200 likes | 578 Views
การลงประชามติ ร่าง รัฐธรรมนูญ 2550: รับ หรือ คว่ำ. 19 กย. 2549 สลาย ขั้วอำนาจ เก่า ฉีกรัฐธรรมนูญ 2540 ( de facto & de jure argument ).
E N D
การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2550:รับ หรือ คว่ำ • 19 กย.2549 สลายขั้วอำนาจเก่า ฉีกรัฐธรรมนูญ 2540(de facto & de jureargument)
สร้างขั้วอำนาจใหม่ ยกร่างรัฐธรรมนูญ 2550 เครื่องมือในการสร้างความชอบธรรม นำไปสู่สมการทางการเมืองใหม่ การขับเคี่ยวระหว่างกลุ่มอำนาจใหม่กับกลุ่มอำนาจเก่า โดยที่กลุ่มอื่นๆต้องเลือกข้างระหว่าง 2 ขั้วอำนาจดังกล่าว ใช้ประชามติ 19 สค. 2550เป็นเครื่องชี้ชะตา (ชาตะ + มรณะ) ชาติ-รัฐ
โพล ม.รามคำแหง 29 กค – 2 สค. 50 (3,470 ราย) คนไทยโดยเฉลี่ยอ่านหนังสือ 7 บรรทัดต่อปี ดังนั้น อ่าน รธน. ไม่จบก็ไม่แปลก แต่ถ้าอ่านจบ ก็จะเป็นอภิมหาแปลก
สาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ 2550 และ 2540
รธน. 50 มีที่มาจากการยึดอำนาจ สวนทางประชาธิปไตย กระบวนการจัดทำอยู่ในสถานการณ์ไม่ปกติ เป็นผลผลิตโดยตรงจากมาตรา 19 รธน. (ชั่วคราว) 2549 ให้สมัชชาแห่งชาติ 2000 คน เลือกกันเองเหลือ 200 คน แล้วให้ คมช.คัดเหลือ 100 คน สสร. มีคณะกรรมาธิการยกร่าง 35 คน (สสร.เลือก 25 คน คมช.เลือก 10 คน) ส่งให้สสร. พิจารณา ผู้ทำรัฐประหารมีส่วนร่วมทั้งสิ้น ผู้ร่างรธน.มีความทับซ้อนในเชิงอำนาจ หลายคนมีตำแหน่งอยู่ในองค์กรที่เกิดขึ้นหลังรัฐประหาร (ปปช.และกกต.มีส่วนร่วมจัดทำรธน.50) คนที่ยกร่างรธน.ยังมีส่วนจัดทำประชามติอีก ห้ามคนยกร่างลงสมัคร สว./สส. แต่ไม่ห้ามไปดำลงตำแหน่งในองค์กรที่จะจัดตั้งขึ้นตามรธน. 50 ข้อห้ามนี้ไม่ใช้บังคับกับ สสร. แต่รธน.50 เน้นจริยธรรม! การรับฟังความคิดเห็นไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ตย. ม. 309นิรโทษกรรม คว่ำรัฐธรรมนูญ 2550: เหตุผล
รธน.40:สส 500 คน จากเขตเลือกตั้ง 400 คนจาก 400 เขต บ/ช รายชื่อ 100 คน สะท้อนนโยบายพรรคจูงใจคนทั้งประเทศ สะท้อนแนวคิดที่ดี ทรท. พรรคการเมืองเข้มแข็ง รธน. 50: ออกแบบระบบเลือกตั้งให้พรรคอ่อนแอลดสส.เหลือ 480 คน เป็นแบ่งเขต 400 คน แบบสัดส่วน 80 คน โดยที่ สส.80 คน: แบ่งเป็น 8 กลุ่ม จว.ๆ ละ 10 คน ไม่มีหลักคิด ทำลายระบบ บ/ช รายชื่อ หรือ นโยบายระดับชาติของพรรค สส. 400 คน: แต่ละเขตมีสส.ได้ < 3 คน ใช้จว.เป็นฐาน: หากมีสส.ได้ 1 คน จว.นั้นก็มี 1 เขต; หากมีได้ 6 คน ก็ 2 เขต เลือกคน>เลือกนโยบายพรรค พรรคไม่ต้องแข่งขันนโยบาย ระบบหลายพรรคเข้าสู่สภา ต้องออกแบบให้พรรคการเมืองเข้มแข็งบนฐานที่โปร่งใส ไม่ใช่ทำลาย ในส่วนที่ไม่แยกสส.กับ รมต.ออกจากกันในรธน. 50 เป็นส่วนดีที่ทำให้อภิปรายนายกฯได้ง่ายขึ้น รธน.40:ปิดบังความเป็นองค์กรทางการเมืองของ สว. เมื่อเป็นกลางไม่ได้ แล้วทำลายจึงไม่ถูกต้อง คว่ำรัฐธรรมนูญ 2550: เหตุผล (ต่อ)
