • การประเมินผลระดับชั้นเรียน • ใช้เทคนิคการประเมินอย่างหลากหลายโดยที่ผู้สอนประเมินเองหรือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนประเมินตนเอง 2. การประเมินระดับสถานศึกษาดำเนินการเพื่อตัดสินผลการเรียนของผู้เรียนเป็นรายปีรายภาค และรายงานผลการศึกษาต่อคณะกรรมการสถานศึกษา

  23. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้(ต่อ)การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้(ต่อ) 3. การประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษา เป็นการศึกษามาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยประเมินคุณภาพผลสัมฤธิ์ของผู้เรียนด้วยการสอบมาตรฐานที่จัดทำและดำเนินการ โดยเขตพื้นที่การศึกษา 4.การประเมินระดับชาติ เป็นการประเมินตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนเขารับการประเมินผลเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเทียบเคียงคุณภาพการศึกษาระดับต่างๆ

  24. เกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียนเกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียน 1. การตัดสินการให้ระดับผลการเรียนและการรายงานผลการเรียน 1.1 การตัดสินผลการเรียนผู้สอนต้องคำนึงถึง การพัฒนาผู้เรียนแต่ละคนเป็นหลักและต้อง เก็บข้อมูลของผู้เรียนทุกคนทุกด้านอย่าง สม่ำเสมอและต่อเนื่องในแต่ละภาคเรียน รวมทั้งสอนซ่อมเสริมผู้เรียนให้พัฒนาเต็ม ตามศักยภาพ

  25. เกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียน (ต่อ) ระดับประถมศึกษา 1. ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด 2. ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัด และผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด 3. ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกวิชา 4. ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินและมีผลการเรียนผ่านตามเกณฑ์สถานศึกษากำหนด

  26. เกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียน (ต่อ) • ระดับมัธยมศึกษา 1. ตัดสินผลการเรียนเป็นรายวิชาผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนตลอด ภาคเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมดใน รายวิชานั้นๆ 2. ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัด และผ่านตามเกณฑ์ ที่สถานศึกษากำหนด 3. ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกรายวิชา 4. ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินและมีผลการเรียนผ่านตาม เกณฑ์สถานศึกษากำหนด

  27. ระดับประถมศึกษา สถานศึกษาสามารถให้ระดับผลการเรียนเป็นระบบตัวเลข ระบบตัวอักษร ระบบร้อยละ และระบบที่ใช้คำคำคัญสะท้อนมาตราฐาน การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์นั้น ให้ระดับผลการประเมินเป็นดีเยี่ยม ดี และผ่าน ส่วนการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ต้องพิจารณาทั้งเวลาเข้าร่วมกิจกรรม การปฏิบัติกิจกรรมและผลงานของผู้เรียนให้ผลการเรียนเป็นผ่านและไม่ผ่าน การให้ระดับผลการเรียน

  28. การให้ระดับผลการเรียน (ต่อ) • ระดับมัธยมศึกษา ใช้ตัวเลขแสดงผลการเรียนเป็น 8 ระดับ การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์นั้น ให้ระดับผลการประเมินเป็นดีเยี่ยม ดี และผ่านส่วนการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ต้องพิจารณาทั้งเวลาเข้าร่วมกิจกรรม การปฏิบัติกิจกรรมและผลงานของผู้เรียนให้ผลการเรียนเป็นผ่านและไม่ผ่าน

  29. การรายงานผลการเรียน ผลการเรียนเป็นการสื่อสารให้ผู้ปกครองและผู้เรียนทราบความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งสถานศึกษาต้องสรุปผลการประเมินและจัดทำเอกสารรายงานให้กับผู้ปกครองอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง

  30. เกณฑ์การจบการศึกษา • เกณฑ์การจบการศึกษาประถมศึกษา 1. ผู้เรียนเรียนรายวิชาพื้นฐาน และรายวิชา/กิจกรรรมเพิ่มเติมตามโครงสร้างเวลาเรียนที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด 2. ผู้เรียนต้องมีผลการประเมินรายวิชาพื้นฐาน ผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด 3. ผู้เรียนมีผลการประเมิน การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ในระดับผ่าน เกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด 4. ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในระดับผ่าน เกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด 5. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด

  31. เกณฑ์การจบการศึกษา(ต่อ)เกณฑ์การจบการศึกษา(ต่อ) เกณฑ์การจบระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 1. ผู้เรียนเรียนรายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติมไม่เกิน 81 หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน 63 หน่วยกิตและรายวิชาเพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากำหนด 2. ผู้เรียนต้องได้หน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 77 หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน 63 หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 14 หน่วยกิต 3. ผู้เรียนมีผลการประเมิน การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ในระดับผ่าน เกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด 4. ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในระดับผ่าน เกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด

  32. เกณฑ์การจบระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเกณฑ์การจบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 1. ผู้เรียนเรียนรายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติมไม่เกิน 81 หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน 39 หน่วยกิตและรายวิชาเพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากำหนด 2. ผู้เรียนต้องได้หน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 77 หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน 39 หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 38 หน่วยกิต 3. ผู้เรียนมีผลการประเมิน การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ในระดับผ่าน เกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด 4.ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในระดับผ่าน เกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด 5.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด

  33. เอกสารหลักฐานการศึกษาเอกสารหลักฐานการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้ 1. เอกสารหลักฐานการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด 1.1 ระเบียนแสดงผลการเรียน เป็นเอกสารแสดงผล การเรียนและรับรองผลการเรียนของผู้เรียน 1.2 ประกาศนียบัตรเป็นเอกสารแสดงวุฒิการศึกษาเพื่อรับรอง ศักดิ์และสิทธิ์ของผู้จบการศึกษา 1.3 แบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษาเป็นเอกสารอนุมัติการจบ หลักสูตร 2. เอกสารหลักฐานการศึกษาที่สถานศึกษากำหนด เป็นเอกสารที่สถานศึกษาจัดทำขึ้นเพื่อบันทึกการพัฒนาการผลการเรียนรู้และข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับผู้เรียน

  34. การเทียบโอนผลการเรียนการเทียบโอนผลการเรียน สถานศึกษาสามารถเทียบโอนผลการเรียนของผู้เรียนในกรณีต่างๆ ได้แก่ การย้ายสถานศึกษา การเปลี่ยนรูปแบบการศึกษา การย้ายหลักสูตร การออกกลางคันและขอย้ายเข้ารับการศึกษาต่อ การศึกษาจากต่างประเทศและขอเข้าศึกษาต่อในประเทศ การเทียบโอนผลการเรียน ควรดำเนินการในช่วงเปิดภาคเรียนแรกที่สถานศึกษารับผู้ขอเทียบโอนเป็นผู้เรียน ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับการเทียบโอนผลการศึกษาต่อเนื่องในสถานศึกษาที่เทียบโอนอย่างน้อย 1 ภาคเรียน โดยสถานศึกษาควรกำหนดรายวิชา/จำนวนหน่วยกิตที่จะรับเทียบโอนตามความเหมาะสม

  35. การบริหารจัดการหลักสูตรการบริหารจัดการหลักสูตร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือหน่วยงาน ต้นสังกัดอื่นๆในระดับท้องถิ่นเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา ส่งเสริมการใช้และพัฒนาหลักสูตรในระดับสถานศึกษา ให้ประสบความสำเร็จ โดยมีภารกิจสำคัญดังนี้

  36. การบริหารจัดการหลักสูตร(ต่อ) 1. กำหนดเป้าหมายคุณภาพผู้เรียน 2. จัดสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น 3. กำหนดระบบการวัดและประเมินผล 4. เพิ่มพูลคุณภาพการใช้หลักสูตรด้วยการวิจัยและ พัฒนา 5. สนับสนุน ส่งเสริม นิเทศติดตาม ประเมินผล วิเคราะห์รายงานผลการใช้หลักสูตร

  37. การบริหารจัดการหลักสูตร (ต่อ) สถานศึกษามีหน้าที่สำคัญในการพัฒนาหลักสูตรการศึกษา โดยมีคณะบุคคลได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน เครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินการ โดยมีภารกิจสำคัญดังนี้ 1. จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา 2. วางแผนและดำเนินการใช้หลักสูตร 3. เพิ่มพูลคุณภาพการใช้หลักสูตรด้วยการวิจัยและ พัฒนา 4. ประเมินการใช้หลักสูตร 5. ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร

  38. Think YOU

More Related