รธน. 50:ให้สรรหา คือ แต่งตั้ง สว.ใครสรรหา สว. 74คน เอาอำนาจมาจากไหนแล้วใช้อำนาจตรงนี้ไปตั้งคนในองค์กรอิสระต่อ และยังมีอำนาจถอดถอนนายกฯและรมต. ได้ โดยไม่เชื่อมโยงกับ ปชช.จึงขาดความชอบธรรม สว.ที่มาจากการเลือกตั้ง จว.ละ 1 คน 76คน คิดอย่างไร กทม 10 ล้านคน ตุลาการ/คนที่ศาลเลือก ประธานสภาฯ ผู้นำฝ่ายค้าน เป็นกรรมการสรรหาคนเข้าสู่องค์กรอิสระ โดยที่คณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจมากกว่าคณะกรรมการสรรหาใน รธน.40ข้าราชการระดับสูง ตุลาการเป็นแกนนำ ตุลาการเป็นกลางในการตัดสินคดี ไม่ควรทำกิจในการปกครองหรือบริหาร ขัดกับอำนาจหน้าที่/ตำแหน่งของตัวเอง รธน. 40 อำนาจบริหารขยายมากและการตรวจสอบทำได้ยาก ต้องแก้ไข รธน. 50ทำให้ดุลอำนาจหนักไปทางตุลาการทหาร และข้าราชการพรบ.ความมั่นคงฯ/บทบัญญัติจัดหาอาวุธฯในม. 77 งบฯทหารก้าวกระโดด 3 กลุ่มพลังนี้ กำหนดทิศทางอนาคตของชาติ?? บุคคลที่มาจาการสรรหาก็ถูกครอบงำทางความคิดที่เชื่อว่า กลุ่มคนที่เข้ามาทำงานตรงนี้มีคุณธรรมจริยธรรม จึงมีสิทธิในการกำหนดชะตาบ้านเมือง สำคัญผิดไม่รับกับการเปลี่ยนแปลงของโลก คว่ำรัฐธรรมนูญ 2550: เหตุผล (ต่อ)
ม. 308ให้มีการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ซึ่งควรจะมาจาก ครม.ที่เลือกตั้ง แต่ รธน. 50 ระบุ “ให้ครม.ที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันประกาศใช้ รธน. 50 เป็นคนแต่งตั้ง” การวางตัวคนในองค์กรปฏิรูปกฎหมายเพื่อกุมอำนาจและกำหนดทิศทางกฏหมายของประเทศ!!! หลักการ รธน.เป็นกฎหมายสูงสุดใน ม. 6 ถูกทำลายโดยม. 309 คือ การนิรโทษกรรม ทั้งๆที่ได้ทำไปแล้วใน รธน.ชั่วคราว 2549 สรุปก็คือ เอาบทบัญญัติสิทธิเสรีภาพและจริยธรรมมาล่อประชาชน พร้อมแฝงบทบัญญัตินิรโทษกรรมไว้ด้วย และเมื่อ รธน.นี้ประกาศใช้ก็ = สถาปนาระบบใหม่ขึ้นมา การใดที่กระทำโดยมิชอบ ให้รับว่า มันชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ตรวจสอบอะไรไม่ได้เลย ยิ่งกว่านั้น คมช.ยังไม่พ้นอำนาจจนกว่ามีครม.ชุดใหม่ ดังนั้น ม. 309 นิรโทษกรรม(ในสิ่งที่ไม่ชอบ) ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เป็นเทคนิคการเขียนกฏหมายรับใช้อำนาจให้มีผลย้อนหลังก็ได้ไปข้างหน้าก็ได้ ส่งเสริมการทำรัฐประหาร คว่ำรัฐธรรมนูญ 2550: เหตุผล (ต่อ)
ผ่านประชามติ สังคมไทยเดินเข้าสู่หนทางตีบตัน เพราะผู้กุมอำนาจกำลังขันนอตที่ปีนเกลียว ถอยไม่ได้-ไปข้างหน้าไม่ได้ การแก้ไข รธน.ต้องใช้พลังทางสังคมมากๆ มากดดันสู้กับกลุ่มผลประโยชน์จนกลไกอยู่ตัวโดยสมบูรณ์ในตัวมัน พลังเหล่านี้จะเกิดขึ้นไหม/อย่างไร หลังร่าง รธน.นี้ประกาศใช้ ไม่ง่าย? ไม่ผ่านประชามติ คมช.กำหนดวันเลือกตั้งได้ทันทีภายใน 7 วัน คมช+ครม นำ รธน.40ประกาศใช้ เติมบทเฉพาะกาล ในส่วนที่ว่าด้วยเหตุการณ์ในทางกฎหมายที่เกิดขึ้นในช่วง 19 กย. 49 -ปัจจุบัน ปลดล็อคการสังกัดพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 90 วัน จัดการเลือกตั้งในระบบเดิม เลือกสส. แล้วตามด้วย สว. กำหนดวาระความเป็นไปได้ในการแก้ไข รธน. 40 คณะรัฐประหารกลับเข้ากรมกอง โอนคดี คตส. ปปช. ความเห็นฝ่ายคว่ำ: หาก รธน. 2550
ไม่ปฏิเสธ รธน. 50 มาจากรัฐประหาร แต่ รธน. 40 ถูกรุมสกัม รธน.50 “ฉุดลูกสาวเขามาต่อมาแต่งงานฉันสามีภรรยา แล้วไปขอขมา พ่อตาแม่ยาย ชอบธรรมไหม?” (นครินทร์ มธ.) กระบวนการร่าง มีการรับฟัง เจรจา แก้ไข ยืดหยุ่นพอสมควร แม้มีคนที่ คมช. แต่งตั้ง 10 คน เนื้อหาก้าวหน้าในด้านสิทธิเสรีภาพของประชาชน (cf. พรบ. ความมั่นคง) ประชาชน หมื่นชื่อแก้กฎหมายได้/ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ 5 หมื่นชื่อ แก้ไข รธน.ได้ (ในทางปฏิบัติ??) ม. 28 ดีที่สุด “บุคคลย่อมสามารถใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับให้รัฐต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในหมวดนี้ได้โดยตรง” การให้อำนาจองค์กรอิสระดีกว่าเดิม โดยเฉพาะผู้ตรวจการแผ่นดิน ตรวจสอบและประมวลจริยธรรมทางการเมือง รับรัฐธรรมนูญ 2550: เหตุผล
รธน. 50ต้องการให้ฝ่ายบริหารอ่อนแอลง สภามีอำนาจเพิ่มขึ้น รธน. 40 รมต. กลัวนายกฯมาก ปรับ ครม. มีโอกาสตกงาน ระบบ รธน. 40คล้ายๆกึ่งประธานาธิบดี รธน. 50ต้องการเห็นระบอบรัฐสภา ตรวจสอบได้ ระบบเลือกตั้งของ รธน. 50 ดีกว่า รธน. 40 ที่สส. ไม่จำเป็นต้องจบ ป.ตรี เขตเลือกตั้งแบบใหม่-แบบสัดส่วน ต้องการเห็นคนเด่นคนดังในต่างจังหวัด มีการกระจายตัวดีในแต่ละเขต จงใจให้ได้รัฐบาลผสม ไม่แปลก vs รัฐบาลพรรคเดียว/ใหญ่ โต้แย้งไม่มีข้อยุติ สว. ต้องมีความชำนาญเฉพาะด้าน เป็นพี่เลี้ยง สส. ในการกลั่นกรองกฎหมาย ให้ความเห็นชอบองค์กรอิสระ ต้องการให้สว.ใหญ่มากๆปลดนายกฯ/รมต.ได้ โดยมาจากทั้งเลือกตังและแต่งตั้ง (เป็นข้าราชการไม่ได้ขณะที่ดำรงตำแหน่ง) แต่ก็อยู่ที่วิธีการสรรหาเป็นอย่างไร กลัวการแทรกแซง จึงให้เป็นหน้าที่ของประธานศาลและประธานองค์กรอิสระมามีส่วนร่วมในการสรรหา/แต่งตั้ง หากไม่เหมาะก็เปลี่ยนได้ในอนาคต รับรัฐธรรมนูญ 2550: เหตุผล(ต่อ)
สถาบันตุลาการในโลกยุคใหม่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้อำนาจได้ มติ ครม. ถูกทบทวนได้โดยศาล!!! หากไม่ยอมรับ ศาลต้องกลับเข้าค่ายตัวเอง ศาลก็มีองค์กรที่ตรวจสอบได้คือ สภา?? มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเรือน ในบทเฉพาะกาล ม. 303 ส่งเสริมภาคประชาชนให้เข้มแข็ง ม. 309 ไม่ได้รับรองรัฐประหาร แต่รับรองรธน. ชั่วคราว 2549 รับรองตัวแม่ เพื่อตัวลูก เพราะเจียมตัวว่าไม่ได้เป็นตัวแทนประชาชน และเป็นห่วงการทำงานของ คตส. รัฐบาลชุดต่อไปทำงานด้วยความยากลำบาก (อ่อนแอ!!) เพราะ รธน. 50 เขียนข้อผูกพันไว้มาก แต่ประชาชนได้ประโยชน์!! รับรัฐธรรมนูญ 2550: เหตุผล(ต่อ)
ผ่านประชามติ ประกาศใช้รธน. ได้ปลายสค. 50 จัดทำกฎหมายลูก เลือกตั้งต้นปี 2551 การเมืองกลับคืนสู่ภาวะปกติ โดยที่ความขัดแย้งยังคุกรุ่นอยู่ต่อไปบนท้องถนนและบนศาล ไม่ผ่านประชามติ นำรธน. ฉบับใดฉบับหนึ่งมาใช้แทน และน่าจะเป็นรธน.ประชาธิปไตยตัวแทนสายพันธุ์ใหม่? และไม่เห็นด้วยกับการนำ รธน. 40 มาแก้ไข ความเห็นฝ่ายรับ: หาก รธน.2550
ข้อสังเกตที่น่าสนใจ • “ระบบราชการไทยนั้นไม่เคยมีชื่อว่า ซื่อสัตย์สุจริต หรือริเริ่มสิ่งใหม่ๆ ที่จะทำให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากวิกฤตต่างๆได้ ถ้าไม่มีคนข้างนอก อย่าลืมว่า ร. 5 คือคนข้างนอก แล้วเข้ามาใช้ระบบราชการเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตในช่วงนั้น” (นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์) • “ร่างพรบ.4 ฉบับที่ผ่านครม.ไปแล้ว (พรบ.มั่นคงฯ กระจายอำนาจฯ บริหารราชการฯ) และกำลังเข้าสู่ สนช.ทำลายเจตนารมณ์ รธน. 50 ทั้งหมด” (นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์) • “การโหวตรับ รธน. ฉบ้บนี้ = การให้ความชอบธรรมกับการกระทำที่ไม่ชอบ” (วรเจตน์ ภาคีรัตน์)
ข้อสังเกตที่น่าสนใจ (ต่อ) • “พรบ. รักษาความมั่นคงฯให้อำนาจเบ็ดเสร็จแก่ ผบ.ทบ.ในฐานะ ผอ. กอ.รมน. มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยแท้” • “กว่าค่อนประเทศไทยในขณะนี้ยังอยู่ภายใต้กฎอัยการศึก ทำให้มีการรณรงค์เคลื่อนไหวให้รับร่างรธน.ได้ แต่รณรงค์ให้ไม่รับร่าง รธน. ไม่ได้ เพราะถือว่า เป็นการเคลื่อนไหวทางการเมือง การที่ประชาชนไปลงประชามติในเขตกฎอัยการศึก ก็เท่ากับไปลงประชามติโดยมีปืนจ่อที่ศีรษะอยู่นั่นเอง” (พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์) • “ประเทศไทยจะเป็นเหมือนฟิลิปปินส์ คือ การเมืองแตกแยก รัฐบาลอ่อนแอไร้เสถียรภาพ เศรษฐกิจล้าหลังชะงักงันยาวนาน ถ้าร่าง รธน. 50 ผ่านประชามติ” (พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์)
ข้อสังเกตที่น่าสนใจ (ต่อ) • แต่เดิมเวลาที่ลงประชามติอยู่ระหว่าง 8.00-15.00 ต่อมาขยายเป็น 8.00-16.00 น. และมีการเพิ่มข้อความ การต่อเวลาไปเรื่อยๆ!! เมื่อถึงระยะเวลาปิดการลงคะแนนออกเสียง หากยังมีผู้มาแสดงตนขอใช้สิทธิเหลืออยู่ในที่ออกเสียง แต่ยังไม่ได้รับบัตรออกเสียงประชามติ ให้คณะกรรมการประจำหน่วยออกเสียงจ่ายบัตรออกเสียงประชามติให้แก่ผู้มาแสดงนั้น เพื่อไปทำการลงคะแนนให้เสร็จสิ้น
ข้อสังเกตที่น่าสนใจ (ต่อ) • กระบวนการทำประชามติตั้งแต่ต้นจนจบ หาความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนไม่ได้เลย และ “ความดีของบุคคล” ก็ไม่เกี่ยวกับ “ความเป็นธรรมของสังคม” • ความแตกแยกทางความคิด ยังคงมีต่อไป • รัฐประหารไม่ใช่หนทางแก้ไขความแตกแยก • สมานฉันท์ไม่เกิดเพราะรัฐประหาร • ยกหน้าคุณ ...ขึ้นมาชูทีไร ก็มีคนได้ประโยชน์กันไปมากต่อมากแล้ว